สติปัฏฐานสี่ตามแนววิชชาธรรมกาย

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย นโมพุทธายะ๕, 21 สิงหาคม 2014.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,247
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,109
    ค่าพลัง:
    +70,447
    เห็นตัวเราในนิมิตศูนย์กลางกาย ?

    
    ดวงนิมิตในศูนย์กลางกายยังไม่ใส แต่เห็นตัวเราในนิมิตศูนย์กลางกาย จะปฏิบัติอย่างไร ? และนิมิตตัวเราให้เห็นชัดขึ้น เจริญขึ้นอย่างไรบ้าง ?

    -------------------------------------

    ตอบ:


    ที่เห็นนิมิตยังไม่ใส ควรปฏิบัติเช่นนี้

    1. หากใจยังไม่หยุดนิ่งตรงศูนย์กลางนิมิตนั้น ให้หยุดนิ่ง กริ๊กลงไป ให้นึกในใจ หยุดในหยุด กลางของหยุด กลางของกลาง นิดเดียว พอใจหยุดนิ่งถูกส่วน จะใสขึ้นมาทันที นี่ข้อที่หนึ่ง

    2. เมื่อศูนย์กลางขยายออก ใสพอสมควร ก็จะเห็นกายมนุษย์ละเอียด กายมนุษย์ละเอียด ถึงแม้จะยังเห็นไม่ใสก็ไม่เป็นไร มีอุบายวิธีทำอย่างนี้ ละอุปาทาน ละความรู้สึกที่เนื่องด้วยกายมนุษย์หยาบ ไม่สนใจ ดับหยาบไปหาละเอียด เป็นกายมนุษย์ละเอียดนั้น แม้เห็นไม่ชัด แม้เห็นลางๆ ก็ทำความรู้สึกว่าเป็นกายละเอียดนั้น ใจจะละจากอุปาทานในกายหยาบ เข้าไปเป็นเวทนา จิต ธรรมของกายละเอียด เมื่อใจกำหนดหยุดนิ่งไปที่ศูนย์กลางกาย ก็จะเห็นดวงธรรมใสสว่างขึ้น กลางของกลาง หยุดในหยุด กลางของหยุด ให้ใสสว่างขึ้น จะใสสว่างทั้งดวงและทั้งกาย และองค์ฌานแล้วใจก็ หยุดในหยุดเรื่อยไป ดับหยาบไปหาละเอียด หยุดนิ่ง ศูนย์กลางขยายว่างออกไป กายละเอียดอื่นๆ ก็จะปรากฏขึ้นมาใหม่ ให้จำไว้เลย ดับหยาบไปหาละเอียด ทำความรู้สึกเป็นกายละเอียดต่อๆ ไป หยุดในหยุด กลางของกลาง ให้ใสสว่างทั้งดวงทั้งกาย และองค์ฌาน

    เราจะเข้าถึงกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม ที่ผ่องใส สวยงามโตใหญ่ขึ้นกว่าเดิมไปตามลำดับจนถึงธรรมกาย แต่ว่าดวงธรรม ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ และเห็น จำ คิด รู้ คือใจ ของแต่ละกายในภพ 3 นั้น เนื่องจากยังมีอวิชชานุสัย หุ้ม “ดวงรู้” กามราคานุสัยหุ้ม ” ดวงคิด” ปฏิฆานุสัยหุ้ม “ดวงเห็น” อยู่ เพราะฉะนั้น ดวง เห็น จำ คิด รู้ ที่ตั้งอยู่ตรงกลางของกลางดวงธรรมนั้น จึงยังไม่เบิกบาน คือ ยังไม่ขยายโตเต็มกาย แต่ว่าขยายโตขึ้นในระดับหนึ่ง เช่นของกายมนุษย์จะประมาณฟองไข่แดงของไข่ไก่เท่านี้ สำหรับผู้ที่จะสามารถเจริญกัมมัฏฐานได้ แต่ถ้าใครเห็นดวงเล็กขนาดนิดเดียว เท่าดวงดาว คนนั้นชาตินี้เจริญกัมมัฏฐานสำเร็จได้ยาก บางท่านเห็นดวงโต อย่างโตเท่าดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ ขึ้นอยู่ที่บุญบารมีของแต่ละท่านที่บำเพ็ญมาแล้วไม่เหมือนกัน ของกายทิพย์เป็น สองเท่าของกายมนุษย์ ของกายรูปพรหมเป็นสองเท่าของกายทิพย์ ของกายอรูปพรหมเป็นสองเท่าของกายรูปพรหม

    เพราะเหตุไร ?

    เพราะกิเลส ตัณหา อุปาทาน ที่หุ้มซ้อนอยู่นั้นค่อยๆ จางหมดไป ด้วยการรวมใจ หยุดในหยุด กลางของหยุด และดับหยาบไปหาละเอียดเรื่อยๆ เราจึงถึงคุณธรรมที่บริสุทธิ์ยิ่งกว่ากันไปตามลำดับ จากมนุษย์ธรรมไปถึงเทวธรรม ถึงพรหมธรรม อรูปพรหมสุดละเอียด ของคุณธรรมของกายในภพ 3 ก็จะถึงธรรมกาย

    ดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายนี้จึงเบิกบานเต็มที่ เต็มธาตุเต็มธรรม หมายความว่า ดวงธรรม และดวงเห็น จำ คิด รู้ ของธรรมกาย ตั้งแต่ธรรมกายโคตรภู แม้จะมีขนาดหน้าตักและความสูงเพียง 4 วาครึ่ง แต่เส้นผ่าศูนย์กลางดวงธรรม และเห็น จำ คิด รู้ ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะนั้น ขยายโตเต็มส่วนเต็มธาตุเต็มธรรม คือมีเส้นผ่าศูนย์กลางเท่าหน้าตักและความสูงของธรรมกาย จากธรรมกายโคตรภูไปสุดละเอียด ถึงธรรมกายอรหัตในอรหัต ก็เป็นอย่างนี้.
     
  2. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,247
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,109
    ค่าพลัง:
    +70,447
    [​IMG]


    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  3. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,247
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,109
    ค่าพลัง:
    +70,447
    สะสางธาตุธรรม จนใสเหมือนเพชรแล้ว ทำไมยังเห็นอยู่อีก ?

    .................................
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 20 ธันวาคม 2015
  4. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,247
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,109
    ค่าพลัง:
    +70,447
    ประสบการณ์ใน ... “วิชชาธรรมกาย” (๒)



    ลุงจอน (นามสมมติ) ซึ่งเป็นผู้เจริญภาวนาธรรมตามแนว “วิชชาธรรมกาย” ได้เล่าว่า ...
    เมื่อวันที่ ๑๗ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๑๘
    ลุงจอนได้ไปรดน้ำศพญาติคนหนึ่ง ที่วัดสะพานสูง (วัดธรรมาภิรตาราม) บางซื่อ
    ผู้ตายเป็นชาวจีน อายุประมาณ ๖๐ ปีเศษ

    เมื่อว่างจากการสนทนากับญาติ ๆ แล้ว
    ลุงจอนจึงได้หลับตา เจริญภาวนาตามแนว “วิชชาธรรมกาย”
    เพื่อตรวจดูว่า ... ผู้ตายไปเกิดในภพภูมิใด จะได้อุทิศส่วนกุศลไปให้
    ก็ได้ รู้เห็น ใน “ญาณทัสสนะ” ว่า ....
    ผู้ตายได้ไปเกิดใน ... ทุคติภูมิ คือ นรก

    เมื่อลุงจอนได้เห็นเช่นนั้น
    จึงได้อาราธนา “พระธรรมกาย” ให้ ศีล ... แก่ผู้ตาย
    เพื่อที่ผู้ตายจะได้ อนุโมทนารับศีล ... จะได้เป็นบุญหล่อเลี้ยงให้พ้นทุกข์ได้บ้าง
    แต่ปรากฏว่า กายละเอียดของผู้ตาย ซึ่งกำลังเสวย วิบากกรรม ใน นรก
    ไม่ได้แสดงอาการรับรู้ใด ๆ เลย
    เนื่องจากในขณะที่ญาติผู้นี้ ยังมีชีวิตอยู่ ....
    เขาไม่ได้สนใจในเรื่อง การให้ทาน รักษาศีล หรือ เจริญภาวนาธรรม เลย


    อีก ๓ – ๔ วันต่อมา
    ลุงจอนได้ เจริญภาวนาธรรม กับบุตรสาว (ที่ได้ “ธรรมกาย” แล้ว)
    เมื่อใจสงัดจาก นิวรณ์ธรรม ทั้งหลายแล้ว
    ลุงจอนได้บอกให้บุตรสาว ใช้ “ญาณพระธรรมกาย”
    ตรวจดูว่า ผู้ตายคนดังกล่าว ... ได้ไปเกิดในภพภูมิใด

    ลุงจอนบอกแต่เพียง ชื่อและอายุของผู้ตาย ... ให้ทราบเท่านั้น
    โดยไม่ได้เล่าประวัติของผู้ตายให้ฟังเลย
    (ผู้ตายเป็นผู้ที่ติดยาเสพติด คือ ยาฝิ่น)
    ซึ่งบุตรสาวก็ได้ รู้เห็น ด้วย “ญาณทัสสนะ” ว่า ...
    ผู้ตายกำลังเสวย วิบากกรรม อยู่ใน นรก




    การเจริญภาวนาธรรมตามแนว “วิชชาธรรมกาย”
    ช่วยให้ผู้ปฏิบัติสามารถ เจริญปัญญา
    จากการที่ได้ “ทั้งรู้ ทั้งเห็น” อย่างนี้
    จึงทำให้เกิดความเชื่อมั่นใน คุณพระพุทธ คุณพระธรรม คุณพระสงฆ์ มากยิ่งขึ้น

    หมดความลังเลสงสัยว่า ... นรก สรรค์ นิพพาน มีจริงหรือไม่
     
  5. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,247
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,109
    ค่าพลัง:
    +70,447
    ทำอย่างไรถึงจะแก้โรคเบื่อชีวิต เกิดมาแล้วเดี๋ยวก็สุข เดี๋ยวก็ทุกข์ กิจวัตรประจำวันก็ซ้ำซาก จำเจ น่าเบื่อหน่าย เมื่อปฏิบัติสมาธิแล้วก็มืดไม่เห็นอะไรเลย พยายามนึกไปที่ดวงแก้ว แต่ก็ไม่สามารถที่จะเห็นได้ จะทำอย่างไรดี ?



    ตอบ...


    หากเบื่อด้วยกิเลส (โทสะ/นิวรณ์) จะเป็นทุกข์ จมอยู่ในความทุกข์ หากเบื่อด้วยปัญญา เข้าใจโลกตามที่เป็นจริง จิตใจย่อมปลอดโปร่ง แล้วหาทางพ้นด้วยการปฏิบัติตามพุทธธรรม



    การนึกดวงแก้วในเบื้องต้นเป็นวิธีทำใจให้สงบ เพราะฉะนั้น สำหรับคนส่วนใหญ่ ก็ยังเป็นได้แค่การ “นึก” ยังไม่ใช่ “เห็น” (ยกเว้นไม่กี่คนที่ครั้งแรกนึกแล้ว “เห็น” เลย)





    เมื่อเพียรพยายาม “นึก” อยู่เรื่อยๆ ใจจะค่อยๆ ได้รับการฝึกให้เชื่อง ความฟุ้งซ่านจะลดลง ได้สัมผัสความ “สันติสุข” จากการที่ใจเริ่มสงบบ้างโดยที่ยังไม่เห็นอะไรนั้น เมื่อถึงจุดที่จิตสงบพอดี หยุดนิ่งอยู่ ณ ศูนย์กลางกาย ก็จะ “เห็น” นิมิตแสงสว่างหรือดวงแก้วปรากฏขึ้น ซี่งเป็นไปด้วยอำนาจของความสงบใจ ไม่ใช่ด้วยอำนาจของการ “นึก”



    เพราะฉะนั้น หากเข้าใจธรรมชาติของจิตว่าเป็นเช่นนี้แล้ว เราก็จะไม่บังคับใจ บังคับตา ของเราให้เห็น เราจะไม่ใจร้อนหงุดหงิดเมื่อยังไม่เห็น เราจะไม่พากเพียรจัดเกินไป ด้วยความ “อยาก” เห็น





    แต่เราจะวางใจเป็นกลางๆ ปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ ในทุกอิริยาบถ คือ ยืนเดินนั่งนอน เพราะเรามีความสงบสุขทุกครั้งที่เรานั่งสมาธิ บุญบารมีของเราเพิ่มขึ้นทุกครั้งที่เรานั่งสมาธิ สติสัมปชัญญะดีขึ้นเรื่อยๆ ฯลฯ



    ------------------------------------------------------------------





    ความรู้เบื้องต้นในการปฏิบัติธรรม




    -ให้มีความอยากนั่ง และ นั่งอย่างสบายเป็นทุนก่อน
    -พอนั่งปุ๊ปก็หมดหน้าที่ของตา หรือ
    ร่างกายส่วนใดส่วนหนึ่ง เป็นหน้าที่ของใจล้วน ๆ


    -ให้รักษาอารมณ์สบายตลอดเวลาทั้งในการนั่ง และ ช่วงอื่น ๆ
    เพราะว่าอารมณ์สบาย จะทำให้เกิดความง่าย
    ง่ายต่อการนึกนิมิต ง่ายต่อการหยุดนิ่ง
    ง่ายต่อการเข้ากลาง ง่ายต่อการเข้าถึงกายภายใน
    -ความสบาย มี 2 อย่าง คือ เกิดขึ้นเอง จู่ ๆ ก็เกิดขึ้นเอง
    ส่วนความสบายที่เราสร้างขึ้นมาทำได้ โดย .......


    1.ห่างจากบุคคล หรือ สิ่งที่ทำให้ไม่สบายใจ

    2.หาสิ่งที่ทำให้สบายใจ เช่น ชมนก ชมไม้ ฟังเพลง
    อยู่สงบคนเดียว

    -ให้รักษาอารมณ์สบายก่อนที่จะนั่ง จนเกิดความรู้สึกอยากนั่ง
    มีความพอใจในการนั่ง เห็น ไม่เห็น เป็นเรื่องรอง

    -นิมิต คำภาวนา มีไว้กันความฟุ้ง ความง่วง ถ้าไม่ฟุ้ง ไม่
    ง่วง ก็ให้จรดเข้าภายใน หรือจรดเข้าศูนย์กลางกาย
    อย่าอยากได้ อย่าอยากเห็น เพราะเราจะเผลอไปเร่ง แล้วดึง
    ประสาทตา ปวดขมับ เกร็งกล้ามเนื้อ ท่องไว้ ๆ
    " ถ้าเราได้ด้วยความอยาก ถึงจะใสแค่ไหน ก็ไม่เอา ”





    ให้ได้ด้วยความสบาย สุข สงบ อย่างเดียว

    -การปฏิบัติธรรม ให้มีมรรคผล นิพพาน เป็นแก่นสาร ไม่หวัง
    ลาภยศ สรรเสริญ ถ้าหวังอย่างนั้น จะทำให้จิตไม่นิ่ง ต้องทำใจให้บริสุทธิ์ คิดเสมอว่า เรียนไปทำไม เอาจริงไหม ปล่อยใจเลื่อนลอยไปที่อื่นหรือเปล่า


    -จริงวันนี้  ได้วันนี้ จริงพรุ่งนี้  ได้พรุ่งนี้

    อย่าใช้ความหยาบในการปฏิบัติ เพื่อหาความละเอียด เช่น

    อารมณ์เศร้าหมอง ขุ่นมัว ลมหายใจเร็ว แรง จิตใจสั่น ไหว ริบรัว ฯลฯ







    -ใจที่มีพลัง จะต้องเป็นใจที่เป็นกลาง ๆ ตั้งมั่น มั่นคง

    -แม้เราจะไม่เข้าถึงธรรมในวันนี้ แต่อารมณ์สบาย สุข สงบ
    คือ ของขวัญอันยิ่งใหญ่แก่จิตใจ ซึ่งจะทำให้เราเข้าถึงธรรมใน



    วันหน้า







    -จิต มีลักษณะเป็น ดวง จึงเรียกว่า ดวงจิต







    เห็น = มองห่าง ๆ เหมือนของสองสิ่ง



    ได้ = มองใกล้ ๆ หรือเข้า ๆ ออก ๆ



    เป็น = เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน มั่นคง กลืน แยกไม่ออก







