สติปัฏฐานสี่ตามแนววิชชาธรรมกาย

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย นโมพุทธายะ๕, 21 สิงหาคม 2014.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,220
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,106
    ค่าพลัง:
    +70,443
    
    เมื่อตอนแยกกลุ่มเริ่มปฏิบัติ ผมได้ตั้งจิตอธิษฐานต่อพระเดชพระคุณ พระมงคลเทพมุนี ว่า วันนี้ถ้าผมมีบุญบารมีพอที่จะเข้าถึง รู้วิชชาธรรมกาย ขอให้ผมนึกเห็นดวงแก้วกลมใสในฐานที่ ๗ พร้อมกับนิมิตอื่นๆ อีกที่เป็นสัมมาทิฏฐิ แต่ถ้าไม่มีบุญบารมีพอ ผมก็จะขอหยุดไว้ก่อน เพื่อตั้งหลักครั้งใหม่ พอเริ่มปฏิบัติไป ก็ปรากฏเห็นดวงแก้วกลมใสพร้อมองค์พระที่ใสในขณะเดียวกัน อาการเช่นนี้เป็นอยู่นานพอสมควร ความรู้สึกที่เกิดขึ้นกับผม ปรากฏว่าดีขึ้นเป็นอย่างมาก




    ---------------------------


    ตอบ:

    คำอธิษฐานนี้เสี่ยงไปหน่อยนะครับ   เสี่ยงในข้อที่ว่า  ท่านอธิษฐานว่า “แต่ถ้าไม่มีบุญบารมีพอ  ผมก็จะขอหยุดไว้ก่อน  เพื่อตั้งหลักครั้งใหม่”

    ตรงนี้เป็นการอธิษฐานที่ไม่ถูกต้อง  เหตุที่ไม่ถูกต้องเพราะว่า  ถ้าไม่มีบุญบารมี   ก็ไม่ได้มาเรียนหรอกครับ  คือทุกคนมีบุญบารมีด้วยกันทั้งนั้น   ที่กระผมจะพูดหมายถึงอย่างนี้   แต่มีมากมีน้อย  ไม่ใช่ไม่มีคือศูนย์   ไม่ใช่อย่างนั้น   มีบุญบารมีด้วยกันทั้งนั้น

    พระคุณเจ้าเองก็มี    แต่ถ้าบุญบารมียังน้อยอยู่  มันก็ยังไม่เห็น  อย่าไปเอาเป็นอารมณ์มากนักในเรื่องของอธิษฐาน   ไม่อย่างนั้นเสียเปรียบภาคมาร   ภาคมารคอยสอดละเอียด หลอกเราแวบเดียว  เราพลาดไปเลย

    บางท่านอธิษฐานสร้างบุญบารมี เพียงปกติสาวก   ถ้าโดยนัยนั้นก็เหมือนว่า  เราจะบำเพ็ญบารมีเพื่อบรรลุมรรคผลนิพพานในระดับมาตรฐานเบื้องต้น  คือระดับปกติสาวก

    มาตรฐานเบื้องต้นนั้น  เมื่อได้บำเพ็ญบุญกุศลได้เต็มหนึ่งคืบของเจ้าของ  บุญนั้นจะกลั่นตัวเองเป็นบารมี ได้ประมาณเท่าหนึ่งองคุลีมือ

    บำเพ็ญบารมีจนเต็มแก่กล้าได้หนึ่งคืบ   จึงจะกลั่นตัวเองเป็นอุปบารมี   เท่าหนึ่งองคุลีมือ

    แล้วก็บำเพ็ญอุปบารมีจนเต็มหนึ่งคืบ   จึงจะกลั่นตัวเองเป็นปรมัตถบารมี   ประมาณเท่าหนึ่งองคุลีมือ

    และถ้าบำเพ็ญปรมัตถบารมีได้เต็มหนึ่งคืบของตัวครบ หมดทั้ง 10 ประการ (ทานบารมี, ศีล, เนกขัมมะ, ปัญญา, วิริยะ, ขันติ, สัจจะ, อธิษฐาน, เมตตา และอุเบกขาบารมี) ในภพชาติใด   ภพชาตินั้น เมื่อบารมีเต็มก็เป็นอันว่าผู้บำเพ็ญบารมีนั้น  มีพลวปัจจัยให้สามารถทำที่สุดแห่งทุกข์ได้  หมายความว่า ถึงมรรคผลนิพพานได้

    เพราะฉะนั้นเรื่องบุญบารมี   อย่าเอาไปใช้ในลักษณะพนันหรือท้าทายว่า  ถ้าผมไม่มีบุญบารมี ก็หยุดไว้ก่อน   อย่างนั้นผิด   เพราะอะไร ?   มันผิดตรงที่ว่าเราแน่ใจแล้วหรือว่าเรามีบุญบารมีกี่มากน้อย ?   หากว่าเรามีบุญบารมียังไม่พอ   ก็ยังไม่เห็น (ดวงธรรม)

    แต่เราต้องถามตัวเองก่อนว่า  วิธีที่ให้ปฏิบัติอย่างนี้ผิดหรือถูก ?   เราพิจารณาดูเสียก่อนว่า ปฏิบัติอย่างนี้ผิดหรือถูก   ถ้าถูกแล้ว  แม้ยังไม่เห็นก็ตั้งใจปฏิบัติไป   สั่งสมบุญกุศลคุณความดีเรื่อยไป   หยุดทำไม ?   ถึงเวลาก็ได้เห็นเอง   หยุดไปก็ถูกมารหลอก

    การอธิษฐานนี่ นิดเดียวก็ถูกมารหลอกแล้ว   เห็นไหมล่ะ  ไปอธิษฐานว่า ถ้าไม่เห็นก็แปลว่าไม่มีบุญบารมี  จะหยุดเสียแล้ว   ไปเอาข้อนี้มาเป็นเงื่อนไข

    บุญมีนะ  แต่มันยังน้อยอยู่  หรือว่ามันมีเหตุปัจจัยอื่นๆ อะไรปิดบังอยู่   เราก็ไม่รู้   ไปตีความว่าเราไม่มีบุญเสียแล้ว   จะหยุดปฏิบัติเสียแล้ว   เหมือนกับเราจะขุดน้ำในบ่อ   พอไปเจอรากไม้หน่อย  โอ๊ย ไปไม่ได้แล้ว   ก็จบกัน

    เพราะฉะนั้น เมื่อไปเจอรากไม้ตอไม้หรืออะไร   เราก็พยายามขุดตัดออกอีกหน่อยก็ลงไปได้   แต่ต้องค่อยๆ ทำ   ไม่ใช่ว่าขุดไปต้องให้เจอน้ำนะ   ถ้าไม่เจอน้ำก็แปลว่าไม่มีน้ำ   อย่างนี้ก็เสร็จกัน

    เราถามตัวเองก่อนว่า  วิธีปฏิบัตินี้  ตามที่สอนไปนี้ผิดหรือถูก  ให้คุณหรือให้โทษ   ตรงนี้ต่างหากคือประเด็นที่ควรพิจารณา

    เผอิญท่านอธิษฐานแล้ว ท่านเห็น  นี่เป็นการดี   ท่านมีบุญบารมีอยู่แล้ว  ไม่ต้องไปอธิษฐานอย่างนั้นก็เห็นได้ เกิดหากว่ามารสอดละเอียดให้ท่านไม่เห็นซะนี่   ทั้งๆ ที่ท่านมีบุญ   เผอิญวันนี้มารสอดละเอียดท่านหน่อย  เลยยังไม่เห็น   ไม่เห็นท่านก็หยุดเสียแล้ว   ทั้งๆ ที่มันใกล้จะเห็นอยู่แล้ว

    หรือว่าเหมือนกับขุดน้ำ   มันจวนจะถึงน้ำอยู่แล้ว   อะไรมาคั่นหน่อยเดียว   บอกว่าถ้าไม่เห็น   น้ำผมจะหยุดแล้ว ไปเห็นอุปสรรคอะไรขวางหน่อย ก็คิดว่าผมจะหยุดแล้ว   เสร็จเลย   ทั้งๆ ที่เลยไปอีกหน่อยเดียวก็เห็น

    นี่แหละให้ระวังเรื่องอธิษฐาน   ให้ระวัง !   มีคนเคยเป็นแบบนี้มาแล้ว   อาตมาบอกแล้วก็ไม่ยอมเชื่อเสียด้วย

    เพราะฉะนั้นเรื่องอธิษฐาน   ต้องระวังให้ดี   บางทีกลายเป็นการผูกมัดตัวเอง    ไม่ใช่แต่เพียงเรื่องอธิษฐาน บางคนว่าฉันต้องรักษาวาจาสัตย์  พูดอะไรออกไปก็ต้องเป็นตามนั้นเสมอไป     ถ้าพูดถูกแล้วเป็นตามนั้นก็สมควร   แต่ถ้าพูดผิดด้วยอารมณ์   บางทีมันมีอารมณ์รัก โกรธ เกลียด ชอบ ชัง หลง กลัว  อะไรๆ ก็แล้วแต่   พอเราพูดว่าต่อไปนี้ฉันจะไม่ยังงั้น  ละฉันจะไม่อย่างงี้ละ   หรือว่าต่อไปนี้ฉันจะทำอย่างนั้น   ถ้าไม่เป็นอย่างนั้น   ฉันก็จะไม่เป็นอย่างนี้

    บางทีเราหลงเข้าใจผิดแล้ว   เลยอธิษฐานหรือพูดพลาดไปผิดๆ   ถ้าไม่ระวังให้ดี   หรือถ้ารู้ว่าอธิษฐานผิด/พูดผิดแล้วไม่แก้ให้ถูก   ก็เสียผลอย่างใหญ่หลวงได้

    เพราะฉะนั้น  การถือสัจจะหรืออธิษฐานนี่   ให้จำไว้ว่า  เราจงทำในขณะที่เรามีสติสัมปชัญญะดี มีปัญญาแจ้งชัดดีแล้ว   ถ้ายังไม่แจ้งชัดพอก็อย่าเพิ่งอธิษฐาน   อย่าเพิ่งลั่นวาจา   ตรงนี้สำคัญ...

    ถ้าลั่นวาจาแล้ว   ภายหลังเรารู้ว่าไม่ถูก  ไปพูดเข้าไปแล้ว   เลยกลับคำไม่ได้   หรืออย่างเช่น   การอธิษฐานนี่  บางท่านอธิษฐานกินเจ (มังสวิรัติ) ตลอดชีวิต   บางรายก็เป็นโรคขาดสารอาหาร  เลยแห้งเหี่ยว  เพราะร่างกายต้องการสิ่งที่มีประโยชน์มาบำรุงพอสมควร    แต่ไม่ใช่ว่าต้องรับประทานแต่อาหารที่ดีๆ เกินไป  จนเกินเหตุ  เราต้องมี “โภชเนมัตตัญญุตา”  คือ รับประทานแต่พอควร   ถ้าอดอาหารจนร่างกายไม่มีกำลัง   พระพุทธเจ้าทรงถือว่าเป็น “อัตตกิลมถานุโยค”  เป็นการทรมานร่างกายจนเกินเหตุ   ไม่ใช่ทางให้พ้นทุกข์  ไม่ใช่ทางให้เกิดปัญญา   ที่จะแทงตลอดอริยสัจได้   นี่ต้องระวัง  เรื่องนี้สำคัญ

    บางทีไปอธิษฐานว่า  ถ้าไม่เห็นไม่ยอมลุก   บางทีเราตายเปล่านะ   ผู้ที่อธิษฐานอย่างนี้ได้  อย่างหลวงพ่อท่านอธิษฐาน  ข้อนี้ดีจริงนะ   ไม่ใช่ไม่ดี   พระพุทธเจ้าก็อธิษฐาน   แต่นั่นท่านรู้ตัวท่านแล้วว่าบารมี ท่านแค่ไหน   คือปฏิบัติไปจะรู้ตัว   แต่ถ้าท่านผู้ใดรู้ตัวมีบารมีพอ   จึงค่อยอธิษฐาน  เอาเลย !   หรือว่ารู้ว่าสิ่งนี้ถูกต้องแน่   เราจะทำอย่างนี้  หรือจะไม่ทำอย่างนี้   ให้มันแน่นอนลงไปอย่างนั้นได้   แต่ถ้าเป็นไปด้วยอารมณ์   เป็นไปด้วยกิเลส  เหตุนำเหตุหนุนให้พูดหรืออธิษฐาน   ขณะมีความรัก โกรธ เกลียด ชอบ ชัง หลงอยู่ กลัวอยู่ อย่างนี้เป็นต้น   ไปพูดตั้งสัตยาธิษฐานด้วยอาการอย่างนั้นละก็เสร็จเลย   จะกลับคำก็ไม่ได้  กลับคำก็ถือว่าเสียสัจจะ  นี่ไปยึดผิดๆ อย่างนั้น

    แต่ผมน่ะพระคุณเจ้า จะบอกโยมด้วย  อาตมานี่ถ้าว่าจะตั้งใจทำอะไร  ตั้งใจทำให้สำเร็จจริง   แต่ถ้าเห็นมีอุปสรรค มีปัญหา  หรือเห็นว่านี่เรามาผิดทางแล้ว  เห็นว่าควรจะปรับปรุงแก้ไข   ก็แก้ไข  ไม่ใช่ว่าฉันตั้งสัตยาธิษฐานไว้แล้วว่าฉันจะเดินไปทางนี้   บางคนเดินไปแล้วมันจะชนเสา  หัวก็ โขกเสาอยู่นั่น แต่ผมไม่ยอมชนเสาละ  ผมหลีกนะ   แต่ไม่ใช่ถือว่าเสียสัจจะ เพราะวัตถุประสงค์ของผมอยู่ที่ว่าจะไปให้ถึงจุดโน้น   ไม่ใช่ว่าจะต้องเดินไปทางนี้   แม้จะตรงเสาก็ให้ชนเสาเพื่อไปถึงจุดโน้น ก็ย่อมไม่ถึง   เพราะเสาไม่หลีกให้เรา   เราก็ไปถึงจุดโน้นไม่ได้

    เพราะฉะนั้นเมื่อผมมีวัตถุประสงค์จะเดินให้ไปถึงจุดตรงนู้น   แม้เมื่อไปทางนั้นจะชนเสาก็หลีกได้  ขอให้ไปถึงจุดที่ต้องการก็แล้วกัน

    การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเล็กๆ น้อยๆ  ให้ถูกต้องตรงตามหลักการ   เพื่อให้ถึงจุดหมายปลายทางที่ประสงค์  ไม่ใช่เป็นการเสียสัจจะ  เพราะจุดประสงค์เรามุ่งที่จะถึงจุดตรงนู้น  เข้าใจไหม ?

    เพราะฉะนั้นจะอธิษฐานอะไรต้องให้รอบคอบ    โดยเหตุนี้  อาตมาจึงนำอธิษฐานเป็นคำกลางๆ  แม้แต่การทำบุญกุศลก็จะนำอธิษฐานเพื่อไปมรรคผล นิพพาน   เป็นคำกลางๆ และถูกต้องแน่นอนดี อธิษฐานเพื่อถึงมรรคผลนิพพานฝ่ายสัมมาทิฏฐิ

    ทีนี้มีคนถามเหมือนกันว่า  “มรรคผล นิพพาน ฝ่ายมิจฉาทิฏฐิมีไหม   หลวงพ่อ [พระภาวนาวิสุทธิคุณ] จึงได้กล่าวอธิษฐานอย่างนี้ ?”

    มันมีได้ด้วยความหลงเข้าใจผิด คิดว่าที่ตนเองเคยเรียนรู้มา (ผิดๆ) ว่  านั่นเป็นมรรคผลนิพพานจริงๆ แต่นั่นเป็นมิจฉาทิฏฐิ   อย่างนี้ก็มี

    เพราะฉะนั้นนี่แหละที่อาตมาบอกว่า นิพพานมิจฉาทิฏฐิของคนที่สอนสืบต่อๆ กันมาก็มีอยู่

    อาจมีคนค้านว่านิพพาน  ต้องของจริงอย่างเดียวสิ   บางครั้ง   คนเกิดมาในยุคในสมัย หรือในครอบครัวหรือในสังคมที่เป็นมิจฉาทิฏฐิ   พูดเรื่องนิพพาน   เราก็เห็นดีด้วย   เราก็เลยตามดุ่ยเลย  อย่าลืมว่ามิใช่ว่าสัตวโลกทุกผู้ทุกนาม ทุกชาติ ทุกศาสนา จะรู้เรื่องนิพพานแจ่มแจ้งดีแล้ว   แท้ที่จริง  ผู้รู้จริงก็มีแต่พระพุทธเจ้า  พระอรหันตเจ้า และพระอริยเจ้า ในพระธรรมวินัยนี้  คือในพระพุทธศาสนานี้เท่านั้น

    แต่สัตวโลกทั้งหลายมีความต้องการตามคุณสมบัติพระนิพพานที่จริงแท้ๆ  นั่นแหละคือ ไม่อยากมีทุกข์ ไม่อยากแก่-เจ็บ-ตาย   อยากจะมีแต่ความสุขอันถาวรนิตย์นิรันดร์

    มีใครอยากจะตายมั่ง   มีมั้ย ?   อยากจะเที่ยงกันทุกคน  ใครอยากได้รับความทุกข์บ้าง มีไหม ?   ก็ต้องการความสุขด้วยกันทุกคน

    ต้องการความเที่ยงเป็นสุข   และต้องการยั่งยืน คือไม่รู้จักตาย ไม่ว่าสัตว์ดิรัจฉาน ไม่ว่ามนุษย์ ไม่ว่าเทวดา พรหม อรูปพรหม   ล้วนต้องการคุณลักษณะของพระนิพพานแท้ๆ อย่างนี้ทั้งนั้น   แต่ว่าไม่รู้จักพระนิพพานของจริงในพระพุทธศาสนา   ทีนี้ ก็แล้วแต่ใครจะพูดจะแนะนำสั่งสอนอะไรไปผิดๆ ถูกๆ   นี่แหละ “นิพพานมิจฉาทิฏฐิ”   คือไม่รู้จัก พระนิพพาน ที่แท้จริง

    ที่อาตมาให้อธิษฐานแต่ละคำนั้น มีความหมายทั้งหมด   ไม่ใช่ว่าพอดีพอร้าย   ไม่ใช่ธรรมดา   ไม่ใช่สักแต่พูด  อาตมาจึงให้เน้นตรงนั้นตรงนี้   อย่างนั้นอย่างนี้   โปรดเข้าใจนะ

    สรุปว่า  ถ้ามั่นใจว่าเรามีบุญบารมีพอ ก็อธิษฐานเช่นนั้นได้   แบบพระพุทธเจ้า     แต่ถ้าไม่มั่นใจก็ไม่ต้องอธิษฐานอย่างนั้นหรอกครับ   อธิษฐานอย่างที่หลวงพ่อท่านสอนให้อธิษฐานนั่นแหละ  นี้แหละมันปลอดภัยที่สุด   อธิษฐานตามนั้นแหละว่า

    “ขอบารมีทั้งหลายเหล่านั้น จงมาบังเกิดในจักขุทวาร โสตทวาร ฆานทวาร ชิวหาทวาร กายทวาร มโนทวาร”

    คืออย่างไร ?   ก็คือมาเป็นตัวเรานั่นแหละ   พูดกันง่ายๆ ขอบุญบารมีทั้งหลายเหล่านั้นมาเป็นตัวเรา บุญบารมีที่บริสุทธิ์ผ่องใส  จะมาเป็นตัวเรา   คือกายเนื้อนี้ได้อย่างไร   เป็นไม่ได้   มาเป็นธรรมกายละก็ได้ เข้าใจไหม ?

    คำอธิษฐานของหลวงพ่อเป็นอย่างนี้   ทีนี้อาตมาก็เลยคิดว่า  อาจจะมีโยมที่อาจจะไม่ค่อยรู้ความหมาย  อาจจะมีพระไม่ค่อยรู้  เณรไม่ค่อยรู้   ก็เลยบอกให้ละเอียดลงไปหน่อยว่า  “จงมาช่วยประคับประคองใจให้หยุดให้นิ่ง”   เพราะถ้าใจไม่หยุดไม่นิ่งๆ  ก็ไม่ถึงพระ ใจต้องหยุดต้องนิ่งจึงถึงพระ คือ ต้องกำจัดกิเลสนิวรณ์ก่อน

    วิธีการปฏิบัติภาวนาให้ใจสงบ ให้หยุดให้นิ่งอย่างนี้   ผิดหรือถูกล่ะ  เมื่อรู้ว่าถูกแล้วก็ไม่ต้องไปคิดมาก เดินหน้าอย่างเดียว   ลุยอย่างเดียว  ลุยไปจนตาย   แล้วก็ได้เห็นเองเป็นเองเท่านั้นแหละ

    เราพิจารณาดูว่าทางปฏิบัตินั้นถูกมั้ย   ถ้าถูกแล้วก็ทำไปเลย   แต่ถ้าเมื่อไหร่เราเห็นว่าทางนี้ไม่ถูก ถ้าไม่ถูกก็เปลี่ยนหรือปรับปรุงให้มันถูก  ก็เท่านี้แหละ

    อาตมาใช้อย่างนี้   เพราะฉะนั้นหลวงพ่อวัดปากน้ำท่านจึงสอนว่า “ประกอบเหตุ สังเกตผล ทนเอาเถิด ประเสริฐนัก  ประกอบในเหตุ สังเกตในผล ทนเอาเถิด ประเสริฐดีนัก” ก็คือว่าปฏิบัติไปก็พิจารณาดูเหตุ ดูผลไป  คอยประคับประคองใจของเราให้ถูกทางว่า  ทำแล้วได้ผลไหม  อย่างนี้ๆๆ   ถ้าไม่ได้ผล   เป็นเพราะเราไม่ถูกต้องตรงไหน   เราก็ปรับตรงนั้นซะ

    จุดหมายปลายทาง ก็ต้องการให้ใจหยุด  จะให้ใจหยุดตรงไหน ?    ก็ให้หยุดตรงกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม   หยุดตรง นั้นแล้วได้อะไร ?   หยุดแล้วถึงดวงธรรมที่ทำให้เป็นกาย

    ถ้ามีคนถามว่านั่นนิมิตนี่   บอกเขาไปว่า คุณรู้จริงหรือเปล่าว่า นิมิตเป็นอย่างไร ?

    ถ้าเขาว่า นั่นปฏิภาคนิมิตยังไงล่ะ  เห็นเป็นดวงใสเหมือนกัน   ก็บอกเขาไปว่า “ใช่”

    แต่นี่เมื่อเห็นดวงใสตรงกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิมนั้น   “ใจ” คือ เห็น จำ คิด รู้ (ที่ขยายส่วนหยาบออกมาจากธาตุละเอียดของนามขันธ์ 4 คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) หยุดตรงกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม  เมื่อใจหยุดตรงนั้นถูกส่วนเข้า   ศูนย์กลางนั้นก็ขยายว่างออกไป เราจะสังเกตเห็นหรือไม่เห็นก็แล้วแต่   แต่ศูนย์กลางตรงนั้นขยายว่างออกไป  ขยายออกแล้ว  แวบเดียวที่เรารู้สึกหวิวนิดหนึ่งนั่นแหละ   ก่อนที่เราจะเห็นดวงใสดวงใหม่   พอขยายออก  จิตดวงเดิมตกศูนย์ไปยังศูนย์กลางกายฐานที่ 6 จิตดวงเดิมนั่นละปฏิภาคนิมิต นั่นไปแล้ว    แล้วก็ปรุงเป็นจิตดวงใหม่  ตั้งอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายใหม่  ลอยเด่นขึ้นมาใสแจ่ม ตรงศูนย์กลางกายฐานที่ 7 อีก  ที่เห็นใสแจ่มลอยเด่นมานี้ ไม่ใช่ปฏิภาคนิมิตดวงใหม่แล้ว แต่เป็นดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายดวงใหม่  มีใจตั้งอยู่ตรงกลางนั้น ใสแจ่มขึ้นมา  และมีความแตกต่างจากดวงใส  ที่เป็นปฏิภาคนิมิตดวงเดิม

    กล่าวคือ ดวงใสดวงใหม่ จะปรากฏธาตุละเอียดของมหาภูตรูป 4 (คือ ธาตุน้ำ ดิน ไฟ ลม 4 อย่าง) ไม่ใช่เห็นดวงเฉยๆ  แต่ยังมีธาตุละเอียดข้างในอีกคือ  ธาตุน้ำ ดิน ไฟ ลม  ตรงกลางเป็นอากาศธาตุ (เป็นที่ 5) ตรง กลางอากาศธาตุมี “วิญญาณธาตุ” ซึ่งเป็นจุดศูนย์กลางของนามขันธ์ 4 (เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) หลวงพ่อถึงบอกว่า “ถ้าธาตุทั้ง 6 ไม่ประชุมกัน ปฐมมรรคก็ไม่เกิด”

    เพราะฉะนั้น  ที่เราเห็นคือ “ดวงปฐมมรรค” หนทางเบื้องต้นไปสู่มรรคผลนิพพาน หรือ “ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกาย” หรือ “ดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน”  เพราะเราสามารถจะเข้าถึงและรู้เห็นกายในกาย  เวท นาในเวทนา  จิตในจิต  และธรรมในธรรม จากสุดหยาบไปสุดละเอียดได้ตรงนั้นเอง   จึงชื่อว่าดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน

     เพราะฉะนั้น  คำพูดของหลวงพ่อ  ธรรมะของหลวงพ่อลึกซึ้งอย่างนี้

    เมื่อเราเข้าใจอย่างนี้แล้ว  ก็พิจารณาดูซิว่าวิธีของท่านผิดหรือถูกล่ะ ?   เราพิจารณาเห็นกายในกาย  เวทนาในเวทนา จิตในจิต  และก็เห็นธรรมในธรรม  คือว่าเมื่อใจหยุดนิ่ง  จิตไม่สังขาร (ไม่ปรุงแต่ง) ก็เป็นกุศลธรรม  เป็นบุญผ่องใส และค่อยๆ แก่กล้าไป  จนกระทั่งถึงเป็นบารมี อุปบารมี ปรมัตถบารมี  ละเอียดเข้าไปสุดละเอียด  จาก “มนุษยธรรม” ถึง “เทวธรรม” “พรหมธรรม” และถึง “พุทธธรรม” คือ ธรรมกาย ณ ที่สุดละเอียดของธรรมกาย ก็ คือ อายตนะนิพพาน  ได้รู้เห็นไปตลอดอย่างนี้   เป็นขั้นเป็นตอนอย่างนี้  ผิดหรือถูกล่ะ   เมื่อเราได้พิจารณาโดยแยบคายรู้ว่าถูกทางแล้ว ก็จงเพียรปฏิบัติไป   เดินหน้าลูกเดียว   แต่ถ้าเราพิจารณาเห็นว่า  ทางไม่ถูกหรอก   เอ้า! ไม่ถูกก็ไม่ถูก  ไม่ว่ากัน

    เพราะฉะนั้น  ข้อนี้ไม่ต้องอธิษฐานอย่างนั้น   แต่ถ้ามั่นใจว่า บุญบารมีของเรามีพอ  เอาละ !  อธิษฐานได้  แบบพระพุทธเจ้า   หลวงพ่อท่านก็อธิษฐานนะ   อธิษฐานอย่างที่พระสมุห์ท่านว่าเมื่อกี้นี้   ก็แสดงว่าท่าน (พระสมุห์ เขียน) มีบุญ  ท่านถึงได้เห็นได้  เห็นเพียงแวบหนึ่งนี่   หลวงพ่อวัดปากน้ำท่านว่าเห็นเพียงแวบหนึ่ง ก็ใจหยุดเพียงแวบหนึ่ง  “เท่าช้างกระดิกหู”  ช้างกระดิกหูเป็นอย่างไร ?   เพียงกระพริบตาเดียวเท่านั้นแหละ  หรือว่า  “เท่างูแลบลิ้น”  แวบเดียวเท่านั้น   นั่นบุญใหญ่กุศลใหญ่ยิ่งกว่าการสร้างโบสถ์วิหารการเปรียญเสียอีก   เพราะเป็นทางมรรคผลนิพพาน  คือได้สัมผัสได้ลิ้มรส   ได้รู้ว่า “นิพพาน” บริสุทธิ์ผ่องใส คือ ใจที่บริสุทธิ์ผ่องใส  ได้สัมผัสธรรมที่ละเอียดสุขุมลุ่มลึก  อย่างนี้ทางนี้แหละเป็นมัชฌิมาปฏิปทา  เป็นทางสายกลาง  โดยทางปฏิบัติไม่ใช่ปริยัติ   ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ  ก็อยู่ที่นี่  อยู่ตรงกลางของกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิมนี้   อริยมรรคมีองค์ 8 ก็อยู่ที่นี่   ไม่ได้อยู่ที่ไหน   ไม่ได้อยู่ที่ห้องสมุด  ไม่ได้อยู่ที่คัมภีร์  แต่อยู่ตรงที่ใจหยุด  ใจนิ่ง ตรงกลางของกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายหรือปฐมมรรคนี้

    เพราะฉะนั้น   พระพุทธรูป พระประธานบนศาลาอเนกประสงค์นี้   นี่เป็นพระปางปฐมเทศนา  ซึ่งมีปริศนาธรรมอยู่  เห็นไหมล่ะ  ?    นิ้วชี้ซ้ายนี่ชี้ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ 7   นี้บอกตำแหน่งดวงธรรมที่ทำให้เป็นกาย  เป็นปางปฐมเทศนา  ที่พระพุทธเจ้ากำลังโปรดปัญจวัคคีย์  ที่ทรงอุทานว่า “อญฺญาสิ วต โภ โกณฺฑญฺโญ - โกญฑัญญะเห็นแล้วหนอ”  ที่เราสวดธรรมจักกัปปวัตตนสูตร

    เห็นดวงธรรมที่ทำให้เป็นกาย   ซึ่งมีอาการเกิดดับๆ   หลวงพี่สมุห์ท่านก็เห็นนะ   ลองพิจารณาตามที่ผมได้เล่าให้ฟังนี้ดูก็แล้วกันนะครับ

    คำถามที่ท่านถามมานี้ก็พิจารณาเอาเองก็แล้วกันว่า สมควรจะปฏิบัติ (อธิษฐาน) อย่าง ไร  ผมคงจะไม่ต้องไปชี้ว่าต้องทำอย่างนั้นต้องเป็นอย่างนี้   แต่ขอให้พิจารณาเอาเองว่า  เมื่อใดสมควรจะปฏิบัติ คือจะอธิษฐานอย่างไร ?   จึงจะเหมาะสมแก่บุญบารมีของตนๆ  ก็ดำเนินไปตามนั้น.
     
  2. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,220
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,106
    ค่าพลัง:
    +70,443
    ...กราบ ด้วยความอาลัย...

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  3. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,220
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,106
    ค่าพลัง:
    +70,443
    ** จงหยุดก่อนสมณะ จงหยุดก่อนสมณะ.

    เราหยุดแล้ว องคุลิมาล ท่านเล่า จงหยุดเถิด. **


    ........................................­..

    ครั้งนั้น องคุลิมาลโจรได้มีความดำริว่า น่าอัศจรรย์จริงหนอ ไม่เคยมีเลย ด้วยว่าเมื่อก่อน แม้ช้างกำลังวิ่ง ม้ากำลังวิ่ง รถกำลังแล่น เนื้อกำลังวิ่ง เราก็ยังวิ่งตามจับได้ แต่ว่าเราวิ่งจนสุดกำลัง ยังไม่อาจทันสมณะนี้ซึ่งเดินไปตามปรกติดัง­นี้ จึงหยุดยืนกล่าวกะพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า จงหยุดก่อนสมณะ จงหยุดก่อนสมณะ. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เราหยุดแล้ว องคุลิมาล ท่านเล่า จงหยุดเถิด.

    ครั้งนั้น องคุลิมาลโจรดำริว่า สมณศากยบุตรเหล่านั้นมักเป็นคนพูดจริง มีปฏิญญาจริง แต่สมณะรูปนี้เดินไปอยู่เทียว กลับพูดว่าเราหยุดแล้วองคุลิมาล ท่านเล่าจงหยุดเถิด ถ้ากระไร เราพึงถามสมณะรูปนี้เถิด. ครั้งนั้น องคุลิมาลโจรได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้า­ด้วยคาถา ความว่าดูก่อนสมณะ ท่านกำลังเดินไป ยังกล่าวว่า เราหยุดแล้ว และท่านยังไม่หยุดยังกล่าวกะข้าพเจ้าผู้หย­ุดแล้วว่าไม่หยุด ดูก่อนสมณะ ข้าพเจ้าขอถามเนื้อความนี้กะท่าน ท่านหยุดแล้วเป็นอย่างไร ข้าพเจ้ายังไม่หยุดแล้วเป็นอย่างไร.

    พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนองคุลิมาล เราวางอาชญาใน สรรพสัตว์ได้แล้ว จึงชื่อว่าหยุดแล้วในกาลทุกเมื่อ ส่วนท่านไม่สำรวมในสัตว์ทั้งหลาย เพราะฉะนั้น เราจึงชื่อว่าหยุดแล้ว ท่านยังไม่หยุด.

    องคุลิมาลโจรทูลว่า ดูก่อนสมณะ ท่านอันเทวดา มนุษย์บูชาแล้ว แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่มาถึงป่าใหญ่เพื่อจะส­งเคราะห์ข้าพเจ้าสิ้นกาลนานหนอ ข้าพเจ้านั้นจักประพฤติละบาปเพราะพึงคาถาอ­ันประกอบด้วยธรรมของท่าน องคุลิมาลโจรกล่าวดังนี้แล้ว ได้ทิ้งดาบและอาวุธลงในเหวลึกมีหน้าผาชัน องคุลิมาลโจรได้ถวายบังคมพระบาททั้งสองของ­พระสุคต แล้วได้ทูลขอบรรพชากะพระสุคต ณ ที่นั้นเอง.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 21 มิถุนายน 2015
  4. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,220
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,106
    ค่าพลัง:
    +70,443
  5. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,220
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,106
    ค่าพลัง:
    +70,443
    หมวดธรรมในธรรม


    จะเห็นธรรมที่ปรุงแต่งจิตใจของชีวิตทั้งหลาย

    ถ่ายถอน ความยึดมั่นถือมั่น ในสังขารอันไม่เที่ยงที่ถูกปรุงแต่งให้เสวยภพชาติตลอดเวลา

    ถ่ายถอน สักกายทิฐิ

    ...เห็นตนและสรรพสัตว์ ล้วนถูกปรุงแต่งด้วยเหตุปัจจัยแห่งกองทุกข์..

