สติปัฏฐานสี่ตามแนววิชชาธรรมกาย

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย นโมพุทธายะ๕, 21 สิงหาคม 2014.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,247
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,109
    ค่าพลัง:
    +70,447
    ถาม....ในบทสังฆคุณของหลวงพ่อสด หน้า ๑๖-๑๗ กล่าวไว้ชัดถึงการอาศัยองค์ฌานตามลำดับตั้งแต่ ๑-๘ ถอยเข้าถอยออกแล้วพิจารณาอริยสัจแล้วเกิดปัญญาเป็นพระอริยบุคคลตามลำดับ เพียงแต่การทำฌานสมาบัติได้ถึง ๔ ชั้นก็เป็นของยากยิ่งกว่าจะได้ (เว้นบางท่าน) แล้วไฉนผู้เข้ารับการอบรมทั้งเด็ก ผู้ใหญ่ และพระเณรบางรูป ดูกิริยาวาจาแล้ว ยังมีจิตหยาบอยู่มาก จึงสอบผ่าน ๑๘ กาย ไปได้ง่ายดายนัก ยิ่งเป็นพระแล้วน่ากลัวอาบัติมาก





    ......................................................



    ตอบ......ท่านทำของท่านไปเถอะ ท่านอย่าไปคิดประเมินคนอื่นเลย ท่านลืมคำของพระพุทธเจ้าคำหนึ่งที่ตรัสไว้ว่า อย่าไปมัวพิจารณากิจของผู้อื่น แต่ให้พิจารณากิจของตัวเอง เด็กกับผู้ใหญ่ต่างกัน เด็กหลุกหลิก แต่ทำได้ทุกคน

    ทั้งๆ ที่บางคนหลับโหงกเหงกๆ ตื่นมาทำได้อีก ทราบไหมเพราะอะไร ? เด็กเพิ่งเกิดมา ใจยังไม่ไปยึดไปเกาะอารมณ์ภายนอกมากนัก กิเลสยังไม่หนาแน่น แต่ผู้ใหญ่กิเลสหนาตั้งแต่ตา หู จมูก ลิ้น กาย สัมผัสสิ่งภายนอกมาตลอดทุกนาทีทุกชั่วโมง เว้นแต่หลับ แล้วกิเลสสะสมเข้ามาเท่าไรตั้งแต่เกิดมากว่าจะมาปฏิบัติธรรมให้เห็นได้ จะต้องกระเทาะกิเลสเหล่านั้นให้หมดเป็นชั้นไป จึงจะถึงรู้เห็นและเป็นธรรมกายที่บริสุทธิ์ได้ ส่วนเด็กซึ่งจิตใจยังไม่ทันไปยึดไปเกาะอะไรมากนัก พอบอกให้แกนึกให้เห็น บางทีเพียงหนึ่งนาทีแกเห็นแล้ว ท่านจะไปคิดประมาณอะไรกับพวกเด็กที่เห็นเร็วเห็นช้า

    สามเณรบางรูปในสมัยพุทธกาล พอปลงผมแกร๊กก็บรรลุเป็นพระอรหันต์เลย แค่มีดโกนสัมผัสศีรษะก็บรรลุแล้ว นี้เป็นเรื่องของบุญบารมีที่เขาสร้างสมไว้ดี เอาง่ายๆ คนเราที่เติบโตมากระทั่งเป็นผู้ใหญ่แล้วนี้ ตั้งแต่เกิดมา มีผู้ใหญ่หรือพ่อแม่พี่น้องครูบาอาจารย์ชักนำให้มาปฏิบัติกัมมัฏฐานสักกี่ราย แต่เด็กเหล่านี้มีผู้ชักนำมาปฏิบัติกัมมัฏฐานตั้งแต่ยังเด็ก ท่านดูแค่นี้ ใครมีบุญมากกว่ากัน ดูง่ายๆ เท่านี้แหละ

    เด็กมีจิตใจที่ยังไม่ถูกห่อหุ้มด้วยกิเลสที่สะสมตกตะกอนนอนเนื่องมากเหมือนผู้ใหญ่ เมื่อจะให้ใจหยุดจึงหยุดเข้าไปได้ง่าย บางทีหยุดนิดเดียวได้ดวงปฐมมรรคเห็นใสสว่างด้วย ผู้ใหญ่นั่งปฏิบัติภาวนาเกือบตายไม่เห็น เพราะใจมันไม่หยุด เด็กหยุดเดี๋ยวเดียว เดี๋ยวก็หยุกหยิก เป็นธรรมชาติของเด็ก จนเขาบอกว่าใครจับเด็กให้นิ่งได้ คนนั้นเก่ง อย่านึกว่าผู้ใหญ่ต้องทำได้ง่ายกว่าเด็ก ไม่ใช่ ผู้ใหญ่ทำได้ง่ายก็มี ทำได้ยากก็มี แต่ส่วนใหญ่จะยากกว่าเด็ก จะเข้าถึง รู้ เห็น และเป็นธรรมกายได้ช้ากว่าเด็กๆ

    หลวงพ่อสดเองก็ไม่ได้ทำได้ภายในหนึ่งปี ท่านเอาจริงเอาจังเกือบตาย ท่านปฏิบัติพระกัมมัฏฐานนานกว่าจะได้ดวงปฐมมรรคและถึงธรรมกาย พวกเราเองแม้ได้แล้วหายไปก็มีหลายราย เพราะยังกำจัดกิเลสหรือสัญโญชน์ไม่ได้ ยังไม่เป็นอริยเจ้า เหมือนไปเชียงใหม่ ไปถึงแค่ไปดูไปเห็น กลับมาอีกแล้ว เพราะทุนทรัพย์ไม่พอ แต่คนที่ทุนทรัพย์พอ ไปถึงก็สามารถฝังรกรากอยู่ได้ อยู่ที่การบำเพ็ญบารมีแก่กล้าถึงเวลาที่ธาตุธรรมแก่กล้าแล้วก็ถึงเองเป็นเอง

    เรื่องบุญบารมี ขอกล่าวสักนิดว่า เราจะพูดว่าใครบารมีมากกว่าใคร ก็พูดยาก เพราะอะไร ? เพราะผู้ที่อธิษฐานเป็นปกติสาวกบำเพ็ญบารมีเต็มเร็วกว่าผู้ที่อธิษฐานบารมีสูงกว่านั้น เช่นผู้บำเพ็ญบารมีในระดับอสีติมหาสาวกหรือพุทธอุปัฏฐาก พุทธบิดา พุทธมารดา หรือขึ้นไปถึงพระปัจเจกพุทธเจ้า พระสัพพัญญูพุทธเจ้า แม้พระสัพพัญญูพุทธเจ้าก็ยังมีการบำเพ็ญบารมีที่ต่างกัน เช่น พระปัญญาธิกพุทธเจ้าก็ ๔ อสงไขยแสนกัปป์ ดังเช่นพระพุทธเจ้าของเราองค์ปัจจุบัน ๘ อสงไขยแสนกัปป์ ๑๖ อสงไขยแสนกัปอย่างเช่น พระศรีอารยเมตไตรยก็มีการบำเพ็ญบารมีไม่เหมือนกันไม่เท่ากันอย่างนี้ ระยะเวลาของการบำเพ็ญบารมีแตกต่างกันมากอีกด้วย

    เมื่อเป็นเช่นนั้น บางท่านในอดีตชาติเคยอธิษฐานบารมีมามาก บำเพ็ญบารมียังไม่เต็ม ก็ยังไม่เห็น เห็นช้ากว่าคนที่อธิษฐานบารมีมาน้อยหรือปานกลาง ซึ่งเต็มเร็ว ก็เห็นเร็ว นี้อันหนึ่ง แต่เห็นแล้วก็ได้บรรลุมรรคผลเป็นพระอริยบุคคลหรือไม่ ขึ้นอยู่ที่ธาตุธรรมแก่กล้าพอแล้วหรือยัง อันนี้พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า เหมือนปลูกข้าวเมื่อเราทำดีที่สุดแล้ว ข้าวจะงอกงามขึ้นมาและจะออกรวงเอง จะบังคับให้ข้าวออกรวงในวันนี้พรุ่งนี้ไม่ได้ ถึงเวลาก็จะออกรวงเอง

    เด็กน่ะที่เห็น เห็นชัดด้วย ที่เห็นชัดแจ้งก็เห็นได้ชัดแจ๋วมากๆ ด้วย ส่วนผู้ใหญ่หลายคนกว่าจะได้เห็นและเข้าถึง ก็ยากกว่า ช้ากว่ากันมาก ผมจึงมีนโยบายว่าให้เด็กปฏิบัติให้ได้ผลดีมากๆ เมื่อเด็กปฏิบัติถึงธรรมกายแล้วก็ให้เรียนภาคปริยัติด้วยเต็มที่เลย ได้ทั้งปริยัติและปฏิบัติ เด็กถ้ามาเข้ารับการอบรม ๑๐ คนภายใน ๑๕ วันถ้าเขาตั้งใจปฏิบัติจริงๆ ก็สามารถปฏิบัติถึงธรรมกายได้ไม่น้อยกว่า ๕-๖ คน นี้เป็นอัตราทั่วไป ถ้าเด็กวัยรุ่นอยู่ปฏิบัติ ๑๕ วัน นี้จะได้ผลดีไม่น้อยกว่า ๑ ใน ๓ หรือ ๓๓% แต่ถ้าผู้ใหญ่ถ้าตั้งใจอยู่ปฏิบัติจริงจังจะได้ผลประมาณ ๑ ใน ๔ หรือ ๒๕% นี้เป็นอัตราธรรมดา