    -ความเบา ความสบาย เป็นสิ่งหนึ่งที่เมื่อนั่งแล้ว ต้องเริ่มทำ



    ไม่ว่าจะได้ธรรมะในระดับใดก็ตาม







    -ชัดไม่ชัด ไม่สำคัญ สำคัญว่า กลางหรือเปล่า นิมิตสัดส่าย



    เคลื่อนไหวอย่าตาม จรดใจนิ่ง ๆ เข้ากลางอย่างเดียว แล้วจิต



    ก็จะรวมลงสู่กลางเอง







    -นึกดวงแก้ว ก็นึกแบบช้าง อย่าให้มีลีลา หรือมีพิธีรีตรองมาก



    มาย การนึกก็นึกอย่างสบาย นึกเห็น ก็เห็น เพราะใจเป็นธาตุ



    สำเร็จอยู่แล้ว ให้มีความมั่นใจ ความมั่นใจเท่านั้นที่จะสร้าง



    ความมั่นใจต่อ ๆ ไปได้







    -อย่ากลัวเสียเวลา อย่ากลัวเสียหน้า อย่ากลัวว่าจะไม่ได้







    -เป็นพระภายนอก







    1. สันโดษ ไม่คลุกคลี ด้วย คนหมู่มาก



    2. ไม่สะสม ไม่เห็นแก่ลาภ



    3. ไม่อยากเด่น ไม่อยากดัง



    4. อ่อนน้อมถ่อมตน เป็นไปเพื่อบุญกุศลล้วน ๆ







    -อย่าท้อใจ อย่าน้อยใจ เพราะเมื่อกระแสใจเสื่อมคุณภาพ



    บาปจะเข้าครองต้องปลุกใจให้ฮึดสู้ นั่งให้สนุก เบิกบาน ให้



    เป็นบุญบันเทิงให้ได้







    -อย่าเสียดายความคิดเก่า ๆ จงสลัดทิ้งออกไป ตัดใจให้



    เหมือนตายจาก







    -เรื่องหยาบ ๆ ภายนอก ถ้าดูเบา จะมีผลต่อภายใน







    -ถ้าไม่ฝึกจรดศูนย์กลางกายตลอดเวลา เวลานั่งใจจะรวมได้



    ช้า ต้องมัวปัดของเก่าออก ทำให้เสียเวลา







    -ถ้าเห็นภาพต้นไม้ คน สัตว์ หรือสิ่งใดก็ตาม อย่าไปสนใจ



    เพราะใจเริ่มเป็นสมาธิ จึงจะเห็นภาพ ให้ดูเฉย ๆ ดูจุดที่เล็กที่



    สุด เดี๋ยวภาพก็จะเปลี่ยนไปเอง เปลี่ยนไปสู่ความไม่เปลี่ยน







    -ความง่ายเกิด เพราะ เราทำจิตให้คิดว่าง่าย







    -ความยากเกิด เพราะเราทำจิตให้คิดว่ายาก ถ้ายากเด็กทำไม่



    ได้หรอก อย่ากลัวว่าไม่ได้ อย่ากลัวว่าจะได้ช้า







    -อย่ากลัวว่าจะไม่ได้ เพราะดวงธรรมที่โตเท่ากับฟองไข่แดง



    ของไข่ไก่ มีในมนุษย์ทุกคน ถ้าไม่มีก็เป็นคนไม่ได้ ถ้าดวงนี้



    แตกดับ กายก็แตกดับ ดวงธรรมมีกันทุกคน เพียงแต่ไม่เห็น



    ถ้าใจยังสัดส่ายอยู่







    -อย่านั่งไปบ่นไป “ ไม่เห็นมีอะไร ๆ ๆ ๆ ” ให้เฉย จะได้



    อุปนิสัยอุเบกขา ใจจะได้เป็นกลาง ๆ ถ้าส่วนไหนตึง นั่น



    พยายามเกินไป อย่าฝืน ให้ปรับ







    -จุดเริ่มต้นที่ไหนก็ได้ แต่สุดท้ายต้องศูนย์กลางกาย ช่วงแรก



    ใจอาจจะอยู่ข้างหน้า หรือที่ไหนก็ไม่รู้ อย่ากังวล อย่าปล่อย



    ไป เดี๋ยวจะเข้าศูนย์กลางกายเอง แม้ไม่เห็น แม้ไม่ชัด แต่ให้



    ใจอยู่กลางท้อง พร้อมความหวังว่าจะได้ รักษาใจให้สบาย



    เดี๋ยวได้แน่







    -ถ้าใจยังไม่พร้อมที่จะนึก อย่าเพิ่งนึก ให้วางใจ เฉย ๆ จง



    คอยด้วยใจที่เยือกเย็น วางใจในที่สบาย ๆ การวางใจเฉย ๆไม่



    ใช่ช้า เพราะใจเฉย เป็นใจที่ใกล้กับใจละเอียดแล้ว







    -ยิ่งอยากก็ยิ่งยาก เลิกอยากก็เลิกยาก

    ผู้ที่สว่างเดี๋ยวนี้ ก็คือ ผู้ที่เคยฟุ้งมาก่อน

    ผู้ที่จิตตั้งมั่นเดี๋ยวนี้ ก็คือ ผู้ที่เคยมืดมาก่อน



    -เมื่อจิตหยาบ ให้ทำให้นิ่งก่อน พอจิตละเอียด จะกระดิกจิต

    ถึงดวงแก้ว ถึงองค์พระได้ ถ้านึกตอนที่จิตหยาบ จะเครียด


    เพราะมีความอยากนำหน้า ต้องทำให้นิ่งก่อน







    -ทำไมฟุ้ง ทำไมคิดหลายเรื่อง เพราะจิตกำลังหาที่สบาย เมื่อ



    ยังไม่พบที่ชอบ ก็แสวงหาต่อไป เมื่อพบที่ชอบก็หยุด การที่มี



    ความคิดเหลือเฟือ ไม่ใช่ว่าฝึกจิตไม่ได้ เพราะความคิดเป็น



    กระบวนการอย่างหนึ่งของจิต







    -เมื่อเข้าถึงกำเนิดความสุข



    แหล่งของความสุขที่ศูนย์กลางกาย



    จิตก็จะไม่ไปไหน มีสุข

    เกิดความพอใจ

    พอเหมาะ พอดี พอเพียง

    แค่ส่งจิตถึง ศูนย์กลางกายนิดเดียว

    แล้วจิตถอน ก็ได้บุญมากแล้ว

    หรือแค่เห็นแสงแว๊บนิดเดียว
    ชีวิตนั้นก็มีความสุขแล้ว

    คุ้มค่าแล้ว เหมือนคนเล่นน้ำ
    เอาเท้าจุ่มน้ำตื้น ๆ ก็ยังชื่นใจ

    -ถ้าอยากได้เร็ว จะได้ช้า
    ถ้าไม่กลัวช้า จะได้เร็ว
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 12 กันยายน 2014
  6. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,247
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,109
    ค่าพลัง:
    +70,447
    วิญญาณแมลงวัน…ไม่รู้ตัวว่าตาย(เล่าประสพการณ์จากผู้เข้าถึง..)

    อาตมา (พระดร.มหาทวนชัย อธิจิตโต) ขณะที่เป็นสามเณรได้สำเร็จธรรมกายตั้งแต่ตอนเป็นเณร

    (สมัยหลวงพ่อวัดปากน้ำยังมีชีวิตอยู่) หลวงพ่อเรียกให้ไปเป็นทหารเอกคือเณรน้อย
    เข้าไปปฏิบัติในโรงงานเขามีศัพท์เรียกว่า “โรงงาน” คือผู้ที่ได้ธรรมกายขั้นสูงแล้ว จะต้องได้ระดมพลกันมาเพื่อที่จะทำงานต่อสู้กับฝ่ายอธรรม

    ผู้เข้าถึงธรรมกายแล้ว สามารถเดินธรรมได้ สามารถที่จะถอดกายได้ ไอ้ที่ประหลายที่สุดคือให้ถอดกาย
    การถอดกาย คือการถอดจิต…ไปดูสิ่งต่าง ๆ ไปพบเห็นในแดนที่ไม่เคยไป ไปพบบุคคลที่ไม่เคยรู้จัก
    อันนี้เป็นอำนาจแล้วก็เป็นปาฏิหาริย์ของวิชชาธรรมกาย


    อยู่มาครั้งหนึ่งท่านเจ้าอาวาส นี่ก็ลืมชื่อแล้ว องค์ผอม ๆ นั้นแหละ ซึ่งเป็นรองของหลวงพ่อวัดปากน้ำ
    (ในขณะนั้น) อยู่กันมาก็สนิทสนม แต่พอมาสิบสี่สิบห้าปี มันก็ลืมชื่อไปหมดเสร็จแล้วท่านทดลองอาตมา ขณะนั้นเป็นเณรธรรมกาย…ท่านจับเรามา นั่งให้ถอดกายไปดู
    ตอนนั้นมีแมลงวันตัวหนึ่ง อีท่าไหนก็ไม่รู้ มาตาย ต่อหน้าท่าน

    “เออ…เณรเข้าสมาธิ ตามดูวิญญาณของสัตว์ตัวนี้ไปไหน”
    เราก็เข้าสมาธิติดตามดูก็ติดตามไปดูวิญญาณเขาอยู่ที่ไหน ไปที่ไหน เราก็เข้าสมาธิไปดูนะ
    ก็ตอบคำถามท่าน
    ท่านถามว่า “เห็นอะไรบ้างลูก”

    เราก็ “เห็นแล้ว ตอนนี้เขายังอยู่ที่นี่ ยังเจ็บปวด แล้วก็เขายังไม่รู้ว่าตัวตาย”

    การตายนี่มันมีสภาพที่ตัวเองไม่รู้นะ บางคนตายไปแล้ว ทำงานศพแล้ว แต่ตัวยังไม่รู้ว่าตาย
    แต่เขาจะสามารถมามองย้อนดูตัวเอง เอ๊ะ มันฉันนี่ ไอ้รูปที่ตั้งอยู่ที่งานศพนี่ตัวฉัน
    แล้วทำไมตัวฉันถึงมาอยู่ในสิ่งมีชีวิตอยู่ตรงนี้ ในกายใหม่ ภพใหม่ บางคนที่ไม่เข้าใจธรรมะ เขาจะประหลาดใจตัวเอง ว่าเอ๊ะ นี่มันอะไร
    มันศพใคร เอ๊ะนี่มันตัวเรานี่นา เราตายแล้วนี่นา มันจะเกิดสิ่งที่ประหลาดแบบนี้

    พระ ดร.มหาทวนชัย อธิจิตโต


    มีครั้งหนึ่ง สามเณรประพัฒน์ วัดปากน้ำ ได้ไปเจอกับสามเณรวัดตะเคียน
    ซึ่งเคยไปเรียนธรรมะกับหลวงพ่อวัดปากน้ำ ก็จำได้ว่าเคยไปเที่ยวสวรรค์กันมา
    หลวงพ่อวัดตะเคียน บอกว่า “กุไม่เชื่อ-งหรอก ว่า-งได้วิชชาจริงหรือเปล่า
    -งดูซิว่าพระที่อยู่ในย่ามฉันมีกี่องค์ เขาให้พระมาไม่เคยนับเลย”

    เณรประพัฒน์ก็นั่งเข้าที่สักพัก บอกหลวงพ่อวัดตะเคียนว่า “ร้อยกับสององค์ครับหลวงพ่อ”
    พอหลวงพ่อเทพระในย่ามออกมานับได้ร้อยกับสององค์จริง ๆ แน่แค่ไหนไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ

    หลวงพ่อวัดตะเคียนแทบจะกราบเณรเลยแล้วพูดว่า
    “ผมคิดว่าวิชชาวิปัสสนามันหมดแล้ว นึกว่าวิชชามรรคผลไม่มีแล้ว”

    จากนั้นหลวงพ่อวัดตะเคียนก็เลยไปเรียนธรรมะกับหลวงพ่อสด ที่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ

    พระครูภาวนากิตติคุณ
    วัดเกษมจิตตาราม
    จ.อุตรดิตถ์
     
  7. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,247
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,109
    ค่าพลัง:
    +70,447
    เรื่องกุมารไม่หายใจ


    เนื่องจากเอาใจจรดที่ดวงธรรมของกายมนุษย์ของมารดานั้น ความรู้ในคู่มือสมภารบอกว่า ใจของกุมารจรดอยู่ที่ศูนย์กลางกายของมารดา คือ จรดอยู่กับดวงธรรมของมารดา คือ อยู่ที่ฐานที่ ๗ กุมารไม่หายใจ ความจริงกุมารหายใจ เป็นการหายใจอย่างละเอียดอ่อน ประหนึ่งว่าไม่หายใจ เพราะที่นี่เป็นที่เกิด ดับ หลับ ตื่น


    การมาเกิดของสัตว์โลก เกิดที่จุดนี้ เริ่มที่นี่ การเกิดธรรมก็เกิดที่นี่ การดับคือตาย หรือเรียกว่าไปเกิด ใจของสัตว์โลกจะต้องมาหยุดตรงฐานที่ ๗ ก่อน แล้วถอยหลังมาฐานที่ ๖-๕-๔-๓ พอมาถึงฐานที่ ๓ คือ จอมประสาท คนไข้จะทำตาขาว ๆ คือ เหลือกตา (เหลือบ) เหมือนคนเป็นลม จากนั้นไปเพลาตา (ฐานที่ ๒) ออกจากปากช่องจมูก (ฐานที่ ๑) เพื่อทิ้งร่างกายมนุษย์ จากนั้นกายฝัน (กายมนุษย์ละเอียด) จะไปแสวงหาภพเกิดใหม่ ตามบุพกรรมของตนต่อไป คราวนี้มาถึงเรื่องหลับ ใจของเราหยุดที่ฐานที่ ๗ ก่อน แล้วจึงหลับ และการตื่นจากหลับก็จุดเดียวกัน
     
  8. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,247
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,109
    ค่าพลัง:
    +70,447
    พ่อตาจอมพลถนอม กิตติขจร พิสูจน์ความจริง

    พ่อตาจอมพลถนอม กิตติขจร พิสูจน์ความจริง

    ลุงฉลอม มีแก้วน้อย หรือที่รู้จักในนามลุงหลอม เป็นลูกของนายใส มีแก้วน้อย ซึ่งเป็นน้องชายของหลวงพ่อวัดปากน้ำ (ภาษีเจริญ) ได้เล่าให้ฟังว่า
    วันหนึ่ง “หลวงจบกระบวนยุทธ” เดิมชื่อแช่ม (เป็น “พ่อตาของจอมพลถนอม กิตติขจร” ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น) ได้มาหาหลวงพ่อวัดปากน้ำ เพราะได้ข่าวว่าหลวงพ่อวัดปากน้ำ เก่งอย่างงี้ ดีอย่างงั้นก็คิดอยากจะมาทดลองดู ว่าจะเก่งจริงหรือไม่จริง
    หลวงพ่อท่านถามว่า “มาธุระอะไร”
    หลวงจบฯ ก็บอกว่า “ผมได้ทราบข่าวเห็นเขาลือกันว่าหลวงพ่อเก่งมีวิชชาดี เห็นเขาเล่าให้ฟัง ผมก็อยากมาขอความกรุณาหลวงพ่อ เรื่องก็มีอยู่ว่าบิดาของผมเสียชีวิตมานานเป็น 20 ปีแล้วจะไปเหนือไปใต้ผมก็ไม่รู้แล้วก็ไม่เคยมาเข้าฝันหรือมาให้เห็นเลย อยากจะให้ลวงพ่อดูให้สักหน่อยว่าไปอยู่ที่ไหน จะไปลำบากลำบนหรือเปล่า ถ้าแกไปลำบาก ผมก็จะมาขอบารมีหลวงพ่อให้ช่วย”
    หลวงพ่อท่านก็เลยเรียกแม่ชีในโรงงานทำวิชชามา แล้วก็สั่งว่า “เอ้า…ไปดูให้เขาที ขึ้นไปดูข้างบนก่อนนะ เพราะตายไปหลายปีแล้ว”
    แม่ชีก็หลับตาไปพักใหญ่ แล้วบอกว่า “ไม่มีเลยหลวงพ่อ”
    หลวงพ่อก็บอกต่อไปว่า “เอ้า…งั้นลงไปดูข้างล่างซิมีไหม”
    แม่ชีหลับตาไปอีกสักพัก แล้วบอกหลวงพ่อว่า “ไม่มี"
    หลวงพ่อก็บอกว่า “ไม่มีได้ยังไง ข้างบนก็ไม่มี ข้างล่างก็ไม่มี มันต้องมีสิ ลงไปดูให้ลึกกว่านี้อีก จี้ให้มันลึกลงไปอีก ดูซิมันจะอยู่ยังไง”
    แม่ชีก็หลับตาไปอีกพักใหญ่แล้วก็บอกว่า “เจอแล้ว…หลวงพ่อ”
    หลวงพ่อก็ถามว่า “ไปอยู่ลึกมากไหม”
    แม่ชีตอบว่า “อยู่ลึกมากค่ะ…หลวงพ่อ”
    “แล้วถามเขารึเปล่าว่า ทำอะไรจึงได้ลงไอยู่ลึกขนาดนั้น”
    แม่ชีตอบว่า “เขาตอบว่าฆ่าวัว ฆ่าควาย เชือดวัว เชือดควาย ขายเป็นประจำ วันละ 3-5 ตัว
    หลวงพ่อถามต่อไปว่า “แล้วถามเขาหรือเปล่าว่าชื่ออะไร”
    “ถามค่ะ…เขาบอกว่าชื่อโต๊ะลู”
    พอบอกชื่อเท่านั้น หลวงจบกระบวนยุทธก็ร้องไห้คลานเข้าไปกราบเท้าหลวงพ่อเลยตั้งแต่นั้นมาหลวง จบฯ นับถือหลวงพ่อวัดปากน้ำเรื่อยมา เลิกนับถือแขก แล้วก็หันมานับถือพุทธศาสนาแทน หลวงจบฯ มีน้องชายอยู่คนหนึ่งชื่ออาหมัด มีอาชีพเชือดวัวขายเหมือนกัน หลวงจบฯ ก็เรียกอาหมัดมาคุยว่า ให้เลิกซะ บอกว่ามันบาปหนัก ยื่นคำขาดว่า “ถ้ากูบอกมึง แล้วไม่เชื่อ มึงกับกูก็เลิกกัน ไม่ต้องมาเรียกพี่เรียกน้องกันอีก” อาหมัดก็เลิกเชือดวัวขายจริง ๆ ตามคำของหลวงจบฯ เพราะกลัวบาป
    ลุงฉลอม มีแก้วน้อย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 12 กันยายน 2014
  9. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,247
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,109
    ค่าพลัง:
    +70,447
    ...เมื่อเห็น18กายในสุนัข....