    ถ่ายถอน ความลังเลสงสัยในพระรัตนตรัย กฏแห่งกรรม

    เห็นคุณค่า การประกอบเหตุ ประกอบกรรม เพื่อออกจากกองทุกข์


    ศีลอันเป็นเครื่องเกิดเองจากปัญญาตระหนักรู้ภายใน ก็ก่อเกิดได้อย่างมั่นคง

    ใจมุ่งจดจ่อกับสภาวะปัจจุบัน เริ่มเห็นฝั่งด้านอนัตตา และสิ่งที่ไม่ใช่อนัตตา


    ------------------------------------------------------------------------


    ตัวอย่างมี แต่ก็มีคนพลาดอยู่เสมอ นั่นเพราะ กิเลสที่เข้าไปปรุงในจิตใจเค้า
    ไม่มีชีวิตใดๆที่ปรารถนาจะเสวยแต่ทุกข์ อันเป็นผลมาจากความไม่รุ้จริงหรอก

    เป็นเรื่องที่น่าสงสาร ( เมตตา )น่าหาทางช่วย ( กรุณา ) ยินดีถ้ามีเหตุมาช่วยให้เค้าเข้าใจความจริงแท้ได้( มุฑิตา ) และ วางเฉยได้ ( อุเบกขา )เมื่อสร้างเหตุดีช่วยเหลือเค้าถึงที่สุดแล้วแต่ผลดีนั้นยังมาไม่ถึง

    ..ถ้ายังเห็นว่า คนนั้นเลว คนนี้ชั่ว คนนี่้ดี อย่างหมายมั่นเป็นตัวตน
    ก็น่าสงสัยว่า " การผ่านด่านสักกายทิฐิ " ของผู้ที่มีอารมณ์สะใจในการตอกย้ำฯ จิตใจของชีวิตอื่น นั้นผ่านได้หรือไม่

    หากนักปฏิบัติใด มีได้อภิญญาเล็กๆน้อยๆ แล้วยังไปก่อมโนกรรม วจีกรรม กายกรรม
    ที่ไม่เป็นอริยมรรค อภิญญาบางส่วนที่ได้ ก็อาจเป็นแค่เครื่องมือพาตนให้ลงนรกง่ายขึ้น เท่านั้นเอง


    ....ยังไม่ได้กระทำให้เจริญ ซึ่ง อาสวักขยญาณ อันเป็นยอด เป็นแก่น เป็นธรรมที่ใช้ควบคุมอภิญญาข้ออื่นทั้งหมด
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 22 มิถุนายน 2015
  6. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,220
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,106
    ค่าพลัง:
    +70,443
    [​IMG]


    [​IMG]



    ..ท่านเป็นครูบาอาจารย์ในยุคต้นวิชชาของหลวงพ่อสด และได้รับความไว้ใจจากพระต้นธาตุให้เป็นแม่ทัพใหญ่รับช่วงต่อจากพระเดชพระคุณหลวงพ่อสด เป็นอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาธุระของวัดปากน้ำ ดูแลเผยแผ่วิชชาธรรมกายทั้งขั้นต้น ขั้นกลาง และขั้นสูง ไปจนถึงการสะสางธาตุธรรมสุดละเอียด ดำรงวิชชาให้บริสุทธิ์บริบูรณ์จนมาถึงปัจจุบัน
    ...ท่านคือภิกษุบวชใหม่ที่หลวงพ่อสดกล่าวถึงไว้ในกัณฑ์รัตนะ ว่าเป็นกลางธาตุลงมาเกิด เพื่อเผยแผ่ธรรมไปยังญี่ปุ่น มีบารมีมากทั่วธาตุทั่วธรรมได้กล่าวถึง



    สวดอภิธรรม หนึ่งทุ่มตรง ทุกคืนครับ พระราชทานเพลิงวันที่ 27 มิย. ครับ



    -----------------------------------------------------------------------------------


    ประวัติสังเขป
    พระราชพรหมเถร (วีระ คณุตฺมโม)
    รองเจ้าอาวาสวัดปากน้ำ
    อาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนา
    ผู้สร้างพระผงธรรมขันธ์วัดปากน้ำ รุ่นที่ 4
    สถานะเดิม
    ชื่อ วีระ นามสกุล อุตตรนที เกิดวันจันทร์ ที่ 16 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2462 ปีมะแม บิดา นายเอดะ อุตตรนที มารดา นางสน อุตตรนที แขวงบางรัก เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร
    บรรพชา
    วันที่ 9 เดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2497 ปีมะเมีย วัดปากน้ำ แขวงปากคลองภาษีเจริญ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร พระอุปัชฌาย์ พระภาวนาโกศลเถร (พระมงคลเทพมุนี) วัดปากน้ำ แขวงปากคลองภาษีเจริญ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร
    อุปสมบท
    วันที่ 9 เดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2497 ปีมะเมีย วัดปากน้ำ แขวงปากคลองภาษีเจริญ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร พระอุปัชฌาย์ พระภาวนาโกศลเถร (พระมงคลเทพมุนี) วัดปากน้ำ แขวงปากคลองภาษีเจริญ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร ได้รับฉายาว่า “คณุตฺตโม”
    วิทยฐานะ
    พ.ศ. 2483
    สำเร็จขั้นเตรียมปริญญา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
    เขตพระนคร กทม.
    การศึกษาพิเศษ
    มีความรู้ด้านภาษาต่างประเทศ มีภาษาญี่ปุ่น
    ภาษาอังกฤษ และภาษาฝรั่งเศส
    งานปกครอง
    พ.ศ. 2508
    เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดปากน้ำ พระอารามหลวง ฝ่ายวิปัสสนา
    พ.ศ. 2513
    เป็นรองเจ้าอาวาสวัดปากน้ำ พระอารามหลวง ฝ่ายวิปัสสนา
    พ.ศ. 2513
    เป็นพระกรรมวาจาจารย์
    พ.ศ. 2522
    เป็นพระอุปัชฌาย์ ประเภทวิสามัญ
    สมณศักดิ์
    พ.ศ. 2508
    เป็นพระครูสัญญาบัตร ผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวง ชั้นเอก
    ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ที่ พระครูภาวนาภิรม
    พ.ศ. 2513
    เป็นพระครูสัญญาบัตร รองเจ้าอาวาสพระอารามหลวง ชั้นโท
    ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ในราชทินนามเดิม
    พ.ศ. 2515
    เป็นพระราชาคณะ ชั้นสามัญยก ฝ่ายวิปัสสนาธุระ
    ที่ พระภาวนาโกศลเถร
    พ.ศ. 2546
    เป็นพระราชาคณะ ชั้นราช ฝ่ายวิปัสสนาธุระ
    ที่ พระราชพรหมเถร
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 21 มิถุนายน 2015
  7. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,220
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,106
    ค่าพลัง:
    +70,443
    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  8. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,220
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,106
    ค่าพลัง:
    +70,443
    [​IMG]


    ปิดท้ายคืนนี้ด้วยภาพหลวงพ่อพระราชพรหมเถร ที่ท่านคอยสั่งสอนลูกศิษย์ด้วยความเมตตาอย่างสูง... ทำงานเผยแผ่มาทั้งชีวิต ตามคำสั่งของหลวงพ่อวัดปากน้ำ ถ้าใครว่างเรียนเชิญมาฟังสวดพระอภิธรรมสักครั้งนะครับ เผาจริงวันเสาร์ที่ 27 มิถุนายน นี้แล้วครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 23 มิถุนายน 2015
  9. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,220
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,106
    ค่าพลัง:
    +70,443
    <object width="450" height="24" classid="clsid:D27CDB6E-AE6D-11cf-96B8-444553540000" codebase="http://download.macromedia.com/pub/shockwave/cabs/flash/swflash.cab#version=6,0,40,0"> <param name="scale" value="noscale" /> <param name="allowFullScreen" value="true" /> <param name="allowScriptAccess" value="always" /> <param name="allowNetworking" value="all" /> <param name="bgcolor" value="#777777" /> <param name="wmode" value="opaque" /> <param name="movie" value="http://www.mongkoldhamma.org/jwplayer.swf" /> <param name="flashVars" value="&file=http://www.mongkoldhamma.org/videos.php?vid=ea18c3610&type=sound&backcolor=777777&frontcolor=FFCC00&autostart=&screencolor=000000" /> <embed src="http://www.mongkoldhamma.org/jwplayer.swf" width="450" height="24" scale="noscale" bgcolor="#777777" type="application/x-shockwave-flash" allowFullScreen="true" allowScriptAccess="always" wmode="opaque" flashvars="&file=http://www.mongkoldhamma.org/videos.php?vid=ea18c3610&type=sound&backcolor=777777&frontcolor=FFCC00&autostart=&screencolor=000000"></embed> </object> <p><a href="http://www.mongkoldhamma.org/%e0%b8%9e%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%a3%e0%b8%b2%e0%b8%8a%e0%b8%8d%e0%b8%b2%e0%b8%93%e0%b8%a7%e0%b8%b4%e0%b8%aa%e0%b8%b4%e0%b8%90-%e0%b8%ab%e0%b8%a5%e0%b8%b1%e0%b8%81%e0%b8%9e%e0%b8%b4%e0%b8%88-video_ea18c3610.html" target="_blank">
     
  10. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,220
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,106
    ค่าพลัง:
    +70,443
    ปัญญาเบื้องต่ำ และ ปัญญาเบื้องสูง

    [​IMG]



    4 มีนาคม 2497

    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส. (3 หน)

     

    กถญฺจ ปญฺญา สมฺมทกฺขาตา ภควตา. เหฏฺฐิเมนปิ ปริยาเยน ปญฺญา สมฺมทกฺขาตา ภควตา. อุปริเมนปิ ปริยาเยน ปญฺญา สมฺมทกฺขาตา ภควตา. 
    กถญฺจ เหฏฺฐิเมน ปริยาเยน ปญฺญา สมฺมทกฺขาตา ภควตา. อิธ อริยสาวโก ปญฺญวา โหติ อุทยตฺถคามินิยา ปญฺญาย สมนฺนาคโต อริยาย นิพฺเพธิกาย สมฺมา ทุกฺขกฺขยคามินิยาติ. เอวํ โข เหฏฺฐิเมนปิ ปริยาเยน ปญฺญา สมฺมทกฺขาตา ภควตา. 
    กถญฺจ อุปริเมน ปริยาเยน ปญฺญา สมฺมทกฺขาตา ภควตา. อิธ ภิกฺขุ อิทํ ทุกฺขนฺติ ยถาภูตํ ปชานาติ. อยํ ทุกฺขสมุทโยติ ยถาภูตํ ปชานาติ. อยํ ทุกฺขนิโรโธติ ยถาภูตํ ปชานาติ อยํ ทุกฺขนิโรธคามินี ปฏิปทาติ ยถาภูตํ ปชานาติ. เอวํ โข อุปริเมน ปริยาเยน ปญฺญา สมฺมทกฺขาตา ภควตาติ.

     

    ณ บัดนี้ อาตมภาพจักได้แสดงในทางปัญญา ในวันมาฆบูชา   ทางปัญญาเป็นขั้นปลายของศีล สมาธิ แต่ในวิสุทธิมรรค  ในอัฏฐังคิกมรรค ได้แสดงปัญญาไว้เบื้องต้น  สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโป   แสดงศีลไว้ในท่ามกลาง สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมาอาชีโว   แสดงสมาธิไว้ในเบื้องท้าย สัมมาวายาโม สัมมาสติ สัมมาสมาธิ    ก็ย่อลง ศีลอยู่เบื้องกลาง สมาธิอยู่เบื้องปลาย ปัญญาอยู่เบื้องต้น    แต่ในลำดับของเทศนาอื่น พระองค์ทรงตรัสเทศนา ทรงแสดงศีลเป็นเบื้องต้น  สมาธิเป็นท่ามกลาง  ปัญญาเป็นเบื้องปลาย  ที่พระองค์ทรงตรัสเทศนา  เป็นปฐมเทศนาธัมมจักกัปปวัตตนสูตรในครั้งนั้น  ทรงตรัสเทศนาโปรดปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 เพราะปัญจวัคคีย์ทั้ง 5  เป็นผู้ชำนาญดีแล้วในเรื่องศีล สมาธิ แต่ว่าไม่ฉลาดในทางปัญญา ยังไม่คล่องแคล่วในทางปัญญา   พระศาสดาทรงเห็นเหตุนั้น  เป็นผู้รู้แล้วเห็นแล้ว จึงได้ทรงแสดงทางปัญญาแก่พระปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ทีเดียว   เมื่อแสดงทางปัญญาแก่พระปัญจวัคคีย์ทั้งแล้ว ก็กลับมาแสดงศีลโดยปริยายท่ามกลาง   สมาธิเป็นเบื้องปลายไป   ครั้นจะไม่มาแสดงเรื่องศีล   สมาธิ ก็จะแตกแยกกันไป  หาเข้าเป็นแนวเดียวรอยเดียวกันไม่

    เพราะพุทธศาสนามีศีลเป็นเบื้องต้น  มีสมาธิเป็นท่ามกลาง   มีปัญญาเป็นเบื้องปลาย   แม้พระอรหันต์ทั้งหลาย  เมื่อพระองค์เสด็จดับขันธ์ปรินิพพานแล้ว   พระมหากัสสปกระทำปฐมสังคายนา   ก็เลยประชุมสงฆ์ทั้ง 500 พร้อมกัน   พระมหาอริยกัสสปได้แสดงในที่ประชุม   พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วโดยปริยายเบื้องต่ำ   กถญฺจ อุปริเมน ปริยาเยน ปญฺญา สมฺมทกฺขาตา ภควตา ปัญญาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วโดยปริยายเบื้องสูงเป็นไฉนเล่า   อิธ ภิกฺขุ ผู้ศึกษาในธรรมวินัยของพระตถาคตเจ้านี้    อิทํ ทุกฺขนฺติ ยถาภูตํ ปชานาติ รู้ความตามเป็นจริงว่าสิ่งนี้เป็นทุกข์   อยํ ทุกฺขสมุทโยติ ยถาภูตํ ปชานาติ รู้ความตามเป็นจริงว่าสิ่งนี้เป็นเหตุให้เกิดทุกข์    อยํ ทุกฺขนิโรโธติ ยถาภูตํ ปชานาติ รู้ความตามเป็นจริงว่าสิ่งนี้เป็นความดับทุกข์    อยํ ทุกฺขนิโรธคามินี ปฏิปทาติ ยถาภูตํ ปชานาติ รู้ความตามเป็นจริงว่าสิ่งนี้เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์    เอวํ โข อุปริเมน ปริยาเยน ปญฺญา สมฺมทกฺขาตา ภควตา อย่างนี้แล  ปัญญาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วโดยปริยายเบื้องสูง   นี้เนื้อความของพระบาลีคลี่ความเป็นสยามภาษาได้ความเท่านี้

    ต่อแต่นี้จะได้อรรถาธิบายขยายความในปัญญาโดยปริยายเบื้องต่ำ และปัญญาโดยปริยายเบื้องสูงเป็นลำดับไป

    ปัญญาโดยปริยายเบื้องต่ำ   สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแนะนำว่า อริยสาวกในธรรมวินัยของพระตถาคตเจ้านี้ ยกอริยสาวกขึ้นเป็นตำรับตำรา  ก็เพราะพระอริยสาวกมีความไม่ยักเยื้องแปรผันแล้ว มีความรู้ความเห็นที่แน่นอนแล้ว   ยกพระสาวกของพระตถาคตเจ้าตั้งแต่ โสดาปัตติมรรค-โสดาปัตติผล, สกิทาคามิมรรค-สกิทาคามิผล, อนาคามิมรรค-อนาคามิผล, อรหัตตมรรค-อรหัตตผล 8 จำพวกนี้เป็นอริยสาวก ไม่ใช่เป็นปุถุชนสาวก   ถ้าต่ำกว่านั้นลงมามีธรรมกาย   แต่ว่าไม่ได้พระโสดา สกิทาคา อนาคา อรหัต อะไร นั่นสาวกชั้นโคตรภู   พวกไม่มีธรรมกายมีมากน้อยเท่าใด  เป็นสาวกชั้นปุถุชน  เรียกว่า ปุถุชนสาวก  สาวกที่ยังหนาอยู่ด้วยกิเลส   ที่เป็นโคตรภูบุคคลน่ะ  ปรารภจะข้ามขึ้นจากโลก จะเข้าเป็นอริยสาวกล่ะ  เป็นอริยสาวกก็ไม่ใช่  เป็นปุถุชนก็ไม่เชิง   ถ้ากลับมาเป็นปุถุชนก็ได้  เข้ากลับเป็นอริยสาวกก็ได้  ทั้งสองอย่างนี้เรียกว่าโคตรภู   ท่านเหล่านั้นเป็นโคตรภู

    เพราะว่า  ที่ท่านยกว่า อิธ อริยสาวโก อริยสาวกในธรรมวินัยนี้  เอาความเห็นความรู้ที่ตายตัวกัน   ปญฺญวา โหติ เป็นผู้มีปัญญา   ปัญญาที่แสดงแล้วน่ะ  ที่แสดงนี่แหละ คำว่าปัญญานี้น่ะ   ไม่ใช่เป็นของง่าย  ถ้าให้ฟังไปร้อยปีว่าปัญญาน่ะอะไร   รูปพรรณสัณฐานเป็นอย่างไร  โตเล็กเท่าไหน   อยู่ที่ไหน กลม แบน ยาว รี สี่เหลี่ยม อย่างไรกัน   เอาเถอะ หมดทั้งประเทศไทย   ถ้าว่าเข้าดังนี้ละก็  ไม่รู้เรื่องกันทีเดียวแหละ  ได้ยันกันป่นปี้    เหตุนี้ ปญฺญวา โหติ เป็นผู้มีปัญญา   ปัญญานี้ประสงค์อะไร  ประสงค์ว่า อุทยตฺถคามินิยา ปญฺญาย สมนฺนาคโต มาตามนั้นว่า ปิฎกทั้ง 3  วินัยปิฎก สุตตันตปิฎก ปรมัตถปิฎก   เราจะยกปิฎกใดขึ้นก่อนจึงจะสมควร พระอรหันต์ทั้งหลายก็พร้อมกันว่าวินัยปิฎกเป็นข้อสำคัญอยู่   ถ้าว่าวินัยปิฎกยังครบถ้วน ผ่องใสแล้ว ศาสนาก็เจริญรุ่งเรืองเพราะอาศัยวินัยปิฎก    เมื่อจบวินัยปิฎกพระอริยกัสสปก็ถามอีก  ในปิฎกทั้ง 2 คือสุตตันตปิฎกกับปรมัตถปิฎก   ใครจะเป็นผู้วิสัชชนา  ตกลงให้พระอานนท์ ซึ่งเป็นพหูสูต  พระองค์ทรงตั้งไว้เป็นเอตทัคคะเลิศกว่าสาวกในพระพุทธศาสนา   ให้วิสัชนาในสุตตันตปิฎก   ปรมัตถปิฎกทั้งสองนี้ แต่ว่า ปรมัตถปิฎกเป็นข้อสำคัญ   เป็นทางปัญญา    วินัยปิฎกน่ะเป็นศีล    สุตตันตปิฎกเป็นสมาธิ

    ศีล สมาธิ ปัญญา ทั้ง 3 นี้จะเคลื่อนมิได้เลย   เพราะศีลมีหน้าที่สำหรับปราบปรามชั่วด้วยกาย วาจา  ฆ่าสัตว์ ลักฉ้อ ประพฤติผิดในกาม มุสาวาท  ชั่วด้วยกายนี้ต้องอาศัยศีลสำหรับปราบความชั่ว   อันนี้ ไม่ให้เข้าไปแตะต้องกับกายได้  ให้กายสะอาดผ่องใส    ถ้าไม่มีศีลแล้วละก็  ปราบความชั่วด้วยกายอย่างนี้ไม่ได้  ฝ่ายสมาธิก็สำหรับปราบความชั่วทางใจ    ความเกียจคร้านไม่ให้มีทางใจ หรือความพลั้งเผลอไม่ให้มีทางใจ หรือความไม่มั่นคงเหลวไหลลอกแลกไม่ให้มีทางใจ   แก้ไขให้ใจมั่นคง  ให้มีสติมั่นไม่ฟั่นเฟือน ให้มีความเพียรอาจหาญ  ไม่ครั่นคร้าม  3 อย่างนี้เป็นหน้าที่ของสมาธิ   ส่วนปัญญาเล่ายังหาได้แสดงไม่ ที่แสดงแล้วนี่ทางศีลทางสมาธิ

    ปัญญาที่จะแสดงต่อไปนี้เป็นตัวสำคัญนัก   แต่ว่าไม่ค่อยจะได้แสดง   ที่วัดปากน้ำนี่ สมภารผู้เทศน์นี้ได้มาจำพรรษาอยู่วัดปากน้ำนี้ 37 พรรษาแล้ว  แต่ว่าในทางปัญญาไม่ค่อยแสดงมากนัก แสดงในศีล สมาธิ เป็นพื้นไป   ทีนี้ตั้งใจจะแสดงในทางปัญญา  ตามวาระพระบาลีที่ได้ยกขึ้นไว้ในเบื้องต้นว่า กถญฺจ ปญฺญา สมฺมทกฺขาตา ภควตา ปัญญาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้วโดยชอบเป็นไฉน    เหฏฺฐิเมนปิ ปริยาเยน ปญฺญา สมฺมทกฺขาตา ภควตา ปัญญาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วโดยปริยายเบื้องต่ำบ้าง    อุปริเมนปิ ปริยาเยน ปญฺญา สมฺมทกฺขาตา ภควตา ปัญญาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วโดยชอบนั้น โดยปริยายเบื้องสูงบ้าง จึงได้มีปุจฉาวิสัชนาเป็นลำดับไปว่า กถญฺจ เหฏฺฐิเมน ปริยาเยน ปญฺญา สมฺมทกฺขาตา ภควตา    ปัญญาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วโดยปริยายเบื้องต่ำเป็นไฉนเล่า    อิธ อริยสาวโก อริยสาวกในธรรมวินัยของพระตถาคตเจ้านี้   ปญฺญวา โหติ ย่อมเป็นผู้มีปัญญา   อุทยตฺถคามินิยา ปญฺญาย สมนฺนาคโต เป็นผู้มาตามพร้อมแล้วด้วยปัญญา  อันเป็นข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งความเกิด ความดับ    อริยาย นิพฺเพธิกาย สมฺมา ทุกฺขกฺขยคามินิยา อันเป็นข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งความเกิด ความดับ   เอวํ โข เหฏฺฐิเมน ปริยาเยน ปญฺญา สมฺมทกฺขาตา ภควตา อย่างนี้แล ปัญญาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วโดยปริยายเบื้องต่ำ   ปัญญาที่รู้ความเกิดความดับนั่นเป็นตัวสำคัญ    ปัญญาน่ะมีแต่รู้  ไม่ใช่เห็น  ปัญญาที่เป็นแต่รู้  แต่เขาว่าเห็นด้วยปัญญา  เห็นปัญญาไม่มีดวงตานี่   ถ้ามีดวงตาค่อยพูดเห็นกัน  นี่ปัญญาจะมีดวงตาอย่างไร ไม่มีดวงตา   แต่ว่าแปลกประหลาดอัศจรรย์เหลือเกิน   เมื่อถึงพระอริยบุคคลแล้ว เป็นธรรมกายแล้ว  ถ้ามารไม่ขวางนะ  ความเห็นของตาไปแค่ไหน   ความรู้ของทางปัญญาก็ไปแค่นั้น ความจำก็ไปแค่นั้น ความคิดก็ไปแค่นั้น

    ความรู้ ความคิด ความจำ ความเห็น  4 อย่างนี้แหละ  4 อย่างนี้เขาเรียกว่า ใจ    1 ความเห็น   2 ความจำ 3 ความคิด  4 ความรู้    4 อย่างนี้แหละ   หยุดเข้าเป็นจุดเดียว  ซ้อนเป็นจุดเดียวเข้า เรียกว่า “ใจ” ดวงรู้มันซ้อนอยู่ข้างในดวงคิด   ดวงคิดซ้อนอยู่ข้างในดวงจำ   ดวงจำซ้อนอยู่ข้างในดวงเห็น   มันเป็นชั้นๆ กันอย่างนี้   4 อย่างนี้แหละ รวมเข้าเรียกว่าใจ   ถ้าแยกออกไปละก็  เห็นน่ะดวงมันอยู่ศูนย์กลางกาย  จำน่ะดวงมันอยู่ศูนย์กลางเนื้อหัวใจ   มันย่อมกว่าดวงเห็นลงมาหน่อย   คิดน่ะอยู่ในกลางดวงจำ   นั่นย่อมลงมาหน่อย   รู้น่ะอยู่ในกลางดวงคิดนั่น   ย่อมลงมาเท่าดวงตาดำข้างใน   นั่นมีหน้าที่รู้  เรียกว่า ดวงวิญญาณ เท่าดวงตาดำข้างนอกนั่น   ดวงจิตเท่าลูกตานั่นดวงใจ   เท่ากับเบ้าตานั่นดวงเห็น   หมดทั้งร่างกายมี 4 อย่างเท่านี้    มี 1) ดวงเห็น ครอบอยู่ข้างนอกดวงจำ   2) ดวงจำ อยู่ข้างนอกดวงคิด   3) ดวงคิด อยู่ข้างนอกดวงรู้   4) ดวงรู้ อีกดวงอยู่ข้างในดวงคิด   เห็น จำ คิด รู้  4 อย่างนี้แหละเป็นตัวสำคัญล่ะ

    เห็น จำ คิด รู้ ทั้ง 4 อย่างนี้มาจากไหน   ที่ตั้งของมันอยู่ศูนย์กลางกายมนุษย์  เป็นดวงใสบริสุทธิ์  เท่าฟองไข่แดงของไก่   นั่นดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ดวงนั้น  เป็นดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์แท้ๆ  กายมนุษย์จะเป็นอยู่ได้ก็เพราะอาศัยธรรมดวงนั้น   ถ้าธรรมดวงนั้นไม่มีแล้วละก็  กายมนุษย์ก็เป็นอยู่ไม่ได้  ดับ   ถ้าธรรมดวงนั้นยังมีปรากฏอยู่ละก็  มนุษย์ไม่ดับ เป็นมนุษย์ปรากฏอยู่เหมือนกัน จะแก่เฒ่าชราช่างมัน พอดวงนั้นดับมนุษย์ก็อยู่ไม่ได้   ต้องดับกัน  ถ้าธรรมดวงนั้นผ่องใส มนุษย์ก็รุ่งโรจน์ผ่องใสเหมือนกัน ถ้าธรรมดวงนั้นขุ่นมัวเสีย  มนุษย์ก็ซูบเศร้าไปไม่ผ่องใส   ดวงนั้นเป็นสำคัญ   ดวงนั้นแหละเป็นที่ตั้งของเห็นของจำ ของคิด ของรู้    ดวงเห็นก็อยู่ในกลางดวงนั้น   แต่อยู่ข้างนอก   ดวงจำก็อยู่ในกลางดวงนั้น  อยู่ข้างในดวงเห็น ดวงคิดก็อยู่ในกลางดวงนั้น   แต่ว่าอยู่ข้างในดวงจำ   ดวงรู้ก็อยู่ข้างในกลางดวงนั้น   แต่ว่าอยู่ในกลางของดวงคิดอีกทีหนึ่ง   4 ดวงอยู่นั่น  ต้นเหตุอยู่นั่น  ที่ออกมาปรากฏที่กายมนุษย์ก็ดี   ที่หัวใจมนุษย์นี่ก็ดี   ออกมาปรากฏอยู่เป็นดวงเห็น ดวงจำ ดวงคิด ดวงรู้ ข้างนอกนี้ นี่เป็นดวงหยาบ นี่เป็นชั้นเป็นต้นเป็นปลาย  นี่เป็นรากเง่า  อยู่ในกลางดวงนั้น  อยู่ในกลางดวงนั้นแท้ๆ

    อ้าย 4 ่ดวงนั้นแหละเรียกว่า ใจ    ถ้าว่าหยุดเป็นจุดเดียวกันละก็  เอาละ ท่านยืนยันสมาธิมาแล้ว   สมาหิตํ ยถาภูตํ ปชานาติ   จิตตั้งมั่น หยุดเป็นจุดเดียวกัน  รู้ตามความเป็นจริงทีเดียว    ถ้าว่าไม่ตั้งมั่นก็ไม่เรียกว่าเป็นสมาธิ   ตั้งมั่นแล้วก็เป็นสมาธิ   นี่ได้แสดงมาแล้ว   สมาธินี่แหละเป็นต้นของปัญญา   ปัญญาที่จะมีขึ้นก็เพราะอาศัยสมาธิ ถ้าไม่มีสมาธิ  เข้าถึงสมาธิไม่ได้ก่อน   มีปัญญาไม่ได้   ปัญญาเป็นตัวสำคัญ   เป็นปลาย เป็นของละเอียดมากทีเดียว ผู้ที่มีปัญญาเข้าถึงซึ่งดวงปัญญา  ผู้ที่มีปัญญาต้องเข้าถึงซึ่งดวงปัญญา   ปัญญาเป็นดวงอยู่   ปัญญาที่เป็นดวงอยู่นั่น  จะต้องพูดให้กว้าง  แสดงให้กว้างออกไป  จึงจะเข้าเนื้อเข้าใจกันแท้ๆ   ปัญญาเป็นดวงปลาย

    ธรรมในพระพุทธศาสนามีอยู่ 5 ดวง   ถ้าว่าจะกล่าวถึงองค์  มี 10   ทสหิ องฺเคหิ สมนฺนาคโต อรหาติ วุจฺจติ ผู้ใดมาตามพร้อมแล้วด้วยองค์ 10 ผู้นั้นเป็นพระอรหันต์   องค์ 10 คืออะไร สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโป สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมาอาชีโว สัมมาวายาโม สัมมาสติ สัมมาสมาธิ  นี่ 8 องค์แล้ว   สัมมาญาณ เป็นองค์ที่ 9   สัมมาวิมุตติ เป็นองค์ที่ 10   นี่มี 10 อย่างนี้   เมื่อผู้ใดมาตามพร้อมแล้วด้วยองค์ 10   ผู้นั้นเป็นพระอรหันต์  ต้องมี 10 องค์ อย่างนี้จึงจะเป็นพระอรหันต์ได้   ถ้าไม่เข้าถึงองค์ 10 อย่างนี้  เป็นพระอรหันต์ไม่ได้    8 องค์ย่อลงเป็น 3   สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโป เป็นปัญญาไป    สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมาอาชีโว เป็นศีลไป    สัมมาวายาโม สัมมาสติ สัมมาสมาธิ เป็นสมาธิไป    ก็รวมว่าศีลอยู่กลาง  สมาธิอยู่ปลาย ปัญญาอยู่ต้น   แต่ว่าเมื่อมาถึงพระสูตรนี้เข้า   ปัญญาอยู่ข้างปลาย คือ ศีล สมาธิ ปัญญา   องค์ 10 ย่อลงเหลือ 5 คือ ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ  เมื่อรู้จักหลักอันนี้ละก็  นี่แหละหลักพระพุทธศาสนาละ

    ศีลน่ะ อยู่ที่ไหน   รูปพรรณสัณฐานเป็นอย่างไร   ศีลถ้าว่าจะกล่าวตัวจริงละก็  อยู่ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายนั่นแหละ  อยู่เป็นชั้นๆ เข้าไป   ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์  ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียด   ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์  ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ละเอียด  ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหม  ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหมละเอียด  ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหม  ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหมละเอียด  ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกาย ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายละเอียด   นี้แหละเป็นที่ตั้งของศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ทั้งนั้น  ตลอดขึ้นไป 18 ดวง   

    ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์-กายมนุษย์ละเอียด, กายทิพย์-กายทิพย์ละเอียด, กายรูปพรหม-กายรูปพรหมละเอียด, กายอรูปพรหม-กายอรูปพรหมละเอียด 8 กาย
    ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายธรรม-กายธรรมละเอียด [รวมเป็น] 10 กาย
    ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระโสดา-กายพระโสดาละเอียด [รวมเป็น] 12 กาย 
    ดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระสกิทาคา-กายพระสกิทาคาละเอียด [รวมเป็น] 14 กาย   
    ดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระอนาคา-กายอนาคาละเอียด [รวมเป็น] 16 กาย 
    ดวงธรรมที่ทำให้เป็นพระอรหัต-กายพระอรหัตละเอียด [รวมเป็น] 18 กาย 
    มีดวงธรรมทั้งนั้น   ดวงโตขึ้นไปเป็นลำดับ   เมื่อถึงธรรมกายโคตรภู  ดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายนั้น  วัดผ่าเส้นศูนย์กลางเท่าหน้าตักธรรมกาย   เมื่อถึงธรรมกายแล้วดวงธรรมจะมีขนาดเท่าหน้าตักธรรมกาย  ตลอดจนกระทั่งถึงเป็นพระอรหัต  พระอรหัตหน้าตัก 20 วา เกตุดอกบัวตูม ใส  ดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายก็วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง 20 วา  กลมรอบตัว  อยู่ศูนย์กลางกายพระอรหัตนั้น นี่ให้รู้จักหลักนี้ก่อน 

    เมื่อรู้จักหลักอันนี้ละก็  ศีล สมาธิ ปัญญา อยู่ในกลางดวงนี้   ดวงศีลเท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ อยู่ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์นั่นแหละ   ดวงสมาธิก็อยู่ศูนย์กลางดวงศีลนั่นแหละ  ดวงเท่าๆ กัน  ดวงปัญญาก็อยู่ศูนย์กลางดวงสมาธินั่นแหละ   ดวงวิมุตติก็อยู่ศูนย์กลางดวงปัญญานั่นแหละ  ดวงวิมุตติญาณทัสสนะก็อยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตตินั่นแหละ   กายมนุษย์ละเอียดก็อยู่ในกลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะนั่น   ถ้าต้องแสดงให้กว้างออกไปกว่านี้   ให้เข้าใจปัญญาชัดๆ อย่างนี้ละก็  จนกระทั่งถึงพระอรหัต  ก็จะเข้ารู้จักปัญญาชัดๆ อย่างนี้ว่าปัญญามีรูปพรรณสัณฐานเป็นอย่างไร

