พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 23 ธันวาคม 2005.

  1. :::เพชร:::

    :::เพชร::: เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    8,584
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +36,137
    มหกรรมปั้นทรายโลก เฉลิมพระเกียรติฯ 80 พรรษา

    <!-- Main -->[SIZE=-1]<CENTER>[​IMG]

    บ่อยครั้งในภาพข่าวต่างประเทศ ผู้คนในกลุ่มประเทศแถบยุโรป นิยมสร้างงานศิลปะที่มาจากทราย ออกมาในรูป “สถาปัตยกรรมทราย” สร้างสรรค์ออกมาให้เป็นรูปปราสาท ตึก ใบหน้าของคนดัง หลากหลายบนชายหาดบ้าง หรือตามสถานที่กำหนดขึ้น

    งานศิลปะปั้นทรายถือกำเนิดขึ้นเมื่อ 14 ปีก่อนในแถบประเทศยุโรป ความงดงาม ยิ่งใหญ่ในการก่อสร้างประติมากรรมทรายสร้างความประทับใจให้กับผู้พบเห็น จนทำให้เกิดการจัดงานต่อเนื่องไปในหลายประเทศทั้งในฝรั่งเศส เบลเยียม เนเธอร์แลนด์ เยอรมนี อังกฤษและเดนมาร์ก

    [​IMG]

    ความประทับใจเหล่านี้กำลังจะเกิดขึ้นครั้งแรกในเมืองไทยและในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดย สำนักงานจังหวัดฉะเชิงเทรา และ เทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา ได้ร่วมกัน จัดงาน “มหกรรมปั้นทรายโลก”

    รวมสุดยอดนักปั้นทรายจากทั่วโลกมาร่วมสร้างปรากฏการณ์ที่ยิ่งใหญ่ เพื่อเฉลิมพระ เกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา ในปีนี้ โดยความยิ่งใหญ่ ตระการตาของประติมากรรมทรายจะถูกเนรมิตขึ้นบนพื้นที่กว่า 12 ไร่ ใน จังหวัดฉะเชิงเทรา

    [​IMG]


    สมชาย กิติพราภรณ์ ผู้บริหาร บริษัท เอ็ดดูเทนเม้นท์ เพลนเน็ท จำกัด ในฐานะผู้สร้างสรรค์งานครั้งนี้ กล่าวว่า การจัดงานครั้งนี้เน้นความยิ่งใหญ่อลังการ ในการเนรมิตเม็ดทรายให้เป็นประติมากรรมชั้นเยี่ยมเพื่อนำเสนอสู่สายตาชาวโลก ในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมพรรษา 80 พรรษาในปีนี้ โดยบริษัทใช้เงินลงทุนกว่า 40 ล้านบาท ในการจัดมหกรรมปั้นทรายนานาชาติขึ้นซึ่งคาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและประเทศในแถบเอเชีย ยุโรป และอเมริกาสนใจเข้ามาชมจำนวนมาก

    มหกรรมปั้นทราย ใช้ทรายกว่า 40,000 ตัน ในการก่อสร้างประติมากรรมรวม 80 ชิ้น ทำให้มหกรรมปั้นทรายนานาชาติครั้งนี้เป็นงานแสดงประติมากรรมทรายในร่มที่ใหญ่ที่สุดในโลก จากนักปั้นทรายมืออาชีพระดับโลก กว่า 70 ชีวิต จากเนเธอร์แลนด์ เบลเยียม เชโกสโลวะเกีย ไอร์ แลนด์ สหรัฐอเมริกาและไทย ที่จะมาร่วมผนึกกำลังสร้างประติมากรรมทรายใน 3 โซน ประกอบไปด้วย

    [​IMG]

    โซนแรก ประติมากรรมทรายที่นำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับพระราชประวัติและพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สถานที่ท่องเที่ยวที่ขึ้นชื่อในเมืองไทย ได้แก่ พระนารายณ์ทรงครุฑ ล้อมรอบด้วยทวยเทพ กังหันชัยพัฒนา กำแพง วัดพระแก้วและสระบัว เรือไมโครมด

    เขื่อนภูมิพลและโครง การฝนหลวง วงดนตรีแจซซ์ สวนแม่ฟ้าหลวงและพระตำหนักดอยตุง โครงการหลวง โดยเป็นฝีมือการปั้นของช่างปั้นทุกประเทศที่เข้าร่วมในงานมหกรรมครั้งนี้ รวม 8 รูป

    โซนที่ 2 เป็นการนำเสนอประติมากรรมทรายในเต็นท์มืด ด้วยระบบแสง สี เสียง เรื่องราวประวัติศาสตร์ไทย ประกอบไปด้วยประติมากรรมทราย 11 รูปหลัก ได้แก่ ยักษ์ 2 ตน และวัดพระแก้ว วัดโสธรวรารามวรวิหาร จตุคามรามเทพ สมเด็จพระนเรศวรกระทำยุทธหัตถี นางเงือก กินรี หนุมาน สุดสาคร พระอภัยมณีและสุนทรภู่ ชีเปลือย และผีเสื้อสมุทร


    [​IMG]

    โซนที่ 3 ประติมากรรมทรายที่นำเสนอสถาปัตยกรรมนานาชาติซึ่งมีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักทั่วโลก ใน 13 ประเทศ ประกอบไปด้วย ประตูแบรนแดนเบิร์ก และผู้หญิงเสิร์ฟเบียร์ ประเทศเยอร มนี, หอไอเฟิล และนักวาดภาพชาวฝรั่งเศส ประเทศฝรั่งเศส, ทหารองครักษ์และหอนาฬิกาบิ๊กเบน ประเทศอังกฤษ

    รูปปั้นเทพีเสรีภาพและวิวเมืองแมนฮัตตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา, ผู้หญิงกับชีส รองเท้าไม้ ภาพวาดแวนโก๊ะและกังหันลม ประเทศเนเธอร์แลนด์, โคลีเซียมและนักสู้เสือ ประเทศอิตาลี, นักเต้นฟลามิงโกและนักสู้วัวกระทิง ประเทศสเปน, ภูเขาไฟฟูจิ

    ประตูญี่ปุ่นและเกอิชา ประเทศญี่ปุ่น, บ้านโบราณและรูปปั้นเด็กฉี่ ประเทศเบลเยียม, จิงโจ้ หมีโคอล่า และโรงละครโอเปร่า ประเทศออสเตรเลีย, โบสถ์เซนต์ นิโคลัส ประเทศรัสเซีย, พีระมิดกับสฟิงซ์และสุสานตุตันคาเมน ประเทศอียิปต์, กำแพงเมืองจีน มังกรและรูปปั้นหินกองทัพราชวงศ์ชิง ประเทศจีน

    [​IMG]

    สำหรับ เทคนิคการก่อสร้าง เริ่มต้นด้วยการนำไม้มาตีเป็นบล็อกสี่เหลี่ยม รัดด้วยลวดเหล็กเพื่อความแข็งแรง ก่อนนำทรายที่ร่อนแยกวัสดุที่ไม่ต้องการ เช่น ใบไม้ ก้อนหิน เศษกรวดมาใส่ลงในบล็อก แล้วใส่น้ำและผสมให้เข้ากัน พร้อมอัดทรายด้วยเครื่องอัดทราย จากนั้นรอให้ทรายแห้ง แกะบล็อกไม้ออกก็จะได้ประติมากรรมปั้นทรายในรูปต่าง ๆ ที่สวยงาม

    ซึ่งการจัดมหกรรมปั้นทราย เปิดให้เข้าชมได้ตั้งแต่วันที่ 28 พฤศจิกายนนี้ เป็นต้นไป ทีมปั้นทรายในครั้งนี้นอกจากจะมีนักปั้นทรายจากทั่วโลกที่เดินทางเข้ามาแล้ว ยังมีทีมปั้นทรายตัวแทนประเทศไทยอีก 5 ทีม โดยทีมที่ 1 นำโดยนายชนาธิป ชื่นบำรุง อาจารย์พิเศษในภาควิชาศิลปกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

    ทีมที่ 2 นำโดยนายไพ บูลย์ พันธุ์ไชยา แชมป์แกะสลักประเทศไทย 3 ปีซ้อน แชมป์แกะสลักน้ำแข็งที่ประเทศสิงคโปร์ ฯลฯ

    ทีมที่ 3 นำโดยนายวสันต์ นันทปรีชา ช่างปั้นต้นแบบเซรามิก และผู้ทำซุ้มเทิดพระเกียรติงานมหามงคล 80 พรรษาจังหวัดเชียงใหม่ ฯลฯ

    ทีมที่ 4 นำโดยนายประ กอบ คำหล้า ช่างปั้นหุ่นขี้ผึ้งต้นแบบสมเด็จพระนเรศวรทรงม้า ทีมที่ 5 นำโดย นายชนะ เยรัมย์ เป็นแชมป์ประเภทลายเส้นระดับประเทศและช่างแกะสลักน้ำแข็งและประติมากรรมช็อกโกแลต

    สำหรับงานมหกรรมปั้นทรายนานาชาติ มีขึ้นบนพื้นที่กว่า 12 ไร่ ตั้งอยู่ห่างจากวัดโสธรวรารามวรวิหาร (วัดหลวงพ่อโสธร) ประมาณ 800 เมตร ติดคาร์ฟูร์ จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยจะเริ่มเปิดให้ชมตั้งแต่วันที่ 28 พฤศจิกายน 2550 เป็นต้นไป วันธรรมดาเริ่มเปิดให้ชมตั้งแต่เวลา 10.00-18.00 น. ส่วนในวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ และวันนักขัตฤกษ์ เริ่มตั้งแต่เวลา 09.00-20.00 น.

    ซึ่งนอกจากผู้สนใจจะได้เข้าชมประติมากรรมทรายในรูปแบบต่าง ๆ แล้ว บริเวณงานยังมีเวทีการปั้นทรายสำหรับเด็ก เวทีการแสดง ซุ้มเกม ซุ้มถ่ายภาพ ร้านจำหน่ายสินค้าของที่ระลึก อาหารและเครื่องดื่ม ผู้สนใจเข้าชมเสียค่าบัตรผ่านประตู ผู้ใหญ่ 80 บาท เด็ก 40 บาท หรือสนใจดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www. thaisandcity.com

    เสน่ห์ของงานประติมากรรมปั้นทรายอยู่ที่ความละเอียด เหมือนจริง รวมถึงความอลังการของผลงานแต่ละชิ้น ที่ถูกสื่อออกมาให้เห็นด้วยเทคนิคพิเศษเฉพาะเพื่อให้อยู่ได้คงทนตลอด 4 เดือนเต็มที่เปิดให้ชม.</CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER>http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=kriechenbauer&month=11-2007&date=19&group=2&gblog=24</CENTER>[/SIZE]
     
  2. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>เตือนภัยเครื่องกระป๋องก่อนใส่บาตร
    http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9500000151884
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>โดย ผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=baseline align=left>22 ธันวาคม 2550 11:50 น.</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left> กรมอนามัยเตือนอันตรายจากเครื่องกระป๋อง ก่อนทำบุญตักบาตรช่วงเทศกาลปีใหม่ ควรตรวจสอบคุณภาพและสภาพภายนอกของเครื่องกระป๋อง เพื่อการมีสุขภาพอนามัยที่ดีของพระภิกษุสงฆ์

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=right border=0><TBODY><TR><TD width=5>[​IMG]</TD><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=212 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=212>[​IMG] </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> นายแพทย์ณรงค์ศักดิ์ อังคะสุวพลา อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยถึงการให้ความสำคัญในการเลือกซื้อเครื่องกระป๋อง สำหรับตักบาตรในช่วงเทศกาลปีใหม่ ว่าจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวิถีการดำเนินชีวิตของคนในปัจจุบันเป็นไปด้วยความเร่งรีบและเรียบง่าย ส่งผลให้พฤติกรรมการบริโภคอาหารเปลี่ยนแปลงตามไปด้วยจากที่เคยประกอบอาหารสำหรับตักบาตรทุกเช้าหรือวันสำคัญทางศาสนาด้วยตนเอง ก็ต้องหันมาพึ่งการเลือกซื้อเครื่องกระป๋องที่มีขายตามร้านค้าและแหล่งจับจ่ายโดยทั่วไปหลากหลายประเภท เช่น อาหารกระป๋อง ผลไม้กระป๋อง น้ำผลไม้กระป๋อง และรวมทั้งเครื่องดื่มหรือผลิตภัณฑ์บำรุงร่างกาย

    เพื่อช่วยประหยัดเวลาในการเตรียมอาหารน้อยลง ดังนั้น ประชาชนที่นิยมตักบาตรด้วยเครื่องกระป๋อง ก่อนตัดสินใจซื้อควรอ่านฉลากข้างกระป๋อง ซึ่งต้องมีเลขทะเบียนตำรับอาหาร ชื่อ และที่ตั้งสถานที่ผลิต วัน เดือน ปีที่ผลิต ชื่อปริมาณวัตถุเจือปนในอาหาร น้ำหนักสุทธิและลักษณะของกระป๋องต้องไม่บวม ไม่บุบบู้บี้ ไม่เป็นสนิม เมื่อเปิดกระป๋องต้องไม่มีลมดันออกมา รวมถึงตะเข็บกระป๋องต้องไม่มีรอยรั่ว เพราะอาจทำให้เกิดเชื้อจุลินทรีย์ขึ้นภายในกระป๋องได้

    นายแพทย์ณรงค์ศักดิ์ กล่าวต่อไปว่า เครื่องกระป๋องที่มีเชื้อจุลินทรีย์ปนเปื้อน จะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านสี กลิ่น รส และคุณค่าของอาหาร นอกจากนี้ หากเก็บเครื่องกระป๋องนั้นไว้เป็นเวลานาน ๆ เชื้อจุลินทรีย์ที่ปะปนอยู่ในเครื่องกระป๋องโดยเฉพาะเชื้อClostidium Botulinum จะเจริญเติบโตและสร้างสารพิษโบทูลินั่มขึ้น ซึ่งเป็นพิษต่อระบบประสาทอย่างรุนแรง

