การพัฒนาทำให้เกิดปัญญาญาณ

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย hyperz, 5 กันยายน 2010.

  1. hyperz

    hyperz เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    338
    ค่าพลัง:
    +3,421
    [​IMG]

    โดย พระธรรมสิงหบุราจารย์
    กฎแห่งกรรมเล่มที่ 21 วัดอัมพวัน


    การที่เรามาทำบุญสงเคราะห์คนอื่นนั้นก็ดีอยู่แต่ก่อนที่จะไปสงเคราะห์คนอื่นเขาเราต้องช่วยเหลือตัวเองให้ได้ก่อนโดยพัฒนาตัวเองให้เกิดปัญญา<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ปัญญามี ๓ แบบ คือ<O:p</O:p
    ๑. สุตมยปัญญาคือความรู้ที่ได้ยินได้ฟังได้เล่าเรียนมาจากผู้อื่น<O:p</O:p
    ๒. จินตามยปัญญา เป็นความรู้ที่เกิดจากการใช้เชาวน์ปัญญาคิดหาเหตุผลเพื่อทำความเข้าใจในสิ่งที่ได้ยินได้ฟังได้เล่าเรียนมา<O:p</O:p
    ๓. ภาวนามยปัญญา เป็นปัญญาที่เกิดจากการฝึกอบรมจนได้ประจักษ์ความจริงด้วยตัวเองเมื่อได้ประจักษ์ซ้ำแล้วซ้ำเล่าจะพัฒนาปัญญาจนรู้เท่าทันในกองสังขารเข้าใจสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริงทุกแง่มุมรู้แยกแยะเหตุผลดีชั่วคุณโทษประโยชน์มิใช่ประโยชน์จนจิตเป็นอิสระไม่ถูกครอบงำด้วยกิเลสและความทุกข์<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ภาวนามยปัญญาจะเกิดได้จากการเจริญสมาธิภาวนาวิปัสสนากรรมฐาน โดยปฏิบัติตามวิธีการเจริญสติปัฏฐาน ๔ ซึ่งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า เป็นทางสายเดียวเพื่อก้าวล่วงจากความเศร้าโศกเพื่อความดับทุกข์เพื่อความบริสุทธิ์ของจิต ฯลฯ<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ขอย้ำว่าการเจริญกรรมฐานที่จะทำให้เกิดปัญญาญาณ ได้นั้นคือวิปัสสนากรรมฐานถ้าทำเพียงขั้นสมถกรรมฐานก็จะได้สมาธิความสงบใจเพียงชั่วขณะอาจจะได้ไปเห็นสวรรค์เห็นนรกแถมด้วยแต่พอออกจากกรรมฐานก็มีกิเลสมีทุกข์เหมือนเดิม<O:p</O:p
    <O:p
    การปฏิบัติสติปัฏฐาน ๔ประกอบด้วย <O:p</O:p
    กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน - การตั้งสติกำหนดพิจารณากายเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน - การตั้งสติกำหนดพิจารณาเวทนาหรือความรู้สึก บางท่านเรียกว่า การเสวยอารมณ์ <O:p></O:p>
    จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน - การตั้งสติกำหนดพิจารณาจิตธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน – การตั้งสติกำหนดพิจารณาธรรม<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    . กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน- คือการมีสติระลึกรู้อยู่กับสภาวะปัจจุบันขณะของกายตลอดเวลาเริ่มตั้งแต่การหายใจเข้า-ออกทำอิริยาบถต่างๆ เช่นยืน เดิน นั่ง นอนหรือเหลียวซ้ายแลขวาคู้แขนเหยียดขาฯลฯ<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    การปฏิบัติ<O:p</O:p