    เมื่อรู้จักดวงศีล  ดวงสมาธิ  ดวงปัญญา เช่นนี้แล้ว   

    ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์  เดินไปทางศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ก็จะถึงกายมนุษย์ละเอียด   
    กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียด ก็เดินไปในทางศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะอีก เข้าถึงกายทิพย์ 
    กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ก็เดินในทางศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ เข้าถึงกายทิพย์ละเอียด
    ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ละเอียดก็เดินในทางศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ เข้าถึงกายรูปพรหม-รูปพรหมละเอียด อรูปพรหม-อรูปพรหมละเอียด เดินแบบเดียวกันนี้ทั้ง 18 กาย เดินไปแบบเดียวถึงพระอรหัตทีเดียว 
    นั่นแหละต้องเดินในทางศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะทั้งนั้น   เมื่อรู้จักหลักอันนี้ละก็ ว่า ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ นั่นแหละเป็นหนทางนี่   ไม่ใช่ธรรมนี่  บอกเป็นหนทางนี่   อริโย อฏฺฐงฺคิโก มคฺโค หนทางมีองค์ 8 ประการ ไปจากข้าศึกคือกิเลสได้   ก็พูดถึงหนทางนี่ ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นหนทาง   ถ้าว่าไม่มีศีล สมาธิ ปัญญา ไม่มีทางไป  ไปนิพพานไม่ถูก   ถ้าจะไปนิพพานให้ถูก   ต้องไปในทางศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะนี่

    เมื่อรู้จักหลักอันนี้    วันนี้จะแสดงในเรื่องปัญญา   ดวงปัญญาของมนุษย์ก็ขนาดดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์   ของมนุษย์ละเอียด ทิพย์-ทิพย์ละเอียด รูปพรหม-รูปพรหมละเอียด โตเป็นลำดับขึ้นไป  ของอรูปพรหม-อรูปพรหมละเอียด โตหนักขึ้นไป   แต่ว่าถึงเป็นลำดับขึ้นไปเท่าไร   ก็ยังไม่ถึงเท่ากายธรรม กายธรรมใหญ่มาก   ดวงปัญญานั้นขนาดไหน  ปัญญาน่ะออกจากดวงนั้น   ธรรมดวงนั้นของปุถุชน ปัญญาของปุถุชนมัว  ความเห็นมัวไม่ชัดนัก  คล้ายๆ เปลือกๆ ปัญญา  ไม่ได้ใช้กำเนิดของปัญญา  ไม่ได้ใช้ปัญญาที่เป็นแก่น   ใช้ปัญญาที่เป็นเปลือกๆ เท่านั้น   ปุถุชนใช้ปัญญาผิวๆ เผินๆ   ตัวเองก็ไม่เห็นปัญญา  ไม่รู้จักว่ามันอยู่ที่ไหน   และก็ไม่รู้จักว่ารูปพรรณสัณฐานมันเป็นอย่างไร   เพราะไม่เห็น   เพราะทำไม่เป็น  พอทำเป็นแล้วจึงเห็น   ทำเป็นน่ะเห็นปัญญาทีเดียวว่า  ดวงโตเท่านั้นเท่านี้   อยู่ที่นั่นที่นี่  ใช้ถูกทีเดียว  ถ้าว่าทำไม่เป็นแล้วไม่เห็นปัญญา   เป็นแต่รู้จักปัญญาเท่านั้น ไม่เห็นมัน   ปัญญาที่ว่า อิธ อริยสาวโก ปญฺญวา โหติ อริยสาวกในพระธรรมวินัยของพระตถาคตเจ้าเป็นผู้มีปัญญา   ปัญญานั่นดวงนั้นแหละ  ประสงค์ดวงนั้น เรียกว่ามีปัญญาละ   อุทยตฺถคามินิยา ปญฺญาย สมนฺนาคโต มาตามพร้อมแล้วด้วยปัญญา อันเป็นข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งความเกิดความดับ   ปัญญาก็ไม่ได้ดูอื่นนี่   ปัญญาน่ะมองดูแต่ความเกิดดับเท่านั้นแหละ หมดทั้งสากลโลกมีเกิดกับดับเท่านั้น   รู้ชัดปรากฏชัดอยู่ว่าเกิดดับๆๆ เท่านั้น   มีเกิดกับดับ  ทั้งรู้ทั้งเห็นชัดทีเดียว เห็นอย่างไรก็รู้อย่างนั้น   รู้อย่างไรก็เห็นอย่างนั้น   เห็นกับรู้ ตรงกัน   แต่ว่าเมื่อยังเป็นปุถุชนอยู่ ตั้งต้นแต่มนุษย์ถึงรูปพรหมอรูปพรหม  เห็นไม่ถนัดนักหรอก  เห็นรัวๆ ไม่ชัดนัก   เพราะเป็นของละเอียด เห็นความเกิดดับจริงๆ   ตามนุษย์เรานี่ก็เห็น   เอาไปเผาไฟเสียออกย่ำแย่เชียว  ทิ้งน้ำ ฝังดิน เกิดดับๆ ทั้งนั้นแหละ   หมดทั้งสากลโลก  ตึกร้านบ้านเรือน ต้นไม้ ภูเขา สิ่งที่เห็นด้วยตา ได้ยินด้วยหู ได้ทราบด้วยจมูก ลิ้น กาย ใจ เกิดดับ หมดทั้งนั้น    เห็นจริงเห็นจังอย่างนี้แหละ  ไม่ใช่เห็นพอดีพอร้าย   เราก็รู้ด้วยเป็นอย่างหนึ่งอย่างใด  รู้ชัดทุกสิ่งทุกอย่างตั้งแต่ต้นจนปลาย   รู้ได้ถี่ถ้วนดีทีเดียว  นี้เรียกว่าปัญญา

    ปัญญาที่เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงซึ่งความสิ้นไปแห่งทุกข์   ก็รู้เรื่องเหมือนกัน  จะสิ้นไปแห่งทุกข์ด้วยวิธีอย่างไร  ใช้ปัญญา แต่ว่ามัว  ไม่ชัดทีเดียว   เห็นโดยชอบที่เป็นเครื่องเบื่อหน่ายอันจริงแท้ หรือที่เป็นเครื่องเบื่อหน่ายอันประเสริฐ   เห็นจริงๆ รู้จริงๆ อย่างนี้   เห็นความสิ้นไป   สิ้นไปแห่งทุกข์ทีเดียว ว่าทุกข์จะหมดไปได้ด้วยวิธีนี้อย่างนี้   ถ้าไม่ถึงธรรมขนาดนี้ทุกข์หมดไปไม่ได้   นี้ความจริงก็รู้อยู่ชัด  แต่ว่ารู้ด้วยปัญญา   อย่างนี้รู้ด้วยปัญญา  รู้อย่างชนิดนี้  เรียกว่า ปัญญาโดยปริยายเบื้องต่ำ ไม่ใช่ปัญญาโดยปริยายเบื้องสูง 

    ปัญญาโดยปริยายเบื้องสูงนั้นขึ้นไปอีกชั้นหนึ่งว่า  อิทํ ทุกฺขนฺติ ยถาภูตํ ปชานาติ หมดทั้งก้อนกายเป็นตัวทุกข์แท้ๆ เกิดนี้เป็นทุกข์แท้ๆ   เกิด แก่ เจ็บ ตาย พวกนี้เป็นทุกข์แท้ๆ   โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาส ว่า  อ้ายนี่ทุกข์แท้ๆ   ทุกข์ทั้งก้อน   พึงเห็นชัดว่าเป็นตัวทุกข์ทีเดียว   ทุกข์แท้ๆ    อยํ ทุกฺขสมุทโยติ ยถาภูตํ ปชานาติ อ้ายทุกข์อันนี้เป็นผล   ทำอะไรไม่ได้   เป็นทุกข์แท้ๆ  ทั้งก้อนร่างกายนี้   เหตุให้มี เหตุให้เกิดทุกข์ มีอยู่ คือกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา   ให้รู้ชัดเห็นชัดเทียว   กามตัณหา ความอยากได้   ภวตัณหา ความอยากมีอยากเป็น    วิภวตัณหา ความไม่อยากให้มีให้เป็น นึกดูซี  อยากได้อะไรเล่า   ถ้าอยากได้ลูกสักคนซี  เมื่อได้  แล้วเอามาทำไม   เอามาเลี้ยงน่ะซี   เมื่ออยากได้สัก 100 คนเล่า   ให้เสีย 100 คนเทียว   เอาแล้ว เห็นทุกข์แล้ว  100 ร้อยคน  ต้องทำบริหารใหญ่แล้ว   นี่ทุกข์แท้ๆ  อยากได้ลูกนี่   อยากได้เมียสักคน   อ้าวได้มาแล้ว  เอามาทำไม   อ้าวให้สัก 100 คนเชียว  เอาอีกแล้ว  เลี้ยงไม่ไหวอีกแล้ว   เห็นทุกข์อีกแล้ว  อ้าวอยากได้ไปซี   เป็นทุกข์ทั้งนั้น  ไม่ใช่อื่น  เพราะกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา    เมื่อได้มาแล้ว ไม่อยากให้มันแปรไปเป็นอย่างอื่น   มันก็ต้องแปรเป็นธรรมดา   ไม่แปรไม่ได้  ต้องแปรอยู่เป็นธรรมดา   เมื่อไม่อยากให้แปรไปเป็นอย่างอื่น   มันก็ได้ฝืนกันล่ะ  ได้ขืนกันล่ะ   รู้ชัดๆ ซีว่าเป็นอย่างนี้   กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา เป็นทุกข์แท้ๆ

    ที่จะหมดไปสิ้นไป   ไม่เป็นทุกข์   เราจะทำอย่างไร  ต้องดับกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา   ทุกข์เหล่านั้นจึงจะหมด   ถ้าไม่ดับกามตัณหา   ทุกข์ไม่หมดหรอก  ถ้าดับเสียได้เป็นอย่างไร   ถ้า  ดับเสียได้ก็เป็นนิโรธนะซี   นิโรธเขาแปลว่าดับ   จะเข้าถึงซึ่งความดับกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ได้ ต้องทำอย่างไร   จะเข้าดับกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ได้  ต้องเข้าถึงซึ่งมรรค คือ ศีล สมาธิ ปัญญา นี่เอง ไม่ใช่อื่น   มรรคน่ะ ศีล สมาธิ ปัญญา นี่เอง   เดินไปทาง ศีล สมาธิ ปัญญา ในกายมนุษย์หยาบ 

    เข้าถึงกายมนุษย์ละเอียด   หลุดเสียแล้วกายมนุษย์หยาบ เดินไปทางศีล สมาธิ ปัญญา ในกายมนุษย์ละเอียด
    เข้าถึงกายทิพย์ กายมนุษย์ละเอียด หลุดไปแล้ว หมดทุกข์ไป อภิชฌา พยาบาท มิจฉาทิฏฐิ เป็นต้น ทุกข์หมด เข้ากายมนุษย์ละเอียด  อย่างหยาบหมด  เข้าถึงกายทิพย์  อย่างหยาบอย่างละเอียดหมด
    เข้าถึงกายรูปพรหม ส่วนโลภะ โทสะ โมหะ ทั้งหยาบทั้งละเอียดหมด 
    เข้าถึงกายอรูปพรหม ส่วนราคะ โทสะ โมหะ หมด 
    เข้าถึงกายธรรม กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย อวิชชานุสัย หมด   เข้าถึงกายธรรม เดินทาง ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ 
    เข้าถึงกายพระโสดา สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส หมด
    เข้าถึงกายพระสกทาคาทั้งหยาบทั้งละเอียด กามราคะ พยาบาท อย่างหยาบหมด
    เข้าถึงกายพระอนาคาทั้งหยาบทั้งละเอียด กามราคะ พยาบาท อย่างละเอียดหมด เหลือแต่รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา เดินไปทางศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ
    เข้าถึงกายพระอรหัตทั้งหยาบทั้งละเอียด หมดกิเลส รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา หมดไม่เหลือเลย เข้าถึงวิราคธาตุวิราคธรรม
    ที่พระองค์แนะนำให้รู้จักว่า สงฺขตา วา อสงฺขตา วา วิราโค เตสํ อคฺคมกฺขายติ    สังขตธรรม ธรรมที่ปัจจัยปรุงแต่งได้ก็ดี อสังขตธรรม ธรรมที่ปัจจัยปรุงแต่งไม่ได้ก็ดี วิราคธรรม เป็นยอดกว่าธรรมเหล่านั้น ถึงพระอรหัต ก็เข้าวิราคธรรมทีเดียว เป็นธรรมกายหน้าตัก 20 วา สูง 20 วา เกตุดอกบัวตูม ใสหนักขึ้นไป นี่หมดทุกข์ แค่นี้หมดทุกข์ ทุกข์หมดไป สิ้นไป หาเศษ มิได้ นี่ดับทุกข์ได้จริงๆ อย่างนี้ เพราะดับกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา เข้าถึงวิชชา ดับ อวิชชาได้ทีเดียว นี่หลุดได้อย่างนี้นะ เมื่อหลุดได้อย่างนี้ละก็ ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ในพระอรหัตยังมีไหมล่ะ ก็มีอยู่ซิ ทำไมจะไม่มีล่ะ ถ้าศีลไม่มี ท่านจะ บริสุทธิ์ได้ดีอย่างไร สมาธิมีไหมล่ะ สมาธิก็ดวงวัดผ่าเส้นศูนย์กลาง 20 วา ศีลก็เท่ากัน สมาธิ ก็เท่ากัน ปัญญาก็เท่ากัน นั่นแหละของพระอรหัต ท่านเรียกว่า โลกุตตรปัญญา เรียก ศีล สมาธิ ปัญญา ขั้นนั้นเป็นโลกุตตระอย่างสูง เป็นวิราคธาตุวิราคธรรมทีเดียว พ้นจากสราคธาตุสราคธรรมไป เมื่อรู้จักชัดอย่างนี้แล้ว นี้แหละ ทางปัญญานี่แหละให้พ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้

    ครั้นจะชี้แจงแสดงให้กว้างขวาง เวลาไม่จุพอ เสียงระฆังตีบอกเวลาอาราธนาให้สวด มนต์อีกแล้ว เหตุนี้ต้องย่นย่อในทางปัญญานี้ไว้พอสมควรแก่เวลา เอเตน สจฺจวจฺเชน ด้วยอำนาจ ความสัตย์ที่ได้อ้างธรรมปฏิบัติ ในเรื่องทางปัญญาตั้งแต่ต้นจนอวสานนี้ ขอความสุขสวัสดีจง บังเกิดมีแก่ท่านทั้งหลาย บรรดามาสโมสร ณ สถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า อาตมภาพชี้แจงแสดง มาพอสมควรแก่เวลา สมมติว่ายุติธรรมีกถา โดยอรรถนิยมความเพียงเท่านี้ เอวํ ก็มีด้วย ประการฉะนี้.
     
  11. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,220
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,106
    ค่าพลัง:
    +70,443
    พุทธอุทานคาถา

    [​IMG]



    10 ธันวาคม 2497

    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส. (3 หน)

    ยทา หเว ปาตุภวนฺติ ธมฺมา
    อาตาปิโน ฌายโต พฺราหฺมณสฺส
    อถสฺส กงฺขา วปยนฺติ สพฺพา
    ยโต ปชานาติ สเหตุธมฺมํ
    ยทา หเว ปาตุภวนฺติ ธมฺมา
    อาตาปิโน ฌายโต พฺราหฺมณสฺส
    อถสฺส กงฺขา วปยนฺติ สพฺพา
    ยโต ขยํ ปจฺจยานํ อเวทิ
    ยทา หเว ปาตุภวนฺติ ธมฺมา
    อาตาปิโน ฌายโต พฺราหฺมณสฺส
    วิธูปยํ ติฏฺฐติ มารเสนํ
    สูโรว โอภาสยมนฺตลิกฺขนฺติ.
    ณ บัดนี้ อาตมภาพจะได้แสดง พุทธอุทานคาถา วาจาเครื่องกล่าวความเปล่งขึ้นของ พระพุทธเจ้า เป็นคาถาที่ลึกลับ ผู้แสดงก็ยากที่จะแสดง ผู้ฟังก็ยากที่จะฟัง เพราะเป็นธรรม อันลุ่มลึกสุขุมนัก เพราะเป็นอุทานคาถาของพระองค์เอง ไม่ใช่ผู้ใดผู้หนึ่ง ไม่มีผู้ใดผู้หนึ่ง ไปทูลถามแต่อย่างหนึ่งอย่างใด พระองค์เมื่อเบิกบานพระหฤทัยโดยประการใดโดยประการ นั้นก็เปล่งอุทานคาถาขึ้น เป็นของลึกลับอย่างนี้ เหตุนี้เราเป็นผู้ได้ฟังอุทานคาถาในวันนี้ เป็นบุญลาภอันประเสริฐล้ำเลิศ ไม่เสียทีที่เกิดมาเป็นมนุษย์พบพุทธศาสนา ตามวาระ พระบาลีที่ยกขึ้นไว้เป็นนิกเขปคาถาว่า ยทา หเว ปาตุภวนฺติ ธมฺมา อาตาปิโน ฌายโต พฺราหฺมณสฺส เมื่อใดธรรมทั้งหลายปรากฏแก่พราหมณ์ผู้มีความเพียรเพ่งอยู่ อถสฺส กงฺขา วปยนฺติ สพฺพา เมื่อนั้นความสงสัยทั้งปวงของพราหมณ์นั้นย่อมสิ้นไป ยโต ปชานาติ สเหตุธมฺมํ เพราะมารู้จักธรรมว่าเกิดแต่เหตุ นี่พระคาถาหนึ่ง ยทา หเว ปาตุภวนฺติ ธมฺมา อาตาปิโน ฌายโต พฺราหฺมณสฺส เมื่อใดธรรมทั้งหลายปรากฏแก่พราหมณ์ผู้มีความเพียร เพ่งอยู่ อถสฺส กงฺขา วปยนฺติ สพฺพา เมื่อนั้นความสงสัยทั้งปวงของพราหมณ์นั้นย่อมสิ้นไป ยโต ขยํ ปจฺจยานํ อเวทิ เพราะได้รู้ความสิ้นไปของปัจจัยทั้งหลาย นี้เป็นคาถาที่ 2 ยทา หเว ปาตุภวนฺติ ธมฺมา อาตาปิโน ฌายโต พฺราหฺมณสฺส เมื่อใดธรรมทั้งหลายปรากฏแก่ พราหมณ์ผู้มีความเพียรเพ่งอยู่ วิธูปยํ ติฏฺฐติ มารเสนํ พราหมณ์นั้นกำจัดมารและเสนา เสียได้ หยุดอยู่ สูโรว โอภาสยมนฺตลิกฺขํ ดุจดังดวงอาทิตย์อุทัยขึ้นกำจัดมืด ทำอากาศให้ สว่างฉะนั้น นี้เป็นคาถาที่ 3 สามพระคาถาด้วยกันดังนี้ เพียงเท่านี้ ธรรมะเท่านี้เหมือน ฟังแขก ฟังฝรั่งพูด ฟังจีนพูด เราไม่รู้จักภาษา ถ้ารู้จักภาษาแขก ภาษาฝรั่งเราก็รู้ นี่ก็ฉันนั้น แหละ คล้ายกันอย่างนั้น ฟังแล้วเหมือนไม่ฟัง มันลึกซึ้งอย่างนี้ จะอรรถาธิบายขยายเนื้อ ความคำในพระคาถาสืบไป

    คำว่า ธรรมทั้งหลายปรากฏแก่พราหมณ์ผู้มีความเพียรเพ่งอยู่ นี่เราก็รู้คำว่า ธรรม ทั้งหลายคืออะไร รูปก็เป็นธรรม นามก็เป็นธรรม ธรรมที่ทำให้เป็นรูปเป็นนาม ก็เป็นธรรม เหมือนกัน ธรรมทั้งหลาย คือ กุสลา ธมฺมา ธรรมฝ่ายดี มีเท่าใดหมดพระไตรปิฎก ไม่มีชั่ว เข้าไปเจือปนระคนเลย เรียกว่า กุสลา ธมฺมา ธรรมที่ชั่วตรงกับบาลีว่า อกุสลา ธมฺมา ธรรม ทั้งหลายชั่ว ไม่มีดีเข้าไปเจือปนเลย ชั่วทั้งสิ้นทีเดียว นี้เรียกว่า อกุสลา ธมฺมา ธรรมทั้งหลาย ที่ชั่ว ธรรมทั้งหลายที่ไม่ดีไม่ชั่ว ดีไม่เข้าไปเจือปน ชั่วก็ไม่เข้าไปเจือปน ไม่ดีไม่ชั่ว เป็น กลางๆ อยู่ดังนี้ เรียกว่า อพฺยากตา ธมฺมา นี่เป็นมาติกาแม่บททั้ง 3 นี้ หมดทั้งสกลพุทธศาสนา ธรรมมีเท่านี้ กว้างนักจบพระไตรปิฎกมากมายนัก พระพุทธเจ้าจะมาตรัสเทศนา เท่าใด ในอดีตมีมากน้อยเท่าใดๆ เมื่อรวมธรรมแล้วก็ได้เท่านี้ พระพุทธเจ้ามาตรัสในปัจจุบัน นี้ ถ้ารวมธรรมได้เท่านี้ พระพุทธเจ้าจะมาตรัสในอนาคตภายภาคเบื้องหน้า ก็รวมธรรมได้ เท่านี้ ย่อลงไปว่า ดี ชั่ว ไม่ดีไม่ชั่ว 3 อย่างนี้เท่านั้น ดีเป็นธรรมฝ่ายดี ชั่วเป็นธรรมฝ่าย ชั่ว ไม่ดีไม่ชั่วเป็นธรรมฝ่ายไม่ดีไม่ชั่ว

    คำว่าธรรมทั้งหลาย ในพุทธอุทานนี้ว่า เมื่อใดธรรมทั้งหลายปรากฏแก่พราหมณ์ผู้มี ความเพียรเพ่งอยู่ ประสงค์ธรรมขาว เมื่อผู้ที่เพียรเพ่งอยู่ก็คล้ายกับคนนอนหลับ นอนหลับ ถูกส่วนเข้าแล้วก็ฝัน เรื่องฝันนี้ไม่ใช่เรื่องของมนุษย์เรานี้ แต่เป็นเรื่องของกายมนุษย์ละเอียด ฝัน นอนหลับแล้วฝัน ว่าฝันเรื่องมันสนุกสนานเหมือนกัน กายมนุษย์นี้มีสิทธิทำได้เท่าใด พูดได้เท่าใด คิดได้เท่าใด กายที่ฝันนั้นก็มีสิทธิ์ทำได้เท่านั้น พูดได้เท่านั้น คิดได้เท่านั้น ไม่แปลกกว่ากันเลย แต่ว่าคนละเรื่อง นี่คนละชั้น นี่คนละชั้นเสียแล้ว เรื่องฝันนี่ เพราะกาย มนุษย์ฝัน กายที่มนุษย์ฝันนั่นแหละ เรียกว่า กายมนุษย์ละเอียด นั่นเขาก็สว่างไสวเหมือน กายมนุษย์นี้แบบเดียวกัน กายฝันนะ ทำได้เท่ามนุษย์นี้เหมือนกัน กายมนุษย์ที่ฝันไปนั่น แหละ ฝันไปทำงานทำการเพลินไปอีก เหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า นอนหลับฝันไปอีก ฝันในฝัน เข้าไปอีกชั้นแบบเดียวกัน ออกไปเป็น กายทิพย์ ว่องไวอีกเหมือนกัน กายมนุษย์-กายมนุษย์ ละเอียดที่ฝันชั้นที่หนึ่งนั้น ทำหน้าที่ได้เท่าใด ทำหน้าที่ด้วยกายได้เท่าใด ทำหน้าที่ด้วยวาจา ได้เท่าใด ทำหน้าที่ด้วยใจได้เท่าใด กายทิพย์ที่ฝันในฝันออกไปนั้น ก็ทำหน้าที่ได้เท่านั้น เหมือนกัน ทำกายได้เท่านั้น ทำวาจาได้เท่านั้น ทำใจได้เท่านั้นเหมือนกัน แบบเดียวกัน นี้ คนละเรื่อง อีกเรื่องหนึ่ง ถ้าฝันในฝันแล้วก้อ เรารวนทันที ถ้าฝันแล้วฝันเฉยๆ แล้วก็ไม่รวน เข้ามาใกล้กายมนุษย์ นี่คนละเรื่องอย่างนี้

    นี่ธรรมทั้งหลายที่ปรากฏแก่พราหมณ์ผู้มีความเพียรเพ่งอยู่เป็นอย่างไร นี่พวกเรารู้กัน อยู่บ้างแล้ว พวกงั่งมีอยู่ พวกเป็นมีอยู่ กล้าพูดได้ทีเดียว เพราะพราหมณ์นั้นมีความเพียรเพ่ง อยู่แล้วนั่นแหละ ความเพ่งมันเป็นอย่างนี้แหละ มันมืดตื้อ มืดตื้อมันก็สงสัย ไอ้มืดนั่นแหละ มันทำให้สงสัย มันไม่เห็นอะไร มันมัวหมองไปหมด ดำคล้ำไปหมด รัวไปหมด ไม่ได้เรื่อง ไม่ได้ราว หนักเข้าๆ รำคาญ หนักเข้าๆ ก็ลืมเสียที มันมืดนัก ไม่ได้เรื่องอย่างนั้น อย่างนั้น ธรรมทั้งหลายไม่ปรากฏ ถ้าจะมาว่าคนฉลาดเพ่งธรรมละก้อ เมื่อนั่งมืดอยู่ละก้อ อ้อ! นี่ อธรรม นี่ อกุสลา ธมฺมา ไม่ใช่ธรรมที่สว่าง นั่งไปๆ ถูกส่วนเข้า สว่างวูบเข้าไปเหมือนฝันทีเดียว สว่าง วูบเข้าไป ปรากฏทีเดียวเหมือนลืมตา บางคนตกใจนะ นี่หลับตาหรือลืมตานะ มันสว่างอย่างนี้ ก็ลืมตาดูเสียที อ้าว! สว่างนั่นหายไปเสียแล้ว นั่นมีสว่างได้อย่างนั้น มีมืดอย่างนั้น นั่งหลับ ตาปุบ แล้วกัน ก็มืดตื้อ เมื่อมืดเช่นนั้นเป็นอธรรม เมื่อสว่างขึ้น ปรากฏชัดขึ้นเหมือนกลางวัน นั่นเป็นธรรม ไม่สว่างไม่มืด รัวๆ อยู่ นั่นก็เป็นธรรมเหมือนกัน เป็น อัพยากตธรรม

    ธรรมมี 3 อย่างนี้ มืดเป็นอกุศลธรรม สว่างเป็นกุศลธรรม ไม่มืดไม่สว่างเป็นอัพยากตธรรม นี่ธรรมเป็นชั้นๆ กันไป มืด สว่าง ไม่มืดไม่สว่าง ทั้งมืดทั้งสว่าง ทั้งไม่มืดไม่สว่าง นั่นหรือเป็นธรรมที่ปรากฏแก่พราหมณ์ผู้มีความเพียรเพ่งอยู่ ซึ้งยิ่งกว่านั้น ธรรมทั้งหลาย ที่ปรากฏแก่พราหมณ์ผู้มีความเพียรเพ่งอยู่นั้น ปรากฏชัด เมื่อนั่งลงไปแล้วปรากฏแน่แน่ว ทีเดียว พอนั่งถูกส่วนเข้า ทำใจให้หยุด พอนั่งถูกส่วนเข้า ก็ใจหยุดทีเดียว เมื่อใจหยุด นี่ ตรงกับบาลีว่า ยโต ปชานาติ สเหตุธมฺมํ เพราะมารู้จักธรรมว่าเกิดแต่เหตุ

    ธรรมที่เกิดแต่เหตุ นั่นธรรมอะไร เหตุมี 6 โลภเหตุ โทสเหตุ โมหเหตุ โลภเหตุ เป็นฝ่ายชั่ว โทสเหตุเป็นฝ่ายชั่ว โมหเหตุก็เป็นฝ่ายชั่ว ฝ่ายดีล่ะ ท่านวางไว้เป็นอโลภเหตุ อโทสเหตุ อโมหเหตุ

    อโลโภ ทานเหตุ ความไม่โลภเป็นเหตุให้บริจาคทาน อโทโส สีลเหตุ ความไม่โกรธ เป็นเหตุให้รักษาศีล อโมโห ภาวนาเหตุ ความไม่หลงเป็นเหตุให้เจริญภาวนา พอรู้ชัดว่า ธรรมทั้งหลายเกิดแต่เหตุ อ้อ! การที่เราให้ทานนี้เกิดแต่เหตุคือความไม่โลภ การที่มา รักษาได้นี้ เกิดจากเหตุคือความไม่โลภ การที่มารักษาศีลได้นี้ เกิดจากเหตุคือความ ไม่โกรธ การที่เรามาเจริญภาวนาได้นี้ เกิดจากเหตุคือความไม่หลง ความไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลง เป็นเหตุให้รักษาศีล ให้เจริญภาวนา ที่เราจะให้ทานขึ้นได้นี้เรียกว่าอโลภเหตุ เราจะ บริจาคทานนี้ก็เป็นธรรมอันหนึ่ง เรามารักษาศีลก็เป็นธรรมอันหนึ่ง มาเจริญภาวนาก็เป็น ธรรมอันหนึ่ง เพราะมาแต่ความไม่โลภ มาจากความไม่โกรธ มาจากความไม่หลง เรื่อง ให้ทานก็เป็นอเนกประการ เรื่องรักษาศีลก็เป็นอเนกประการ เรื่องเจริญภาวนาก็เป็น อเนกประการ

    ธรรมอันนี้หรือ ที่ปรากฏแก่พราหมณ์ผู้มีความเพียรเพ่งอยู่ ความสงสัยทั้งปวงของ พราหมณ์นั้นย่อมสิ้นไป เพราะมารู้จักว่าธรรมเกิดแต่เหตุ ยิ่งกว่านั้นลงไป เมื่อพราหมณ์นั้น มานั่งเพ่ง ถูกส่วนเข้าแล้ว ใจก็หยุดทีเดียว หยุดศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ หยุดนิ่ง พอใจหยุดได้เท่านั้น พอใจหยุดนิ่งเท่านั้น สูโรว โอภาสยมนฺตลิกฺขํ ดุจดังดวง อาทิตย์อุทัยขึ้นกำจัดมืด ทำอากาศให้สว่างไสว นี่เป็นกลางวันอย่างนี้ ดวงอาทิตย์ก็เห็นโร่ อย่างนั้น เห็นอย่างนี้เป็นดวงเท่าดวงจันทร์ ติดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ติดกลางกายมนุษย์นั่น ดวงเท่าดวงอาทิตย์ ติดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกาย มนุษย์ จะมองอะไรเห็นตลอดหมด เหมือนกับกลางวันอย่างนี้แหละ จะดูอะไรก็ดูไป เมื่อธรรม ปรากฏขึ้นแก่พราหมณ์ ความสงสัยทั้งปวงของพราหมณ์นั้นก็สิ้นไปหมดไป เพราะได้รู้ความสิ้น ของปัจจัยทั้งหลาย ยโต ขยํ ปจฺจยานํ อเวทิ เพราะได้รู้ความสิ้นไปของปัจจัยทั้งหลาย สว่าง ขึ้นแล้ว เมื่อเห็นความสิ้นไปของปัจจัยทั้งหลาย

    อะไรเล่าเป็นปัจจัยที่สิ้นไป ปัจจัยนี่ก็ยากไม่ใช่น้อยเหมือนกัน ปัจจัยคือดังนี้ คำที่เรียก ว่าปัจจัย อวิชชาเป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร แน่ะความโง่ ความไม่รู้จริง เป็นปัจจัยแล้ว สังขาร ความปรุงให้ดีให้งามตกแต่งอยู่ร่ำไป ต้องตกแต่งอยู่ร่ำไป ปรนเปรออยู่ร่ำไป สังขารนั่นแหละ เป็นปัจจัยให้เกิดวิญญาณ รู้ดีรู้ชั่วอยู่ร่ำไป วิญญาณเป็นปัจจัยให้เกิดนามรูป นามรูปมีเกิดดับ อยู่เป็นธรรมดา นามรูปเป็นปัจจัยให้เกิดสฬายตนะ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ สฬายตนะเป็น ปัจจัยให้เกิดผัสสะ ความกระทบทางตา ทางหู จมูก ลิ้น กาย ใจ ผัสสะเมื่อกระทบเข้าแล้ว เป็นปัจจัยให้เกิดเวทนา ชอบ ไม่ชอบ เฉยอยู่ เวทนาปรากฏเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา ตัณหา ปรากฏขึ้นแล้วเป็นปัจจัยให้เกิดอุปาทาน อุปาทานปรากฏขึ้นแล้วเป็นปัจจัยให้เกิดภพ ก่อน ปัจจัยกันเป็นชั้นๆ อย่างนี้ เมื่อมีกามภพ รูปภพ อรูปภพ ก็เป็นปัจจัยให้เกิดชาติ เมื่อ ชาติมีขึ้นแล้ว ชาตินั้นคืออะไร ชาติคือกำเนิด นั่นแหละ ชลาพุชะ (เกิดในครรภ์), อัณฑชะ (เกิดในไข่), สังเสทชะ (เกิดในเถ้าไคล), อุปปาติกะ (เกิดผุดขึ้น), ชาติคือกำเนิด ที่ เกิด เขา เรียก ชาติ ออกจากกำเนิดนั่นแหละ ชาติมีขึ้นแล้วเป็นปัจจัยให้เกิด ชรา (ความแก่), มรณะ (ความตาย), โสกะ (ความโศก), ปริเทวะ (ความคร่ำครวญ), ทุกข์ (ทุกข์กาย), โทมนัส (ทุกข์ใจ), อุปายาส (ความคับแค้นใจ), เป็นลำดับไป เป็นปัจจัยกันอย่างนี้ รู้จักความสิ้นไป ของปัจจัยทั้งหลาย

    เมื่อสิ้นไปอย่างไร ความโง่ไม่มี หายไปหมด ดับไปหมด เมื่ออวิชชา ความไม่รู้จริงดับ สังขารก็ดับ สังขารดับ วิญญาณก็ดับ วิญญาณดับ นามรูปก็ดับ นามรูปดับ สฬายตนะก็ดับ สฬายตนะดับ ผัสสะก็ดับ ผัสสะดับ เวทนาก็ดับ เวทนาดับ ตัณหาก็ดับ ตัณหาดับ อุปาทานก็ดับ อุปาทานดับ ภพก็ดับ ภพดับ ชาติก็ดับ ชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ก็ต้องดับ ไม่เหลือเลย นี้ความสิ้นไป เมื่อรู้ความสิ้นไปของปัจจัยทั้งหลายเหล่านี้แล้ว วิธูปยํ ติฏฺฐติ มารเสนํ พราหมณ์นั้นก็กำจัดมารและทั้งเสนาได้แล้ว หยุดอยู่ได้ คือ ใจหยุด นั่นเอง ไม่ใช่อื่น ใจหยุด พอหยุดถูกส่วนเข้าเท่านั้นเอง สูโรว โอภาสยมนฺตลิกฺขํ ความสว่างเกิด ขึ้น ดุจดังดวงอาทิตย์อุทัยขึ้นกำจัดมืด ทำอากาศให้สว่าง เราก็มองเห็นดวง ดังนั้น ที่ปรากฏ ดังนั้น เมื่อปรากฏขึ้นดังนั้นแล้ว พราหมณ์นั้นก็รักษาดวงนั้นไว้ไม่ให้หายไป ที่วัดปากน้ำ เขา เป็นแล้ว ของลึกก็จริง แต่ว่าวัดปากน้ำพบแล้ว