    ทุกท่านเมื่อตั้งใจปฏิบัติภาวนาพึงทราบว่า เมื่อเหตุปัจจัยประกอบพร้อมก็เข้าถึงได้ เพราะฉะนั้นท่านอย่าไปหงุดหงิดข้อนี้ อย่าให้จิตใจไปยึดไปเกาะเรื่องภายนอกแล้วจะรวมใจลงหยุด ณ ศูนย์กลางกายได้ยาก วิจิกิจฉาก็เป็นตัวกิเลสนิวรณ์และเป็นตัวอุปกิเลสของสมาธิ ให้การปฏิบัติสมาธิไม่เจริญ ประการสำคัญ อย่าไปคิดอะไรมาก อย่าไปยุ่งใจกับเรื่องคนอื่นเขา ตั้งหน้าทำกิจภาวนาของตนไป โดยทาง ศีล สมาธิ ปัญญา นั่นแหละ ทำไปอย่างเดียว ถึงเวลาแล้วก็ถึงเองเป็นเอง

    เลิกสงสัยเสียนะครับให้เป็นสัมมาทิฏฐิ ที่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม อย่าไปสนใจคนอื่นเขา อย่าไปสนใจนอกเรื่อง แล้วท่านจะเจริญเอง พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า ให้รักษาใจเราแต่อย่างเดียว ถึงเวลาบรรลุเอง เอาแต่เฉพาะปัจจุบันธรรมที่เราสามารถปฏิบัติได้ผลของเราเอง

    หลวงพ่อท่านบอกว่า จงพิจารณาเหตุ สังเกตผล ทนเอาเถิด ประเสริฐนัก คือพิจารณาประกอบเหตุในเหตุถึงต้นๆ เหตุ ให้ได้ผล พิจารณาแก้ไขของเราเอง อย่าสงสัยมาก เอาแต่ส่วนที่ตัวปฏิบัติเข้าถึง เรื่องอื่นวางให้หมด อย่าสนใจคนอื่น ทำอย่างไรใจของเราจึงจะหยุดจะนิ่ง ทำสมาธิให้เกิด ให้เห็นดวงใสแจ่ม บางทีเห็นไม่ชัดในเบื้องต้นนี้ก็ต้องอาศัยการนึกเห็นเข้าช่วยด้วยเพื่อให้ใจมารวมหยุดเป็นจุดเดียวกัน พอหยุดได้แล้วปล่อยเอง ไม่ต้องสงสัย

    ท่านถามมาก็เป็นประโยชน์อยู่ เพราะมีหลายคนมีข้อสงสัยอย่างนี้ คงจะพอเป็นข้อแนะนำชี้แจงให้เข้าใจได้พอสมควร
     
  2. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,247
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,109
    ค่าพลัง:
    +70,447
    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]
     
  3. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,247
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,109
    ค่าพลัง:
    +70,447
    หัวข้อสำรวจตนเอง
    สำหรับผู้ถึงธรรมกายแล้ว

    เป็นเพียง หัวข้อ เบื้องต้น และ เบื้องกลาง คือ คือมหาสติปัฏฐาน 4 ตามแนววิชชาธรรมกายเท่านั้น

    ยังมีข้อมูลสำรวจอีกมาก จะแจกแก่ผู้ไปต่อวิชชากับ พระราชพรหมเถระ ( วีระ คณุตตโม )
    เป็น อาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาธุระ วัดปากน้ำ ฯ หรือ ต่อวิชชาฯกับท่านเจ้าอาวาส วัดหลวงพ่อสดฯ ราชบุรี
    หรือ โครงการพุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย วัดสระเกศ(ภูเขาทอง) โดยตรง


    เบื้องต้น

    1. ปั่จจุบันนี้ ท่านเห็นธรรมกายใสและชัดเจนเพียงใด?
    ( ) ใสชัดดีมาก ( ) ใสชัดพอประมาณ
    ( ) ใสชัดบ้างไม่ชัดบ้าง ( ) ไม่ชัดเลย

    2. เคยได้รับการต่อ 18 กาย เมื่อใด

    ( ) วันที่........................ ( ) ไม่เคย

    3. เคยรับการฝึกพิสดารกาย ซ้อนสับทับทวี แล้วหรือยัง ?

    ( ) เคยแล้วทำตามทันได้หมด ( ) เคยแล้ว แต่ทำตามไม่คล่อง

    ( ) ยังไม่เคย หรือเคยแล้วแต่ทำตามไม่ได้

    4. เคยฝึก พิสดารกายสุดหยาบสุดละเอียด เป็น เถา ชุด ชั้น
    ตอน ภาค พืด แล้วหรือยัง ?

    ( ) เคยแล้ว ทำตามได้หมด ( ) เคยแล้ว ทำตามได้บ้าง
    ( ) ยังไม่เคย หรือ เคยแล้วแต่ทำตามไม่ได้

    5. เคยฝึกพิจารณาเห็นกายในกาย เห็นเวทนาในเวทนา

    เห็นจิตในจิต เห็นธรรมในธรรม เป็นณ ภายในและภายนอกโดยส่วนรวม โดยน้อมเข้าสู่ " อตีตังสญาณ" ดูขันธ์ของตนเองและผู้อื่นในอดีต และ น้อมเข้าสู่ อนาคตังสญาณ ดูขันธ์ของตนเองและผู้อื่นไปจนถึงวันตาย เพื่อให้เห็น " อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา "
    และเป็น มรณัสสติ เครื่องเตือนใจหรือยัง ?

    ( ) เคยแล้วเห็นตามทันหมด ( ) เคยแล้วเห็นตามทันบ้าง

    ( ) ยังไม่เคย หรือ เคยแต่ยังตามไม่ทัน


    7. เคยฝึกพิจารณาเห็นธรรมในธรรมต่อไปนี้หรือไม่ ( กาตรงที่เคย)


    ( ) ขันธ์ 5 ( ) อายตนะ 12 ( ) ธาตุ 18 ( ) อินทรีย์ 22

    ( ) อริยสัจจ์ 4 ( ) ปฏิจจสมุปบาทธรรม 12


    8. เคยฝึก " เจริญฌาณสมาบัติพิจารณาอริยสัจจ์ 4 " แล้วหรือยัง?
    ( ) เคยแล้ว ทำตามทันหมด ( ) เคยแล้วทำตามทันบ้างไม่ทันบ้าง

    ( ) ยังไม่เคย หรือ เคยแต่ทำไม่ได้


    9. ท่านทราบพระประสงค์ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ให้เจริญภาวนา อบรมมหาสติปัฏฐาน 4 แล้วหรือยัง ?

    ( ) ทราบ คือ.......................................................

    ( ) พอทราบ คือ.....................................................

    ( ) ไม่ทราบ





    ************จบการสำรวจเบื้องต้น*******
     
  4. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,247
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,109
    ค่าพลัง:
    +70,447
    [​IMG]




    " สละอารมณ์ "

    เมื่อสละอารมณ์ได้ ในทางปฏิบัติ ไม่เกี่ยวด้วยอารมณ์เลย ใจหลุดจากอารมณ์เหมือนอะไร เหมือนไข่แดงกับไข่ขาวอยู่ด้วยกันจริงๆ แต่ว่าไม่เกี่ยวกัน ไข่แดงมีเยื่อหุ้มอยู่นิดหนึ่งบางๆ ไม่เกี่ยวกับไข่ขาวด้วย ไข่ขาวหุ้มอยู่ข้างนอกไม่ติดกัน

    รสชาติของไข่แดงก็รสหนึ่ง รสชาติของไข่ขาวก็รสหนึ่ง ไม่เข้ากัน อยู่คนละทางเห็นปรากฏทีเดียว เห็นที่ไหน อยู่ที่ไหน จึงเป็นทางปฏิบัติ เห็นปรากฏชัดอยู่ในกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ใสบริสุทธิ์เท่าฟองไข่แดงของไก่

    พระมงคลเทพมุนี(สด จนฺทสโร)จากหนังสือ : วิสุทธิวาจา 3
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 27 กันยายน 2014
  5. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,247
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,109
    ค่าพลัง:
    +70,447
    สิ่งใดก็ได้ ที่นึกถึง แล้วใจสบาย

    อกุศลไม่เกิด ......ไม่ฟุ้งซ่าน....


