กาลจักร โดย ตอสือรินโปเช

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย เทพธรรมบาล, 9 พฤศจิกายน 2011.

  1. เทพธรรมบาล

    เทพธรรมบาล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    1,215
    ค่าพลัง:
    +291
    กาลจักรมหาธรรม เป็นการบำเพ็ญธรรมที่มีลักษณะพิเศษชนิดหนึ่งของพุทธศาสนารหัสยานแห่งทิเบต ซึ่งมีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะไม่ว่าจะเป็นหลักปรัชญาและวิธีการบำเพ็ญ สำนักเจว๋รั่งได้บำเพ็ญธรรมลักษณะนี้เป็นการเฉพาะจนเป็นที่กล่าวขาน มีผู้สำเร็จธรรมสายนี้มากมาย ๑ ในนั้นที่มีชื่อเสียงมากที่สุดก็คือ ตู่ปู้ปาสี่เจียนจั้น โดยท่านนั้นได้บำเพ็ญกาลจักรมหาธรรมนี้ตลอดชีวิตจนสำเร็จ ทั้งยังได้เผยแผ่ไปทั่วทิเบต โดยสืบทอดมาจวบจนปัจจุบัน

    ๑. นัยแห่งกาลจักร
    เวลาทุกชั่วขณะกอปรกันให้เกิดเป็นกาลจักร (กาลเวลา) ที่ไม่มีจุดเริ่มต้นและไม่มีที่สิ้นสุด มีพลานุภาพไม่อาจประมาณได้ ก่อกำเนิดฟ้าดินและสรรพสิ่งทั้งหลาย จากนั้นก็ทำลายจนสิ้นไม่เหลือร่องรอย นี่คือ "กาลจักรภายนอก" ถ้าอธิบายตามหลักวิทยาศาสตร์ในยุคปัจจุบันก็คือ "มิติที่ ๔" หรือก็คือ มิติที่ ๓ แล้วเพิ่มเติมกาลเวลาเข้าไป (กาลจักร) เชื่อว่าสรรพสิ่งดำรงอยู่ได้ไม่อาจพ้นแล้วด้วยอำนาจปัจจัยแห่งกาลเวลา กาลจักรนั้นให้ความสำคัญกับกาลเวลา สรรพสิ่งนั้นเริ่มที่กาลเวลาแล้วเกิดดับ (กาลจักร) เชื่อว่าชีวิตคือกาลเวลา ระหว่างกาละ (กาลเวลา) และเทศะ (สถานที่ – ที่ตั้งของสสาร) นั้น ให้ความสำคัญที่เวลามากกว่า ศึกษาจักรวาลโดยเริ่มต้นที่เวลา ศึกษาร่างกายชีวิต นอกจากเวลาแล้วยังจะมีอะไรอีก ? (คำตอบก็คือ) อะไรก็ไม่มี มนุษยชาติลองถ้าไม่มีกาลเวลาแล้วก็เลิกพูดกัน อะไรก็ไม่มี เราพูดถึงสังคมในอดีตว่าเป็นอย่างไร สังคมในปัจจุบันว่าเป็นแบบไหน ล้วนหนีไม่พ้นกาลเวลา ด้วยเหตุนี้จึงมองเวลาเป็นเหมือนวัฏจักร ๑ ปี ๔ ฤดู คือ ฤดูใบไม้ผลิ ฤดูร้อน ฤดูใบไม้ร่วง ฤดูหนาว คือ "กาลจักรภายนอก"