    การกำหนดยืนหนอ ๕ ครั้งมีประโยชน์มากให้ยืนตรงยกมือไขว้หลังมือขวาจับมือซ้ายวางไว้ตรงกระเบนเหน็บหน้าตรงหลับตาสติจับอยู่ที่ศีรษะกำหนดว่า ยืน-หนอตอนกำหนดว่า ยืนให้จิตจับอยู่ที่ศีรษะแล้วเลื่อนลงมาจนหยุดที่สะดือตอนว่า หนอให้กำหนดจิตจากสะดือลงไปปลายเท้าแล้วกำหนดจากปลายเท้าขึ้นมาที่สะดือจากสะดือขึ้นไปบนศีรษะ แบบเดียวกันทำกลับไปกลับมาเช่นนี้จนครบ ๕ ครั้งต้องทำติดต่อกันไปจิตจะเป็นสมาธิถ้าใครทำจนได้สมาธิจะรู้วาระจิตของตนรู้อารมณ์นิสัยของคนอื่น<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    เมื่อยืนหนอ ๕ ครั้งแล้ว ก็ลืมตาดูที่ปลายเท้า กำหนดรู้เฉพาะอิริยาบถเดินอย่างเดียวให้กำหนดว่า ขวา-ย่าง-หนอ ซ้าย-ย่าง-หนอก่อนจะเดินให้สำรวมจิตอยู่ที่เท้าขวาตั้งสติปักลงไปแล้วกำหนดในใจ คำว่า ขวา...ต้องยกส้นเท้าขวาขึ้นจากพื้นประมาณ ๒ นิ้วสติระลึกรู้พร้อมกับส้นเท้าขวาที่ยกขึ้นกำหนด ย่าง...ก้าวเท้าขวาไปข้างหน้าช้าๆโดยให้สติระลึกรู้พร้อมกับเท้าขวาที่เคลื่อนไปข้างหน้าเมื่อก้าวเท้าเสร็จหยุดค้างไว้โดยเท้ายังไม่เหยียบพื้นพอกำหนดคำว่า หนอ...ให้ค่อยๆวางเท้าลงให้ถึงพื้นโดยปลายเท้าและส้นเท้าลงพร้อมกันสติระลึกรู้พร้อมกับเท้าที่ลงสัมผัสพื้น จากนั้นสำรวมจิตไว้ที่เท้าซ้าย ตั้งสติปักลงไปแล้วกำหนดว่า ซ้าย...ย่าง...หนอ...สลับกันเช่นนี้เรื่อยๆ ไป<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    การเดินให้เดินช้าที่สุดเท่าที่จะทำได้เดินให้ได้จังหวะและไม่ก้าวยาวหรือสั้นจนเกินไปพอสุดทางแล้วก็ชิดเท้าหยุดกำหนดยืนหนอช้าๆอีก ๕ ครั้งแล้วกำหนดกลับหนอครั้งที่ ๑ ยกปลายเท้าขวาใช้ส้นเท้าขวาหมุนตัวไปทางขวา๔๕ องศาพร้อมกับกำหนดว่า กลับ...โดยให้สติอยู่ที่ส้นเท้าเราเมื่อได้ ๔๕ องศาแล้วก็ค่อยๆวางปลายเท้าขวาลง พร้อมกับกำหนดว่า หนอ...ครั้งที่ ๒ เคลื่อนเท้าซ้ายมาชิดกับเท้าขวาพร้อมกับกำหนดว่า กลับ...โดยให้สติอยู่ที่เท้าซ้ายที่เคลื่อนไหวแล้วค่อยๆ วางเท้าซ้ายลงพร้อมกับกำหนดว่า หนอ...ครั้งที่ ๓, ๕, ๗ ทำเหมือนครั้งที่ ๑ครั้งที่ ๔, ๖, ๘ ทำเหมือนครั้งที่ ๒เมื่อทำครบ ๘ ครั้งจะได้ ๑๘๐ องศาซึ่งอยู่ในท่ากลับหลังหันพอดี<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    จากนั้นให้กำหนด ยืน...หนอ...ช้าๆ อีก ๕ ครั้งแล้วจึงลืมตาก้มหน้ามองดูปลายเท้าแล้วกำหนดเดินต่อไปกระทำเช่นนี้จดหมดเวลาที่ต้องการ<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    การนั่งทำต่อจากการเดินจงกรมอย่าให้ขาดตอนลงเมื่อเดินจงกรมถึงสถานที่จะนั่งให้กำหนด ยืน...หนอ...อีก ๕ ครั้งตามที่ทำมาแล้วเสียก่อนแล้วกำหนดปล่อยมือลงข้างตัวว่า ปล่อยมือหนอ...