    ...มีเรื่องเล่า ที่เกิดกับผู้ปฏิบัติจนเข้าถึงพระธรรมกายเบื้องต้นได้ระดับหนึ่ง


    ที่พอ่จะสามารถ ใช้อดีตังสญาณ ปุบเพนิวาสานุสสติญาณ และทิพยจักษุได้


    บังเอิญให้จ้องมองดูสุนัขที่บ้านตัวเอง ความที่ฝึกทำจนคล่อง ก็ได้เห็น

    กายนอกสุดของสุนัขเป็นกายที่แทนมนุษย์หยาบ

    ส่วนอีก17กายหลัก ตั้งแต่ กายมนุษย์ละเอียด ไปจนถึงกายอรหัตต์ ก็ยังมีอยู่


    ...สาวย้อนไปถึงเหตุอดีต เพื่อความสังเวชในการเกิดแก่เจ็บตายในวัฏฏะ

    ก็พบว่า.........เป็นเศษกรรมจากกาเมสุมิจฉาจาร


    ถ้าเกิดมาเป็นมนุษย์ ได้พบพระพุทธศาสนาอีก วาสนาเก่าอาจให้ได้พบพระพุทธศานา ได้ปฏิบัติต่อเพื่อความพ้นทุกข์ได้....


    [​IMG]

    [​IMG]


    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 18kaya.gif
      18kaya.gif
      ขนาดไฟล์:
      23 KB
      เปิดดู:
      1,107
    • 176.jpg
      176.jpg
      ขนาดไฟล์:
      16.7 KB
      เปิดดู:
      900
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 18 กันยายน 2014
  10. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,247
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,109
    ค่าพลัง:
    +70,447
    นั่งสมาธินานๆ จะหมดลมหายใจไปเฉยๆ จริงหรือไม่ ?

    
    เคยได้ยินเขาพูดว่า นั่งสมาธินานๆ จะหมดลมหายใจไปเฉยๆ จะจริงหรือเปล่า ?

    ----------------------------------------------------------

    ตอบ:


    ไม่จริงนะ แต่ว่ามีอาการเหมือนไม่ได้หายใจ เพราะนี้เป็นธรรมชาติ ใจยิ่งหยุดนิ่งเข้าไปแล้ว กายสังขารระงับ คือองค์บริกรรมภาวนาสัมมาอรหังๆๆ จะค่อยๆ เลือนไปๆ นิ่งๆ จนไม่สนใจ มันค่อยหายไป นี้กายสังขารระงับ ก็คือลมหายใจละเอียดๆ เข้าไปๆ สั้นเข้าๆ ละเอียดๆ แล้วหยุดนิ่ง ใจหยุดนี้ไม่ใช่ไม่หายใจเลยนะ มีอ่อนๆ แต่ละเอียด ลมละเอียดนั้นเขาเรียกว่า “ปราณ” ปราณนั่นแหละธาตุลม ที่เขาทำหน้าที่ปรนเปรออยู่ในร่างกาย เพราะฉะนั้นไม่ต้องกลัวว่าจะตาย ไม่ต้องกลัวนะ เด็กทารกอยู่ในท้องหายใจหรือเปล่า ? หายใจไหม ? ไม่ได้หายใจหรอก เด็กทารกในครรภ์ไม่ตาย คนดำน้ำหายใจหรือเปล่า ? โดยทั่วไปคนดำน้ำก็ไม่ได้หายใจ กลั้นใจไว้นานๆ ไม่ได้หายใจไม่ตาย คนอยู่ฌานสมาบัติลึกๆ ใจยิ่งละเอียด “ปราณ” คือ ธาตุลมที่ทำหน้าที่ปรนเปรออยู่ในร่างกาย ให้อยู่ในสภาวะพอเหมาะนี้สบายไปเลยนะ เพราะฉะนั้นอาการที่ใจจะเป็นสมาธิ คือ

    1.กายสังขารระงับ คือ ลมหายใจจะสั้นเข้าๆ แล้วละเอียด เหมือนกับไม่ได้หายใจ แต่ที่แท้มีลมหายใจอยู่ และปราณก็ทำหน้าที่อยู่แล้ว
    2.วจีสังขารระงับ คือ องค์บริกรรมภาวนาสัมมาอรหังๆๆ หรือพุทโธก็ได้นะ จะค่อยเลือนหายไป ในขณะที่ใจสงบระงับนั้น
    3.มโนสังขารระงับ คือ ใจค่อยๆ หยุดนิ่ง เป็นธรรมดาแต่ไม่ตาย ไม่ต้องกลัว ไม่ตายหรอก สัมมาสมาธิน่ะ สติสัมปชัญญะต้องอยู่ตลอด ไม่ใช่สมาธิตัวแข็งทื่อ ไม่รู้เรื่องอะไร สมาธิอย่างตัวแข็งทื่อนั้นไม่เอานะ ไม่ใช่สัมมาสมาธิ
     
  11. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,247
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,109
    ค่าพลัง:
    +70,447
    เห็นนิมิตแปลกๆ บางทีก็เป็นนิมิตที่น่ากลัว

    
    เห็นนิมิตแปลกๆ บางทีก็เป็นนิมิตที่น่ากลัว

    --------------------------------------------------

    ตอบ:


    สาเหตุข้อที่ 1 เมื่อพิจารณาตามเรื่องราวที่เล่าไปให้ฟังแล้วปรากฏว่า ผู้ที่มักเห็นนิมิตแปลกๆ ที่น่ากลัวนั้นเกิดกับผู้ปฏิบัติภาวนาที่ไม่มีพื้นฐานการปฏิบัติสมถกรรมฐานดีพอ แล้วเจริญวิปัสสนากรรมฐานเลยทีเดียว จึงเกิดวิปัสสนูปกิเลส ข้อ อุปัฏฐานัง คือการมีสติปรากฏยิ่งเกินไป หรืออีกนัยหนึ่ง มีสติพิจารณาสภาวธรรมแก่กล้าเกินไป แต่ปัญญาอันเห็นแจ้งที่แท้จริงเจริญไม่ทัน มีแต่ปัญญาที่จำได้หมายรู้จากตำราเสียโดยมาก ใจจึงปล่อยวางอารมณ์วิปัสสนาที่เคยมีสติพิจารณาอยู่เสมอนั้นไม่ได้ นิมิตลวงจึงปรากฏขึ้นที่ใจให้เห็นโดยที่เจ้าตัวมิได้ตั้งใจจะรู้เห็น

    นิมิตลวงเหล่านี้เอง ที่เรียกว่า วิปัสสนูปกิเลส ข้ออุปัฏฐานัง ซึ่งมักปรากฏขึ้นกับผู้ที่เจริญวิปัสสนาด้วยตนเอง โดยศึกษาเอาจากตำราหรือจากการได้รับคำแนะจากผู้แนะนำที่ไม่มีพื้นฐานทางสมถปัสสนากรรมฐานดีพอ นี้เป็นสาเหตุข้อที่หนึ่ง

    สาเหตุข้อที่ 2 ในขณะที่เจริญภาวนา ไม่ว่าจะเป็นขณะพิจารณาสภาวธรรมเพื่อให้เกิดปัญญาที่เรียกว่า วิปัสสนากรรมฐานก็ดี หรือในขณะเจริญสมาธิที่เรียกว่า สมถกรรมฐานก็ดี ผู้เจริญภาวนามิได้ตั้งใจไว้ให้ถูกที่ คือ ณ ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 ตรงที่สุดลมหายใจเข้าออก เหนือระดับสะดือสองนิ้วมือ อันเป็นที่ตั้งถาวรของใจ จึงเป็นเหตุให้ความเห็นนิมิตด้วยใจความจำได้หมายรู้ ความคิดและความรู้เล่ห์ คือ ผิดไปจากนิมิตจริง เพราะดวงเห็น ดวงจำ ดวงคิดและดวงรู้มิได้รวมหยุดเป็นจุดเดียวกันอย่างแท้จริง การย่อหรือการขยายความรู้เห็นจึงเบี้ยว มิได้เป็นไปในมิติเดิม จึงทำให้เห็นนิมิตแปลกๆ มีลักษณะที่น่ากลัวต่างๆ

    วิธีแก้ไข พระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำ ผู้ค้นพบวิชชาธรรมกายของพระพุทธเจ้า ได้รู้เคล็ดลับของการเจริญภาวนาให้ได้ผลดีทั้งในส่วนสมถะและวิปัสสนากรรมฐาน โดยมิต้องผ่านวิปัสสนูปกิเลส จึงไม่ปรากฏว่า ผู้เจริญภาวนาที่ถูกต้องตรงตามแนววิชชาธรรมกายได้เห็นนิมิตลวงแปลกๆ โดยมิได้ตั้งใจแต่ประการใดเลย ทั้งนี้เพราะการเจริญภาวนาตามแนวนี้มีลักษณะที่เป็นสมถะและวิปัสสนากรรมฐานคู่กัน สติสัมปชัญญะและปัญญาจึงเจริญขึ้นเสมอกัน และเป็นอุปการะแก่กัน จนธรรม 2 อย่าง คือ สมถะและวิปัสสนากลมกลืนคู่กันได้อย่างสนิท สมตามวัตถุประสงค์ของการปฏิบัติธรรม เพื่อความพ้นทุกข์ไปสู่ความสันติสุข ด้วยปัญญาอันเห็นชอบตามแนวทางพุทธศาสนาอย่างแท้จริง วิปัสสนูปกิเลสดังกล่าว จึงไม่เกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติกรรมฐานที่ถูกต้องตรงตามแนววิชชาธรรมกายนี้แต่ประการใด

    เพื่อความเข้าใจอันแจ่มแจ้ง อาตมาจะยกตัวอย่างให้เห็นอย่างง่ายๆว่า การเจริญภาวนาตามแนวนี้ มีอุบายวิธีให้ใจหยุดใจนิ่งเป็นสมาธิอยู่เสมอด้วยการรวมใจอันประกอบด้วยความเห็น ความจำ ความคิด และความรู้ หยุดเป็นจุดเดียวกัน ณ ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 ผ่านกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรมไปในตัวเสร็จ ซึ่งช่วยให้บังเกิดผลดีหลายประการ คือ ทำให้จิตใจสงบระงับจากนิวรณธรรม อันเป็นผลดีทางด้านสมถกรรมฐาน นี้ประการหนึ่ง ทำให้เกิดอภิญญา คือ ความสามารถพิเศษที่แน่นอน เช่น ทิพพจักษุ ทิพพโสต อันช่วยให้รู้เห็นสภาวธรรมทั้งหยาบและละเอียด ทั้งใกล้และไกล ทั้งภายในและภายนอกได้ชัดแจ้ง กว้างขวาง โดยเจตนาที่จะพิจารณาเห็น มิใช่เห็นโดยการบังเอิญ นี้ประการหนึ่ง และการรู้เห็นก็ไม่เล่ห์ เพราะตั้งใจไว้ถูกที่ สมตามพระพุทธภาษิตที่ว่า สมาธิ ภิกฺขเว ภาเวถ สมาหิโต ยถาภูตํ ปชานาติ แปลความว่า ภิกษุทั้งหลาย เธอจงยังสมาธิให้เกิด ชนผู้มีสมาธิแล้ว ย่อมรู้ตามจริง

    แม้จะพิจารณาเห็นกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม ทั้งภายในและภาวนอกใดๆ ก็ตาม ไม่ว่าจะพิจารณาสิ่งปฏิกูลน่าเกลียดที่เรียกว่า อสุภกรรมฐาน หรือสมณสติ หรือการเห็นนรก เห็นสวรรค์ ฯลฯ ก็ตาม เมื่อจะพิจารณาให้เกิดปัญญารู้แจังในสภาวะจริงของธรรมชาติตามที่เป็นจริงแล้ว ก็ให้รวมจหยุดในหยุด กลางของหยุดในหยุดลงไป ณ ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 นั้นอีกต่อไป ผู้ถึงธรรมกายกจะพิสดารกายไปจนสุดละเอียดอยู่เสมอ ใจก็จะละอารมณ์ที่พิจารณาไปเองโดยอัตโนมัติ วิปัสสนูปกิเลสต่างๆ จึงไม่เกิดขึ้นกับผู้เจริญภาวนาที่ถูกต้องตรงตามแนววิชชาธรรมกายนี้ จิตใจก็มีแต่ความสงบสุขปราศจาก กิเลส อวิชชา ตัณหา อุปาทาน วางเฉยเป็ย อุเบกขาด้วยปัญญาอันเห็นชอบเท่านั้นเอง สมตามพระพุทธภาษิตที่ว่า "นตฺถิ สนฺติปรํ สุขํ" แปลว่า สุขอื่น ยิ่งกว่าความสงบกายวาจาและใจเป็นไม่มี และก็จะไม่มีการเห็นนิมิตที่แปลกๆ หรือน่าเกลียด น่ากลัว โดยที่มิได้ตั้งใจที่จะรู้เห็นแต่ประการใด

    นี้เองคือ เคล็ดลับสำคัญของการเจริญภาวนาตามแนววิชชาธรรมกายที่ให้ผลดีแต่ส่วนเดียว ไม่มีโทษ

    โดยเหตุผลนี้ อาตมาจึงใคร่จะชี้แจงเพิ่มเติมถึงผลดีของการเจริญภาวนาตามแนวนี้อีกว่า ถ้าได้เจริญภาวนาให้ถูกต้องตามแนววิชชาธรรมกายนี้แล้ว มีแต่จะช่วยส่งเสริมสุขภาพจิตให้ดีขึ้น ผู้ที่เคยฟุ้งซ่านก็จะค่อยๆ คลายจากความฟุ้งซ่านลง ตามระดับธรรมที่ปฏิบัติได้ จึงไม่ต้องกลัวว่าจะเสียสติหรือเป็นโรคประสาทแต่อย่างใดทั้งสิ้น ขอแต่ให้ปฏิบัติให้ถูกต้องตรงตามแนวนี้เท่านั้น ถ้าผิดไปจากวิธีนี้ อาตมาไม่รับรอง และนอกจากผลดีที่ได้กล่าวมาแล้ว ยังให้ผลดีในข้ออื่นๆ ทั้งในทางโลกและทางธรรมอีกมากมายนัก ขอให้ท่านหมั่นพิจารณาที่เหตุ สังเกตดูที่ผลให้ดีก็แล้วกัน

    เพราะฉะนั้น ข้อแก้ปัญหาสำหรับผู้ฝึกปฏิบัติเองโดยไม่มีหลักเกณฑ์ที่ถูกต้อง ในเบื้องต้น ให้พยายามทำใจให้หยุด ให้นิ่ง ตรงศูนย์กลางกายฐานที่ 7 ตรงที่สุดลมหายใจเข้าออก เหนือระดับสะดือสองนิ้วมือ อันเป็นฐานที่ตั้งถาวรของใจให้ได้แน่นอนเสียก่อน