    หากได้รับสารพิษเข้าไปจะแสดงอาการให้เห็นภายใน 2-4 ชั่วโมง แต่สำหรับบางรายอาจเวลานานถึง 12-36 ชั่วโมง โดยมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน มีการอัมพาตของกล้ามเนื้อต่างๆ สายตาเริ่มพร่า มองเห็นเป็นภาพซ้อน ซึม ง่วง กลืนอาหารไม่สะดวก ลิ้นและคอเริ่มอักเสบเพราะไม่สามารถกลืนน้ำลายได้ กล้ามเนื้อต้นคออ่อนแรงจนยกหัวไม่ขึ้น ซึ่งผู้ที่ได้รับเชื้อจุลินทรีย์ประเภทนี้มักเสียชีวิตด้วยระบบหายใจล้มเหลวและหัวใจหยุดเต้นฉับพลันภายใน 3-6 วัน หลังจากได้รับเชื้อเข้าสู่ร่างกายในที่สุด เช่นเดียวกับที่เคยเป็นข่าวมาก่อนหน้านี้ในกรณีของหน่อไม้ปี๊บ

    “ทั้งนี้การตักบาตรทำบุญในเทศกาลปีใหม่หรือในวันสำคัญทางศาสนา นับเป็นวัฒนธรรมอันดีของไทยที่ได้มีการปลูกฝังในจิตใจของประชาชนทุกคนมาโดยตลอด แต่หากประชาชนมองข้ามถึงความปลอดภัยและอันตรายที่จะได้รับจากเครื่องกระป๋องที่มีสภาพไม่สมบูรณ์แล้ว ก็จะส่งผลร้ายแรงต่อพระภิกษุสงฆ์ที่นำอาหารประเภทต่างๆ สำหรับตักบาตรจำเป็นต้องเพิ่มความใส่ใจในเรื่องความปลอดภัยให้มากขึ้น เพื่อลดภาวะเสี่ยงของการเกิดโรคต่าง ๆ และสุขอนามัยที่ดีของพระภิกษุสงฆ์อีกด้วย” อธิบดีกรมอนามัยกล่าวในที่สุด

    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  3. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>สมเด็จพระสังฆราช ประทานพระพรปีใหม่ 2551 เพื่อความร่มเย็นเป็นสุข
    http://www.manager.co.th/QOL/ViewNew...=9500000151928
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>โดย ผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=baseline align=left>22 ธันวาคม 2550 13:31 น.</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=500 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=500>[​IMG] </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ประทานพระพรปีใหม่ 2551....เพื่อความร่มเย็นเป็นสุข พ.ศ.2551...เป็นบทร้อยกรอง กลอนสุภาพ ความว่า

    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>“ปีใหม่นี้โลกมากมีทุกข์ร้อนนัก
    วิธีใดเล่าจักแก้ไขได้
    เพราะปล่อยปละละเลยมานานมากมาย
    สุดเสียดายที่ไทยนี้มีพระพุทธ
    พระพุทธองค์ท่านทรงพระบารมี
    เหนือความชั่วความดีทั้งหลายหมด
    จงถวายชีวิตตรงองค์พระสุคต
    ปฏิบัติพระธรรมพจน์แห่งเมตตา
    ไม่ทำชั่ว ทำดีเป็นที่ตั้ง
    มุ่งมั่นหวังจิตพิสุทธิ์ ดุจปรารถนา
    โดยเสด็จสมเด็จพระบรมศาสดา
    สร้างมหาชีวิตให้ไทยร่มเย็น”

    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  4. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=1518&Z=1753&pagebreak=0

    บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ

    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔
    มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์



    <CENTER>๙. สัมมาทิฏฐิสูตร

    </CENTER><CENTER>ว่าด้วยความเห็นชอบ</CENTER>[๑๑๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-
    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิก-
    *เศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้น ท่านพระสารีบุตรเรียกภิกษุทั้งหลายแล้ว ภิกษุพวกนั้น
    รับคำท่านพระสารีบุตรแล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวคำนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ที่เรียกว่า
    สัมมาทิฏฐิๆ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ อริยสาวกจึงจะชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นดำเนินไป
    ตรงแล้ว ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้ พวกภิกษุกล่าวว่า
    ดูกรท่านผู้มีอายุ พวกกระผมมาจากที่ไกล ก็เพื่อจะรู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งภาษิตนี้ ในสำนักของท่าน
    พระสารีบุตร ดังพวกกระผมขอโอกาส เนื้อความแห่งภาษิตนี้ จงแจ่มแจ้งกะท่านพระสารีบุตรเถิด
    ภิกษุทั้งหลายได้ฟังต่อท่านพระสารีบุตรแล้ว จักทรงจำไว้ ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ถ้าอย่างนั้น
    จงฟังเถิด ท่านผู้มีอายุ จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุพวกนั้นรับคำท่านพระสารีบุตรแล้ว.
    [๑๑๑] ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวคำนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใดอริยสาวกรู้ชัดซึ่ง
    อกุศลและรากเง่าอกุศล รู้ชัดซึ่งกุศลและรากเง่าของกุศล แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่า
    เป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นดำเนินไปตรงแล้วประกอบด้วยความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในธรรม มาสู่
    พระสัทธรรมนี้ ก็อกุศลเป็นไฉน? ได้แก่ ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ
    พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ อยากได้ของผู้อื่น ปองร้ายเขา เห็นผิด อันนี้เรียกว่า
    อกุศลแต่ละอย่างๆ รากเง่าของอกุศลเป็นไฉน? ได้แก่ โลภะ โทสะ โมหะ อันนี้เรียกว่ารากเง่า
    ของอกุศลแต่ละอย่างๆ กุศลเป็นไฉน? ได้แก่ ความเว้นจากฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิด
    ในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ ไม่อยากได้ของผู้อื่น ไม่ปองร้ายเขา
    เห็นชอบ อันนี้เรียกว่า กุศลแต่ละอย่างๆ รากเง่าของกุศลเป็นไฉน? ได้แก่ อโลภะ อโทสะ
    อโมหะ อันนี้เรียกว่า รากเง่าของกุศลแต่ละอย่างๆ ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใด อริยสาวกรู้ชัด
    ซึ่งอกุศลและรากเง่าของอกุศลอย่างนี้ๆ รู้ชัดซึ่งกุศลและรากเง่าของกุศลอย่างนี้ๆ เมื่อนั้น ท่านละ
    ราคานุสัย บรรเทาปฏิฆานุสัย ถอนทิฏฐานุสัย และมานานุสัยว่า เรามีอยู่โดยประการทั้งปวง
    ละอวิชชา ยังวิชชาให้เกิด ย่อมกระทำที่สุดแห่งทุกข์ในปัจจุบันนี้เทียว แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้
    อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นดำเนินไปตรงแล้ว ประกอบด้วยความเลื่อมใสอัน
    แน่วแน่ในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้
    [๑๑๒] ภิกษุเหล่านั้นชื่นชม อนุโมทนาภาษิตของท่านพระสารีบุตรว่า สาธุ ท่านผู้มีอายุ
    แล้วได้ถามปัญหากะท่านพระสารีบุตรต่อไปว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือปริยายแม้อย่างอื่น
    ที่อริยสาวกซึ่งชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นดำเนินไปตรงแล้ว ประกอบด้วยความเลื่อมใส
    อันแน่วแน่ในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้.


    <CENTER>อาหารวาร
    </CENTER>[๑๑๓] ท่านพระสารีบุตรตอบว่า พึงมีอยู่ ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดอริยสาวกรู้ชัดซึ่งอาหาร
    เหตุเกิดแห่งอาหาร ความดับอาหาร และทางที่จะให้ถึงความดับอาหาร แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้
    อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้ ก็อาหาร เหตุเกิดแห่งอาหาร ความดับอาหาร
    ทางที่จะให้ถึงความดับอาหาร เป็นไฉน? ได้แก่อาหาร ๔ อย่างเหล่านี้ เพื่อความดำรงอยู่ของหมู่
    สัตว์ผู้เกิดแล้ว หรือเพื่ออนุเคราะห์เหล่าสัตว์ผู้แสวงหาที่เกิด อาหาร ๔ อย่างเป็นไฉน? คือ
    ๑ อาหาร คือ คำข้าว หยาบหรือละเอียด
    ๒ อาหาร คือ ผัสสะ
    ๓ อาหาร คือ ความคิดอ่าน [จงใจ]
    ๔ อาหาร คือ วิญญาณ [ความรู้แจ้งทางทวาร ๖]
    เหตุเกิดแห่งอาหารย่อมมีเพราะตัณหาเป็นเหตุให้เกิด ความดับอาหารย่อมมีเพราะตัณหา
    ดับ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ ความเห็นชอบ ดำริชอบ เจรจาชอบ การงานชอบ
    เลี้ยงชีพชอบ พยายามชอบ ระลึกชอบ ตั้งใจชอบ ชื่อว่าทางที่จะให้ถึงความดับอาหาร ดูกรท่าน
    ผู้มีอายุ เมื่อใด อริยสาวกรู้ชัดซึ่งอาหาร เหตุเกิดแห่งอาหาร ความดับอาหาร ทางที่จะให้ถึง
    ความดับอาหารอย่างนี้ๆ เมื่อนั้น ท่านละราคานุสัย บรรเทาปฏิฆานุสัย ถอนทิฏฐานุสัย และ
    มานานุสัย ว่าเรามีอยู่ โดยประการทั้งปวง ละอวิชชา ยังวิชชาให้เกิด ย่อมกระทำที่สุดแห่งทุกข์
    ในปัจจุบันนี้เทียว แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นดำเนินไป
    ตรงแล้ว ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้.
    [๑๑๔] ภิกษุเหล่านั้น ชื่นชม อนุโมทนาภาษิตของท่านพระสารีบุตรว่า สาธุ ท่านผู้มีอายุ
    แล้วได้ถามปัญหากะท่านพระสารีบุตรต่อไปว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือ ปริยายแม้อย่างอื่น
    อริยสาวก ... มาสู่พระสัทธรรมนี้.


    <CENTER>สัจจวาร
    </CENTER>[๑๑๕] ท่านพระสารีบุตรตอบว่า พึงมีอยู่ ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดอริยสาวกรู้ชัดซึ่งทุกข์
    ทุกขสมุทัย ทุกขนิโรธ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็น
    สัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้ ก็ทุกข์เป็นไฉน? ได้แก่ ความเกิด ความแก่ ความตาย ความ
    แห้งใจ ความพิไรรำพัน ความไม่สบายกาย ความเสียใจ ความคับแค้นใจ ความประจวบกับ
    สิ่งไม่เป็นที่รัก ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รัก ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สมหวัง แต่ละอย่างๆ ล้วน
    เป็นทุกข์ โดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นทุกข์ อันนี้เรียกว่า ความทุกข์ ก็ทุกขสมุทัยเป็นไฉน?
    ได้แก่ ตัณหาอันทำให้เกิดในภพใหม่ ประกอบด้วยความกำหนัด ด้วยสามารถแห่งความเพลิน
    เพลิดเพลินยิ่งในอารมณ์นั้นๆ คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา อันนี้เรียกว่า ทุกขสมุทัย
    ทุกขนิโรธเป็นไฉน? ได้แก่ความดับด้วยสามารถแห่งความสำรอกโดยไม่เหลือ ความสละ ความ
    วาง ความปล่อย ความไม่พัวพัน แห่งตัณหานั้นแหละ อันนี้เรียกว่า ทุกขนิโรธ ทุกขนิโรธ-
    *คามินีปฏิปทาเป็นไฉน? ได้แก่ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ ความเห็นชอบ ...
    ความตั้งใจชอบ อันนี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ดูกรผู้มีอายุ เมื่อใด อริยสาวกรู้ชัดซึ่งทุกข์
    ทุกขสมุทัย ทุกขนิโรธ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอย่างนี้ๆ เมื่อนั้น ท่านละราคานุสัย ... แม้ด้วยเหตุ
    เพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นดำเนินไปตรงแล้ว ประกอบด้วยความ
    เลื่อมใสอันแน่วแน่ในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้.


    <CENTER>ชรามรณวาร
    </CENTER>[๑๑๖] ภิกษุเหล่านั้น ชื่นชม อนุโมทนาภาษิตของท่านพระสารีบุตรว่า สาธุ ท่านผู้มีอายุ
    แล้วได้ถามปัญหากะท่านพระสารีบุตรต่อไปว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือ ปริยายแม้อย่างอื่น
    อริยสาวก ... มาสู่พระสัทธรรมนี้.
    [๑๑๗] ท่านพระสารีบุตรตอบว่า พึงมีอยู่ ท่านผู้มีอายุ เมื่อใด อริยสาวกรู้ชัดซึ่งชรา
    และมรณะ เหตุเกิดแห่งชราและมรณะ ความดับชราและมรณะ และทางที่จะให้ถึงความดับชรา
    และมรณะ แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้ ก็ชรา
    และมรณะ เหตุเกิดแห่งชราและมรณะ ความดับชราและมรณะ ทางที่จะให้ถึงความดับชราและ
    มรณะ เป็นไฉน? ได้แก่ความแก่ ความคร่ำคร่า ฟันหลุด ผมหงอก หนังย่น ความเสื่อมแห่ง
    อายุ ความแก่หง่อมแห่งอินทรีย์ ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ อันนี้เรียกว่าชรา ความจุติ
    ความเคลื่อนไป ความแตกทำลาย ความหายไป มฤตยู ความตาย ความทำกาละ ความแตก
    แห่งขันธ์ ความทิ้งซากศพไว้ ความขาดไปแห่งชีวิตินทรีย์จากหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ
    อันนี้เรียกว่ามรณะ ชราและมรณะ ดังพรรณนามาฉะนี้ เรียกว่า ชราและมรณะ เหตุเกิดแห่งชรา
    และมรณะ ย่อมมีเพราะชาติเป็นเหตุให้เกิด ความดับชราและมรณะ ย่อมมีเพราะชาติดับ
    อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ ความเห็นชอบ ... ความตั้งใจชอบ ชื่อว่าปฏิปทาที่จะให้
    ถึงความดับชราและมรณะ ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งชราและมรณะ เหตุเกิด
    แห่งชราและมรณะ ความดับชราและมรณะ และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับแห่งชราและมรณะ
    อย่างนี้ๆ เมื่อนั้น ท่านละราคานุสัย ฯลฯ แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ
    มีความเห็นดำเนินไปตรงแล้ว ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้.