    แต่ว่าผู้พบก็ไม่รู้ว่าลึกซึ้งแค่ไหน ได้แต่ลึกซึ้งอย่างนี้ จริงอย่างนั้น แล้วก็ไปทำ เหลวไหลเสีย ให้ดับเสียบ้าง ให้หายเสียบ้าง ไปกังวลอื่นเสีย ไม่กังวลของลึกซึ้งอย่างนี้ นี่มีมากทีเดียว

    ในวัดปากน้ำนี้ ทั้งสว่างทำได้ขนาดนี้นะ ยิ่งกว่านี้ไปอีก เดี๋ยวจะเล่าเรื่องวัดปากน้ำที่ ทำสว่างขึ้นได้แค่ไหน ตรงกับพุทธอุทานนี้แล้ว เมื่อสว่างขึ้นได้ดังนั้นแล้วก็ได้เป็นลำดับไป นั่นสว่าง ดวงนั้นเขาเรียกว่า ดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ใจของผู้กระทำนั้น ก็หยุดนิ่งอยู่ ศูนย์กลางดวงสว่างนั้น พอถูกส่วนเข้าก็เห็น ดวงศีล ดวงเท่ากัน หยุดนิ่งอยู่กลางดวงศีล พอถูกส่วนเข้าก็เห็น ดวงสมาธิ ดวงเท่ากัน หยุดนิ่งอยู่กลางดวงสมาธิ พอถูกส่วนเข้า ถึง ดวงปัญญา หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา พอถูกส่วนเข้า ถึง ดวงวิมุตติ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์ กลางดวงวิมุตติ พอถูกส่วนเข้า ถึง ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดนิ่งอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ พอถูกส่วนเข้า หยุดท่าเดียว หยุดอยู่ท่าเดียว กำจัดมารให้หยุดทีเดียว หยุดนิ่งอยู่ ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า เห็น กายที่ฝัน ทีเดียว ตั้งแต่กายมนุษย์ขึ้นไป เห็นกายที่ฝัน อ้อ! กายฝันอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ เราไม่รู้ว่าอยู่ที่ไหน เมื่อฝันแล้ว มัน ก็รัวไป

    ใจกายที่ฝัน ใจกายมนุษย์ละเอียดก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกาย มนุษย์ละเอียดอีก เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน เท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์อย่างนั้น หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานนั้น ถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงศีล หยุดนิ่งอยู่ กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้า เห็นดวงสมาธิ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้าก็เห็น ดวงปัญญา หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลาง ดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้า เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า เห็นกายฝันในฝัน ก็คือ กายทิพย์

    ใจกายทิพย์หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ ถูกส่วนเข้า เห็นดวง ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้า เห็นดวงศีล หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงสมาธิ หยุดนิ่งอยู่กลาง ดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงปัญญา หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้าก็เห็น ดวงวิมุตติ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดนิ่ง อยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า เห็น กายทิพย์ละเอียด

    ใจกายทิพย์ละเอียดหยุดนิ่งอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ละเอียด ดังนี้ ถูกส่วนเข้า เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน หยุดนิ่งอยู่กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงศีล หยุดนิ่งอยู่กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงสมาธิ หยุดนิ่งอยู่กลาง ดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงปัญญา หยุดนิ่งอยู่กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงวิมุตติ หยุดนิ่งอยู่กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดนิ่งอยู่กลางดวง วิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้าก็เห็น กายรูปพรหม

    ใจกายรูปพรหม ก็หยุดนิ่งอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหม ถูกส่วนเข้า ก็เห็นแบบเดียวกัน ก็เข้าถึง กายรูปพรหมละเอียด

    ใจกายรูปพรหมละเอียด ก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหม ละเอียด ถูกส่วนเข้าก็เห็น กายอรูปพรหม แบบเดียวกัน

    ใจกายอรูปพรหมก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำเป็นกายอรูปพรหม ถูกส่วนเข้า ก็ถึง กายอรูปพรหมละเอียด

    ใจกายอรูปพรหมละเอียดหยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหม ละเอียด ถูกส่วนเข้า เห็น กายธรรม หน้าตักหย่อนกว่า 5 วา สูง 5 วา นั้นเรียกว่า กายธรรม กายธรรมนั่นเองเป็นพระพุทธเจ้า ธมฺมกาโย อหํ อิติปิ เราตถาคตคือธรรมกาย นั่นแหละ พระพุทธเจ้า

    ใจกายธรรม ก็หยุดนิ่งอยู่กลางใจดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายธรรม แบบเดียวกัน ถูก ส่วนเข้าก็เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ดวงเท่ากันกับดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกาย เท่าหน้าตักธรรมกาย กลมรอบตัว หยุดนิ่งอยู่กลางดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน เห็นดวงศีล เท่ากัน หยุดนิ่งอยู่กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงสมาธิ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงสมาธิ ถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงปัญญา หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา ถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงวิมุตติ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ ถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์ กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้าก็เห็น กายธรรมละเอียด หน้าตัก 5 วา สูง 5 วา เกตุดอกบัวตูม ใสหนักขึ้นไป

    ใจกายธรรมละเอียดหยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายธรรมละเอียด ถูก ส่วนเข้า เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง 5 วา กลมรอบตัว ใส ทีเดียว ยิ่งกว่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ บริสุทธิ์สนิททีเดียว สว่างไสว หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลาง ดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงศีล ดวงเท่ากัน แล้วต่อไปก็ดวงสมาธิ ดวงปัญญา ดวงวิมุตติ ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ เป็นลำดับไป หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวง วิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้า เห็น กายธรรมพระโสดา หน้าตัก 5 วา สูง 5 วา เกตุ ดอกบัวตูม ใสหนักขึ้นไป

    ใจกายพระโสดาหยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระโสดา ถูกส่วนเข้า เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ดวงศีล ดวงสมาธิ ดวงปัญญา ดวงวิมุตติ ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ แบบเดียวกัน เห็น กายพระโสดาละเอียด หน้าตัก 10 วา สูง 10 วา

    ใจกายพระโสดาละเอียดหยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางกายพระโสดาละเอียด ถูกส่วนเข้า ก็ เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน เห็นดวงศีล ดวงสมาธิ ดวงปัญญา ดวงวิมุตติ ดวง วิมุตติญาณทัสสนะ แบบเดียวกัน เข้าถึง กายพระสกทาคา หน้าตัก 10 วา สูง 10 วา หยุด นิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระสกทาคา ถูกส่วนเข้า เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน แบบเดียวกัน เห็นดวงศีล ดวงสมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ถูก ส่วนเข้าก็เห็น กายพระสกทาคาละเอียด หน้าตัก 15 วา สูง 15 วา เกตุดอกบัวตูม ใสหนักขึ้นไป

    ใจพระสกทาคาละเอียดหยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระสกทาคา ละเอียด ถูกส่วนเข้า เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน เห็นดวงศีล ดวงสมาธิ ดวงปัญญา ดวงวิมุตติ ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ถูกส่วนเข้าก็เห็น กายพระอนาคา

    ใจกายพระอนาคาก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระอนาคา ถูก ส่วนเข้า เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน เห็นดวงศีล ดวงสมาธิ ดวงปัญญา ดวงวิมุตติ ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ แบบเดียวกัน เข้าถึง กายพระอนาคาละเอียด หน้าตัก 20 วา สูง 20 วา เกตุดอกบัวตูม ใสหนักขึ้นไป

    ใจของกายพระอนาคาละเอียด ทำถูกส่วนเข้า เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง 20 วา สูง 20 วา กลมรอบตัว เห็นดวงศีล ดวงสมาธิ ดวงปัญญา ดวงวิมุตติ ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ เท่าๆ กัน ก็เห็น กายพระอรหัต หน้าตัก 20 วา สูง 20 วา เกตุดอกบัวตูม ใสหนักขึ้นไป

    ใจกายพระอรหัตหยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระอรหัต ถูกส่วน เข้า เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ดวงศีล ดวงสมาธิ ดวงปัญญา ดวงวิมุตติ ดวง วิมุตติญาณทัสสนะ 20 วา เท่ากันหมด ปรากฏเห็น กายพระอรหัตละเอียด ใสหนักขึ้นไป

    ตำราวัดปากน้ำเขาสอนกันได้อย่างนี้ แต่ว่าที่จะเป็นพระโสดา พระสกทาคา พระอนาคา อรหัต นั้น ไม่ติด ไม่หลุดซะ แต่ว่าทำได้ตลอดเลยไปจากนี้อีก ทำไปมากกว่านี้ ถึงกายพระอรหัต พระอรหัตละเอียดๆๆ ต่อๆ ไป นับอสงไขยก็ไม่ถ้วน ผู้เทศน์นี้สอน เป็น คนสอนเอง 23 ปี 5 เดือนนี้ ได้ทำไปอย่างนี้แหละ ไม่ถอยหลังเลย ยังไม่สุดกายของ ตัวเอง เมื่อยังไม่สุดกายของตัวเองแล้ว ตัวเองก็ปกครองตัวเองยังไม่ได้ ยังมีคนอื่นเป็นผู้ ปกครองลับๆ เพราะไม่ไป ถ้าไปถึงที่สุดแค่ไหน เขาก็ปกครองได้แค่นั้น นี่ผู้เทศน์ยังแนะนำ สั่งสอนให้ไปถึงที่สุดสายธาตุสายธรรมของตัวเอง เมื่อถึงที่สุดสายธาตุสายธรรมของตัวเอง ละก้อ เป็นกายๆ ไปดังนี้ ตัวเองก็จะปกครองตัวเองได้ ไม่มีใครปกครองต่อไป ตัวเองก็เป็น ใหญ่ในตัวเอง ตัวเองก็จะบันดาลความสุขให้ตัวเองได้ กำจัดความทุกข์ได้ ไม่ให้เข้ายุ่งได้

    นี่คนอื่นเขายังบันดาลอยู่ คนอื่นเขายังให้อยู่ เหมือนความแก่ดังนี้ เราไม่ปรารถนา เลย เขาก็ส่งความแก่มาให้ เราก็ต้องรบความแก่นั่นแหละ ความเจ็บล่ะ เราไม่ปรารถนา ความเจ็บ เขาก็ส่งความเจ็บมาให้ ความตายล่ะ เราไม่ปรารถนาเลย เขาก็ส่งความตายมา ให้ เพราะเหตุไร เพราะเหตุว่าตัวเองไม่เป็นใหญ่ด้วยตัวของตัวเอง คนอื่นเขามาปกครอง เขาส่งมาให้ ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ตัวมีความรู้ไม่พอ ก็ต้องรบเหมือนดังนี้ เราอยู่ ปกครองประเทศไทย ประเทศไทยเขาต้องการอย่างไร ผู้ปกครองเขาต้องการอย่างไร เราก็ ต้องไปตามเขา ไม่ตามเขาไม่ได้ ต้องอยู่ในบังคับบัญชาเขา

    ถ้าจะอยู่นอกปกครองเขา ต้องไปให้ถึงที่สุดสายธาตุสายธรรมของตัว ไปถึงที่สุด สายธาตุสายธรรมของตัวละก้อ ในที่สุดนั้นไม่มีใครปกครองเลย เราปกครองของเราเอง เราก็ไม่ต้องรับความแก่ ความเจ็บ ความตาย ก็ได้ เพราะเรามีอำนาจพอแล้ว เราไม่อยู่ใน ปกครองก็ได้ตามความปรารถนา แต่ว่าต้องไปให้สุดสายธาตุสายธรรมของตัว ถ้าให้สุด สายธาตุสายธรรมของตัวไม่ได้ละก้อ เลี้ยงเอาตัวรอดไม่ได้ บัดนี้เราเป็นภิกษุสามเณร อุบาสกอุบาสิกาในพระพุทธศาสนา เมื่อมาฟังอุทานคาถา รู้ว่าธรรมของพระศาสดาลึกซึ้ง อย่างนี้ ขนาดนี้ละก็ อุตส่าห์ อย่าประมาท อย่าเลินเล่อ อย่าเผลอตัว อย่างคนมีปัญญา อย่างคนรู้ดีรู้ชั่ว อย่าเล่นเอาอย่างเด็ก ถ้าเมื่อเล่นอย่างเด็กแล้วก็เล่นหม้อข้าวหม้อแกง เล่นฝุ่นเล่นทรายอยู่ละก้อ ชีวิตจะไม่พอใช้ เพราะเขาเล่นละครกันเป็นบ้านๆ โรงๆ กัน ใน โลกนี้เขาเรียกว่า ละครโรงใหญ่ เล่นฝุ่น เล่นทราย เล่นแปลกๆ ไปตามหน้าที่ เอาจริงๆ แท้ๆ ไม่ได้สักคนหนึ่ง ขึ้นไปแล้วก็ตายกันหมด เอาจริงเอาแท้เหลือสักคนหนึ่งก็ไม่มี เพราะเหตุอะไรเล่า เพราะเหตุว่าเลินเล่อเผลอตัวไป มนุษย์โลกนี้เราผ่านไปผ่านมา เข้าใจ ว่าเป็นบ้านของเราเมืองของเราเสียใหญ่โตมโหฬารทีเดียว เข้าใจเสียอย่างนั้นก็เข้าใจผิด ไปนี่แหละละคร กายเรานี่นะโตกว่าบ้านเมืองเหล่านี้มากนัก ให้ไปชมดูเถิด แต่ว่าต้องไป ให้ถึงที่สุดนี้ให้ได้นะ ไปที่สุดของกายเหล่านี้ได้ก็จะเอาตัวรอดได้เป็นแท้

    ที่ได้ชี้แจงแสดงมา ในพุทธอุทานคาถา ตามวาระพระบาลีคลี่ความเป็นสยามภาษา ตามมตยาธิบายพอสมควรแก่เวลา เอเตน สจฺจวชฺเชน ด้วยอำนาจความสัตย์ที่ได้อ้าง ธรรมปฏิบัติ มาตั้งแต่ต้นจนอวสานนี้ สทา โสตฺถี ภวนฺตุ เต ขอความสุขสวัสดีจงบังเกิดมี แก่ท่านทั้งหลาย บรรดามาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า อาตมภาพชี้แจงแสดงมาพอ สมควรแก่เวลา สมมติยุติธรรมีกถาโดยอรรถนิยมความเพียงเท่านี้ เอวํ ก็มีด้วยประการ ฉะนี้.
     
  12. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,220
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,106
    ค่าพลัง:
    +70,443
    ประพฤติธรรมให้สมควรแก่ธรรม

    [​IMG]


     

    เมื่อเห็นด้วยตาธรรมกายว่ากายมนุษย์ กายมนุษย์ละเอียดเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แล้วก็อะไรเล่าเป็นแก่นสาร ถ้าเห็นว่าอ้ายเกิดนี่มันตัวทุกข์แท้ๆ เป็นทุกข์ทีเดียว อ้ายเกิดนี่มันตัวทุกข์แท้ๆ ไม่เพลินเสีย อ้ายเรื่องเกิดเป็นทุกข์ทีเดียว อ้ายเกิดไม่ใช่ลำพังเกิด เหตุให้เกิดมีอยู่คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา เป็นเหตุให้เกิด เมื่อไปเห็นเหตุที่เกิดแล้ว มันเกิดขึ้นแล้วก็ต้องมีดับ ที่ว่าเกิดไม่มีดับเลยน่ะเป็นอันไม่มี

     

    ภิกษุสามเณรเมื่อบวชเข้ามาในพระธรรมวินัยของพระศาสดาแล้ว ควรประพฤติธรรมให้สมควรแก่ธรรม เรียกว่า ธมฺมานุธมฺมปฏิปนฺโน แปลว่าประพฤติธรรมให้สมควรแก่ธรรม   เมื่อประพฤติสมควรแล้วต้องประพฤติขยับให้ยิ่งขึ้นไป  อย่าให้หันหลังกลับ  ได้ชื่อว่า สามีจิปฏิปนฺโน ประพฤติดียิ่งขึ้นไป ไม่ถอยหลังกลังกลับ  อย่าให้เคลื่อนจากธรรมตามธรรมไว้เสมอ นี่เรียกว่า อนุธมฺมจารี ประพฤติตามธรรม   ภิกษุสามเณรเช่นนั้นได้ชื่อว่า สักการะ ได้ชื่อว่าเคารพ ได้ชื่อว่านับถือ ได้ชื่อว่าบูชาตถาคต ซึ่งเราผู้ตถาคต ปรมาย ปฏิปตฺติปูชาย  ด้วยปฏิบัติบูชาเป็นอย่างยิ่ง   เมื่อประพฤติตามให้สมควรเป็นเช่นนี้แล้วตั้งใจให้แน่วแน่

     

    ประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรมนั้นเป็นไฉน ?

    ภิกษุสามเณร  สามเณรรักษาศีล 10 ไป  ตั้งอยู่ในร่องของศีล 10  อย่าให้เคลื่อนร่องของศีล 10 ไป  ให้อยู่ในรอยของศีล10  ให้อยู่ในเนื้อหนังของศีล 10   ให้บริสุทธิ์สะอาดตามปกติตามความเป็นจริงของศีล 10   ส่วนภิกษุล่ะ ต้องประพฤติอยู่ในศีลเหมือนกัน  ในศีลที่มีตนมีอยู่เป็นจำนวนเท่าไร ให้อยู่ในกรอบของศีล  ไม่พ้นศีลไป  ให้อยู่ในรอยของศีล ให้อยู่ในร่องของศีล  ไม่พ้นร่องรอยของศีลไป  ประพฤติปฏิบัติดังนี้  ได้ชื่อว่าถูกต้องร่องรอยทางของศีล  ตรงกับบาลียืนยันว่า สพฺพาปาปสฺส อกรณํ  ไม่ทำชั่วด้วยกาย วาจา ใจ  เป็นอัพโพหาริกอยู่ด้วย

    ให้ถูกต้องร่องรอยของสมาธิอีกต่อไป  สมาธิเป็นตัวทำใจให้สงบ สละเสียจากอารมณ์  ไม่ให้เกี่ยวด้วยอารมณ์  ไม่ให้ติดด้วยอารมณ์  ปล่อยอารมณ์เหล่านั้นเสีย จนกระทั่งใจหยุดเป็นเอกัคคตาเรียก ว่า จิตฺตสฺเสกคฺคตํ  ถึงซึ่งความเป็นเอกัคคตาจิต  เมื่อบริสุทธิ์ดังนี้แล้ว ก็อุตส่าห์พยายาม ให้ถูกร่องรอยของธรรมขึ้นไปอีก ไปอีกให้สูงยิ่งขึ้นไปกว่านั้น  จนกระทั่งเกิด ปฐมฌาน ใจสงัดจากกาม จากอกุศลทั้งหลายแล้ว  เป็นไปกับด้วย วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา ขึ้นสู่ปฐมฌาน เป็นดวงใสวัดผ่าเส้นศูนย์กลาง 2 วา กลมเป็นวงเวียน  หนาคืบหนึ่ง  ใสเป็นกระจกคันฉ่องส่องเงาหน้า  แน่นอยู่กับฌาน ใจติดอยู่กับสิ่งนั้น  แล้วก็ทำเป็นลำดับขึ้นไป เมื่อพบฌานดวงแรกเรียกว่า ปฐมฌาน ดังนี้แล้ว ให้เข้าถึง ทุติยฌาน ตติตยฌาน จตุตถฌาน ต่อไป  อุตส่าห์ประพฤติไปดังนี้  เมื่อบรรลุฌานได้ขนาดนี้แล้วเป็นสมาธิขั้นสูง  ศีล สมาธิ นี้เป็นตัวสำคัญอยู่

    ไม่ใช่พอแต่เท่านั้น  ต้องใช้ปัญญาเข้าพินิจพิจารณา  เมื่อเข้าถึงฌานแล้ว ก็พินิจพิจารณากายมนุษย์นี้แหละ   กายมนุษย์ในภพทั้ง 3   กามภพ รูปภพ อรูปภพ   พิจารณากายมนุษย์ทั้ง 8 กาย กายมนุษย์ กายมนุษย์ละเอียด กายทิพย์ กายทิพย์ละเอียด กายรูปพรหม กายรูปพรหมละเอียด กายอรูปพรหม กายอรูปพรหมละเอียด  พิจารณาทั้ง 4 ฐาน  นี้เป็นเป็นหลักของมรรคผล  หลักของมรรคผล  พิจารณาทั้ง 4 ฐานนี้   แต่ว่าขึ้นสู่ปฐมฌานแล้ว พิจารณาหลักสูงอย่างนี้ละก็เต็มเหยียดเชียว  ชักจะไม่ไหว ขยับสมาธิให้สูงขึ้นไปกว่านี้ ให้สูงเป็นชั้นๆ ไป คือ ศีล สมาธิ ปัญญา   ปัญญาน่ะจะต้องรู้จักความจริงของเบญจขันธ์  รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ  เห็นเป็นไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัว อย่างนี้ เรียกว่า ปัญญา

    เมื่อเราเข้าถึงร่องรอยของธรรมเช่นนั้นละก็  ตั้งอยู่ในธรรมให้มั่นคง  รักษาธรรมให้มั่นคง ดำรงอยู่ในดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานเทียว  ยังเข้าถึงดวงศีล ดวงสมาธิ ดวงปัญญา ดวงวิมุตติ ดวงวิมุตติญาณทัสสนะทีเดียว แล้วจะเข้าถึง กายมนุษย์ละเอียด

    เมื่อเข้าถึงกายมนุษย์ละเอียดแล้ว เข้าถึงดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ดวงศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ในกายมนุษย์ละเอียด จะเข้าถึง กายทิพย์
    เมื่อเข้าถึงกายทิพย์แล้วเข้าถึงดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ดวงศีล ดวงสมาธิ ดวงปัญญา ดวงวิมุตติ ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ในกายทิพย์อีกจะเข้าถึง กายทิพย์ละเอียด
    เข้าถึงกายทิพย์ละเอียดแล้ว เข้าถึงดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ดวงศีล ดวงสมาธิ ดวงปัญญา ดวงวิมุตติ ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ จะเข้าถึงกายรูปพรหม
    เมื่อเข้าถึงกายรูปพรหมแล้วก็แล้ว เข้าถึงดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ดวงศีล ดวงสมาธิ ดวงปัญญา ดวงวิมุตติ ดวงวิมุตติญาณทัสสนะในกายรูปพรหมแล้ว จะเข้าถึงกายรูปพรหมละเอียด
    เข้าถึงดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ดวงศีล ดวงสมาธิ ดวงปัญญา ดวงวิมุตติ ดวงวิมุตติญาณทัสสนะในกายรูปพรหมละเอียดแล้ว จะเข้าถึงกายอรูปพรหม
    เมื่อเข้าถึงดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ดวงศีล ดวงสมาธิ ดวงปัญญา ดวงวิมุตติ ดวงวิมุตติญาณทัสสนะในกายอรูปพรหม จะเข้าถึงกายอรูปพรหมละเอียด
    เข้าถึงดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ดวงศีล ดวงสมาธิ ดวงปัญญา ดวงวิมุตติ ดวงวิมุตติญาณทัสสนะในกายอรูปพรหมละเอียดแล้ว จะเข้าถึงกายธรรม
    เมื่อเข้าถึงกายธรรมแล้ว ตาธรรมกายก็เห็น กายมนุษย์ กายมนุษย์ละเอียด กายทิพย์ กายทิพย์ละเอียด กายรูปพรหม กายรูปพรหมละเอียด กายอรูปพรหม กายอรูปพรหมละเอียด ทั้ง 8 กายนี้ ทั้งเห็นทั้งรู้ เห็นด้วยตาธรรมกาย รู้ด้วยญาณของธรรมกาย ญาณมีแค่นี้
     

    แต่กายมนุษย์ ไม่มีญาณ มีแต่ดวงวิญญาณ
    กายรูปพรหม กายรูปพรหมละเอียด ไม่มีญาณ มีแต่ดวงวิญญาณ
    ในกายอรูปพรหม กายอรูปพรหมละเอียด ก็ไม่มีญาณ มีแต่ดวงวิญญาณทั้งนั้น
    พอเข้าถึงกายธรรม กายธรรมละเอียด ก็มีญาณ
    ที่เรียกว่า  "ญาณ" ก็แปลว่ารู้   "ดวงวิญญาณ" ก็แปลว่ารู้   ต่างกันโดยประการไฉน ?

    ธรรมที่เรียกว่า ดวงวิญญาณนั่นแหละ  เล็กเท่าดวงตาดำข้างใน ใสเกินใส  อยู่ในกลางดวงจิต  บริสุทธิ์สนิทอยู่กลางดวงจิตนั้น  

    ดวงจิตอยู่ที่ไหน  หทยคูหาสยจิตฺตํ  จิตมีถ้ำคือเนื้อหัวใจเป็นที่อยู่ อยู่ในเบาะน้ำเลี้ยงหัวใจ  ดวงจิตอยู่ที่นั่น  ดวงจิตอยู่ที่ไหน ดวงวิญญาณอยู่ที่นั่น

    ในกลางดวงจิตนั้น รู้อะไรก็รู้ตลอด

    ตามากระทบรูปก็รู้ ดวงวิญญาณมันรู้
    หูกระทบเสียง ดวงวิญญาณมันรู้
    กลิ่นกระทบจมูก ดวงวิญญาณมันรู้
    รสกระทบลิ้น ดวงวิญญาณมันรู้
    กายกระทบสัมผัส ดวงวิญญาณมันรู้
    ใจกระทบอารมณ์ ดวงวิญญาณมันรู้
    นั่นรู้อย่างหน้าที่ของดวงของดวงวิญญาณ  รู้เพราะมีอายตนะ รู้ตามอายตนะ  เหนืออายตนะไปนั่นรู้ไม่ได้   คนตาบอดรู้จักที่ปัสสาวะ ที่อุจจาระ  ที่นอนที่กินของมันละก็  ไม่ต้องไปจูงมันดอก มันคลำของมันไปได้  อย่างคนตาบอดนั่นแหละฉันใด  ความรู้ของดวงวิญญาณก็รู้อย่างคนตาบอดนั้น ตาเขาทำให้แล้ว  หู เขาทำให้แล้ว จมูก ลิ้น กาย ใจ เขาทำให้แล้ว  ดวงวิญญาณก็ตรวจอายตนะทั้ง 6 นี้เท่านั้น  ไม่มีหู ตา  อะไรก็ไม่รู้  อ้ายผิดถูกมันก็ไม่รู้  อ้ายดวงวิญญาณเหมือนกัน มันเปื่อยของมันไปอย่างนั้นแหละ   รู้ผิดเป็นถูก รู้ถูกเป็นผิดของมันไปตามเรื่อง  ดวงวิญญาณเป็นอย่างนั้น ไม่ใช่รู้ด้วยปัญญา

    รู้ด้วยปัญญา รู้จริงรู้ชัด   แต่รู้ด้วยญาณละก็อีกเรื่องหนึ่ง  รู้ด้วยญาณนั้นน่ะรู้ด้วยธรรมกาย  ญาณของธรรมกายเป็นอย่างไร  โอ ผิดกันกับดวงวิญญาณ

    ใจของธรรมกายเป็นอย่างไร   ใจของธรรมกายมีอย่างเดียวกัน   เห็น จำ คิด รู้ 4 อย่าง เป็นใจ   มีเห็น มีจำ มีคิด มีรู้  รู้นั้นก็ตรงกับดวงวิญญาณ  อ้ายคิดนั้นก็ตรงกับดวงจิต อ้ายจำนั้นก็ตรงกับดวงใจ  อ้ายเห็นนั้นก็ตรงกับดวงกาย   เห็น จำ คิด รู้ หยุดเป็นจุดเดียวกันก็มีความรู้   นี้มันผิดกันตรงไหน มันเห็นเหมือนกัน  จำเหมือนกัน  คิดเหมือนกัน  รู้เหมือนกัน  ผิดกันตรงนี้

    พอถึงธรรมกายแล้ว  ดวงเห็นขยายส่วนออกไป   หน้าตักธรรมกายโตเท่าไหน ดวงเห็นขยายออกไปวัดผ่าเส้นศูนย์กลางเท่านั้น กลมรอบตัว    เมื่อดวงเห็นแผ่ออกไปเท่าใดแล้ว ดวงจำ ดวงคิด ดวงรู้ ก็แผ่ออกไปเท่ากัน   ดวงใจออกไปเท่าใด ดวงคิดก็แผ่ออกไปเท่ากัน   ดวงคิดแผ่ออกไปเท่าใด ดวงรู้ที่เรียกว่าดวงวิญญาณ ตรงกับ ดวงวิญญาณของมนุษย์ ก็แผ่ออกไปเท่ากัน  เท่าหน้าตักธรรมกาย กลมรอบตัว  4 ชั้นซ้อนกันอยู่     ชั้นนอกคือดวงเห็น  ชั้นในเข้าไปคือดวงจำ  ชั้นในเข้าไปคือดวงคิด  ชั้นในเข้าไปคือดวงรู้  รู้นั้นต้องรู้ตรงนั้นแหละ  เมื่อขยายส่วนเท่านั้นละก็ เขาเรียกว่า ญาณ   ถ้ายังไม่ขยายส่วนละก็ เขาเรียกว่า ดวงวิญญาณ  ถ้าขยายส่วนออกไปรูปนั้นละก็เรียกว่า ญาณ   ตั้งแต่มีธรรมกายก็มีญาณทีเดียว  นี่ญาณกับดวงวิญญาณผิดกันดังนี้  ไม่ใช่อย่างเดียวกัน ไม่ใช่อันเดียวกัน  คนละอันทีเดียว

     

    รู้อย่างเดียว  รู้ด้วยวิญญาณกับรู้ด้วยญาณนั้นต่างกันอย่างไร ?

    ต่างกันไกล  รู้ด้วยดวงวิญญาณ รู้เป็นนิจจัง สุขัง อัตตา

    รู้ด้วยญาณนั่นรู้เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา   รู้ว่ามนุษย์มีขันธ์ 5 รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ

    กายมนุษย์ละเอียด ก็มีขันธ์ 5 รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
    กายทิพย์ ก็มีขันธ์ 5 รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
    กายทิพย์ละเอียด ก็มีขันธ์ 5 รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
    กายรูปพรหม ก็มีขันธ์ 5 รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
    กายรูปพรหมละเอียด ก็มีขันธ์ 5 รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
    กายอรูปพรหมละเอียด ก็มีขันธ์ 5 รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
     

    ที่รู้ด้วยญาณนั้นน่ะรู้ได้อย่างไร ?

    รู้ด้วยญาณ รู้ว่ากายมนุษย์ทั้งหยาบทั้งละเอียดเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

    เป็นอนิจจังเป็นไฉน ? ไม่คงทนอยู่ที่เปลี่ยนแปรผันไป

    เป็นทุกข์นั้นเป็นไฉน  ถึงซึ่งความลำบาก ไม่สบาย   เบญจขันธ์ทั้ง 5 มีอยู่ตราบใด ไม่มีความสบาย  มีเย็น มีร้อนเป็นต้น เดือดร้อนอยู่เสมอ  ด้วยความเบียดเบียน 6 อย่างนี้ เย็น ร้อน หิว กระหาย ปวดอุจจาระ ปัสสาวะ ไม่มีสุข  เบียดเบียนอยู่เสมอ    รู้ว่าเบญจขันธ์ทั้ง 5 เป็นทุกข์ เราจะบังคับได้ไหมล่ะ ให้เป็นสุข  ไม่ให้เป็นทุกข์ บังคับไม่ได้  ไม่อยู่ในบังคับบัญชาของใคร ที่ไม่อยู่ในบังคับบัญชาของใครนั้นเรียกว่า ไม่ใช่ตัว เรียกว่าอนัตตา  เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาอยู่เช่นนี้  รู้ด้วยญาณ เห็นด้วยตาธรรมกาย

    เมื่อเห็นด้วยตาธรรมกายว่ากายมนุษย์  กายมนุษย์ละเอียดเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา  แล้วก็อะไรเล่าเป็นแก่นสาร ถ้าเห็นว่าอ้ายเกิดนี่มันตัวทุกข์แท้ๆ เป็นทุกข์ทีเดียว อ้ายเกิดนี่มันตัวทุกข์แท้ๆ ไม่เพลินเสีย อ้ายเรื่องเกิดเป็นทุกข์ทีเดียว อ้ายเกิดไม่ใช่ลำพังเกิด  เหตุให้เกิดมีอยู่คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา เป็นเหตุให้เกิด เมื่อไปเห็นเหตุที่เกิดแล้ว มันเกิดขึ้นแล้วก็ต้องมีดับ  ที่ว่าเกิดไม่มีดับเลยน่ะเป็นอันไม่มี มีดับ ดับเป็นนิโรธ จะเข้าถึงซึ่งความดับไม่มี นี่เห็นด้วยตาธรรมกาย รู้ชัดด้วยญาณของธรรมกาย ถ้าว่าถูกส่วนเข้าถึงขนาดเช่นนี้ละก็ ธรรมกายโคตรภูจะกลับเป็นโสดา

    เมื่อตาธรรมกายพระโสดา ญาณธรรมกายของพระโสดาเห็นทุกข์ เหตุเกิดทุกข์ ความดับทุกข์ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ เห็นไม่เที่ยงเป็นทุกข์ในกายทิพย์ เห็นทุกข์ เห็นเหตุเกิดทุกข์ เห็นความดับทุกข์ เห็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ในกายทิพย์ละเอียดเข้าแล้ว ถึงขนาดเข้า จะกลับจากพระโสดาเป็นพระสกทาคา

    ตาธรรมกายพระสกทาคา ทั้งหยาบทั้งละเอียดรู้  นัยน์ตาธรรมกายพระสกทาคา เห็นทุกข์ เ หตุเกิดทุกข์ ความดับทุกข์ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ในกายรูปพรหม รูปพรหมละเอียด ตามความเป็นจริงถูกลักษณะเข้า กลับเป็นพระอนาคา

    เมื่อตาของพระอนาคา ญาณของพระอนาคาเห็นรู้ ทุกข์สัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มัคคสัจ ในกายอรูปพรหม อรูปพรหมละเอียดหนักเข้า เห็นตามความจริงเข้าถูกหลักถูกส่วนเข้าจริงๆ ถึงขนาด ก็จะกลับจากพระอนาคาทั้งหยาบทั้งละเอียด เป็นพระอรหัต

    เมื่อถึงพระอรหัตละเอียดแล้ว สีติภูโต เป็นผู้เย็นแล้ว มีอาสวะสิ้นแล้ว กิจที่จะต้องทำไม่ต้องทำแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มีอีก

    * พระเดชพระคุณ พระภาวนาโกศลเถร (สด จนฺทสโร) ให้โอวาทภิกษุสามเณรในพระอุโบสถ หลังจากทำวัตรแล้ว เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2498



    สำเนาบันทึกจาก http://www.dhammakaya.org/
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 29 มิถุนายน 2015
  13. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,220
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,106
    ค่าพลัง:
    +70,443
    คำกึ่งคาถาว่า

    ปหาย มานุสํ เทหํ เทวกายํ ปริปูเรสฺสนฺติ

    ละกายที่เป็นของมนุษย์แล้ว จักยังเทวกายให้เต็มรอบ นั้น ย่อมแสดงว่า เทวกายหรือ ทิพยกายมีหลายชั้น คือที่เต็มรอบ คือไม่พร่องก็มี ที่ไม่เต็มรอบ ยังพรอ่งก็มี

    แบ่งออกเป็น ชั้นอ่อน ชั้นกลาง และชั้นแก่

    ชั้นอ่อน คือชั้นที่ยังไม่บริบูรณ์ ยังไม่เต็มรอบนี้ ควรจะได้แก่พวกนิรยาบาย ชั้นกลางควรจะได้แก่ชั้นภูมิเทวดา
    ชั้นแก่คือชั้นบริบูรณ์ ควรจะได้แก่เทวดาที่สูงกว่านั้นขึ้นไป


    หรือจะเทียบในพระกายของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ชั้นแก่ ได้แก่พระกายที่ตรัสรู้แล้ว เช่น
    ทรงทิพยจักขุ ทิพพโสต ทิพยกาย ที่ไปโปรดคนโน้นคนนี้ ชั้นกลาง เช่นที่
    ทรงพระสุบินในคืนวันใกล้จะตรัสรู้ ชั้นอ่อน ในพระกายของพระสัมมาสัมพุทธ
    เจ้า ในพุทธประวัติไม่มีแสดงถึงธรรมอันเป็นเหตุให้ทิพยกายบริบูรณ์นั้น
    ตามพระคาถานั้น ก็ได้แก่การถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ คือเจริญพุทธคุณ
    นั่นเอง.