    นึกสบายๆ ไว้ศูนย์กลางกายฐานที่เจ็ดนั่น

    นึกแล้ว อย่าลังเล สงสัย ว่าตรงศูนย์หรือไม่

    สบาย ประคองสติสัมปชัญญะ ในสบาย

    .........ใจหยุด เมื่อใด ของจริงจะปรากฏ...........




    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  6. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,247
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,109
    ค่าพลัง:
    +70,447
    คำว่า “หยุด” เอาอะไรเป็นเกณฑ์วัด เป็นเรื่องของกายหรือใจ ?

    
    คำว่า “หยุด” ที่หลวงพ่อสด ท่านกล่าวไว้ว่า จะไปทางนี้ต้อง “หยุด” ถ้าไม่หยุดก็ไปไม่ได้ และหยุดอย่างเดียวเท่านั้น สำเร็จ หรือเป็นตัวสำเร็จ อยากกราบถามหลวงพ่อค่ะว่า ในการ “หยุด” นี้ เอาอะไรเป็นเกณฑ์วัด เป็นเรื่องของกายหรือเรื่องของใจคะ ?
    ------------------------------------------------------------

    ตอบ:


    คำว่า “หยุด” ณ ที่นี้หลวงพ่อ (หลวงพ่อวัดปากน้ำหรือหลวงปู่สด) ท่านหมายถึงหยุดทำชั่วทางกาย ทางวาจา ทางใจ กล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ หยุดกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ด้วยการปฏิบัติไตรสิกขา คือ อธิศีลสิกขา(ศีลยิ่ง) อธิจิตสิกขา(จิตยิ่ง) อธิปัญญาสิกขา(ปัญญายิ่ง)

    ในการ “หยุด” ทางใจ นั้นเริ่มด้วยการอบรมใจให้สงบ ให้หยุด ให้นิ่ง เป็นสมาธิแนบแน่นมั่งคง ณ ศูนย์กลางกายเหนือระดับสะดือ 2 นิ้วมือ อันเป็นที่ตั้งกำเนิดธาตุธรรมเดิม ด้วยอุบายวิธี 3 อย่างประกอบกัน คือ

    1.อาโลกกสิณ โดยการเพ่งดวงแก้วกลมใส (นึกให้เห็นด้วยใจ เพื่อรวมใจคือความเห็นด้วยใจ ความจำ ความคิด ความรู้ ให้อยู่กับดวงแก้ว และให้รวมหยุดเป็นจุดเดียวกัน)
    2.พุทธานุสสติ ด้วยการให้กำหนดบริกรรมภาวนาว่า “สัมมาอะระหังๆๆ” เพื่อประคองใจให้หยุดให้นิ่งอยู่ตรงกลางและให้น้อมพระพุทธคุณ คือพระปัญญาคุณและพระวิสุทธิคุณจาก คำว่า “สัมมาอะระหัง” มาสู่ใจเรา
    3.อานาปานสติ สังเกตลมหายใจเข้าออกที่ผ่านและกระทบดวงแก้ว ตรงศูนย์กลางกาย แต่ไม่ต้องตามลม


    เมื่อใจถือเอาปฏิภาคนิมิตได้และหยุดนิ่งตรงศูนย์กลางเหนือระดับสะดือ 2 นิ้วมือ อันเป็นที่ตั้งกำเนิดธาตุธรรมเดิมและเป็นที่ตั้งกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม เป็น ณ ภายใน ละเอียดเข้าไปๆ จนสุดละเอียดนั้นแล้ว จิตดวงเดิมจะละปฏิภาคนิมิตและตกศูนย์ไปยังศูนย์กลางกายฐานที่ 6 ถ่ายทอดกรรมเดิมที่เป็นสมาธิ เป็นจิตดวงใหม่ คือ เห็น-จำ-คิด-รู้ อันตั้งอยู่ท่ามกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ที่ผ่องใสบริสุทธิ์จากกิเลสนิวรณ์ ลอยเด่นขึ้นมาพร้อมกับดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ตรงศูนย์กลางกายฐานที่ 7 ใสสว่างยิ่งนัก เป็นทางให้เข้าถึงกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรมที่ละเอียดและบริสุทธิ์ผ่องใสยิ่งขึ้นไปทุกที จนถึงธรรมกายอันเป็นกายที่พ้นโลก และเป็นธรรมที่บริสุทธิ์ผ่องใส รัศมีสว่าง

    นั่นก็คือ ใจยิ่งหยุดยิ่งนิ่งยิ่งไม่สังขาร คือ ไม่ปรุงแต่ง อีกนัยหนึ่ง คือ “หยุดมโนสังขาร” จิตใจก็ยิ่งถึงและเป็นธรรมที่บริสุทธิ์ผ่องใส นั่นเอง นี่เรียกว่า “ใจหยุดในหยุดกลางของหยุด ดับหยาบไปหาละเอียด จนสุดละเอียด”

    เมื่อถามว่า “มีอะไรเป็นเครื่องวัด ?” ก็ตอบว่า มีการเข้าถึงรู้-เห็นและเป็น กายในกาย (รวมเวทนาในเวทนา จิตในจิต) และธรรมในธรรม เริ่มตั้งแต่ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายที่ใสแจ่มอยู่ ณ ภายใน ละเอียดเข้าไป ๆ จนสุดละเอียด ถึงธรรมกายและเป็นธรรมกาย ที่บริสุทธิ์ผ่องใสยิ่ง ๆ ขึ้นไป จนสุดละเอียดนั่นเอง เป็นทางให้ถึงมรรค ผล นิพพาน

    เพราะเหตุนั้น หลวงพ่อท่านจึงกล่าวว่า “หยุด นั่นแหละ เป็นตัวสำเร็จ” คือ เป็นทางให้ถึงมรรค ผล นิพพาน ที่สิ้นสุดแห่งทุกข์ทั้งปวง และที่เป็นบรมสุข
     
  7. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,247
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,109
    ค่าพลัง:
    +70,447
  8. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,247
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,109
    ค่าพลัง:
    +70,447
    การพิจารณาอริยสัจจ์ .................โดยอาศัยญาณพระธรรมกาย

    สำหรับผู้เจริญภาวนาได้ถึงธรรมกาย

    และได้ฝึกสับกาย-ซ้อนกาย เจริญฌานสมาบัติ ดีพอสมควร และได้พิจารณาสติปัฏฐาน 4 พอให้มีพื้นฐานทั้งสมถะและวิปัสสนาดีพอสมควรแล้ว

    ให้ฝึกเจริญฌานสมาบัติพิจารณาอริยสัจ 4 เข้ามรรคผลนิพพานต่อไป









    ให้รวมใจของทุกกายอยู่ ณ ศูนย์กลางธรรมกายอรหัตที่ละเอียดที่สุด



    เอาใจธรรมกายอรหัตเป็นหลัก


    เจริญฌานสมาบัติ (รูปฌาน 4) หมดพร้อมกันทุกกายหยาบกายละเอียด


    โดยอนุโลมและปฏิโลม 1-2-3 เที่ยว ให้ใจผ่องใสจากกิเลสนิวรณ์ อ่อนโยน ควรแก่การงาน



    แล้วธรรมกายพระอรหัตที่สุดละเอียด ทำนิโรธ ดับสมุทัย คือพิสดารธรรมกายอรหัตในอรหัตออกจากฌานสมาบัติ (ไม่ต้องพิจารณาอารมณ์ฌาน)

    ผ่านศูนย์กลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม อันเป็นที่ตั้งของธาตุ-ธรรม และเห็น-จำ-คิด-รู้ อันเป็นที่ตั้งของกิเลส อวิชชา ตัณหา อุปาทาน ของกายโลกียะ สุดกายหยาบกายละเอียด (มนุษย์ ทิพย์ พรหม อรูปพรหม)
    ปหานอกุศลจิตของกายในภพ 3



    ให้เป็นแต่ใจ คือญาณรัตนะของธรรมกายที่บริสุทธิ์ล้วนๆ จนสุดละเอียด


    ปล่อยอุปาทานขันธ์ 5 และความยินดีในฌานสมาบัติได้ (แม้ชั่วคราว) เป็นวิกขัมภนวิมุตติ โคตรภูจิตยึดหน่วงพระนิพพานเป็นอารมณ์อยู่แล้วนั้น







    1.ใช้ตา (ญาณ) พระธรรมกายพิจารณาอริยสัจที่กลางกายมนุษย์ เห็นแจ้งแทงตลอดอริยสัจเหล่านี้พร้อมกับเดินสมาบัติ เมื่อถูกส่วนเข้า พระธรรมกายก็ตกศูนย์เป็นดวงใส วัดผ่าศูนย์กลาง 5 วา ในไม่ช้าศูนย์นั้นก็กลับเป็นพระธรรมกาย หน้าตักกว้าง 5 วา สูง 5 วา เกตุดอกบัวตูม นี้เป็นธรรมกายพระโสดา กล่าวคือ