    เหมือนกับ "กาลจักรดาราศาสตร์" ก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งของกาลจักรธรรม โดยพูดถึงดาราศาสตร์ จักวาลศึกษา การศึกษาดาราศาสตร์ของทิเบต สำคัญคือกาลจักรดาราศาสตร์ สามารถคำนวณวิถีโคจรของดาวเคราะห์ สุริยุปราคาและจันทรุปราคาในแต่ละปี ใกล้เคียงกับหอดูดาวของนักวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันมาก ต่างกันแค่อธิบายต่างกัน เวลาคือการโคจรของดวงอาทิตย์สัมพันธ์ต่อตำแหน่งที่ตั้งต่างๆ มาเป็นตัวกำหนด เช่น นับแต่อาทิตย์ขึ้นจนพระอาทิตย์ตกนับเป็น ๑ วัน ส่วน ๑ ปีก็คือ การที่พระอาทิตย์โคจรครบรอบ ๑๒ ราศี และเมื่อพูดถึง ๑ วัน แต่ละวันก็มี ๑๒ ราศี เช่นกัน แบ่งเป็น ราศีอิน (หยิน) ๖ ราศี ราศีหยาง ๖ ราศี รวมเป็น ๑ วันอินหยาง (กลางวันและกลางคืน) กาลจักรธรรมนั้น ๑ วันแบ่งเป็น ๖๐ ส่วน ปฏิทินกาลจักรมหาธรรมแบ่งออกเป็น ๓ ประเภท คือราศีคติ สุริยคติ และ จันทรคติ โดยอาศัยการเต็มและหาย (ขึ้นแรม) ของดวงจันทร์ ครบ ๑ รอบ เป็น ๑ เดือน ๑ ปีมี ๑๒ เดือน ซึ่งเดือนหนึ่งจะเป็นเวลา ๒๙ – ๓๐ วัน ซึ่งถ้าคิดตามนี้ ปีหนึ่งก็จะมี ๓๗๑ วัน ซึ่งในปัจจุบันก็จะเพิ่มจาก ๓๖๐ วัน มาไม่กี่วัน ซึ่งวันที่ขาดไปกี่วัน ผ่านไปไม่กี่ปีก็ทดแทนด้วยอธิกมาส (เพิ่มเดือน)

    ใน ๑ วัน พระอาทิตย์โคจรครบรอบ ๑๒ ราศี เป็นระยะเวลาเท่ากับพระอาทิตย์ขึ้นในเช้าวันนี้ จนถึงพระอาทิตย์ขึ้นเช้าวันพรุ่งนี้ นับเป็น ๑ วัน พระอาทิตย์โคจร ครบรอบ ๑๒ ราศี ก็คือ ๑๒ ชั่วยาม นับตามนี้ปีหนึ่งก็ประมาณ ๓๖๕ วัน ในปัจจุบันปฏิทินสุริยคติเขาคิดกันแบบนี้ ด้วยเหตุนี้พอผ่านไป ๔ ปี จึงมีอธิกวาร (เพิ่มวัน)

    ส่วนราศีคติ นับที่พระอาทิตย์โคจรครบรอบ ๑๒ ราศี คือ ๓๖๐ องศา โดยทั่วไป (๑ ปี) จะได้ ๓๖๐ วัน ราศีคติเขาคิดกันแบบนี้

    แต่ไม่ว่าจะนับกันแบบไหน ทุกขณะก็คือกาลเวลา ไม่มีจุดเริ่มต้นและสิ้นสุด ไหลเรื่อยไม่มีหยุดพัก เหมือนกับกงจักร (ล้อรถ) ที่หมุนไปไม่มีหยุด เป็นปีเป็นฤดูกาล หมุนไปทุกวัน กงจักรแห่งการกาลเวลาหมุนทอแสงก่อกำเนิดสรรพสิ่ง ก่อให้เกิดประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม สังคม ทั้งหมดนี้ล้วนแต่เป็นสิ่งที่เวลาสร้างขึ้น แล้วเวลาก็เป็นผู้ทำลายมันทั้งหมดลง จนไม่เหลือร่องรอย ในประวัติศาสตร์มีเรื่องมากมายไม่มีเหลืออีกแล้ว วิทยาการต่างๆ มากมายก็ไม่เหลืออีกแล้ว นี้คือ "กาลจักรภายนอก"