    ธรรมกาย
    ธรรมกาย คือกายธรรม นี้เป็นชั้นละเอียด เมื่อกล่าวด้วยเรื่องกาย
    ธรรม จำเป็นจะต้องอธิบายคำว่า “ธรรม” ในศัพท์นี้ให้เข้าใจก่อน ธรรม
    หรือธาตุนั้น ตามพยัญชนะ แปลว่า “ทรง” เมื่อถือเอาคำว่า “ทรง” เป็น
    ประมาณ ก็ได้ความตรงกันข้ามว่า สภาพที่ทรงเป็นธรรม สภาพที่ไม่ทรง
    ก็ไม่เป็นธรรม คือเป็นอธรรม แม้ในสภาพที่เป็นธรรม ซึ่งแปลว่า “ทรง”
    นั้น เมื่อเพ่งตามอาการแล้ว ก็มีอยู่ ๒ อย่าง คือ
    ๑. ทรงอยู่อย่างนั้น ไม่แปรผันเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น ซึ่งเรียก
    ว่า อสังขตธรรม ธรรมที่ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง หรือ อมตธรรม ธรรมที่ไม่
    ตาย อย่างหนึ่ง
    ๒. ทรงอยู่ชั่วคราว แล้วก็เปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นไป เช่น ร่างกาย
    ของคน ของสัตว์ หรือสิ่งประดิษฐ์ทุกๆ ชนิดอย่างหนึ่ง อย่างหลังนี้ ท่าน
    ตอนที่ ๑ ขั้นสมถภาวนาและอนุปัสสนา 21
    เรียกว่า สังขตธรรมบ้าง สังขารธรรมบ้าง เพราะเป็นธรรมที่มีปัจจัย
    ปรุงแต่งขึ้น เรียกว่า มตธรรม ธรรมที่ตายสลายไปบ้าง.
    คำว่า ธรรมกาย ในที่นี้เข้าใจว่า หมายเอา อสังขตธรรม หรือ
    อมตธรรม ที่เป็นส่วน โลกุตตรธาตุ หรือ โลกุตตรธรรม ไม่ใช่
    โลกิยธาตุ หรือ โลกิยธรรม.”
     
  14. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,220
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,106
    ค่าพลัง:
    +70,443
    หลักฐานธรรมกายในประวัติศาสตร์พุทธศาสนา





    คำว่า "ธรรมกาย" มีปรากฏเป็นหลักฐานในพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทหลายแห่ง เท่าที่ปรากฏค้นพบคือ ในพระไตรปิฎก ๔ แห่ง ในอรรถกถา ๒๘ แห่ง ในฎีกา ๗ แห่ง ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค ๒ แห่ง ในวิสุทธิมรรคมหาฎีกา ๓ แห่ง ในคัมภีร์มิลินทปัญหา ๑ แห่ง ในหนังสือปฐมสมโพธิกถา ๑ แห่ง ในหนังสือพระสมถวิปัสสนาแบบโบราณ ๑ แห่ง ในที่นี้จำนำมาแสดงที่ปรากฏในพระไตรปิฎกและในคัมภีร์ต่างๆ พอสังเขป


    หลักฐานชั้นพระไตรปิฎก
    ในพระไตรปิฎกฉบับบาลีอักษรไทย (๒๕๒๕) ซึ่งจัดพิมพ์โดยมหามกุฎราชวิทยาลัย
    มีปรากฏคำว่า "ธรรมกาย" อยู่ ๔ แห่ง โดยส่วนใหญ่อยู่ในพระสูตร คือ


    ๑. ที.ปา อัคคัญญสูตร ๑๑/๕๕/๙๑-๙๒

    ในทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค หน้า ๙๒ ฉบับบาลี ปี พ.ศ. ๒๕๒๕ ได้กล่าวถึง "ธรรมกาย" ว่า "ตถาคตสฺส เหตํ วาเสฏฺฐ อธิวจนํ ธมฺมกาโย อิติปี พฺรหฺมกาโย อิติปิ ธมฺมภูโต อิติปิ พฺรหฺมภูโต อิติปิฯ"

    "ดูก่อน วาเสฏฐะ อันว่า คำว่า "ธรรมกาย" ก็ดี "พรหมกาย" ก็ดี "ธรรมภูต" ก็ดี ผู้ที่เป็นธรรมก็ดี หรือ "พรหมภูตะ" ผู้ที่เป็นพรหมก็ดี นี้แหละเป็นชื่อของเราตถาคต" จากข้อความนี้แสดงว่า ในประโยคดังกล่าว เป็นคำที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสกับสามเณรวาเสฏฐะว่า "ธรรมกาย" คือชื่อหนึ่งของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า


    ๒. ขุ.อป. มหาปชาบดีโคตรมีเถรีอปทาน ๓๓/๑๕๗/๒๘๔

    ในขุททกนิกาย อปทาน เล่มที่ ๓๓ ข้อ ๑๕๗ หน้า ๒๘๔ บรรทัดที่ ๑๒ ฉบับบาลี ปี ๒๕๒๕ ได้กล่าวถึง "ธรรมกาย" ไว้ว่า

    "สํวทฺชโตยํ สุคต รูปกาโย มยา ตว อานนฺทิโย ธมฺมกาโย มม สํวทฺธิโต ตยาฯ"

    "ข้าแต่พระสุคต รูปกายของพระองค์นี้ อันหม่อมฉันยังให้เติบโตแล้ว แต่ "พระธรรมกาย" อันน่ารื่นรมย์ของหม่อมฉัน พระองค์ให้เติบโตแล้ว"


    ๓. ขุ.อป. ปัจเจกพุทธาปทาน ๓๒/๒/๒๐

    ในขุททกนิกาย อปทาน เล่มที่ ๓๒ ข้อ ๒ หน้า ๒๐ บรรทัดที่ ๙ ฉบับบาลี ปี ๒๕๒๕ ได้กล่าวถึงว่า

    "...ภวนฺติ ปจฺเจกชินา สยมฺภู มหนฺต ธมฺมา พหุธมฺมกายา...

    "พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ผู้สยมภู ทรงเป็นผู้มีธรรมะอันใหญ่ มี "ธรรมกาย" มาก"


    ๔. ขุ.อป. อัตถสันทัสสกเถราปทาน อปทาน ๓๒/๑๓๙/๒๔๓

    ในขุททกนิกาย อปทาน เล่มที่ ๓๒ ข้อ ๑๓๙ หน้า ๒๔๓ บรรทัดที่ ๑ ฉบับบาลี ปี ๒๕๒๕ ได้กล่าวถึง "ธรรมกาย" ว่า

    "...ธมฺมกายญฺจ ทีเปนฺติ เกวลํ รตนากรํ วิโกเปตํ น สกฺโกนฺตี โก ทิสฺวา นปฺปสิทติฯ"

    "บุคคลใดยัง "ธรรมกาย"ให้สว่างแล้วทั้งสิ้น อันเป็นบ่อเกิดแห่งรัตนะทั้งหลาย อันบุคคลทั้งหลายไม่มีผู้ใดจะทำร้ายได้ ใครเล่าเมื่อเห็นแล้วจะไม่ปลาบปลื้มยินดีนั้น ไม่มี"


    หลักฐานชั้นอรรถกถา
    ๑. วินย. อ. สมนฺตปาสาทิกา เวรญฺชกณฺฑวณฺณนา ฉบับมหาจุฬาฯ หน้า ๑๑๖-๑๑๗
    ๒. ที.อ. สุมงฺคลวิลาสินี พฺรหฺมชาลสุตฺตวณฺณนา ฉบับมหาจุฬาฯ หน้า ๓๔
    ๓. ที.อ. สุมงฺคลวิลาสินี อคฺคญฺญสุตฺตวณฺณนา ฉบับมหาจุฬาฯ หน้า ๕๐
    ๔. สํ.อ. สารตฺถปฺปกาสินี ฉบับมหาจุฬาฯ หน้า ๓๔๒-๓๔๓(อรรถกถาวักกลิสูตร)
    ๕. สํ.อ. สารตฺถปฺปกาสินี จกฺกวตฺติสุตฺตวณฺณนา ฉบับมหาจุฬาฯ หน้า ๒๒๒-๒๒๓
    ๖. ขุ.อ. ปรมตฺถโชติกา มงฺคลสุตฺตวณฺณนา ฉบับมหาจุฬาฯ หน้า ๙๕
    ๗. ขุ.อุ.อ. ปรมตฺถทีปนี พาหิยสุตฺตวณฺณนา ฉบับมหาจุฬาฯ หน้า ๙๐, ๙๑
    ๘. ขุ.อุ.อ. ปรมตฺถทีปนี โสณสุตฺตวณฺณนา ฉบับมหาจุฬาฯ หน้า ๓๓๒-๓๓๓
    ๙. ขุ.อิติ.อ. ปรมตฺถทีปนี นิทานวณฺณนา ฉบับมหาจุฬาฯ หน้า ๑๓
    ๑๐. ขุ.อิติ.อ. ปรมตฺถทีปนี ปญฺจปุพฺพนิมิตฺตสุตฺตวณฺณนา ฉบับมหาจุฬาฯ หน้า ๒๙๑
    ๑๑. ขุ.อิติ.อ. ปรมตฺถทีปนี อคฺคปฺปสาทสุตฺตวณฺณนา ฉบับมหาจุฬาฯ หน้า ๓๒๐-๓๒๑
    ๑๒. ขุ.อิติ.อ. ปรมตฺถทีปนี สงฺฆาฏิกณฺณสุตฺตวณฺณนา ฉบับมหาจุฬาฯ หน้า ๓๓๔
    ๑๓. ขุ.สุตฺต.อ. ปรมตฺถโชติกา ธนิยสุตฺตวณฺณนา ฉบับมหาจุฬาฯ หน้า ๓๙
    ๑๔. ขุ.สุตฺต.อ. ปรมตฺถทีปนี อุปสีวสุตฺตวณฺณนา ฉบับมหาจุฬาฯ หน้า ๔๔๓
    ๑๕. ขุ.วิมาณ.อ. ปรมตฺถทีปนี รชฺชุมาลาวิมานวณฺณนา ฉบับมหาจุฬาฯ หน้า ๒๔๖
    ๑๖. ขุ.เถร.อ. ปรมตฺถทีปนี กงฺขาเรวตเถรคาถาวณฺณนา (ปฐโม ภาโค) ฉบับมหาจุฬาฯ หน้า ๕๑
    ๑๗. ขุ.เถร.อ. ปรมตฺถทีปนี สิริวฑฺฒเถรคาถาวณฺณนา (ปฐโม ภาโค) ฉบับมหาจุฬาฯ หน้า ๑๖๗
    ๑๘. ขุ.เถร.อ. ปรมตฺถทีปนี นาคิตฺเถรคาถาวณฺณนา (ปฐโม ภาโค) ฉบับมหาจุฬาฯ หน้า ๒๘๕
    ๑๙. ขุ.เถร.อ. ปรมตฺถทีปนี เมตฺตชิตเถรคาถาวณฺณนา (ปฐโม ภาโค) ฉบับมหาจุฬาฯ หน้า ๓๐๔
    ๒๐. ขุ.เถร.อ. ปรมตฺถทีปนี เสนกตฺเถรคาถาวณฺณนา (ทุติโย ภาโค) ฉบับมหาจุฬาฯ หน้า ๑๙
    ๒๑. ขุ.เถร.อ. ปรมตฺถทีปนี สรภงฺคเถรคาถาวณฺณนา (ทุติโย ภาโค) ฉบับมหาจุฬาฯ หน้า ๑๕๘
    ๒๒. ขุ.เถร.อ. ปรมตฺถทีปนี เขนฺตาเถรีคาถาวณฺณนา ฉบับมหาจุฬาฯ หน้า ๓๕
    ๒๓. ขุ.เถร.อ. ปรมตฺถทีปนี มหาปชาบดีโคตมีเถรีคาถาวณฺณนา ฉบับมหาจุฬาฯ หน้า ๑๕๘
    ๒๔. ขุ.มหานิทฺ อ. สทฺธมฺมปชฺโชติกา ติสฺสเมตฺเตยฺยสุตฺตนิทฺเทสวณฺณนา ฉบับมหาจุฬาฯ หน้า ๒๖๓
    ๒๕. ขุ.จูฬนิทฺ อ. สทฺธมฺมปชฺโชติกา อุปสีวมาณวกสุตฺตนิทฺเทสวณฺณนา ฉบับมหาจุฬาฯ หน้า ๓๑
    ๒๖. ขุ.อป.อ. วิสุทฺธชนวิลาสินี ปจฺเจกพุทฺธาปทานวณฺณนา ฉบับมหาจุฬาฯ หน้า ๒๔๕
    ๒๗. ขุ.พุทฺธ.อ. มธุรตฺถวิลาสินี รตนจงฺกมนกณฺฑวณฺณนา ฉบับมหาจุฬาฯ หน้า ๗๔
    ๒๘. ขุ.จริยา.อ. ปรมตฺถทีปนี ปกิณณกกถา ฉบับมหาจุฬาฯ หน้า ๓๒๔


    หลักฐานชั้นฎีกา
    ๑. วินย. ฎีกา. ตติยสงฺคีติกถาวณฺณนา ฉบับมหาจุฬาฯ เล่ม ๑ หน้า ๑๕๖-๑๕๗
    ๒. วินย.ฎีกา. เวรญฺชกณฺฑวณฺณนา ฉบับมหาจุฬาฯ เล่ม ๑ หน้า ๒๖๓
    ๓. วินย.ฎีกา. เวรญฺชกณฺฑวณฺณนา ฉบับมหาจุฬาฯ เล่ม ๑ หน้า ๓๘๗-๓๘๘
    ๔. วินย.ฎีกา. เวรญฺชกณฺฑวณฺณนา ฉบับมหาจุฬาฯ เล่ม ๑ หน้า ๔๓๙
    ๕. วินย.ฎีกา. ทุติยปาราชิก วินีตวตฺถุวณฺณนา ฉบับมหาจุฬาฯ เล่ม ๒ หน้า ๒๐๓
    ๖. วินย.ฎีกา. โสณกุฏิกณฺณวตฺถุกถาวณฺณนา ฉบับมหาจุฬาฯ เล่ม ๓ หน้า ๓๖๒-๓๖๓
    ๗. ม.ฎี. ลีนตฺถปฺปกาสินี มชฺฌิม-อุปริปณฺณาสฎีก��� ฉบับมหาจุฬาฯ หน้า ๕๐


    หลักฐานจากคัมภีร์และหนังสืออื่นๆ
    ๑. วิสุทธิมรรค
    (๑) วิสุทฺธิมคฺคปกรณ พุทฺธานุสฺสติกถา ฉบับมหาจุฬาฯ เล่ม ๑ หน้า ๒๓๐
    (๒) วิสุทฺธิมคฺคปกรณ มรณสฺสติกถา ฉบับมหาจุฬาฯ เล่ม ๑ หน้า ๒๕๕-๒๕๖

    ๒. วิสุทธิมรรคมหาฎีกา
    (๑) วิสุทฺธิ. ฎีกา ปรตฺถมญฺชุสา พรรณนา อนุสสตินิเทศ (พุทธานุสติ) ภาค ๒ ฉบับภูมิพโลภิกขุ บาลี-ไทย หน้า ๔๙๔-๔๙๗
    (๒) วิสุทฺธิ.ฎีกา ปรตฺถญฺชุสา อนุสสติกัมมัฏฐานนิเทศ (มรณสติ) ภาค ๓ ฉบับภูมิพโลภิกขุ บาลี-ไทย หน้า ๒๐-๒๒
    (๓) วิสุทฺธิ.ฎีกา ปรตฺถมญฺชุสา พรรณนาอารุปปนิเทศ (ปกิณกกถา) ภาค ๓ ฉบับภูมิพโลภิกขุ บาลี-ไทย หน้า ๔๙๗-๔๙๘

    ๓. คัมภีร์วิสุทธิมรรคโบราณ
    แต่งโดยพระพุทธโฆษาจารย์ ประมาณ พ.ศ. ๑๐๐๐ หน้า ๒๘๒

    "...อันว่าสมเด็จพระสรรเพชญ์พุทธองค์ ผู้ทรงพระสวัสดิภาคย์เป็นอันงามนั้น พระองค์มีพระรูปพระโฉม พระสรีรกายอันวิจิตรด้วยทวัตติงสะมหาบุรุษลักษณะ (ลักษณะสำหรับพระมหาบุรุษ ๓๒) และพระอสีตยานุพยัญชนะ ๘๐ ทัศ ประเสริฐด้วย"พระธรรมกาย" อันบริบูรณ์ด้วยแก้ว อันกล่าวแล้วคือ พระสีลขันธ์ สมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์ วิมุตติขันธ์ วิมุตติญาณทัสสนะขันธ์ อันบริสุทธิ์บริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง..."

    ๔. คัมภีร์มิลินทปัญหา
    เรื่องพุทธนิทัสสนปัญหา หน้า ๑๑๓

    ๕. หนังสือพระปฐมสมโพธิกถา
    พระนิพนธ์ในสมเด็จกรมพระปรมานุชิตชิโนรส ตอนมารพันธปริวรรต ปริจเฉทที่ ๒๘ หน้า ๕๐๙

    ๖. หนังสือพระสมถวิปัสสนาแบบโบราณ
    "...จึงตั้งจิตต์พิจารณาดู "ธรรมกาย"ในรูปกาย ด้วยการดำเนินในโพชฌงค์ทั้ง ๗ ประการ จนจิตต์รู้แจ้งแทงตลอดรูปธรรมและนามธรรมได้แล้ว จักมีตนเป็นที่พึ่ง จักมีธรรมเป็นที่พึ่ง ด้วยประการฉะนี้"

    "พระโยคาวจรผู้รู้ว่า "ธรรมกาย" ดำรงอยู่ในหทัยประเทศแห่งสรรพภูติ ทำให้หมุนดังว่าหุ่นยนต์ ท่านจึงตั้งใจเจริญพระวิปัสสนาญาณ เพื่อให้ถึง "ธรรมกาย" เป็นที่พึ่งอันยอดเยี่ยมโดยสิ้นเชิง ถึงสถานอันสงบระงับ ประเสริฐเที่ยงแท้ เพราะความอำนวยของ "ธรรมกาย" นั้นเป็นอมตะ..."

    ๗. คัมภีร์ศรีมาลาเทวี สีหนาทสูตร
    "บุคคลใดไม่มีความสงสัยว่า ตถาคตเจ้าได้หลุดพ้นจากิเลสทั้งปวงแล้ว และ "ธรรมกาย" นั้นย่อมไม่มีการเกิด ไม่มีการแก่ ไม่มีการเจ็บ ไม่มีการตาย คงที่แน่นอน สงบตลอดกาล บริสุทธิ์ บริบูรณ์ ปราศจากกิเลสเครื่องเศร้าหมองทั้งปวง ถึงพร้อมด้วยพุทธคุณทั้งปวง จะนับจะประมาณมิได้ ประหนึ่งเม็ดทราบในท้องพระแม่คงคาฉะนั้น สมบูรณ์ไปด้วยวิมุตติญาณทัสสนะ แต่ไม่ปรากฏต่อสายตาของคนทั้งปวง "ธรรมกาย" ของพระตถาคตเจ้า เมื่อยังไม่พ้นจากกิเลสย่อมถูกกล่าวถึงในนามของตถาคตครรภะ"

    ๘. คัมภีร์ ลิ่ว จู่ ถั๋น จิง วู้ ซื่อ สมัยราชวงศ์ถัง
    "ธรรมกาย" เป็นทางเอกที่ไร้รูป (ขันธ์ ๕) ใสสะอาด บริสุทธิ์ เป็นเรื่องที่ขบคิดด้วยปัญญาไม่ได้ พระอาจารย์ปรากฏรูปขึ้นยามไร้รูป สร้างชื่อขึ้นยามไร้ชื่อ สร้างประโยชน์เพื่อไปมาอิสระ ไม่มีติดขัด ไม่เกี่ยวข้องแม้ใยไหมกิเลสไม่สามารถมาย้อมเกาะจิตในได้ และในยามปฏิบัติธรรมได้ถูกต้อง จะได้พบท่านอาจารย์ใหญ่ ปรากฏธรรมจักขุ เห็น "ธรรมกาย" ที่กลมใส บริสุทธิ์"

    "...มาเถอะกัลยาณมิตรทั้งหลาย เรื่องประพฤติธรรมนี้ ต้องเริ่มที่ใจของเรา ไม่ว่าเวลาใดๆ ตรึกนึกภาวนา

    หลักฐานจากศิลาจารึก
    ๑. ศิลาจารึกพระธรรมกาย
    ...สพฺพญฺญูตญาณปวรสีลํ นิพานรมฺมณํ ปวรวิลสิ ตเกส จตูถชานาปวร ลลาต วชฺชิรสมาปตฺติ ปวรอุ... ...อิมํ ธมฺมกายพุทฺธลกฺขณํ โยคาวจรกุลปุตฺเตน ติกฺขญาเณน สพฺพญฺญุพุทฺธภาวํ ปตฺเถนฺเตน ปุนปฺปุนํ อนุสฺสริตพฺพํฯ

    คำแปล "พระพุทธลักษณะคือ "พระธรรมกาย" มีพระเศียรอันเประเสริฐคือ พระนิพพาน อันเป็นอารมณ์แห่งผลสมาบัติ มีพระนลาฏอันเประเสริฐ คือจตุตถฌาน มีพระอุณาโลมอันประเสริฐ ประกอบด้วยพระรัศมี คือพระปัญญาในมหาวชิรสมาบัติ...
    พ.ศ. ๒๐๙๒ ภาษาไทย-บาลี อักษร ขอมสุโขทัย บัญชี/ทะเบียนวัตถุ/พล.๒ พบที่พระเจดีย์วัดเสือ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติพระนคร กรุงเทพฯ
    ข้อมูลอ้างอิงเพิ่มเติมจาก ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร

    ๒. ศิลาจารึกที่เมืองพิมาย
    นโมวุทฺธายนิรฺมมาณ (ธรฺมสามฺโภคมูรฺตฺตเย) ภาวาภาวทฺวยาตีโต (ทฺวยาตฺมาโยนิราตฺมก

    คำแปล "ขอความนอบน้อม จงมีแด่พระพุทธเจ้า ผู้มีนิรมาณกาย "ธรรมกาย" และสัมโภคกาย ผู้ล่วงพ้นภาวะและอภาวะทั้งสอง ผู้มีอาตมันเป็นสอง และหาอาตมันมิได้"
    เป็นศิลาจารึกภาษาสันสกฤต อักษรขอม มีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘ พบที่อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา ได้มีการถอดความและแปลแล้ว จัดพิมพ์ขึ้นเป็นตัวหนังสือเรื่อง "จารึกพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗" ปัจจุบันอยู่ที่หอสมุดวชิรญาณ (หอสมุดแห่งชาติกรุงเทพฯ)

    ๓. ศิลาจารึกที่ปราสาทพระขรรค
    "สมฺภารวิสฺตรวิภาวิตธรฺมกาย สมฺโภคนิรฺมฺมิติวปุรฺภควานฺวิภกฺต:"

    คำแปล "พระผู้มีพระภาค ผู้ประกอบด้วย " "พระธรรมกาย" อันพระองค์ยังให้เกิดขึ้นแล้วอย่างเลิศ ด้วยการสั่งสม (บุญบารมี) ทั้งสัมโภคกายและนิรมาณกาย"
    เป็นจารึกภาษาสันสกฤต

    ------------------------------------------------------------

    "ข้าแต่พระสุคต รูปกายของพระองค์นี้ อันหม่อมฉันยังให้เติบโตแล้ว แต่ "พระธรรมกาย" อันน่ารื่นรมย์ของหม่อมฉัน พระองค์ให้เติบโตแล้ว"
    (ขุ.อป. มหาปชาบดีโคตรมีเถรีอปทาน ๓๓/๑๕๗/๒๘๔)

    "พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ผู้สยมภู ทรงเป็นผู้มีธรรมะอันใหญ่ มีธรรมกายมาก"
    (ขุ.อป. ปัจเจกพุทธาปทาน ๓๒/๒/๒๐)

    "พระพุทธเจ้า ๗ พระองค์นี้ ทรงปราศจากตัณหา ไม่ทรงถือมั่น ทรงหยั่งถึงความสิ้นกิเลส เสด็จอุบัติโดยธรรมกาย ผู้คงที่"
    (ขุททกนิกาย เถรคาถา (๒๖/๓๖๕/๓๔๐))

    "พระพุทธเจ้า ทรงเสด็จอุบัติด้วยรูปกายที่สวนลุมพินี, เสด็จอุบัติด้วยพระธรรมกายที่ควงต้นโพธิ์."
    (อรรถกถาปฐมสมันตปาสาทิกา)

    "มีพระธรรมกายที่สถิตอยู่ภายในรูปกาย ที่สำเร็จมาจากรัตนะอันประเสริฐ อันทรงคุณานุภาพ มีศีลขันธ์ สมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์ วิมุตติขันธ์ วิมุตติญาณทัสสนขันธ์ ที่บริสุทธิ์ด้วยอาการทั้งปวง"
    (ฎีกาของวิสุทธิมรรคชื่อ ปรมัตถมัญชุสา ฉบับ มกุฏ. ๘/๘)


    ตรองดูเถิดท่านผู้มีกุศลปัญญา ธรรมกายเป็นพระนามของตถาคต เพราะตถาคตเข้าถึงธรรมกายด้วยการปฏิบัติ จึงบัญญัติว่า ธรรมกาย เป็นนามหนึ่งของพระตถาคตโดยแท้
     
  15. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,220
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,106
    ค่าพลัง:
    +70,443
    [​IMG]



    [​IMG]
     
  16. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,220
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,106
    ค่าพลัง:
    +70,443
    การแสดงศีล (สีลุทเทส)

    [​IMG]



    3 พฤศจิกายน 2497





    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส. (3 หน)

     

    สีลปริภาวิโต สมาธิ มหปฺผโล โหติ มหานิสํโส.  สมาธิปริภาวิตา ปญฺญา มหปฺผลา โหติ มหานิสํสา.  ปญฺญาปริภาวิตํ จิตฺตํ สมฺมเทว อาสเวหิ วิมุจฺจติ.  เสยฺยถีทํ กามาสวา ภวาสวา อวิชฺชาสวา.  ตตฺถ อปฺปมาเทน สมฺปาเทตพฺพนฺติ.

    ณ บัดนี้ อาตมภาพจักได้แสดงใน สีลุทเทส แสดงเรื่อง ศีลเป็นเหตุ มีสมาธิเป็น อานิสงส์ สมาธิเป็นต้นเหตุ มีปัญญาเป็นอานิสงส์ ปัญญาเป็นต้นเหตุ อบรมจิตให้หลุดพ้น จากอาสวะทั้งหลาย ในข้อนั้นท่านทั้งหลายพึงกระทำโดยความไม่ประมาทเถิดประเสริฐนัก ที่เกิดมาเป็นมนุษย์พบพุทธศาสนา สมเด็จพระบรมศาสดาทรงวางตำรับตำราไว้เป็นแบบแผน แน่นหนา ทรงตรัสเทศนาโปรดเวไนยสรรพสัตว์อยู่ 45 พรรษา เมื่อรวบรวมธรรมวินัย ไตรปิฎกของพระบรมศาสดาแล้ว ก็คงเป็น 3 คือ วินัยปิฎก สุตตันตปิฎก ปรมัตถปิฎก เรื่องนี้พระเถรานุเถระ มีพระมหาอริยกัสสปะเป็นประธาน ได้สังคายนาร้อยกรอง ทรงพระ ธรรมวินัยเป็นหลักฐาน เรียกว่า พระวินัย พระสูตร พระปรมัตถ์

    พระวินัย จัดเป็น ศีล ศีลมากนัก เป็น อปริยนฺตปาริสุทฺธิสีล ศีลของพระภิกษุไม่มี ที่สุดทีเดียว ศีลของอุบาสกอุบาสิกา มี 5 มี 8 มี 10 ตามหน้าที่ สามเณรมี 10

    ส่วนพระสูตรก็ตรัสเทศนามากอีกเหมือนกัน เรียกว่า พระสุตตันตปิฎก ยกเป็น พระสุตตันตปิฎกนั้น ถึง 21,000 พระธรรมขันธ์ ถ้าจะสรุปเข้าแล้ว ถ้าจะสรุปรวบรวมเข้า ก็เป็น สมาธิ สมาธิจัดเป็นภูมิไปมาก มีมากอีกเหมือนกัน แต่ว่า ว่าสั้นๆ แล้วก็สมาธิ

    พระปรมัตถปิฎก 42,000 พระธรรมขันธ์ ถ้าย่นลงเป็นสั้นๆ แล้ว ก็คือ ปัญญา ปัญญาก็แยกออกมากอีกเหมือนกัน

    เพราะฉะนั้น ศีล สมาธิ ปัญญา นี่แหละ เป็นหลักเป็นประธานของพระพุทธศาสนา ผู้ปฏิบัติควรศึกษาเสียให้รู้ศีลชัด รู้ศีลแล้ว ให้รู้จักสมาธิชัด ให้รู้จักปัญญาเสียให้ชัด บัดนี้ จักแสดงให้จำไว้เป็นข้อปฏิบัติ ตามวาระพระบาลีที่ยกขึ้นไว้เป็นนิเขปกถาว่า สีลปริภาวิโต สมาธิ สมาธิที่ศีลอบรมแล้ว มหปฺผโล โหติ มหานิสํโส ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก สมาธิปริภาวิตา ปญฺญา ปัญญาที่สมาธิอบรมแล้ว มหปฺผลา โหติ มหานิสํสา ย่อมมีผลมาก มี อานิสงส์มาก ปญฺญาปริภาวิตํ จิตฺตํ จิตที่ปัญญาอบรมแล้ว สมฺมเทว อาสเวหิ วิมุจฺจติ จิต หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลายโดยชอบเทียว เสยฺยถีทํ อย่างไรเล่า อาสวะทั้งหลายนั้น คือ กามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ เป็นอาสวะ 3 อาสวะมี 4 ในระหว่างอวิชชาสวะนั้น หน้า อวิชชาสวะ มีทิฏฐาสวะอีก อาสวะมี 4 แต่ท่านจัดไว้ในที่นี้มี 3 ตตฺถ อปฺปมาเทน สมฺปาเทตพฺพํ ในข้อท่านทั้งหลายพึงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมเถิด ประเสริฐนัก นี้เนื้อความ ของพระบาลี คลี่เป็นสยามภาษา ได้ความเท่านี้

