การประชุม ATBU ณ เมืองสะกาย ประเทศเมียนมาร์

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย aprin, 11 มีนาคม 2009.

  1. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    [​IMG]

    การประชุมสัมมนาสมาคมมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาเถรวาท (ATBU) ครั้งที่ 2 ในวันที่ 6,7 มีนาคม 2552 เริ่มต้นการสวดมนต์เปิดการประชุม จากพระสงฆ์นิกายเถรวาททั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวันที่ 7 มมร ได้เป็นผู้เจริญพุทธมนต์เปิดการประชุมโดยการนำของพระเทพวิสุทธิกวี พระครูธีรสารปริยัติคุณ และมหาวิทยา ปริปุณฺณสีโล รองอธิการบดี ห้องประชุมใหญ่ยังเต็มไปด้วยนักวิชาการพระพุทธศาสนา

    การประชุมแยกเป็นสี่หัวข้อและแยกห้องประชุมไปอีกสี่ห้องคือ(1) ห้องประชุมด้านทิศเหนือคือห้องโยนกให้เป็นหัวข้อพระพุทธศาสนาเพื่อโลกานุเคราะห์ (2) ห้องประชุมด้านทิศใต้เรียกว่าห้องปาฏลีบุตรให้เป็นห้องของการศึกษาและการปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนาเถรวาท (3) ห้องทางทิศตะวันออกคือห้องพาราณสีเป็นเรื่องวรรณกรรมภาษาบาลีแบบเถรวาทหลังศตวรรษที่ 19 และ(4) ห้องประชุมใหญ่เป็นห้องการศึกษาและการบริหารกิจการพระพุทธศาสนาเถรวาท
    [​IMG]

    ผู้เข้าร่วมประชุมแยกกลุ่มตามหัวข้อที่ตนเองนำเสนอ ในส่วนของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ตามกำหนดการในวันที่ 6 มีนาคม นำเสนอเกี่ยวกับภาษาบาลี 2 เรื่องคือพระมหาฉัตรชัย สุฉตฺตชโย นำเสนอเรื่องการศึกษาภาษาบาลีในประเทศไทย และรองศาสตราจารย์จำนง คันธิก นำเสนอเรื่องการศึกษาภาษาบาลีสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ทุกเรื่องนำเสนอเป็นภาษาบาลี ผู้ดำเนินรายการ ผู้นำเสนอ ผู้ฝังและผู้ถามต้องพูดภาษาบาลีเท่านั้น บรรยากาศในห้องนี้น่าสนใจที่สุดเพราะนักวิชาการทั้งหลายต่างก็สงสัยว่าการพูดภาษาสมัยพุทธกาลนั้นทำอย่างไร หลายท่านที่ออกจากห้องประชุมเล่าให้ฟังว่า ทั้งคนนำเสนอและคนฟังต่างก็มึนพอๆกัน แต่นั่นเป็นเรื่องของงานวิชาการภาษาบาลี เพราะแม้จะเป็นภาษาเดียวกันแต่ทว่าการศึกษาของแต่ละประเทศไม่เหมือนกัน โดยเฉพาะภาษาบาลีเป็นภาษาของพระพุทธศาสนาเถรวาท จะมีวิธีการศึกษาอย่างไรเป็นเรื่องของนักวิชาการในประเทศนั้นๆ แต่เมื่อมานำเสนอในที่เดียวกันก็น่าจะได้วิธีการที่จะนำไปสู่การพัฒนาการศึกษาภาษาบาลีในอนาคต

    ที่ห้องประชุมปาฏลีบุตรมีอาจารย์จาก มมร สองท่านนำเสนอผลงานคือพระมหากรธัช กมฺพุวณฺโณเสนอเรื่องการศึกษาพระปริยัติธรรมและการปฏิบัติธรรมในประเทศไทย ส่วน ดร. เสน่ห์ เตชวงศ์ เสนอเรื่องการศึกษาภาษาอังกฤษสำหรับพระสงฆ์ไทย ท่านรองอธิการบดีนำทีม คณาจารย์ มมร ไปร่วมฟังและให้กำลังใจเต็มห้องประชุม

    [​IMG]