    <CENTER>ชาติวาร
    </CENTER>[๑๑๘] ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือ ปริยายแม้อย่างอื่น ท่านพระสารีบุตรตอบว่า
    พึงมี ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งชาติ เหตุเกิดแห่งชาติ ความดับชาติ และ
    ปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับชาติ แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่
    พระสัทธรรมนี้ ก็ชาติ เหตุเกิดแห่งชาติ ความดับชาติ ปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับชาติ เป็นไฉน?
    ความเกิด ความบังเกิด ความหยั่งลง เกิด เกิดเฉพาะ ความปรากฏแห่งขันธ์ ความได้อายตนะ
    ครบ ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ อันนี้เรียกว่า ชาติ เหตุเกิดแห่งชาติย่อมมีเพราะภพ
    เป็นเหตุให้เกิด ความดับชาติย่อมมี เพราะภพดับ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ
    ความเห็นชอบ ... ความตั้งใจชอบ ชื่อว่าปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับชาติ ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล
    อริยสาวกรู้ชัดซึ่งชาติ เหตุเกิดแห่งชาติ ความดับชาติและปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับชาติอย่างนี้ๆ
    เมื่อนั้น ท่านละราคานุสัย ... แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระ-
    *สัทธรรมนี้


    <CENTER>ภวาทิวาร
    </CENTER>[๑๑๙] ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือ ปริยายแม้อย่างอื่น ... ท่านพระสารีบุตรตอบว่า
    พึงมี ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งภพ เหตุเกิดแห่งภพ ความดับภพ และปฏิปทา
    ที่จะให้ถึงความดับภพ แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้
    ก็ภพ เหตุเกิดแห่งภพ ความดับภพ และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับภพ เป็นไฉน? ได้แก่ ภพ ๓
    เหล่านี้ คือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ เหตุเกิดแห่งภพ ย่อมมีเพราะอุปาทานเป็นเหตุให้เกิด
    ความดับภพ ย่อมมีเพราะอุปาทานดับ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ ความเห็นชอบ ...
    ความตั้งใจชอบ ชื่อว่าปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับภพ ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัด
    ซึ่งภพ เหตุเกิดแห่งภพ ความดับภพ และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับภพอย่างนี้ๆ เมื่อนั้น ท่านละ
    ราคานุสัย ... แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้.
    [๑๒๐] ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือ ปริยายแม้อย่างอื่น ... ท่านพระสารีบุตรตอบว่า
    พึงมี ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งอุปทาน เหตุเกิดแห่งอุปทาน ความดับอุปทาน
    และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับอุปทาน แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ...
    มาสู่พระสัทธรรมนี้ ก็อุปาทาน เหตุเกิดแห่งอุปาทาน ความดับอุปาทาน และปฏิปทาที่จะให้ถึง
    ความดับอุปาทาน เป็นไฉน? ได้แก่ อุปาทาน ๔ คือ กามุปาทาน ทิฏฐุปาทาน สีลัพพัตตุปาทาน
    อัตตวาทุปาทาน เหตุเกิดแห่งอุปาทาน ย่อมมีเพราะตัณหาเป็นเหตุให้เกิด ความดับอุปาทาน
    ย่อมมีเพราะตัณหาดับ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ ความเห็นชอบ ... ความตั้งใจชอบ
    ชื่อว่าปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับอุปทาน ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งอุปาทาน
    เหตุเกิดแห่งอุปาทาน ความดับอุปาทาน และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับอุปาทานอย่างนี้ๆ เมื่อนั้น
    ท่านละราคานุสัย ... แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้.


    <CENTER>ตัณหาทิวาร
    </CENTER>[๑๒๑] ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือ ปริยายแม้อย่างอื่น ... ท่านพระสารีบุตรตอบว่า
    พึงมี ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งตัณหา เหตุเกิดแห่งตัณหา ความดับแห่งตัณหา
    และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับตัณหา แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ...
    มาสู่พระสัทธรรมนี้ ก็ตัณหา เหตุเกิดแห่งตัณหา ความดับตัณหา และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับ
    ตัณหาเป็นไฉน? ได้แก่ ตัณหา ๖ หมวดเหล่านี้ คือ ตัณหาในรูป ตัณหาในเสียง ตัณหาในกลิ่น
    ตัณหาในรส ตัณหาในโผฏฐัพพะ ตัณหาในธรรม เหตุเกิดแห่งตัณหา ย่อมมีเพราะเวทนาเป็น
    เหตุให้เกิด ความดับตัณหา ย่อมมีเพราะเวทนาดับ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ
    ความเห็นชอบ ... ความตั้งใจชอบ ชื่อว่าปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับตัณหา ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล
    อริยสาวกรู้ชัดซึ่งตัณหา เหตุเกิดแห่งตัณหา ความดับตัณหา และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับตัณหา
    อย่างนี้ๆ เมื่อนั้น ท่านละราคานุสัย ... แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ...
    มาสู่พระสัทธรรมนี้.
     
  5. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    ต่อครับ

    http://84000.org/tipitaka/pitaka_ite...53&pagebreak=0

    บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ

    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔
    มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์


    [๑๒๒] ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือ ปริยายแม้อย่างอื่น ... ท่านพระสารีบุตรตอบว่า
    พึงมี ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งเวทนา เหตุเกิดแห่งเวทนา ความดับเวทนา และ
    ปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับเวทนา แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่
    พระสัทธรรมนี้ ก็เวทนา เหตุเกิดแห่งเวทนา ความดับเวทนา และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับ
    เวทนา เป็นไฉน? ได้แก่เวทนา ๖ หมวดเหล่านี้ คือ เวทนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส เวทนาที่เกิดแต่
    โสตสัมผัส เวทนาที่เกิดแต่ฆานสัมผัส เวทนาที่เกิดแต่ชิวหาสัมผัส เวทนาที่เกิดแต่กายสัมผัส
    เวทนาที่เกิดแต่มโนสัมผัส เหตุเกิดเวทนา ย่อมมีเพราะผัสสะเป็นเหตุให้เกิด ความดับเวทนา
    ย่อมมีเพราะผัสสะดับ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือความเห็นชอบ ... ความตั้งใจชอบ
    ชื่อว่าปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับเวทนา ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งเวทนา เหตุ-
    *เกิดแห่งเวทนา ความดับเวทนา และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับเวทนาอย่างนี้ๆ เมื่อนั้น ท่าน
    ละราคานุสัย ... แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้.
    [๑๒๓] ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือ ปริยายแม้อย่างอื่น ... ท่านพระสารีบุตรตอบว่า
    พึงมี ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งผัสสะ เหตุเกิดแห่งผัสสะ ความดับผัสสะ และ
    ปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับผัสสะ แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่
    พระสัทธรรมนี้. ก็ผัสสะ เหตุเกิดแห่งผัสสะ ความดับผัสสะ และทางที่จะให้ถึงความดับผัสสะ
    เป็นไฉน? ได้แก่ ผัสสะ ๖ หมวด คือ จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส
    กายสัมผัส มโนสัมผัส เหตุเกิดแห่งผัสสะ ย่อมมีเพราะอายนะ ๖ เป็นเหตุให้เกิด ความดับผัสสะ
    ย่อมมีเพราะผัสสะดับ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือความเห็นชอบ ... ความตั้งใจชอบ
    ชื่อว่าปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับผัสสะ ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งผัสสะ
    เหตุเกิดแห่งผัสสะ ความดับผัสสะ และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับผัสสะอย่างนี้ๆ เมื่อนั้น ท่าน
    ละราคานุสัย ... แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้.
    [๑๒๔] ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือ ปริยายแม้อย่างอื่น ... ท่านพระสารีบุตรตอบว่า
    พึงมี ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งอายตนะ ๖ เหตุเกิดแห่งอายตนะ ๖ ความดับ
    แห่งอายตนะ ๖ และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับอายตนะ ๖ แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่า
    เป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้ ก็อายตนะ ๖ เหตุเกิดแห่งอายนะ ๖ ความดับอายตนะ ๖
    และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับอายตนะ ๖ เป็นไฉน? ได้แก่ อายตนะ ๖ เหล่านี้ คือ ตา หู จมูก
    ลิ้น กาย ใจ เหตุเกิดแห่งอายตนะ ๖ ย่อมมีเพราะนามรูปเป็นเหตุให้เกิด ความดับอายตนะ ๖ ย่อมมี
    เพราะนามรูปดับ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ ความเห็นชอบ ... ความตั้งใจชอบ
    ชื่อว่าปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับอายตนะ ๖ ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งอายตนะ ๖
    เหตุเกิดอายตนะ ๖ ความดับอายตนะ ๖ และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับอายตนะ ๖ อย่างนี้ๆ
    เมื่อนั้น ท่านละราคานุสัย ... แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระ-
    *สัทธรรมนี้.


    <CENTER>นามรูปาทิวาร
    </CENTER>[๑๒๕] ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือ ปริยายแม้อย่างอื่น ... ท่านพระสารีบุตรตอบว่า
    พึงมี ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งนามรูป เหตุเกิดแห่งนามรูป ความดับนามรูป
    และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับนามรูป แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ...
    มาสู่พระสัทธรรมนี้ ก็นามรูป เหตุเกิดแห่งนามรูป ความดับนามรูป และปฏิปทาที่จะให้ถึงความ
    ดับนามรูป เป็นไฉน? เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ อันนี้เรียกว่า นาม มหาภูต-
    *รูป ๔ และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ อันนี้เรียกว่ารูป นามและรูปดังพรรณนามาฉะนี้ เรียกว่า นามรูป
    เหตุเกิดแห่งนามรูป ย่อมมีเพราะวิญญาณเป็นเหตุให้เกิด ความดับนามรูป ย่อมมีเพราะวิญญาณ
    ดับ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือความเห็นชอบ ... ความตั้งใจชอบ ชื่อว่าปฏิปทา
    ที่จะให้ถึงความดับนามรูป ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งนามรูป เหตุเกิดแห่ง
    นามรูป ความดับนามรูป และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับนามรูปอย่างนี้ๆ เมื่อนั้น ท่านละราคา-
    *นุสัย ... แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้.
    [๑๒๖] ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือ ปริยายแม้อย่างอื่น ... ท่านพระสารีบุตรตอบว่า
    พึงมี ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งวิญญาณ เหตุเกิดแห่งวิญญาณ ความดับวิญญาณ
    และทางที่จะให้ถึงความดับวิญญาณ แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่
    พระสัทธรรมนี้ ก็วิญญาณ เหตุเกิดแห่งวิญญาณ ความดับวิญญาณ ปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับวิญญาณ
    เป็นไฉน? ได้แก่ วิญญาณ ๖ หมวดเหล่านี้ คือ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ
    ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ เหตุเกิดแห่งวิญญาณ ย่อมมีเพราะสังขารเป็นเหตุ
    ให้เกิด ความดับวิญญาณ ย่อมมีเพราะสังขารดับ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ
    ความเห็นชอบ ... ความตั้งใจชอบ ชื่อว่าปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับวิญญาณ ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใด
    แล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งวิญญาณ เหตุเกิดแห่งวิญญาณ ความดับวิญญาณ ปฏิปทาที่จะให้ถึงความ
    ดับวิญญาณ อย่างนี้ๆ เมื่อนั้น ท่านละราคานุสัย ... แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็น
    สัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้.


    <CENTER>สังขารวาร
    </CENTER>[๑๒๗] ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือ ปริยายแม้อย่างอื่น ... ท่านพระสารีบุตรตอบว่า
    พึงมี ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งสังขาร เหตุเกิดแห่งสังขาร ความดับสังขาร และ
    ปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับสังขาร แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่
    พระสัทธรรมนี้ ก็สังขาร เหตุเกิดแห่งสังขาร ความดับสังขาร ทางที่จะให้ถึงความดับสังขาร
    เป็นไฉน? ได้แก่ สังขาร ๓ เหล่านี้ คือ กายสังขาร วจีสังขาร จิตตสังขาร เหตุเกิดแห่งสังขาร
    ย่อมมีเพราะอวิชชาเป็นเหตุให้เกิด ความดับสังขาร ย่อมมีเพราะอวิชชาดับ อริยมรรคประกอบ
    ด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ ความเห็นชอบ ... ความตั้งใจชอบ ชื่อว่าทางที่จะให้ถึงความดับสังขาร
    ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ขัดซึ่งสังขาร เหตุเกิดแห่งสังขาร ความดับสังขาร ปฏิปทา
    ที่จะให้ถึงความดับสังขารอย่างนี้ๆ เมื่อนั้น ท่านละราคานุสัย ... แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวก
    ชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้.


    <CENTER>อวิชชาวาร
    </CENTER>[๑๒๘] ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือ ปริยายแม้อย่างอื่น ... ท่านพระสารีบุตรตอบว่า
    พึงมี ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งอวิชชา เหตุเกิดแห่งอวิชชา ความดับอวิชชา
    และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับอวิชชา แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ...
    มาสู่พระสัทธรรมนี้ ก็อวิชชา เหตุเกิดแห่งอวิชชา ความดับอวิชชา และปฏิปทาที่จะให้ถึงความ
    ดับอวิชชา เป็นไฉน? ความไม่รู้ในทุกข์ ในเหตุเกิดแห่งทุกข์ ในความดับทุกข์ ในปฏิปทาที่จะให้ถึง
    ความดับทุกข์ อันนี้เรียกว่าอวิชชา เหตุเกิดแห่งอวิชชา ย่อมมีเพราะอาสวะเป็นเหตุให้เกิด
    ความดับอวิชชา ย่อมมีเพราะอาสวะดับ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือความเห็นชอบ
    ความตั้งใจชอบ ชื่อว่าปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับอวิชชา ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวก
    รู้ชัดซึ่งอวิชชา เหตุเกิดแห่งอวิชชา ความดับอวิชชา ทางที่จะให้ถึงความดับอวิชชาอย่างนี้ๆ เมื่อ
    นั้น ท่านละราคานุสัย ... แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นดำเนิน
    ไปตรงแล้ว ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้.
    [๑๒๙] ภิกษุเหล่านั้น ชื่นชม อนุโมทนาภาษิตของท่านพระสารีบุตรว่า สาธุ ท่านผู้มีอายุ
    แล้วได้ถามปัญหากะท่านพระสารีบุตรต่อไปว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือปริยายแม้อย่างอื่น
    ที่อริยสาวกซึ่งชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นดำเนินไปตรงแล้ว ประกอบด้วยความเลื่อมใส
    อันแน่วแน่ในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้.