    ถ้ายังนึกหาศูนย์กลางกายฐานที่ 7 ไม่พบ ก็ให้จินตนาการให้เห็นเส้นตรงขึ้นสองเส้นตัดกัน เส้นหนึ่งจากหน้าท้องเหนือระดับสะดือสองนิ้วมือ ไปจรดกึ่งกลางหลัง อีกเส้นหนึ่งจากกึ่งกลางสีข้างซ้ายไปกึ่งกลางสีข้างขวา ตรงจุดตัดกันนั้นมีที่หมายเป็นจุดเล็กใสเท่าปลายเข็ม ให้รวมใจอันประกอบด้วยความเห็นนิมิต (ด้วยใจ) ความจำนิมิต ความคิดตรึกนึกเห็นนิมิต และความรู้ให้หยุดเป็นจุดเดียวกันที่นั่น หรือจะกล่าวย่อๆ ก็ว่าให้พยายามนึกให้เห็นเครื่องหมายเป็นดวงแก้วกลมใส หรือพระพุทธรูปขาวใส เกตุดอกบัวตูม ขึ้นที่ศูนย์กลางกายนั้น แล้วก็ให้ใจอยู่ที่กลางดวงใสหรือพระพุทธรูปขาวใสนั้น คือให้เห็นจุดเล็กใสเท่าปลายเข็มตรงกลางนิมิตนั้นแหละ พร้อมด้วยบริกรรมภาวนานั้น คือ นึกในใจว่า "สัมมาอะระหังๆๆ" ตรึกนึกให้เห็นดวงแก้วกลมใสหรือพระพุทธรูปขาวใส ใจอยู่ในกลางนิมิตที่ใสนั้นเรื่อยไป พอใจหยุดนิ่งได้ถูกส่วนเข้า จิตก็จะตกศูนย์ เครื่องหมายที่กำหนดขึ้นก็จะหายไป แล้วจะปรากฏเห็นดวงกลมใสแจ่มบังเกิดขึ้น ขนาดประมาณเท่าฟองไข่แดงของไข่ไก่ อย่างเล็กเท่าดวงดาวในอากาศ อย่างโตเท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ หรือบางรายอาจจะเห็นพระพุทธรูปขาวใสปรากฏขึ้นก็มี คือ ธรรมกาย

    สำหรับบางรายที่เห็นนิมิตเป็นดวงใสสว่าง หรือพระพุทธรูปอยู่นอกตัว เช่น ตามในหน้าบ้าง หรือในที่อื่นใดก็ตาม แปลว่าใจยังไม่หยุดถูกที่ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 จึงให้น้อมเข้ามาอยู่เสีย ณ ที่ศูนย์กลางกายใหม่ โดยเหลือบตากลับขึ้นข้างบนโดยไม่ต้องแหงนหน้าขึ้นไปตาม เพื่อให้ความเห็นนิมิตนั้นกลับไปข้างหลังแล้วก็ให้ความเห็นกลับเข้าข้างใน คือ นิกให้เห็นนิมิตที่ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 นั้นต่อไปอีกใหม่ พร้อมด้วยบริกรรมภาวนาประคองดวงนิมิตนั้นไว้เรื่อย ก็จะเห็นดวงกลมใสแจ่มหรือพระพุทธรูปขาวใสขึ้นที่ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 เอง

    เมื่อเห็นแล้ว ก็หยุดบริกรรมภาวนาเสีย เพียงให้แตะในเบาๆ ลงไปหยุดนิ่งที่กลางดวงกลมใส หรือพระพุทธรูปขาวใสนั้น มีที่หมายเป็นจุดเล็กขาวใสเท่าปลายเข็มอีกต่อไป กลางของกลางๆๆ นิ่ง พอใจหยุดนิ่งได้ถูกส่วนเข้าก็จะเห็นดวงใสดวงใหม่บังเกิดขึ้น ก็ให้ดำเนินไปในแบบเดิม คือ หยุดในหยุด กลางของหยุดในหยุดเรื่อยไป เมื่อเห็นดวงที่ใสละเอียดหนักเข้าก็จะเห็นกายละเอียดๆ ต่อๆ ไป จนถึงธรรมกายเอง
     
  12. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,247
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,109
    ค่าพลัง:
    +70,447
    เห็นนิมิตได้เพียงประเดี๋ยวเดียว นิมิตก็หายไป

    
    เห็นนิมิตได้เพียงประเดี๋ยวเดียว นิมิตก็หายไป

    ------------------------------------------------------

    ตอบ:


    ปัญหาของผู้ที่เห็นนิมิตเป็นดวงใสสว่าง หรือพระพุทธรูปที่ศูนย์กลาง แต่เห็นได้เพียงประเดี๋ยวเดียวก็หายไป หรือออกไปนอกตัว

    1.ปัญหาข้อนี้ มักเกิดขึ้นกับผู้ที่ยัง รวมใจหยุดนิ่งตรงศูนย์กลางกายฐานที่ 7 ไม่สนิท ใจซัดส่ายออกไปข้างนอกตัว จึงเห็นนิมิตเคลื่อนออกไปข้างนอกตัว นี้ประการหนึ่ง

    2.สาเหตุอีกประการหนึ่งก็คือ ผู้ปฏิบัติภาวนาอยากเห็นนิมิตมากเกินไป จึงพยายามบังคับใจจะให้เห็นนิมิตให้ได้ โดยเพ่งนิมิตแรงเกินไป ทำให้สมาธิเคลื่อน นิมิตจึงหายไป หรือเห็นนิมิตเคลื่อนออกนอกตัว
    ความอยากเห็นนิมิตเกินไปหรือเพ่งนิมิตแรงเกินไปนี้ จัดเป็นอุปกิเลสของสมาธิ ทำให้จิตเคลื่อนจากสมาธิ จึงควรพึงสังวรระวังอย่าให้เกิดอารมณ์เหล่านี้ได้ โดยพยายามตรึกนึกให้เห็นนิมิตด้วยใจแต่เพียงเบาๆ และพยายามนึกให้เห็นจุดเล็กใสเท่าปลายเข็ม แล้วก็กลายของกลางจุดเล็กใสนั้นเข้าไปเรื่อย กลางของกลางๆๆ นิ่งเข้าไว้ ถ้าเห็นจุดเล็กใสนั้นสั่นรัวหรือเห็นนิมิตนั้นเคลื่อนที่ไปรอบๆ ให้พึงสังวรว่า สมาธิเคลื่อนเพราะเพ่งนิมิตแรงเกินไป แล้วให้พยายามแตะใจแต่เพียงเบาๆ ที่กลางของกลางต่อไปใหม่ พอเห็นจุดเล็กใสนั้นค่อยๆ นิ่ง หรือดวงใสสว่างนั้นหยุดนิ่ง ก็แปลว่า รวมใจหยุดนิ่งได้ถูกส่วน ก็ให้ประคองใจหยุดในหยุดต่อไปอีก ไม่ช้าใจก็จะหยุดนิ่งได้สนิทเองแล้วจุดเล็กใสแจ่มบังเกิดขึ้นมาใหม่ ใสละเอียดยิ่งกว่าเดิมหรือเห็นกายละเอียดหรือกายธรรมปรากฏขึ้น ก็ให้รวมใจหยุดในหยุดลงไปที่ศูนย์กลางกายดวงใหม่ หรือกายใหม่ที่ปรากฏขึ้นนั้นต่อๆ ไปอีก
     
  13. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,247
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,109
    ค่าพลัง:
    +70,447
    การมองย้อนไปในอดีตชาติเป็นอย่างไร ?

    
    การมองย้อนไปในอดีตชาติเป็นอย่างไร ?

    ------------------------------------------------------

    ตอบ:


    ก็รวมใจของท่านไว้ที่กลางของกลางดวงธรรมของกายมนุษย์หยาบ รวมใจหยุดในหยุดกลางของหยุด เพื่อทำใจของท่านให้เป็นกลาง สังเกตช่องว่างที่กลางจุดเล็กใสนั้น ก็จะเห็นสายกำเนิดธาตุธรรมเดิมนั้น ก็อธิษฐานให้เห็นชีวิตในอดีตของท่านเอง ย้อนหลังไปสัก 10 ปี หยุดนิ่งที่กลางของกลางจนกระทั่งใจของท่านสงบเต็มที่ จุดศูนย์กลางนั้นก็จะขยายตัว ว่างออก ก็จะเห็นอัตตภาพของเองเมื่อ 10 ปีที่แล้ว รวมใจของท่านหยุดนิ่งเข้าไปที่กลางของกลางศูนย์กลางกายนั้น นึกอธิษฐานย้อนเข้าไปเห็นอัตตภาพในอดีต จนกระทั่งเห็นอัตภาพของท่านเอง ถึงขณะที่แรกเกิด ท่านสามารถพิจารณาย้อนเข้าไปอีกจนถึงเมื่อท่านอยู่ในมดลูกของมารดา เข้าไปที่ศูนย์กลางของทารกนั้น นึกให้เห็นอดีตชาติก่อนชาตินี้ เมื่อเห็นแล้วให้สังเกตว่าท่านเป็นใคร อยู่ที่ไหน เป็นชาติๆ ไปในอดีต จนถึงนับชาติไม่ถ้วนได้

    เมื่อใดท่านเห็นอดีตชาติเหล่านี้ ท่านจงพิจารณาขันธ์ 5 ทั้งหมด รวมทั้งสิ่งที่เกี่ยวข้องกับชีวิตเหล่านี้ว่าล้วนตกอยู่ภายใต้สามัญญลักษณะ ได้แก่ความเป็นอนิจจังคือไม่เที่ยง ต้อง เปลี่ยนแปลงตามเหตุปัจจัย ได้แก่ การทำดี (เกิดจากบุญกุศล) หรือการทำชั่ว (เกิดจากกิเลส หรือตัณหา) นี้เป็นเหตุให้บุคคลไปเกิดในโลกที่มีความสุข หรือความทุกข์ตามกรรม ผู้ใดยึดมั่นถือมั่นสิ่งเหล่านี้ ด้วยตัณหาและอุปาทานแล้วประกอบกรรมชั่ว กล่าวคือ พูดชั่ว ทำชั่ว คิดชั่ว ก็จะไปเกิดในโลกที่มีความทุกข์ ในขณะที่ผู้มีชีวิตเป็นบุญกุศล กระทำแต่คุณความดี กรรมดีก็จะส่งผลให้ได้รับความสุขความเจริญในชีวิต กรรมอาจให้ผลเป็นความทุกข์และความสุข แม้ในชาติปัจจุบันและต่อๆ ไปถึงสัมปรายภพคือภพหน้า สุดท้ายท่านก็จะตระหนักว่า แต่ละชาติที่ท่านได้พิจารณาเห็นแล้วนั้น แม้ชีวิตในภพชาติปัจจุบัน แท้จริงล้วนเป็นทุกข์และเป็นอนัตตาทั้งสิ้น และไม่มีอะไรคงที่ให้สามารถยึดถือได้ตลอดไปเลย

    เมื่อพิจารณาไตรลักษณ์คือความเป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตาของทุกสิ่งแล้ว จึงอธิษฐานกลับมาสู่ปัจจุบัน แล้วชำระจิตใจให้บริสุทธิ์ โดยจรดใจนิ่งไว้ที่ศูนย์กลางของกลางกายที่ละเอียดๆ ดับหยาบไปหาละเอียดต่อๆ ไปจนสุดละเอียด ซึ่งขณะนี้ใสสว่างและบริสุทธิ์กว่าเดิม จนกระทั่งเข้าถึงธรรมกายที่ใสบริสุทธิ์ที่สุด นี้จะเป็นผลให้เบื่อหน่ายคลายถอนจากความยึดถือจากขันธ์ 5 ทั้งหมด แล้วท่านจะมีใจเป็นกลาง เป็นอิสระพ้นจากอารมณ์สุข-ทุกข์อย่างชาวโลก เป็นใจที่สงบสันติสุขอย่างมาก

    ธรรมกายที่ละเอียดบริสุทธิ์ที่สุดจะไปปรากฏในนิพพาน เป็นที่ซึ่งธรรมกายที่บรรลุอรหัตตผลแล้วของพระพุทธเจ้าและพระอรหันตขีณาสพ ที่ขันธ์ 5 ดับไปแล้วสถิตอยู่ ท่านจะเห็นธรรมกายที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าประทับนั่งอยู่บนรัตนบัลลังก์ แวดล้อมด้วยธรรมกายที่บรรลุ พระอรหัตตผลแล้วของพระอรหันต์สาวกที่ประทับอยู่บนองค์ฌาน เวียนรอบ ห่างกันชั่วกึ่งองค์ฌาน นับไม่ถ้วน ไม่ใช่แต่เท่านี้ ท่านยังจะเห็นพระพุทธเจ้าในอดีต ทั้งที่เป็นพระสัพพัญญูพุทธเจ้า ที่แวดล้อมด้วยพระอรหันต์สาวก และพระปัจเจกพุทธเจ้าซึ่งประทับนั่งอยู่บนรัตนบัลลังก์ พระองค์เดียวโดดๆ (ไม่มีพระอรหันต์สาวก) อีกนับไม่ถ้วน
     
  14. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,247
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,109
    ค่าพลัง:
    +70,447
    ชนชาติอื่นที่ไม่นับถือพระพุทธศาสนา จะมีนรกสวรรค์อยู่ที่เดียวไหม

    
    ชนชาติอื่นที่ไม่นับถือพระพุทธศาสนา จะมีนรกสวรรค์อยู่ในสถานที่เดียวกันหรือไม่ ?---------------------------------------------------------------

    ตอบ:


    ถามโยมง่ายๆ ว่า ฝรั่ง แขก จีน ไทย อยู่ในโลกเดียวกันหรือเปล่า อยู่ เหมือนกันนะ เพราะเป็นเรื่องของภูมิจิต สัตว์โลกไปที่ไหน ไปอยู่รวมกัน นั่นเป็นเรื่องของภูมิจิต ภูมิจิตในระดับมนุษยธรรมก็มาเกิดอยู่ในโลกนี้


    โลกกลมๆ นี่ เดิน 2 ขา มี 2 แขน หัวตั้งอยู่บนคอเรียก “คน” หรือ “มนุษย์” ถ้ารูปร่างทำนองนี้ละก็อยู่ในโลกนี้ แต่ถ้าภูมิจิตต่ำไปกว่านี้ ก็มีโลกอันหนึ่งอยู่ของเขา รวมกันแบบอยู่ในโลกนี้แหละ แต่เป็นอีกโลกหนึ่ง อยู่ในโลกเดียวกัน เช่น ภูมิจิตในระดับสัตว์ดิรัจฉานก็อาศัยโลกนี้ ทั้งในและบนแผ่นดิน ในน้ำ และในอากาศ เช่น หมู หมา กา ไก่ ช้าง ม้า วัว ควาย หลายประเภทไปจนถึงยุงอยู่ในป่า ไส้เดือนอยู่ในดิน นกบินอยู่ในท้องฟ้า ไปจนถึงปลาวาฬที่อยู่ในน้ำ เชื้อโรคจุลินทรีย์อยู่ในน้ำครำน้ำสกปรก และจุลินทรีย์ที่ล่องลอยอยู่ในอากาศ นี่โลกของเขาเรียกว่า โลกของสัตว์ดิรัจฉาน แต่ว่าภูมิจิตต่ำแตกต่างกันไปนั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง

    ภูมิของเปรต เปรตก็อาศัยโลกนี้เหมือนกัน แต่ว่าเรามองไม่เห็น เปรตนี่มีและมีเยอะด้วย ถ้าถึงธรรมกายแล้วจะได้ดูว่าเปรตเป็นอย่างไร ตามที่เขาว่านั่นแหละ เปรตมีเป็นร้อยๆ ชนิด แต่เปรตที่อยูใกล้มนุษย์ที่คอยขอส่วนบุญชื่อ ปรทัตตูปชีวิกเปรต นั่นนะถ้าเราทำบุญแล้วอุทิศให้แล้วเขาได้รับ เราทำดีแล้วอุทิศส่วนกุศลให้เขารับได้ แต่ไปยื่นให้อย่างนี้กินไม่ได้ คนจีนเข้าใจผิดเอาของไปเซ่น แหม ส้มก็ไม่ปอกซะด้วยนะ เอากลับไปกินเองใหม่ได้ หัวหมูบ้าง อะไรบ้าง ไปตั้งเซ่นไหว้ให้บรรพบุรุษได้กิน ก็กินไม่ได้ ด้วยอำนาจของกรรม จะเอื้อมมือไปหยิบก็ไม่ถึง หรือแม้ว่าจะเอาอาหารดีๆ ไปให้กิน เปรตบางชนิดไม่กิน คือบุญไม่ถึงจะให้กินได้ แล้วกินอะไร ? บาปอกุศลบังคับให้กินน้ำเหลืองตัวเอง ถ้าหาน้ำเหลืองของคนอื่นไม่ได้ก็กินของตัวเอง หรือเที่ยวได้กินน้ำลายเสมหะหรืออุจจาระ เหมือนหมูเหมือนสุนัข สูบกินอย่างนั้น มีหลายอย่าง บางรายกินอะไรก็ไม่ได้เพราะปากมันเล็กนิดเดียว บางรายรูปร่างก็เป็นแต่ชิ้นเนื้อ โดนอะไรหน่อยก็เจ็บแสบ บางทีก็ถูกกาปากเหล็กจิกกิน มีสารพัดละเปรต ด้วยอำนาจของกรรม กินเองไม่ได้ บางทีเห็นว่าเป็นน้ำ กระหายเหลือเกิน วิ่งเข้าไปพอจะกินเข้า บางทีเห็นเป็นน้ำแน่นอนละ พอกระโดดเข้าไปว่าจะอาบจะกิน ก็กลายเป็นหินเป็นดินเป็นทราย แห้งแล้ง คอแห้งผากเลย หิวต่อไปอีกเป็นร้อยปีเป็นพันปี โลกของเปรตก็อาศัยพื้นพิภพนี่ แต่เรามองไม่เห็น อยู่ตามหุบเขาก็มี อยู่ตามวัดวาอารามเที่ยวไปขอส่วนบุญก็มี นี่เปรต สัตว์นรกก็อยู่ด้วยกันอีกแหละ แต่ว่าเป็นโลกของสัตว์นรก มีภูมิใหญ่อยู่ 8 ภูมิ 8 ขุมใหญ่ อยู่ที่ไหน ? โยมต้องเข้าใจว่าในจักรวาลนี้ ศูนย์กลางจักรวาลนี่เป็นของทิพย์ มึภูเขาพระสุเมรุเป็นแกนกลาง ในส่วนเชิงเขาพระสุเมรุเป็นดิน แต่เป็นดินที่เป็นทิพย์ด้วยนะ แล้วก็มีดินหยาบ ดินหยาบก็คือว่า อย่างทวีปนี้เป็นชมพูทวีป มีดินนี่ผืนแผ่นดินอย่างนี้ ทวีปอื่นๆ มีอีก แต่เป็นของทิพย์มีอยู่ ของทิพย์ใหญ่รวมหมดแหละ กามภพ มีตั้งแต่สัตว์โลกประเภทชั่นต่ำคือ สัตว์นรก อสุรกาย สัตว์ดิรัจฉาน ภูมิสูงขึ้นมาเป็นมนุษย์ เทวโลก นี่ภูมิสูงขึ้นไปถึงเทวโลก เทวโลกบางส่วนอย่างชั้นดาวดึงส์ก็อยู่บนพื้นดิน แต่ดินนั้นเป็นทิพย์อยู่บนยอดเขาพระสุเมรุ เทวดาก็เดินบนดิน อย่างพระอินทร์นี่เดินบนดิน แต่เป็นดินทิพย์และเต็มไปด้วยแก้วกายสิทธิ์อันเป็นทิพย์ พระอินทร์และเทวดาบนชั้นดาวดึงส์จึงเหมือนเดินลอยๆ ไปบนดินเพราะมีแก้วกายสิทธิ์รองอยู่ นั่นอยู่บนยอดเขาพระสุเมรุ แล้วข้างล่างเขาพระสุเมรุนี่ ส่วนที่เป็นดินนั้นก็จะเป็นดินเป็นหินที่เป็นทิพย์และที่เป็นของหยาบ อย่างที่เราเห็นๆ อยู่นี่แหละ และใต้ลงไปอีก เป็นที่อยู่ของอสูร ที่เรียกว่า อสุรกาย อสุรกายเป็นยักษ์นะ แล้วก็อีกส่วนหนึ่งที่ตรงกับพื้นดินที่เป็นทิพย์นั่นแหละ ข้างล่างลงไปน่ะเป็น นรก 8 ขุม ขุมสุดท้าย คือ อเวจีมหานรก ขุมนั้นส่วนมากผู้ที่ทำมาตุฆาต ปิตุฆาต ฆ่าพ่อฆ่าแม่ อรหันตฆาต คือฆ่าพระอรหันต์ แล้วก็ทำร้ายพระพุทธเจ้าแม้เพียงทำให้เท้าห้อเลือด หรือยังสงฆ์ให้แตกแยกกัน เป็นต้น เป็นอนันตริยกรรม ประเภทนี้จะอยู่ในขุมนั้นทั้งสิ้น ได้รับผลกรรมนี้ก่อนใครเพื่อน แม้ใครจะเคยได้ทำความดีมาก่อน ทำบุญมามากเพียงใด พอตายก็ลงพรวดไปโน่นแหละ ลงอเวจีมหานรกนี้ก่อน เพราะอนันตริยกรรมนั้นเป็นกรรมหนัก จึงต้องได้รับผลกรรมนั้นก่อน อเวจีมหานรกนี้อยู่ชั้นล่างสุดของกามภพ อยู่ต่ำสุด ท้ายนรกขุมอื่น ส่วนบนภพมนุษย์ขึ้นไปเป็นเทวโลก มีอยู่ 6 ชั้น พ้นจากอเวจีมหานรกนี้ไป เป็นอากาศว่างจนสุดของจักรวาลไปเป็นโลกันตนรก โลกันตนรกอยู่นอกขอบจักรวาลเหมือนกับบริเวณพื้นที่นอกของวงกลม 3 วงที่มาจรดกันพอดี เรียกว่า อยู่นอกขอบจักรวาล 3 จักรวาล ที่ขอบนอกจักรวาลจรดกันพอดีนั่นแหละ โอกาสที่จะได้กลับมาเป็นมนุษย์หรือแต่จะได้กลับมาอยู่ในภพ 3 อีกนั้นยากเต็มที เป็นสถานที่มืดมิด อยู่ด้วยทะเลน้ำกรด พอสัตว์นรกที่ไต่อยู่ตามขอบจักรวาลพลัดตกลงไปในน้ำกรดก็ฟู่กัดกินละลายจนเละ แต่ไม่ตาย เจ็บปวดแสบปวดร้อน แล้วก็พยายามตะเกียกตะกายกลับขึ้นมาใหม่ด้วยอำนาจของกรรม ไต่ขึ้นมาเหมือนกับตัวอะไรก็ไม่รู้ผอมๆ โทรมๆ ตัวสั่นแหง็กๆ เล็บยาวๆ นั้น นั่นกรรมหนัก เป็นมิจฉาทิฏฐิแล้วก็ทำผิดระดับหนักๆ เป็นมิจฉาทิฏฐิอย่างแรงกล้า เช่น พวก “สัสสตทิฏฐิ” ที่เห็นผิดว่าโลกเที่ยง หรือพวก “อุจเฉททิฏฐิ” ที่เห็นผิดว่าโลกสูญ เป็นต้น อยู่นั่นแหละ แทบจะไม่มีโอกาสได้มาผุดมาเกิดในภพ 3 นี้อีกเลย ลืมบอกไปหน่อยเวลาเขาจัดมวย แหมชื่อรายการ “ศึกสะท้านโลกันต์” โอ้โฮ ! นั่นไม่รู้ว่าาแย่ที่สุด !! แต่ยังไม่เคยได้ยินรายการ “ศึกสะท้านอเวจี” นี้ยังไม่ได้ยิน มีแต่สะท้านโลกันต์ นี่เป็นเพราะพวกเขายังไม่เคยไปเห็น แต่ถ้าได้ไปเห็นละก็ไม่ได้มาจัดมวยรายการศึกสะท้านโลกันต์อีกล่ะพ่อเอ๋ย

    เพราะฉะนั้น ที่ถามว่าชนชาติอื่นจะอยู่ในนรกเดียวกันหรือเปล่า ? ก็ตอบว่า ถ้าทำความชั่วหรือบาปอกุศลก็ไปเกิดในนรกเดียวกันนั้นแหละ แต่ว่าไปเกิดอยู่ในชั้นที่เคยทำกรรมหนักเบาแตกต่างกัน จะอยู่ตรงไหน ก็ไม่เลือกว่าจะเป็นชาติไหนศาสนาใด เพราะเป็นของกลาง ภูมิธรรมภูมิจิตของใครสูงหรือต่ำแค่ไหนก็ไปตามกรรมในระดับชั้นนั้นละ อยู่ตรงนั้นละ ไม่ว่าแขกไม่ว่าไทยไม่ว่าใครทั้งนั้น ทางสวรรค์ใครทำดีพ้นระดับมนุษยธรรมถึงเทวธรรมก็ไปสวรรค์ 6 ชั้นนั่นแหละ ไปตามลำดับคุณความดี ถ้าใครมีฌาน ก่อนจะตายจิตไม่เสื่อมจากฌาน แต่ไม่ได้ปฏิบัติวิปัสสนาให้มันแก่กล้า ตายไปก็ไปเกิดเป็นพรหม ชาติไหนก็เป็น แขกก็เป็น แต่ฟอร์มเขาเหมือนๆ กันนะ ฟอร์มเทวดาก็เป็นกายโปร่งแสง มีรัศมี มีเครื่องประดับ เครื่องทรงอลงกรณ์ ฟอร์มสัตว์นรกก็เหมือนคนนั้นแหละแต่รุ่งๆ ริ่งๆ เสื้อผ้าไม่มีนุ่ง เปรตก็เหมือนกันโทงๆ เลยแหละ เทวดานั่นโปร่งสวยงามตามอำนาจของบุญ

    บุญทำอย่างไรถึงจะได้เป็นเทวดา ? เป็นมนุษย์ก่อน มนุษย์นี่เป็นคนมีทานกุศล ศีลกุศล นี่เฉพาะเบื้องต้นนะ บุญกุศลคุณความดีมาตรฐานเบื้องต้น และก็ประพฤติปฏิบัติละเว้นอกุศลกรรมบถ คือ ไม่ประพฤติทุจริตทางกาย เช่น ไม่ลักฉ้อ ไม่กบฏคดโกงใคร ไม่ผิดลูกผิดเมียใคร ไม่ฆ่าใครโดยเจตนาเป็นต้น ละวจีทุจริต คือ ไม่พูดปด ไม่ยุแยกให้แตกสามัคคี ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดคำเพ้อเจ้อเหลวไหลไร้สาระ ละมโนทุจริต คือไม่โลภจัดหรือตัณหาราคะจัด ไม่โกรธพยาบาทอาฆาตจองเวร และไม่หลงถึงขนาดไม่รู้บาปบุญคุณโทษตามที่เป็นจริง หรือเป็นมิจฉาทิฏฐิ ถ้าละอย่างนั้นได้ เป็นผู้มีศีลอย่างน้อยศีล 5 ทำคุณความดี มีทานกุศล ศีลกุศล เป็นต้น อย่างนี้เป็นคุณความดีในระดับมนุษยธรรม ตายไปได้มาเกิดเป็นมนุษย์ นี่ว่าแต่คุณความดีขั้นมาตรฐานเบื้องต้นนะ มนุษย์อื่นที่บำเพ็ญบารมีมีความดีสูงกว่านี้ บุญกุศลก็ติดตามเป็นวิบากกรรมให้ได้รับผลต่อๆ ไป หลังจากการเกิดเรียกว่า “ปวัตติกาล” คือหลังจากการตั้งปฎิสนธิแล้วเกิดมาก็ได้รับผลเป็นความสุขความเจริญดำเนินชีวิตไไปด้วยดีต่อๆ ไป

    เทวดา มีศีล มีธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เป็นผู้มีหิริโอตตัปปะ คือเป็นผู้มีความละอายเกรงกลัวต่อบาปอกุศล มีทั้งศีลทั้งธรรม มีธรรมได้แก่ทานกุศล ภาวนากุศล เป็นต้น นั่นตายไปแล้วมักจะได้ไปเกิดในเทวโลก โยมนี่ถือศีล 8 แม้ถือเพียงครึ่งวัน ถ้าเกิดตายไปเดี๋ยวนี้ ตั้งใจรักษาศีลให้บริสุทธิ์อยู่ เพียงครึ่งวันเคยมีตัวอย่างมาแล้ว มีเรื่องอยู่ในคัมภีร์ รักษาศีล 8 เพียงครึ่งวัน ตายไปคืนนั้นได้ไปเกิดเป็นเทวดา นี่แหละถือคุณความดีเพียงได้ถือศีล 8 เพราะฉะนั้นไม่ต้องกล่าวถึงอานิสงส์ของการเจริญภาวนาให้ใจสงบจากกิเลสนิวรณ์ แล้วก็พิจารณาสภาวธรรมให้เกิดปัญญาเป็นวิปัสสนาปัญญา ซึ่งมีอานิสงส์สูงขึ้นไปอีก ว่าจะได้รับผลานิสงส์คือผลจากบุญกุศลดังกล่าวมากเพียงไหน

    บุญกุศลอย่างนี้ถ้าได้มาเกิดเป็นมนุษย์ก็เป็นมนุษย์ชั้นสูง ถ้าไปเกิดในเทวโลก โน่นแหละก็อยู่ในเทวโลกชั้นสูง อาจถึงชั้นดุสิตเทวโลก ซึ่งเป็นชั้นของผู้บำเพ็ญบารมี ไม่ว่าใครทำความดีเป็นบุญกุศลอย่างนี้ ก็เป็นอย่างนี้เหมือนกันหมดไม่ว่า เจ๊ก จีน แขก ไทย ฝรั่งมังค่า ได้รับผลานิสงส์เหมือนกันหมด

    ถ้าใครมีฌานโดยการเจริญสมถภาวนาอย่างเดียว แต่ไม่ได้กระทำวิปัสสนาให้มาก ตายไป จิตยังไม่เสื่อมจากฌานชั้นไหน ก็ไปเกิดเป็นรูปพรหมอยู่ชั้นนั้น แต่ว่าถ้าเป็นพระอริยเจ้าระดับพระอนาคามีบุคคลตั้งแต่ยังเป็นมนุษย์ ก่อนตายยังไม่เสื่อมจากปัญจมฌานคือฌานที่ 5 ตายแล้วไปเกิดแห่งเดียว ในโลกที่เป็นพรหมชั้นสูงสุด 5 ชั้น ชื่อว่า รูปพรหมชั้น “สุทธาวาส” และก็ปรินิพพานในชั้นนั้น คือตายแล้วก็เข้านิพพานเลย

    ใครเจริญอรูปฌาน ก่อนตายไม่เสื่อมจากอรูปฌานชั้นไหนก็ไปเกิดเป็น อรูปพรหม ในอรูปโลก เหมือนกันหมดไม่ว่าแขก ไม่ว่าไทย จีน ฝรั่ง

    เพราะฉะนั้นให้เข้าใจไว้ว่า โลกเป็นที่สถิตอยู่ของผู้ที่ภูมิจิตโดยเฉลี่ยระดับเดียวกัน แต่ว่าอาจจะแบ่งชั้นกันบ้างตามระดับภูมิจิตที่เป็นบุญเป็นกุศลหรือเป็นบาปอกุศลต่างๆ กันไปตามระดับภูมิจิต
     
  15. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,247
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,109
    ค่าพลัง:
    +70,447
    คนที่ตายไปแล้ว วิญญาณเข้าสู่ร่างใหม่เป็นวิญญาณเดิมหรือไม่

    
    คนที่ตายไปแล้ว วิญญาณเข้าสู่ร่างใหม่ เป็นวิญญาณเดิมหรือไม่ ?