    เมื่อผู้ปฏิบัติภาวนาสามารถเจริญปัญญารู้แจ้งในพระสัจจธรรมดังกล่าวแล้ว ธรรมกายโคตรภูละเอียดก็ตกศูนย์ แล้วธรรมกายพระโสดาปัตติมรรคก็ปรากฏขึ้นปหาน (ละ) สังโยชน์เบื้องต่ำ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และ สีลัพพตปรามาสได้แล้ว ธรรมกายพระโสดาปัตติมรรคก็ตกศูนย์ ธรรมกายพระโสดาปัตติผลก็จะปรากฏขึ้นเข้าผลสมาบัติ พิจารณาปัจจเวกขณ์ 5 คือ พิจารณามรรค, ผล, กิเลสที่ละได้, กิเลสที่ยังเหลือ และ พิจารณาพระนิพพาน ได้บรรลุมรรคผลเป็นพระโสดาบัน และก็จะเห็นธรรมกายพระโสดาปัตติผลใสละเอียดอยู่ตลอดเวลา ไม่กลับมัวหมองหรือเล็กเข้ามาอีก





    2.แล้วธรรมกายพระโสดานั้นเข้าฌาน พิจารณาอริยสัจของกายทิพย์ ให้เห็นจริงในทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ทำนองเดียวกับที่กล่าวมาแล้ว เมื่อถูกส่วนเข้า ธรรมกายพระโสดาก็ตกศูนย์เป็นดวงใส วัดเส้นผ่าศูนย์กลางได้ 10 วา ในไม่ช้า ศูนย์นั้นก็กลับเป็นพระธรรมกาย หน้าตักกว้าง 10 วา สูง 10 วา เกตุดอกบัวตูม นี่เป็นธรรมกายพระสกิทาคามี กล่าวคือ





    เมื่อธรรมกายพระสกิทาคามิมรรคปรากฏขึ้นกำจัดสังโยชน์ และสามารถละโลภะ โทสะ และ โมหะ จนเบาบางลงมากแล้ว ก็จะตกศูนย์ และปรากฏธรรมกายพระสกิทาคามิผลเข้าผลสมาบัติ และพิจารณาปัจจเวกขณ์ 5 ได้บรรลุมรรคผลเป็นพระสกิทาคามี และท่านก็จะเห็นธรรมกายพระสกิทาคามีใสละเอียดอยู่ตลอดเวลา



    3.แล้วธรรมกายพระสกิทาคามีนั้นเข้าฌาน ดูอริยสัจของกายรูปพรหมให้เห็นจริงในทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค เมื่อถูกส่วนเข้า ธรรมกายพระสกิทาคามีก็ตกศูนย์เป็นดวงใส วัดเส้นผ่าศูนย์กลางได้ 15 วา ในไม่ช้า ศูนย์นั้นก็กลับเป็นพระธรรมกาย หน้าตักกว้าง 15 วา สูง 15 วา เกตุดอกบัวตูม นี่เป็นธรรมกายพระอนาคามี กล่าวคือ

    เมื่อธรรมกายพระอนาคามิมรรคปรากฏขึ้นปหานกามราคานุสัยและปฏิฆานุสัยได้อีก แล้วก็จะตกศูนย์ ปรากฏธรรมกายพระอนาคามิผล เข้าผลสมาบัติ และพิจารณาปัจจเวกขณ์ 5 ได้บรรลุมรรคผลเป็นพระอนาคามีบุคคล และท่านจะเห็นธรรมกายพระอนาคามีใสละเอียดอยู่ตลอดเวลา







    4.แล้วธรรมกายพระอนาคามีนั้นเข้าฌาน ดูอริยสัจของกายอรูปพรหมให้เห็นจริงในทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค เมื่อถูกส่วนเข้า ธรรมกายพระอนาคามีก็ตกศูนย์เป็นดวงใส วัดเส้นผ่าศูนย์กลางได้ 20 วา เกตุดอกบัวตูม นี่เป็นธรรมกายพระอรหัตแล้ว กล่าวคือ

    เมื่อธรรมกายพระอรหัตตมรรค ปรากฏขึ้นปหานสังโยชน์เบื้องสูงอีก 5 ประการ คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ และ อวิชชาได้โดยเด็ดขาดแล้ว ก็ตกศูนย์ ธรรมกายพระอรหัตตผลก็จะปรากฏขึ้น เข้าผลสมาบัติ และพิจารณาปัจจเวกขณ์ 4 คือ พิจารณามรรค ผล กิเลสที่ละได้หมด และพิจารณาพระนิพพาน ได้บรรลุมรรคผล เป็นพระอรหันตขีณาสพ แล้วท่านจะเห็นธรรมกายพระอรหัตของท่านใสละเอียดและมีรัศมีสว่างอยู่ตลอดเวลา ไม่กลับมัวหมองหรือเล็กลงอีก และก็จะมีญาณหยั่งรู้ว่าท่านได้บรรลุพระอรหัตตผลแล้ว

    เมื่อได้กายพระอรหัตนี้แล้ว ก็ให้ซ้อนสับทับทวีกับพระนิพพานต้นๆ ไปจนสุดละเอียด แล้วหยุด ตรึกนิ่ง เพื่อฟังตรัสรู้ในธรรมที่ควรรู้อีกต่อไป





    การเจริญสมาบัติพิจารณาพระอริยสัจทั้ง 4 นี้ เมื่อกำหนดรู้ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และ มรรค ด้วยสัจจญาณ กิจจญาณ และ กตญาณ แล้ว ญาณทั้ง 3 กลุ่มนี้เองที่เป็นปัญญาผุดรู้ขึ้นมาเองในระหว่างการปฏิบัติ เป็นปัญญาที่ทำให้รู้ว่าสัจจธรรมนั้นมีจริง ถ้าเพียรปฏิบัติอย่างถูกต้อง ไม่ท้อถอย ก็จะพ้นจากทุกข์ได้ ญาณทั้ง 3 กลุ่ม รวม 12 ญาณของอริยสัจ ในตอนนี้ เปรียบเหมือนจอบเสียมที่นำมาใช้ในการขุดพื้นดิน เพื่อกระแสธารปัญญาจะสามารถไหลไปสู่นิพพิทาญาณ ทีนั้น ญาณทั้ง 12 ญาณของอริยสัจ จะวิวัฒนาการเป็นความเห็นแจ้งในปฏิจจสมุปบาทธรรม 12 ทำให้สามารถกำหนดรู้อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา และ สมุทัย ซึ่งเป็นต้นทางให้กำหนดรู้อริยสัจ และ พระไตรลักษณ์ขั้นละเอียด ว่า สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขา และ สพฺเพ ธมฺมา (สังขาร/สังขตธรรม ทั้งปวง) อนตฺตา ซึ่งเป็นธรรมาวุธอันคมกล้า ปหานสังโยชน์พินาศไปในพริบตา





    ญาณทั้ง 3 กลุ่ม คือ สัจจญาณ กิจจญาณ และ กตญาณ อันให้เห็นแจ้งในอริยสัจ 12 นี้ จะเห็นและกำหนดรู้ได้เป็นอย่างดี โดยทางเจโตสมาธิ หรือ วิชชาธรรมกาย ด้วยประการฉะนี้แล ในพระไตรปิฎกมีระบุไว้อย่างชัดแจ้ง ไว้ในธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ปฐมเทศนา พระวินัยปิฎก ข้อ 15 และ 16 ว่า เป็นญาณทัสสนะมี รอบ 3 มีอาการ 12
     
  9. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,247
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,109
    ค่าพลัง:
    +70,447
    1.ทุกข์

    เห็นดวงทุกข์ที่หยาบที่สุด ที่กลางกายมนุษย์ มีดวงธรรมที่แสดงความมีอยู่เป็นอยู่ของสภาวธรรม ที่เป็นอกุศลสังขารปรุงแต่งคือ เกิด แก่ เจ็บ ตาย สี่ดวงซ้อนกันอยู่ ในดวงทุกข์นั้น

    2. พิสดารกาย ซ้อนสับทับทวีผ่านศูนย์กลางดวงทุกข์ ทั้งหมด จึงพบ เหตุแห่งทุกข์

    คือ ดวงธรรมที่เป็นดวงแสดงถึงความมีอยุ่เป็นอยู่ของเหตุแห่งทุกข์ นั่นคือ ดวงกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา


    พิสดาร ซ้อน สับ ทับทวี ผ่านศุนย์กลางดวงทั้งสาม


    3. เมื่อเหตุแห่งทุกข์ดับ ดวงทุกข์ก็ดับตาม จะพบสภาวะนิโรธ(ทุกข์ดับ-ยังไม่ใช่นิโรธสมาบัติ)เป็นดวงขาว ใส สว่างมาก
    ขนาดประมาณ5วา

    *****พิจารณาอารมณ์สุขขณะนี้ ไม่ใช่สุขเวทนาทางโลกที่เคยมี เพราะ ไม่ใช่สุขเวทนาจากการสนองตัณหา****


    4.หยุดในหยุด กลางของหยุด ท่ามกลางดวงนิโรธ จะพบดวงธรรมที่แสดงสภาวธรรมที่เป็นเหตุของนิโรธคือดวงมรรค ซึ่งมีดวงธรรมสามดวงคือ ดวงศีล ดวงสมาธิ ดวงปัญญา ซ้อนกันโดยมีศูนย์กลางดวงตรงกัน