    ร่างกายของคนคือจักรวาลเล็กๆ ย่อมมีความสัมพันธ์กับจักรวาลภายนอก เช่นอารมณ์ของคนเราในฤดูใบไม้ผลิและฤดูร้อน หรือในตอนเช้าและตอนกลางคืนย่อมไม่เหมือนกัน คนเราสติปัญญาและความมุมานะแตกต่างกัน อิน (หยิน) หยางแตกต่างกัน ท้องฟ้าและเวลาก็แปรเปลี่ยนในเวลาที่แตกต่างกัน เหมือนกับคนที่ราบพอไปสู่ที่ราบสูง เกิดอาการร่างกายปรับตัวไม่ทัน ก็เพราะจักรวาล ท้องฟ้า (สภาพแวดล้อม) แตกต่างกัน ชีวิตนั้นไม่สามารถแยกออกจาก (ธรรมชาติและ) สิ่งแวดล้อมได้ ไม่ว่ามีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยขนาดไหน ย่อมส่งผลต่อร่างกายและชีวิต ด้วยเหตุนี้ทุกสิ่งที่ร่างกายมี ร่างกาย ชีพจร ลมหายใจ ก็ให้เกิดกาลจักร (กงล้อ) แห่งชีวิต ชีพจรหมุนไป ลมหายใจหมุนไป หัวใจเต้นไป เร็วก็ไม่ได้ ช้าก็ไม่ได้ ทุกอย่างเคลื่อนไป ก่อให้เกิดเป็นกาลจักร (กงล้อ) แห่งชีวิต ซึ่งนับแต่เกิดจนตาย ลมหายใจไม่เคยหยุด (กาลจักรแห่งชีวิต) ก่อให้เกิดพลังหล่อเลี้ยงร่างกายและชีวิต และทำลายชีวิตลงอย่างไร้ปราณี ชีวิตก็เป็นอันสิ้นสุด ด้านหนึ่งก็ก่อเกิดและหล่อเลี้ยงชีวิต ด้านหนึ่งก็พาชีวิตไปสู่จุดจบ นี่ก็คือสิ่งต้องทำความเข้าใจของกาลจักรมหาธรรม ซึ่งถ้าพูดลงลึก ก็วันหนึ่งคนปกติหายใจ ๒๑,๖๐๐ ครั้ง หรือถ้าคิดตามแบบสมัยปัจจุบันก็ ๔ วินาทีต่อ ๑ ครั้ง หายใจเข้าไปปราณก็จะอยู่อยู่ในร่างกาย ๑ วันและ ๑ คืน ๑ วันมี ๑๒ ชั่วยาม แบ่งอิน (หยิน) และหยาง ลมหายใจก็แบ่งเป็นอิน (หยิน) และหยาง ...

    กาลจักรอธิบายว่าร่างกายคนมีเส้นชีพจร ๗๒,๐๐๐ เส้น แบ่งเป็น ชีพจรประสาท, ชีพจรโลหิต และ ชีพจรปราณ อย่างละ ๒๔,๐๐๐ เส้น อาศัยมุมมองของกาลจักร คนปกติจะมีอายุขัยได้ ๑๐๐ ปี และร่างกายก็ควรจะอยู่ได้ ๑๐๐ ปี แต่ทำไมคนเราถึงอยู่ได้ไม่ถึง ๑๐๐ ปี ? ทั้งนี้เป็นเพราะเหตุผลของอารมณ์, อินหยาง, สิ่งแวดล้อม, งานที่ทำ ฯลฯ ทำให้ชีพจรสับสน อินหยางไม่สมดุล ทำให้ (ร่างกายทรุดโทรม) ไม่สามารถอยู่ได้ถึง ๑๐๐ ปี ยังมีความสามารถอีกประเภทหนึ่ง พุทธศาสนาเรียกว่าความสามารถปกติ แต่คนในปัจจุบันเรียกว่าความสามรถพิเศษ ที่จริงต้องเรียกว่าความสามารถปกติ เพราะเป็นสิ่งทั่วไปทุกคนจะมี ไม่ควรเรียกว่าความสามารถพิเศษ แต่ทำไมคนโดยมากกลับไม่มี เหมือนกับโทรทัศน์ ถ้าปรับคลื่นไม่ตรงก็ไม่เห็นภาพ ร่างกายคนนั้น เส้นชีพจรเส้นหนึ่งมีปัญหา เส้นอื่นๆ ก็จะมีปัญหาตามมา ต้องอาศัยการฝึกวิชาจึงจะฟื้นฟูมาเป็นปกติ เส้นชีพจรแต่เส้นต้องทะลวงให้โล่ง ต้องเชื่อมต่อกัน เส้นใดตายหรือเสียต้องดูแลซ่อมแซม เมื่อผ่านการบำเพ็ญเพียร ไม่เพียงแต่จะทำให้ร่างกายแข็งแรงอายุยืน ยังจะทำให้สติปัญญามากกว่าคนทั่วไป