    ----------------------------------------------------

    ตอบ:


    อย่านึกว่าเป็นร่างเก่าร่างใหม่ ดวงวิญญาณจะเข้าร่าง อย่างนั้นไม่ได้ เมื่อมีวิญญาณก็ต้องมีกายด้วย แต่กายเป็นกายทิพย์ มองไม่เห็น เป็นที่ประชุมผลกรรมทั้งหมดที่ทำไว้ จะไปผลิดอกออกผลมาตั้งปฏิสนธิวิญญาณนั้นเป็นเพียง


    “กลลรูป” ไม่ใช่ไปเข้าสู่ร่าง หรือผู้ถามอาจหมายถึงมาเข้าสู่บิดามารดา เรียกว่าเข้าสู่ร่างก็แล้วแต่นะ ความหมายนี้ แต่อาตมาจะพูดว่า ที่มาตั้งปฏิสนธิวิญญาณนั้นเป็นธาตุละเอียด ขนาดเล็กเท่าหยาดน้ำมันงาที่ติดอยู่ที่ปลายขนจามรี ซึ่งสมมติว่าเอาปลายขนจามรีจุ่มลงในน้ำมัน ให้คนที่แข็งแรงสลัด 7 ครั้ง ส่วนที่เหลือนิดหนึ่ง นั้นคือ ขนาดของกลลรูปที่มาตั้งปฏิสนธิวิญญาณ แต่ในกลางนั้นมีกายทิพย์อยู่ ขนาดใหญ่โต และกลลรูปนั้นนั่นแหละประกอบด้วยธาตุละเอียดของขันธ์ 5 อายตนะ 12 ธาตุ 18 ฯลฯ เฉพาะรูปขันธ์ขยายส่วนหยาบออกมาเป็น “ดวงกาย” ประกอบด้วยธาตุละเอียดของมหาภูตรูป 4 คือ ธาตุน้ำ ธาตุดิน ธาตุไฟ และธาตุ ลม (มีอากาศธาตุและวิญญาณธาตุอยู่ตรงกลาง) และดวงกายขยายส่วนหยาบเจริญเติบโต ออกมาเป็น “เปสิ” คือก้อนเนื้อ เป็นก้อนเนื้อก้อนเล็กๆ แล้วก็แตกออกเป็นปัญจสาขา คือเป็นห้าปุ่ม เพื่อจะเป็นหัว เป็นแขน เป็นขา แล้วค่อยๆ เจริญเติบโตออกมาเป็นกาย

    ทีนี้ ที่ว่าวิญญาณธาตุนั้นเป็นวิญญาณดวงเดิมหรือไม่นั้น ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายหรือเรียกย่อๆ ว่า “ดวงกาย” อันมีวิญญาณธาตุตั้งอยู่ในท่ามกลางนั้นเกิดดับเกิดดับตลอดเวลา แต่ถ่ายทอดกรรมเดิมไปเป็นดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายใหม่ไปเรื่อยๆ เพราะฉะนั้นวิญญาณธาตุดวงเดิมจึงดับไป และเป็นวิญญาณธาตุดวงใหม่เกิดขึ้นด้วยอำนาจของอวิชชาและกรรมปรุงแต่งขึ้น มันเกิดดับแต่มันถ่ายทอดกรรมไปเรื่อยๆ เขาเรียกว่า การสืบต่อ (สันตติ)


    [​IMG]


     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 16 กันยายน 2014
  16. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,247
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,109
    ค่าพลัง:
    +70,447
    [​IMG]




    หลักการแก้ไขนิวรณ์ 5 ในชีวิตประจำวัน

    นิวรณ์เครื่องกั้นความดี

    ทั้งหมดนี้มี ห้าประการ



    หนึ่ง เพลิดเพลินในกาม

    แก้ด้วยการ เห็นความงามเสื่อมไป



    สอง ความโกรธ ตัวอันตราย

    เราต้องคลาย ด้วยจิตเมตตา



    สาม หดหู่ ท้อถอย

    มีมาบ่อยบ่อย ต้องคอยพากเพียร



    สี่.. รำคาญ ฟุ้งซ่าน วนเวียน

    ต้องหยุดหมุนเวียน มานิ่งภายใน



    ห้า ลังเลสงสัย

    ต้อง ทำในใจ ช่วยแก้ปัญหา



    นิวรณ์กิเลสบังตา



    ต้องกลับมา "รู้สึกภายใน"


    ----------------------------------------------


     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 17 กันยายน 2014
  17. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,247
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,109
    ค่าพลัง:
    +70,447
    ถ้าปฏิบัติถึงสุกขวิปัสสโก จะมีโอกาสถึงธรรมกายหรือไม่ ?

    
    ถ้าปฏิบัติถึงสุกขวิปัสสโก จะมีโอกาสถึงธรรมกายหรือไม่ ?

    ---------------------------------------------------------

    ตอบ:


    ขึ้นชื่อว่าพระอรหันต์เป็นธรรมกายทั้งหมดนะครับ ขึ้นชื่อว่ามรรค ผล นิพพาน ผู้บรรลุ มรรค ผล นิพพาน เป็นธรรมกายทั้งหมดครับ แต่เป็นธรรมกายมรรค ธรรมกายผล เพราะพระนิพพาน หรือพระอรหัต อรหันต์ท่านแสดงตนว่าเป็นธรรมกายอยู่ในเอกสารที่แจก อย่างน้อยเปิดดูเล่มสีส้ม ปกหลัง ดูสรภังคเถรคาถาว่า

    “พระพุทธเจ้าทั้ง 6 พระองค์ มีพระวิปัสสี พระสิขี พระเวสสภู พระกกุสันโธ พระโกนาคมนะ พระกัสสปะ เสด็จไปแล้วโดยทางใดแล พระพุทธเจ้าพระนามว่าโคดม ก็เสด็จไปโดยทางนั้น ทรงหยั่งถึงความสิ้นสิเลสเสด็จอุบัติแท้ โดยธรรมกาย”

    ท่านสรภังคเถระท่านกล่าวอย่างนั้น และท่านก็ว่าท่านก็บรรลุธรรมเช่นนั้นเหมือนกัน เพราะฉะนั้นขึ้นชื่อว่า มรรค ผล นิพพาน เป็นธรรมกายทั้งสิ้น แต่ว่าบุคคลในปัจจุบันมองข้าม คำว่าธรรมกายไป แต่ที่กำลังจะเข้าถึงก็มี แต่ก็ไม่ชัดเจนว่า

    ธรรมกายสัมผัสได้หรือเปล่า? ธรรมกายสัมผัสได้ด้วยอายตนะที่ละเอียดเสมอกัน ทำไมจึงสัมผัสได้พระบาลีแสดงไว้แล้ว “อตฺถิ ภิกฺขเว ตทายตนํ..” คือ บอกไว้เลยว่าอายตนะนิพพาน มีอยู่ เป็นที่สถิตของพระนิพพาน เมื่อขึ้นชื่อว่าอายตนะ แปลว่า สื่อถึงกันได้ 100% แต่ต้อง อายตนะที่ละเอียดเสมอกัน

    ผู้ที่ถึงธรรมกายแล้ว ที่จิตละเอียดนะครับ สัมผัสพระพุทธเจ้าได้ทุกคน และรู้ด้วยว่า พระพุทธเจ้ามีพุทธลักษณะอย่างไร สัมผัสเย็น ร้อน อ่อน แข็งอย่างไร ละเอียดปราณีตหรือ หยาบอย่างไร แต่ว่าเราจะไม่ถามพระ แต่กับฆราวาสเราถามเขาได้ แต่ถึงอย่างไรเราห้าม มี กฎเกณฑ์ห้ามอยู่ว่าพระภิกษุอวดอุตตริมนุษยธรรมอันมีในตนกับอนุปสัมปันต้องปาจิตตีย์ ถ้าไม่มีอยู่แล้วอวดต้องปาราชิก โดยไม่ต้องอาบัติ เพราะฉะนั้นการพูดเรื่องอุตตริมนุษยธรรมมี ประตูออกทางเดียว คือพูดตามครูบาสั่งสอน และพูดเพื่อเป็นวิทยาทาน แต่ถ้าโอ้อวดแล้วละก็ เป็นอันว่าเดินใกล้ขอบนรกเข้าไปทุกทีๆ



    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • ม2.PNG
      ม2.PNG
      ขนาดไฟล์:
      838.2 KB
      เปิดดู:
      914
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 18 กันยายน 2014
  18. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,247
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,109
    ค่าพลัง:
    +70,447
    ผู้ถึงธรรมกาย จัดว่าเป็นผู้ปฏิบัติธรรมได้ถึงที่สุดแล้วหรือ ?

    
    ผู้ปฏิบัติภาวนาที่ได้ถึงธรรมกาย แล้วจัดว่าเป็นผู้ปฏิบัติธรรม ได้ถึงที่สุด (บรรลุมรรค ผล นิพพาน) แล้วหรือ ?

    ----------------------------------------------------------

    ตอบ:


    ผู้ปฏิบัติธรรมที่ได้ถึงธรรมกายแล้ว ตราบใดที่ยังไม่สามารถละสังโยชน์ (กิเลสเครื่องร้อยรัดให้ติดอยู่กับโลก) เบื้องต่ำอย่างน้อย 3 ประการ (คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส) ได้โดยเด็ดขาด ตราบนั้น ก็ยังมิได้บรรลุมรรคผล นิพพาน เป็นพระอริยบุคคล จึงยังมิใช่ผู้ปฏิบัติธรรมที่ได้ (บรรลุ) ถึงที่สุดแล้ว

    พระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ผู้สอนภาวนาตามแนววิชชาธรรมกายของพระพุทธเจ้า ได้กล่าวถึงผู้ปฏิบัติธรรมที่ได้ถึงธรรมกาย แต่ยังไม่สามารถละสังโยชน์เบื้องต่ำอย่างน้อย 3 ประการได้ดังกล่าวแล้วว่า ยังจัดเป็นแต่เพียงโคตรภูบุคคล
    ซึ่งท่านอุปมาไว้ว่า
    เสมือนหนึ่งว่า ผู้ปฏิบัติธรรมนั้นได้ก้าวขาข้างหนึ่งขึ้นไปอยู่บนพระนิพพาน ส่วนขาอีกข้างหนึ่งยังยืนอยู่ในภพ 3 กล่าวคือ หากผู้ปฏิบัติธรรมที่ถึงธรรมกายแล้วนั้นก้าวหน้าต่อไป คือปฏิบัติภาวนาต่อไปอีกจนสามารถละสัญโญชน์เบื้องต่ำอย่างน้อย 3 ประการนั้นได้โดยเด็ดขาด ก็ได้บรรลุมรรค ผล นิพพาน เป็นพระอริยบุคคลตามภูมิธรรมที่ปฏิบัติได้ แต่ถ้าผู้ที่เคยปฏิบัติได้ถึงธรรมกายแล้ว ได้ประพฤติปฏิบัติตนในลักษณะของการก้าวถอยหลังกลับคืนมาสู่โลก (ภพ 3) ด้วยอำนาจของกิเลส อวิชชา ตัณหา อุปาทาน เป็นเหตุนำ เหตุหนุน จนธรรมสัญญาขาดจากใจและธรรมกายดับลงเมื่อใด บุคคลผู้นั้นก็กลับเป็นปุถุชนธรรมดาที่หนาไปด้วยกิเลส และมีสิทธิถึงทุคคติได้เมื่อนั้น

    ผู้ปฏิบัติธรรมจนได้ถึงธรรมกาย และยังทรงอยู่เสมอนั้น ย่อมได้ชื่อว่าเป็นผู้ได้บวชภายใน
    ไม่ว่าจะเป็นหญิงหรือชาย คือแปลว่า ใจนั้นบวชอยู่ และถ้าหากได้บรรพชาอุปสมบทอีกด้วย (ในกรณีที่เป็นชาย) ก็ได้ชื่อว่า เป็นผู้บวชทั้งภายในและภายนอก
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 18 กันยายน 2014
  19. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,247
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,109
    ค่าพลัง:
    +70,447
    ดวงธรรม และธรรมกาย ทั้งหลายนี้ เป็นนามธรรมหรือเป็นรูปธรรม ?

    ดวงธรรม และธรรมกาย ทั้งหลายนี้ เป็นนามธรรมหรือเป็นรูปธรรม ?


    เมื่อสมัยเกือบ 20 ปีมาแล้วก่อนท่านกับผมลาออกนิดหน่อย ท่านยังไม่ได้บวช ผมเคยถามปัญหาธรรมท่านอย่างหนึ่ง พอดีมีคนอื่นมาขัดจังหวะ ท่านเลยยังไม่ได้ตอบผม ปัจจุบันนี้อายุผมเกือบจะ 70 แล้ว ก็ยังไม่ได้คำตอบ ผมจึงขอเรียนถามท่านเสียที่นี่อีกครั้งนะครับ ผมถามอย่างนี้ครับ ดวงธรรม และธรรมกายทั้งหลายนี้ เป็นนามธรรม หรือรูปธรรมครับ ผมเรียนถามเท่านี้ละครับ ผมตีไม่แตกซะที
    ---------------------------------------------------------

    ตอบ:


    เรื่องที่ถามไป ขอเจริญพรตอบสั้นๆ ไว้ก่อนว่า เฉพาะเรื่อง “ดวงธรรม” ที่ทำให้เป็นกายโลกิยะ (มนุษย์ ทิพย์ พรหม อรูปพรหม) ส่วนที่รับรู้ เป็นนามธรรม ส่วนที่ถูกรับรู้เป็นรูปธรรม กล่าวคือ ส่วนที่ขยายส่วนหยาบจากธาตุละเอียดของนามขันธ์ 4 คือ เห็น-จำ-คิด-รู้ นั้นก็คือ “ใจ” ซึ่งเป็นนามธรรมนี้ตั้งอยู่ในท่ามกลางดวงกายซึ่งขยายส่วนหยาบจากธาตุละเอียดของรูปขันธ์ ซึ่งเห็นเป็นดวงใสอยู่ชั้นนอก และมีธาตุละเอียดของมหาภูตรูป 4 คือ ธาตุน้ำ-ดิน-ไฟ-ลม และอากาศธาตุ ตั้งอยู่ภายในดวงกายนั้นแหละ ส่วนนี้เป็นรูปธรรม และยังมีเจตสิกธรรมที่เป็นบุญกุศล, บาปอกุศลหรือกลางๆ ที่เกิดขึ้นพร้อมกับจิตที่เป็นกุศล/อกุศล/กลางๆ อีกด้วย ธรรมทั้งหลายเหล่านี้เป็น “สังขารธรรม” ทั้งสิ้น จึงเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา หรืออีกนัยหนึ่ง เป็นสังขตธรรมสังขตลักษณะคือความเกิดปรากฏ 1 ความเสื่อมสลายปรากฏ 1 เมื่อตั้งอยู่ความแปรปรวนปรากฏ 1 (อุปฺปาโท ปญฺญายติ วโย ปญฺญายติ ฐิตสฺส อญฺญถตฺตํ ปญฺญายติ)

    ส่วน “ธรรมกาย” ที่บรรลุมรรคผลนิพพาน เป็นธรรมธาตุที่บริสุทธิ์ (วิราคธาตุ) ล้วน ๆ ของพระอริยเจ้า-พระอรหันตเจ้าที่ยังมีชีวิต คือยังครองเบญจขันธ์อยู่ชื่อว่า “สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ” ที่เบญจขันธ์แตกทำลายแล้วชื่อว่า “อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ” เฉพาะพระนิพพานธาตุของพระอรหันต์เป็น “วิสังขารธรรม” ที่ไม่ตกอยู่ในอาณัติแห่งพระไตรลักษณ์ มีสภาวะที่เป็นนิจจัง ปรมัง สุขังและธุวัง (ธุวํ-ยั่งยืน หรือ สสฺสตํ มั่นคง หรือ ตาทิ-คงที่) เป็นอมตํ ปทํ เป็นอสังขตธรรมที่มีอสังขตลักษณะคือไม่ปรากฏความเกิด 1 ไม่ปรากฏความเสื่อมสลาย 1 (และ) เมื่อตั้งอยู่ไม่ปรากฏความแปรปรวน 1 (น อุปฺปาโท ปญฺญายติ น วโย ปญฺญายติ น ฐิตสฺส อญฺยถตฺตํ ปญฺญายติ) นี้แหละที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกับพระปัญจวัคคีย์ผู้บรรลุพระโสดาบันบุคคลแล้ว ด้วยอนัตตลักขณสูตร มีความตอนหนึ่งว่า

    “รูปํ ภิกฺขเว อนตฺตา รูปญฺจ หิทํ ภิกฺขเว อตฺตา อภวิสฺส. นยิทํ รูปํ อาพาธาย สํวตฺเตยฺย. ฯเปฯ ยสฺมา จ โข ภิกฺขเว รูปํ อนตฺตา. ตสฺมา รูปํ อาพาธาย สวตฺตติ.”

    “ภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นอนัตตา ภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้ารูปนี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว รูปนี้ก็ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ.... ภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะรูป[นี้]แลเป็นอนัตตา ฉะนั้น รูป[นี้]จึงเป็นไปเพื่ออาพาธ”
     
  20. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,247
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,109
    ค่าพลัง:
    +70,447
    หลวงพ่อกล่าวว่า “รีบออกจากกาม เดินตามขันธ์สามเรื่อยไป” หมายถึงอะไร ?