    อริยมรรคมีองค์แปด สารถแจกแจงในนัยยะของศีล สมาธิ ปัญญา ได้คือ

    ๑. สัมมา วาจา วาจา ชอบ
    ๒. สัมมา กัมมันตะ การงาน ชอบ
    ๓. สัมมา อาชีวะ เลี้ยงชีพ ชอบ

    สามข้อนี้เป็น ศีล


    ๔. สัมมา วายามะ ความเพียร ชอบ
    ๕. สัมมาสติ ระลึก ชอบ
    ๖. สัมมา สมาธิ ตั้งใจ ชอบ

    สามข้อนี้เป็น สมาธิ



    ๗. สัมมา ทิฏฐิ ความเห็น ชอบ
    ๘. สัมมา สังกัปปะ ดำริ ชอบ

    สองอย่างนี้เป็น ปัญญา



    เมื่อพิสดารกาย ซ้อน สับ ทับทวี เดินสมาบัติผ่านศูนย์กลางเห็น-พิจารณาสภาวธรรมทั้งสี่แล้ว กายธรรมก็จะตกศูนย์เข้าสุ่สภาวะใหม่ เมื่อตัดสังโยชน์เบื้องต้นทั้งสามได้มากถูกส่วนแล้ว กายธรรมพระโสดา หน้าตัก5วาจะปรากฏผ่องใส ไม่มีเล็กไม่มีเลือนลางอีกต่อไป


    -------------------------------------------------------


    ดวงอริยสัจชั้นแรกมี 4 ดวง เป็นดวงเกิด แก่ เจ็บ ตาย
    ซึ่งรวมเรียกว่าทุกข์ มีขนาดอย่างใหญ่เท่าดวงจันทร์ ขนาดเล็ก
    เท่าไข่แดงของไก่

    -ดวงเกิด มีสีขาวใส
    -ดวงแก่ มีสีดำแต่ไม่ใส ถ้าดวงยังเล็กก็เริ่มแก่ ถ้า
    ใหญ่ก็แก่มาก
    -ดวงเจ็บ สีดำเข้มยิ่งกว่าดวงแก่ ถ้าดวงเจ็บมาจรด
    เข้าในศูนย์กลางดวงแก่ ผู้นั้นจะเจ็บไข้ได้ป่วยทันที
    -ดวงตาย เป็นสีดำใสประดุจนิลทีเดียว ดวงตายนี้ถ้า
    มาจรดตรงกลางดวงเจ็บ แล้วมาจรดตรงหัวต่อของกายมนุษย์
    กับกายทิพย์ พอมาจรดเข้าเท่านั้น หัวต่อของกายมนุษย์กับ
    กายทิพย์ก็จะขาดจากกัน เมื่อใดกายมนุษย์ไม่ต่อเนื่องกับกาย
    ทิพย์ เมื่อนั้นกายมนุษย์ก็ตายทันที

    ดวงเกิด แก่ เจ็บ ตายของแต่ละคนไม่เท่ากัน
    อย่างเล็กขนาดไข่แดงของไก่ขนาดกลาง อย่างใหญ่เท่าดวง
    พระจันทร์ ทั้งนี้แล้วแต่ว่าเกิดมามีบุญบาปติดตัวมามากน้อย
    เท่าใด แก่เจ็บจวนจะตายเร็วช้ากว่ากันเท่าใด

    ดวงอริยสัจชั้นที่สองมี 3 ดวง รวมเรียกว่า ดวง
    สมุทัย มีขนาดอย่างใหญ่เท่าดวงจันทร์ อย่างเล็กเท่าเมล็ด
    โพธิ์เมล็ดไทร ดวงแรกสีดำเข้ม ดวงต่อไปมีความ
    ละเอียด และเข้มมากขึ้น ดวงทั้ง 3 ดวงนี้ คือ ดวงกาม
    ตัณหา ดวงภวตัณหา และดวงวิภวตัณหา

    ขั้นต่อไป เป็นดวงกลมใหญ่ มีขนาดเส้นผ่าศูนย์
    กลางวัดด้วยญาณได้ 5 วา มีสีขาวใสเรียกว่า ดวงนิโรธ
    เมื่อเข้าถึงดวงนิโรธ ความใสสว่างของนิโรธจะดับ ดวง
    สมุทัย ให้หายวับไป เสมือนแสงตะวัน ขจัดความมืดให้มลาย
    ไปฉะนั้น

    ขั้นต่อไป เป็น ดวงมรรค มีอยู่ 3 ดวง เป็นดวงศีล
    ดวงหนึ่ง สมาธิดวงหนึ่ง ปัญญาดวงหนึ่ง แต่ละดวงมีขนาด
    5 วา มีสัณฐานกลม ใสบริสุทธิ์ยิ่งนัก

    การแทงตลอดอริยสัจ ทำให้มีปัญญารู้ญาณ 3 ญาณ คือ

    มีปัญญารู้ว่า การเกิด แก่ เจ็บ ตายนี้ ไม่เที่ยง ไม่แน่
    นอนจริง รู้ว่าสมุทัยทำให้ทุกข์เกิดจริง นิโรธสามารถดับทุกข์
    ได้จริง มรรคเป็นทางหลุดพ้นได้จริง เรียกว่า สัจจญาณ

    มีปัญญารู้ว่า การเกิด แก่ เจ็บ ตาย นี้เป็นทุกข์จริง
    เป็นสิ่งควรรู้ รู้ว่าสมุทัยเป็นสิ่งควรละ รู้ว่านิโรธเป็นสิ่งที่ควร
    ทำให้แจ้ง และ รู้ว่ามรรคเป็นทางที่ควรเจริญ เรียกว่า กิจจญาณ

    มีปัญญารู้ว่า ได้รู้ทุกข์ชัดเจนแล้ว ละสมุทัยได้ขาด
    แล้ว สามารถทำนิโรธให้แจ้งได้แล้ว และสามารถทำมรรคให้
    เจริญได้แล้ว เรียกว่า กตญาณ

    สัจจญาณ กิจจญาณ และ กตญาณ ตามที่เขียน
    อย่างข้างบนนี้ เขียนเพื่อให้อ่านเข้าใจได้ง่าย ในด้านการ
    ปฏิบัติจริงๆ เมื่อปฏิบัติถึงดวงทุกข์ก็จะกำหนด รู้ทุกข์ทั้งในแง่
    สัจจญาณ กิจจญาณ และ กตญาณ เมื่อถึงสมุทัย นิโรธ
    มรรค ก็จะกำหนดรู้ได้เช่นเดียวกัน

    ญาณทั้งสามนี้เป็นปัญญาที่ผุดขึ้นมาเอง ในระหว่าง
    การปฏิบัติ ไม่ได้เป็นวิปัสสนึก เป็นปัญญาที่ทำให้รู้ว่าสัจ
    จธรรมนั้นมีจริง ถ้าเพียรปฏิบัติอย่างถูกทางไม่ท้อถอยก็จะพ้น
    จากทุกข์ได้ ญาณทั้งสามกลุ่มรวม 12 ญาณของอริยสัจ
    (4x3=12)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 28 กันยายน 2014
  10. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,247
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,109
    ค่าพลัง:
    +70,447
    คำเทศน์ของหลวงพ่อวัดปากน้ำมาเป็นหลักฐาน คำเทศน์ที่ว่าคือ เรื่อง “อาทิตตปริยายสูตร” เทศน์เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2496 เรื่องกิเลสหมดไปจากกายต่างๆ ดังนี้


    หยุดอยู่กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะนั่นแหละ พอถูกส่วนเข้าก็จะเห็นกายมนุษย์ละเอียด อภิชฌา พยาบาท มิจฉาทิฏฐิ ของกายมนุษย์หยาบหายไปหมด เหลือของมนุษย์ละเอียด


    ใจก็หยุดอย่างนั้นแหละ ในศูนย์กลางกายมนุษย์ละเอียดก็เห็นแบบเดียวกันอย่างนี้แหละ ก็ถึงกายทิพย์ อภิชฌา พยาบาท มิจฉาทิฏฐิ หายไปหมด


    พอเข้าถึงกายทิพย์แล้ว หยุดอยู่ในกลางกายทิพย์อย่างนี้แหละ จะเข้าถึงกายทิพย์ละเอียด


    หยุดอยู่กลาง กายทิพย์ละเอียดอย่างนี้แหละก็จะเข้าถึงกายรูปพรหมนี่ โลภะ โทสะ โมหะ หายไปหมดแล้วเหลือแต่ ราคะ โทสะ โมหะ
    หยุดดังนี้ในกายรูปพรหมทั้งหยาบทั้งละเอียดจะเข้า ถึงกายอรูปพรหมนี่ ราคะ โทสะ โมหะ หายไปหมดอีกแล้ว


