การบรรลุธรรม ในทางพุทธศาสนา

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย telwada, 25 มีนาคม 2014.

  1. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,509
    ค่าพลัง:
    +1,817
    ในทางพุทธศาสนานั้น มีหลักธรรม และหลักปฏิบัติ อันเป็นไปตามหลักธรรมชาติ เป็นไปตามหลักการสังคมเป็นอยู่ร่วมกันของมนุษย์และสรรพสิ่งอื่นๆ

    หลักธรรม และหลักปฏิบัติธรรมในทางศาสนาพุทธนั้น มักนำบุคคลผู้ปฏิบัติ ให้สามารถบรรลุถึงระดับชั้น อริยบุคคล ตั้งแต่ ชั้น โสดาบัน ไปจนถึง ชั้น นิพพาน ได้

    บุคคลผู้ที่จะสามารถบรรลุธรรมได้ ย่อมมี สภาพสภาวะจิตใจ ที่เต็มเปี่ยมไปด้วย หลักธรรม และวิธีการหรือหลักการปฏิบัติธรรมทั้งหลายเหล่านั้น สภาพสภาวะจิตใจที่มีแต่ความรู้ ความเข้าใจ ย่อมจักทำให้บุคคลผู้ประพฤติปฏิบัติธรรมเหล่านั้น สามารถบรรลุธรรม ในระดับ อริยบุคคลได้

    สภาพสภาวะจิตใจ แห่งการบรรลุธรรมระดับ อริยบุคคลนั้น ย่อมเป็นสภาพสภาวะจิตใจของผู้ที่ตื่น ผู้ที่เบิกบาน ด้วยมี ญาณ(ยาน) คือความรู้ยิ่ง รวมไปถึง มีความเข้าใจ ในความรู้ยิ่ง หรือหลักธรรมทั้งหลาย อย่างถ่องแท้
    สภาพสภาวะจิตใจ แห่งการบรรลุธรรม ระดับ อริยบุคคลขึ้นไปนั้น ย่อมเป็นสภาพสภาวะจิตใจที่เต็มเปี่ยมไปด้วย ความมี เอกัคคตา หรือ ความมีสมาธิ เป็นอันดับแรก

    ความมีสมาธิ ก็คือ ความที่บุคคลนั้นๆ สามารถควบคุม ความคิด อารมณ์ ความรู้สึก การระลึกนึกถึง ความจำ มิให้ฟุ้งซ่าน มิให้สับสน มิให้คิด หรือระลึกนึกถึง แบบออกนอกกรอบ คือ คิด หรือระลึกนึกถึง ในสิ่งที่ไม่ได้หลักความจริง ไม่ใช่หลักความเป็นไปตามธรรมชาติ ถ้าคิดแบบออกนอกกรอบ เขาเรียกว่า พวกเดียรถีย์ คือ พวกนอกพุทธศาสนา ที่ชอบคิดแปลกๆทำแปลก อุปโลกน์สิ่งที่ไม่มีในตนขึ้นมา โดยคิดว่า มีอยู่

    ธรรม ทั้งหลาย ที่มีในกายตน ล้วนเป็นความจำ ล้วนเป็นความรู้ ล้วนเป็นความเข้าใจใน ธรรมะ นั้นๆ และสามารถนำธรรมะทั้งหลาย ที่มีในกายตนนั้น สำรอก ขจัด ละ ซึ่งสิ่งที่เรียกว่า "อาสวะ"หรือ "กิเลส" ให้ออกจากร่างกายได้ นั้นคือ การบรรลุธรรม นั้นคือ ธรรมที่มีในกายตน ถ้านอกเหนือจากที่ข้าพเจ้าได้กล่าวไปข้างต้นแล้ว ล้วนเป็นพวกอวดอุตริฯ มีความรู้ความเข้าใจที่ผิดหลักความจริง ผิดหลักธรรมชาติ ทั้งสิ้น

    ผู้ที่สามารถปฏิบัติธรรมจนสามารถบรรลุธรรม ระดับ อริยบุคคล ได้ ล้วนย่อมมีสภาพสภาวะจิตใจที่มั่นคง นั่นคือ ความมีสมาธิ สามารถนำเอา ความรู้ ความเข้าใจ แห่งธรรมที่มีในกายตน ขจัด ละ สำรอก "อาสวะ และ กิเลส"ให้เบาบาง หรือหมดสิ้นไปได้ และสิ่งที่เหลืออยู่ภายในจิตใจเมื่อได้ ขจัด ละ สำรอก "อาสวะ และ กิเลส" ออกไปแล้ว ก็คือ สภาพสภาวะจิตใจที่สงบ ไม่ใช่ความว่างเปล่า แต่ ไม่คิด ไม่รู้สึก ไม่มีอารมณ์แห่งกิเลส ไม่ระลึกนึกถึง ไม่จำ(อันนี้ขึ้นอยู่กับสภาพสิ่งแวดล้อม) (อรูปฌาน) ฉะนี้
    จ่าสิบตรี เทวฤทธิ์ ทูลพันธ์ (ผู้เขียน)
    ๒๕ มีนาคม ๒๕๕๗
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 มีนาคม 2014

แชร์หน้านี้

Loading...