    ต่อจากนี้จะอรรถาธิบายเป็นลำดับไปว่า สีลปริภาวิโต ศีลเจริญขึ้นแล้วเป็นไฉน เจริญ นั้นคืองอกขึ้นเจริญขึ้นแล้ว ศีลถ้าว่าปริยายหยาบๆ ก็คือ ศีล 5 เว้นจากการฆ่าสัตว์ ลักฉ้อ ประพฤติผิดในกาม พูดปด เสพสุรา ศีล 8 เว้นจากการฆ่าสัตว์ ลักฉ้อ ล่วงสัทธรรม ประเวณี พูดปด เสพสุรา บริโภคอาหารในเวลาวิกาล ฟ้อนรำ ขับร้อง ดีดสี ตีเป่าต่างๆ ทัดทรง ประดับประดาร่างกาย เสียบดอกไม้ของหอม เครื่องลูบไล้ให้เกิดยั่วยวนใจต่างๆ เหล่านี้ นั่งนอนอาสนะอันสูงใหญ่ ไม่สมควร นี้เป็นศีล 8 ศีล 10 เติมเว้นหยิบเงินและทอง รับเงิน และทองไว้ นี่เป็นศีล 10 นี่โดยปริยาย หากว่าขั้นเข้าถึงภายใน ถึงเจตนาที่พระองค์ทรงรับ สั่งว่า เจตนาสีลํ เจตนาเป็นศีล เจตนาความคิดอ่านทางใจ คิดดีคิดชั่ว คิดไม่ดีไม่ชั่ว เรียกว่า เจตนาศีล ที่จะบริสุทธิ์ได้ก็เพราะอาศัยเจตนา เจตนามีภายในก่อน จึงรักษาศีลได้ ศีลแล้วแต่ เจตนา เจตนาเป็นศีล ศีลความคิดอ่านทางใจ คำว่า ใจ นั้นคืออะไร เห็นอย่างหนึ่ง จำอย่าง หนึ่ง คิดอย่างหนึ่ง รู้อย่างหนึ่ง เป็นจุดเดียวกัน เขาเรียกว่าใจ เห็นอย่างหนึ่ง จำอย่างหนึ่ง คิดอย่างหนึ่ง รู้อย่างหนึ่ง รวมเข้าเป็นจุดเดียว เรียกว่าใจ ใจนั่นแหละที่เกิดของใจนั้นอยู่ ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ใสบริสุทธิ์เท่าฟองไข่แดงของไก่ ที่ตั้งอยู่กลางใจ มนุษย์นี้ สะดือทะลุหลัง ขึงด้ายกลุ่มเส้นตึง ขวาทะลุซ้าย ขึงด้ายกลุ่มเส้นตึงกลางสะดือ เชียวนะ เจาะให้ทะลุตรงกัน ไม่ให้ค่อนล่าง ค่อนบนละ ไม่ให้ค่อนหน้าค่อนปลายนะ ขวาก็ เจาะขวาทะลุซ้าย ไม่ค่อนหน้าค่อนปลายนะ ตรงดิ่งเชียว เอาด้ายร้อยเข้าเส้นหนึ่ง ข้างหน้า ข้างหลัง ร้อยเข้าเส้นขึงตึง ตรงกลางเส้นด้ายจรดกันตรงนั้นเรียกว่า “กลางกั๊ก” กลางกั๊ก นั้นแหละถูกกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ใสบริสุทธิ์ เท่าฟองไข่แดงของไก่ ถูก กลางดวงธรรมพอดีเชียว กลางกั๊กนั้นแหละ เป็นที่เกิดที่ดับ ถ้ามนุษย์มาเกิดต้องเกิดตรงนั้น เวลาตายก็ต้องไปหยุดตรงนั้น หยุดกลางกั๊กนั้นแหละ เป็นที่เกิดที่ดับ ถ้ามนุษย์มาเกิด ต้อง เกิดตรงนั้น เวลาตายก็ต้องไปหยุดตรงนั้น หยุดกลางกั๊กนั้นจนตาย เวลาหลับ ใจก็ต้องไป หยุดตรงนั้นจึงหลับ หลับตรงไหนก็ตื่นตรงนั้น เกิดตรงไหนก็ตายตรงนั้น ให้รู้จักที่เกิดที่ตาย ให้รู้จักที่หลับที่ตื่น เกิดดับหลับตื่นๆ ให้รู้จักหลักอย่างนี้

    นี่แหละรู้จักอย่างนี้ ก็จะรู้จักศีล จะรู้จักศีลจริงๆ ศีลภายใน ไม่ใช่ศีลข้างนอก ศีลโดย ทางปฏิบัติ ไม่ใช่ศีลโดยทางปริยัติ

    เมื่อใจไปหยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์นั้น ให้ถูกส่วนเข้า พอถูกส่วนเข้าเท่านั้น เห็นดวงใสเท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ผุดขึ้นมา ใจก็ไปติดอยู่กลาง ดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ที่ดวงใสนั้น ดวงใสนั้นแหละ เรียกว่า เอกายนมรรค ก็เรียก เป็นหนทางไปชั้นเอก ไม่มีทางไปอื่นดีกว่านั้นอีกต่อไป เรียกว่า เอกายนมรรค อีกนัยหนึ่ง ท่านเรียกว่า ปฐมมรรค หนทางเบื้องต้นมรรคผลนิพพาน ผู้ที่จะไปสู่มรรคผลนิพพาน ก็ไปกลางดวงนั้น ไปหยุดอยู่กลางดวงนั้น นี่หนทางเบื้องต้นมรรผลนิพพาน อีกนัยหนึ่ง ท่านเรียกว่า ดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ธัมมานุปัสสนาน่ะ ดำเนินไปตามทางของพระ อริยเจ้าพระอรหันต์เหมือนกันทุกองค์ทั้งอดีต ปัจจุบัน อนาคต ยืนยันเหมือนกันหมด ไป ทางเดียวกัน ใจหยุดอยู่กลางดวงนั้น พอหยุดอยู่กลางดวงนั้น พอถูกส่วนเข้าเท่านั้นแหละ กลางดวงนั่นเองจะเห็น ดวงศีล ดวงเท่ากัน นั่นดวงศีลเห็นเข้าแล้ว เมื่อเห็นดวงศีลแล้ว ก็ได้การหละ ถูกทางไปของพระพุทธเจ้าพระอรหันต์หละ ดวงเท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ ใสบริสุทธิ์สนิท ดุจกระจกคันฉ่องส่องเงาหน้า ใสเทียว นั่นไปเห็นนั่นนะ ถ้าเห็นเข้าเท่านั้น ใจก็ติดอยู่กลางดวงศีลนั้น กลางดวงศีลนั่น หยุดอยู่กลางดวงศีล พอถูกส่วนเข้าเท่านั้น แหละ หยุดในหยุดหนักเข้าๆ เมื่อถึงดวงศีลแล้ว ดวงศีลเป็นเหตุจะเข้าถึงดวงสมาธิ เท่ากันๆ แบบเดียวกัน ดวงเท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์เหมือนกัน นั่นเรียกว่า ดวงสมาธิ หยุดอยู่กลางดวงสมาธินั่นเหมือนกัน พอถูกส่วนเข้าเท่านั้นแหละ เข้าถึง ดวงปัญญา ดวงเท่าๆ กัน เท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์เหมือนกัน แต่ว่าตามตำราพระพุทธศาสนามี เบื้องต้น ถ้ามีดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน เบื้องปลายของดวงศีล สมาธิ ปัญญา มีดวง วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ มีหนทางเบื้องต้นเบื้องปลายอีก หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา นั่นแหละ ถูกส่วนเข้า เห็น ดวงวิมุตติ ดวงเท่ากัน หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตตินั่นแหละ ถูก ส่วนเข้า เห็น ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ดวงวิมุตติญาณทัสสนะนั่น หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลาง ดวงวิมุตติญาณทัสสนะก็ไปเห็น กายมนุษย์ละเอียด ที่นอนฝันออกไป เอ๊! นี่แปลกจริง ไอ้กายนี้เราไม่เคยเห็นเลยเวลาฝัน เลิกจากฝันมันมัวๆ ไม่รู้อยู่ที่ไหน พอเข้ามาในทางกลาง ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ เข้า เอ๊! เจ้ากายมนุษย์ละเอียดนี่อยู่ กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะนี่เอง ดวงเท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ อ้ายกายมนุษย์ละเอียด อยู่ในนั้นเอง ถ้าว่ากายใหญ่ประมาณ 8 ศอก กายนั้น กายละเอียดนั่นแหละประมาณ 8 ศอก แต่ว่าลดส่วนเข้ามาเท่ากับกายมนุษย์ นี่ก็ไอ้กายที่นอนฝันออกไป มันก็เท่าๆ ตัวเรา นี่แหละ หญิงก็เท่าๆ กัน ชายก็เท่าๆ กัน แต่ว่าตามส่วนของมันสูง 8 ศอก กายละเอียดนั้น นั่นไปเห็นกายละเอียดเข้าแล้ว อยู่ในกลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ นี่เอง ที่เข้าถึงกายละเอียด

    ทำไมจึงเข้ามาถึงเล่า เดินถูกทางเข้า ปฏิบัติถูกต้องร่องรอยทางพระพุทธศาสนาเข้า ก็ไปเห็นกายมนุษย์ละเอียด เอาละเห็นกายมนุษย์ละเอียดแล้ว ก็สนุกหละเรา เออ! ข้า ไม่เคยเห็นเลย เจ้าเป็นคนเจ้าหน้าที่ฝัน ลองฝันให้ดูสักเรื่องซิ เอาเรื่องเชียงใหม่กันเชียวนะ กะพริบตาเดียว เอาดอยสุเทพมาเล่าให้ฟังแล้ว ไปเชียงใหม่มาแล้ว กะพริบตาเดียว นั่นแน่ ฝันเร็วขนาดนั้นแน่ะ เอ้า! ฝันในเรื่องภาคใต้ นครศรีธรรมราช กะพริบตาเดียว ไปเอาเรื่อง นครศรีธรรมราชมาให้ฟังแล้ว เรื่องพระเจดีย์ใหญ่ เอ้า! ฝันไปจังหวัดนครพนมซิ กะพริบ ตาเดียว เอาเรื่องพระธาตุพนมมาเล่าให้ฟังแล้ว ฝันได้อย่างนี้ นั่งเฉยอยู่นั่นแหละ เอ้า! ฝันถึงเรื่องเมืองเพชรเข้าซิ กะพริบตาเดียว เอาเรื่องเขาวังมาเล่าให้ฟังแล้ว พระเจ้าแผ่นดิน แกอยากเป็นเทวดาทั้งเป็นมนุษย์นี่ จะพาพระมเหสีของแกขึ้นไปโน้น บนยอดเขาวังโน้น ไปตั้งวังอยู่โน้น อยู่บนยอดเขาโน้น แกนึกว่าแกเป็นเทวดาแล้วทีเดียว ได้รับความสุข นั่น เอาเรื่องเขาวังมาเล่าให้ฟังแล้ว นี่กายที่ฝันๆ ได้อย่างนี้ ฝันได้ทั้งที่กำลังตื่นๆ หนา ไม่ต้อง หลับหนา ฝันได้จริงจังอย่างนี้

    อย่างขนาดวัดปากน้ำเขาฝันได้ 150 กว่าคน ทั้งภิกษุสามเณร อุบาสกอุบาสิกา เขาฝันได้ นี่เพราะเหตุอะไรเขาจึงฝันได้อย่างนี้ สีลปริภาวิโต สมาธิ มหปฺผโล โหติ มหานิสํโส สมาธิปริภาวิตา ปญฺญา มหปฺผลา โหติ มหานิสํสา ปญฺญาปริภาวิตํ จิตฺตํ สมฺมเทว อาสเวหิ วิมุจฺจติ จิตที่ปัญญาอบรมแล้ว ย่อมหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลายโดยชอบเทียว แล้วเข้าถึงวิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ เห็นกายมนุษย์ละเอียดที่นอนฝันออกไป เขาทำได้ อย่างนี้ เป็นอย่างนี้จริงๆ ในทางปฏิบัติ ไม่ใช่ลวงไม่ใช่หลอกเล่น เป็นอย่างนี้จริง ถ้าพวก ปฏิบัติไม่เป็นอย่างนี้ ร่องรอยพระพุทธศาสนารู้จักได้ยากจริง ไม่ใช่ของง่ายเลย จะไม่เห็นศีล สมาธิ ปัญญาเลยทีเดียว จะไม่เห็นดวงศีล สมาธิ ปัญญา เลยทีเดียว

    ดวงศีลนั้น ตัววินัยปิฎกแท้ๆ กลั่นจากวินัยปิฎกมากน้อยเท่าไร มารวมเป็นดวงศีล ดวงเดียว ส่วนสมาธินั้นกลั่นมาจากสุตตันตปิฎก มากน้อยเท่าใดมารวมอยู่ในสมาธิดวงเดียว ตัวปัญญานั้น ปรมัตถปิฎกมากน้อยเท่าใด 42,000 พระธรรมขันธ์ สรุปเข้าในดวงปัญญานั้น ดวงเดียว ในดวงนั้นทั้งนั้น อยู่ในนั้น ก็อยู่ในกลางดวงธรรมกายมนุษย์ ใสบริสุทธิ์เท่าฟอง ไข่แดงของไก่ เดินในนั้นหนา เดินในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ไม่ใช่เดินเลอะๆ เทอะๆ เหลวๆ ไหลๆ เดินในทางไปเกิดมาเกิดของมนุษย์ทีเดียว ไม่ใช่เดินทางอื่น เลอะ เทอะไป เมื่อรู้จักหลัก เข้าใจเสียอย่างนี้ชัดแล้ว ก็ต่อไปอีกสักเท่าไรชั้นก็เดินอย่างเดียวกัน อย่างนี้

    เดี๋ยวจะแสดงลึกลงไปกว่านี่นะ ตั้งใจฟังเอาแค่นี้ก่อน นี่ตามศีล สมาธิ ปัญญา แล้วก็ เติมธัมมานุปัสสนาในเบื้องต้น และเบื้องปลายดวงวิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ตำราเขามี อย่างนั้นจริงๆ คำในปัญจกนิบาต อังคุตตรนิกาย สุตตนิบาตปิฎก ยกข้อสำคัญขึ้นแสดงว่า ธรรมะของพระพุทธเจ้ามี 5 ประการ มี 5 นั้นคืออะไร คือ ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ

    ตามตำราท่านวางไว้ว่า ทสหงฺเคหิ สมนฺนาคโต อรหนฺติ วุจฺจติ ผู้มาตามพร้อมแล้ว ด้วยองค์ 10 เป็นพระอรหันต์ องค์ 10 นั้นคืออะไร สัมมาทิฏฐิ 1 สัมมาสังกัปโป 2 สัมมาวาจา 3 สัมมากัมมันโต 4 สัมมาอาชีโว 5 สัมมาวายาโม 6 สัมมาสติ 7 สัมมาสมาธิ 8 มี 8 แล้ว สัมมาญาณ 9 สัมมาวิมุตติ 10 มีองค์ 10 อย่างนี้

    องค์ 8 นั่นย่นลงเป็นองค์ 3 สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโป นี่ย่นเข้าเป็น ปัญญา สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมาอาชีโว ย่นลงเป็น ศีล สัมมาวายาโม สัมมาสติ สัมมาสมาธิ ย่นลงเป็น สมาธิ รวมเป็น ศีล สมาธิ ปัญญา 3 ถ้าได้ 3 แล้ว เติม สัมมาญาณ 4 สัมมาวิมุตติ เป็น 5

    นี่แหละผู้ใดมาตามพร้อมด้วยธรรม 5 ประการนี้แล้ว ผู้นั้นจะพบหลักฐานของ พระพุทธศาสนาอย่างแน่ นี่อาศัยดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ได้เห็นดวงศีล ดวงสมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ หลักนี้เป็นสำคัญนัก ต้องเข้าถึงหลักนี้ให้ได้ หญิงก็ดี ชายก็ดี คฤหัสถ์ บรรพชิต ไม่ว่า ถ้าเข้าถึงหลักนี้ไม่ได้ จะไม่ถึงพระพุทธศาสนา จะบวชเป็น พระเป็นเณร เป็นอุบาสกอุบาสิกก็อย่างนั้นแหละ ไม่มีรสชาติอะไร จะไว้ใจยังไม่ได้ๆ แน่นอน ถ้าเพลี่ยงพล้ำแล้วจะพาลไปถึงอื่นร่ำไป แต่เพียงว่าต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์เท่านั้นแหละ ถึงไหว้แล้ว เอาเข้าแล้ว ถึงเขาใหญ่ๆ ศักดิ์สิทธิ์ ถึงไหว้แล้ว เอาเข้าแล้ว ไหว้ภูเขาให้อีกแล้ว ไหว้ต้นไม้ ไหว้ภูเขา ไปถึงไอ้ป่าใหญ่ๆ เข้าดงใหญ่ๆ เข้า มีพวกผีดุ ผีร้ายหนัก พอไปเข้าก็ไหว้ก็บูชากัน เอาเข้าแล้ว ไปไหว้ไปบูชากันอีกแล้ว นั่นเลอะแล้ว ถือพุทธศาสนา ถือธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ ถือศีล สมาธิ ปัญญา ไม่แน่นแล้วหละ เลอะเลือนเหลวไหล เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว ก็เพราะ เหตุไรจึงเป็นเช่นนั้นละ เข้าร่องรอยพุทธศาสนาไม่ถูก จับหลักพุทธศาสนาไม่ได้ ตัวจริงของ พระพุทธศาสนาวางไม่ถูก ไม่ต้องอะไร เดี๋ยวจะแสดงให้ฟังว่ามันลึกซึ้งอย่างนี้ ทางพระพุทธศาสนาไม่ใช่เป็นของผิวเผิน ผู้เทศน์นี้เอง บวชด้วยเรียนด้วย เป็นครูสอนด้วย 12 พรรษา โน้นแน่ะ จึงจะรู้จักพระพุทธศาสนาชัดว่า อ้อ! พระพุทธศาสนานี่เป็นอย่างนี้เอง คือ พระพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะนี้เอง ที่จะเข้าถึงพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ ไม่ใช่เป็น ของง่าย เข้าไปถึงยากนักลำบากนัก ต้องเข้าไปอย่างนี้แหละ

    พอเข้าไปถึง กายมนุษย์ละเอียด ละก้อ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็น กายมนุษย์ละเอียด พอถูกส่วนเข้า ก็ถึงดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ดวงศีล ดวงสมาธิ ดวงปัญญา ดวงวิมุตติ ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ เข้าถึง กายทิพย์ ทีเดียว

    ใจกายทิพย์หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ แบบเดียวกัน เข้าถึง ดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ดวงศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ เข้าถึง กายทิพย์ละเอียด

    ใจกายทิพย์ละเอียด หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ละเอียด พอถูกส่วนเข้า เข้าถึงดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ดวงศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ เข้าถึง กายรูปพรหม

    ในกายที่ 5 ใจกายรูปพรหมหยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหม พอถูกส่วนเข้า เข้าถึงดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ดวงศีล ดวงสมาธิ ดวงปัญญา ดวง วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ เข้าถึง กายรูปพรหมละเอียด

    ใจกายรูปพรหมละเอียด หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหม ละเอียด ถูกส่วนเข้า ถึงดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ดวงศีล ดวงสมาธิ ดวงปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ แบบเดียวกัน เข้าถึง กายอรูปพรหม

    ใจกายอรูปพรหมหยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำเป็นกายอรูปพรหม ถูกส่วนเข้า เข้าถึงดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ดวงศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ แบบเดียวกัน เข้าถึง กายอรูปพรหมละเอียด

    ใจกายอรูปพรหมละเอียด หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหม ละเอียดอีก พอถูกส่วนเข้า เข้าถึงดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ดวงศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ เข้าถึง กายธรรม พอเข้าถึงกายธรรมเท่านั้นแหละ รูปของพระ พุทธปฏิมากร เกตุดอกบัวตูม ใสเป็นกระจกคันฉ่องส่องเงาหน้า งดงามนัก จะปั้นทำให้ เหมือนที่เขาปั้นไว้ในโบสถ์ ในวิหารการเปรียญ นี่ก็เพราะธรรมกายนี่แหละ รูปธรรมกาย รูป พุทธรัตนะ นี่แหละ

    ใจของพระพุทธรัตนะ หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นพุทธรัตนะ ใหญ่วัด เส้นผ่าศูนย์กลางเท่าหน้าตักธรรมกาย หน้าตักกว้างแค่ไหน 3 วา 4 วา อย่างไรก็เท่ากัน วัดเส้นผ่าศูนย์กลางเท่าหน้าตักธรรมกาย กลมรอบตัว อยู่กลางกาย กลางองค์พุทธรัตนะ นั้น ใจพุทธรัตนะหยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นพุทธรัตนะ พอถูกส่วนเข้า เข้า ถึงดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ดวงเท่ากันกับดวงพุทธรัตนะนั้น เข้าถึงดวงศีลก็เท่ากัน ถึงดวงสมาธิก็เท่ากัน ดวงปัญญาก็เท่ากัน ดวงวิมุตติก็เท่ากัน ดวงวิมุตติญาณทัสสนะก็ เท่ากัน กลมรอบตัวเท่ากัน 6 ดวงด้วยกัน เข้าถึง กายธรรมละเอียด หน้าตัก 5 วา สูง 5 วา เกตุดอกบัวตูม ใสเหมือนกระจกคันฉ่องส่องเงาหน้าหนักเข้า นั้นเรียกว่า ธรรมกาย ละเอียด พุทธรัตนะตอนต้น เรียกว่าพุทธรัตนะ เป็นพระพุทธเจ้า ธรรมรัตนะ ดวงใส วัดเส้น ผ่าศูนย์กลางเท่าหน้าตัก ดวงธรรมนั้น เรียกว่า ธรรมรัตนะ เรียกว่า ธรรมเจ้า ทีเดียว เฉพาะกายละเอียดอยู่ในดวงธรรมรัตนะนั่น เรียกว่า พระสังฆเจ้า

    คำว่า พุทฺโธ เป็นเนมิตตกนามเกิดขึ้นจากพุทธรัตนะ คำว่า ธมฺโม เป็นเนมิตตกนาม เกิดขึ้นจากธรรมรัตนะ คำว่า สงฺโฆ นั่นเป็นเนมิตตกนาม เกิดขึ้นจากสังฆรัตนะ เป็น ต้นยืน ให้เห็นของจริงเข้า เห็นความเกิด เหตุให้เกิด ความดับ เหตุให้ดับ เข้าจริง เห็นจริงเข้า เป็นเนมิตตกนามเกิดขึ้นกับพุทธรัตนะว่า พุทฺโธ ธรรมรัตนะ นั่นเอง

    ธรรมรัตนะ ดวงนั้นแหละ เมื่อสัตว์เข้าไปถึงแล้ว ทรงผู้ปฏิบัติไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว ถึงได้เป็นเนมิตตกนามเกิดขึ้นว่า ธมฺโม แล้วทรงจัดผู้ปฏิบัติไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว

    สังฆรัตนะ รักษาธรรมรัตนะนั้นไว้ไม่หายไป ให้อยู่ในดวงธรรมรัตนะนั้น ปฏิบัติใน ดวงธรรมรัตนะนั้นไม่ให้สูญหายไป ธรรมรัตนะนั่นเป็นบ้านเป็นเรือนให้อยู่ทีเดียว อยู่ของ สังฆรัตนะทีเดียว ทิ้งไม่ได้ ห่างไม่ได้ มีที่อยู่เมื่อรักษาธรรมรัตนะไว้ได้เช่นนั้น จึงได้เกิดเป็น เนมิตตกนามยืนยันว่า สงฺโฆ แปลตามภาษาบาลีว่า ธมฺโม สงฺเฆน ธาริโต ธรรมอันพระสงฆ์ ทรงไว้ คือสังฆรัตนะนั้นแหละ ทรงรักษาไว้ เป็นเนมิตตกนามว่า สงฺโฆ

    พุทฺโธ ธมฺโม สงฺโฆ นี่แหละเป็นตัวจริงแหละ แต่ว่าเป็นตัวจริงนี้ยังไม่ถึงอริยบุคคล เป็น โคตรภู บุคคล พ้นจากปุถุชนไป เข้าถึงความเป็นโคตรภูบุคคล ถ้าว่ายังไม่ขาดจาก โคตรภูบุคคล ยังไม่เข้าถึงอริยภูมิ ยังเป็นโคตรภูสาวกอยู่ หรือยังเป็นปุถุชนสาวกอยู่ นี้ สาวกของพระพุทธเจ้ามีขีดแค่นี้ ถ้าเข้าถึงพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ ดังนี้แล้ว ก็ว่า ภควโต สาวกสงฺโฆ เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาค แต่ว่าชั้นสาวกชั้นเป็นโคตรภูนี้ ได้ชื่อว่า เป็นปุถุชนสาวก ไม่ใช่อริยสาวก

    ที่นี้จะเข้าถึงอริยสาวกต่อไป โคตรภูนั่นเอง ธรรมกาย-ธรรมกายละเอียด พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะนั้นแหละ ปฏิบัติถูกส่วนเข้า ใจธรรมกายหยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรม ที่ทำให้เป็นกายธรรมละเอียด ถูกส่วนเข้า ก็เข้าถึงดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ดวงศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ วัดเส้นผ่าศูนย์กลาง 5 วา เท่ากับดวงธรรมรัตนะ ธรรมกายละเอียดเท่าๆ กัน เข้าถึงดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายละเอียด วัดเส้นผ่าศูนย์กลาง 5 วา กลมรอบตัว ก็เข้าถึงดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถึงดวงศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ เข้าถึง ธรรมกายพระโสดา หน้าตัก 5 วา สูง 5 วา เกตุดอกบัวตูม

    ใจธรรมกายพระโสดาหยุดนิ่งอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายพระโสดา วัด เส้นผ่าศูนย์กลาง 5 วา กลมรอบตัว ถูกส่วนเข้า ก็เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ดวงศีล ดวงสมาธิ ดวงปัญญา ดวงวิมุตติ ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดนิ่งตรงกลางนั่นก็ถึง ธรรมกาย พระโสดาละเอียด ธรรมกายพระโสดา-ธรรมกายพระโสดาละเอียดอย่างเดียวกัน นั่นเป็น พระโสดาแล้ว พอเป็นพระโสดาเท่านั้นแหละ เป็นอริยะทีเดียว อริโย สงฺโฆ ทีเดียว เป็น พระอริยบุคคล นี่แหละเป็นพระอริยบุคคลสาวกในพระพุทธศาสนา

    ใจธรรมกายพระโสดาละเอียด หยุดนิ่งอยู่กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระโสดา ละเอียด ถูกส่วนเข้า ก็เห็นดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ดวงศีล ดวงสมาธิ ดวงปัญญา ดวงวิมุตติ ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ หยุดนิ่งตรงกลางนั่น ก็ถึง ธรรมกายพระสกทาคา หน้าตัก 10 วา สูง 10 วา เกตุดอกบัวตูม ใสหนักขึ้นไป นี่ ธรรมกายพระสกทาคา

    ดำเนินไปในแบบเดิมอีก ก็จะถึง ธรรมกายพระสกทาคาละเอียด ธรรมกายพระอนาคา-ธรรมกายพระอนาคาละเอียด, ธรรมกายพระอรหัต-ธรรมกายพระอรหัตละเอียด

    นี่ต่อจากธรรมกายโคตรภูขึ้นมาอีก 4 คู่ รวมเป็นพระอริยบุคคล 8 พระองค์ นี่ยกเป็น วาระพระบาลีว่า อฏฺฐ ปุริสปุคฺคลา จัดเป็นบุรุษบุคคล 8 จัดเป็นบุคคล 8 หรือจัดเป็น 4 คู่ คือ พระโสดาปัตติมรรค-พระโสดาปัตติผล, พระสกทาคามิมรรค-พระสกทาคามิผล, หยาบ นั้นเป็น มรรค, ส่วน ละเอียด นั้นเป็น ผล, พระอนาคามิมรรค-พระอนาคามิผล, พระอรหัตมรรค-พระอรหัตผล รวมเป็นพระอริยบุคคล 8 จำพวก หยาบ เป็น มรรค, ละเอียด เป็น ผล พระอริยบุคคล 8 นี้ เรียกว่า ภควโต สาวกสงฺโฆ เป็นสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยประการฉะนี้

    ท่านเหล่านี้ที่มาเป็นได้เช่นนี้ เพราะหลุดจากอาสวะได้ต้องไปสูง ส่วนโสดา-โสดาละเอียด ยังไม่หลุดจากอาสวะ หลุดแต่เพียง สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส เท่านั้น ส่วนพระสกทาคา พอหลุดจากกามราคะหยาบ อย่างหยาบเท่านั้น ส่วนพระอนาคาหลุดจาก กามราคะอย่างละเอียด ยังติดอยู่ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา สัญโยชน์ เบื้องบนอีก 5 รูปราคะ กำหนัดยินดีในรูปฌาน อรูปราคะ กำหนัดยินดีในอรูปฌาน มานะ ยกเนื้อยอตัวยังมีอยู่ อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่านรำคาญยังมีอยู่ แต่พยายามให้ไปถึงพระอรหัต ตัดกิเลสเป็นสมุจเฉทปหาน ยังมีกิเลสหมกหมุ่นอยู่ในสันดาน เรียกว่า สัญโยชน์เบื้องบน รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา แล้วก็เข้าไปถึงพระอรหัต-พระอรหัตละเอียด เป็นลำดับไป พอถึงพระอรหัตเท่านั้น วิราโค เตสํ อคฺคมกฺขายติ เป็นผู้ประเสริฐ หลุดจาก สราคธาตุสราคธรรม หลุดจากสราคธาตุสราคธรรมทีเดียว เข้าถึงวิราคธาตุวิราคธรรม ทีเดียว เป็นพระอรหัต หน้าตัก 20 วา สูง 20 วา เกตุดอกบัวตูม ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายพระอรหัต วัดเส้นผ่าศูนย์กลาง 20 วา กลมรอบตัว เมื่อเข้าถึงดังนี้แล้ว ก็จะได้ชื่อว่าพ้นจากอาสวะ แล้ว กามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ ถ้าพูดอาสวะก็มี 3

    วันนี้ตั้งใจจะแสดงพระธรรมเทศนาถึงเรื่องอาสวะเหล่านี้ ที่แสดงมานี้เป็นเนื้อความ ท้าวเรื่องนะ ก็เปลืองเวลาอยู่เหมือนกัน จะแสดงถึงเรื่องอาสวะ อวิชชาสวะ ตั้งใจจะแสดง อย่างนี้ กามาสวะ กามก็มีอาสวะเหมือนกัน ตัดออกเป็น 2 บท กามอย่างหนึ่ง อาสวะอย่าง หนึ่ง กามกับอาสวะ ภวาสวะ ตัดออกเป็น “ภว” อันหนึ่ง แต่ว่า “ภว” นั่นตัดเป็นภพ อาสวะ อีกอันหนึ่ง ภพกับอาสวะติดกันอยู่ แสดงอาสวะทั้ง 4 ทีเดียว ทิฏฐาสวะ ความเห็นผิด ทิฏฐิ อันนั้น แปลว่า เห็นผิด อาสวะมีอันหนึ่งอีกเหมือนกัน อาสวะในความเห็นผิด อวิชชาสวะ อวิชชาบทหนึ่ง อาสวะอีกบทหนึ่ง มันติดกันได้อย่างนี้ นี่ถ้าไม่ได้เรียนบาลีก็ไม่เข้าใจ เนื้อ ความเหล่านี้ ก็เป็นอย่างเดียวกัน

    อาสวะ นะเรายังไม่เคยได้ยินได้ฟังนัก ยังไม่เคยได้ยิน แต่สิ่งอื่นนะเคยได้ยินได้ฟังกัน แต่ส่วนอวิชชานะ เคยได้ยินได้ฟังมาก จะแปลกันลงไปจริงๆ ว่ากระไร กามนะ กามก็ไม่ใช่ตัว อะไรตัว วัตถุกาม กิเลสกาม นั่นเอง วัตถุกามนั่นอะไร รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ คือ รสสัมผัสนั่นซิ คือ ตัววัตถุกาม รูปที่ชอบใจ เสียงที่ชอบใจ กลิ่นที่ชอบใจ รสที่ชอบใจ สัมผัส ที่ชอบใจนั่นแหละ นั่นแหละเขาเรียกว่ากาม เขาเรียกว่าวัตถุกาม ก็กิเลสกามละ ยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสเหล่านั้นแหละ ยินดีในเสียง ยินดีในกลิ่น ยินดีในรส ยินดีในสัมผัส แกะไม่ออก ถอนไม่ออก ก็เหมือนพวกเราอย่างนี้แหละ ครองเรือนกันโด่ไปตามกันนั่นแหละ แกะไม่ออก ถอนไม่ออก พยายามฆ่ามันทุกวันทุกคืนเหมือนกันแหละ ฆ่าจนแก่คร่ำไป ตามกัน นั่นแหละ ไม่ตายซักที ไม่เลิกติดในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส นั่นซักที แก้ไม่หลุด แกะไม่หลุด พาให้ภิกษุสามเณรบวชเป็นสมภาร ติดอยู่ในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส นั่นแหละ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส นั่น ถึงหลุดหมดไปแล้วก็ตามเถอะ เป็นนักบวชก็ช่าง ไอ้ใจไปเจอะ กับรูป เสียง กลิ่น รส นั่น ถอยไม่ออกอีกเหมือนกัน ถอนไม่ออกอีกเหมือนกัน หนักเข้า ถึงกับเตรียมเครื่องมือ ได้เงินได้ทองเก็บไว้ เก็บไว้นี่พอสินสอดแล้วนี่ พอปลูกเรือนหอแล้ว อายุ 40-50 สึกหัวโด่ นั่นแน่จับได้ ติดอะไรละ ติดรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส นั่นแหละ

    รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส นั่นแหละ แก้มันไม่หลุด แกะไม่หลุด เพราะเหตุอะไร มันถึงแกะไม่หลุด เข้าไม่ถึงธรรมทางพุทธศาสนา ที่เข้าจริงเข้าไม่ถึงอะไร เข้าไม่ถึงศีล ดวงศีล จริงๆ เข้าไม่ถึง เป็นแต่รู้จักศีล รู้จักหลั่วๆ ไม่เห็นดวงศีลจริงๆ ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็น กายมนุษย์ ไม่เห็น ทำไม่เป็น ไม่เห็นปรากฏก็ยังสงสัยไม่หมดสิ้นอยู่ร่ำไป ก็ต้องสึกออกมา เพราะเข้าไม่ถึงศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ถ้าเข้าถึงธรรม 5 ข้อนี้ มันก็ เข้าถึงกายมนุษย์ละเอียด หลุดจากกายมนุษย์ไปเสีย มันก็ไม่เกี่ยวกับกายมนุษย์ไป ไอ้นี่มัน ไม่หลุด มันเข้าไม่ถึงนี่ ถ้าหลุดไปมันก็สบายหน่อย ถึงอย่างนั้นก็อย่าโง่ไว้ใจมัน ยังมีฤทธิ์ มีเดชมากนัก ให้สูงๆ ขึ้นไป นี่เข้าถึงศีลแล้ว นี่เขาเรียกว่ากาม อาสวะของกามเป็นอย่างไรละ เออ! รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส นั่นแหละ เป็นตัววัตถุกาม ยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส นั่นเป็นตัวกิเลสกาม ก็อาสวะของกามนะ อะไรละ ไอ้รูปที่เราแลเห็นนะ มันมีรสนา มันมีรส ทีเดียวแหละ ถ้าตามไปเห็นถูกส่วนมันเข้าละก้อ โอ้! เอาละ กินไม่ลง นอนไม่ลงหละ กระสับ กระส่ายทีเดียว รสมันขึ้นแล้ว รสไอ้เห็นมันขึ้นแล้ว มันดึงดูดแล้ว ไอ้ดึงดูดเป็นรส นั่นแหละ เป็นตัวอาสวะทีเดียว ได้เสียงละ ถ้าฟังๆ พอดีพอร้ายละ ไม่ถนัดถนี่ ไปฟังเข้าช่อง เข้า กระแส เข้าคูมันละก้อ ติดมับทีเดียว ลืมไม่ได้ทีเดียว นั่งคิดนอนคิดทีเดียว ไอ้เสียงนั่นแหละ มันเป็นอาสวะ เป็นรสของเสียง ของกลิ่น รสของรส ไอ้รสของกลิ่นนะ ไอ้พวกที่ไปถูกกลิ่น พอดีพอร้ายเข้า ก็พอดีพอร้ายอยู่ ไอ้เมื่อไปถูกกลิ่นไปถูกตัวกามมันเข้า ไปถูกอาสวะมันเข้า เอาหละตานี้ไปติดไอ้กลิ่นนั่นเข้าอีกแล้ว ไอ้รสก็เหมือนกัน ลิ้มรสไปเถอะ ถ้าว่าไปถูกอาสวะ ของกามเข้า เอาหละ เข้าไปฆ่าสัตว์ตัดชีวิต จะเป็นจะตายหละ เพราะไอ้อาสวะนั่นมันบังคับ อยู่ ติดในรสอยู่ สัมผัส สัมผัสละ อย่างไรก็สัมผัสไปเถิด ถ้าไปถูกอาสวะของกามเข้าละก้อ เอ้าละ ถอนจากเรือนไม่ออกทีเดียว อยากจะให้ถึงเวลาสัมผัสอยู่ร่ำไป ว่าไอ้นี่ร้ายนักๆ ทีเดียว นี่สัมผัสนี่สำคัญนัก นี่อาสวะมันบังคับเราอย่างนี้นะ ทำไมจึงจะแก้มันได้