    หยุดอยู่ดังนี้แหละ ในกายอรูปพรหมทั้งหยาบทั้งละเอียดเข้าถึงกายธรรมพอเข้า ถึงกายธรรมเท่านั้น กามราคานุสัย อวิชชานุสัย ปฏิฆานุสัย ก็หายไปหมด
    กายธรรมเป็นวิราคธาตุวิราคธรรม ส่วนหยาบส่วนย่อยเป็นวิราคธาตุ


    วิราคธรรมที่ยังเจือปนระคนอยู่ด้วยฝ่ายหยาบยังไม่เป็นวิราคธาตุวิราคธรรมแท้สิ้นเชิงทีเดียว แต่เข้าเขตวิราคธาตุวิราคธรรมแล้ว


    ก็หยุดอยู่ในกายธรรมทั้งหยาบทั้งละเอียด อย่างนี้แหละจะเข้าถึงกายโสดาทั้งหยาบทั้งละเอียดนี่หมด สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส เข้าถึงพระโสดาไป


    แล้วหยุดอยู่ที่พระโสดาดังนี้ พอถูกส่วนเข้าจะเข้าถึงพระสกทาคาทั้งหยาบทั้งละเอียด กามราคะ พยาบาท อย่างหยาบหมด
    หยุดอยู่ในพระสกทาคาอย่างนี้ทั้งหยาบทั้งละเอียดถูกส่วนดังนี้ จะเข้าถึงพระอนาคา กามราคะพยาบาทอย่างละเอียด หมด
    เหลือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชาหยุดอยู่ในกายพระอนาคาอย่างนี้แหละ จะเข้าถึงกายพระอรหัตทั้งหยาบทั้งละเอียด รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา หลุดหมด


    พอเข้าถึงกายพระอรหัตทั้งหยาบทั้งละเอียดนี้ เป็นวิราคธาตุวิราคธรรมแท้ นี้เสร็จกิจใน พระพุทธศาสนา


    แต่ให้รู้จักหลักอย่างนี้ทางเป็นจริงของพุทธศาสนาเป็นอย่างนี้ เมื่อเรารู้จักหลักจริงดังนี้แล้ว ให้ปฏิบัติไปตามแนวนี้ ถ้าผิดแนวนี้จะผิดทางมรรคผลนิพพาน



    ---------------------------------------


    จากคำเทศน์สอนหลวงปู่สด ถ้าผู้ปฏิบัติสามารถดับกิเลส อาสวะ สังโยชน์ ฯลฯ ได้ชั่วคราวที่เข้าถึงกายต่างๆ ก็เป็นวิกขัมภนวิมุตติ
    หรือ ตทังควิมุตติ แล้วแต่กรณี แล้วแต่เหตปัจจัยของแต่ละท่าน

    เมื่อมีญาณปัญญาจากการเจริญสมถและวิปัสสนา เจริญขึ้น ก็ใช้โอกาสขณะที่
    จิตพ้นกิเลสชั่วคราวนี้ เจริญมรรคต่อไป จนประหารกิเลส อาสวะ สังโยชน์
    เครื่องร้อยรัดได้หมด


    และเมื่อใดก็ตาม ตัดขาดเป็นสมุทเฉทวิมุตติ ก็จบกิจ


    ----------------------------------------
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 4 ตุลาคม 2014
  11. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,247
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,109
    ค่าพลัง:
    +70,447
    วิมุตติ 5 ประการ ..จากพระไตรปิฎก อรรกถาภาษาไทย

    วิมุตติ ถาม วิมุตติ คืออะไร?

    ตอบ พระพุทธศาสนาแสดง วิมุตติ คือความหลุดพ้นจากกิเลสไว้ ๕ อย่างคือ
    ๑. วิกขัมภนวิมุตติ ความหลุดพ้นจากกิเลสด้วยการข่มไว้ด้วยอำนาจของฌาน เพียงปฐมฌานก็สามารถข่มธรรมอันเป็นข้าศึก คือนิวรณ์ ๕ มีกามฉันทะนิวรณ์ได้แล้ว แต่ไม่อาจละนิวรณ์ ๕ ให้ขาดไปจากใจได้ หมดอำนาจฌาน กิเลสคือนิวรณ์ก็เกิดได้อีก
    ๒. ตทังควิมุตติ ความหลุดพ้นจากกิเลสด้วยองค์นั้น ด้วยอำนาจของวิปัสสนาญาณ เพียงได้นามรูปปริจเฉทญาณ ปัญญาที่แยกนามกับรูปว่าเป็นคนละอย่าง ก็สามารถละความเห็นผิดว่านามรูป เป็นตัวตนได้ชั่วคราว
    ๓. สมุจเฉทวิมุตติ ความหลุดพ้นจากกิเลส ด้วยการตัดขาด ด้วยมรรคญาณ กิเลสที่ถูกตัดขาดไปแล้วย่อมไม่กลับมาเกิดได้อีก
    ๔. ปฏิปัสสัทธิวิมุตติ ความหลุดพ้นจากกิเลส เพราะกิเลสทั้งหลายสงบระงับไปในขณะแห่งผลจิต
    ๕. นิสสรณวิมุตติ ความหลุดพ้นจากกิเลสด้วยการสลัดออกจากธรรมอันเป็นข้าศึกคือกิเลส ด้วยนิพพาน
    ในวิมุตติ ๕ อย่างนี้ วิมุตติ ๒ อย่างแรกเป็นโลกียะ ส่วนวิมุตติ ๓ อย่างหลังเป็นโลกุตตระ ปัญญาคือความรู้ในวิมุตติ ๕ อย่างนั้น เรียกว่า วิมุตติญาณ






    ใน อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต กล่าวถึงวิมุตติ ๒ อย่างคือ เจโตวิมุตติ และปัญญาวิมุตติ ว่า
    [๒๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่เศร้าหมองด้วยราคะ ย่อมไม่หลุดพ้น หรือปัญญาที่เศร้าหมองด้วยอวิชชา ย่อมไม่เจริญด้วยประการฉะนี้แล
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะสำรอกราคะได้ จึงชื่อว่าเจโตวิมุติ เพราะสำรอกอวิชชาได้จึงชื่อว่าปัญญาวิมุติฯ

    ขยายความ โดยปริยายหนึ่งๆ ว่า :-

    เจโตวิมุตติ ความหลุดพ้นด้วยใจ ได้แก่ ผลสมาธิ คือสมาธิที่ประกอบกับอรหัตตผลจิต

    ปัญญาวิมุตติ ความหลุดพ้นด้วยปัญญา ได้แก่ ผลปัญญา คือปัญญาที่ประกอบกับอรหัตตผลจิต

    เพราะฉะนั้น เมื่อว่าโดยพระอภิธรรมแล้ว เจโตวิมุตติกับปัญญาวิมุตติ จึงเกิดขึ้นพร้อมกันกับอรหัตตผลจิต

    ก็เจโตวิมุตตินั้น ได้แก่ เอกัคคตาหรือสัมมาสมาธิ

    ปัญญาวิมุตติ ได้แก่ ปัญญาหรือสัมมาทิฐิ ที่ประกอบด้วยอรหัตตผลจิต



    อริยมรรค ชื่อว่า กำลังหลุดพ้นจากกิเลส
    อริยผล ชื่อว่า หลุดพ้นแล้วจากกิเลส
    อริยมรรคนั้นเป็นกุศลจิตมี ๔ คือโสดาปัตติมรรค สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค และอรหัตตมรรค


    อริยผลเป็นผลของมรรคเป็นวิบากจิต ก็มี ๔ เท่ากับอริยมรรค คือโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล และอรหัตตผล
    ในขณะที่มรรคจิตอันเป็นกุศลเกิดขึ้น ทำลายกิเลสให้ขาดเป็นสมุจเฉทแล้วดับไป ผลจิตอันเป็นวิบากจะเกิดขึ้นสืบต่อจากมรรคจิตทันที โดยไม่มีจิตอื่นมาเกิดคั่นในระหว่างนั้น นั่นคือเมื่อมรรคอันเป็นเหตุเกิดขึ้นแล้วดับลง ผลของมรรคจะเกิดต่อทันที โดยไม่มีจิตอื่นมาคั่น



    การที่มรรคจิตอันเป็นกุศลเกิดขึ้นแล้วดับไปผลจิตอันเป็นวิบากก็เกิดขึ้นทันที โดยไม่ต้องรอเวลา นี้แหละชื่อว่า อกาลิโก เพราะไม่มีกาลเวลาในการให้ผลกุศลอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นมหากุศลหรือฌานกุศลเมื่อเกิดขึ้นและดับไปแล้วที่จะให้ผลทันทีเหมือนมรรคจิตหามีไม่ ต้องรอเวลาที่จะให้ผลทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นมรรคจิตเท่านั้นจึงชื่อว่า อกาลิโก กุศลอื่นๆ ไม่ชื่อว่าอกาลิโก

