การดูจิตที่ติดวิญญาณ ต่างจากการดูจิตที่ไม่ติดวิญญาณ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ธรรมภูต, 20 กรกฎาคม 2009.

  1. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ในปัจจุบันนี้นั้น มีการสอนดูจิตที่ผิดแบบแผน ผิดขั้นตอนที่ถูกต้อง
    โดยให้ดูจิตที่คิด(จิตสังขาร)ไปเรื่อยๆ ไม่ให้แทรกแซง ให้ไหลไปตามจิตสังขาร
    ปล่อยให้สติเกิดขึ้นเองโดยอัตโนมัติ

    เมื่อพิจารณากันให้ดีๆแล้ว จะเห็นและเข้าใจได้ว่า
    เป็นเพราะจิตที่คิดนั้นคือจิตสังขาร( วิญญาณ) จิตที่คิดนั้นคิดจนเหนื่อยหน่าย
    เมื่อรู้สึกเหนื่อยหน่าย ความรู้สึกคือสติก็เกิดระลึกขึ้นว่าจิตคิดไปทำไม
    แต่หยุดจิตที่คิดไม่เป็น ต้องพยายามดูอารมณ์ความคิดเฉยๆ

    เมื่อเป็นเช่นนี้ จิตถูกอบรมให้จดจำอารมณ์ความคิดว่าคิดไปทำไม พยายามดูอารมณ์ความคิดเฉยๆสิ
    แต่แท้จริงแล้ว อารมณ์ความคิดเฉยๆเกิดจากความรู้สึกที่จิตคิดจนเหนื่อยหน่ายต่ออารมณ์แล้วนั่นเอง
    เมื่อเกิดขึ้นบ่อยๆเข้า จิตรับรู้(วิญญาณ)คุ้นชินต่ออารมณ์นั้นๆ
    ซึ่งไม่ใช่การวางเฉยที่เกิดจากการที่จิตสามารถปล่อยวางอารมณ์ออกไป

    เมื่อจิตรับรู้จนคุ้นชินต่ออารมณ์นั้น ทำให้เกิดสัญญาจดจำอารมณ์เหล่านั้นได้อย่างแม่นยำ
    เนื่องจากจดจำอารมณ์เหล่านั้นได้ จิตก็ระลึกรู้(สึก)ได้เร็วขึ้น

    อารมณ์เหนื่อยหน่ายที่เข้าใจเอาเองว่าเป็นการวางเฉยต่ออารมณ์ได้นั้น
    แท้จริงแล้วไม่ใช่เลย เป็นเพียงจิตที่คิดถึงอารมณ์ความเหนื่อยหน่าย มาขั้นเท่านั้น

    เมื่อมีอารมณ์ใหม่ก็เริ่มต้นใหม่อีก เป็นเช่นนี้เรื่อยไป
    จนกระทั่งนานวันไป อารมณ์เก่าจืดจางไป อารมณ์ใหม่เกิดขึ้นแทน
    ก็เริ่มต้นใหม่อยู่ร่ำไป หมุนวนเวียนจนเป็นวัฏฏะ
    ไม่รู้จักวิธีปล่อยวางอารมณ์ได้สักที

    สืบเนื่องจากเข้าใจผิดๆว่าจิตกับวิญญาณนั้นเป็นสิ่งเดียวกันนั่นเอง
    เมื่อมีจิตต้องมีอารมณ์ เป็นเหตุใกล้ให้เกิดสติขึ้นเอง

    แต่ความเป็นจริงนั้น สติเกิดมีขึ้นมาจากเคยตั้งเจตนาจดจำอารมณ์ไว้
    ตั้งแต่ต้นตอนเริ่มฝึกใหม่ๆ จนเป็นความเคยชินต่ออารมณ์
    เมื่อมีอารมณ์ถึงมีสติ ค่อยรู้ทันว่ามีอารมณ์
    ซึ่งเป็นการที่จิตต้องรับรู้(วิญญาณ)อารมณ์ทุกครั้งถึงมีสติ
    จนเข้าใจผิดๆว่า จิตกับวิญญาณเป็นสิ่งเดียวกัน แยกออกจากกันไม่ได้เลย
    เป็นความเข้าใจผิดอย่างร้ายแรงในพุทธศาสนาเลยทีเดียว

    มีพุทธวจนะในพระสูตรใน “มหาปุณณมสูตร” ความว่า

    ลำดับนั้นแล มีภิกษุรูปหนึ่ง เกิดความปริวิตกแห่งใจขึ้นอย่างนี้ว่า

    จำเริญละ เท่าที่ว่ามานี้ เป็นอันว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณเป็นอนัตตา
    กรรมที่อนัตตาทำแล้ว จักถูกตนได้อย่างไร

    ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงทราบความปริวิตกแห่งใจของภิกษุรูปนั้นด้วยพระหฤทัย
    จึงรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    ข้อที่โมฆบุรุษบางคนในธรรมวินัยนี้ ไม่รู้แล้วตกอยู่ในอวิชชา ใจมีตัณหาเป็นใหญ่
    พึงสำคัญคำสั่งสอนของศาสดาอย่างสะเพร่า ด้วยความปริวิตกว่า

    จำเริญละ เท่าที่ว่ามานี้ เป็นอันว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณเป็นอนัตตา
    กรรมที่อนัตตาทำแล้ว จักถูกตนได้อย่างไร


    ^
    ^
    สาเหตุสำคัญที่ทำให้โมฆบุรุษคิดเช่นนั้น
    เพราะความเข้าใจผิดของตนเองว่าจิตคือวิญญาณ นั่นเอง

    เมื่อจิตคือวิญญาณแล้ว กรรมดีกรรมชั่วที่ทำไปไม่มีที่จะบันทึกลงตรงไหน
    เนื่องจากอุปทานขันธ์ ๕ นั้น เกิดดับอยู่ตลอดเวลา
    กรรมดี กรรมชั่วที่ทำไปก็ไม่อาจให้ผลต่อตนเองได้
    ในเมื่อไม่มีที่ๆให้กรรมดี กรรมชั่วที่ทำไปนั้นบันทึกลงได้

    จึงได้พูดโดยสะเพร่าด้วยความเข้าใจผิดว่า
    รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ(จิต)เป็นอนัตตา
    กรรมที่อนัตตาทำแล้ว จักถูกตนได้อย่างไร???

    ;aa24
     
  2. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    หัวใจพุทธศาสนานั้นสอนให้
    ๑.ละความชั่ว
    ๒.ทำความดี
    ๓.ชำระจิตใจให้บริสุทธิ์หมดจดจากเครื่องเศร้าหมองทั้งหลาย

    แถมตอนท้ายบทพระองค์ทรงกล่าวว่า
    “อธิจิตฺเต จ อาโยโค เอตํ พุทฺธานสาสนํ
    การทำจิตให้มีธรรมอันยิ่ง เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย”

    วิธีชำระจิตนั้นมีเพียงทางนี้ทางเดียวเท่านั้น ทางอื่นนอกจากนี้ไม่มีอีกแล้ว
    เป็นทางที่ทำให้จิตพ้นจากความยึดมั่นถือมั่นใน รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ

    โดยเริ่มลงมือจากการปฏิบัติสมาธิกรรมฐานภาวนา(สัมมาสมาธิ)
    เพื่อให้จิตได้รู้จักขันธ์๕ ตามความเป็นจริงนั้น ซึ่งต้องอาศัยความเพียรอย่างมาก

    ตอนเริ่มต้นปฏิบัติใหม่ๆนั้น ความที่จิตคุ้นเคยกับออกไปรู้รับอารมณ์แล้วจะยึดอยู่ท่าเดียว
    ต้องอาศัยความเพียรสร้างสติเพื่อน้อมนำจิตที่ชอบออกไปยึดอารมณ์กลับมาสู่ฐาน

    “ฐาน” ในที่นี้คือ กรรมฐาน
    หรือฐานที่ตั้งของสติที่กาย อันปราศจากกาม ที่ควรแก่การงานทางจิต