    <CENTER>อาสววาร
    </CENTER>[๑๓๐] ท่านพระสารีบุตรตอบว่า พึงมี ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งอาสวะ
    อาสวสมุทัย อาสวนิโรธ อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่า
    เป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นดำเนินไปตรงแล้ว ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในธรรม
    มาสู่พระสัทธรรมนี้ ก็อาสวะ เหตุเกิดแห่งอาสวะ ความดับอาสวะ ทางที่จะให้ถึงความดับอาสวะ
    เป็นไฉน? ได้แก่ อาสวะ ๓ เหล่านี้ คือ กามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ เหตุเกิดแห่งอาสวะ
    ย่อมมีเพราะอวิชชาเป็นเหตุให้เกิด ความดับอาสวะ ย่อมมีเพราะอวิชชาดับ อริยมรรคประกอบ
    ด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ ความเห็นชอบ ดำริชอบ เจรจาชอบ การงานชอบ เลี้ยงชีพชอบ
    พยายามชอบ ระลึกชอบ ตั้งใจชอบ ชื่อว่าปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับอาสวะ ดูกรท่านผู้มีอายุ
    เมื่อใด อริยสาวกรู้ชัดซึ่งอาสวะ เหตุเกิดแห่งอาสวะ ความดับอาสวะ ปฏิปทาที่จะให้ถึงความ
    ดับอาสวะ อย่างนี้ๆ เมื่อนั้นท่านละราคานุสัย บรรเทาปฏิฆานุสัย ถอนทิฏฐานุสัย และ
    มานานุสัย โดยประการทั้งปวง ละอวิชชา ยังวิชชาให้เกิด ย่อมกระทำซึ่งที่สุดแห่งทุกข์ในปัจจุบัน
    เทียว แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นดำเนินไปตรงแล้ว
    ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้.
    ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวคำนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้น ชื่นชม ยินดีภาษิตของท่านพระสารี-
    *บุตรแล้วแล.


    <CENTER>จบ สัมมาทิฏฐิสูตร ที่ ๙
    </CENTER>ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็ ๖ บทที่กล่าวว่าเป็นไฉน ได้แก่ ทุกข์ ชรามรณะ อุปาทาน อายตนะ ๖
    นามรูป วิญญาณ ๔ บทที่กล่าวว่าเป็นไฉน ได้แก่ ชาติ ตัณหา เวทนา และหมวด ๔ แห่งอวิชชา ๕
    บทที่กล่าวว่าเป็นไฉน ได้แก่ อาหาร ภพ ผัสสะ สังขาร อาสวะเป็นที่ ๕ หกอย่างเป็นไฉน
    ข้าพเจ้าได้กล่าวแล้ว สี่อย่างเป็นไฉน ข้าพเจ้าได้กล่าวแล้ว ห้าอย่างเป็นไฉน ข้าพเจ้าได้กล่าวแล้ว
    บทแห่งสังขารทั้งปวง มี ๑๕ บท ฉะนี้แล.

    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ บรรทัดที่ ๑๕๑๘ - ๑๗๕๓. หน้าที่ ๖๓ - ๗๒.
    http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=12&A=1518&Z=1753&pagebreak=0
    ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
    http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=110
    สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒
    http://84000.org/tipitaka/read/?สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่_๑๒</U>
    http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/mean_reverse.php?text=12&Aindex=%CA%D2%C3%BA%D1%AD

    บันทึก ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖
    การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พระไตรปิฎก ฉบับสยามรัฐ.
    หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ DhammaPerfect@yahoo.com
    <!--BEGIN WEB STAT CODE----><SCRIPT language=javascript1.1>page="tipitaka-2. อ่านพระสูตร";</SCRIPT><SCRIPT language=javascript1.1 src="http://truehits1.gits.net.th/data/c0004100.js"></SCRIPT>

    .

    <CENTER></CENTER><CENTER></CENTER>
     
  6. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    http://th.wikisource.org/wiki/มูลปริยายวรรค_-_๙._สัมมาทิฏฐิสูตร

    มูลปริยายวรรค - ๙. สัมมาทิฏฐิสูตร

    จาก วิกิซอร์ซ


    ข้ามไปที่: นำทาง, ค้นหา
    <!-- start content -->มูลปริยายวรรค - ๙. สัมมาทิฏฐิสูตร
    [พระไตรปิฎก ฉบับธรรมทาน]

    <DL><DD>๙. สัมมาทิฏฐิสูตร </DD></DL><DL><DD>ว่าด้วยความเห็นชอบ </DD></DL><DL><DD>[๑๑๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้: </DD></DL><DL><DD>สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิก </DD></DL>เศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้น ท่านพระสารีบุตรเรียกภิกษุทั้งหลายแล้ว ภิกษุพวกนั้น
    รับคำท่านพระสารีบุตรแล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวคำนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ที่เรียกว่า
    สัมมาทิฏฐิๆ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ อริยสาวกจึงจะชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นดำเนินไป
    ตรงแล้ว ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้ พวกภิกษุกล่าวว่า
    ดูกรท่านผู้มีอายุ พวกกระผมมาจากที่ไกล ก็เพื่อจะรู้ทั่วถึงเนื้อความแห่งภาษิตนี้ ในสำนักของท่าน
    พระสารีบุตร ดังพวกกระผมขอโอกาส เนื้อความแห่งภาษิตนี้ จงแจ่มแจ้งกะท่านพระสารีบุตรเถิด
    ภิกษุทั้งหลายได้ฟังต่อท่านพระสารีบุตรแล้ว จักทรงจำไว้ ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ถ้าอย่างนั้น
    จงฟังเถิด ท่านผู้มีอายุ จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุพวกนั้นรับคำท่านพระสารีบุตรแล้ว.

    <DL><DD>[๑๑๑] ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวคำนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใดอริยสาวกรู้ชัดซึ่ง </DD></DL>อกุศลและรากเง่าอกุศล รู้ชัดซึ่งกุศลและรากเง่าของกุศล แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่า
    เป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นดำเนินไปตรงแล้วประกอบด้วยความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในธรรม มาสู่
    พระสัทธรรมนี้ ก็อกุศลเป็นไฉน? ได้แก่ ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ
    พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ อยากได้ของผู้อื่น ปองร้ายเขา เห็นผิด อันนี้เรียกว่า
    อกุศลแต่ละอย่างๆ รากเง่าของอกุศลเป็นไฉน? ได้แก่ โลภะ โทสะ โมหะ อันนี้เรียกว่ารากเง่า
    ของอกุศลแต่ละอย่างๆ กุศลเป็นไฉน? ได้แก่ ความเว้นจากฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิด
    ในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ ไม่อยากได้ของผู้อื่น ไม่ปองร้ายเขา
    เห็นชอบ อันนี้เรียกว่า กุศลแต่ละอย่างๆ รากเง่าของกุศลเป็นไฉน? ได้แก่ อโลภะ อโทสะ
    อโมหะ อันนี้เรียกว่า รากเง่าของกุศลแต่ละอย่างๆ ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใด อริยสาวกรู้ชัด
    ซึ่งอกุศลและรากเง่าของอกุศลอย่างนี้ๆ รู้ชัดซึ่งกุศลและรากเง่าของกุศลอย่างนี้ๆ เมื่อนั้น ท่านละ
    ราคานุสัย บรรเทาปฏิฆานุสัย ถอนทิฏฐานุสัย และมานานุสัยว่า เรามีอยู่โดยประการทั้งปวง
    ละอวิชชา ยังวิชชาให้เกิด ย่อมกระทำที่สุดแห่งทุกข์ในปัจจุบันนี้เทียว แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้
    อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นดำเนินไปตรงแล้ว ประกอบด้วยความเลื่อมใสอัน
    แน่วแน่ในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้

    <DL><DD>[๑๑๒] ภิกษุเหล่านั้นชื่นชม อนุโมทนาภาษิตของท่านพระสารีบุตรว่า สาธุ ท่านผู้มีอายุ </DD></DL>แล้วได้ถามปัญหากะท่านพระสารีบุตรต่อไปว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือปริยายแม้อย่างอื่น
    ที่อริยสาวกซึ่งชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นดำเนินไปตรงแล้ว ประกอบด้วยความเลื่อมใส
    อันแน่วแน่ในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้.

    <DL><DD>อาหารวาร </DD></DL><DL><DD>[๑๑๓] ท่านพระสารีบุตรตอบว่า พึงมีอยู่ ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดอริยสาวกรู้ชัดซึ่งอาหาร </DD></DL>เหตุเกิดแห่งอาหาร ความดับอาหาร และทางที่จะให้ถึงความดับอาหาร แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้
    อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้ ก็อาหาร เหตุเกิดแห่งอาหาร ความดับอาหาร
    ทางที่จะให้ถึงความดับอาหาร เป็นไฉน? ได้แก่อาหาร ๔ อย่างเหล่านี้ เพื่อความดำรงอยู่ของหมู่
    สัตว์ผู้เกิดแล้ว หรือเพื่ออนุเคราะห์เหล่าสัตว์ผู้แสวงหาที่เกิด อาหาร ๔ อย่างเป็นไฉน? คือ

    <DL><DD>๑ อาหาร คือ คำข้าว หยาบหรือละเอียด </DD></DL><DL><DD>๒ อาหาร คือ ผัสสะ </DD></DL><DL><DD>๓ อาหาร คือ ความคิดอ่าน [จงใจ] </DD></DL><DL><DD>๔ อาหาร คือ วิญญาณ [ความรู้แจ้งทางทวาร ๖] </DD></DL><DL><DD>เหตุเกิดแห่งอาหารย่อมมีเพราะตัณหาเป็นเหตุให้เกิด ความดับอาหารย่อมมีเพราะตัณหา </DD></DL>ดับ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ ความเห็นชอบ ดำริชอบ เจรจาชอบ การงานชอบ
    เลี้ยงชีพชอบ พยายามชอบ ระลึกชอบ ตั้งใจชอบ ชื่อว่าทางที่จะให้ถึงความดับอาหาร ดูกรท่าน
    ผู้มีอายุ เมื่อใด อริยสาวกรู้ชัดซึ่งอาหาร เหตุเกิดแห่งอาหาร ความดับอาหาร ทางที่จะให้ถึง
    ความดับอาหารอย่างนี้ๆ เมื่อนั้น ท่านละราคานุสัย บรรเทาปฏิฆานุสัย ถอนทิฏฐานุสัย และ
    มานานุสัย ว่าเรามีอยู่ โดยประการทั้งปวง ละอวิชชา ยังวิชชาให้เกิด ย่อมกระทำที่สุดแห่งทุกข์
    ในปัจจุบันนี้เทียว แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นดำเนินไป
    ตรงแล้ว ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้.

    <DL><DD>[๑๑๔] ภิกษุเหล่านั้น ชื่นชม อนุโมทนาภาษิตของท่านพระสารีบุตรว่า สาธุ ท่านผู้มีอายุ </DD></DL>แล้วได้ถามปัญหากะท่านพระสารีบุตรต่อไปว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือ ปริยายแม้อย่างอื่น
    อริยสาวก ... มาสู่พระสัทธรรมนี้.

    <DL><DD>สัจจวาร </DD></DL><DL><DD>[๑๑๕] ท่านพระสารีบุตรตอบว่า พึงมีอยู่ ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดอริยสาวกรู้ชัดซึ่งทุกข์ </DD></DL>ทุกขสมุทัย ทุกขนิโรธ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็น
    สัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้ ก็ทุกข์เป็นไฉน? ได้แก่ ความเกิด ความแก่ ความตาย ความ
    แห้งใจ ความพิไรรำพัน ความไม่สบายกาย ความเสียใจ ความคับแค้นใจ ความประจวบกับ
    สิ่งไม่เป็นที่รัก ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รัก ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สมหวัง แต่ละอย่างๆ ล้วน
    เป็นทุกข์ โดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นทุกข์ อันนี้เรียกว่า ความทุกข์ ก็ทุกขสมุทัยเป็นไฉน?
    ได้แก่ ตัณหาอันทำให้เกิดในภพใหม่ ประกอบด้วยความกำหนัด ด้วยสามารถแห่งความเพลิน
    เพลิดเพลินยิ่งในอารมณ์นั้นๆ คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา อันนี้เรียกว่า ทุกขสมุทัย
    ทุกขนิโรธเป็นไฉน? ได้แก่ความดับด้วยสามารถแห่งความสำรอกโดยไม่เหลือ ความสละ ความ
    วาง ความปล่อย ความไม่พัวพัน แห่งตัณหานั้นแหละ อันนี้เรียกว่า ทุกขนิโรธ ทุกขนิโรธ
    คามินีปฏิปทาเป็นไฉน? ได้แก่ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ ความเห็นชอบ ...
    ความตั้งใจชอบ อันนี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ดูกรผู้มีอายุ เมื่อใด อริยสาวกรู้ชัดซึ่งทุกข์
    ทุกขสมุทัย ทุกขนิโรธ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอย่างนี้ๆ เมื่อนั้น ท่านละราคานุสัย ... แม้ด้วยเหตุ
    เพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นดำเนินไปตรงแล้ว ประกอบด้วยความ
    เลื่อมใสอันแน่วแน่ในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้.

    <DL><DD>ชรามรณวาร </DD></DL><DL><DD>[๑๑๖] ภิกษุเหล่านั้น ชื่นชม อนุโมทนาภาษิตของท่านพระสารีบุตรว่า สาธุ ท่านผู้มีอายุ </DD></DL>แล้วได้ถามปัญหากะท่านพระสารีบุตรต่อไปว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือ ปริยายแม้อย่างอื่น
    อริยสาวก ... มาสู่พระสัทธรรมนี้.
     
  7. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    http://th.wikisource.org/wiki/มูลปริยายวรรค_-_๙._สัมมาทิฏฐิสูตร


    <DL><DD>[๑๑๗] ท่านพระสารีบุตรตอบว่า พึงมีอยู่ ท่านผู้มีอายุ เมื่อใด อริยสาวกรู้ชัดซึ่งชรา </DD></DL>และมรณะ เหตุเกิดแห่งชราและมรณะ ความดับชราและมรณะ และทางที่จะให้ถึงความดับชรา
    และมรณะ แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้ ก็ชรา
    และมรณะ เหตุเกิดแห่งชราและมรณะ ความดับชราและมรณะ ทางที่จะให้ถึงความดับชราและ
    มรณะ เป็นไฉน? ได้แก่ความแก่ ความคร่ำคร่า ฟันหลุด ผมหงอก หนังย่น ความเสื่อมแห่ง
    อายุ ความแก่หง่อมแห่งอินทรีย์ ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ อันนี้เรียกว่าชรา ความจุติ
    ความเคลื่อนไป ความแตกทำลาย ความหายไป มฤตยู ความตาย ความทำกาละ ความแตก
    แห่งขันธ์ ความทิ้งซากศพไว้ ความขาดไปแห่งชีวิตินทรีย์จากหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ
    อันนี้เรียกว่ามรณะ ชราและมรณะ ดังพรรณนามาฉะนี้ เรียกว่า ชราและมรณะ เหตุเกิดแห่งชรา
    และมรณะ ย่อมมีเพราะชาติเป็นเหตุให้เกิด ความดับชราและมรณะ ย่อมมีเพราะชาติดับ
    อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ ความเห็นชอบ ... ความตั้งใจชอบ ชื่อว่าปฏิปทาที่จะให้
    ถึงความดับชราและมรณะ ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งชราและมรณะ เหตุเกิด
    แห่งชราและมรณะ ความดับชราและมรณะ และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับแห่งชราและมรณะ
    อย่างนี้ๆ เมื่อนั้น ท่านละราคานุสัย ฯลฯ แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ
    มีความเห็นดำเนินไปตรงแล้ว ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้.