    ในอรรถกถา ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ สัททสูตร กล่าวว่า สมาธิชื่อว่า เจโตวิมุตติ เป็นผลของสมถะ และที่สมาธิได้ชื่อว่าเจโตวิมุตติเพราะพ้นจากราคะ
    ปัญญาชื่อว่าปัญญาวิมุตติ เป็นผลของวิปัสสนา และที่ปัญญาได้ชื่อว่าปัญญาวิมุตติ เพราะพ้นจากอวิชชา

    ใน คัมภีร์บุคคลบัญญัติ แสดงวิมุตติของพระอรหันต์ ๒ อย่าง คือ อุภโตภาควิมุตติ และปัญญาวิมุตติ ไม่มีเจโตวิมุตติ
    อุภโตภาควิมุตติ ได้แก่ บุคคลที่ได้สมาบัติ ๘ คือได้ทั้งรูปฌาน ๔ และอรูปฌาน ๔ ออกจากสมาบัติแล้วเจริญวิปัสสนา เห็นความเสื่อมไปสิ้นไปของสังขารทั้งหลายด้วยวิปัสสนาปัญญา เห็นอริยสัจ ๔ ด้วยมรรคปัญญา กล่าวคือบุคคลประเภทอุภโตภาควิมุตตินี้พ้นจากรูปกายคือรูปฌานด้วยอรูปฌานหรืออรูปสมาบัติ และเพราะเจริญฌานที่มีอรูปเป็นอารมณ์ จึงชื่อว่าพ้นจากรูปกายด้วยอรูปสมาบัติก่อนเป็นครั้งแรก จากนั้นจึงพ้นจากนามกาย คือกิเลสด้วยอริยมรรคเป็นครั้งที่สอง เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่าอุภโตภาควิมุตตบุคคล เพราะหลุดพ้นจากส่วนสองคือ ๒ ครั้ง ครั้งแรกพ้นจากรูปกายด้วยอรูปสมาบัติ ครั้งที่ ๒ พ้นจากกิเลสด้วยอริยมรรค
    ท่านจัดบุคคลที่ชื่อว่าอุภโตภาควิมุตติไว้ ๕ พวกคือบุคคลที่ได้อรูปสมาบัติ ๔ ออกจากอรูปสมาบัติแต่ละสมาบัติแล้ว พิจารณาสังขารทั้งหลายแล้วจึงบรรลุพระอรหัตต์จัดเป็น ๔ พวก กับพระอนาคามีผู้ออกจากนิโรธสมาบัติแล้ว บรรลุพระอรหัตต์อีกพวกหนึ่ง จึงเป็น ๕ พวก
    สรุปว่า บุคคลที่ได้ชื่อว่า อุภโตภาควิมุตตินั้น ได้แก่พระอรหันต์ผู้ได้สมาบัติ ๘ เท่านั้น

    ปัญญาวิมุตติ ได้แก่บุคคลผู้มิได้ถูกต้องสมาบัติ ๘ ด้วยกาย แต่หลุดพ้นจากกิเลสเพราะเห็นด้วยปัญญา ท่านจัดปัญญาวิมุตติบุคคลไว้ ๕ พวก คือพระอรหันต์ผู้สุกขวิปัสสก คือเจริญวิปัสสนาล้วนๆ พวกหนึ่ง และบุคคลผู้ออกจากรูปฌาน ๔ แต่ละฌานแล้วเจริญวิปัสสนา แล้วบรรลุพระอรหันต์อีก ๔ พวกคือ
    ออกจากปฐมฌานแล้วบรรลุพระอรหัตต์ ๑ ออกจากทุติยฌานแล้วบรรลุพระอรหัตต์ ๑
    ออกจากตติยฌานแล้วบรรลุพระอรหัตต์ ๑ ออกจากจตุตถฌานแล้วบรรลุพระอรหัตต์อีก ๑ จึงรวมเป็น ๕ พวก ซึ่งพระอรหันต์ทั้ง ๕ พวกนี้ไม่มีท่านใดเลยที่ได้สมาบัติ ๘ อย่างมากก็ได้เพียงรูปฌาน ๔ เท่านั้น
    ถึงกระนั้น บุคคลทั้งสองพวกนี้ คือทั้งอุภโตภาควิมุตติและปัญญาวิมุตติต่างก็ได้ชื่อว่า พระอรหันต์ผู้หลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวงเป็นสมุจเฉทวิมุตติด้วยกันทั้งสิ้น

    หมายเหตุ
    สมาบัติ ๘ นั้นได้แก่ รูปฌาน ๔ คือปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน และจตุตถฌาน และอรูปฌาน ๔ คืออากาสานัญจายตนฌาน วิญญาณัญจายตนฌาน อากิญจัญญายตนฌาน และเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
    นิโรธสมาบัติหรือสัญญาเวทยิตนิโรธ คือการเข้าสมาบัติด้วยการดับสัญญาและเวทนา ซึ่งรวมไปถึงการดับจิตและเจตสิกอื่นๆ พร้อมทั้งรูปที่เกิดจากจิตด้วย แต่รูปที่เกิดจากกรรม จากอุตุและอาหารยังคงเป็นไปอยู่ เพราะฉะนั้นผู้ที่เข้านิโรธสมาบัติจึงยังมีชีวิตอยู่ ผู้ที่เข้านิโรธสมาบัติได้นั้นมี ๒ พวก คือพระอนาคามีหรือพระอรหันต์ผู้ได้สมาบัติ ๘ เท่านั้น พระอริยบุคคลนอกจากนั้นเข้าไม่ได้ และท่านจะเข้านิโรธสมาบัติกันอย่างมาก ๗ วัน ก่อนเข้าท่านจะต้องทำบุพกิจ ๔ อย่าง คือ
    ๑. อธิษฐานไม่ให้บริขารและร่างกายของท่านเป็นอันตราย
    ๒. อธิษฐานขอให้ออกจากฌานได้โดยไม่ต้องมีใครมาเรียก เมื่อสงฆ์ต้องการพบท่าน
    ๓. อธิษฐานขอให้ออกจากฌานได้โดยไม่ต้องมีใครมาเรียก เมื่อพระพุทธองค์ทรงมีพระประสงค์จะพบท่าน
    ๔. พิจารณาอายุของท่านว่าจะอยู่ได้ครบ ๗ วันหรือไม่ ถ้าอยู่ครบ ท่านก็อธิษฐานกำหนดเวลาเข้า ถ้าอยู่ไม่ครบ ๗ วัน ท่านก็กำหนดเวลาเข้าให้น้อยกว่า ๗ วัน

    ________________________________________
    ที่มา อ้างอิง และแนะนำ :-
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔
    มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
    มหาเวทัลลสูตร ว่าด้วยการสนทนาธรรมที่ทำให้เกิดปีติ
    �����ûԮ�������� �� - ����ص�ѹ��Ԯ�������� �

    จูฬเวทัลลสูตร ว่าด้วยการสนทนาธรรมที่ทำให้เกิดปีติ
    �����ûԮ�������� �� - ����ص�ѹ��Ԯ�������� �

    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗
    ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
    สัททสูตร
    �����ûԮ�������� �� - ����ص�ѹ��Ԯ�������� ��

    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๖ พระอภิธรรมปิฎก เล่ม ๓
    ธาตุกถา-ปุคคลบัญญัติปกรณ์
    ��úѭ �����ûԮ� �� ����

    [๓๘] บุคคลเป็นพระสัมมาสัมพุทธะ เป็นไฉน
    [๓๙] บุคคลเป็นพระปัจเจกพุทธะ เป็นไฉน
    [๔๐] บุคคลชื่อว่าอุภโตภาควิมุต เป็นไฉน
    [๔๑] บุคคลชื่อว่าปัญญาวิมุต เป็นไฉน
    �����ûԮ�������� �� - �����Ը����Ԯ�������� �

    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๒
    ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส
    [๖๐๑] คำว่า อันธรรมจารีบุคคลพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ความว่า
    �����ûԮ�������� �� - ����ص�ѹ��Ԯ�������� ��

    พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม
    พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
    คำว่า วิมุตติ 2
    �鹾��ҹء���ط���ʵ�� ��Ѻ�����Ÿ���

    คำว่า วิมุตติ 5
    �鹾��ҹء���ط���ʵ�� ��Ѻ�����Ÿ���

    คำว่า สมาบัติ
    �鹾��ҹء���ط���ʵ�� ��Ѻ�����Ÿ���

    คำว่า อกาลิโก
    �鹾��ҹء���ط���ʵ�� ��Ѻ�����Ÿ���
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 28 กันยายน 2014
  12. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,247
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,109
    ค่าพลัง:
    +70,447
    ฌานไม่มีแก่ผู้ไม่มีปัญญา

    ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่มีฌาน

    ฌานและปัญญามีอยู่ในผู้ใด ผู้นั้นแลอยู่ในที่ใกล้นิพพาน


    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗
    บาลี พระพุทธภาษิต พระธรรมบท ภิกขุวรรคที่25 เรื่องสัมพหุลภิกขุ
     
  13. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,247
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,109
    ค่าพลัง:
    +70,447
    [​IMG]