    เมื่อจิตคุ้นเคยกับฐานที่ตั้งของสติจนกลายเป็นฐานเดิมที่จิตคุ้นเคยแล้วนั้น
    เป็นฐานที่ตั้งของสติที่เห็นพระไตรลักษณ์ได้ชัดเจนจากกายสังขาร
    จิตก็จะคล่องแคล่วและชำนาญรวดเร็วในการน้อมนำจิตเข้าสู่อัปปนาสมาธิ

    จนกระทั่งจิตสงบตั้งมั่นไม่หวั่นไหวต่อขันธ์๕ ย่อมเบื่อหน่ายคลายกำหนัด
    เมื่อเบื่อหน่ายคลายกำหนัด ย่อมเกิดญาณหยั่งรู้เห็นตามความเป็นจริงว่า
    จิตไม่ใช่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และวิญญาณก็ไม่ใช่จิตเช่นกัน

    ซึ่งสอดคล้องกับพระพุทธวจนะใน“มหาปุณณมสูตร”กล่าวไว้ดังนี้

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล
    พวกเธอพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงดังนี้ว่า

    รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อย่างใดอย่างหนึ่ง
    ทั้งที่เป็นอดีต ทั้งที่เป็นอนาคต ทั้งที่เป็นปัจจุบัน
    เป็นไปในภายใน หรือมีในภายนอกก็ตาม
    หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม
    อยู่ในที่ไกล หรือในที่ใกล้ก็ตาม

    ทั้งหมดนั่น ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่เรา ไม่ใช่อัตตาของเรา

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้สดับแล้วเห็นอยู่อย่างนี้

    ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในรูป แม้ในเวทนา แม้ในสัญญา แม้ในสังขาร แม้ในวิญญาณ
    เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด

    เพราะคลายกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น
    เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว

    รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว
    กิจที่ควรทำ ได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ

    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว
    ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาค

    และเมื่อพระผู้มีพระภาคกำลังตรัสไวยากรณ์ภาษิตนี้อยู่
    ภิกษุประมาณ ๖๐ รูป ได้มีจิตหลุดพ้นจากอาสวะ เพราะไม่ถือมั่นแล ฯ


    ^
    ^
    จิตของภิกษุแต่ละองค์นั้นที่หลุดพ้น ล้วนเป็นพระอรหันต์ทั้งสิ้น
    จิตที่หลุดพ้นของแต่ละองค์ เป็นจิตของตน
    ย่อมเป็นจิตที่หลุดพ้นแล้วจากโลกียจิต

    ไม่มีในพระพุทธวจนะตรงส่วนไหนที่บอกเลยว่าวิญญาณหลุดพ้นแล้ว

    เนื่องจากจิตรู้เห็นตามความเป็นจริง อันเนื่องจากมีญาณรู้แล้วว่า
    อุปทานขันธ์๕ นั้น ไม่ใช่ของเรา(จิต) ไม่เป็นเรา(จิต) ไม่ใช่ตนของเรา


    ธรรมภูต

    ;aa24<!-- End main-->
     
  3. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    [๓๗๑] คำว่า กิเลสเป็นเครื่องร้อยกรอง
    ย่อมไม่มีแก่มุนี ผู้เว้นแล้วจากสัญญาความว่า
    มุนีใด เจริญอริยมรรคมีสมถะเป็นเบื้องต้น กิเลสเป็นเครื่องร้อยกรอง
    เป็นสภาพอันมุนีนั้นข่มเสียแล้วตั้งแต่กาลเบื้องต้น.


    เมื่อมุนีนั้นถึงความเป็นพระอรหันต์แล้ว
    กิเลสเป็นเครื่องร้อยกรอง โมหะ นิวรณ์ กามสัญญา
    พยาบาทสัญญา วิหิงสาสัญญา และทิฏฐิสัญญา

    เป็นสภาพอันพระอรหันต์สละเสียแล้ว มีรากอันตัดขาดแล้ว
    ไม่ทำให้มีที่ตั้งดังตาลยอดด้วน

    ให้ถึงความไม่มีในภายหลัง มีความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา
    เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า กิเลสเป็นเครื่องร้อยกรอง
    ย่อมไม่มีแก่มุนี ผู้เว้นจากสัญญา.....

    [๓๗๒] คำว่า โมหะย่อมไม่มีแก่มุนีผู้หลุดพ้นแล้วด้วยปัญญา
    ความว่า มุนีใด เจริญอริยมรรคมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น
    โมหะ เป็นสภาพอันมุนีนั้นข่มเสียแล้วตั้งแต่กาลเบื้องต้น

    เมื่อมุนีนั้นถึงความเป็นพระอรหันต์แล้ว
    โมหะ กิเลสเป็นเครื่องร้อยกรอง นิวรณ์ กามสัญญา
    พยาบาทสัญญา วิหิงสาสัญญา ทิฏฐิสัญญา

    เป็นสภาพอันพระอรหันต์ละเสียแล้ว มีรากอันตัดขาดแล้ว
    ทำไม่ให้มีที่ตั้งดังตาลยอดด้วน

    ให้ถึงความไม่มีในภายหลัง มีความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา
    เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า โมหะย่อมไม่มีแก่มุนีผู้หลุดพ้นแล้วด้วยปัญญา.

     
  4. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ผู้ใดกล่าวว่า จักษุวิญญาณเป็นอัตตา
    คำของผู้นั้นไม่ควร

    จักษุวิญญาณย่อมปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม
    ก็สิ่งใดแลปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม

    สิ่งนั้นต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป
    เพราะฉะนั้นคำของผู้ที่กล่าวว่าจักษุวิญญาณเป็นอัตตานั้น
    จึงไม่ควร ด้วยประการฉะนี้
    จักษุจึงเป็นอนัตตา
    รูปจึงเป็นอนัตตา
    จักษุวิญญาณจึงเป็นอนัตตา

    ผู้ใดกล่าวว่า มโนวิญญาณเป็นอัตตา
    คำของผู้นั้นไม่ควร

    มโนวิญญาณย่อมปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม
    ก็สิ่งใดแลปรากฏแม้ความเกิด แม้ความเสื่อม

    สิ่งนั้นต้องกล่าวได้อย่างนี้ว่า อัตตาของเราเกิดขึ้นและเสื่อมไป
    เพราะฉะนั้นคำของผู้ที่กล่าวว่า มโนวิญญาณเป็นอัตตา นั้น
    จึงไม่ควร ด้วยประการฉะนี้
    มโนจึงเป็นอนัตตา
    ธรรมารมณ์จึงเป็นอนัตตา
    มโนวิญญาณจึงเป็นอนัตตา

    ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโน ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในธรรมารมณ์
    ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโนวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโนสัมผัส
    ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนาย่อมเบื่อหน่ายแม้ในตัณหา

    เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด
    จึงหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว
    และทราบชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว
    กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้วกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ

    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดี
    พระภาษิตของพระผู้มีพระภาค และเมื่อพระผู้มีพระภาคกำลังตรัสไวยากรณ์ภาษิตนี้อยู่
    ภิกษุประมาณ ๖๐ รูป ได้มีจิตหลุดพ้นจากอาสวะ เพราะไม่ถือมั่นแล ฯ

    �����ûԮ�������� �� - ����ص�ѹ��Ԯ�������� �

    พอสรุปจากพระพุทธวจนะได้ว่า จิตไม่ใช่วิญญาณ วิญญาณไม่ใช่จิต

    ;aa24
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 กรกฎาคม 2009
  5. visutto

    visutto เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    3,541
    ค่าพลัง:
    +1,167
    หลวงปู่ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร จ.สกลนคร