ช้าๆจนกว่าจะลงสุดเวลานั่งค่อยๆ ย่อตัวลงพร้อมกับกำหนดตามอาการที่ทำไปจริง เช่น ย่อตัวหนอ... ท้าวพื้นหนอ... คุกเข่าหนอ... นั่งหนอ... เป็นต้น<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    วิธีนั่งให้นั่งขัดสมาธิคือขาขวาทับขาซ้ายนั่งตัวตรงหลับตาเอาสติมาจับอยู่ที่ท้องพอง-ยุบเวลาหายใจเข้าท้องพองกำหนดว่า พองหนอ...ใจที่นึกกับท้องที่พอง ต้องให้ทันกันอย่าให้ก่อนหรือหลังกันหายใจออกท้องยุบกำหนดว่า ยุบหนอ...ใจที่นึกกับท้องที่ยุบต้องทันกันข้อสำคัญให้สติจับอยู่ที่การพองการยุบของท้องเท่านั้นอย่าดูลมที่จมูกอย่าออกแรงเบ่งท้องให้มีความรู้สึกตามความเป็นจริงว่าท้องพองไปข้างหน้าท้องยุบมาทางหลังอย่าให้เห็นเป็นไปว่า ท้องพองขึ้นข้างบน ท้องยุบลงข้างล่างให้กำหนดเช่นนี้ตลอดไปจนกว่าจะครบเวลาที่กำหนด<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    . เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน- การตั้งสติกำหนดพิจารณาเวทนาคือจะต้องมีสติรู้เท่าทันความรู้สึกที่เกิดขึ้นอาการหรือความรู้สึกที่ปรากฏชัดสังเกตได้ง่าย คืออาการทุกขเวทนา เช่น เจ็บ ปวด เมื่อย ฯลฯต้องกำหนดรู้แต่เพียงอาการของมันแต่อย่างเดียวอย่าให้จิตเดือดร้อนดิ้นรนไปตามอาการนั้นด้วยคือต้องกำหนดรู้ด้วยการวางเฉย<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ขณะเดินจงกรมถ้ามีเวทนาก็หยุดอย่าเดินต่อปวดตรงไหนก็ปักจิตไปตรงนั้นกำหนดว่า ปวดหนอๆกำหนดให้ละเอียดเดี๋ยวก็จะเห็นสภาวะเกิด-ดับแยกรูป-แยกนามได้ แล้วเราก็จะได้รู้จริงตรงนั้นทำให้เกิดปัญญารู้ชัดในเวทนานั้นไม่ว่าจะเป็นสุขหรือเป็นทุกข์ดีใจหรือเสียใจ<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    เวลานั่งถ้ามีเวทนาก็ต้องกำหนดคิดอะไรไม่ออกก็กำหนดที่ลิ้นปี่ หายใจยาวๆอยากจะรู้ว่าลิ้นปี่อยู่ตรงไหนก็เอาเชือกวัดตั้งแต่จมูกถึงสะดือแล้วพับครึ่งมันจะตรงลิ้นปี่ของเราพอดีกำหนดเสียใจกำหนดโกรธกำหนดดีใจต้องที่ลิ้นปี่นั่นแต่ข้อสำคัญคือต้องหายใจให้ยาวเข้าไว้อย่าหายใจสั้นถ้าหายใจสั้นเราจะกำหนดไม่ได้เพราะท้องพอง-ยุบมันจะไม่ชัดจะไม่เป็นสมาธิปัญญาจะไม่เกิด<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    . จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน - การตั้งสติกำหนดพิจารณาจิตคือการตามรู้ให้ประจักษ์ความจริงที่เกี่ยวกับจิตของตนจิตของเรานั้นเป็นธรรมชาติ ต้องคิดอ่านอารมณ์รับรู้อารมณ์ไว้ได้เป็นเวลานานเหมือนเทปบันทึกเสียง<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ในมหาสติปัฏฐานสูตรพระพุทธองค์ตรัสสอนไว้ว่า<O:p</O:p