    
    จากหนังสือสมถวิปัสสนากัมมัฏฐานเบื้องต้น มีข้อความตอนหนึ่งที่หลวงพ่อวัดปากน้ำท่านบอกไว้ว่า “รีบออกจากกาม เดินตาม ขันธ์สามเรื่อยไป เสร็จกิจสิบหก ไม่ตกกันดาร เรียกว่า “นิพพาน” ก็ได้ อยากทราบว่าหมายถึงอะไร? มีอะไรบ้าง?
    ---------------------------------------------------------

    ตอบ:


    ขันธ์ 3 ก็คือไตรสิกขา ได้แก่ ศีลสิกขา จิตสิกขา และ ปัญญาสิกขา ก็คือ การศึกษาอบรมตนโดยทางศีล สมาธิ และปัญญา นี่เองเป็นขันธ์สาม ถ้ากระจายออกไปก็เป็นขันธ์สี่ ขันธ์ห้า คือ ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ซึ่งธรรมปฏิบัติจะเจริญไปในแนว นั้น แต่หลวงพ่อฯ ท่านพูดในส่วนที่เป็นหลักธรรมปฏิบัติเบื้องต้นเอาไว้ “ขันธ์สาม” ก็คือ สิกขาสาม หรือไตรสิกขา

    ทั้งนี้ก็โดยเหตุที่ทุกคนพึงเห็นโทษของกาม แล้วพึงดำริออกจากกาม ด้วยการปฏิบัติศีลสิกขา จิตตสิกขา และปัญญาสิกขา ให้ถึงอธิศีลสิกขา คือการศึกษาอบรมในศีลอันยิ่ง อธิจิตตสิกขาคือการศึกษาอบรมจิตอันยิ่ง อธิปัญญาสิกขาคือการศึกษาปัญญาอันยิ่ง

    ศีล สมาธิ ปัญญา นี้ ก็มีนัยอยู่ในอริยมรรคมีองค์ 8 คือสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ นี่สงเคราะห์เข้าในจิตตสิกขา และ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ นี่สงเคราะห์เข้าในปัญญาสิกขา หรืออีกนัย หนึ่งก็คือสมถวิปัสสนากัมมัฏฐาน โดยมีศีลเป็นบาท นั่นเอง

    กิจ 16 ที่หลวงพ่อฯ ท่านว่า “เสร็จกิจสิบหก ไม่ตกกันดาร เรียกว่า “นิพพาน” ก็ได้ นี้ท่านหมายเอา เมื่อพระโยคาวจรปฏิบัติถึงธรรมกายแล้ว เจริญฌานสมาบัติให้ผ่องใสดีแล้ว ก็พิจารณาอริยสัจ 4 ในธาตุธรรมเห็น จำ คิด รู้ ของกายมนุษย์และกายมนุษย์ละเอียด ให้เห็นตามที่เป็นจริงว่า เป็นทุกข์อย่างไร มีเหตุแห่งทุกข์คือสมุทัยอย่างไร แล้วก็จะพิจารณาเห็นถึงนิโรธ คือสภาวะที่ทุกข์ดับเพราะเหตุดับ มีได้ เป็นได้อย่างไร และมรรค คือหนทางปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์อันถาวร เป็นอย่างไร

    แต่ว่าการพิจารณานี้ หมายถึงว่าเมื่อเราเข้าใจหลักพิจารณาสติปัฏฐาน 4 ทั้งกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม ของกายมนุษย์ แล้วในข้อสุดท้ายก็ “ธรรมในธรรม” นั่นแหละ มีการพิจารณาอริยสัจ 4 ในกายมนุษย์ ซึ่งอาศัย “ญาณ” หรือ ตา ของธรรมกายโคตรภูที่สุดละเอียด คือธรรมกายที่เราเข้าถึงสุดละเอียดแล้ว แต่ยังไม่สามารถกำจัดสังโยชน์กิเลสเครื่องร้อยรัดให้ติดอยู่กับโลกได้โดยเด็ดขาดอย่างน้อย 3 ประการ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาสได้ นั่นแหละ ที่ยังจัดเป็นโคตรภูบุคคล มีโคตรภูญาณ หรือ โคตรภูจิต ของธรรมกายโคตรภูหยาบ ถึงโคตรภูละเอียดนั้นเอง เมื่อพระโยคาวจรอาศัยธรรมกายที่สุดละเอียดทำนิโรธ (ไม่ใช่นิโรธสมาบัติ) ดับสมุทัย คือปหานอกุศลจิตของกายในภพ 3 โดยการพิสดารธรรมกายไปสุดละเอียด ผ่านศูนย์กลางกำเนิดธาตุธรรมเดิม อันเป็นที่ตั้งกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม อันเป็นที่ตั้งของธาตุธรรม และเห็น จำ คิด รู้ คือ “ใจ” อันเป็นที่ตั้ง ที่เอิบ อาบ ซึม ซาบ ปน เป็น ของกิเลส อวิชชา ตัณหา อุปาทาน เหตุแห่งทุกข์ทั้งหลายนั้นเอง ก็พิสดารธรรมกายผ่านธาตุธรรมเห็น จำ คิด รู้ ของทุกกายสุดกายหยาบกายละเอียด เป็นการปหานอกุศลจิตของ กายในภพ 3 และกำจัดหรือชำระกิเลส อวิชชา ตัณหา อุปาทาน ไป ในตัวเสร็จ เป็นแต่ธรรมกายอรหัตในอรหัตที่ละเอียดๆ จนสุดละเอียด ผ่องใส บริสุทธิ์ หลุดพ้นจากกิเลสแม้เพียงชั่วขณะที่เจริญภาวนาอยู่ เป็นวิกขัมภนวิมุตติ นี้เป็น “นิโรธ” ในความหมายของการดับสมุทัย คือ ปหานอกุศลจิตของกายในภพ 3 (ที่เกิดมีอยู่พร้อมกับเจตสิกธรรม ฝ่ายบาปอกุศล) จนเป็นแต่จิตใจ เห็น จำ คิด รู้ ผ่องใส บริสุทธิ์

    เมื่อใจของธรรมกายที่สุดละเอียด ละอุปาทานในเบญจขันธ์ ของกายในภพ 3 และปล่อยความยินดีในฌานสมาบัติ ปล่อยขาดหมดพร้อมกัน ธรรมกายที่หยาบจะตกศูนย์ ธรรมกายที่สุดละเอียดจะปรากฏในอายตนะนิพพาน ยึดหน่วงพระนิพพานเป็นอารมณ์ เรียกว่า ตกกระแสพระนิพพาน ด้วยโคตรภูจิต หรือโคตรภูญาณก่อน และในขณะเดียวกัน เมื่อมรรคจิต มรรคปัญญา รวมเรียกว่า “มรรคญาณ” เกิดและเจริญ กำลังของสมถภาวนาและวิปัสสนาปัญญามีเพียงพอเสมอกัน สมถภาวนาต้องเจริญถึงตั้งแต่ปฐมฌานขึ้นไป

    ส่วนวิปัสสนาภาวนานั้น พระโยคาวจรได้ผ่าน ได้มีประสบการณ์ในการเจริญทั้งสมถะและวิปัสสนาภาวนา พิจารณาสภาวธรรม จนถึงได้พิจารณาอริยสัจอยู่แล้วนั้น ขณะเมื่อทั้งสมถะและวิปัสสนา มีกำลังแก่กล้าเสมอกันนั้นเอง ธรรมกายโคตรภูที่สุดละเอียดจะตกศูนย์ ธรรมกายพระโสดาปัตติมรรค ก็จะปรากฏขึ้นปหานสังโยชน์กิเลสเครื่องร้อยรัดให้ติดอยู่กับโลกอย่างน้อย 3 ประการ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาสได้ แล้วก็จะตกศูนย์ปรากฏเป็นธรรมกายพระโสดาปัตติผล ลอยเด่นขึ้นมาและตั้งอยู่ใสสว่างโพลง

    ด้วยญาณของพระธรรมกายที่บรรลุมรรคผลแล้วอย่างนี้ จึงพิจารณากิเลสที่ละได้แล้ว กิเลสที่ยังเหลือ พิจารณามรรค พิจารณาผล และพิจารณานิพพาน นั้นแหละเรียกว่า “พิจารณาปัจจเวกขณ์” ในช่วงของการบรรลุมรรคผลในแต่ละระดับภูมิธรรมนั้นเอง ที่กล่าวเป็นตัวอย่างแรกข้างต้นนี้ กล่าวกันโดยเฉพาะกิจ 4 ประการ คือ การมีสติพิจารณาเห็นกายในกาย เห็นเวทนาในเวทนา เห็นจิตในจิต และธรรมในธรรม ของกายมนุษย์และกายมนุษย์ละเอียด และในส่วนธรรมในธรรมนั้น ก็คือพิจารณาอริยสัจ 4 ด้วยตาหรือญาณของธรรมกายโคตรภู แล้วตกศูนย์ เมื่อมรรคจิตเกิดและเจริญขึ้น ดังกรณีมรรคจิตของธรรมกายพระโสดาปัตติมรรค ปหานสังโยชน์กิเลสเครื่องร้อยรัดให้ติดอยู่กับโลกอย่างน้อย 3 ประการดังกล่าวแล้ว ก็จะตกศูนย์ ธรรมกายโสดาปัตติผลก็จะปรากฏใสสว่างขึ้นเข้าผลสมาบัติ และพิจารณาปัจจเวกขณ์ ดังกล่าวนี้ ว่าด้วยช่วงเดียว คือพิจารณากายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พิจารณาอริยสัจ 4 ในกายมนุษย์และกายมนุษย์ละเอียด นี้เป็นกิจ 4

    ต่อไปก็เป็นพิจารณาสติปัฏฐาน 4 โดยเฉพาะอย่างยิ่งอริยสัจ 4 ในกายทิพย์ โดยตาหรือญาณของธรรมกายโสดาปัตติผลพิจารณาอริยสัจ 4 ในกายทิพย์และทิพย์ละเอียด นี่ก็เป็นกิจอีก 4 แบบเดียวกัน นี่กิจ 4 สอง-สี่ เป็น 8 แล้ว

    เมื่อญาณหรือตาของธรรมกายพระสกิทาคามิผลนั้น พิจารณาอริยสัจ 4 ในกายรูปพรหมหยาบ-รูปพรหมละเอียด อีกต่อไปแบบเดียวกัน ธรรมกายพระสกิทาคามิผลก็จะตกศูนย์ ธรรมกายพระอนาคามิมรรคจะปรากฏขึ้นปหานสังโยชน์เบื้องต่ำอีก 2 คือ ปฏิฆะและกามราคะ รวมเป็นละสังโยชน์เบื้องต่ำ 5 ได้แล้ว ก็จะตกศูนย์ ธรรมกายพระอนาคามิผลก็จะปรากฏขึ้นใสสว่าง เข้าผลสมาบัติไปแล้วพิจารณาปัจจเวกขณ์แบบเดียวกัน นี่เป็นเสร็จกิจอีก 4 เป็นกิจ 12 แล้ว

    เมื่อใจของธรรมกายพระอนาคามิผลพิจารณาอริยสัจ 4 ในกายของอรูปพรหมหยาบ-อรูปพรหมละเอียด ต่อไปอีกแบบเดียวกัน เห็นแจ้งในอริยสัจ 4 อันเป็นไปในญาณ 3 คือ สัจจญาณ กิจจญาณ และ กตญาณ มีอาการ 12 แล้วก็จะตกศูนย์ ธรรมกายพระอรหัตตมรรคก็จะปรากฏขึ้นปหานสังโยชน์เบื้องสูงอีก 5 คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ และอวิชชา ได้หมดสิ้นโดยเด็ดขาดเป็นสมุจเฉทปหาน รวมเป็นปหานหรือละสังโยชน์ 10 (เบื้องต่ำ 5 และเบื้องสูง 5) แล้ว ธรรมกายพระอรหัตตมรรคจะตกศูนย์ ธรรมกายพระอรหัตตผลก็จะปรากฏขึ้นใสสว่างเข้าผลสมาบัติไป แล้วพิจารณาปัจจเวกขณ์เพียง 4 คือพิจารณาเฉพาะกิเลสที่ละได้หมดไปแล้ว (ทั้งหมด) คือสังโยชน์ 10 (ทั้งเบื้องต่ำเบื้องสูง) พิจารณามรรค พิจารณาผล พิจารณาพระนิพพาน เห็นแจ้งทั้งสภาวะนิพพาน ธรรมกายที่บรรลุพระอรหัตตผลแล้ว ผู้ทรงสภาวะนิพพาน และอายตนะนิพพาน

    “ธรรมกาย” ที่ตรัสรู้อริยสัจทั้ง 4 แล้วบรรลุมรรคผลนิพพาน นั้นแหละ เป็นผู้ทรงสภาวะนิพพาน เป็นธาตุล้วนธรรมล้วนที่ไม่ประกอบ ด้วยปัจจัยปรุงแต่ง ที่ชื่อว่า “วิสังขาร” วิสังขารมี 2 ระดับ

    ระดับที่หนึ่ง คือพระนิพพานธาตุที่ละสังโยชน์ 10 และปล่อยวางอุปาทานในเบญจขันธ์ได้โดยเด็ดขาด แต่ยังครองเบญจขันธ์อยู่ คือ ยังไม่ตาย ชื่อว่า “สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ”

    อีกระดับหนึ่งคือพระนิพพานธาตุ ที่เบญจขันธ์แตกทำลาย คือตายแล้ว ชื่อว่า “อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ”

    นี่พระนิพพานมี 2 ระดับ อย่างนี้

    พระอรหันต์ที่ยังครองเบญจขันธ์อยู่ ชื่อว่า ท่านได้บรรลุ “สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ” ซึ่งเป็นวิสังขาร คือมีสังขารไปปราศแล้ว คือ เป็นธาตุธรรมที่บริสุทธิ์ ปราศจากกิเลส ตัณหา ราคะ เป็นเครื่องปรุงแต่ง เป็นวิราคธาตุ วิราคธรรม เป็นธรรมธาตุที่ว่างเปล่าจากสังขารทั้งในขณะ ยังเป็นๆ อยู่ ชื่อว่า “อัคคสูญ” คือเป็นเลิศ เพราะเป็นธรรมที่ว่างเปล่า จากตัวตนโลกิยะ และสิ่งที่เนื่องด้วยตัวตนโลกิยะ

    นั้นกล่าวคือ ท่านวางอุปาทานในเบญจขันธ์ ด้วยตัณหาและ ทิฏฐิเสียได้แล้ว ไม่เห็นเบญจขันธ์ อันเป็นตัวตนโลกิยะว่ามีสาระในความมีตัวตนที่แท้จริง จึงเห็นตัวตนโลกิยะหรือสังขารธรรมทั้งปวง เป็นสภาพที่ว่างเปล่านั้น ท่านวางอุปาทานได้อย่างนั้น เหมือนมะขามล่อน ในส่วนของธรรมกายซึ่งบรรลุอรหัตตผลเปรียบเหมือนเนื้อมะขาม ส่วนเบญจขันธ์ที่ท่านยังครองอยู่เหมือนเปลือกมะขามที่ล่อนไม่ติดเนื้อ คือหากมีอะไรกระทบกระเทือนกาย ท่านก็ไม่มีทุกข์ที่ใจ นี่แหละคือ อาการของพระอรหันต์ ที่ท่านบรรลุพระอรหัตตผลโดยที่ยังครองเบญจขันธ์อยู่

    วิสังขารอีกระดับหนึ่ง คือเมื่อเบญจขันธ์แตกทำลายคือตายแล้ว ไม่ว่าจะเป็นเบญจขันธ์ของมนุษย์ ของเทพยดา หรือของรูปพรหม เช่น รูปพรหมในชั้นสุทธาวาสที่กำลังบรรลุอรหัตตมรรค บรรลุอรหัตตผลแล้ว เมื่อจะต้องสิ้นชีวิตในชั้นที่สถิตอยู่ เบญจขันธ์รูปพรหมของท่านก็แตกทำลายคือตายเหมือนกัน ในกรณีเช่นนี้ชื่อว่า ท่านดับขันธ์เข้าปรินิพพาน ด้วย “อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ” มีแต่พระนิพพานธาตุคือธรรมกายที่บรรลุอรหัตตผลแล้วล้วนๆ เบญจขันธ์ตายแล้วนั่นแหละ ที่ชื่อว่า “อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ” คือพระนิพพานธาตุที่ไม่มีเบญจขันธ์ครองอยู่

    ความสูญสิ้นหมดไปอย่างนี้ หมดทั้งกิเลส ตัณหา อุปาทาน และตัวสังขาร ได้แก่เบญจขันธ์ก็ไม่มี เพราะแตกทำลายไปแล้วอย่างนี้ ชื่อว่า “ปรมัตถสูญ” คือเป็นความสูญอย่างมีประโยชน์สูงสุด เพราะความไม่มีสังขาร คือไม่มีทั้งเบญจขันธ์ และกิเลสตัณหาเครื่องปรุงแต่งทั้งปวง

    คำว่า “พระนิพพานธาตุ” หรือ “นิพพาน” เฉยๆ จึงหมายถึง ทั้งสภาวะนิพพาน และผู้ทรงสภาวะนิพพาน คือธรรมกายที่บรรลุพระ อรหัตตผลแล้ว