    หลังจากอายุครบ ๕ เดือน แต่ละวัน ชีพจรในร่างกายก็ตายไปวันละ ๒ เส้น พอครบ ๑๐๐ ปี ชีพจรทั้ง ๗๒,๐๐๐ เส้น ก็จะตายจนหมด ถ้าไม่มีเหตุอะไรเป็นพิเศษ เช่นการบำรุงรักษาที่ดี ก็ไม่มีปัจจัยที่จะดำรงอยู่แล้ว กาลจักรคือรักษากฎเกณฑ์เอาไว้ เป็นธรรมที่วิเศษ ดังเช่นคนที่ฝึกเดินลมปราณ หายใจลึกๆ แล้วทำไมทำให้อายุยืนได้ ? ทำไมหายใจสั้นแล้ว ถึงไม่ดีต่อร่างกาย เหมือนกับคนออกกำลังกาย หรือคนป่วยแล้วทำไมลมหายใจสั้น ? ทำไมเต่าถึงอายุยืน ? ถ้าเราศึกษาจะพบว่า (ระยะเวลาที่) เต่าหายใจ ๑ ครั้ง เท่ากับคนหายใจ ๑๕ ครั้ง เต่าหายใจยาวกว่าคนถึง ๑๕ เท่า ด้วยเหตุนี้เต่าถึงอยู่ได้ ๑,๐๐๐ ปี นี่คือเหตุผลว่าทำไมหายใจ (ลึกและ) ยาว จึงอายุยืน ถ้ารักษาและควบคุมกฎเกณฑ์นี้ได้ ก็จะควบคุมลมหายใจได้ ฝึกหายใจ หายใจสั้นก็เปลี่ยนเป็นหายใจยาว ยกตัวอย่างเช่น ในวันหนึ่งๆ เข็มนาฬิกาจะเดินครบ ๒ รอบ สมมุติว่าถ้าอายุการใช้งานอยู่ได้ ๒๐ ปี ถ้าเราเปลี่ยนได้ ให้วันหนึ่ง (เข็มนาฬิกา) เดินได้แค่รอบเดียว ก็ลดภาวะการสึกหรอของนาฬิกา (ร่างกาย) ไปได้ครึ่งหนึ่ง อายุการใช้งานก็จะเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว กลายเป็น ๔๐ ปี ร่างกายคนเราวันและคืนหนึ่งหายใจ ๒๑,๖๐๐ ครั้ง สมมุติว่าคนนั้นอยู่ได้ ๕๐ ปี ถ้าแต่ละวันอาศัยการบำเพ็ญวัชรมนต์ ฝึกคนโทปราณ เปลี่ยนการหายใจสั้นให้เป็นหายใจยาว เป็นหายใจลึก เป็นหายใจ นิ่งและสม่ำเสมอ จากที่หายใจวันละ ๒๑,๖๐๐ ครั้ง ให้เหลือเพียงแค่วันละ ๑๐,๐๐๐ ครึ่ง อายุขัยก็จะเพิ่มขึ้นเท่าตัว

    แบ่งร่างกายออกเป็นหยาบและละเอียด หยาบคือร่างกายและอวัยวะที่เรามองเห็น ยังมีที่เรามองไม่เห็น (คือละเอียด) เช่น ชีพจร วิญญาณ ปราณ กาลจักรภายในก็คือกฎเกณฑ์ในร่างกายคน พวกนี้ (กาลจักร) ภายในและนอกต้องสัมพันธ์กัน แบบไหนเรียกว่าสัมพันธ์ ? ในร่ายกาย ๑๒ ราศีคือส่วนไหน ? (ในร่างกาย) แขนมี ๓ ส่วน ๒ ข้างเป็น ๖ ส่วน รวมขา ๒ ข้างเป็น ๑๒ ส่วน แต่ละส่วนมีชีพจร ๓๐ เส้น ๑๒ ชีพจรจักร แต่ละชีพจรจักรมีชีพจร ๓๐ เส้น ในร่างกายมี ๑๒ ภายนอกมี ๑๒ เดือน แบบนี้เรียกว่าสัมพันธ์กัน

    [​IMG]


    ในหนึ่งปี แบ่งเป็น ๒ ช่วง คือช่วงที่เส้นรุ้งที่อยู่ห่างเส้นศูนย์สูตรไปทางเหนือ (จะเป็นฤดูร้อน กลางวันยาวกลางคืนสั้น) และช่วงที่เส้นรุ้งที่อยู่ห่างเส้นศูนย์สูตรไปทางใต้ (จะเป็นฤดูหนาว กลางคืนยาว กลางวันสั้น) ซึ่งทั้ง ๒ นี้ก็สัมพันธ์กับชีพจรซ้ายและขวาในร่างกายคน