    “...ดูก่อนภิกษุทั้งหลายก็อย่างไรเล่าที่ภิกษุเฝ้าสังเกตจิตในจิตอยู่<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    “ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเมื่อจิตมีราคะ เธอก็รู้ชัด ว่าจิตมีราคะเมื่อจิตปราศจากราคะ เธอก็รู้ชัดว่าจิตปราศจากราคะเมื่อจิตมีโทสะ เธอก็รู้ชัดว่าจิตมีโทสะเมื่อจิตปราศจากโทสะ เธอก็รู้ชัดว่าจิตปราศจากโทสะเมื่อจิตมีโมหะ เธอก็รู้ชัดว่าจิตมีโมหะเมื่อจิตปราศจากโมหะ เธอก็รู้ชัดว่าจิตปราศจากโมหะเมื่อจิตรวมกันอยู่ เธอก็รู้ชัดว่าจิตรวมกันอยู่เมื่อจิตฟุ้งซ่าน เธอก็รู้ชัดว่าจิตฟุ้งซ่านเมื่อจิตแผ่ขยายออกไป เธอก็รู้ชัดว่าจิตแผ่ขยายออกไปเมื่อจิตไม่แผ่ขยายออกไป เธอก็รู้ชัดว่าจิตไม่แผ่ขยายออกไปเมื่อจิตยังไม่ถึงภาวะสูงสุด เธอก็รู้ชัดว่าจิตยังไม่ถึงภาวะสูงสุดเมื่อจิตถึงภาวะสูงสุด เธอก็รู้ชัดว่าจิตถึงภาวะสูงสุดเมื่อจิตเป็นสมาธิ เธอก็รู้ชัดว่าจิตเป็นสมาธิเมื่อจิตไม่เป็นสมาธิ เธอก็รู้ชัดว่าจิตไม่เป็นสมาธิเมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว เธอก็รู้ชัดว่าจิตหลุดพ้นแล้ว เมื่อจิตไม่หลุดพ้น เธอก็รู้ชัดว่าจิตไม่หลุดพ้น<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    “ดังนี้ เธอเฝ้าสังเกตจิตในจิตภายในหรือเธอเฝ้าสังเกตจิตในจิตภายนอกหรือเธอเฝ้าสังเกตจิตในจิตทั้งภายในและภายนอกดังนี้ เธอเฝ้าสังเกตปรากฏการณ์ในการเกิดขึ้นของจิตดังนี้ เธอเฝ้าสังเกตปรากฏการณ์ในการดับไปของจิตดังนี้ เธอเฝ้าสังเกตปรากฏการณ์ในการเกิดขึ้นและดับไปของจิตบัดนี้สติของเธอตั้งมั่นอยู่ ‘นี่คือจิต!’ เช่นนี้ เธอได้พัฒนาสติจนถึงขั้นเพียงแต่เข้าใจเพียงแต่ระลึกรู้ดังนี้ เธอย่อมไม่ยึดติดอยู่กับสิ่งใดๆในโลก (แห่งนามและรูป) ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมเฝ้าสังเกตจิตในจิต อย่างนี้แล”<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    . ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน- การตั้งสติกำหนดพิจารณาธรรมซึ่งในที่นี้หมายถึงสิ่งที่อยู่ในจิตคือการตามระลึกรู้จนประจักษ์ความจริงของสิ่งที่อยู่ภายในจิตที่จิตนึกคิดหรือมีอารมณ์<O:p
    <O:p</O:p
    คำว่าธมฺมในภาษาบาลี ที่เราใช้ในภาษาไทยว่าธรรม มีความหมายหลายอย่างแต่ในที่นี้หมายถึงธรรมชาติหรือลักษณะหรือสภาวะของสิ่งที่อยู่ในจิต<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ธรรมอย่างแรกที่พบอยู่ในจิตของเราเสมอคือ ธรรมที่เรียกว่า นิวรณ์ ๕ได้แก่ความยินดีพอใจในกาม (กามฉันทะ) ความคิดร้าย ขัดเคืองแค้นใจ (พยาบาท) ความหดหู่เซื่องซึม (ถีนมิทธะ) ความฟุ้งซ่านกระวนกระวายใจ (อุทธัจจะกุกกุจจะ) และความลังเลสงสัย (วิจิกิจฉา)<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ธรรมทุกชนิดที่เกิดขึ้นในจิตจะทำให้เกิดเวทนาหรือความรู้สึก ตามมาเสมอตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือเมื่อมีอายตนะภายนอก ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ (สิ่งที่สัมผัสกาย) และธรรมารมณ์ (อารมณ์ที่เกิดกับใจ) มากระทบ อายตนะภายใน คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจจิตส่วนที่เรียกว่า