    ในห้องประชุมทั้งสี่ห้องนั้น วันหนึ่งๆนำเสนอผลงานทางวิชาการได้ประมาณห้องละ 10-20 เรื่อง วันหนึ่งก็หกสิบเรื่อง จึงไม่อาจนำมาเสนอในที่นี้ได้ทั้งหมด เอกสารทางวิชาการที่นำเสนอรวมพิมพ์เป็นหนังสือเล่มใหญ่ได้อีกสามเล่ม ในช่วงเวลาของการประชุมทั้งอ่านทั้งฟังภาษาอังกฤษ ภาษาบาลีและภาษาพม่า ถือว่าเป็นงานหนักมาก เริ่มประชุมตั้งแต่เวลา 08.00 น.เลิกประมาณเวลา 22.00 น.ทุกวัน
     
  2. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    หุบเขาสะกายเมืองแห่งภิกษุสงฆ์

    เมืองสะกายหรือสะแคงหรือจักกายเคยเป็นเมืองหลวงอยู่ช่วงสั้นๆ ระหว่างปีพุทธศักราช 1858- 1907 (ค.ศ. 1315-1364)ดังที่ปรากฏในประวัติศาสตร์พม่าของหม่องทินอ่องว่า
     
  3. aprin

    aprin เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    7,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +22,514
    สามเณรและทสศีลมาตาหน่อเนื้อแห่งพระพุทธศาสนา

    ความศรัทธาของพุทธศาสนิกชนในเมืองสะกายแห่งนี้ ยากที่จะอธิบายหรือหาคำอธิบายได้ยาก หากไม่ใช่คนที่นี้คงคิดไม่ถึงว่าทำไมจึงมีนักบวชมากขนาดนั้น มองไปทางไหนเจอแต่พระสงฆ์สามเณรและศีลมาตา นอกจากนั้นทั้งหุบเขายังเต็มไปด้วยเจดีย์ทอง บนยอดภูเขาแต่ละแห่งจะมีเจดีย์ทองสูงเสียดฟ้าเหลืองอร่ามไปด้วยยอดทองคำ จนมีคำขนานนามแผ่นดินแห่งนี้ว่าเมืองแห่งทองคำ (Golden Land)




    [​IMG]

    ประเทศพม่ามีภิกษุสามเณรประมาณสี่แสนรูป ในขณะประเทศไทยมีเพียงสามหมื่นรูป หากเทียบตามจำนวนประเทศไทยก็มีเพียงน้อยนิดเท่านั้น พระพุทธศาสนาในพม่าปัจจุบันมีอยู่ถึง 9 นิกาย นิกายที่ใหญ่ที่สุดคือนิกายสุธรรมมา รองลงมาคือนิกายชเว ซิน ซึ่งวัดสีตาคูก็สังกัดนิกายนี้ นอกจากนั้นก็มีจำนวนมากน้อยแตกต่างกันไป

    [​IMG]

    การบริหารมีมหาสังฆสมาคมโดยคัดเลือกพระสงฆ์จากทุกนิกายตามจำนวนของพระสงฆ์ แต่ละท่านมีวาระในการดำรงตำแหน่ง 4 เดือน เมื่อหมดวาระก็ต้องเลือกตั้งกันใหม่ พระที่ได้รับเลือกจะต้องย้ายจากวัดเดิมไปยังสำนักงานมหาสังฆสมาคมและทำงานตลอดระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่ง ตำแหน่งมหาสังฆสมาคมของประเทศเมียนมาร์จึงมิใช่ตำแหน่งผูกขาดพระสงฆ์จากทุกวัดทุกนิกายจึงมีสิทธิ์เป็นคณะกรรมการ(ข้อมูลได้มาจากคำบอกเล่าของพระมหาประนอม ธัมมลังการโร)


    [​IMG]

    การประชุมในวันนี้จบด้วยการแสดงของวงโปงลางจากมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน ที่ยกเครื่องดนตรีและนักแสดงเต็มวงมาบรรเลงให้นักวิชาการและผู้เข้าร่วมประชุมได้หายง่วงนอน เพราะขณะนั้นเวลาประมาณสี่ทุ่มแล้ว หลายท่านกำลังใจจดใจจ่อกับผู้นำเสนอคนสุดคือพระ ดร.ธัมมปิยะจากจากตรีปุระ อินเดีย