    บนท้องฟ้า สำคัญที่สุดก็คือพระอาทิตย์ พระจันทร์ และราหู ราหูคือสิ่งที่สำคัญที่สูงสุดบนท้องฟ้า กาลจักรอธิบายว่าการเกิดอุปราคาก็เพราะราหู ราหูนั้นมองไม่เห็น นอกจากนี้ยังมีดาวหาง ในร่างกายคนเส้นชีพจรกลางก็คือดาวหาง นอกจากนี้อีก ๓ เส้น ชีพจรสีแดงคือดวงอาทิตย์ สีขาวคือพระจันทร์ ตรงกลางยังสี ชีพจรสีเขียวหรือสีน้ำเงิน คือราหู

    ๒. ความสัมพันธ์ของกาลจักรมณฑล, กาลจักรตถาคต และกาลจักรภายในภายนอก
    ร่างกายมี ๔ ฤดู ท้องฟ้ามี ๔ ฤดู ชีวิตคนมีความสัมพันธ์ต่อฤดูกาลอย่างมีกฎเกณฑ์ และต่างแปรเปลี่ยนไปแตกต่างกัน และลมหายใจ (ปราณ) ในร่างกายคน ที่โคจรอยู่ในร่างกาย ก็มีกฎเกณฑ์ หากละเมิดปราณเดินสับสน ร่างกายจะเจ็บป่วย การฝึกฝนก็เพื่อก็เพื่อให้ปราณเดินปกติ นิ่ง และสมดุล นี่คือกาลจักรภายใน

    นอกจากนี้ยังมีวิธีการฝึกฝนอีก ๖ สาขา การบำเพ็ญนี้เป็นการบำเพ็ญขั้นสูง มีความวิเศษจนไม่อาจพรรณนาได้ โดยมุ่งตรงต่อความสัมพันธ์ระหว่างร่างกายและท้องฟ้าโดยตรง นอกจากนี้กาลจักรยังควบคุม และบำรุงรักษาชีพจร, พลังชีวิต, ประสาท เพิ่มพูนบุญและวาสนา ทั้งยังดับแล้วซึ่งภยันตรายทั้งปวง เมื่อสำเร็จขั้นสูงสุดเรียกว่า "อิศวรกาลจักร" (การเป็นใหญ่อิสระเหนือกาลจักร) ร่างกายทั้งหมดก็จะเปลี่ยนไป ส่วนที่ดีก็จะเพิ่มพูน ส่วนที่ร้ายและโรคาพาธทั้งปวงจะถูกขจัดไปจนสิ้น

    ชีวิตคนนับแต่เริ่มต้นจนถึงสิ้นสุด (เกิด – ตาย) เป็นเพียงธาตุทาสของธรรมชาติภายนอก ความเป็นอิศวร (การเป็นใหญ่อิสระ) จึงอยู่ที่การมีชีวิตอิสระจากเหตุปัจจัย ซึ่งการรักษาสมดุลของธาตุอินหยาง (เพื่อให้สุขภาพแข็งแรงและอายุยืนยาว) นั้นเป็น ๒ ภูมิ คือ ปฏิสนธิสิทธิภูมิ และไวปุลยภูมิ

    กาลจักรธรรมเป็นการศึกษากฎเกณฑ์ชีวิตของมนุษย์ ทั้งยังเปลี่ยนแปลกฎเกณฑ์ชีวิต เป็นมหาธรรมที่หลุดพ้นจากกฎเกณฑ์ของชีวิต เป็นสิ่งวิเศษที่แปรผันมิรู้สิ้น ซึ่งกาลจักรดาราศาสตร์และมนุษย์ชาติได้พิสูจน์วิทยาศาสตร์อย่างไม่ต้องสงสัย กาลจักรธรรมนั้นยังมีนัยอีกมากมายเช่น ยังมีอีกที่เรียกว่า "กาลจักรมณฑล" และ "กาลจักรตถาคต" (พระกาลจักรวัชราธิปติตถาคต) โดยมีความสัมพันธ์กับกกเกณฑ์ของกาลจักรภายในและภายนอก