    <DL><DD>ชาติวาร </DD></DL><DL><DD>[๑๑๘] ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือ ปริยายแม้อย่างอื่น ท่านพระสารีบุตรตอบว่า </DD></DL>พึงมี ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งชาติ เหตุเกิดแห่งชาติ ความดับชาติ และ
    ปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับชาติ แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่
    พระสัทธรรมนี้ ก็ชาติ เหตุเกิดแห่งชาติ ความดับชาติ ปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับชาติ เป็นไฉน?
    ความเกิด ความบังเกิด ความหยั่งลง เกิด เกิดเฉพาะ ความปรากฏแห่งขันธ์ ความได้อายตนะ
    ครบ ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ อันนี้เรียกว่า ชาติ เหตุเกิดแห่งชาติย่อมมีเพราะภพ
    เป็นเหตุให้เกิด ความดับชาติย่อมมี เพราะภพดับ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ
    ความเห็นชอบ ... ความตั้งใจชอบ ชื่อว่าปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับชาติ ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล
    อริยสาวกรู้ชัดซึ่งชาติ เหตุเกิดแห่งชาติ ความดับชาติและปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับชาติอย่างนี้ๆ
    เมื่อนั้น ท่านละราคานุสัย ... แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระ
    สัทธรรมนี้

    <DL><DD>ภวาทิวาร </DD></DL><DL><DD>[๑๑๙] ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือ ปริยายแม้อย่างอื่น ... ท่านพระสารีบุตรตอบว่า </DD></DL>พึงมี ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งภพ เหตุเกิดแห่งภพ ความดับภพ และปฏิปทา
    ที่จะให้ถึงความดับภพ แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้
    ก็ภพ เหตุเกิดแห่งภพ ความดับภพ และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับภพ เป็นไฉน? ได้แก่ ภพ ๓
    เหล่านี้ คือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ เหตุเกิดแห่งภพ ย่อมมีเพราะอุปาทานเป็นเหตุให้เกิด
    ความดับภพ ย่อมมีเพราะอุปาทานดับ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ ความเห็นชอบ ...
    ความตั้งใจชอบ ชื่อว่าปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับภพ ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัด
    ซึ่งภพ เหตุเกิดแห่งภพ ความดับภพ และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับภพอย่างนี้ๆ เมื่อนั้น ท่านละ
    ราคานุสัย ... แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้.

    <DL><DD>[๑๒๐] ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือ ปริยายแม้อย่างอื่น ... ท่านพระสารีบุตรตอบว่า </DD></DL>พึงมี ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งอุปทาน เหตุเกิดแห่งอุปทาน ความดับอุปทาน
    และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับอุปทาน แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ...
    มาสู่พระสัทธรรมนี้ ก็อุปาทาน เหตุเกิดแห่งอุปาทาน ความดับอุปาทาน และปฏิปทาที่จะให้ถึง
    ความดับอุปาทาน เป็นไฉน? ได้แก่ อุปาทาน ๔ คือ กามุปาทาน ทิฏฐุปาทาน สีลัพพัตตุปาทาน
    อัตตวาทุปาทาน เหตุเกิดแห่งอุปาทาน ย่อมมีเพราะตัณหาเป็นเหตุให้เกิด ความดับอุปาทาน
    ย่อมมีเพราะตัณหาดับ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ ความเห็นชอบ ... ความตั้งใจชอบ
    ชื่อว่าปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับอุปทาน ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งอุปาทาน
    เหตุเกิดแห่งอุปาทาน ความดับอุปาทาน และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับอุปาทานอย่างนี้ๆ เมื่อนั้น
    ท่านละราคานุสัย ... แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้.

    <DL><DD>ตัณหาทิวาร </DD></DL><DL><DD>[๑๒๑] ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือ ปริยายแม้อย่างอื่น ... ท่านพระสารีบุตรตอบว่า </DD></DL>พึงมี ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งตัณหา เหตุเกิดแห่งตัณหา ความดับแห่งตัณหา
    และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับตัณหา แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ...
    มาสู่พระสัทธรรมนี้ ก็ตัณหา เหตุเกิดแห่งตัณหา ความดับตัณหา และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับ
    ตัณหาเป็นไฉน? ได้แก่ ตัณหา ๖ หมวดเหล่านี้ คือ ตัณหาในรูป ตัณหาในเสียง ตัณหาในกลิ่น
    ตัณหาในรส ตัณหาในโผฏฐัพพะ ตัณหาในธรรม เหตุเกิดแห่งตัณหา ย่อมมีเพราะเวทนาเป็น
    เหตุให้เกิด ความดับตัณหา ย่อมมีเพราะเวทนาดับ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ
    ความเห็นชอบ ... ความตั้งใจชอบ ชื่อว่าปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับตัณหา ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล
    อริยสาวกรู้ชัดซึ่งตัณหา เหตุเกิดแห่งตัณหา ความดับตัณหา และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับตัณหา
    อย่างนี้ๆ เมื่อนั้น ท่านละราคานุสัย ... แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ...
    มาสู่พระสัทธรรมนี้.

    <DL><DD>[๑๒๒] ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือ ปริยายแม้อย่างอื่น ... ท่านพระสารีบุตรตอบว่า </DD></DL>พึงมี ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งเวทนา เหตุเกิดแห่งเวทนา ความดับเวทนา และ
    ปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับเวทนา แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่
    พระสัทธรรมนี้ ก็เวทนา เหตุเกิดแห่งเวทนา ความดับเวทนา และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับ
    เวทนา เป็นไฉน? ได้แก่เวทนา ๖ หมวดเหล่านี้ คือ เวทนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัส เวทนาที่เกิดแต่
    โสตสัมผัส เวทนาที่เกิดแต่ฆานสัมผัส เวทนาที่เกิดแต่ชิวหาสัมผัส เวทนาที่เกิดแต่กายสัมผัส
    เวทนาที่เกิดแต่มโนสัมผัส เหตุเกิดเวทนา ย่อมมีเพราะผัสสะเป็นเหตุให้เกิด ความดับเวทนา
    ย่อมมีเพราะผัสสะดับ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือความเห็นชอบ ... ความตั้งใจชอบ
    ชื่อว่าปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับเวทนา ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งเวทนา เหตุ
    เกิดแห่งเวทนา ความดับเวทนา และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับเวทนาอย่างนี้ๆ เมื่อนั้น ท่าน
    ละราคานุสัย ... แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้.

    <DL><DD>[๑๒๓] ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือ ปริยายแม้อย่างอื่น ... ท่านพระสารีบุตรตอบว่า </DD></DL>พึงมี ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งผัสสะ เหตุเกิดแห่งผัสสะ ความดับผัสสะ และ
    ปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับผัสสะ แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่
    พระสัทธรรมนี้. ก็ผัสสะ เหตุเกิดแห่งผัสสะ ความดับผัสสะ และทางที่จะให้ถึงความดับผัสสะ
    เป็นไฉน? ได้แก่ ผัสสะ ๖ หมวด คือ จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส
    กายสัมผัส มโนสัมผัส เหตุเกิดแห่งผัสสะ ย่อมมีเพราะอายนะ ๖ เป็นเหตุให้เกิด ความดับผัสสะ
    ย่อมมีเพราะผัสสะดับ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือความเห็นชอบ ... ความตั้งใจชอบ
    ชื่อว่าปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับผัสสะ ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งผัสสะ
    เหตุเกิดแห่งผัสสะ ความดับผัสสะ และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับผัสสะอย่างนี้ๆ เมื่อนั้น ท่าน
    ละราคานุสัย ... แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้.

    <DL><DD>[๑๒๔] ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือ ปริยายแม้อย่างอื่น ... ท่านพระสารีบุตรตอบว่า </DD></DL>พึงมี ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งอายตนะ ๖ เหตุเกิดแห่งอายตนะ ๖ ความดับ
    แห่งอายตนะ ๖ และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับอายตนะ ๖ แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่า
    เป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้ ก็อายตนะ ๖ เหตุเกิดแห่งอายนะ ๖ ความดับอายตนะ ๖
    และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับอายตนะ ๖ เป็นไฉน? ได้แก่ อายตนะ ๖ เหล่านี้ คือ ตา หู จมูก
    ลิ้น กาย ใจ เหตุเกิดแห่งอายตนะ ๖ ย่อมมีเพราะนามรูปเป็นเหตุให้เกิด ความดับอายตนะ ๖ ย่อมมี
    เพราะนามรูปดับ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ ความเห็นชอบ ... ความตั้งใจชอบ
    ชื่อว่าปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับอายตนะ ๖ ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งอายตนะ ๖
    เหตุเกิดอายตนะ ๖ ความดับอายตนะ ๖ และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับอายตนะ ๖ อย่างนี้ๆ
    เมื่อนั้น ท่านละราคานุสัย ... แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระ
    สัทธรรมนี้.

    <DL><DD>นามรูปาทิวาร </DD></DL><DL><DD>[๑๒๕] ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือ ปริยายแม้อย่างอื่น ... ท่านพระสารีบุตรตอบว่า </DD></DL>พึงมี ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งนามรูป เหตุเกิดแห่งนามรูป ความดับนามรูป
    และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับนามรูป แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ...
    มาสู่พระสัทธรรมนี้ ก็นามรูป เหตุเกิดแห่งนามรูป ความดับนามรูป และปฏิปทาที่จะให้ถึงความ
    ดับนามรูป เป็นไฉน? เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ อันนี้เรียกว่า นาม มหาภูต
    รูป ๔ และรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ อันนี้เรียกว่ารูป นามและรูปดังพรรณนามาฉะนี้ เรียกว่า นามรูป
    เหตุเกิดแห่งนามรูป ย่อมมีเพราะวิญญาณเป็นเหตุให้เกิด ความดับนามรูป ย่อมมีเพราะวิญญาณ
    ดับ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือความเห็นชอบ ... ความตั้งใจชอบ ชื่อว่าปฏิปทา
    ที่จะให้ถึงความดับนามรูป ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งนามรูป เหตุเกิดแห่ง
    นามรูป ความดับนามรูป และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับนามรูปอย่างนี้ๆ เมื่อนั้น ท่านละราคา
    นุสัย ... แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้.

    <DL><DD>[๑๒๖] ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือ ปริยายแม้อย่างอื่น ... ท่านพระสารีบุตรตอบว่า </DD></DL>พึงมี ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งวิญญาณ เหตุเกิดแห่งวิญญาณ ความดับวิญญาณ
    และทางที่จะให้ถึงความดับวิญญาณ แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่
    พระสัทธรรมนี้ ก็วิญญาณ เหตุเกิดแห่งวิญญาณ ความดับวิญญาณ ปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับวิญญาณ
    เป็นไฉน? ได้แก่ วิญญาณ ๖ หมวดเหล่านี้ คือ จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ
    ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ เหตุเกิดแห่งวิญญาณ ย่อมมีเพราะสังขารเป็นเหตุ
    ให้เกิด ความดับวิญญาณ ย่อมมีเพราะสังขารดับ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ
    ความเห็นชอบ ... ความตั้งใจชอบ ชื่อว่าปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับวิญญาณ ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใด
    แล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งวิญญาณ เหตุเกิดแห่งวิญญาณ ความดับวิญญาณ ปฏิปทาที่จะให้ถึงความ
    ดับวิญญาณ อย่างนี้ๆ เมื่อนั้น ท่านละราคานุสัย ... แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็น
    สัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้.

    <DL><DD>สังขารวาร </DD></DL><DL><DD>[๑๒๗] ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือ ปริยายแม้อย่างอื่น ... ท่านพระสารีบุตรตอบว่า </DD></DL>พึงมี ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งสังขาร เหตุเกิดแห่งสังขาร ความดับสังขาร และ
    ปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับสังขาร แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่
    พระสัทธรรมนี้ ก็สังขาร เหตุเกิดแห่งสังขาร ความดับสังขาร ทางที่จะให้ถึงความดับสังขาร
    เป็นไฉน? ได้แก่ สังขาร ๓ เหล่านี้ คือ กายสังขาร วจีสังขาร จิตตสังขาร เหตุเกิดแห่งสังขาร
    ย่อมมีเพราะอวิชชาเป็นเหตุให้เกิด ความดับสังขาร ย่อมมีเพราะอวิชชาดับ อริยมรรคประกอบ
    ด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ ความเห็นชอบ ... ความตั้งใจชอบ ชื่อว่าทางที่จะให้ถึงความดับสังขาร
    ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ขัดซึ่งสังขาร เหตุเกิดแห่งสังขาร ความดับสังขาร ปฏิปทา
    ที่จะให้ถึงความดับสังขารอย่างนี้ๆ เมื่อนั้น ท่านละราคานุสัย ... แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวก
    ชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ... มาสู่พระสัทธรรมนี้.

    <DL><DD>อวิชชาวาร </DD></DL><DL><DD>[๑๒๘] ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือ ปริยายแม้อย่างอื่น ... ท่านพระสารีบุตรตอบว่า </DD></DL>พึงมี ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งอวิชชา เหตุเกิดแห่งอวิชชา ความดับอวิชชา
    และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับอวิชชา แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ ...
    มาสู่พระสัทธรรมนี้ ก็อวิชชา เหตุเกิดแห่งอวิชชา ความดับอวิชชา และปฏิปทาที่จะให้ถึงความ
    ดับอวิชชา เป็นไฉน? ความไม่รู้ในทุกข์ ในเหตุเกิดแห่งทุกข์ ในความดับทุกข์ ในปฏิปทาที่จะให้ถึง
    ความดับทุกข์ อันนี้เรียกว่าอวิชชา เหตุเกิดแห่งอวิชชา ย่อมมีเพราะอาสวะเป็นเหตุให้เกิด
    ความดับอวิชชา ย่อมมีเพราะอาสวะดับ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือความเห็นชอบ
    ความตั้งใจชอบ ชื่อว่าปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับอวิชชา ดูกรท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวก
    รู้ชัดซึ่งอวิชชา เหตุเกิดแห่งอวิชชา ความดับอวิชชา ทางที่จะให้ถึงความดับอวิชชาอย่างนี้ๆ เมื่อ
    นั้น ท่านละราคานุสัย ... แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นดำเนิน
    ไปตรงแล้ว ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้.