    .... ความสุขใด เสมอจิตสงบไม่มี......
    .... จุติแปลว่าความเคลื่อน ภาษาเราว่าตาย แท้ที่จริงนั้นจิตวิญญาณมันไม่ใช่ของแตกของทำลาย แลไม่ใช่ของสูญหาย......
    .... ผู้รู้ ไม่ใช่ของแตก ของทำลาย ของตาย ของดับ......
    ..... เมื่อเราพิจารณาเห็นควมจริง แจ้งประจักษ์ อย่างนี้แล้วจิตมันก็เลยละได้ เมื่อจิตละได้แล้ว มันก็วางจากรูป วางจากรูปมันก็ถึงอรูปภพ อรูปภพคือเป็นอย่างไร คือจิตว่างหมดไม่มีอะไร แต่เหลือผู้รู้ ความรู้นี้แหละ เป็นของสำคัญที่เรียกว่า "พุทธ" คือผู้รู้......
    .... พระพุทธเจ้าสอนให้จิตมันเที่ยง เหมือนพระนิพพานเป็นของเที่ยง ไม่แปรผัน ยักย้าย ไม่มีอะไรทั้งนี้เราไม่เที่ยง เราถึงเป็นยังงี้ สิ่งใดไม่เที่ยงสิ่งนั้นเป็ฯทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นก็ไม่ใช่ ตัวตน ท่านจึงสอนให้ทำจิตให้มันเที่ยง......

    ดูเพิ่มเติมที่ อาจารโรวาท ใน หนังสือ ธรรมโอวาท ๙ หลวงปู่อริยสงฆ์ โดย ธรรมสภา ชมรมนักเรียนเก่าแอล เอส

    http://palungjit.org/threads/พระนิพพาน-จากคำครูอาจารย์.12108/
     
  6. visutto

    visutto เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    3,541
    ค่าพลัง:
    +1,167
    หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน

    .... นรกมี สวรรค์มี พรหมโลก นิพพานมี พระพุทธเจ้าของเราทรงยืนยันจิตวิญญาณคือใจของคนของสัตว์นี้มีมาดั้งเดิม ตั้งแต่กาลไหนๆ ไม่มีต้นไม่มีปลาย จิตดวงที่ไม่ตายนี้แล ไม่เคยฉิบหาย ไม่เคยสูญ........

    ดูเพิ่มเติมที่ [ตายแล้วย้อนกลับมาบ้านเรือน]

    จากนั้นบุญกุศลทั้งหลายที่เราสร้างอยู่ไม่หยุดไม่ถอย เพิ่มพูนขึ้นเป็นลำดับลำดาเลยสวรรค์ไป เลยพรหมโลกไป จนกระทั่งถึงนิพพาน ดับทุกข์โดยประการทั้งปวงโดยสิ้นเชิงตลอดไป ไม่มีคำว่า อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา จะเข้าไปเกี่ยวข้องในเมืองนิพพานนั้นได้เลย เรียกว่าเมืองนิพพานก็ได้ มหาวิมุตติ มหานิพพาน หรือธรรมธาตุก็ได้ นี่เรียกว่าสถานที่ดับทุกข์โดยประการทั้งปวง จากความดีของเราที่ได้สร้างมามากน้อย ท่านจึงได้สอนไว้ พระพุทธเจ้าท่านทรงนิพพาน ทุกสิ่งทุกอย่างทรงผ่านไปหมดแล้ว การขึ้นลงสวรรค์ชั้นพรหมไม่มีใครเกินโพธิสัตว์ ที่ได้สร้างคุณงามความดีแล้วก็ไปเกิดในสวรรค์ชั้นนั้นๆ ควรแก่กาลเวลาแล้วก็ลงมาสร้างบารมี

    กฎอนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา เปลี่ยนแปลงแปรปรวนไปอย่างโลกทั่วๆ ไปอย่างนี้ ไม่มีในนิพพาน นิพพานสิ้นสุดยุติตั้งแต่ขณะท่านตรัสรู้ปึ๋งขึ้นมา พระอรหันต์ก็บรรลุธรรมปึ๋งขึ้นมา ทราบทันทีเลยว่าพ้นแล้วจากแดนแปรปรวน แดน ทุกฺขํ อนิจฺจํ อนตฺตา ถึงแล้วซึ่งพระนิพพาน เรียกว่าเมืองเที่ยงตรง เที่ยงไปตลอดอนันตกาล ไม่มีคำที่ว่าจะโยกย้ายผันแปรไปไหนอีกเลย แม้ขณะหนึ่งก็ไม่มีในแดนนิพพาน จึงเรียกว่าเป็นแดนแห่งความเลิศเลอของท่านผู้บรรลุธรรมอันเลิศเลอแล้วสถิตอยู่ในสถานที่นั้น ผู้อื่นผู้ใดไม่สามารถจะไปอยู่ในสถานที่นั้นได้ นอกจากผู้สิ้นกิเลสโดยสิ้นเชิงแล้วเท่านั้น นี่ก็คือการสร้างบุญสร้างกุศล

    สำหรับเราพอทุกอย่าง เอาอะไรมาให้ก็ไม่เอา ปล่อยวางหมด เช่นทองคำทั้งแท่งกับอิฐก้อนหนึ่ง ราคาทองคำทั้งแท่งสูง อิฐก้อนหนึ่งราคาต่ำแต่มันมีน้ำหนักเท่ากัน เมื่อมีน้ำหนักเท่ากัน น้ำหนักนั้นแหละจะเป็นกองทุกข์แก่ผู้แบกหาม ปล่อยเสียทั้งหมด ทองคำก็ไม่เอา อิฐ-ปูนก็ไม่เอา ปล่อยแล้วไม่หนัก นี้ละธรรมะของพระพุทธเจ้าที่ได้เข้าในหัวใจดวงใดแล้วปล่อยหมดโดยสิ้นเชิง มีแต่ความพอแล้วด้วยความเลิศเลอ ไม่ใช่พอธรรมดาอย่างโลกทั้งหลายพอกัน พอในธรรมทั้งหลายนี้พอด้วยความเลิศความเลอ ถ้าว่าสุขก็ไม่มีสุขใดเสมอเหมือน ว่าเลิศเลอก็หาอะไรไปเทียบไม่ได้ เพราะนั้นเป็นแดนวิมุตติ ไม่ใช่สมมุติพอจะมาเทียบมาเคียงตามสัดตามส่วนได้ นี่ละท่านว่าแดนแห่งความเลิศเลอ

    เทศน์อบรมพระสงฆ์และฆราวาส ณ ศาลาใหญ่วัดป่าบ้านตาด เมื่อวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๔๖ [บ่าย]
    ดูเพิ่มเติมที่ [เอาธรรมจักรเข้าไปผันหัวกิเลส]

    ใจนี้ไม่เคยตาย ตั้งกัปตั้งกัลป์ก็เป็นมาอย่างนี้ แม้จะไปตกนรกตั้งกี่กัปกี่กัลป์ก็ตาม การที่ว่าได้รับความทุกข์ในแดนนรกแต่ละหลุม ๆ นั้นยอมรับ ส่วนที่จะให้ใจนี้ฉิบหายไม่มี ทุกข์ขนาดไหนก็ยอมรับว่าทุกข์ แต่ไม่เคยฉิบหายคือใจดวงนี้ เวลาชำระสะสางแล้วด้วยอำนาจแห่งคุณงามความดีของเรา ก็ค่อยสงบผ่องใสได้บริสุทธิ์ขึ้นไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งถึงขั้นความบริสุทธิ์เต็มที่แล้ว ดังพระพุทธเจ้าและพระสาวกอรหันต์ทั้งหลาย ท่านถึงนิพพานเลย นั่น ถึงนิพพานก็ไม่สิ้นสูญ ใจดวงนี้ไม่มีคำว่าสูญ ตกนรกก็ไม่สูญใจดวงนี้ จนกระทั่งบริสุทธิ์เต็มที่แล้วไปถึงนิพพานก็ไม่สูญ นี่แหละท่านว่านิพพานเที่ยง ก็คือจิตดวงที่ไม่สูญนี้แหละเป็นผู้บริสุทธิ์เต็มที่แล้ว เรียกว่าธรรมธาตุ อยู่ในแดนแห่งนิพพาน นี่แหละเป็นผู้เสวยความบรมสุขตลอดไป ท่านจึงเรียกว่านิพพานเที่ยง ๆ ก็เพราะจิตดวงนี้ไม่ตาย มีความเที่ยงตรงอยู่ด้วยบรมสุขตลอดไป นี่คือการสร้างความดีให้ผลแก่เราอย่างนี้ ให้พากันอุตส่าห์พยายามสร้างคุณงามความดี