    [​IMG]

    พอเสียงพิณเสียงแคนจาก มมร วิทยาเขตอีสานเริ่มบรรเลง ประชาชนชาวเมืองสะกายที่ไม่สามารถเข้ามาชมในห้องประชุมได้ ต่างก็ชุมนุมหน้าจอโปรเท็กเตอร์ขนาดใหญ่ ส่วนในห้องประชุมเมื่อพอแต่ละเพลงจบลงจะมีเสียงปรบมือดังลั่นสนั่นห้องประชุมไม่เว้นแม้แต่พระสงฆ์ เพราะผู้ที่เป็นประธานนำปรบมือคนแรกก็คือหลวงพ่อ พระ ดร.อชิน ญาณณิสสระนั่นเอง

    พระมหาบุญไทย ปุญญมโน
    รายงานจากเมืองสะกาย ประเทศเมียนมาร์
    08/03/09

     
  4. ฟลัฟฟี้

    ฟลัฟฟี้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มกราคม 2009
    โพสต์:
    164
    ค่าพลัง:
    +132
    <TABLE id=tbDisplay cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD style="PADDING-LEFT: 8px; padding-rigth: 8px"><TABLE id=UcNewsView_tbNewsTypeII cellSpacing=0 cellPadding=0 width="97%" align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=left><TABLE id=Table7 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="97%" align=center border=0><TBODY><TR><TD><TABLE id=UcNewsView_dgType1 style="BORDER-RIGHT: white 5px solid; BORDER-TOP: white 5px solid; BORDER-LEFT: white 5px solid; BORDER-BOTTOM: white 5px solid; BORDER-COLLAPSE: collapse; HEIGHT: 0px" borderColor=white cellSpacing=0 rules=all align=left border=5><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle><TABLE style="COLOR: #0000ff; PADDING-TOP: 10px" cellSpacing=0 cellPadding=0 width=200 border=0><TBODY><TR><TD style="TEXT-ALIGN: justify">[​IMG] พระมงคลเทพโมลี

    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=center align=middle><TABLE style="COLOR: #0000ff; PADDING-TOP: 10px" cellSpacing=0 cellPadding=0 width=200 border=0><TBODY><TR><TD style="TEXT-ALIGN: justify">[​IMG] หลวงพ่อแก้วศักดิ์สิทธิ์
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=center align=middle><TABLE style="COLOR: #0000ff; PADDING-TOP: 10px" cellSpacing=0 cellPadding=0 width=200 border=0><TBODY><TR><TD style="TEXT-ALIGN: justify">[​IMG] ภายในโบสถ์วัดไทย แอลเอ