    <DL><DD>[๑๒๙] ภิกษุเหล่านั้น ชื่นชม อนุโมทนาภาษิตของท่านพระสารีบุตรว่า สาธุ ท่านผู้มีอายุ </DD></DL>แล้วได้ถามปัญหากะท่านพระสารีบุตรต่อไปว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ จะพึงมีอยู่หรือปริยายแม้อย่างอื่น
    ที่อริยสาวกซึ่งชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นดำเนินไปตรงแล้ว ประกอบด้วยความเลื่อมใส
    อันแน่วแน่ในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้.

    <DL><DD>อาสววาร </DD></DL><DL><DD>[๑๓๐] ท่านพระสารีบุตรตอบว่า พึงมี ท่านผู้มีอายุ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งอาสวะ </DD></DL>อาสวสมุทัย อาสวนิโรธ อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่า
    เป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นดำเนินไปตรงแล้ว ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในธรรม
    มาสู่พระสัทธรรมนี้ ก็อาสวะ เหตุเกิดแห่งอาสวะ ความดับอาสวะ ทางที่จะให้ถึงความดับอาสวะ
    เป็นไฉน? ได้แก่ อาสวะ ๓ เหล่านี้ คือ กามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ เหตุเกิดแห่งอาสวะ
    ย่อมมีเพราะอวิชชาเป็นเหตุให้เกิด ความดับอาสวะ ย่อมมีเพราะอวิชชาดับ อริยมรรคประกอบ
    ด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ ความเห็นชอบ ดำริชอบ เจรจาชอบ การงานชอบ เลี้ยงชีพชอบ
    พยายามชอบ ระลึกชอบ ตั้งใจชอบ ชื่อว่าปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับอาสวะ ดูกรท่านผู้มีอายุ
    เมื่อใด อริยสาวกรู้ชัดซึ่งอาสวะ เหตุเกิดแห่งอาสวะ ความดับอาสวะ ปฏิปทาที่จะให้ถึงความ
    ดับอาสวะ อย่างนี้ๆ เมื่อนั้นท่านละราคานุสัย บรรเทาปฏิฆานุสัย ถอนทิฏฐานุสัย และ
    มานานุสัย โดยประการทั้งปวง ละอวิชชา ยังวิชชาให้เกิด ย่อมกระทำซึ่งที่สุดแห่งทุกข์ในปัจจุบัน
    เทียว แม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นดำเนินไปตรงแล้ว
    ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในธรรม มาสู่พระสัทธรรมนี้.

    <DL><DD>ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวคำนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้น ชื่นชม ยินดีภาษิตของท่านพระสารี </DD></DL>บุตรแล้วแล.

    <DL><DD>จบ สัมมาทิฏฐิสูตร ที่ ๙ </DD></DL><DL><DD>ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็ ๖ บทที่กล่าวว่าเป็นไฉน ได้แก่ ทุกข์ ชรามรณะ อุปาทาน อายตนะ ๖ </DD></DL>นามรูป วิญญาณ ๔ บทที่กล่าวว่าเป็นไฉน ได้แก่ ชาติ ตัณหา เวทนา และหมวด ๔ แห่งอวิชชา ๕
    บทที่กล่าวว่าเป็นไฉน ได้แก่ อาหาร ภพ ผัสสะ สังขาร อาสวะเป็นที่ ๕ หกอย่างเป็นไฉน
    ข้าพเจ้าได้กล่าวแล้ว สี่อย่างเป็นไฉน ข้าพเจ้าได้กล่าวแล้ว ห้าอย่างเป็นไฉน ข้าพเจ้าได้กล่าวแล้ว
    บทแห่งสังขารทั้งปวง มี ๑๕ บท ฉะนี้แล.

    [แก้ไข] ดูเพิ่ม
    <!-- Pre-expand include size: 0/2048000 bytesPost-expand include size: 0/2048000 bytesTemplate argument size: 0/2048000 bytes#ifexist count: 0/500--><!-- Saved in parser cache with key thwikisource:pcache:idhash:3095-0!1!0!!th!2 and timestamp 20071222192458 -->รับข้อมูลจาก "http://th.wikisource.org/wiki/%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B8%A5%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%84_-_%E0%B9%99._%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B4%E0%B8%8F%E0%B8%90%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%95%E0%B8%A3"
    หมวดหมู่: มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ (๐๑) มูลปริยายวรรค
     
  8. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    http://th.wikisource.org/wiki/อรรถกถา_สัมมาทิฏฐิสูตร

    อรรถกถา สัมมาทิฏฐิสูตร


    <DL><DD>อรรถกถาสัมมาทิฏฐิสูตร </DD></DL><DL><DD>(๑๑๐) สัมมาทิฏฐิสูตรมีคำเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้. </DD></DL><DL><DD>พึงทราบวินิจฉัยในสัมมาทิฏฐิสูตรนั้น ดังต่อไปนี้ :- </DD></DL><DL><DD>คำถามที่พระเถระ ( สารีบุตร) กล่าวไว้อย่างนี้ว่า คุณ ที่เรียกว่า </DD></DL>สัมมาทิฏฐิ ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไรนะคุณ ? ดังนี้ หรือว่าอกุศลเป็น
    อย่างไรเล่าคุณ ? ดังนี้ทุกข้อ เป็นกเถตุกามยตาปุจฉา ( ถามเพื่อตอบ
    เอง ) เท่านั้นเอง.

    <DL><DD>เพราะว่าในคำถามเหล่านั้น คนทั้งหลายเข้าใจในสัมมาทิฏฐินั้นก็มี </DD></DL>ไม่เข้าใจก็มี เป็นคนนอกศาสนาก็มี ในศาสนาก็มี กล่าวว่า สัมมาทิฏฐิ
    ด้วยสามารถที่ได้ฟังตามกันมาเป็นต้นก็มี ด้วยได้ประจักษ์ด้วยตนเองมาก็มี
    ฉะนั้น ท่านพระสารีบุตร จึงได้กล่าวหมายเอาคำถามของตนส่วนมากนั้น
    ย้ำถึง ๒ ครั้งว่า คุณ ที่เรียกกันว่า สัมมาทิฏฐิ. . . อันที่จริงในเรื่องนี้
    มีอธิบายดังต่อไปนี้ ถึงอาจารย์เหล่าอื่นก็เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ.

    <DL><DD>ท่านพระสารีบุตร นี้นั้น เมื่อกล่าวอย่างนี้ ได้กล่าวว่า ด้วยเหตุ </DD></DL>เท่าไรนะคุณ อริยสาวกจึงชื่อว่า มีความเห็นถูกต้อง ดังนี้ หมายถึงความ
    หมายและลักษณะ (ของสัมมาทิฎฐิ).

    <DL><DD>แก้สัมมาทิฏฐิ </DD></DL><DL><DD>บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สมฺมาทิฏฺฐิ ความว่า ชื่อว่า เป็นผู้ </DD></DL>ประกอบด้วยความเห็นทั้งดีงามทั้งประเสริฐ.

    <DL><DD>ก็เมื่อใด ศัพท์ว่า สัมมาทิฏฐินี้ใช้ในธรรมะเท่านั้น เมื่อนั้นพึง </DD></DL>ทราบเนื้อความของศัพท์นั้นอย่างนี้ว่า ทิฏฐิทั้งดีงามทั้งประเสริฐ ชื่อว่า
    สัมมาทิฏฐิ. และสัมมาทิฏฐินี้นั้น มี ๒ อย่าง คือ โลกิยสัมมาทิฏฐิ ๑
    โลกุตตรสัมมาทิฏฐิ ๑.

    <DL><DD>ในจำนวนสัมมาทิฏฐิ ๒ อย่างนั้น กัมมัสสกตาญาณ (ปรีชาหยั่งรู้ </DD></DL>ว่า สัตว์มีกรรม เป็นของตน) และสัจจานุโลมิกญาณ (ปรีชาเป็นไป
    โดยสมควรแก่การกำหนดรู้อริยสัจ) ชื่อว่า โลกิยสัมมาทิฏฐิ. ส่วนปัญญา
    ที่สัมปยุตด้วยอริยมรรค อริยผล ชื่อว่า โลกุตตรสัมมาทิฏฐิ. แต่คนที่มี
    สัมมาทิฏฐิ มี ๓ ประเภท คือ ปุถุชน ๑ เสกขบุคคล (ผู้ต้องศึกษา) ๑
    อเสกขบุคคล (ผู้ไม่ต้องศึกษา) ๑.

    <DL><DD>ในจำนวน ๓ ประเภทนั้น ปุถุชนมี ๒ ประเภท คือ พาหิรกชน </DD></DL>(คนนอกศาสนา) ๑ ศาสนิกชน (คนในศาสนา) ๑ ในจำนวน ๒
    ประเภทนั้น พาหิรกปุถุชนผู้เป็นกรรมวาที (เชื่อถือกรรม) ชื่อว่า เป็น
    ผู้มีความเห็นถูกต้อง (เป็นสัมมาทิฏฐิกบุคคล) โดยความเห็นว่าสัตว์มี
    กรรมเป็นของตน ไม่ใช่โดยความเห็นขั้นสัจจานุโลมญาณ ส่วนศาสนิก-
    ปุถุชน ชื่อว่า มีความเห็นถูกต้อง (เป็นสัมมาทิฏฐิกบุคคล ) โดยความ
    เห็นทั้ง ๒ อย่าง (คือกัมมัสสกตาและอนุโลมญาณ เพราะยังลบคลำความ
    เห็นเรื่องอัตตาอยู่ ยังละสักกายทิฏฐิไม่ได้).

    <DL><DD>เสกขบุคคล ชื่อว่า มีความเห็นชอบ เพราะมีความเห็นชอบที่แน่ </DD></DL>นอน ส่วนอเสกขบุคคล ชื่อว่า มีความเห็นชอบ เพราะไม่ต้องศึกษา.

    <DL><DD>แต่ในที่นี้ประสงค์เอาผู้ประกอบด้วยสัมมาทิฏฐิที่เป็นโลกุตตรกุศล </DD></DL>ที่แน่นอน คือเป็นเครื่องนำสัตว์ออกจากทุกข์ว่า ผู้มีความเห็นชอบ.

    <DL><DD>เพราะเหตุนั้นเอง ท่านพระสารีบุตรจึงได้กล่าวไว้ว่า เป็นผู้ประ- </DD></DL>กอบด้วยความเลื่อมใสในธรรมไม่คลอนแคลน ได้มาสู่พระสัทธรรมนี้
    แล้ว.

    <DL><DD>อธิบายว่า สัมมาทิฏฐิที่เป็นโลกุตตรกุศลเท่านั้น เป็นความเห็นที่ </DD></DL>ตรง เพราะไปตามความตรงไม่ข้องแวะกับที่สุดทั้ง ๒ อย่าง หรือตัดขาด
    ความคดงอทุกอย่าง มีความคดงอทางกายเป็นต้นแล้วไปทรง และผู้
    ประกอบด้วยทิฏฐินั้นเอง ชื่อว่าเป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสไม่คลอน-
    แคลน คือด้วยความเลื่อมใสไม่หวั่นไหวในโลกุตตรธรรมทั้ง ๙ ประการ.
    อริยสาวกเมื่อคลายความยึดมั่นด้วยทิฏฐิทุกอย่าง ละกิเลสทั้งสิ้นได้ ออก
    ไปจากสงสารคือชาติ เสร็จสิ้นการปฏิบัติ ท่านเรียกว่า ผู้ได้มาสู่พระ
    สัทธรรม กล่าวคือพระนิพพาน ที่หยั่งลงสู่อมตธรรม ที่พระสัมมา-
    สัมพุทธเจ้าทรงประกาศแล้วด้วยอริยมรรค.

    <DL><DD>( ๑๑๑ ) คำว่า ยโต โข นี้เป็นคำกำหนดกาลเวลา มีอธิบายว่า </DD></DL>ในกาลใด.

    <DL><DD>ข้อว่า อกุสลมูลญฺจ ปชานาติ ความว่า รู้ชัดอกุศล กล่าวคือ </DD></DL>อกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ คือ เมื่อแทงตลอดว่า สิ่งนี้เป็นทุกข์ ด้วย
    สามารถแห่งกิจจญาณ ชื่อว่ารู้ชัดอกุศล เพราะความรู้ชัดที่มีนิโรธเป็น
    อารมณ์.

    <DL><DD>ข้อว่า อกุสลญฺจ ปชานาติ ความว่า รู้ชัดรากเหง้าของอกุศลที่ </DD></DL>เป็นรากเหง้า เป็นปัจจัยแห่งอกุศลนั้น คือ เมื่อแทงตลอดว่า นี้เป็นเหตุ
    ให้เกิดทุกข์โดยประการนั้นนั่นเอง ( ชื่อว่ารู้ชัดรากเหง้าของอกุศล ).

    <DL><DD>ถึงแม้ในคำนี้ว่า กุศล และรากเหง้าของกุศล ก็มีนัยนี้. </DD></DL><DL><DD>ในทุกวาระต่อจากวาระนี้ไป ก็เหมือนกับในวาระนี้ ควรทราบ </DD></DL>การรู้ชัดวัตถุ ด้วยสามารถแห่งกิจจญาณนั่นเอง.

    <DL><DD>บทว่า เอตฺตาวตาปิ ความว่า ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ คือแม้ด้วยการ </DD></DL>รู้ชัดอกุศลเป็นต้นนี้ .

    <DL><DD>บทว่า สมฺมาทิฏฺฐิ โหติ ความว่า เป็นผู้ประกอบด้วยโลกุตตร- </DD></DL>สัมมาทิฏฐิ มีประการดังกล่าวมาแล้ว.