    จากตารางกิเลสสำคัญข้างต้น


    เมื่อ เข้าถึงพระธรรมกาย จะเห็นเป็นสีดำ หนาบ้าง บางบ้าง เข้มบ้าง เจือจางบ้าง
    หุ้มเคลือบ ใจของกายมนุษย์ ทิพย์ พรหม อรูปพรหม


    ให้อาศัยพระธรรมกายเจริญวิชชาฯชำระกลางใจโลกียะทั้งหมด และ เจริญไป
    ดับหยาบไปหาละเอียดไปเสมอ จนกว่าจะมีญาณปัญญาตัดสังโยชน์ประจำกายธรรมกายระดับต่างๆ ตั้งแต่โสดา สกิทาคา อนาคา ก็จะสำเร็จมรรคผล
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • -_1_~1.PNG
      -_1_~1.PNG
      ขนาดไฟล์:
      23 KB
      เปิดดู:
      970
  14. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,247
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,109
    ค่าพลัง:
    +70,447
    ผู้ถึงธรรมกายที่ยังไม่บรรลุโลกุตตรธรรม




    ไม่อาศัยญาณพระธรรมกายเพื่อการตัดสังโยชน์ ชำระกิเลส อาสวะ ฯลฯไปจนดับอวิชชาได้เด็ดขาด



    อาจจะกลับไปเป็นปุถุชนได้ชั่วพริบตาในเพียงไม่กี่ชั่วโมง ไม่กี่นาที ถ้าประมาทขาดสติสัมปชัญญะ



    ไม่สำรวมระวังศีลและอินทรีย์ แล้วลุแก่อำนาจของกิเลส โลภะ ราคะ โทสะ โมหะ ตัณหา อุปาทาน







    ........หมายเหตุ สำคัญไว้...........!!!!
     
  15. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,247
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,109
    ค่าพลัง:
    +70,447
  16. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,247
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,109
    ค่าพลัง:
    +70,447
    [​IMG]



    ไฟล์ PDF หนังสือรวมพระธรรมเทศนาพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ๖๗ กัณฑ์ฉบับสมโภชพระมหาเจดีย์มหารัชมงคล วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ พ.ศ.๒๕๕๕


    โหลดฟรีที่รวมพระธรรมเทศนาพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ๖๗ กัณฑ์

    หรือ


    พระธรรมเทศนาพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ๖๗ กัณฑ์ - ดาวน์โหลด, -4shared - Jaisai Stopmind



    ปล.
    พระอาจารย์วิชัย วิชโย "ยินดีแจกเป็นธรรมทาน แต่ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ทุกกรณีครับ"
    หากท่านใดต้องการพิมพ์เป็นหนังสือ กรุณาติดต่อพระอาจารย์วิชัย วิชโย วัดปากน้ำ ภาษีเจริญครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  17. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,247
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,109
    ค่าพลัง:
    +70,447
    คนที่อายุสั้นมีบุญหรือกรรมอย่างไร

    คนที่อายุสั้น มีบุญหรือกรรม [ไม่ดี] อย่างไร ?
    --------------------------------------------------

    ตอบ:


    คนอายุสั้น เพราะเวรกรรมปาณาติบาต คือฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ถ้าฆ่าสัตว์ใหญ่ สัตว์ที่มีคุณมากๆ กรรมก็แรง และถ้าฆ่ามีมูลเหตุอาฆาตพยาบาทมาก ก็ให้ผลเร็ว คือจะกลายเป็นคนมีอายุสั้น คนขี้โรค




    มีรายหนึ่งที่วัดปากน้ำ แกเป็นโรคปวดท้อง ป่วยเป็นโรคกระเพาะ หมอก็ตัดกระเพาะ ผ่าตัดแล้วกลับไปอยู่ได้ 2 อาทิตย์ ก็ต้องผ่าตัดอีก ผ่าตัดอยู่ 3-4 ครั้ง จนตัวเองผอมเป็นไม้ซีก จะตายแหล่มิตายแหล่ หนักๆ เข้า หมอไม่รับรอง ทีนี้ก็มาหาพระ พระก็บอกว่าท่านรู้แล้ว นี้เป็นโรคกรรมโรคเวรหนัก ท่านก็ให้ระลึกดูว่า ในชั่วชีวิตที่จำความได้ ไปทำกรรมอะไรมาที่เกี่ยวกับการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต แกก็นึกไม่ออก แกก็กลับไปบ้านไปนึกทบทวนดู คืนหนึ่งกลับมาแกก็บอกว่า ในสมัยเป็นเด็กเห็นปลาดุกมันอยู่ในท้องร่อง ก็จับปลาดุกมาได้ 2 ตัว สมัยเป็นเด็กคะนองอยากเห็นว่า ถ้าผ่าท้องปลาดุกแล้วไส้ไหล ถ้าปล่อยไปในน้ำเป็นอย่างไร ก็ผ่าปลาดุกให้ไส้ไหลแล้วปล่อยลงในน้ำ แล้วก็วักน้ำดู เออมันดี มันดูแล้วคงเจริญหูเจริญตา มันก็จะตายแหล่มิตายแหล่ จนกระทั่งมันตาย เวรนี้ผ่าท้องไม่มีที่สิ้นสุด จนกระทั่งพระบอกให้แต่นี้เป็นต้นไป ตั้งใจรักษาศีล เจริญภาวนา มานั่งเจริญภาวนาที่วัดปากน้ำ และอุทิศส่วนกุศลให้ปลาตัวนั้น 1 เดือนก็บรรเทา พอเลยจากนั้นก็หายเป็นปกติ ร่างกายสมบูรณ์ดี
     
  18. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,247
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,109
    ค่าพลัง:
    +70,447
    สิ่งที่ปรากฏ ณ ภายใน หลังจากเดินวิชชาแล้ว เช่น
    การเดินวิชชาเพื่อชำระกิเลส อาสวะ ตั้งแต่หยาบๆคือนิวรณ์

    ให้สอบอารมณ์กับตนเองคร่าวๆดู กับ ความรุ้สึก ด้วยใจของกายมนุษย์

    ว่า ขณะเจริญวิชชา หลังจากเดินวิชชาดับกิเลสอาสวะใหม่ๆ และ ผ่านเลยไปสักระยะเวลา กิเลส อาสวะ เราลดลงจริงหรือไม่

    สติสัมปชัญญะ และ ธรรมคู่ปรับของกิเลสนั้นๆ เจริญขึ้นหรือไม่



    ถ้าสอบแล้ว ตรงกัน

    ขอให้มั่นใจ ในสิ่งที่ตนปฏิบัติมาแล้ว
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 29 กันยายน 2014
  19. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,247
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,109
    ค่าพลัง:
    +70,447
    สำหรับผู้ปฏิบัติขั้นต้น ---ที่กำหนดนึกดวงแก้วไม่ได้ ไม่ชอบกำหนดดวงแก้ว--

    [​IMG]

    ------------------------------------------------------------------------

    ตะล่อม...... อาการเห็น อาการจำ อาการคิดนึก อาการรู้

    ให้ อยู่ในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง ที่สบายๆ มีสติ--สัมปชัญญะ รู้ตัวทั่วพร้อม


    ตรงศูนย์กลางกาย ฐานที่เจ็ด เหนือกลางตัวระดับสะดือ สององคุลี( 2ข้อนิ้วมือเจ้าของ )



    ...................เมื่ออารมณ์ล่อ ที่สบายๆ ทำให้อาการทั้งสี่ มารวม"หยุด"เป็นจุดเดียวแล้ว

    อารมณ์นั้น จะตกศูนย์ไปฐานที่6ระดับสะดือ


    ของจริง คือ ดวงปฐมมรรค จะเห็นได้ที่ศุนย์กลางกายฐานที่เจ็ด นั้นเอง...........




    --------------------------------------------------------



    นึกบ่อยๆ ในอารมณ๋สบายที่เป็นกุศล นั้น .ไว้กลางกาย

    ทุกอิริยาบถ ทั้งหลับตา ลืมดา


    ของจริงจะมา ได้ทุกขณะ ที่ใจหยุด
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • พระ.jpg
      พระ.jpg
      ขนาดไฟล์:
      65.2 KB
      เปิดดู:
      1,061
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 5 ตุลาคม 2014
  20. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,247
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,109
    ค่าพลัง:
    +70,447
    วันนี้ แผ่พรหมวิหาร และ รู้สึกดีๆ ณ ศูนย์กลางกาย บ้างหรือยัง?

    [​IMG]



    แม้ยังไม่เข้าถึงดวงปฐมมรรคหรือกายภายในใดๆ

    แต่ การหมั่นวางใจสบายๆ ไม่เพ่งจนเครียด ไว้ที่ศูนย์กลางกาย

    แม้แต่ การแผ่พรหมวิหาร แผ่เมตตา แผ่ความรู้สึกดีๆ ตรง ณ ที่ศูนย์กลางกาย

    จะส่งผลได้ดี คาดไม่ถึง



    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 30 กันยายน 2014
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...