    เทศน์อบรมฆราวาส ณ วัดเขาน้อยสามผาน จ.จันทบุรี เมื่อวันที่ ๑๑ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๔๖ (บ่าย)
    ดูเพิ่มเติมที่ ความสุขอันแท้จริง

    นี่ละตัวพาให้เกิด ก็รู้ได้ชัดละซิ ทีนี้จะเอาอะไรไปเกิด เอ้า เห็นกันอยู่รู้กันอยู่ ตัวนี้จะไปเกิดที่ไหนที่นี่ เอ้า เกิดที่ไหนล่ะ อะไรพาให้เกิด ก็สิ่งที่ดับไปตะกี้นี้พาให้เกิด นั่นมันรู้ชัดขนาดนั้นนะ ทีนี้ไม่เกิดแล้วจะดับไหมจิตดวงนี้ จะเอาอะไรมาดับ นั่น ไม่เกิดด้วยไม่ดับด้วย ไม่มีคำว่าว่ามีอยู่แบบโลกด้วย ไม่สูญแบบโลกด้วย มีอยู่แบบความบริสุทธิ์ ถ้าว่าสูญก็สูญแบบความบริสุทธิ์ เหมือนอย่างที่ว่านิพพาน มีอยู่แบบนิพพาน สูญแบบนิพพาน ไม่ได้สูญแบบโลกสงสาร

    เทศน์อบรมพระ ณ วัดป่าบ้านตาด เมื่อวันที่ ๑๕ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๒๘
    ดูเพิ่มเติมที่ ความมุ่งมั่นของนักรบ

    ก็กิเลสมันไม่เคยเห็นมรรคผลนิพพาน เกิดมาเต็มอยู่ในหัวใจของสัตว์นับแต่โคตรแต่แซ่ของมันลงมา มันจะเอามรรคผลนิพพานมาอวดสัตว์โลกอย่างไร เพราะคำว่ามรรคผลนิพพานก็คือแดนสุดวิสัยของมันแล้ว มันเอื้อมไม่ถึง จิตดวงใดถ้าได้เข้าสู่แดนนิพพานแล้ว กิเลสประเภทต่าง ๆ เรียกว่ากิเลสมารสุดเอื้อมหมดหวัง หมดอาลัยตายอยากแล้ว มันจะอุตริไปสอนจิตดวงใดโลกใดสัตว์ตัวใดให้ไปสู่สวรรค์นิพพานเล่า นอกจากมันจะกว้านเข้ามาเพื่อผลรายได้ของมันโดยอุบายต่าง ๆ เท่านั้น เช่น บาปไม่มี บุญไม่มี นรกไม่มี สวรรค์ไม่มี นิพพานไม่มี นี่เป็นอุบายที่จะให้เกิดผลรายได้แก่มันโดยถ่ายเดียวเท่านั้น

    เพราะฉะนั้นหลักความจริงแล้วจึงไม่มีคำว่า พระพุทธเจ้านิพพานไปนานแสนนาน เป็นการตัดขาดจากมรรคผลนิพพาน ที่ทรงแสดงไว้แล้วโดยถูกต้องตามหลักสวากขาตธรรม การนิพพานเป็นเรื่องของพระองค์เท่านั้น และการนิพพานไปก็ไม่ใช่เป็นการขาดทุนสูญดอก สำหรับพระพุทธเจ้าเป็นการเปลี่ยนสภาพในทางธาตุทางขันธ์อันเป็นสมมุติเข้าสู่ตามสมมุติเดิมของตน โดยหมดความเยื่อใยตายอยาก ไม่ยึดมั่นถือมั่น โดยจิตที่บริสุทธิ์ล้วน ๆ แล้วเท่านั้น จิตที่บริสุทธิ์ล้วน ๆ แล้วอะไรไปเป็นข้าศึกไปทำลายให้พินาศฉิบหายได้ แม้แต่กิเลสก็ไม่สามารถ ไม่มีอำนาจวาสนาที่จะไปทำลายจิตที่บริสุทธิ์ของพระพุทธเจ้าให้สูญให้อันตรธานไปได้ แล้วนิพพานจะสูญไปไหน จิตผู้บริสุทธิ์จะสูญไปได้อย่างไร เพราะธรรมชาตินี้นอกเหนือไปจากสมมุติทั้งมวลแล้ว จึงไม่มีอะไรที่จะเข้าไปทำลายจิตที่บริสุทธิ์แล้วให้สูญไปได้ ให้ฉิบหายไปได้

    เทศน์อบรมพระ ณ วัดป่าบ้านตาด เมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๒๗ เพิ่มเติมที่ ความหวังของชาวพุทธ

    พระพุทธเจ้าและพระสาวกอรหันต์เสด็จอนุโมทนา พระอาจารย์มั่น

    หลังจากท่านเดินทางถึงแดนแห่งวิมุตติแล้ว คืนต่อ ๆ มามีพระพุทธเจ้าพร้อมพระสาวกจำนวนมากเสด็จมาอนุโมทนาวิมุตติธรรมกับท่านเสมอมิได้ขาด… คืนนั้นพระพุทธเจ้าพระองค์นั้นกับพระสาวกบริวารเป็นจำนวนหมื่นเสด็จมาเยี่ยม… คืนนั้นพระพุทธเจ้าพระองค์นั้นมีสาวกเท่านั้นเสด็จมาเยี่ยมอนุโมทนา จำนวนพระสาวกที่ตามเสด็จพระพุทธเจ้ามาแต่ละพระองค์นั้นมีจำนวนไม่เท่ากัน ทั้งนี้ท่านว่าขึ้นอยู่กับวาสนาของพระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์ไม่เหมือนกัน… ที่พระสาวกตามเสด็จมาด้วยแต่ละพระองค์นั้น มิได้ตามเสด็จมาทั้งหมดในบรรดาพระสาวกของแต่ละพระองค์ที่มีอยู่… แต่ที่ตามเสด็จมามากน้อยนั้นต่างกันนั้นพอแสดงให้เห็นภูมิพระวาสนาบารมีของแต่ละพระองค์นั้นต่างกันเท่นนั้นบรรดาพระสาวกจำวนมากของแต่ละพระองค์ที่ตามเสด็จมานั้น มีสามเณรติดตามมาด้วยครั้งละไม่น้อยเลย… ท่านสงสัยจึงพิจารณาก็ทราบว่า คำว่าพระอรหันต์ในนามธรรมนั้นมิได้หมายเฉพาะพระ แต่สามเณรที่มีจิตบริสุทธิ์หมดจดก็นับเข้าในจำวนสาวกอรหันต์ด้วย ฉะนั้น ที่สามเณรติดตามมาด้วยจึงไม่ขัดกัน ในพระโอวาทของพระพุทธเจ้าทั้งหลายที่ประทานอนุโมทนาแก่ท่านพระอาจารย์มั่นนั้น ส่วนใหญ่มีว่า… เราตถาคตทราบว่าเธอพ้นโทษจากอนันตรทุกข์ในที่คุมขังแห่งเรือนจำของวัฏฏทุกข์ จึงได้มาเยี่ยมอนุโมทนาที่คุมขังแหล่งนี้ใหญ่โตมโหฬารและแน่นหนามั่นคงมาก และมีเครื่องยั่วยวนชวนให้เผลอตัวและติดอยู่รอบตัวไม่มีช่องว่าง จึงยากที่จะมีผู้แหวกว่ายออกมาได้ เพราะสัตว์โลกจำนวนมากไม่ค่อยมีผู้สนใจกับทุกข์ที่เป็นอยู่กับตัวตลอดมา ว่าเป็นสิ่งที่ทรมานและเสียดแทงร่างกายจิตใจเพียงใด พอจะคิดเสาะแสวงหาด้วยวิธีต่าง ๆ เหมือนคนเป็นโรคแต่มิได้สนใจกับยา ยาแม้มีมากจึงไม่มีประโยชน์สำหรับคนประเภทนั้น ธรรมของเราตถาคตก็เช่นเดียวกับยา สัตว์โลกอาภัพเพราะโรคกิเลสตัณหาภายในใจเบียดเบียนเสียดแทง ทำให้เป็นทุกข์แบบไม่มีจุดหมายว่าจะหายได้เมื่อไร สิ่งตายตัวก็คือ โรคพรรค์นี้ถ้าไม่รับยาคือ ธรรมจะไม่มีวันหายได้ ต้องฉุดลากสัตว์โลกให้ตายเกิดคละเคล้าไปกับความทุกข์กายทุกข์ใจ และเกี่ยวโยงกันเหมือนลูกโซ่ ตลอดอนันตกาล ธรรมแม้จะมีเต็มไปทั้งโลกธาตุก็ไม่สามารถอำนวยประโยชน์ให้แก่ผู้ไม่สนใจนำไปปฏิบัติรักษาตัวเต็มไปทั้งโลกธาตุก็ไม่สามารถอำนวยประโยชน์ให้แก่ผู้ไม่สนใจนำไปปฏิบัติรักษาตัวเท่าที่ควรจะได้รับจากธรรม… ธรรมก็อยู่แบบธรรม… สัตว์โลกก็หมุนตัวเป็นกงจักรไปกับทุกข์ในภพน้อยภพใหญ่แบบสัตว์โลก… โดยไม่มีจุดหมายปลายทางว่าจะสิ้นสุดทุกข์กันลงได้เมื่อใด…ไม่มีทางช่วยได้… ถ้าไม่สนใจช่วยตัวเองโดยยึดธรรมมาเป็นหลักใจและพยายามปฏิบัติตาม…