    ไม่ใช่อาสวะอย่างเดียว อวิชชา เข้าช่วยสนับสนุนด้วย อวิชชา เป็นอย่างไร ศึกษาไป เถอะ ในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส นั่น รู้ไม่จริงทั้งสิ้น ยังสงสัยอยู่ร่ำไป สงสัยในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส นั่นแหละ ไอ้รูปดีๆ แค่นี้ก็ยังสงสัย จะให้ดีต่อไปอีก ไอ้เสียงดีแค่นี้ก็ยังสงสัย อยากจะให้ดีต่อไป กลิ่นดีแค่นี้ก็ยังสงสัย อยากจะให้ดีขึ้นไปอีก ไอ้สัมผัสดีแค่นี้ ไอ้รสดี แค่นี้ก็ยังสงสัยให้ดีต่อไปอีก ไอ้สัมผัสดีแค่นี้ก็ยังสงสัยให้ดีต่อไปอีก มันจะให้เกินนั้นต่อไป อีกนั่นแหละ ไอ้นั่นแหละสำคัญ ถ้ารู้ไม่จริง ไม่สิ้นสุดสงสัย เป็นอวิชชาทีเดียว

    นี่ให้รู้จักอย่างนี้ แต่ว่าพูดถึงอวิชชาก็มันเลยไปๆ จะว่าอาสวะของกามก่อน อาสวะ ของภพต่อไป อาสวะของภพเป็นอย่างไร อาสวะของภพนะ มีรสมีชาติแบบเดียวกัน ที่เรา อาศัยอยู่นี้ สิ่งที่มี ที่เป็นแก่เรา นี้เรียกว่า ภพ รูปมามีมาเป็นแก่เรา ก็มีเป็นภพอันหนึ่ง ไม่ว่า อะไรหละ ถ้ามันมามีแก่เราผืนหนึ่ง ก็เป็นภพอันหนึ่ง ไม่ว่าสิ่งอะไร ผ้านุ่งผ้าห่มมามีแก่เรา ก็เป็นภพ เรียกว่า ภพ ภพ แปลว่า มี ว่า เป็น มันมีปรากฏว่าเป็นภพขึ้น สิ่งที่มามีมาเป็น สิ่งนั้นที่มาปรากฏขึ้นแล้ว อยากได้บ้านเรือน บ้านเรือนมาปรากฏเป็นภพขึ้นแล้ว อยากได้ไร่ ได้นา ไร่นามาปรากฏขึ้นเป็นภพขึ้นแล้ว อยากได้อะไรสิ่งนั้นมาปรากฏเป็นภพขึ้น ที่มีเป็น เห็นปรากฏ ที่เรากำหนดว่า เป็นเรา เป็นของเรา ก็นั่นแหละเป็นตัวภพ ทั้งนั้น กามภพ รูปภพ กามภพ ไอ้นั่นเป็นกามภพ รูปภพ ปรากฏ รูปภพ อรูปภพ 2 ประการนี้ กามภพติด อยู่ในกาม ติดอยู่กามนี้ รูปภพละ เอาพวกเทวดา พวกที่ได้รูปฌาน อรูปฌาน ไปติดอยู่ แกะไม่ออกอีกเหมือนกัน อรูปภพ ไปติดอยู่ในอรูปฌาน แกะไม่ออก ติดอยู่เหมือนกัน ต้อง กลับมาเกิด เวียนว่ายตายเกิดอยู่ ไม่จบไม่แล้ว เพราะไอ้ที่ไปยินดีติดอยู่ในรูปภพ อรูปภพนะ นั่นอาสวะ มันตรึงเข้าไว้ ชาติมันมีอยู่ ถอนไม่ออก ถอนเสียดายมัน จะทิ้งก็เสียดายมัน ถ้าจะถอนจริงๆ ก็เสียดายมัน มันไม่กล้าถอน เสียดายมัน ไอ้เสียดายนั่นตัวสำคัญนัก ถึงได้ติดอยู่ในภพ รูปภพ ก็ยิ่งติดอยู่ในรูปภพ อรูปภพ ติดแบบเดียวกันนั่น เพราะอาสวะ มันดึงเข้าไว้ มันเป็นเครื่องเหนี่ยวเครื่องรั้งดึงดูดไว้ ผักเสี้ยนแท้ๆ ยังไม่ได้ดอง รสชาติไม่ดี เหม็นเขียว แต่เมื่อดองเข้า เปรี้ยวเข้า เค็มๆ ดีเท่านั้นแหละ มีรสอร่อยเกินผักเสี้ยน ผักเสี้ยน อร่อยเหลือเกิน น้ำพริกขี้หนูจิ้มให้ดีๆ หาแกล้มให้ดีๆ เข้า ว่าลืมอื่นหมดทีเดียว นั่นแหละ รสของผักกาดดองหละ ไม่ใช่เล่นๆ ตัวสำคัญ รสเหมือนกันหมดแบบเดียวกัน กามภพก็ดี รูปภพก็ดี ที่ติดอยู่ในภพนะ ติดอยู่ในรสชาติของภพนั่นเอง ในกามภพที่มีรสชาติของภพ นั่นเอง ในกามภพที่มีรสชาติสำคัญนัก รูปภพก็มีรสชาติประเสริฐเลิศกว่ากามภพอีก อรูปภพก็เลิศประเสริฐกว่ากามภพอีก ประเสริฐเลิศกว่ารูปภพอีก นี้ให้รู้ว่า อาสวะของภพ นะเป็นอย่างนี้ ไม่ใช่แต่เพียงอาสวะของภพเท่านั้น อวิชชาก็มีอีกด้วย ไม่ใช่ละทิ้ง อวิชชานั่น ตัวไม่รู้ไม่จริงในภพ ไม่สิ้นสงสัย ติดอยู่ในภพนั่น อยากจะอยู่ในภพ อยากจะติดอยู่ในภพ ร่ำไป เพราะอวิชชานั่นเป็นตัวสำคัญนัก นี่เรียกว่า ติดอยู่ในภพ เรียกว่า ภวาสวะ ส่วน ทิฏฐาสวะ ไม่อยู่ในประเด็นนี้ แต่เอามาอธิบายด้วย ติดอยู่ในความเห็น (ผิด)

    ความเห็นนั่นไม่ใช่พอดีพอร้ายนะ รบกับเกาหลีนะ รบกับไต้หวันนะ เวลานี้นั่นนะ รบกันยุ่งเหยิงหมด ยุ่งยากมากมายเทียวนะ นั่นแหละ นั่นเรื่องอะไรละ ทิฏฐาสวะ ความเห็น นั่นมันไม่ตรงกันหละ มันแก่งแย่งกันหละ มันไม่ถูกต้องร่องรอยกัน อวดความเห็น อวดเชิด ความเห็นกันหละ ต้องประหารซึ่งกันและกัน ไม่ใช่พอดีพอร้าย ทิฏฐินะ นั่งอยู่ดีๆ นะ ลุกขึ้น รบ ขึ้นตี ขึ้นต่อย ขึ้นยิง ขึ้นแทงกันทีเดียว นั่นเพราะอะไร ที่เป็นเช่นนั้นเพราะความเห็นของ ตัวไม่ตรงกัน ทำตามความเห็นของตัว ความเห็นมันก็มีรสมีชาติเหมือนกัน ไม่ใช่พอดีพอร้าย เออ! เวลาจะไม่พอ ย่อเสียเถอะ แบบเดียวกัน รู้จักความเห็นละก้อ เป็นอาสวะเหมือนกัน ยังมีอวิชชาแอบอยู่ด้วย อวิชชาสวะอยู่กลางๆ รู้ไม่จริงด้วย ไอ้รสชาติของรู้ไม่จริง มันก็เหมือน เกลือกกลั้วอยู่เต็มไปด้วยทีเดียว ถอนไม่ออกทีเดียว รู้ไม่จริง ด้วยรสชาติของรู้ไม่จริง มัน บังคับบัญชาแน่นหนาอยู่ ออกไม่ได้ ถ้าไก่ก็ติดอยู่ในกระเปาะฟองไข่ ถ้ามนุษย์ติดอยู่ใน กามภพ ติดอยู่ในรูปภพ ติดอยู่ในอรูปภพ ออกไม่ได้ เพราะอวิชชาสวะนี้เองออกไม่ได้ ถ้ารู้จัก อวิชชาสวะแล้ว เหมือนอย่างกับพระอรหัตที่แสดงในเบื้องต้นนั้นนั่นแหละ พ้นจากอวิชชาไป นี่อาสวะเป็นสำคัญ นี้ตั้งใจจะอธิบายในเรื่องอวิชชาสวะนี้ให้เข้าใจ กามาสวะ ภวาสวะ ทิฏฐาสวะ อวิชชาสวะ

    อวิชชาสวะ นี่สำคัญนักทีเดียว เมื่อเข้าใจดีแล้วจะได้พาตนหลีกลัดลุล่วงพ้นจาก เครื่องถ่วง เครื่องรั้ง เครื่องตรึงทั้งหลายเหล่านี้ มีนิพพานเป็นที่ไปในเบื้องหน้า ท่านได้วางใน บทเบื้องท้ายว่า ตตฺถ อปฺปมาเทน สมฺปาเทตพฺพํ ในเหตุนี้ ท่านทั้งหลายไม่ควรประมาท อย่าเลินเล่ออย่าเผลอตัว ถ้าเผลอตัวไป วันคืนล่วงไปๆๆ นะ ไม่รอใครนะ เรารอใครก็ช่าง เถอะ ความตายไม่รอเลย ความตายไม่รอเลยสักวินาทีเดียว วันคืนเดือนปีล่วงไปเท่านั้น ท่าน จึงได้วางตำรับตำราไว้ว่า อจฺเจนฺติ กาลา ตรยนฺติ รตฺติโย วโยคุณา อนุปพฺพํ ชหนฺติ เอตํ ภยํ มรเณ เปกฺขมาโน กุสลานิ กยิราถ สุขาวหานิ แปลเนื้อความว่า กาลเวลาผ่านไป ราตรี ล่วงไป ชั้นของวัยละลำดับไป ไม่เหลือเลย เด็กก็ละเรื่อยไปจนถึงแก่เฒ่าชรา ละหมดไม่เหลือ เลย ละไป ผู้มีปัญญาเห็นเหตุนี้ว่าเป็นภัยในความตายทีเดียว ก็ความตายทั้งนั้น พวกนี้ไม่ใช่ อะไร มีชีวิตอยู่ทั้งนั้น ว่าข้อนี้เป็นภัยในความตาย

    ท่านทั้งหลายเมื่อรู้จักเช่นนี้แล้ว ก็ควรเร่งทำบุญ บุญทั้งหลายนั่นแหละ อันจะนำ ความสุขมาให้ เหมือนเจ้าภาพได้อุตส่าห์มาทำบุญทำกุศลวันนี้ เข้าใจว่ากาลล่วงไปกาล ผ่านไป ราตรีล่วงไป ชั้นของวัยก็ละลำดับไปไม่เหลือเลย เพราะฉะนั้น จึงได้เร่งอุตส่าห์ พยายามอยู่ถึงนครชัยศรี รวมกันมาเกือบตั้ง 50 คน หรือ 50 คนกว่าเสียอีก วันนี้มาบริจาค ทานที่วัดปากน้ำ มาทำกุศลนี่แหละ ทำกุศลแล้วได้กุศลนั่นแหละ จะให้ถึงซึ่งความสุขแท้ เหตุนี้แล ท่านบรรดามาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า ด้วยอำนาจสัจจวาจาที่ได้อ้างธรรมปฏิบัติเทศนามาตั้งแต่ต้นจนอวสานนี้ ขอความสุขสวัสดีจงบังเกิดมีแด่ท่านทั้งหลาย บรรดา มาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า อาตมภาพชี้แจงแสดงมาพอสมควรแก่เวลา สมมติยุติ ธรรมีกถาโดยอรรถนิยมความเพียงเท่านี้ เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้.
     
  17. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,220
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,106
    ค่าพลัง:
    +70,443
    [​IMG]
     
  18. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,220
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,106
    ค่าพลัง:
    +70,443
    [​IMG]
     
  19. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,220
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,106
    ค่าพลัง:
    +70,443
    ดวงธรรม และธรรมกาย ทั้งหลายนี้ เป็นนามธรรมหรือเป็นรูปธรรม ?


    เมื่อสมัยเกือบ 20 ปีมาแล้วก่อนท่านกับผมลาออกนิดหน่อย ท่านยังไม่ได้บวช ผมเคยถามปัญหาธรรมท่านอย่างหนึ่ง พอดีมีคนอื่นมาขัดจังหวะ ท่านเลยยังไม่ได้ตอบผม ปัจจุบันนี้อายุผมเกือบจะ 70 แล้ว ก็ยังไม่ได้คำตอบ ผมจึงขอเรียนถามท่านเสียที่นี่อีกครั้งนะครับ ผมถามอย่างนี้ครับ ดวงธรรม และธรรมกายทั้งหลายนี้ เป็นนามธรรม หรือรูปธรรมครับ ผมเรียนถามเท่านี้ละครับ ผมตีไม่แตกซะที
    ---------------------------------------------------------

    ตอบ:


    เรื่องที่ถามไป ขอเจริญพรตอบสั้นๆ ไว้ก่อนว่า เฉพาะเรื่อง “ดวงธรรม” ที่ทำให้เป็นกายโลกิยะ (มนุษย์ ทิพย์ พรหม อรูปพรหม) ส่วนที่รับรู้ เป็นนามธรรม ส่วนที่ถูกรับรู้เป็นรูปธรรม กล่าวคือ ส่วนที่ขยายส่วนหยาบจากธาตุละเอียดของนามขันธ์ 4 คือ เห็น-จำ-คิด-รู้ นั้นก็คือ “ใจ” ซึ่งเป็นนามธรรมนี้ตั้งอยู่ในท่ามกลางดวงกายซึ่งขยายส่วนหยาบจากธาตุละเอียดของรูปขันธ์ ซึ่งเห็นเป็นดวงใสอยู่ชั้นนอก และมีธาตุละเอียดของมหาภูตรูป 4 คือ ธาตุน้ำ-ดิน-ไฟ-ลม และอากาศธาตุ ตั้งอยู่ภายในดวงกายนั้นแหละ ส่วนนี้เป็นรูปธรรม และยังมีเจตสิกธรรมที่เป็นบุญกุศล, บาปอกุศลหรือกลางๆ ที่เกิดขึ้นพร้อมกับจิตที่เป็นกุศล/อกุศล/กลางๆ อีกด้วย ธรรมทั้งหลายเหล่านี้เป็น “สังขารธรรม” ทั้งสิ้น จึงเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา หรืออีกนัยหนึ่ง เป็นสังขตธรรมสังขตลักษณะคือความเกิดปรากฏ 1 ความเสื่อมสลายปรากฏ 1 เมื่อตั้งอยู่ความแปรปรวนปรากฏ 1 (อุปฺปาโท ปญฺญายติ วโย ปญฺญายติ ฐิตสฺส อญฺญถตฺตํ ปญฺญายติ)

    ส่วน “ธรรมกาย” ที่บรรลุมรรคผลนิพพาน เป็นธรรมธาตุที่บริสุทธิ์ (วิราคธาตุ) ล้วน ๆ ของพระอริยเจ้า-พระอรหันตเจ้าที่ยังมีชีวิต คือยังครองเบญจขันธ์อยู่ชื่อว่า “สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ” ที่เบญจขันธ์แตกทำลายแล้วชื่อว่า “อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ” เฉพาะพระนิพพานธาตุของพระอรหันต์เป็น “วิสังขารธรรม” ที่ไม่ตกอยู่ในอาณัติแห่งพระไตรลักษณ์ มีสภาวะที่เป็นนิจจัง ปรมัง สุขังและธุวัง (ธุวํ-ยั่งยืน หรือ สสฺสตํ มั่นคง หรือ ตาทิ-คงที่) เป็นอมตํ ปทํ เป็นอสังขตธรรมที่มีอสังขตลักษณะคือไม่ปรากฏความเกิด 1 ไม่ปรากฏความเสื่อมสลาย 1 (และ) เมื่อตั้งอยู่ไม่ปรากฏความแปรปรวน 1 (น อุปฺปาโท ปญฺญายติ น วโย ปญฺญายติ น ฐิตสฺส อญฺยถตฺตํ ปญฺญายติ) นี้แหละที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกับพระปัญจวัคคีย์ผู้บรรลุพระโสดาบันบุคคลแล้ว ด้วยอนัตตลักขณสูตร มีความตอนหนึ่งว่า

    “รูปํ ภิกฺขเว อนตฺตา รูปญฺจ หิทํ ภิกฺขเว อตฺตา อภวิสฺส. นยิทํ รูปํ อาพาธาย สํวตฺเตยฺย. ฯเปฯ ยสฺมา จ โข ภิกฺขเว รูปํ อนตฺตา. ตสฺมา รูปํ อาพาธาย สวตฺตติ.”

    “ภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นอนัตตา ภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้ารูปนี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว รูปนี้ก็ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ.... ภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะรูป[นี้]แลเป็นอนัตตา ฉะนั้น รูป[นี้]จึงเป็นไปเพื่ออาพาธ”
     
  20. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,220
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,106
    ค่าพลัง:
    +70,443
    เขมาเขมสรณาคมน์

    [​IMG]




    3 กุมภาพันธ์ 2497

    นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส. (3 หน)

     

    พหุ ํ เว สรณํ ยนฺติ
    อารามรุกฺขเจตฺยานิ
    เนตํ โข สรณํ เขมํ
    เนตํ สรณมาคมฺม
    โย พุทฺธญฺจ ธมฺมญฺจ
    จตฺตาริ อริยสจฺจานิ
    ทุกฺขํ ทุกฺขสมุปฺปาทํ
    อริยญฺจฏฺฐงฺคิกํ มคฺคํ
    เอตํ โข สรณํ เขมํ
    เอตํ สรณมาคมฺม ปพฺพตานิ วนานิ จ
    มนุสฺสา ภยตชฺชิตา
    เนตํ สรณมุตฺตมํ
    สพฺพทุกฺขา ปมุจฺจติ
    สงฺฆญฺจ สรณํ คโต
    สมฺมปฺปญฺญาย ปสฺสติ
    ทุกฺขสฺส จ อติกฺกมํ
    ทุกฺขูปสมคามินํ
    เอตํ สรณมุตฺตมํ
    สพฺพทุกฺขา ปมุจฺจตีติ.
     

    เสร็จกิจ 16 ไม่ตกกันดาร เรียกว่า นิพพานก็ได้   นี่แหละเสร็จกิจ 16 ละ  ทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ ในกายมนุษย์ 4, ทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ ในกายทิพย์ 4 เป็น 8, ทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ ในกายรูปพรหม 4 เป็น 12,  ทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ เห็นจริงตามจริงในกายอรูปพรหมอีก 4 มันก็เป็น 16 นี้เสร็จกิจทางพุทธศาสนา

     

    ณ บัดนี้ อาตมภาพจักได้แสดง เขมาเขมสรณทีปิกคาถา วาจาเครื่องกล่าวแสดงซึ่ง ที่พึ่งอันเกษมและไม่เกษมทั้ง 2 สองอย่าง จะชี้แจงแสดงตามวาระพระบาลี  คลี่ความเป็นสยามภาษาตามมตยาธิบาย  จะชี้แจงแสดงเป็นทางปริยัติ เป็นทางปฏิบัติ เป็นทางปฏิเวธ   ให้เป็นเหตุสอดคล้องต้องด้วยพุทธศาสนา   เริ่มต้นจะแสดงทางปริยัติก่อน ในตอนหลังจะได้แสดงทางปฏิบัติต่อไป   แล้วปฏิเวธก็จะรู้คู่กันไปในทางปฏิบัติ   พุทธบริษัททั้งคฤหัสถ์บรรพชิต ทุกถ้วนหน้า   จงเงี่ยโสตทั้งสองรองรับรสพระสัทธรรมเทศนา   ดังอาตมาจะได้ชี้แจงแสดง ต่อไป ณ บัดนี้

    เริ่มต้นแห่งวาระพระบาลีว่า พหุ ํ เว สรณํ ยนฺติ เป็นอาทิว่า   มนุษย์เป็นอันมาก  อันภัยคุกคามเข้าแล้ว ย่อมถึงภูเขาทั้งหลายบ้าง ถึงป่าทั้งหลายบ้าง  ถึงอารามและต้นไม้และเจดีย์ทั้งหลายบ้างว่าเป็นที่พึ่ง   เนตํ โข สรณํ เขมํ นั่นหาใช่ที่พึ่งอันเกษมไม่   เนตํ สรณมุตฺตมํ นั่นหาใช่ที่พึ่งอันอุดมไม่   เนตํ สรณมาคมฺม ถ้าอาศัยอันนั้นเป็นที่พึ่งแล้ว   สพฺพทุกฺขา ปมุจฺจติ ย่อมหาหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวงไปได้ไม่    โย พุทฺธญฺจ ธมฺมญฺจ สงฺฆญฺจ สรณํ คโต   ผู้ใดถึงแล้วซึ่งพระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า และพระสงฆ์เจ้า ว่าเป็นที่พึ่งแล้ว   จตฺตาริ อริยสจฺจานิ สมฺมปฺปญฺญาย ปสฺสติ ทุกฺขํ ทุกฺขสมุปฺปาทํ ทุกฺขสฺส จ อติกฺกมํ อริยญฺจฏฺฐงฺคิกํ มคฺคํ ทุกฺขูปสมคามินํ มาเห็นอริยสัจธรรมทั้ง 4 ตามปัญญาอันชอบ   ทุกฺขํ คือทุกข์   ทุกขสมุปฺปาทํ คือ ตัณหาเป็นแดนให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์  ทุกฺขสฺส จ อติกฺกมํ คือ การก้าวล่วงเสียซึ่งทุกข์   อริยญฺจฏฺฐงฺคิกํ มคฺคํ คือหนทางมีองค์ 8 ไปจากข้าศึก    ทุกฺขูปสมคามินํ ให้ถึงพระนิพพาน เป็นที่สงบระงับทุกข์    เอตํ โข สรณํ เขมํ นี้เป็นที่พึ่งอันเกษม    เอตํ สรณมุตฺตมํ นี้เป็นที่พึ่ง อันอุดม    เอตํ สรณมาคมฺม มาถึงอันนี้เป็นที่พึ่งได้แล้ว   สพฺพทุกฺขา ปมุจฺจตีติ ย่อมหลุดพ้น จากทุกข์ทั้งปวงได้ด้วยประการดังนี้   นี้เนื้อความของพระบาลีคลี่ความเป็นสยามภาษา

    ต่อแต่นี้จะแสดงเป็นปริยัติเทศนา ในเขมาเขมสรณาคมน์ต่อไป   ปริยัติเทศนาว่า   มนุษย์เป็นอันมาก  ไม่ใช่น้อย  หมดทั้งสากลโลก  ชมพูทวีป  แสนโกฏิจักรวาล  อนันตจักรวาล  นิพพานถอดกาย  มีเท่าไรที่เป็นมนุษย์หรือทิพย์ก็ช่าง   หรือรูปพรหม อรูปพรหม ก็ช่าง   เมื่อพากันมาฟังธรรมเทศนาแล้ว  นั่นแหละก็อยู่ในพวกมนุษย์นั่นทั้งนั้น   มีมากน้อยเท่าใด  มนุษย์ทั้งหลายมากด้วยกัน  ภยตชฺชิตา  อันภัยคุกคามเข้าแล้ว  เมื่อคุกคามเข้าเช่นนั้น  แล้วทำไง  บางพวกไปถึงภูเขาใหญ่ๆ  ที่เขานับถือเชิดชูบูชากันว่าเป็นที่พึ่งบ้าง   บางพวกไปถึงป่าใหญ่ๆ ที่เขานับถือเชิดชูบูชากันว่าเป็นที่พึ่งบ้าง  บางพวกไปถึงอารามใหญ่ๆ เช่น เชตวนาราม หรืออารามใหญ่ๆ กว่านั้นก็ช่าง  หรือเล็กกว่านั้นก็ช่าง  ที่ศักดิ์สิทธิ์ เช่น อย่างวัดโสธรอย่างนี้  พอถึงวัดเข้าไหว้แล้ว   แต่ว่าไหว้กลัวฤทธิ์กลัวเดชพระยามาร  อ้ายที่มีฤทธิ์มีเดชอยู่ที่นั่น  ไม่ใช่เคารพต่อพระพุทธเจ้าโดยตรง   เคารพในฤทธิ์เดชของพระยามารมัน   กลัวพระยามารมัน  อารามหรือต้นไม้เป็นเจดีย์   บัดนี้ก็ยังปรากฏอยู่นั่นแน่  เจริญพาสน์นั่นแน่  ต้นมะขามใหญ่  นั่นแน่ ไปถึงก็ต้องไหว้เชียว   ต้องไหว้  กลัว  กลัวใครละ  กลัวฤทธิ์พระยามาร  มันมีฤทธิ์มีเดช  มันสิงมันทรงได้  มันบอกไหว้นบเคารพเสีย   มันให้ความสุขความเจริญ  ถ้าว่าไม่ไหว้นบ เคารพ นบบูชาแล้ว ก็ลงโทษต่างๆ นานา  กลัวมัน ต้องไหว้มันอย่างนี้  ไปถึงอาราม หรือ ต้นไม้ เจดีย์เช่นนั้นเข้าแล้ว  ก็ต้องไหว้  กลัวต้องภัยได้ทุกข์  ถึงอ้ายสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ว่าเป็น  ที่พึ่งทีเดียว

    นั่นพระพุทธเจ้าปฏิเสธแล้ว   เนตํ โข สรณํ เขมํ ภูเขาก็ดี ป่าก็ดี อารามก็ดี ต้นไม้ก็ดี นั่นไม่ใช่ที่พึ่งอันผ่องใส ไม่ใช่ที่พึ่งอันเกษม   เนตํ สรณมุตฺตมํ นั่นไม่ใช่ที่พึ่งอันสูงสุด หรืออันอุดม ไม่ใช่ที่พึ่งอันอุดมอันสูงสุด   เนตํ สรณมาคมฺม อาศัยอันนั้นว่าเป็นที่พึ่งแล้ว   น ปมุจฺจติ สพฺพทุกฺขา ย่อมหาหลุดพ้นไปจากทุกข์ทั้งปวงได้  เพราะต้องติดอยู่ในกามภพ รูปภพ อรูปภพ อยู่นี่เอง จนไปนิพพานไม่ได้  เพราะเข้าถึงที่พึ่งไม่ถูก   พลาดไปเรื่องนี้   เราเห็นอยู่ต่อตาทั่วๆ กัน  ในประเทศไทยนี่  อะไรต่อมิอะไรกันไขว่เชียว  เพราะเหตุอะไร ?   เพราะเหตุว่า ไม่รู้จัก พุทฺโธ ธมฺโม สงฺโฆ น่ะซี   พุทฺโธ ธมฺโม สงฺโฆ ไม่ได้อยู่เรี่ยราดเช่นนั้น   พุทฺโธ ธมฺโม สงฺโฆ  อยู่ในตัวทุกคน  กายเป็นชั้นๆ เข้าไป  กายมนุษย์-กายมนุษย์ละเอียด, กายทิพย์-กายทิพย์ละเอียด, กายรูปพรหม-กายรูปพรหมละเอียด, กายอรูปพรหม-กายอรูปพรหมละเอียด, กายธรรม-กายธรรมละเอียด นั่นแน่ พุทฺโธ ธมฺโม สงฺโฆ นั่นแน่   กายธรรม-กายธรรมละเอียด   กายธรรม นั่นแหละเป็น พุทฺโธ  เป็นเนมิตตกนามเกิดขึ้นเป็น พุทฺโธ   ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายธรรม นั่นแหละ เส้นผ่าศูนย์กลางเท่าหน้าตักธรรมกาย  กลมรอบตัว   ดวงนั้นแหละเป็นเนมิตกนาม  เกิดขึ้นเรียกว่า ธมฺโม  กายธรรมละเอียดอยู่ในดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกาย  แต่ว่าใหญ่กว่ากายธรรม  นั่นแหละเรียกว่า สงฺโฆ เป็นเนมิตตกนามเกิดขึ้นเรียกว่า สงฺโฆ    ถ้าตัวจริงละก้อ  พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ นั่นแหละเป็นตัวจริงที่เราจะถึง   จะไปถึงสิ่งอื่นไม่ได้   โย พุทฺธญฺจ ธมฺมญฺจ สงฺฆญฺจ สรณํ คโต ผู้ถึงพระพุทธเจ้าว่าเป็นที่พึ่ง  ถึงพระธรรมว่าเป็นที่พึ่ง  ถึงพระสงฆ์ว่าเป็นที่พึ่ง  หรือถึงพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ ทั้ง 3 นั้นว่าเป็นที่พึ่ง

    เมื่อถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่งแล้ว   จตฺตาริ อริยสจฺจานิ สมฺมปฺปญฺญาย ปสฺสติ  ต้องเห็นอริยสัจธรรมทั้ง 4  เห็นอริยสัจทั้ง 4   ตามปัญญาอันชอบที่ถูก  ไม่ให้ผิดจากอริยสัจธรรมทั้ง 4  อริยสัจธรรมทั้ง 4 เป็นธรรมสำคัญในทางพระพุทธศาสนา   แต่เราไม่เดียงสาทีเดียวว่าอะไรเป็นทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ   เราไม่เดียงสาทีเดียว  ไม่เดียงสาอย่างไร ?   ทุกขสัจน่ะคืออะไรล่ะ ?   ความเกิดน่ะซีเป็นทุกขสัจจะ   สมุทัยสัจล่ะ เหตุให้เกิดนั่นแหละเป็นสมุทัยสัจ   นิโรธสัจล่ะ ความดับเหตุให้เกิดนั่นแหละเป็นนิโรธสัจ   มรรคสัจ ข้อปฏิบัติหนทางมีองค์ 8 ไปจากข้าศึกให้ถึงพระนิพพานที่เป็นที่สงบระงับนั่นแหละ เป็นมรรคสัจ   นี้เป็นตัวสำคัญนัก   วันนี้มุ่งมาดปรารถนาจะแสดงในทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ นี้   ให้เข้าเนื้อเข้าใจ   จะแสดงทางปริยัติก่อน  แล้วจึงย้อนไปแสดงทางปฏิบัติให้เข้าเนื้อเข้าใจชัดว่า  ทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ น่ะ อยู่ที่ไหน อะไรให้รู้กันเสียที 

    เมื่อเห็นสัจธรรมทั้ง 4 เป็นที่พึ่งดีเช่นนี้แล้ว   พระองค์ก็ทรงรับสั่ง เอตํ โข สรณํ เขมํ นี้เป็นที่พึ่งอันเกษม อันผ่องใส เอตํ สรณมุตฺตมํ นี้เป็นที่พึ่งอันอุดมสูงสุด   เอตํ สรณมาคมฺม สพฺพทุกฺขา ปมุจฺจติ มาอาศัยอันนี้เป็นที่พึ่งแล้ว  ย่อมหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้  นี่ท่านแสดงย่อย่นสกลพุทธศาสนา  ธรรมที่พระองค์ได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าขึ้นที่ควงไม้ศรีมหาโพธิ์ คือ สัจธรรมทั้ง 4  รู้จริงรู้แท้ทีเดียวในสัจธรรมทั้ง 4 นี้    ถ้าไม่รู้จริงรู้แท้ในสัจธรรมทั้ง 4 เป็นพระอรหันต์ก็ไม่ได้   เป็นพระพุทธเจ้าก็ไม่ได้  เป็นไม่ได้ทีเดียว  นี่ธรรมสำหรับทำให้เป็นพระพุทธเจ้าทีเดียว   สัจธรรมทั้ง 4 นะ  เพราะฉะนั้นวันนี้เราควรฟัง   ที่แสดงมาแล้วนี้เป็นทางปริยัติ

    ถ้าจะแสดงโดยปฏิบัติ  ให้แน่ชัดลงไปแล้วละก็  ในสัจธรรม 4 นี่น่ะคือใคร   ถ้ารู้จักพระพุทธเจ้าเสียก่อน   