    กาลจักรมณฑล นั้นเป็นตัวแทนของร่างกายมนุษย์และก็เป็นตัวแทนของจักรวาลด้วย ไม่ใช่นึกหรือเดาแล้ววาดขึ้นมา โดยแต่ละส่วนล้วนมีความสัมพันธ์กับร่างกายของคนทั้งสิ้น ทั่วทั้งจักรวาลไม่ว่าเรื่องอะไร ล้วนมีกฎเกณฑ์ที่สัมพันธ์กัน พระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์ ล้วนมีความสัมพันธ์ในแต่ละพระองค์ ดังเช่นในส่วนนอก ใน ๑ ปี มี ๓๖๐ วัน มีดาวฤกษ์ ๓๖๐ ดวง หมุนเวียนกันไปทุกวัน ในกาลจักรมณฑล ก็จะมี พระตถาคตเจ้า ๓๖๐ พระองค์ แทนในแต่ละวัน

    ขันธ์ ๕ ดังที่กล่าวเอาไว้แล้วว่า มี รูป, เวทนา, สัญญา, สังขาร, วิญญาณ และ อากาศธาตุ ร่างกาย (ชีวิต) คนเกิดจากการรวมกันของสิ่งทั้ง ๖ นี้ ซึ่งในส่วนนี้ ในกาลจักรมณฑลก็จะมีพระตถาคตเจ้า ๖ พระองค์เป็นตัวแทน กาลจักรจะต่างกันอันอื่นตรงที่ ใช้จำนวน ๖ เป็นตัวแทน เช่นชีวิตคนประกอบไปด้วย ดิน, น้ำ, ลม, ไฟ, อากาศ, วิญญาณ (นาม) ด้วยต้องมีนามเข้าประกอบถึงจะสำเร็จเป็นสิ่งมีชีวิตได้ ชีวิตคนประกอบด้วย ๖ ประการนี้ ในกาลจักรมณฑลก็จะแทนด้วย ๖ พุทธมาตา

    [​IMG]


    ยังมีอีกที่เรียกว่า "พระกาลจักรวัชราธิปติตถาคต" พระกายท่อนบนพระฉวีสีน้ำเงิน ขาขวาสีแดง ขาซ้ายสีขาว สื่อความหมายถึงการรวมกันของที่ตั้งแห่งชีวิต ๓ ประการ ได้แก่ พลังชีวิต, ปราณ และเลือด กายท่อนบนฉวีสีน้ำเงินแทนความหมายถึงปราณ ขาขวาสีแดงหมายถึงเลือด ขาซ้ายสีขาวหมายถึงพลังชีวิต ทั้ง ๓ ประการนี้เป็นสิ่งสำคัญที่สุดของชีวิต ปราศจากทั้ง ๓ สิ่งนี้แล้ว ชีวิตย่อมไม่อาจมีอยู่ได้ มี ๔ พักตร์ หมายถึงมหาภูตรูป ๔ ด้านหน้าสีดำหรือสีน้ำเงินเข้มหมายถึงธาตุลมหรือปราณ สีแดงหมายถึงไฟ ด้านหลังสีเหลืองหมายถึงดิน สีขาวหมายถึงธาตุน้ำ ๔ พักตร์นี้ยังหมายถึง ๔ ฤดู (ฤดูใบไม้ผลิ ฤดูร้อน ฤดูใบไม้ร่วง และฤดูหนาว) มี ๑๒ กร หมายถึง ๑๒ เดือนใน ๑ ปี ถ้ามี ๒๔ กรหมายถึง ๒๔ สารท (๒ สารทเป็น ๑ เดือน, ๓ เดือนเป็น ๑ ฤดู, ๔ ฤดู เป็น ๑ ปี*) นอกจากนี้ ๒๔ กรยังหมายถึงข้างขึ้นข้างแรม (๑ เดือน จะมีข้างขึ้นข้างแรม ๒ ครั้ง ก็เท่ากับ ๑ ปี ๒๔ ครั้ง) ข้างขึ้นข้างแรมนี้เรียกอีกอย่างว่าปักษ์บน (ศุกลปักษ์) ปักษ์ล่าง (กาฬปักษ์) เมื่อมี ๒๔ กร แต่ละกรมี ๕ นิ้ว ก็จะเป็น ๑๒๐ นิ้ว เมื่อรวมแต่ละกรที่มี ๓ ข้อ รวมแล้วจะได้ ๓๖๐ หมายถึง ๓๖๐ วัน (จันทรคติ) ขาทั้ง ๒ ข้าง โดยขาขวาสีแดงหมายถึงเส้นรุ้งที่อยู่ห่างเส้นศูนย์สูตรไปทางเหนือ ส่วนขาซ้ายสีแดงหมายถึงเส้นรุ้งที่อยู่ห่างเส้นศูนย์สูตรไปทางใต้ ทั้งหมดนี้คือความสัมพันธ์ของกาลจักร