    พระพุทธเจ้าจะมาตรัสรู้เพิ่มจำนวนองค์และสั่งสอนมากมายเพียงไร ผลที่ได้รับก็เท่าที่โรคประเภทคอยรับยามีอยู่เท่านั้น… ธรรมของพระพุทธเจ้าไม่ว่าพระองค์ใด มีแบบตายตัวอยู่อย่างเดียวกัน คือสอนให้ละชั่วทำดีทั้งนั้น ไม่มีธรรมพิเศษและแบบสอนพิเศษไปกว่านี้ เพราะไม่มีกิเลสตัณหาพิเศษในใจสัตว์โลกที่พิเศษเหนือธรรมซึ่งประกาศสอนไว้… เท่าที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายประทานไว้แล้วเป็นธรรมที่ควรแก่การรื้อถอนกิลสทุกประเภทของมวลสัตว์อยู่แล้ว… นอกจากผู้รับฟังและปฏิบัติตามจะยอมแพ้ต่อเรื่อกิลสตัณหาของตัวเสียเอง แล้วเห็นธรรมเป็นของไร้สาระไปเสียเท่านั้น… ตามธรรมดาแล้วกิเลสทุกประการต้องฝืนธรรมดาดั้งเดิม คนที่คล้อยตามมันจึงเป็นผู้ลืมธรรมไม่อยากเชื่อฟังและทำตาม โดยเห็นว่าลำบากและเสียเวลาทำในสิ่งที่ตนชอบ… ทั้งที่สิ่งนั้นให้โทษ… ประเพณีของนักปราชญ์ผู้ฉลาดมองเห็นการณ์ไกลย่อมไม่หดตัวมั่นสุมอยู่เปล่า ๆ เหมือนถูกน้ำร้อนไม่มีทางออก… ต้องยอมตายในหม้อที่กำลังเดือดพล่าน โลดเดือดพล่านอยู่ด้วยกิเลสตัณหาความแผดเผา ไม่มีกาลสถานที่ที่พอจะปลงวางลงได้… จำต้องยอมทนทุกข์ทรมานไปตาม ๆ กันโดยไม่นิยมสัตว์น้ำ… สัตว์บก… สัตว์อยู่บนอากาศและใต้ดิน เพราะสิ่งแผดเผาเร่าร้อยอยู่กับใจ ความทุกข์จึงอยู่ที่นั่นที่นี่เธอเห็นพระตถาคตอย่างแท้จริงแล้วมิใช่หรือ?… พระตถาคตแท้คืออะไร… คือความบริสุทธิ์แห่งใจที่เธอเห็นแล้วนั้นแล… ที่พระตถาคตมาในร่างนี้มาในร่างแห่งสมมติต่างหากเพราะพระตถาคตและพระอรหันต์อันแท้จริงมิใช่ร่างแบบที่มากันนี้… นี่เพียงเป็นเรือนร่างของตถาคตโดยทางสมมติต่างหาก… ท่านพระอาจารย์กราบทูลว่า… ข้าพระองค์ทราบพระตถาคตและพระสาวกอรหันต์อันแท้จริงไม่สงสัย… ที่สงสัยก็คือ… พระองค์ทั้งหลายกับพระสาวกท่านที่เสด็จไปด้วยอนุปาทิเสสนิพพานไม่มีส่วนสมมติยังเหลืออยู่เลย… แล้วเสด็จมาในร่างนี้ได้อย่างไร ?