    พระอริยเจ้าที่ท่านบรรลุมรรคผลนิพพานนั้น ท่านอาจจะบรรลุทีละระดับๆ เป็นชั้นๆ ไป ตั้งแต่ พระโสดาปัตติผล พระสกิทาคามิผล พระอนาคามิผล และพระอรหัตตผล หรือในกรณีที่บุญบารมี อุปบารมี และปรมัตถบารมีของท่านเต็มแล้วเพียงใด ท่านก็สามารถจะ บรรลุมรรคผลนิพพานถึงระดับนั้นๆ รวดเดียวได้เลย โดยไม่ต้องบรรลุทีละขั้นๆ ก็ได้ และผลจิตหรือญาณของธรรมกายที่บรรลุอริยผลนั้น เป็นผู้พิจารณาพระนิพพาน และย่อมเห็นแจ้งทั้งสภาวะพระนิพพาน และผู้ทรงสภาวะนิพพานคือธรรมกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งธรรมกายที่ บรรลุพระอรหัตตผลแล้วว่า มีสภาพเที่ยง (นิจฺจํ) เป็นบรมสุข (ปรมํ สุขํ) และยั่งยืน (ธุวํ) มีแก่นสารสาระในความเป็นตัวตน (อตฺตา) แท้ เพราะไม่ต้องแปรปรวน (อวิปริณามธมฺมํ) ไปตามเหตุปัจจัย มีสภาพ คงที่ (ตาทิ) มั่นคง (สสฺสตํ) ยั่งยืน (ธุวํ) จึงไม่ต้องเคลื่อน (อจฺจุตํ) และไม่มีเหตุปัจจัยให้เกิดด้วย ก็เลยไม่ต้องเกิดเป็นธรรมฐิติ ดำรงอยู่ อย่างนั้น ไม่แก่ ไม่เจ็บ และไม่ตาย (อมตํ) จึงเป็นบรมสุข และยั่งยืน ตลอดไป นี่สภาวะพระนิพพานเป็นอย่างนี้

    ใครเป็นผู้ทรงสภาวะพระนิพพานอย่างนี้? ไม่ใช่เบญจขันธ์แน่นอน เพราะเบญจขันธ์เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ต้องเป็นธาตุล้วน ธรรมล้วน ก็คือธรรมกายที่บรรลุอรหัตตผลแล้วนั้นเองนี่แหละ ธาตุล้วน ธรรมล้วน เป็นผู้ทรงสภาวะนิพพาน เป็นตัวพระนิพพาน เลย

    สถิตอยู่ที่ไหน? ไม่สถิตอยู่ที่ไหนๆ ในจักรวาลนี้ ในภพ 3 นี้ ในโลกใดๆ ก็ไม่มี ที่ชื่อว่า “โลก” คือภพทั้ง 3 นี้อยู่ในจักรวาลนี้เท่านั้น จึงชื่อว่าโลก พ้นโลกไปเป็นพระนิพพาน พระนิพพานกับโลกอยู่คนละส่วน พระนิพพานนั้นพ้นโลก จึงชื่อว่า “โลกุตตระ” เป็นธรรมที่พ้นโลก จึงชื่อว่าโลกุตตรธรรม นั่นแหละพระนิพพาน พระอรหันต์ท่านดับขันธ์เข้าปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุนั้นไม่เรียกว่าโลก ไม่เรียกว่าภพ เพราะไม่มีภพ ไม่มีชาติ ไม่มีการเกิดด้วยเหตุปัจจัย ที่สถิตอยู่ของพระนิพพานธาตุเหล่านี้ ชื่อว่า “อายตนะนิพพาน” ที่มีพระพุทธดำรัส ในปาฏลิคามิยวรรค อุทาน นิพพานสูตรว่า “อตฺถิ ภิกฺขเว ตทายตนํ...” แปลความว่า “ภิกษุทั้งหลาย อายตนะนิพพานนั้นมีอยู่...” เป็นต้น คำว่า “อายตนะ (นิพพาน)” นี้ หลวงพ่อวัดปากน้ำมิได้บัญญัติขึ้นเอง อาตมาไม่ได้พูดขึ้นเอง แต่เป็นพระพุทธดำรัสอยู่ในนิพพานสูตร ไปดูได้ตั้งแต่นิพพานสูตรที่ 1 ไปทีเดียว มีพระพุทธดำรัสว่าด้วยอายตนะนิพพาน ว่าด้วยธรรมชาติที่ไม่ประกอบด้วยปัจจัยปรุงแต่งชื่อว่า อสังขตธรรม มีอยู่ในนิพพานสูตรทั้งนั้น

    เพราะฉะนั้นคำที่ว่า “เสร็จกิจสิบหกไม่ตกกันดาร เรียกว่า นิพพานก็ได้” นี่ก็เพราะพระโยคาวจรได้เจริญภาวนา มีสติพิจารณาเห็นกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และเห็นธรรมในธรรม คือ อริยสัจ 4 ของแต่ละกาย ได้แก่ของกายมนุษย์ กายทิพย์ กายรูปพรหม และอรูปพรหม นี้ก็จัดเป็นกิจแต่ละ 4 แต่ละ 4 ก็เป็นกิจ 16 เพื่อให้บรรลุมรรคผลนิพพานตามระดับภูมิธรรมที่ปฏิบัติได้ กล่าวถึงเสร็จกิจ รวบยอดของพระอรหันต์ก็เป็นกิจ 16 นี่แหละที่หลวงพ่อท่านกล่าว ว่า “เสร็จกิจสิบหกไม่ตกกันดาร เรียกว่านิพพานก็ได้”

    เพราะฉะนั้น นี่เป็นความลึกซึ้งที่หลวงพ่อวัดปากน้ำ พระ มงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ท่านกล่าวสอนไว้ ข้อความที่ท่านกล่าว แต่ละคำล้วนมีความหมายลึกซึ้ง หลวงพ่อท่านสามารถแสดงพระธรรมเทศนาโดยการยกพระบาลีขึ้นมาแสดง ท่านสามารถแสดงรายละเอียดทั้งพระพุทธพจน์และคำแปล และทั้งแสดงวิธีปฏิบัติธรรม พร้อมทั้งผลของการปฏิบัติธรรมด้วย ซึ่งเป็นผล (ปฏิเวธธรรม) ที่พิสูจน์ได้ด้วยการปฏิบัติพระสัทธรรมที่ถูกต้องและตรงประเด็นตามพระสัทธรรม ของพระพุทธเจ้า การแสดงพระธรรมเทศนาของพระเดชพระคุณ หลวงพ่อวัดปากน้ำ โดยยกทั้งพระบาลีหรือพระพุทธพจน์ขึ้นแสดง แจกแจงคำแปลแต่ละคำๆ หรือแต่ละประโยค ก็แล้วแต่เหตุการณ์ พร้อมกับยกเอาผลของการปฏิบัติมาแสดงอย่างชัดเจนด้วย อย่างนี้ เห็นมีไม่มาก

    แต่ก่อน อาตมาเคยลังเลสงสัยในคำเทศน์ของหลวงพ่อฯ อยู่คำหนึ่ง ในหนังสือหลักสมถวิปัสสนากัมมัฏฐานเบื้องต้น ที่ท่านแสดง ไว้ว่า “ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 นั้น ทางนี้ทางเดียว ไม่มีสองทาง เป็น เอกายนมรรค” ตอนแรกอาตมานึกลังเลสงสัยว่า ถ้าว่าจะนำไปพิมพ์เผยแพร่ สมัยนั้นอาตมาเป็นกรรมการที่ปรึกษาสภาสังคมสงเคราะห์ ก็คิดว่าจะนำหนังสือนี้ไปพิมพ์เผยแพร่ ก็เป็นห่วงกลัวว่า จะถูกเขาโจมตีว่า “ศูนย์กลางกายฐานที่ 7 นี่ จะเป็นทางนี้ทางเดียวได้อย่างไร จึงได้ไปปรึกษาหลวงพ่อพระภาวนาโกศลเถร ท่านบอกว่า “อย่าไปแก้นะ คำของหลวงพ่อ แก้ของท่านแม้เพียงคำเดียว ประเดี๋ยวเข้าเซฟนะ”

    “เข้าเซฟ” หมายถึงอะไร ประเดี๋ยวค่อยไปถามผู้ถึงธรรมกายแล้ว หรือปฏิบัติให้ถึงธรรมกายเองก็จะทราบว่า มีโทษรุนแรงยิ่งกว่าตกอเวจีมหานรกอีก เพราะนี้เป็นคำจริง “ทางเดียวไม่มีสองทาง” ท่านว่า ทางนั้นทางเดียว เอ๊ะ! ถ้าอย่างนั้น คนอื่นเขาจะรู้สึกขัดข้องโจมตีว่า ถ้าอย่างนั้นคนอื่น สำนักอื่น ที่ปฏิบัติแบบอื่นก็ปฏิบัติไม่ถึงนิพพานซิ?

    ความจริงท่านพูดหมายความว่า ใครจะถึงนิพพานก็ต้องไปทางนี้ทางเดียว ต้องมาทางนี้ คือ ตรงศูนย์กลางกายฐานที่ 7 อันเป็นที่ตั้งกำเนิดธาตุธรรมเดิมนี้ เป็นที่ตั้งถาวรของใจ คือตรงศูนย์กลางกาย นี่เป็นที่เปลี่ยนวาระจิตเป็นประจำ เพราะเป็นที่ตั้งของธาตุละเอียด ของขันธ์ 5, อายตนะ 12, ธาตุ 18, อินทรีย์ 22, อริยสัจ 4, ปฏิจจสมุปบาทธรรม 12 เพราะฉะนั้น เมื่อจะบรรลุมรรคผลนิพพาน “ใจ” ของแต่ละกาย หรือรวมหมดทุกกายนั่นแหละถึงธรรมกาย ดวงเดิม จะตกศูนย์ “ใจ” ดวงใหม่จึงลอยเด่นขึ้นมาตรงนี้ ใสสะอาดบริสุทธิ์ยิ่งๆ ขึ้นไป จนถึงธรรมกาย ตั้งแต่ธรรมกายโคตรภูไปจนถึงธรรมกายมรรค ผลนิพพานแต่ละระดับ ส่วนหยาบจะต้องตกศูนย์ตรงนี้ ส่วนละเอียดที่บริสุทธิ์ผ่องใสก็จะปรากฏขึ้นมาตรงนี้ จิตเกิดดับเปลี่ยนวาระจิตตรงนี้ วิญญาณดับและเข้ามรรคผลนิพพานก็เข้าตรงนี้จริงๆ เมื่อท่านปฏิบัติถึงธรรมกายแล้วก็จะถึงบางอ้อว่า เออ! จะเข้าถึงธรรมกายนั้นก็ต้องดับหยาบไปหาละเอียด หยุดในหยุดกลางของหยุด กายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม ส่วนหยาบจะตกศูนย์ ส่วนละเอียดจะปรากฏขึ้นใหม่ทับทวีไปอย่างนี้สุดละเอียดจนถึงธรรมกาย จนถึงธรรมกายมรรค ธรรมกายผล และธรรมกายนิพพาน ด้วยอาการอย่างนี้ ตรงศูนย์กลางกายของกายในกาย กลางของกลางๆๆๆ ตรงกลางกำเนิดธาตุธรรมเดิมของแต่ละกายสุดกายหยาบกายละเอียด จนถึงธรรมกายมรรคผลนิพพานนี้เอง จึงเป็นเอกายนมรรค เพราะเป็นที่ตั้งของกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม อันเป็นธรรมในธรรมในส่วนโลกิยะไปจนสุดละเอียดถึงโลกุตตรธรรม สุดละเอียดเข้าไปก็คือธรรมกายที่จะบรรลุมรรคผลนิพพาน

    ธรรมกายอริยมรรคก็จะตกศูนย์ ธรรมกายอริยผลก็จะปรากฏขึ้น ใสสว่างตรงกลางของกลางๆๆๆ ตรงนั้น จากศูนย์กลางกายสุดหยาบ จนถึงศูนย์กลางกายสุดละเอียดนั้นเอง ส่วนหยาบเป็นมรรค ส่วนละเอียดเป็นผล มรรคและผลเกิดอย่างนี้ต่อๆ ไปจนสุดละเอียด จึงถึงมรรคผลนิพพาน ตรงจุดศูนย์กลางกายแต่ละกาย สุดกายหยาบ กายละเอียด กลางของกลางๆๆๆ และดับหยาบไปหาละเอียดนี้เอง

    แต่คนอื่นไม่รู้ไม่เห็นว่า ความเปลี่ยนแปลงวาระจิตหรือภูมิจิต ทุกอย่างเป็นที่ธาตุธรรม ไม่ใช่เป็นที่ภายนอก ไม่ใช่เป็นที่ใจของกายมนุษย์อย่างเดียว แต่ความบรรลุมรรคผลนิพพานนั้น ต้องเปลี่ยนวาระจิต คือเลื่อนภูมิจิตจากกายโลกิยะ สุดหยาบคือมนุษย์ ไปจนสุดละเอียด ของกายอรูปพรหม จนเมื่อวิญญาณของอรูปพรหมดับ ความบรรลุมรรคผลนิพพานจึงไปปรากฏเป็นที่ใจของกายธรรม เป็นธาตุธรรมที่ละเอียด ที่บริสุทธิ์ นั่นแหละ เป็นธาตุธรรมที่บรรลุมรรคผลนิพพาน เป็นที่ไหน? เป็นอยู่ที่กลางของกลาง ศูนย์กลางกายที่สุดละเอียดของกายมรรคผล นิพพานนั่นแหละ

    ผู้ที่บรรลุอริยมรรคอริยผลในขั้นต่างๆ จะเห็นหรือไม่เห็นก็ตาม ใจต้องเปลี่ยนวาระ เปลี่ยนภูมิจิตตรงนั้น เป็นที่อื่นไม่มี เพราะตรงนั้นเป็นที่ตั้งกำเนิดธาตุธรรมเดิม เป็นที่ตั้งของกายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม จากกายสุดหยาบถึงกายสุดละเอียด คือถึง พระนิพพาน ทั้งพระนิพพานธาตุ ผู้ทรงสภาวะนิพพาน และอายตนะนิพพาน ก็กลางของกลางตรงนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสอายตนะนิพพาน ว่า “หาที่ตั้งมิได้”

    เพราะเหตุนี้นี่แหละ คนที่ไม่ได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตรงประเด็น ตามทางสายกลางอย่างนี้ ก็เลยไม่เห็นนรก ไม่เห็นสวรรค์ ไม่เห็นนิพพานตามที่เป็นจริง แต่ถ้าปฏิบัติตามทางสายกลางอย่างนี้ ก็จะ สามารถเห็นนรก เห็นสวรรค์ เห็นพระนิพพานตามที่เป็นจริงได้ แม้เห็นหมดทั้งจักรวาลตามที่อยู่ในคัมภีร์ ก็เห็นตามที่เป็นจริงได้ ไม่ว่าสิ่งนั้น จะเป็นทิพย์ หรือสุดละเอียดไปจนถึงพรหมโลก หรือสุดละเอียดไปจนถึงอายตนะนิพพาน ก็เห็นได้ตามพระพุทธดำรัส

    เพราะฉะนั้น การปฏิบัติภาวนาตามแนววิชชาธรรมกายนี้ ถ้าปฏิบัติไปในแนวนี้ ความสงสัยต่างๆ จะค่อยๆ หายไปด้วยการเจริญปัญญาจากการที่ได้ทั้งเห็นและทั้งรู้ จนถึงที่สุดของผู้ที่บรรลุมรรคผล นิพพาน ตามระดับภูมิธรรมที่ปฏิบัติได้ เพราะแนวทางการปฏิบัติที่ถูกต้องตามทางสายกลางโดยทางปฏิบัติในกลางของกลางธาตุธรรมเห็น จำ คิด รู้ คือใจ ของพระโยคาวจรที่กำลังปฏิบัติอยู่นั้นนั่นแหละ ไปจนถึงผู้บรรลุมรรคผลนิพพานนั้น การเปลี่ยนวาระจิตหรือเลื่อนภูมิจิต ก็ตรงกลางของกลางๆๆ ตรงศูนย์กลางกายสุดกายหยาบกายละเอียด จนถึงธรรมกายมรรคผลนิพพานและถึงอายตนะนิพพานก็ตรงนี้แหละ

    ศูนย์กลางกายสุดกายละเอียดจนถึงธรรมกายมรรคผลนิพพาน ตรงนี้จึงเป็น “เอกายนมรรค” เป็นทางเดียวไม่มีสองทาง ด้วยประการฉะนี้ ส่วนอาการภายนอกอย่างอื่นนั้น เป็นเรื่องของอาการภายนอก แต่การจะบรรลุมรรคผลนิพพานจริงๆ นั้น บรรลุที่ธาตุธรรมที่เห็น จำ คิด รู้ คือ “ใจ” ที่ผ่องใสที่บริสุทธิ์ที่สุดละเอียด ไปจนถึงเป็นใจของกายธรรม เรียกว่า “ธรรมกาย” นั่นความเป็นจริงทางปฏิบัติ และผลของการปฏิบัติเป็นอย่างนี้

    เพราะฉะนั้น คำถามนี้อาตมาจึงขอขยายความให้เห็นชัดเจน ว่า คำพูดของหลวงพ่อสดวัดปากน้ำแต่ละคำนั้นมีค่าสูงที่สุด ถ้าใครรู้จักพิจารณาและปฏิบัติไปตามแนวทางนี้ก็จะเห็นได้ชัดเจน หรืออย่างน้อย ก็จะพอได้ประสบการณ์ที่คุ้มค่าที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์และได้พบพระพุทธศาสนา
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...