    พระพุทธเจ้าน่ะคือใครที่ไปเห็นสัจธรรมทั้ง 4 น่ะ   เห็นด้วยพระสิทธัตถกุมารหรือด้วยตาของพระสิทธัตถราชกุมาร ความเห็น ความรู้ของพระสิทธัตถราชกุมารหรือ ?   ไม่ใช่  
    หรือเห็นด้วยกายละเอียดของพระสิทธัตถราชกุมาร  กายที่นอนฝันออกไปน่ะ ?   ไม่ใช่   ไม่ได้เห็นด้วยตานั้นกายนั้น  
    เห็นด้วยตากายทิพย์ของพระสิทธัตถราชกุมารหรือ ?   กายที่ฝันในฝันออกไปนะ ?   ไม่ใช่   เห็นด้วยกายนั้นเป็นพระพุทธเจ้าพระอรหันต์ไม่ได้
    เห็นด้วยตากายทิพย์ละเอียดของพระสิทธัตถราชกุมารอย่างนั้นหรือ ถึงจะเป็นพระพุทธเจ้าได้ ?  ไม่ใช่  ไม่เห็น เช่นนั้น   เพราะสัจธรรมนี่เห็นขั้นท้ายไม่ใช่เห็นขั้นต้น   เห็นด้วยตากายรูปพรหมหรือรูปพรหม ละเอียดของพระสิทธัตถราชกุมารอย่างนั้นหรือ ?   เห็นทุกข์ เห็นเหตุเกิดทุกข์ ความดับทุกข์ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ?   ไม่ใช่
    เห็นด้วยตากายอรูปพรหม-อรูปพรหมละเอียดของพระสิทธัตถราชกุมาร เป็นกายที่ 7 ที่ 8 กระนั้นหรือ ?   ไม่ใช่   เห็นด้วยตากายนั้น มันอยู่ในภพ  มันทะลุหลุดสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าไม่ได้   มันยังติดภพอยู่  
    ท่านเห็นด้วยตาธรรมกาย   ธรรมกายที่เป็นโคตรภูนะ  ยังหาได้เป็นพระโสดา-สกทาคาไม่ ยังหาได้เป็นโสดาปัตติมรรคผล สกทาคามิมรรคผล   อนาคามิมรรคผล  อรหัตมรรคผลไม่   เห็นด้วยตากายธรรม   รู้ด้วยญาณของกายธรรม  ไม่ใช่รู้ด้วยดวงวิญญาณ   เพราะกายมนุษย์มีดวงวิญญาณ   ญาณไม่มี   กายมนุษย์-กายมนุษย์ละเอียด,  กายทิพย์-กายทิพย์ละเอียด มีดวงวิญญาณทั้งนั้น   ดวงญาณไม่มี กายรูปพรหม-รูปพรหมละเอียด มีแต่ดวงวิญญาณ  ดวงญาณไม่มี   กายอรูปพรหม-อรูปพรหม ละเอียด มีแต่ดวงวิญญาณ ดวงญาณไม่มี พอถึงกายธรรมเข้า มีญาณทีเดียว

    ญาณน่ะเป็นอย่างไร ?   รูปพรรณสัณฐานเป็นอย่างไร ?   ตาธรรมกายก็เหมือนรูปพระปฏิมาอย่างนี้แหละ เหมือนมนุษย์อย่างนี้แหละ  แบบเดียวกันแต่ทว่าละเอียด   แล้วมีญาณของกายธรรม   ญาณน่ะเป็นอย่างไร ?    ดวงวิญญาณอยู่ในกลางกายมนุษย์นี่ เท่าดวงตาดำข้างใน  อยู่ในกลางกายทิพย์ก็เท่าดวงตาดำข้างใน อยู่ในกลางกายมุนษย์ละเอียด กายทิพย์ละเอียด  ก็แบบเดียวกัน  หรือกายรูปพรหม-รูปพรหมละเอียด อรูปพรหม-อรูปพรหมละเอียด ก็มีดวงวิญญาณแบบเดียวกัน    ดวงวิญญาณเท่านั้นไม่อาจจะเห็นอริยสัจได้   ต่อเมื่อใด ไปถึงกายธรรมเข้า ดวงวิญญาณจะขยายส่วนออกไปเป็นดวงญาณ   หน้าตักธรรมกายโตเท่าไหน ก็กว้างแค่นั้น  ถ้าหน้าตักศอกหนึ่ง  ดวงญาณก็วัดผ่าเส้นศูนย์กลางศอกหนึ่ง  หน้าตักวาหนึ่ง ดวงญาณก็วัดผ่าเส้นศูนย์กลางวาหนึ่ง   กลมรอบตัว    ถ้าว่าหน้าตักธรรมกายนั้น 2 วา ดวงญาณก็วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง 2 วา กลมรอบตัว   ขยายอย่างนั้น   ถ้าหน้าตัก 4 วา ดวงญาณก็วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง 4 วา กลมรอบตัว  แล้วแต่หน้าตักธรรมกาย   หน้าตักธรรมกายโคตรภูนั่นไม่ถึง 5 วา หย่อน 5 วาเล็กน้อย  ถ้าเป็นพระโสดาจึงจะเต็ม 5 วา   ถ้ายังไม่ถึงพระโสดาหย่อนกว่า 5 วา   หน้าตักของธรรมกายนั่นโตเท่าไหน  ดวงญาณก็โตเท่านั้น   ดวงญาณนั้นแหละสำหรับรู้ละ   นั่นแหละ สมฺมปฺปญฺญาย ปสฺสติ เห็นตามปัญญาอันชอบ  เห็นชัดๆ ทีเดียว   ดวงญาณของธรรมกายขยายออกไป   ดังนั้นเมื่อเข้าถึงธรรมกายแล้ว   ธรรมกายจะเห็นทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรจสัจ มรรคสัจ ต้องเข้าสมาบัติ   ธรรมกายต้องเข้าสมาบัติ   ธรรมกายนั่งนิ่งเพ่งฌานทีเดียว ใจหยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกาย  หยุดนิ่ง  เมื่อนิ่งถูกส่วนเข้าแล้ว ที่ธรรมกายนั่งนั่นแหละเกิดเป็นดวงฌานขึ้น  วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง 2 วา 8 ศอก  กลมเป็นวงเวียน  เป็นกงจักร  กลมเป็นกงเกวียนทีเดียว   เหมือนแผ่นกระจกหนาคืบหนึ่ง   วัดผ่าเส้นศูนย์กลาง 2 วา หนาคืบหนึ่ง  รองนั่งของธรรมกายนั้นมาจากไหน   ดวงฌานที่เกิดขึ้นน่ะมาจากไหน   ที่มาของดวงฌานน่ะมีมาก  มาจากกสิณก็เป็นดวงฌานได้   มาจากดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ก็เป็นดวงฌานได้  แต่ว่าเมื่อถึงธรรมกายแล้ว  ใช้ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์นั่นเองเป็นปฐมฌาน  ขยายส่วน  เห็นใส  เมื่อดูใสแล้วก็ขยายส่วนออกไป  ขยายส่วนออกไป 2 วา กลมรอบตัว   แต่ว่าหนาคืบหนึ่ง  กลมเหมือนยังกับกงจักรหรือกงเกวียน   กลมเหมือนอย่างวงเวียนอย่างนั้น  หนาคืบหนึ่ง   ใสเป็นแก้วผลึกทีเดียว  รองนั่งของธรรมกาย   ธรรมกายเมื่อเข้าถึงปฐมฌานเช่นนั้นนั่นแหละ    พอถึงปฐมฌานเข้าเช่นนั้น ก็มีวิตก ความตรึก วิจาร ความ ตรอง ปีติ   ชอบเนื้อชอบใจ  วิตกว่าฌานนั้นมันมาจากไหน  เห็นแล้วมันมาจากนั่น วิจาร ไตร่ตรองไป  ตรวจตราไปถี่ถ้วน  เป็นของที่ไม่มีที่ติ  ปลื้มอกปลื้มใจ  ดีอกดีใจ  มีความปีติขึ้น ปลื้มอกปลื้มใจ เต็มอกเต็มใจ  เต็มส่วนของปีติ  มีความสุข   นิ่งอยู่กลางฌานนั่น   สุขในฌาน อะไรจะไปสู้  ในภพนี่ไม่มีสุขเท่าถึงดอก   สุขในฌานนะ สุขลืมสมบัตินั่นแหละ   สมบัติกษัตริย์ก็ไม่อยากได้  สุขในฌานนะ  สุขนักหนาทีเดียว  เต็มส่วนของความสุขก็หนึ่ง   เฉยวิเวกวังเวง เปลี่ยวเปล่า เรามาคนเดียวไปคนเดียวหมดทั้งสากลโลก   คนทั้งหลายไปคนเดียวทั้งนั้น  ไม่มีคู่สองเลย  จะเห็นว่าลูกสักคนหนึ่งก็ไม่มี  สามีสักคนหนึ่งก็ไม่มี   ภรรยาสักคนหนึ่งก็ไม่มี   ต่างคนต่างมา  ต่างคนต่างไป  ต่างคนต่างตาย  ต่างคนต่างเกิด  เป็นจริงอย่างนี้  ปล่อยหมด ไม่ว่าอะไร  ไม่ยึดถือทีดียว  เรือกสวนไร่นา ตึกร้านบ้านเรือน ก่อนเราเกิดเขาก็มีอยู่อย่างนี้  หญิงชายเขาก็มีกันอยู่อย่างนี้   เราเกิดแล้วก็มีอยู่อย่างนี้   เราตายไปแล้วมันก็มีอยู่อย่างนี้   เห็นดิ่งลงไปทีเดียว   เข้าปฐมฌานเข้าแล้ว  เห็นดิ่งลงไปเช่นนี้ เมื่อเข้าปฐมฌานก็แน่นิ่งอยู่   ฌานที่ละเอียดกว่านี้มี   พอนึกขึ้นมาเช่นนั้น  ก็ อ้อ! ที่ละเอียดขึ้นมากว่านี้มีอยู่  ก็นิ่งอยู่กลางปฐมฌานนั่น   กลางดวงปฐมฌานนั่นนิ่ง  ใจของธรรมกายหยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกาย   นิ่งพอถูกส่วนเข้า  ฌานนั่นเปลี่ยนแล้ว ปฐมฌานนั่นจางไป   ทุติยฌานมาแทนที่รองนั่ง  จะไปไหน ไปคล่องแคล่วยิ่งกว่าขึ้นเครื่องบิน   ปฐมฌานเหมือนกัน  ทุติยฌานเหมือนกัน   พอเข้าฌานที่ 2 ได้แล้ว   ก็นึกว่าฌานที่ 2 มันใกล้ฌานที่ 1 มันเสื่อมง่าย   ใจก็หยุดนิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายอีก   ถูกส่วนนิ่งเข้าอีก   ทุติยฌานก็จางไป  ตติยฌานมาแทนที่  นิ่งอยู่กลางตติยฌานนั่น   พอถูกส่วนเข้าตติยฌานแล้ว  ละเอียดกว่าตติยฌานนี่มี   นิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์นั่น   ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายธรรมนั่น   ถูกส่วนเข้า   เมื่อนึกถึงฌาน   ตติยฌานก็จางไป   จตุตถฌานเข้ามาแทนที่   ยังไม่พอแค่นั้น  นิ่งอยู่กลางจตุตถฌานนั่น  ละเอียดกว่านี้มี  ว่าละเอียดกว่านี้มี   จตุตถฌานก็จางไป   อากาสานัญจายตนฌาน   กลางของจตุตถฌานว่างออกไปเท่ากัน   ดวงเท่ากัน   ดวงเท่ากันนี้เรียกว่า อากาสานัญจายตนฌาน  ธรรมกายก็นั่งอยู่กลางของอากาสานัญจายตนฌาน   เรียกว่า เข้าอากาสานัญจายตนฌาน แล้ว  ใจก็นิ่งอยู่ศูนย์กลางที่ดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายนั่น   ถูกส่วนเข้าก็นึกว่าฌานนี้  คล่องแคล่วว่องไวดี  แต่ว่าละเอียดกว่านี้มี   พอถูกส่วนเข้า  อากาสานัญจายตนฌานก็จางไป วิญญาณัญจายตนฌานเข้ามาแทนที่  ดวงก็เท่ากัน  นิ่งอยู่กลางดวงวิญญาณัญจายตนฌานนั่น ว่าละเอียดกว่านี้มี   นิ่งอยู่ศูนย์กลางที่ดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายนั่น   แต่ว่าเพ่งฌาน นิ่ง พอถูกส่วนเข้า  วิญญาณัญจายตนฌานจางไป   อากิญจัญญายตนฌานเข้ามาแทนที่ รู้ละเอียด จริง นี่เป็นรู้ละเอียดจริง   นิ่งอยู่อากิญจัญญายตนฌานนั่น ละเอียดกว่านี้มี  พอถูกส่วนเข้า อากิญจัญญายตนฌานจางไป เนวสัญญานาสัญญายตนะเข้ามาแทนที่   เข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะ  ออกนึกในใจทีเดียวว่า สนฺตเมตํ ปณีตเมตํ  นี่ละเอียดจริง ประณีตจริง นี่เข้าฌานดังนี้   นี่เขาเรียกว่า เข้าฌานโดยอนุโลม

    เข้าฌานโดยปฏิโลม ถอยกลับจากฌานที่ 8 นั้น  จากเนวสัญญานาสัญญายตนะเข้าหา  อากิญจัญญายตนะ มาวิญญาณัญจายตนะ  เข้าอย่างไรก็ออกมาอย่างนั้น   มาถึงอากาสานัญจายตนะ   ถอยจากอากาสานัญจายตนะ มาถึงจตุตถฌาน  ถอยจากจตุตถฌาน มาถึงตติยฌาน   ถอยจากตติยฌาน มาถึงทุติยฌาน   ถอยจากทุติยฌาน มาถึงปฐมฌาน   เข้าไปดังนี้อีก  นี่เรียกว่าปฏิโลมถอยกลับ  อนุโลมเข้าไปอีก ที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 ที่ 5 ที่ 6 ที่ 7 ที่ 8 ไปอีก ถอยจากที่ 8 มาถึง ที่ 7 ที่ 6 ที่ 5 ที่ 4 ที่ 3 ที่ 2 ที่ 1 มาถึงอีก  นี่เรียกว่า อนุโลมปฏิโลมไปอย่างนี้  พออนุโลมปฏิโลมถูกส่วนเข้าก็เห็นทีเดียวว่า  อ้อ! สัตว์โลกนี่เป็น ทุกข์ละ  เห็นทุกข์ละนะ   นี่ทางปฏิบัติเห็นทุกข์ละ ตาธรรมกายเห็นอายตนะที่ดึงดูดของสัตว์โลก  เขาเรียกว่า โลกายตนะ   อ้อ!   มนุษย์นี่เกิดขึ้นไม่ใช่อื่นเลย ความเกิดนี่  อายตนะของโลกเขาดูดนะ   ก็เห็นอายตนะทีเดียว   มนุษย์นี่ก็มีอายตนะอยู่อันหนึ่ง   เราเคยค้นพบ  เรารู้จักแล้ว  อายตนะของมนุษย์  รู้จักกันทั่วแหละ  อายตนะของมนุษย์ ที่เราติดอยู่  ก็ติดอายตนะนั่นแหละมันดึงดูด   อายตนะอยู่ที่ไหน ?   ที่บ่อเกิดของมนุษย์  อายตนะแปลว่าบ่อเกิด   บ่อเกิดมันอยู่ที่ไหน ?   นั่นแหละเป็นตัวอายตนะของมนุษย์ทีเดียว   อายตนะของทิพย์ละ   มันมีมากด้วยกันนี่  อายตนะกำเนิดของสัตว์มีถึง 4 คือ อัณฑชะ สังเสทชะ ชลาพุชะ โอปปาติกะ   อัณฑชะ เกิดด้วยฟองไข่   สังเสทชะ เกิดด้วยเหงื่อไคล   ชลาพุชะ เกิดด้วยน้ำ   อายตนะที่ว่านี้เป็นชลาพุชะ เกิดด้วยน้ำ   โอปปาติกะ ลอยขึ้นบังเกิด เอากันละคราวนี้   อัณฑชะ เกิดด้วยฟองไข่ เป็ด ไก่ ทั้งนั้น เป็นอายตนะอันหนึ่ง  สังเสทชะ  เหงื่อไคลเป็นอายตนะอันหนึ่ง   สำหรับเหนี่ยวรั้งใจให้สัตว์เกิดนั่น เป็นอายตนะสำหรับบ่อเกิด   ชลาพุชะ มีน้ำสำหรับเป็นอายตนะให้เกิด    โอปปาติกะ อายตนะของจาตุมหาราช ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานรตี ปรนิมมิตตวสวัตตี นี่เป็นอายตนะของทิพย์ทั้งนั้น   มีอายตนะดึงดูดให้เกิดเหมือนกัน   ไม่ใช่เท่านั้น  อายตนะที่ทรามลงไปกว่านี้   อายตนะให้เกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน  คล้ายมนุษย์เหมือนกัน  อายตนะให้เกิดเป็นอสุรกาย แบบเดียวกันกับมนุษย์   อายตนะเกิดเป็นเปรต แบบเดียวกับมนุษย์   อายตนะในอบายภูมิทั้ง 4  สัญชีวะ กาฬสุตตะ สังฆาฏะ โรรุวะ มหาโรรุวะ ตาปะ มหาตาปะ อเวจีนรก   นรกทั้ง 8 ขุมใหญ่นี้  ขุมหนึ่งๆ  มีอุสสทนรกเป็นบริวารล้อมรอบ 4 ด้านๆ ละ 4 ขุม เป็น 16 ขุม   แล้วมียมโลกนรก ตั้งอยู่ในทิศทั้ง 4 ทิศๆ ละ 10 ขุม เป็น 40 ขุม   นรกทั้ง 456 ขุมเป็นอายตนะดึงดูดสัตว์โลกทั้งนั้น  เมื่อทำดีทำชั่วไปถูกส่วนเข้าแล้ว   อายตนะของนรกก็ดึงเป็นชั้นๆ ดูดเป็นชั้นๆ  ต้องไปติด   ใครทำอะไรเข้าไว้ อายตนะมันดึงดูดไปติด   ฝ่ายธรรมกายไปเห็นก็  อ้อ! สัตว์โลก มันติดอย่างนี้เอง   ติดเพราะอายตนะเหล่านี้ อ้ายที่มาเกิดเหล่านี้ใครให้มาเกิดละ   อ้ายที่มาเกิด เป็นอบายภูมิทั้ง 4   มนุษย์ 1 สวรรค์ 6 ชั้นนี้ ใครให้เกิดละเห็นทีเดียวแหละ  เห็นทีเดียว   ทุกฺขสมุปฺปาทตณฺหา  ตัณหานี่แหละเป็นแดนให้เกิดพร้อมทีเดียว

    ตัณหาคืออะไรล่ะ ?  กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา   แยกออกไปเป็น 3  เห็นตัณหาอีก   อ้อ! อ้ายเจ้ากามตัณหานี้ อยากได้กาม อยากได้รูป ได้เสียง ได้กลิ่น ได้รส ได้สัมผัส นั่นเอง   เจ้าถึงต้องมาเกิด  เออ อยากได้รูป ได้เสียง ได้กลิ่น ได้รส ได้สัมผัส ไปตีรันฟันแทงกันป่นปี้  รบราฆ่าฟันกันยับเยินเปินทีเดียว  เพราะอยากได้รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส นั่นแหละ ไม่ใช่เรื่องอะไร  เห็นชัดๆ อย่างนี้ว่า อ้อ !  อ้ายนี่เองเป็นเหตุให้เกิด  กามตัณหานี่เอง อ้อ! นี่ อายตนะของกามตัณหาทั้งนั้น   ในอบายภูมิทั้ง 4 นรก อสุรกาย เปรต สัตว์ดิรัจฉานเหล่านี้ มนุษย์ สวรรค์ 6 ชั้น นี่กามตัณหาทั้งนั้น   อ้ายกามนี่เองเป็นตัวสำคัญเป็นเหตุ   อ้ายนี่สำคัญนัก   

    ไม่ใช่แต่กามตัณหาฝ่ายเดียว  ไปดูถึงรูปพรหม 16 ชั้น พรหมปาริสัชชา พรหมปุโรหิตา มหาพรหมา ปริตตาภา อัปปมาณาภา อาภัสสรา ปริตตสุภา อัปปมาณสุภา สุภกิณหา เวหัปผลา อสัญญสัตตา อวิหา อตัปปา สุทัสสา สุทัสสี อกนิฏฐ   รูปพรหม 16 ชั้นนี่เป็น ภวตัณหา   อ้ายนี่อยากได้รูปฌานที่เราดำเนินมานั่นเอง   ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน อ้ายนี่เป็นรูปพรหม อากาสานัญจายตนฌาน วิญญาณัญจายตนฌาน อากิญจัญญายตนฌาน เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน   อ้ายนี่ให้ไปเกิดเป็นอรูปพรหม อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ อ้ายนี่ติด อ้าย 8 ดวงนี่เอง   เมื่อไปติดเข้าแล้วมันชื่นมื่นมันสบายนัก กามภพสู้ไม่ได้   มันสบายเหลือเกิน  มันสุขเหลือเกิน  ปฐมฌานก็สุขเพียงเท่านั้น  ทุติยฌานก็สุขหนักขึ้นไป  ตติยฌานสุขหนักขึ้นไป   จตุตถฌานสุขหนักขึ้นไป  อากาสานัญจายตนฌาน วิญญาณัญจายตนฌาน สุขหนักขึ้นไป  อากิญจัญญายตนฌานสุขหนักขึ้นไป เนวสัญญานาสัญญายตนฌานสุข หนักขึ้นไป   มันพิลึกกึกการละ  มันยิ่งใหญ่ไพศาลทีเดียว  ส่วนรูปภพนั้นเป็นภวตัณหา   อ้ายภวตัณหานี่เองเป็นเหตุให้เกิดในรูปภพทั้ง 16 ชั้นนี่ 

    ฝ่ายอรูปภพทั้ง 4 ชั้นนี่เป็นวิภวตัณหา   เข้าใจว่า  นี่เอง หมดเกิด หมดแก่ หมดเจ็บ หมดตาย เสียแล้ว  เข้าใจว่า นี่เองเป็นนิพพาน เมื่อไม่พบศาสนาของพระบรมศาสดาจารย์  ก็เข้าใจว่า อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ นี่เอง เป็นนิพพานทีเดียว   เข้าใจอย่างนั้น ค้นคว้าหาเอาเอง นี่เป็นวิภวตัณหา ไปติดอยู่อ้ายพวกนี้เอง   กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา อ้าย 3 ตัวนี่แหละสำคัญนัก   ไปเห็นหมด เห็นรูปพรรณสัณฐาน ฌานก็เห็น กามตัณหาก็เห็น   กามตัณหาทั้ง 11 ชั้นนี่เห็น   ภวตัณหาทั้ง 16 ชั้นนั่นก็เห็น   วิภวตัณหาทั้ง 4 ชั้นน่ะ เห็นหมด   เห็นปรากฏทีเดียว   เอ! นี่จะทำอย่างไร ?   ต้องละอ้ายพวกนี้ ต้องละกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหานี้   ถ้าละไม่ได้ละก้อ  หลุดพ้นไปไม่ได้ละ   ก็ทุกข์อยู่นี่  ไม่พ้นจากทุกข์ แน่นอนทีเดียว   แน่นอนในใจของตัวทีเดียว  เข้าสมาบัติดูอีก  ตรวจทบไปทวนมาดูอีก ดูหนักเข้าๆๆ เห็นชัดหมดทุกสิ่งทุกประการแล้ว   ในกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา   ดูไปดูมา  อ้อ! เราต้องละกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหานี่   ถ้าว่าไม่ละกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา นี่ให้ขาดเสียละก้อ  เราจะต้องมีชาติไม่จบไม่แล้ว   จะต้องทุกข์ไม่จบไม่แล้ว   จะต้องหน้าดำคร่ำเครียดไม่จบไม่แล้ว   จะต้องลำบากยากแค้นไม่จบไม่แล้ว   เมื่อคิดดังนี้เข้าใจดังนี้แล้ว  ตาธรรมกายก็มองเห็นแจ่ม   เราต้องละกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา   ละอย่างไร ?   วิธีจะละ  ละอย่างไรนะ ?  เออ !  วิธีจะละ  ละท่าไหนกันนะ ?   เห็นทางทีเดียวว่า   อ้อ !  พระพุทธเจ้าพระอรหันต์ไปทางนี้   ที่เราเดินมาทางศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ในกายมนุษย์มาถึงกายมนุษย์ละเอียด  ในกายทิพย์มาถึงกายทิพย์ละเอียด ในกายรูปพรหมมาถึงกายรูปพรหมละเอียด  ในกายอรูปพรหมมาถึงกายอรูปพรหมละเอียด จนกระทั่งมาถึงกายธรรมกาย  ธรรมกายละเอียดนี้   เราต้องเดินในช่องทางของศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ นี่เอง   ใจต้องหยุด ต้องหยุดทีเดียวถึงจะละกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหาได้  เริ่มต้นต้องหยุดเชียว  พอหยุดกึ๊กเข้าก็ได้การทีเดียว  อ้อ! พอหยุดกึ๊กเข้า  กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ดับหมด   ถ้าว่าไม่หยุดละก้อ เป็นไม่ได้การทีเดียว   ไปไม่รอดไม่พ้นทีเดียว

    หยุดอะไรละ   ใจหยุดสิ  หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์นั่นแหละ  พอถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงศีล หยุดอยู่กลางดวงศีลนั่นแหละ  หยุดกลางของกลาง  กลางของหยุด  กลางที่หยุดนั่นแหละ ถ้าว่าถึงดวงสมาธิ กลางดวงสมาธิ กลางของกลางที่หยุดนั่นแหละ ก็เข้าถึงดวงปัญญา หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงปัญญา กลางของกลางที่หยุดนั่นแหละ เข้าถึงดวงวิมุตติ  หยุดอยู่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ พอหยุดแล้วก็กลางของกลางที่หยุดนั่นแหละ เข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะ   พอเข้าถึงดวงวิมุตติญาณทัสสนะแล้ว หยุดอยู่ศูนย์กลางของใจที่หยุดนั่นแหละ กลางของกลางๆๆ หนักเข้าก็เห็นกายพระโสดา เข้าถึงกายพระโสดา อ้อ! พอเข้าถึงกายพระ โสดารู้จักเชียว   นี่พระพุทธเจ้าพระอรหันต์ไปทางนี้ ไม่ใช่ไปทางอื่นเลย   แต่พอเข้าถึงกายพระโสดาละเอียด   ทำแบบเดียวกันอย่างนั้น  หยุดอย่างเดียวกันนั่นแหละ   หยุดอย่างนั้นแหละ พอหยุดเข้ารูปนั้นจริงๆ  เข้าถึงกายพระสกทาคา-สกทาคาละเอียด  อนาคา-อนาคาละเอียด  ก็รู้รสชาติของใจทีเดียว พอเข้าถึงพระอรหัต-พระอรหัตละเอียด  เข้าแล้วหลุดหมด กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา   ทุกฺขูปสมคามินํ อย่างนี้เอง   ถึงพระนิพพานเป็นที่ดับแห่งทุกข์   พอถึงพระอรหัตก็เห็นนิพพานแจ่ม   เข้านิพพานไปได้ทีเดียว  นี้ไปอย่างนี้  ไปจริงๆ อย่างนี้  ก็ไปได้  เพราะเห็นสัจธรรมทั้ง 4 แล้ว  ก็เข้ามาคลุมสัจธรรมทั้ง 4 ไว้  ยังไม่ปล่อยทุกข์  เหตุเกิดทุกข์  ความดับทุกข์  ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์  มั่นกับใจดูแล้วดูอีก  ทบทวนแล้วทบทวนอีก  แน่นอนในใจ  พอแน่นอนในใจ  เห็นทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ พอครบ 4 เข้าเท่านั้นแหละ  ได้บรรลุพระโสดาทันที  พอพระโสดาเข้าสมาบัติ  นิ่งอยู่ในปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน อากาสานัญจายตนฌาน วิญญาณัญจายตนฌาน อากิญจัญญายตนฌาน เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ทบไปทวนมาๆ   ตาธรรมกายของพระโสดาไปเห็นทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ รู้ด้วยญาณของพระโสดา พอครบรอบ 4 เข้าเท่านั้น ได้บรรลุพระสกทาคา หน้าตัก 10 วา สูง 10 วา เกตุดอกบัวตูมใสบริสุทธิ์หนักขึ้นไป ธรรมกายพระสกทาคาเข้าปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน อากาสานัญจายตนฌาน วิญญาณัญจายตนฌาน อากิญจัญญายตนฌาน เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ทบไปทวนมา  แบบเดียวกัน เห็นทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ ในกายรูปพรหม เห็นชัด   พอถูกส่วนเข้า ก็ได้บรรลุพระอนาคา พระอนาคาเดินสมาบัติแบบเดียวกัน เห็นทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ ในกายอรูปพรหมเข้าก็ได้บรรลุพระอรหัตทีเดียว   หมดกิเลสเป็นสมุทเฉทปหานทีเดียว   ถ้าหลักฐานเรียกว่า โสฬสกิจ เรียกว่าแค่นี้สำเร็จโสฬสกิจแล้ว   โสฬสกิจแปลว่ากระไร ?  กิจ 16  ในเพลงที่เขาวางไว้เป็นหลักว่า เสร็จกิจ 16 ไม่ตกกันดาร เรียกว่า นิพพานก็ได้   นี่แหละเสร็จกิจ 16 ละ  ทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ ในกายมนุษย์ 4, ทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ ในกายทิพย์ 4 เป็น 8, ทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ ในกายรูปพรหม 4 เป็น 12,  ทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ เห็นจริงตามจริงในกายอรูปพรหมอีก 4 มันก็เป็น 16 นี้เสร็จกิจทางพุทธศาสนา  ทางพระอรหัตแค่นี้   นี้ทางปฏิบัติ   เทศนาดังนี้เป็นทางปฏิบัติ ไม่ใช่ทางปริยัติ นี่ทางปฏิบัติอันนี้แหละ  พระพุทธศาสนาในทางปริยัติ ดังแสดงแล้วในตอนต้น  พุทธศาสนาในทางปฏิบัติดังแสดงแล้วในบัดนี้    แต่ปริยัติ ปฏิบัติ ที่เรียกว่าเข้าถึงปฏิบัติ เดินสมาบัติทั้ง 8 นั้น เป็นทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ ดังนี้ นี่เป็นทางปฏิบัติแท้ๆ

    เมื่อกายธรรมเห็น ทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ  ได้เข้าเห็นพระโสดา   บรรลุถึงพระโสดา นั่นปฏิเวธแท้ๆ ทีเดียว ได้เข้าถึงพระโสดาแล้ว ทั้งหยาบทั้งละเอียด   เมื่อพระโสดา เดินสมาบัติทั้ง 8  ดูทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ ในกายทิพย์เข้าทั้งหยาบทั้งละเอียด ได้บรรลุพระสกทาคา 

    เมื่อถึงพระสกทาคาทั้งหยาบทั้งละเอียด  เห็นเข้านั่นเป็นตัวปฏิเวธแท้ๆ ทีเดียว  รู้แจ้งแทงตลอดในสกทาคาเข้าแล้ว   เมื่อพระสกทาคาเข้าสมาบัติทั้ง 8   ดูทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ ในกายรูปพรหมเข้า   เห็นในสัจจธรรมทั้ง 4 ชัดอีก  ได้บรรลุ พระอนาคา  นี้ที่ได้เห็นตัวพระอนาคาทั้งหยาบทั้งละเอียด  และทั้งธรรมที่ทำให้เป็นพระอนาคา นั่นเป็นตัวปฏิเวธแท้ๆ ทีเดียว รู้แจ้งแทงตลอดเห็นจริงทีเดียว เห็นปรากฏทีเดียว   

    เมื่อพระอนาคาเข้าสมาบัติ   ดูทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ ทั้งหยาบทั้งละเอียด   เห็นชัดใน ทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ ได้บรรลุพระอรหัต 

    เมื่อเห็นกายพระอรหัต ทั้งธรรมที่ทำให้เป็นกายพระอรหัตทั้งหยาบทั้งละเอียด  เห็นชัดทีเดียว นั่นเห็นชัดอันนั้นแหละได้ชื่อว่า  เป็นปฏิเวธแท้ๆ เชียว รู้แจ้งแทงตลอด

    นี้ ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ ดังนี้   ศาสนามีทั้งปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ ดังนี้   ถ้าว่านับถือศาสนา  ปฏิบัติศาสนา  เข้าปริยัติก็ไม่ถูก  ปฏิบัติก็ไม่ถูก  ปฏิเวธก็ไม่ถูก  มันก็ไปต่องแต่งอยู่นั่น   เอาอะไรไม่ได้ สัก 10 ปี 100 ปี ก็เอาอะไรไม่ได้   ถึงอายุจะแก่ปานใด จะโง่เขลาเบาปัญญาปานใด   ถ้าเข้าถึงทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ ไม่ได้   ไม่เห็นทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ ดังแสดงมาแล้วนี้   จะปฏิบัติศาสนาเอาเรื่องราวไม่ได้  ถ้าว่าคนละ โมฆชิณฺโณ  แก่เปล่า เอาอะไรไม่ได้ เอาเรื่องไม่ได้  เหตุนี้แหละทางพุทธศาสนาจึงนิยมนับถือนักในเรื่อง สัจธรรมทั้ง 4 นี้

    ที่แสดงมานี้ก็เพื่อจะให้รู้สัจธรรมทั้ง 4   เมื่อรู้จักสัจธรรมทั้ง 4 แล้ว   สัจจธรรมทั้ง 4 นี้ใครเป็นคนรู้คนเห็น ธรรมกาย  ธรรมกายโคตรภูทั้งหยาบทั้งละเอียด   ธรรมกายพระโสดาทั้งหยาบทั้งละเอียด ธรรมกายพระสกทาคาทั้งหยาบทั้งละเอียด   ธรรมกายพระอนาคาทั้งหยาบทั้งละเอียด  ธรรมกายพระอรหัตทั้งหยาบทั้งละเอียด  เป็นผู้เห็นเป็นผู้รู้ เป็นผู้เห็น   ทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ เหล่านี้   นี้แหละเป็นธรรมสำคัญในพุทธศาสนา  เมื่อได้สดับ ตรับฟังแล้ว  พึงมนสิการกำหนดไว้ในใจของตนทุกถ้วนหน้า  เมื่อรู้จักธรรมที่พระองค์ทรงรับ  สั่งว่า  เอตํ โข สรณํ เขมํ  นี้ที่พึงอันเกษมผ่องใส    เอตํ สรณมุตฺตมํ นี้ที่พึ่งอันอุดมสูงสุด   เอตํ สรณมาคมฺม มาอาศัยอันนี้เป็นที่พึ่งแล้ว   สพฺพทุกฺขา ปมุจฺจติ ย่อมหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้ ด้วยประการดังนี้

    ที่ได้ชี้แจงแสดงมานี้ ตามวาระพระบาลีคลี่ความเป็นสยามภาษาตามมตยาธิบาย  เป็นไปในทางปริยัติ  ปฏิบัติ ปฏิเวธ พอสมควรแก่เวลา  เอเตน สจฺจวชฺเชน ด้วยอำนาจความสัจที่ได้อ้างธรรมปฏิบัติใน เขมาเขมสรณาทีปิกคาถา ตามวาระพระบาลีคลี่ความเป็น สยามภาษาตามมตยาธิบาย พอสมควรแก่เวลา ด้วยอำนาจสัจวาจาที่ได้อ้างธรรมเทศนา   ตั้งแต่ต้นจนอวสานนี้  ขอความสุขสวัสดีจงบังเกิดมีแก่ท่านทั้งหลาย  ทั้งคฤหัสถ์ บรรพชิต บรรดามาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า   อาตมภาพชี้แจงแสดงมาพอสมควรแก่เวลา  สมมติว่ายุติธรรมีกถาโดยอรรถนิยมความเพียงแค่นี้    เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้.
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...