วิญญาณก็จะรับรู้ว่ามีอะไรเกิดขึ้นแล้วส่วนที่เป็นสัญญาที่จำได้หมายรู้ก็จะบอกได้ทันทีว่าสิ่งนั้นดีหรือเลวจากนั้นเวทนาก็จะเกิดขึ้นตามมาเป็นสุขเวทนา หรือทุกขเวทนาก็แล้วแต่แล้วต่อมาสังขารคือการปรุงแต่งตอบโต้ (ว่าชอบหรือไม่ชอบอยากได้หรืออยากกำจัด) ก็จะเริ่มทำงานทำให้เกิดความทุกข์ตามมา<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    การปฏิบัติสติปัฏฐานก็เพื่อทำให้จิตส่วนที่มีหน้าที่รับรู้ (วิญญาณ)มีกำลังมากขึ้นสามารถสกัดกั้นช่องทางที่จะ ไปถึงส่วนสัญญา เวทนา และ สังขาร อย่างเร็วไว พอมีสิ่งใดมากระทบวิญญาณตัวรู้ก็จะทำหน้าที่ทันทีว่า รู้แล้วเห็นแล้วแต่ก็เป็นเพียง สักแต่ว่ารู้” “สักแต่ว่าเห็นทำให้สิ่งนั้นลอดผ่านไปแผลงฤทธิ์ที่ สัญญา และ เวทนา ไม่ได้หรือได้น้อยลง<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    การเฝ้าสังเกตดู “ธรรม” ทุกชนิดทุกสิ่งที่เกิดขึ้นในจิตนั้นจะทำให้เราค่อยๆ เห็นการเกิดดับของเวทนา และธรรม ชัดเจนขึ้นเรื่อยๆจนในที่สุดก็จะพบว่าอ้อ! ธรรมเป็นอย่างนี้เองไม่ดีไม่ชั่วไม่ใช่ของเราของเขา มันเป็นเพียงกฎธรรมชาติ ธรรมชาติของสิ่งที่อยู่ภายในจิตเท่านั้นเอง<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ที่สำคัญผู้ปฏิบัติต้องเฝ้าสังเกตสิ่งที่เกิดขึ้นในจิต โดยไม่ต้องไปพยายามฉุดยื้อมันไว้ หรือผลักไสมันออกไป ให้เฝ้าสังเกตดูแต่เพียงอย่างเดียว จุดมุ่งหมายก็คือ เพื่อความรู้ชัดเข้าใจชัดในความเป็นอนิจจัง<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    สติที่ใช้ในการเจริญสติปัฏฐานนี้ ต้องเป็นสติที่ประกอบด้วยสัมปชัญญะ ซึ่งสัมปชัญญะในที่นี้คือ ปัญญาที่เห็นการเกิดขึ้นและดับไปอยู่ตลอดเวลาของนาม-รูป ที่เราคิดเราถือว่าเป็นตัวเรานั่นแหละ<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ถ้าท่านทั้งหลายได้ฝึกเจริญสติปัฏฐานอยู่เสมอ ๆ แม้จะไม่ถึงกับได้บรรลุมรรคผลนิพพาน แต่ท่านก็จะได้นำวิธีการ หรือ ประสบการณ์ที่เคยปฏิบัตินั้น มาใช้พิจารณาจนเกิดปัญญาแก้ปัญญาชีวิตของท่านได้ อาตมาขอยืนยัน<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    แต่ผู้ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนั้น จะต้องรักษาศีล ๕ เป็นพื้นฐานที่สำคัญด้วย หากผิดศีลจะได้รับผลกรรมดังนี้<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ๑. ปาณาติบาต จะเป็นอัมพาต อายุสั้น<O:p</O:p
    ๒. อทินนาทาน จะโดนจี้ โดนปล้น ไฟไหม้บ้าน<O:p</O:p
    ๓. กาเม สุมิจฉาจาร ครอบครัวหาความสุขไม่ได้ ครู่ครองจะไม่ซื่อสัตย์<O:p</O:p
    ๔. มุสาวาท จะโดนหลอก โดนโกง<O:p</O:p
    ๕. สุราเมรัย จะเป็นโรคประสาท ยิ่งถ้าเอาสุราไปกินในวัดขณะพระกำลังสวดพระอภิธรรม จะเป็นบ้า พวกขายยาเสพติด ลูกหลานจะเป็นบ้า<O:p</O:p
    <O:p</O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 กันยายน 2010

แชร์หน้านี้

Loading...