    <DL><DD>ด้วยคำเพียงเท่านี้ว่า อริยสาวกนั้นมีความเห็นตรง ฯล ฯ ได้มาสู่ </DD></DL>พระสัทธรรมนี้แล้ว เป็นอันท่านพระสารีบุตร จบการแสดงโดยย่นย่อ
    ลงแล้ว. การแสดง ( ของท่าน ) นี้ ถึงจะย่นย่อ แต่ก็ควรทราบถึงการ
    แทงตลอดด้วยมนสิการโดยชอบ ด้วยสามารถแห่งความพิสดารอยู่นั่นเอง
    สำหรับภิกษุเหล่านั้น. ส่วนในทุติยวารถึงการแสดง (จะย่นย่อ) ก็ควร
    ทราบถึงการแทงตลอด ด้วยมนสิการโดยชอบอย่างพิสดารว่า ได้เป็นไป
    แล้วโดยพิสดารอยู่นั่นเอง.

    <DL><DD>ภิกษุทั้งหลายได้กล่าวกันว่า บรรดาการแสดงทั้ง ๒ อย่างนั้น ด้วย </DD></DL>การแสดงอย่างย่นย่อ ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวถึงมรรคเบื้องต่ำไว้ทั้ง ๒
    อย่าง ด้วยการแสดงอย่างพิสดาร ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวถึงมรรค
    เบื้องสูงไว้ ๒ อย่าง.

    <DL><DD>ในที่สุดแห่งการแสดงอย่างพิสดาร ภิกษุทั้งหลายเล็งเห็นคำ มีอาทิ </DD></DL>ว่า เพราะละราคานุสัยได้โดยประการทั้งปวง. แต่พระเถระได้กล่าวว่า
    มรรคทั้ง ๔ ได้กล่าวไว้แล้ว โดยเป็นหมวดด้วยการแสดงอย่างย่อก็มีด้วย
    การแสดงอย่างพิสดารก็มี.

    <DL><DD>อนึ่ง การแสดงทั้งโดยย่อทั้งโดยพิสดารนี้ใด เป็นการแสดงที่ข้าพเจ้า </DD></DL>ได้การทำการวิจารณ์ไว้โดยละเอียดแจ่มแจ้งแล้ว ในที่นี้การแสดงนั้น พึง
    ทราบตามนัยที่ได้กล่าวไว้แล้วในที่นี้ทุก ๆ วาระเทอญ. เพราะว่าต่อแต่นี้
    ไป ข้าพเจ้าจักทำเพียงการขยายความเฉพาะบทที่ยาก ที่ยังไม่ได้ ( อธิบาย)
    เท่านั้น.

    <DL><DD>พึงทราบวินิจฉัยในการแสดงโดยพิสดาร ซึ่งปฐมวารในจำนวน </DD></DL>วาระเหล่านั้นก่อน.

    <DL><DD>ในคำทั้งหลายมีอาทิว่า ปาณาติบาตนั้นแหละคุณ เป็นอกุศล. อกุศล </DD></DL>พึงทราบได้จากความเป็นไปโดยความไม่ฉลาด. อกุศลนั้นพึงทราบโดย
    (เป็นธรรม) ทรงกันข้ามกับกุศลที่จะต้องกล่าวข้างหน้า หรือโดยลักษณะ
    พึงทราบ (ว่าเป็น) สิ่งที่มีโทษและมีวิบากเป็นทุกข์ เป็นสิ่งที่เศร้าหมอง.
    นี้เป็นการขยายบททั่วไปในอกุศลวาระนี้ก่อน.

    <DL><DD>แก้ปาณาติบาต </DD></DL><DL><DD>ส่วนในบทเฉพาะ (ไม่ทั่วไป) พึงทราบวินิจฉัยว่า การยังสัตว์. </DD></DL>ที่มีชีวิตให้ตกล่วงไป ชื่อว่า ปาณาติบาต ได้แก่ การฆ่าสัตว์ที่มีชีวิต
    อธิบายว่า การทำลายสัตว์ที่มีชีวิต. ก็คำว่า ปาณะ ในคำว่า ปาณาติปาโต
    นี้ โดยโวหาร ได้แก่สัตว์ แต่โดยปรมัตถ์ ได้แก่ชีวิตินทรีย์

    <DL><DD>ส่วนเจตนาที่จะฆ่าของผู้มีความสำคัญในสัตว์มีชีวิตนั้นว่า เป็นสัตว์ </DD></DL>มีชีวิต อันเป็นสมุฏฐานแห่งความพยายามที่จะเข้าไปตัดชีวิตินทรีย์ ที่เป็น
    ไปทางกายทวาร หรือวจีทวาร ทวารใดทวารหนึ่ง ชื่อว่า ปาณาติบาต.

    <DL><DD>ปาณาติบาตนั้น พึงทราบว่า มีโทษน้อย ในเพราะสัตว์มีชีวิต </DD></DL>ตัวเล็ก ในจำนวนสัตว์มีชีวิตทั้งหลาย มีเดียรัจฉานเป็นต้นที่ปราศจากคุณ
    แต่พึงทราบว่ามีโทษมาก ในเพราะสัตว์มีชีวิตตัวใหญ่.

    <DL><DD>เพราะเหตุไร ? </DD></DL><DL><DD>เพราะมีประโยคใหญ่ (มีวิธีการมาก). </DD></DL><DL><DD>แม้เมื่อมีประโยคเสมอกัน ปาณาติบาตพึงทราบว่ามีโทษมาก เพราะ </DD></DL>วัตถุใหญ่ (ตัวใหญ่). ในจำพวกสัตว์ที่มีคุณมีมนุษย์เป็นต้น ในเพราะ.
    สัตว์มีคุณน้อย ปาณาติบาตก็พึงทราบว่ามีโทษน้อย ในเพราะสัตว์มีคุณ
    มาก ก็พึงทราบว่ามีโทษมาก. แต่เมื่อสรีระและคุณมีความเสมอกัน
    ปาณาติบาตพึงทราบว่ามีโทษน้อย เพราะกิเลสและความพยายามอ่อน พึง
    ทราบว่ามีโทษมาก เพราะกิเลสและความพยายามแรงกล้า.

    <DL><DD>ปาณาติบาตนั้นมีองค์ประกอบ ๕ คือ สัตว์มีชีวิต ๑ ความรู้ว่า </DD></DL>สัตว์มีชีวิต ๑ จิตคิดจะฆ่า ๑ ความพยายาม (ฆ่า) ๑ สัตว์ตายเพราะ
    ความพยายามนั้น ๑.

    <DL><DD>ประโยคแห่งการฆ่า มี ๖ คือ สาหัตถิกประโยค (ฆ่าด้วยมือของ </DD></DL>ตนเอง ) ๑ อาณัตติกประโยค ( ใช้ให้ผู้อื่นฆ่า) ๑ นิสสัคคิยประโยค
    (ฆ่าด้วยสาตราวุธที่พุ่งหรือปล่อยออกไป) ๑ ถาวรประโยค (ฆ่าด้วย
    เครื่องมือดักอยู่กับที่) ๑ วิชชามยประโยค (ฆ่าด้วยอำนาจวิชา) ๑
    อิทธิมยประโยค (ฆ่าด้วยฤทธิ์) ๑.

    <DL><DD>แต่ครั้นจะอธิบายประโยคนี้ให้พิสดารในปฐมวาระนี้ ก็จะยืดยาวไป </DD></DL>มาก เพราะฉะนั้น จะไม่ขออธิบายประโยคนั้นและอย่างอื่นที่เป็นแบบนี้
    ให้พิสดาร ส่วนผู้มีความต้องการ พึงตรวจดูสมันตปสาทิกาอรรถกถา
    พระวินัยเอาเถิด.

    <DL><DD>แก้อทินนาทาน </DD></DL><DL><DD>การถือเอาสิ่งของที่เขาไม่ได้ให้ ชื่อว่าอทินนาทาน การลักของ ๆ </DD></DL>ผู้อื่น ชื่อว่าเถยยะ อธิบายว่า เป็นกิริยาของโจร.

    <DL><DD>บทว่า อทินฺนํ ได้แก่ของที่ผู้อื่นหวงแหนซึ่งคนอื่น (เจ้าของ ) </DD></DL>เมื่อใช้ตามที่ต้องการ ก็ไม่ควรได้รับทัณฑ์และไม่ควรถูกตำหนิ.

    <DL><DD>ส่วนเจตนาที่จะลักของผู้มีความสำคัญในของที่ผู้อื่นหวงแหนนั้นว่า </DD></DL>เป็นของที่เขาหวงแหน อันเป็นสมุฏฐานแห่งความพยายามที่จะถือเอาสิ่ง
    ของที่เจ้าของไม่ได้ให้นั้น ชื่อว่า อทินนาทาน.

    <DL><DD>อทินนาทานนั้น มีโทษน้อย ในเพราะสิ่งของ ๆ ผู้อื่นที่เลว ชื่อว่า </DD></DL>มีโทษมาก ในเพราะสิ่งของของผู้อื่นประณีต.

    <DL><DD>เพราะเหตุไร ? </DD></DL><DL><DD>เพราะว่าเป็นสิ่งของประณีต. </DD></DL><DL><DD>เมื่อมีความเสมอกันแห่งวัตถุ ชื่อว่ามีโทษมาก ในเพราะสิ่งของ </DD></DL>ที่มีอยู่ของผู้มีคุณยิ่ง. อทินนาทานนั้น ชื่อว่ามีโทษน้อย ในเพราะสิ่งของ
    ที่มีอยู่ของผู้มีคุณต่ำกว่านั้น เพราะเปรียบเทียบกับผู้มีคุณยิ่งนั้น.
     
  9. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    http://th.wikisource.org/wiki/อรรถกถา_สัมมาทิฏฐิสูตร


    <DL><DD>อทินนาทานนั้น มีองค์ประกอบ ๕ ประการ คือของที่คนอื่นหวง </DD></DL>แหน ๑ ความรู้ว่าเป็นของที่คนอื่นหวงแหน ๑ จิตคิดจะลัก ๑ ความ
    พยายาม (จะลัก) ๑ ลักของได้มาด้วยความพยายามนั้น ๑.

    <DL><DD>ก็ประโยค ( การประกอบอทินนาทาน) มี ๖ อย่าง มีสาหัตถิก- </DD></DL>ประโยค เป็นต้น. ก็ประโยคเหล่านั้นแลเป็นไปแล้ว ด้วยสามารถแห่ง
    อวหาร ( การลัก ) เหล่านี้ คือ เถยยาวหาร ( ลักโดยการขโมย ) ๑
    ปสัยหาวหาร (ลักโดยการกรรโชก) ๑ ปฏิจฉันนาวหาร (ลักโดยการ
    ปิดช่องสิ่งของ) ๑ ปริกัปปาวหาร (ลักโดยการกำหนดสิ่งของหรือเวลา)
    ๑ กุสาวหาร (ลักโดยการสับเปลี่ยน) ๑ ข้อความดังที่กล่าวมาแล้วนี้
    เป็นข้อความสังเขปในอวหารนี้. ส่วนความพิสดารได้กล่าวไว้แล้วใน
    อรรถกถาชื่อสมันตปาสาทิกา.

    <DL><DD>แก้กาเมสุมิจฉาจาร </DD></DL><DL><DD>ก็บทว่า กาเมสุ ในข้อว่า กาเมสุมิจฺฉาจาโร นี้ ได้แก่ เมถุน- </DD></DL>สมาจาร. ความประพฤติลามกที่บัณฑิตตำหนิโดยส่วนเดียว ชื่อว่า
    มิจฉาจาร.

    <DL><DD>แต่โดยลักษณะเจตนาที่ล่วงเกินอคมนียฐาน (คนที่ต้องห้าม) ที่เป็น </DD></DL>ไปทางกายทวาร ด้วยความประสงค์ต่ออสัทธรรม ชื่อว่า กาเมสุมิจฉาจาร.

    <DL><DD>ก่อนอื่น (หญิง) ที่ชื่อว่าเป็นอคมนียฐาน (หญิงที่ต้องห้าม) </DD></DL>สำหรับผู้ชายในกาเมสุมิจฉาจารนี้ ได้แก่หญิง ๒. จำพวก คือ หญิงที่มี
    มารดารักษาเป็นต้น.

    <DL><DD>หญิง ๑๐ จำพวก คือ หญิงที่มารดารักษา ๑ ที่บิดารักษา ๑ ที่ตั้ง </DD></DL>มารดาและบิดารักษา ๑ ที่พี่ชายน้องชายรักษา ๑ ที่ญาติรักษา ๑ ที่
    โคตรรักษา ๑ ที่ธรรมรักษา ๑ ที่มีการอารักขา ๑ ที่มีอาชญารอบด้าน
    (อยู่ในกฎมณเฑียรบาล) ๑.

    <DL><DD>และหญิงอีก ๑๐ จำพวก มีหญิงที่ไถ่มาด้วยทรัพย์เป็นต้นเหล่านี้ </DD></DL>คือ ภรรยาที่ซื้อมาด้วยทรัพย์ ( ภรรยาสินไถ่) ๑ ที่อยู่ด้วยกันเพราะความ
    พอใจ ๑ ที่อยู่ด้วยก้นเพราะโภคะ ๑ ที่อยู่ด้วยกันเพราะเครื่องนุ่งห่ม ๑
    ที่ผู้ปกครองเต็มใจยกให้ ๑ ที่ชายยกเทริดลงจากศีรษะ ๑ ที่เป็นทั้งภรรยา
    เป็นทั้งทาส ๑ ที่เป็นทั้งภรรยาเป็นทั้งลูกจ้าง ๑ ที่เป็นเชลยศึก ๑ ที่อยู่
    ด้วยกันเพียงครู่เดียว ๑.

    <DL><DD>ส่วนชายอื่น นอกจากสามีของคน ชื่อว่าเป็นอคมนียฐาน (ชาย </DD></DL>ต้องห้าม) สำหรับหญิง ๑๒ จำพวก คือ ๒ จำพวกสำหรับหญิงมีอารักขา
    และหญิงมีอาชญารอบด้าน และ ๑๐ จำพวกสำหรับภรรยาที่ไถ่มาด้วย
    ทรัพย์เป็นต้น ในจำนวนหญิงทั้งหลาย ( ๑๐ จำพวก) สำหรับภรรยา.

    <DL><DD>อนึ่ง มิจฉาจารนี้นั้น ชื่อว่ามีโทษน้อย ในเพราะอคมนียฐาน </DD></DL>(ผู้ต้องห้าม) ปราศจากคุณธรรม มีศีลเป็นต้น ชื่อว่ามีโทษมาก เพราะ
    ถึงพร้อมด้วยคุณธรรม มีศีลธรรมเป็นต้น.