    พระพุทธเจ้าตรัสว่า… ถ้าอีกฝ่ายหนึ่งแม้มีความบริสุทธิ์ทางใจด้วยดีแล้ว แต่ยังครองร่างอันเป็นส่วนสมมติยังเหลืออยู่ ฝ่ายอนุปาทิเสสนิพพานก็ต้องแสดงสมมติตอบรับกัน คือต้องมาในร่างสมมติตซึ่งเป็นเครื่องใช้ชั่วคราวได้ถ้าต่างฝ่ายต่างเป็นอนุปาทิเสสนิพพานด้วยกันแล้วไม่มีส่วนสมมติยังเหลืออยู่… ตถาคตก็ไม่มีสมมติอันใดมาแสดงเพื่ออะไรอีก…ฉะนั้นการมาในร่างสมมตินี้จึงเพื่อสมมติเท่านั้น ถ้าไม่มีสมมติเสียอย่างเดียวก็หมดปัญหา พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงทราบเรื่องอดีตอนาคตก็ทรงถือเอานิมิต… คือสมมติอันดั้งเดิมของเรื่องนั้น ๆ เป็นเครื่องหมายให้ทราบ เช่น… ทรงทราบอดีตของพระพุทธเจ้าทั้งหลายว่าทรงเป็นมาอย่างไร เป็นต้น ก็ต้องถือเอานิมิตของพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น และพระอาการนั้น ๆ เป็นเครื่องหมายพิจารณาให้รู้ ถ้าไม่มีสมมติของสิ่งนั้น ๆ เป็นเครื่องหมาย ก็ไม่มีทางทราบได้ในทาสมมติ เพราะวิมุตติล้วน ๆ ไม่มีทางแสดงได้ ฉะนั้นการพิจารณาและทราบได้ต้องอาศัยสมมติเป็นหลักพิจารณาดังที่เราตถาคตนำสาวกมาเยี่ยมเวลานี้ ก็จำต้องมาในรูปลักษณะอันเป็นสมมติดั้งเดิม เพื่อผู้อื่นจะพอมีทางทราบไดว่า พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ๆ และพระอรหันต์องค์นั้น ๆ มีรูปลักษณะอย่างนั้น ๆ ถ้าไม่มาในรูปลักษณะนี้แล้ว ผู้อื่นก็ไม่มีทางทราบได้เมื่อยังต้องเกี่ยวกับสมมติในเวลาต้องการอยู่ วิมุตติก็จำต้องแยกแสดงออกโดยางสมมติเพื่อความเหมาะสมกัน ถ้าเป็นวิมุตติล้วน เช่นจิตที่บริสุทธิ์รู้เห็นจิตที่บริสุทธิ์ด้วยกันก็เพียงแต่รู้อยู่เห็นอยู่เท่านั้น ไม่มีทางแสดงให้รู้ยิ่งกว่านั้นไปได้ เมื่อต้องการทราบลักษณะอาการของความบริสุทธิ์ว่าเป็นอย่างไรบ้าง ก็จำต้องนำสมมติเข้ามาชวยเสริมให้วิมุตติเด่นขึ้นพอมีทางทราบกันได้ว่าวิมมุตมีลักษณะว่างเปล่าจากนิมิตทั้งปวดมีความสว่างไสวประจำตัว มีความสงบสุขเหนือสิ่งใด ๆ เป็นต้น… พอเป็นเครื่องหมายให้ทราบได้โดยทางสมมติทั่ว ๆ ไห้ ผู้ทราบวิมุตติอย่างประจักษ์ใจแล้ว จึงไม่มีทางสงสัยทั้งเรื่องวิมุตติเสดงตัวออกต่อสมมติในบางคราวที่ควรแก่กรณี และทรงตัวอยู่ตามสภาพเดิมขอบงวิมุตติ ไม่แสดงอาการ ที่เธอถามเราตถาคตนั้น ถามด้วยความสงสัยหรือถามพอเป็นกิริยาแห่งการสนทนากัน ท่านกราบทูลว่า ข้าพระองค์มิได้มิความสงสัยทั้งสมมติและวิมุตติของพระองค์ทั้งหลาย แต่ที่กราบทูลนั้นก็เพื่อถวายความเคารพไปตามกิริยาแห่งสมมติเท่านั้น แม้พระองค์กับพระสาวกจะเสด็จมาหรือไม่ก็มิได้สงสัยว่าพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ อันแท้จริงมีอยู่ ณ ที่แห่งใด แต่เป็นความเชื่อประจักษ์ใจอยู่เสมอว่า ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเราตถาคต อันแสดงว่าพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ มิใช่ธรรมชาติอื่น ใดจาดที่บริสุทธิ์หมดจดจากสมมติในลักษณะเดียวกันกับพระรัตนตรัย พระพุทธเจ้าตรัสว่า การที่เราตถาคตถามเธอ ก็มิได้ถามด้วยความเข้าใจว่าเธอมีความสงสัย แต่ถามเพื่อเป็นสัมโมทนียธรรมต่อกันเท่านั้น บรรดาพระสาวกที่ตามเสด็จพระพุธเจ้ามาแต่ละพระองค์และแต่ละครั้งนั้น มิได้กล่าวปราศรัยอะไรกับท่านพระอาจารย์มั่นเลย มีพระพุทธเจ้าประทานพระโอวาทพระองค์เดียวส่วนพระสาวกทั้งหลายเป็นเพียงนั่งฟังอยู่อย่างสงบเสงี่ยม น่าเคารพเลื่อมใสมากเท่านั้นแม้สามเณรองค์เล็ก ๆ ที่น่ารักมากกว่าจะน่าเคารพเลื่อมใส

    เพิ่มเติมประวัติพระอาจารย์มั่น ห
    น้า127
    http://palungjit.org/threads/พระนิพพาน-จากคำครูอาจารย์.12108/
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 กรกฎาคม 2009
  7. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    อนุโมทนาสาธุท่านวิสุทโธ
    ที่นำธรรมะดีๆของครูบาอาจารย์มาให้อ่านครับ

    ;aa24
     
  8. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    หลวงพ่อสงบ มนัสสันโต

    ความชั่วความดีของบุคคล เป็นแต่ละบุคคล
    ความชั่วความดี เป็นความชั่วความดีของคนคนนั้น
    ความชั่วความดีเอาคนอื่นมาอ้างไม่ได้ (อื่ม...)
    ความชั่ว คือคนนั้นชั่ว ความดีคือของคนนั้นดี (อือ...ฮึ.)
    จะดีจะชั่วก็เป็นเฉพาะบุคคล ไม่เกี่ยวกับใครทั้งสิ้น
    ความจะขาวสะอาด ความจะทุกข์จะยากก็เป็นเรื่องส่วนบุคคลของคนคนนั้น (อื่ม...)

    ใครจะมารับรอง ใครจะมาการันตีไม่ได้ทั้งสิ้น
    (อื่มใช่...อันนี้ผมเห็นด้วยนะ ที่ว่าอะ มันจะต้องเป็นพฤติกรรมของคนๆนั้น)
    คนๆนั้น ฉะนั้นจะเอาคนคนนั้นมาอ้าง ไม่มีประโยชน์หรอกกับเรา
    +++++++++++++

    พอสรุปได้ว่า ความดีความชั่วนั้น ของใครของมัน
    เอามาอ้างเป็นของตนเองไม่ได้ ใครทำใครได้
    เพราะฉะนั้น ความดีความชั่วจึงเป็นของๆตน เป็นของใครอื่นไปไม่ได้ครับ


    ;aa24
     
  9. ธรรมะสวนัง

    ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,255
    สมาชิก 1 คน ได้กล่าว "ไม่เห็นด้วย" กับข้อความของ คุณ ธรรมภูต ที่เขียนไว้ทางด้านบน jinny95 (เมื่อวานนี้)

    คุณจินนี่ ไม่เห็นด้วยตรงส่วนไหนหรือ?

    ส่วนบน หลวงพ่อสงบ ท่านพูด
    ส่วนล่าง พี่ภูต สรุป

    (smile)
     
  10. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    จิตไม่ใช่ วิญญณูปาทานขันธ์

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย คำกล่าวของภิกษุรูปนั้น
    พวกเธอควรชื่นชมอนุโมทนาว่า สาธุ
    ครั้นแล้วพึงถามปัญหาให้ยิ่งขึ้นไปว่า

    ดูกรท่านผู้มีอายุ อุปาทานขันธ์อันพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
    ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธตรัสไว้ชอบ
    นี้มี ๕ ประการแล ๕ ประการเป็นไฉน คือ
    รูปูปาทานขันธ์
    เวทนูปาทานขันธ์
    สัญญูปาทานขันธ์
    สังขารูปาทานขันธ์
    วิญญาณูปาทานขันธ์

    ดูกรท่านผู้มีอายุ นี้แลอุปาทานขันธ์ ๕ ประการ
    อันพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น
    ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธ ตรัสไว้ชอบแล้ว

    ก็จิตของท่านผู้มีอายุ ผู้รู้อยู่ เห็นอยู่อย่างไรเล่า
    จึงหลุดพ้นจากอาสวะ ไม่ยึดมั่นในอุปาทานขันธ์ ๕ นี้

    �����ûԮ�������� �� - ����ص�ѹ��Ԯ�������� �

    +++++++++

    ;aa24 ตรงไหนครับที่ทรงกล่าวว่า ก็วิญญาณหลุดพ้นจาก วิญญาณูปาทาขันธ์
     
  11. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    จิตของเราหลุดพ้นแล้ว จากความปักใจมั่นในวิญญาณได้

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้สิ้นอาสวะแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว
    ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนแล้วโดยลำดับ
    สิ้นสัญโญชน์ในภพแล้ว พ้นวิเศษแล้วเพราะรู้ชอบ

    จึงนับว่ามีธรรมอันสมควรจะพยากรณ์ได้ดังนี้ว่า

    ดูกรท่านผู้มีอายุ ข้าพเจ้ารู้แจ้งรูปแล้วแลว่า ไม่มีกำลัง
    ปราศจากความน่ารัก มิใช่เป็นที่ตั้งแห่งความชื่นใจ