    แน่นอนไม่ได้หมายความว่าพระกาลจักรวัชราธิปติตถาคตไม่มีอยู่จริง เพราะสมัยที่พระสมัยพระศากยมุนีตถาคตทรงแสดงรหัสธรรม ก็ได้ทรงสำแดงพระกาลจักรวัชราธิปติตถาคตให้ปรากฏ ซึ่งก็คือที่เราได้เห็นในปัจจุบันนี้ อันเครื่องรัตนาลังการที่ประดับร่างกายนั้น ล้วนมีนัยความสัมพันธ์ต่อกาลจักรภายในและภายนอกทั้งสิ้น ส่วนสตรีด้านหน้านั้นคือพุทธมาตา นางมีพระฉวีสีเหลือง นามของนางแปลแล้วมีความหมายถึงสีนานาพรรณ พุทธมาตาเป็นตัวแทนของดวงอาทิตย์ แสงของดวงอาทิตย์มีทั้งสิ้น ๗ สี ๑ ปีพระอาทิตย์โคจรครบรอบ ๑๒ ราศี ด้วยเหตุนี้พระอาทิตย์จึงเป็นศูนย์กลางจักรวาล เวลาทั้งหมดก็มีพระอาทิตย์มาเป็นตัวกำหนด รวมทั้งเวลาบนโลกนี้ด้วย ไม่มีพระอาทิตย์ก็ไม่สามารถกำหนดเวลาได้ ร่างกายของนางเปรียบได้กับเลือด โดยที่เลือดเป็นรากฐานแห่งชีวิต พุทธปิตา (พระกาลจักรวัชราธิปติตถาคต) และพุทธมาตา เป็นตัวแทนความสัมพันธ์ของอินและหยาง ก่อกำเนิดสรรพสิ่ง ขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งไปไม่ได้ ทั้ง ๒ นี้ต้องประสอดคล้องกันอย่างสมดุล ซึ่งการบำเพ็ญธรรมนี้ต้องจินตภาพว่าพุทธปิตาและพุทธมาตาได้หลอมรวมเป็นหนึ่งเดียวกัน

    ๓. การบำเพ็ญธรรมแบบทั่วไป และการบำเพ็ญธรรมแบบพิเศษ, การบำเพ็ญ
    ธรรมแบบพิเศษ หมายถึงการบำเพ็ญปฏิสนธิสิทธิภูมิและไวปุลยภูมิ
    ในกาลจักรธรรมนั้น ในกาลจักรมณฑลมีพระพุทธเจ้ามากมาย ดังเช่นไตรคุรุมณฑล ในมณฑลนี้พระตถาคตทั้งสิ้น ๖๒๐ พระองค์ ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนสัมพันธ์กับกาลจักรภายนอก (ดาวฤกษ์, ฤดูกาล ฯลฯ) และกาลจักรภายใน (ชีพจร ฯลฯ) ไม่มีพระองค์ใดที่จะโดดเดี่ยวโดยไม่มีความสัมพันธ์

    ร่างกายคนประกอบไปด้วยอินและหยาง เปรียบดังพุทธปิตา, พุทธมาตา, ปุริสโพธิสัตว์ และอิตถีโพธิสัตว์ สรุปก็คือทุกสิ่งในรหัสธรรมล้วนแฝงไปด้วยความหมาย ไม่มีสิ่งใดเลย ที่จะเลื่อนลอยไร้เหตุผล

    การบำเพ็ญปฏิสนธิสิทธิภูมิโดยทั่วไปต้องปลีกวิเวก (เก็บตัว) ปัจจุบันที่บำเพ็ญกันทั่วไปเป็นแบบมณฑลภายใน ในมณฑลนั้นมีพระพุทธเจ้า ๔๖ พระองค์ ต้องใช้เวลาบำเพ็ญประมาณ ๕๐ วันจึงจะเสร็จสมบูรณ์ ส่วนการบำเพ็ญไวปุลยภูมิ มีการบำเพ็ญด้วยกัน ๖ วิธี การบำเพ็ญนี้เป็นขั้นสูง ต้องเป็นบุคคลระดับกลางขึ้นไป โดยทั่วไปกำหนดว่าต้องใช้เวลา ๓ ปี ๑ เดือนครึ่ง ซึ่งการบำเพ็ญนี้ ส่วนหนึ่งก็ขึ้นอยู่กับ สภาพร่างกายของผู้บำเพ็ญแต่ละคนด้วย