    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>บทความพิเศษ : ขอน้อมคารวะและอาลัย หลวงพ่อพระมงคลเทพโมลี อดีตหัวหน้าสงฆ์วัดไทย แอลเอ
    วัดไทย ลอส แอนเจลิส เป็นวัดไทยแห่งแรกในสหรัฐอเมริกา คนไทยในนครลอส แอนเจลิส ได้เริ่มรวมตัวและเกิดศรัทธานิมนต์พระสงฆ์จากประเทศไทยมาร่วมก่อตั้งวัดขึ้นมาตั้งแต่ปี 1969 (2512)
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p>ต่อมาเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 1972 (2515) คุณพูนศักดิ์ ซอโสตถิกุล ได้เป็นผู้แทนบิดาและมารดา คือคุณวิชัยและคุณบุญสม ซอโสตถิกุล มอบถวายที่ดิน (โฉนด) จำนวน 5 ไร่ 2 งาน (2.50 เอเคอร์) แก่คณะสงฆ์จำนวน 18 รูปโดยมีเจ้าประคุณสมเด็จพระสังฆราช ( ปุ่น ปุณณสิริ) วัดพระเชตุพน (ขณะทรงสมศักดิ์ที่สมเด็จพระวันรัต) ทรงเป็นประธาน ท่ามกลางข้าราชการสถานกงสุลใหญ่ฯ โดยหม่อมเจ้ายุธิษเฐียร สวัสดิวัฒน์ กงสุลใหญ่ประจำนครลอส แอนเจลิส เป็นสักขีพยาน ณ ที่ทำเนียบกงสุลใหญ่ และสมเด็จพระวันรัต ได้ทรงวางศิลาฤกษ์พระอุโบสถในเช้าวันที่ 19 พฤษภาคม 1972 (2515) เวลา 6.25 น.<o:p></o:p>
    ในพิธีกรรมต่างๆ ที่ได้ลำดับมานั้นได้มีพระเดชพระคุณพระมงคลเทพโมลี (ทรงสมณศักดิ์ที่ พระพุทธมนต์วราจารย์ ในขณะนั้น) เป็นผู้กำหนดฤกษ์มงคลต่างๆ และได้ร่วมรับรู้ในการรับมอบโฉนดและการริเริ่มสร้างวัดไทยตั้งแต่นั้นมา <o:p></o:p>
    ประมาณเดือนเมษายน 1974 (2517) พระมหาโสบิน โสปาโก หัวหน้าสงฆ์วัดไทยรูปแรกได้เริ่มก่อสร้างพระอุโบสถศาลากว้าง 12 เมตร ยาว 33 เมตรแล้วเสร็จเฉพาะชั้นล่าง<o:p></o:p>
    เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 1975 (2518) พระมงคลเทพโมลี (ทรงสมณศักดิ์ที่พระพุทธมนต์วราจารย์ในขณะนั้น) วัดสุทัศน์เทพวรารามได้รับแต่งตั้ง และเดินทางมาเป็นหัวหน้าสงฆ์รูปที่สองของวัดไทย ลอส แอนเจลิส ท่านได้ดำเนินการสานต่อในการก่อสร้างวัดไทย โดยเฉพาะการสร้างรั้วเหล็กดัดลายไทยรอบนอกถนนใหญ่ ได้เริ่มก่อสร้างกุฏิสองชั้น หรือกุฏิ 1 ในปัจจุบัน และต่อมาเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 1977 ได้ดำเนินการก่อสร้างต่อเติมชั้นบนของพระอุโบสถศาลาโดยว่าจ้างการทำงานเป็นส่วนๆ ตามกำลังเงินที่จะหามาได้ โดยวัดจะเป็นผู้ควบคุมการก่อสร้างมีพระครูศัพท์สุนทร (พระครูพิมลสรกิจ) เป็นผู้ควบคุม<o:p></o:p>
    ในระยะที่พระเดชพระคุณพระมงคลเทพโมลี ได้ปฏิบัติศาสนกิจเป็นหัวหน้าสงฆ์อยู่นั้น ท่านได้ดำเนินกิจกรรมในด้านการเรียนการสอน ซึ่งได้เริ่มเปิดโรงเรียนสอนภาษาไทยขึ้น โดยแต่งตั้งให้คุณไสว ทองกุลเป็นครูใหญ่ และมีคุณโกวิท โพธิตะนัง, คุณบุญเลิศ กาญจนสาย, คุณจิราพร เครือโสภณ, คุณประพันธ์ นันท์ดี, คุณบัวพันธ์ สุธรรมวิจิตร, คุณมังกร ทองสุกดี คณะครูอีกหลายท่านมาช่วยสอน โดยเปิดสอนเฉพาะวันอาทิตย์ตั้งแต่เวลา 14.00 น.ถึง 16.00 น. จึงนับได้ว่าพระเดชพระคุณพระมงคลเทพโมลีได้เป็นผู้บุกเบิกในด้านการศึกษาโรงเรียนวัดไทยซึ่งได้ปฏิบัติไปพร้อมกับการส่งเสริมก่อสร้างพระอุโบสถศาลาและสร้างศรัทธาให้ประชาชนมาร่วมทำบุญที่วัดไทยในระยะแรกๆ นั้น<o:p></o:p>
    เมื่อวันที่ 25 เมษายน 1974 (2517) ในเที่ยวปฐมฤกษ์ของบริษัทแอร์สยาม ที่มีเที่ยวบินสู่สหรัฐอเมริกา ได้นำพระแก้วมรกตจำลองหน้าตัก 19 นิ้วมาประดิษฐานที่วัดไทย ซึ่งได้รับความเคารพนับถือของประชาชนมากจนได้รับพระนามว่า
     

แชร์หน้านี้

Loading...