    จึงทราบชัดว่า จิตของเราหลุดพ้นแล้ว เพราะสิ้น สำรอก ดับ สละ
    และสลัดคืนซึ่งอุปาทานขันธ์ที่ยึดมั่นในรูป
    และอนุสัยคือความตั้งใจและความปักใจมั่นในรูปได้

    ข้าพเจ้ารู้แจ้งเวทนาแล้วแลว่า ...
    จิตของเราหลุดพ้นแล้ว เพราะสิ้น สำรอก ดับ สละ และสลัดคืน
    ซึ่งอุปาทานขันธ์ที่ยึดมั่นในเวทนา และอนุสัยคือความตั้งใจและความปักใจมั่นในเวทนาได้

    ข้าพเจ้ารู้แจ้งสัญญาแล้วแลว่า ... จิตของเราหลุดพ้นแล้วฯลฯ

    ข้าพเจ้ารู้แจ้งวิญญาณแล้วแลว่า ไม่มีกำลัง ปราศจากความน่ารัก
    มิใช่เป็นที่ตั้งแห่งความชื่นใจ

    จึงทราบชัดว่า จิตของเราหลุดพ้นแล้ว เพราะสิ้น สำรอก ดับสละ
    และสลัดคืนซึ่งอุปาทานขันธ์ที่ยึดมั่นในวิญญาณ และอนุสัยคือความตั้งใจ
    และความปักใจมั่นในวิญญาณได้

    ดูกรท่านผู้มีอายุ จิตของข้าพเจ้าผู้รู้อยู่ เห็นอยู่
    อย่างนี้แล จึงได้หลุดพ้นจากอาสวะ ไม่ยึดมั่นในอุปาทานขันธ์ ๕ นี้

    �����ûԮ�������� �� - ����ص�ѹ��Ԯ�������� �

    :aa24 นี่ขนาดพุทธวจนะยังกล้าไม่เห็นด้วย ช่างกล้าจริงๆ
    แล้วเอาอะไรกับคำพูดอัตโนมัติอาจารย์หละ
     
  12. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอภิชฌา ไม่ใช่ชำระวิญญาณให้บริสุทธิ์

    �����ûԮ�������� �� - ����ص�ѹ��Ԯ�������� �

    [๑๗๕] ก็ข้าพเจ้าประกอบด้วยศีลขันธ์ของพระอริยะเช่นนี้
    ประกอบด้วยอินทรียสังวรของพระอริยะเช่นนี้
    และประกอบด้วยสติสัมปชัญญะของพระอริยะเช่นนี้แล้ว

    จึงได้พอใจเสนาสนะอันสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา
    ถ้ำบนภูเขา ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง และลอมฟาง

    ข้าพเจ้ากลับจากบิณฑบาต ภายหลังเวลาอาหารแล้ว
    นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่นเฉพาะหน้า ละอภิชฌาในโลกได้แล้ว
    มีใจปราศจากอภิชฌาอยู่ ชื่อว่าได้ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอภิชฌา

    ละความชั่วคือพยาบาทแล้ว เป็นผู้มีจิตไม่พยาบาท
    อนุเคราะห์ด้วยความเกื้อกูลในสรรพสัตว์และภูตอยู่
    ชื่อว่าได้ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความชั่วคือพยาบาท

    ละถีนมิทธะแล้ว เป็นผู้มีจิตปราศจากถีนมิทธะ มีอาโลกสัญญา
    มีสติสัมปชัญญะอยู่ชื่อว่าได้ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากถีนมิทธะ

    ละอุทธัจจกุกกุจจะแล้ว เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน
    มีจิตสงบภายในอยู่ ชื่อว่าได้ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอุทธัจจกุกกุจจะ

    ละวิจิกิจฉาแล้ว เป็นผู้ข้ามความสงสัยได้ ไม่มีปัญหาอะไรในกุศลธรรมทั้งหลายอยู่
    ชื่อว่าได้ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากวิจิกิจฉา ฯ

    +++++++++++++++

    ;aa24 เมื่อพระพุทธวจนะไม่ได้กล่าวไว้ เราเหล่าสาวกก็ไม่ควรกล่าวว่า
     
  13. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    จึงถอนอนุสัยคือความถือตัวว่าเป็นเรา ว่าของเรา ในกายอันมีวิญญาณนี้

    ๑๗๗] ข้าพเจ้าเมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง
    ไม่มีกิเลสเครื่องยียวนปราศจากอุปกิเลส
    เป็นจิตอ่อนโยน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ถึงความไม่หวั่นไหวอย่างนี้แล้ว

    จึงได้น้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ ข้าพเจ้าได้รู้ชัดตามเป็นจริงว่า
    นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ที่ดับทุกข์ นี้ปฏิปทาให้ถึงที่ดับทุกข์

    ย่อมรู้ชัดตามเป็นจริงว่า เหล่านี้อาสวะ นี้เหตุให้เกิดอาสวะ นี้ที่ดับอาสวะ
    นี้ปฏิปทาให้ถึงที่ดับอาสวะ

    เมื่อข้าพเจ้ารู้อย่างนี้ เห็นอย่างนี้ จิตก็หลุดพ้นแม้จากกามาสวะ
    แม้จากภวาสวะ แม้จากอวิชชาสวะ

    เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ได้มีญาณรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว
    รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว
    กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี

    ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อข้าพเจ้ารู้อยู่ เห็นอยู่อย่างนี้แล
    จึงถอนอนุสัยคือความถือตัวว่าเป็นเรา ว่าของเรา ในกายอันมีวิญญาณนี้
    และในนิมิตทั้งหมดในภายนอกได้ด้วยดี ฯ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย คำกล่าวของภิกษุรูปนั้น พวกเธอควรชื่นชม อนุโมทนาว่า สาธุ
    ครั้นแล้วพึงกล่าวแก่ภิกษุรูปนั้นอย่างนี้ว่า
    ดูกรท่านผู้มีอายุ เป็นลาภของพวกข้าพเจ้า พวกข้าพเจ้าได้ดีแล้ว
    ที่พิจารณาเห็นท่านผู้มีอายุ เช่นตัวท่านเป็นสพรหมจารี ฯ

    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว
    ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชมยินดี
    พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล ฯ
    จบ ฉวิโสธนสูตร ที่ ๒

    ++++++++++

    ;aa24 คนอะไรไม่กลัวบาปไม่กลัวกรรม
    ที่ชอบลบหลู่พุทธวจนะอันเป็นของสูงเป็นอาจิณ
     
  14. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    อกุศลธรรมจึงเสื่อมไป กุศลธรรมจึงเจริญยิ่ง ฯ

    �����ûԮ�������� �� - ����ص�ѹ��Ԯ�������� �
    [๒๑๐] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
    เมื่อเสพความเกิดขึ้นแห่งจิตมีรูปอย่างไร
    อกุศลธรรมจึงเจริญยิ่ง กุศลธรรมจึงเสื่อมไป

    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มากด้วยอภิชฌา
    มีใจสหรคตด้วยอภิชฌาอยู่ เป็นผู้มีพยาบาทมีใจสหรคตด้วยพยาบาทอยู่

    เป็นผู้มีความเบียดเบียน มีใจสหรคตด้วยความเบียดเบียนอยู่
    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเสพความเกิดขึ้นแห่งจิตมีรูปอย่างนี้
    อกุศลธรรมจึงเจริญยิ่ง กุศลธรรมจึงเสื่อมไป ฯ

    [๒๑๑] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
    เมื่อเสพความเกิดขึ้นแห่งจิตมีรูปอย่างไร
    อกุศลธรรมจึงเสื่อมไป กุศลธรรมจึงเจริญยิ่ง

    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลบางคน
    ในโลกนี้ เป็นผู้ไม่มากด้วยอภิชฌา มีใจไม่สหรคตด้วยอภิชฌาอยู่

    เป็นผู้ไม่มีพยาบาท มีใจไม่สหรคตด้วยพยาบาทอยู่ เป็นผู้ไม่มีความเบียดเบียน
    มีใจไม่สหรคตด้วยความเบียดเบียนอยู่