    ยังมีอีกที่พิเศษเยกว่าการบำเพ็ญ "กาลธรรม" คือต้องบำเพ็ญในห้องมืด ต้องบำเพ็ญทุกวัน การบำเพ็ญนี่ค่อนข้างอุกฤษฎ์ การบำเพ็ญนี้ ต้องมีอาจารย์คอยชี้แนะตลอด ไม่อาจกระทำได้โดยลำพัง ไม่เช่นนั้นจะเกิดปัญหาได้ และต้องบำเพ็ญตลอด ๒๔ ชั่วโมง เลยค่อนข้างยาก ต้องพิจารณาเส้นลมปราณ เมือบำเพ็ญไปถึงขั้น ก็จะสามารถมองเห็นสีของเส้นลมปราณในร่างกายได้ และยังสามารถมองเห็นชีพจรจักร สามารถดูได้ว่าในแต่ละเวลาปราณเดินไปถึงเส้นลมปราณไหน เวลานี้ปราณไปอยู่ที่เส้นลมปราณอะไร การเดินทั้งนี้ปกติหรือไม่ ซึ่งเมื่อมองเห็นสีของเส้นลมปราณแล้ว ก็จะสามารถความคุมปราณในเส้นลมปราณได้ ที่จุดตันเถียนมีเส้นลมปราณทั้งสิ้น ๖๔ เส้น ซึ่งเป็นการเดินลมปราณที่มีกฎเกณฑ์ที่แน่นอน ซึ่งเป็นระดับสูงมาก คนทั่วไปที่บำเพ็ญจะทำไม่ได้ ต้องมีอาจารย์แนะนำ แม้มีตำราก็ไม่เพียงพอ

    การบำเพ็ญกาลจักรมีความซับซ้อนมาก ที่สำนักเรียนกาลจักรต้องมีการบำเพ็ญอย่างน้อยวันละ ๑๓ – ๑๔ ชั่วโมง ถึงจะสามารถผ่านไปได้ มีการจินตภาพถึงพระตถาคตทั้ง ๖๒๐ พระองค์ ทั้งต้องเจริญธารณีด้วย ซึ่งถือว่าซับซ้อนมาก

    ๔. ลักษณะพิเศษของกาลจักรมาธรรม โดยในยุคปลายพุทธศาสนา (ยุคปัจจุบัน)
    "ชนใดที่ได้รับการอภิเษกกาลจักรมหาธรรม จักตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ แม้ว่าจะไม่ได้บำเพ็ญใดๆ เลยก็ตาม"

    "ชนใดสดับกาลจักรมหาธรรมนี้ บังเกิดจิตเลื่อมใส มีการเจริญกาลจักรวัชรธารณีอยู่เป็นนิจ ย่อมพ้นแล้วจากภยันตรายทั้งปวง แม้โลกธาตุจะถึงคราวิบัติ เกิดอันตรายนาๆ ประการ เช่น ลมพายุ, อุทกภัย, อัคคีภัย, โรคร้าย, โรคระบาด, โรคที่มิอาจรักษา, ภัยสงคราม ฯลฯ"

    "มาตรว่าชนใดได้สดับธรรมนี้ รับการอภิเษก แล้วไม่ละเมิดคุรุกรรม (กรรมหนัก – อนันตริยกรรม) ย่อมจักได้อุบัติเป็นมนุษย์ หรืออุบัติยังสุขาวดีโลกธาตุ จักไม่มีทางตกสู่อบาย คุรุกรรมย่อมแปรเปลี่ยนลหุกรรม (กรรมเบา) ลหุกรรมย่อมสูญสลาย นอกจากนี้ ชนผู้ได้สดับธารณี เดรัจฉานทั้งนั้น ย่อมพ้นจากอบายภูมิ"



    ๕. กาลจักรวัชรหฤทัยธารณี

    "โอม ฮามูเชีย มาลาวา ลายา โซฮา"

    File เสียงครับ
    Free File Hosting Made Simple - MediaFire






    ข้อความนี้นำมาจาก mahapadma.org
    แปลโดยโดยท่าน โพธิพฤกษ์ วัชราธร
    http://www.facebook.com/profile.php?id=100001493174304
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 พฤศจิกายน 2011

แชร์หน้านี้

Loading...