    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
    เมื่อเสพความเกิดขึ้นแห่งจิตมีรูปอย่างนี้
    อกุศลธรรมจึงเสื่อมไป กุศลธรรมจึงเจริญยิ่ง ฯ

    ++++++++++++

    ;aa24 คนอะไรไม่กลัวบาปไม่กลัวกรรม
    ที่ชอบลบหลู่พุทธวจนะอันเป็นของสูงเป็นอาจิณ
     
  15. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
  16. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    <CENTER>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘
    สังยุตตนิกาย นิทานวรรค
    </CENTER><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" align=center background=http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/ border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TR><TD width="100%" bgColor=darkblue hspace="0" vspace="0">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    <CENTER></CENTER><CENTER>๙. พาลปัณฑิตสูตร</CENTER></PRE>
    [๕๙] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    กายนี้ของคนพาล ผู้ถูกอวิชชาใดหุ้มห่อแล้ว
    และประกอบแล้วด้วยตัณหาใด เกิดขึ้นแล้ว อวิชชานั้น

    คนพาลยังละไม่ได้ และตัณหานั้นยังไม่สิ้นไป
    ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะคนพาลไม่ได้ประพฤติพรหมจรรย์
    เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ เหตุนั้น เมื่อตายไปคนพาลย่อมเข้าถึงกาย

    เมื่อเขาเข้าถึงกายชื่อว่ายังไม่พ้นจากชาติ ชรา มรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาส
    เรากล่าวว่า ยังไม่พ้นไปจากทุกข์

    กายนี้ของบัณฑิต ผู้ถูกอวิชชาใดหุ้มห่อแล้ว
    และประกอบด้วยตัณหาใด เกิดขึ้นแล้ว อวิชชานั้น
    บัณฑิตละได้แล้วและตัณหานั้นสิ้นไปแล้ว
    ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่าบัณฑิตได้ประพฤติพรหมจรรย์
    เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ เหตุนั้น เมื่อตายไป บัณฑิต

    ย่อมไม่เข้าถึงกาย เมื่อเขาไม่เข้าถึงกาย
    ชื่อว่าย่อมพ้นจากชาติ ชรา มรณะโสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาส
    เรากล่าวว่า ย่อมพ้นจากทุกข์ อันนี้เป็นความแปลกกัน อันนี้เป็นอธิบาย
    อันนี้เป็นความต่างกันของบัณฑิตกับคนพาล
    กล่าวคือการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ฯ

    ++++++++++

    ;aa24 เชิญครับพวกคนพาลๆแม้แต่กับพระพุทธวจนะ
     
  17. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,462
    ค่าพลัง:
    +1,137
    ไม่มีใครเค้าไม่เคารพพระพุทธวัจนะนะ

    แต่การตีความของคุณมันผิดจากที่พระตถาคตสื่อไห้เห็นต่างหาก

    น่าจะเลิกตั้งกระทู้แบบนี้เอาพุทธพจมาตีความผิดๆ
     
  18. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ย่อมตรัสรู้ด้วยอะไร ย่อมตรัสรู้ด้วยจิต

    �����ûԮ�������� �� - ����ص�ѹ��Ԯ�������� ��

    ปัญญาวรรค อภิสมยกถา

    ๖๙๕] คำว่า ความตรัสรู้ ความว่า ย่อมตรัสรู้ด้วยอะไร ย่อมตรัสรู้ด้วยจิต
    ย่อมตรัสรู้ด้วยจิตหรือ ถ้าอย่างนั้น บุคคลผู้ไม่มีญาณก็ตรัสรู้ได้ซิ

    บุคคลผู้ไม่มีญาณตรัสรู้ไม่ได้ ย่อมตรัสรู้ได้ด้วยญาณ ย่อมตรัสรู้ด้วยญาณหรือ
    ถ้าอย่างนั้น บุคคลผู้ไม่มีจิตก็ตรัสรู้ได้ซิ

    บุคคลผู้ไม่มีจิตก็ตรัสรู้ไม่ได้ ย่อมตรัสรู้ได้ด้วยจิตและญาณ
    ย่อมตรัสรู้ได้ด้วยจิตและญาณหรือ

    ถ้าอย่างนั้น ก็ตรัสรู้ได้ด้วยกามาวจรจิตและญาณซิ
    ย่อมตรัสรู้ด้วยกามาวจรจิตและญาณไม่ได้

    ถ้าอย่างนั้นก็ตรัสรู้ได้ด้วยรูปาวจรจิตและญาณซิ
    ตรัสรู้ด้วยรูปาวจรจิตและญาณไม่ได้

    ถ้าอย่างนั้น ก็ตรัสรู้ได้ด้วยอรูปาวจรจิตและญาณซิ
    ตรัสรู้ด้วยอรูปาวจรจิตและญาณไม่ได้
    ถ้าอย่างนั้น ก็ตรัสรู้ได้ด้วยกัมมัสสกตาจิตและญาณซิ
    ตรัสรู้ด้วยกัมมัสสกตาจิตและญาณไม่ได้

    ถ้าอย่างนั้น ก็ตรัสรู้ได้ด้วยสัจจานุโลมิกจิตและญาณซิ
    ตรัสรู้ด้วยสัจจานุโลมิกจิตและญาณไม่ได้

    ถ้าอย่างนั้น ก็ตรัสรู้ได้ด้วยจิตที่เป็นอดีตและญาณซิ
    ตรัสรู้ด้วยจิตที่เป็นอดีตและญาณไม่ได้

    ถ้าอย่างนั้นก็ตรัสรู้ได้ด้วยจิตที่เป็นอนาคตและญาณซิ
    ตรัสรู้ด้วยจิตที่เป็นอนาคตและญาณไม่ได้

    ปัญญาวรรค อภิสมยกถา

    ถ้าอย่างนั้น ก็ตรัสรู้ได้ด้วยจิตที่เป็นปัจจุบันและญาณซิ
    ตรัสรู้ด้วยจิตที่เป็นปัจจุบันและญาณไม่ได้ (แต่)
    ตรัสรู้ได้ด้วยจิตที่เป็นปัจจุบันและญาณในขณะโลกุตรมรรค ฯ

    +++++++++++++

    ;aa24 ทรงตรัสรู้ดวยจิต ไม่ใช่ตรัสรู้ด้วยวิญญาณซะหน่อย
    พุทธวจนะชัดเจนในตัว ไม่ต้องตีความอย่างพวกที่ชอบทำๆกันอยู่
     
  19. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ย่อมตรัสรู้ด้วยจิตที่เป็นปัจจุบันและด้วยญาณ

    �����ûԮ�������� �� - ����ص�ѹ��Ԯ�������� ��

    [๖๙๖] ย่อมตรัสรู้ด้วยจิตที่เป็นปัจจุบันและญาณในขณะแห่งโลกุตรมรรคอย่างไร ฯ

    ในขณะโลกุตรมรรค จิตเป็นใหญ่ในการให้เกิดขึ้น
    และเป็นเหตุเป็นปัจจัยแห่งญาณ จิตอันสัมปยุตด้วยญาณนั้น
    มีนิโรธเป็นโคจร ญาณเป็นใหญ่ในการเห็น และเป็นเหตุเป็นปัจจัยแห่งจิต

    ญาณอันสัมปยุตด้วยจิตนั้น มีนิโรธเป็นโคจร
    ย่อมตรัสรู้ด้วยจิตที่เป็นปัจจุบันและด้วยญาณ ในขณะแห่งโลกุตรมรรค

    ++++++++++++

    ;aa24 ใครที่ชอบตีความและไม่เห็นด้วยกับพุทธวจนะนั้น คนพาลดีๆนี่เอง
     
  20. ฮะเก๊า

    ฮะเก๊า สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    8
    ค่าพลัง:
    +1
    เห็นชื่อกระทู้แล้ว ไม่ขอเสียเวลาอ่าน
     

แชร์หน้านี้

Loading...