    <DL><DD>กาเมสุมิจฉาจารนั้น มีองค์ประกอบ ๔ อย่าง คือ เป็นบุคคลต้อง </DD></DL>ห้าม ๑ จิตคิดจะเสพในบุคคลต้องห้ามนั้น ๑ การประกอบการเสพ ๑
    การยังมรรคให้ดำเนินไปในมรรคหรือหยุดอยู่ ๑ ประโยคมีอย่างเดียว คือ
    สาหัตถิกประโยคเท่านั้น.

    <DL><DD>แก้มุสาวาท </DD></DL><DL><DD>กายประโยคหรือวจีประโยค ที่หักรานประโยชน์ (ผู้อื่น) ของผู้ </DD></DL>มุ่งจะพูดให้ผิด ชื่อว่า มุสา. เจตนาของผู้พูดให้ผิดต่อผู้อื่น ด้วยประสงค์
    จะให้เข้าใจผิด มีกายประโยคและวจีประโยคเป็นสมุฏฐาน ชื่อว่า มุสาวาท.

    <DL><DD>อีกนัยหนึ่ง เรื่องไม่จริง ไม่แท้ ชื่อว่า มุสา (เรื่องเท็จ ). การ </DD></DL>ให้ (ผู้อื่น) เข้าใจเรื่องเท็จนั้น ว่าเป็นเรื่องจริง เรื่องแท้ ชื่อว่า วาทะ
    (การพูด) แต่โดยลักษณะ เจตนาของผู้ประสงค์จะให้ผู้อื่นเข้าใจเรื่องที่
    ไม่จริงว่าเป็นเรื่องจริง อันเป็นสมุฏฐานแห่งวิญญัติ (การเคลื่อนไหว)
    อย่างนั้น ชื่อว่า มุสาวาท (การพูดเท็จ ).

    <DL><DD>มุสาวาทนั้น ชื่อว่า มีโทษน้อย เพราะประโยชน์ที่คนหักรานมี </DD></DL>จำนวนน้อย ชื่อว่ามีโทษมาก เพราะประโยชน์ที่ตนหักรานมีจำนวน
    มาก.

    <DL><DD>อีกอย่างหนึ่ง สำหรับคฤหัสถ์ มุสาวาทที่เป็นไปแล้ว โดยนัยมี </DD></DL>อาทิว่า ไม่มีเพราะไม่ประสงค์จะให้ของ ๆ ตน (แก่คนอื่น) มีโทษน้อย
    ที่กล่าวเบิกพยานเพื่อหักล้างประโยชน์ (ของคู่ความ) มีโทษมาก, สำหรับ
    บรรพชิต มุสาวาทที่เป็นไปแล้ว โดยนัยแห่งบูรณากถา (พูดให้เต็ม
    ความหรือเล่นสำนวน) ว่าวันนี้ น้ำมันในบ้านเห็นจะไหลเป็นแม่น้ำนะ
    ด้วยความประสงค์จะให้หัวเราะ เพราะได้น้ำมันหรือเนยใสน้อยไป มีโทษ
    น้อย แต่ของผู้พูดโดยนัยมีอาทิว่า สิ่งที่ไม่ได้เห็นเลย ว่าได้เห็น มีโทษ
    มาก.

    <DL><DD>มุสาวาทนั้น มีองค์ประกอบ ๔ อย่าง คือเรื่องไม่จริง ๑ ตั้งใจ </DD></DL>พูดให้ผิด ๑ พยายามพูด ๑ ผู้อื่นเข้าใจเนื้อความนั้น ๑. ประโยคมี
    ประโยคเดียว คือสาหัตถิกประโยคเท่านั้น. ประโยคนั้นพึงเห็นว่า ได้แก่
    การแสดงกิริยาของผู้จะพูดให้ผิดต่อผู้อื่นด้วยกาย ด้วยของเนื่องด้วยกาย
    หรือด้วยวาจา. ถ้าหากผู้อื่นเข้าใจเนื้อความนั้นด้วยกิริยานั้น กิริยานี้ชื่อว่า
    เนื่องด้วยมุสาวาทกรรม ในขณะแห่งเจตนาที่มีกิริยาเป็นสมุฏฐานนั้นเอง.

    <DL><DD>แก้ปิสุณาวาจา </DD></DL><DL><DD>พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า ปิสุณาวาจา เป็นต้น. วาจาที่เป็นเหตุให้ </DD></DL>หัวใจของบุคคลผู้ที่คนพูดด้วย เกิดความรักตนและเกลียดชังคนอื่น ชื่อว่า
    ปิสุณาวาจา.

    <DL><DD>ส่วนวาจาที่เป็นเหตุทำให้ตนเองบ้าง ผู้อื่นบ้าง หยาบคายและวาจา </DD></DL>ที่หยาบคายเอง คือไม่ไพเราะโสต หรือไม่ชื่นใจ (ผู้ฟัง) นี้ชื่อว่า
    ผรุสวาจา.

    <DL><DD>วาทะที่เป็นเหตุให้เจรจาเพ้อเจ้อ คือไร้ประโยชน์ ชื่อว่าสัมผัป- </DD></DL>ปลาป ถึงเจตนาที่เป็นมูลฐานของการกล่าวคำหยาบและคำเพ้อเจ้อเหล่า
    นั้น ก็ได้นามว่า ปิสุณาวาจา เป็นต้นอยู่นั่นเอง. และในที่นี้ก็ประสงค์
    เอาเจตนานั้นแล.

    <DL><DD>เจตนาของผู้มีจิตเศร้าหมอง ที่เป็นสมุฏฐานแห่งกายประโยคและวจี- </DD></DL>ประโยค เพื่อทำลายชนเหล่าอื่นหรือเพื่อประสงค์จะทำคนให้เป็นที่รักของ
    ผู้อื่น ชื่อว่าปิสุณาวาจาในวจีกรรมนั้น. ปิสุณาวาจานั้น ชื่อว่ามีโทษ
    น้อย เพราะผู้ถูกทำให้แตกกันนั้น มีคุณธรรมน้อย ชื่อว่ามีโทษมาก
    เพราะมีคุณธรรมมาก.

    <DL><DD>ปิสุณาวาจานั้น มีองค์ประกอบ ๔ ประการ คือ ผู้ต้องถูกทำลาย </DD></DL>เป็นคนอื่น ๑ ความมุ่งหน้าจะทำลายด้วยประสงค์ว่า คนเหล่านี้จักเป็น
    ผู้แตกแยกจากกัน ด้วยอุบายอย่างนี้ หรือความประสงค์ว่าเราจักเป็นที่รัก
    เป็นที่คุ้นเคย (ของเขา) ด้วยอุบายอย่างนี้ (รวมเป็นองค์) ๑ ความ
    พยายามที่เกิดจากความตั้งใจนั้น ๑ การที่เขาเข้าใจเนื้อความนั้น ๑.

    <DL><DD>แก้ผรุสวาจา </DD></DL><DL><DD>เจตนาที่หยาบคายโดยส่วนเดียว ที่เป็นสมุฏฐานแห่งกายประโยค </DD></DL>และวจีประโยค อันเป็นเหตุตัดรอนความรักของคนอื่น ชื่อว่าผรุสวาจา
    เพื่อความแจ่มชัดแห่งผรุสวาจานั้น ต้องสาธกเรื่องนี้.

    <DL><DD>ได้ทราบว่า เด็กคนหนึ่งไม่เชื่อถ้อยคำของมารดา (ขืน) เข้าป่าไป. </DD></DL>มารดาเมื่อไม่สามารถจะให้เขากลับได้ จึงคำว่า ขอให้แม่กระบือดุร้าย
    จงไล่ขวิดมึง. ภายหลังแม่กระบือได้ปรากฏแก่เขาเหมือนอย่างที่แม่ว่านั่น
    แหละ. เด็กจึงทำสัจจกิริยาว่า คุณแม่ของข้าพเจ้ากล่าวอย่างใดด้วยปาก
    ขออย่าเป็นอย่างนั้น แต่คิดอย่างใดด้วยใจ ขอให้เป็นอย่างนั้น. แม่กระบือ
    ได้หยุดชะงักอยู่ ณ ที่นั้นนั่นเองเหมือนถูกผูกไว้.

    <DL><DD>วจีประโยคแม้เป็นเหตุตัดเสียซึ่งคำรัก (คำที่พาดถึงสิ่งที่รัก) ดัง </DD></DL>ที่พรรณนามานี้ ก็ไม่เป็นผรุสวาท เพราะผู้พูดมีจิตอ่อนโยน. จริงอยู่
    บางครั้งพ่อแม่ว่าลูกก ๆ อย่างนี้ว่า ขอให้พวกโจรฟันพวกเองให้ขาดเป็น
    ท่อน ๆ ไปเถิด ถึงอย่างนั้น แม้แต่เพียงกลีบดอกอุบลก็ไม่ประสงค์จะให้
    อันเตวาสิกและสัทธิวิหาริกผู้อยู่อาศัยทั้งหลายว่า พวกนี้จะพูดอะไรกัน
    ก็ไม่มียางอาย ไม่มีความเกรงกลัว สูเจ้าทั้งหลาย จงไล่เขาไปเสีย. แต่
    ถึงกระนั้น อาจารย์และอุปัชฌาย์เหล่านั้นก็ยังปรารถนาสมบัติคืออาคม
    (ปริยัติ) และอธิคม (ปฏิเวธ) แก่อันเตวาสิกและสัทธิวิหาริกเหล่านั้น
    อยู่.

    <DL><DD>อนึ่ง วจีประโยคไม่เป็นผรุสวาจา เพราะผู้พูดมีจิตอ่อนโยนฉันใด </DD></DL>จะไม่เป็นผรุสวาจาเพราะผู้พูดมีคำพูดอ่อนหวานฉันนั้นก็หามิได้ เพราะว่า
    คำพูดของผู้ประสงค์จะให้เขาตายว่า แกจงให้คนนี้นอนสบายเถิด ดังนี้
    ไม่ใช่ไม่เป็นผรุสวาจา แต่วาจานี้เป็นผรุสวาจาทีเดียว เพราะผู้พูดมีจิต
    หยาบคาย.

    <DL><DD>ผรุสวาจานี้ ชื่อว่ามีโทษน้อย เพราะผู้ที่ผรุสวาทีบุคคลพูดหมายถึง </DD></DL>เป็นผู้มีคุณน้อย ชื่อว่ามีโทษมาก เพราะมีคุณมาก.

    <DL><DD>ผรุสวาจานั้น มีองค์ประกอบ ๓ ประการ คือ ผู้ที่จะต้องถูกด่า </DD></DL>เป็นคนอื่น ๑ จิตขุ่นเคือง ๑ การด่า ๑.

    <DL><DD>แก้สัมผัปปลาปะ </DD></DL><DL><DD>ความจงใจที่เป็นอกุศล ที่เป็นสมุฏฐานแห่งกายประโยคและวจี- </DD></DL>ประโยค ที่ยังผู้อื่นให้เข้าใจคำพูดที่ไร้ประโยชน์ ชื่อว่า สัมผัปปลาปะ
    สัมผัปปลาปะนั้น ชื่อว่ามีโทษน้อย เพราะผู้พูดมีอาเสวนะอ่อน (ความ
    เคยชินน้อย) ชื่อว่ามีโทษมาก เพราะผู้พูดมีอาเสวนะมาก ( ความเคย
    ชินมาก).

    <DL><DD>สัมผัปปลาปะนั้น มีองค์ประกอบ ๒ ประการ คือ ความมุ่งหน้า </DD></DL>ที่จะพูดถ้อยคำไร้ประโยชน์ มีเรื่องสงความภารตะ และเรื่องการลักพา
    นางสีดา (เรื่องรามเกียรติ์) เป็นต้น ๑ การกล่าวถ้อยคำชนิดนั้น ๑.

    <DL><DD>แก้อภิชฌา </DD></DL><DL><DD>เจตนาชื่อว่า อภิชฌา เพราะเพ่งเล็ง อธิบายว่า ย่อมเป็นไปเพื่อ </DD></DL>ความเป็นผู้มุ่งหน้าเพ่งเล็งเฉพาะภัณฑะของผู้อื่นแล้วน้อมภัณฑะนั้นมา.
    อภิชฌานั้นมีลักษณะเพ่งเล็งภัณฑะของผู้อื่นอย่างนี้ว่า ไฉนหนอ ของสิ่งนี้
    จะพึงเป็นของเรา. อภิชฌานั้น ชื่อว่ามีโทษน้อยและมีโทษมาก เหมือน
    กับอทินนาทาน.

    <DL><DD>อภิชฌานั้น มีองค์ประกอบ ๒ ประการ คือ ของของผู้อื่น ๑ </DD></DL>น้อมสิ่งนั้นมาเพื่อตน ๑.

    <DL><DD>อธิบายว่า ถึงจะเกิดความโลภที่มีภัณฑะของผู้อื่นเป็นที่ตั้งขึ้น </DD></DL>กรรมบถก็ยังไม่ขาดจนกว่าจะน้อมมาเพื่อคนว่า ไฉนหนอ ของสิ่งนี้จะพึง
    เป็นของเรา.
     
  10. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    http://th.wikisource.org/wiki/อรรถกถา_สัมมาทิฏฐิสูตร


    <DL><DD>แก้พยาบาท </DD></DL><DL><DD>บาปธรรมชื่อว่า พยาบาท เพราะยังประโยชน์เกื้อกูลและความสุข </DD></DL>ให้ถึงความพินาศ. พยาบาทนั้นมีลักษณะประทุษร้าย เพื่อความพินาศ
    ของผู้อื่น. พยาบาทนั้น ชื่อว่ามีโทษน้อยและมีโทษมาก เหมือนกับ
    ผรุสวาจา.

    <DL><DD>พยาบาทนั้น มีองค์ประกอบ ๒ ประการ คือ สัตว์อื่น ๑ ความคิด </DD></DL>ที่จะให้สัตว์นั้นพินาศ ๑.

    <DL><DD>อธิบายว่า ถึงจะเกิดความโกรธที่มีสัตว์อื่นเป็นที่ตั้งขึ้น กรรมบถ </DD></DL>ก็ยังไม่ขาด ตลอดเวลาที่ผู้โกรธยังไม่คิดให้สัตว์นั้นพินาศว่า ไฉนหนอ
    สัตว์นี้จะพึงขาดสูญพินาศไป.

    <DL><DD>แก้มิจฉาทิฏฐิ </DD></DL><DL><DD>เจตนาชื่อว่า มิจฉาทิฏฐิ เพราะเห็นผิด โดยไม่มีการถือเอาตาม </DD></DL>ความเป็นจริง. มิจฉาทิฏฐินั้น มีลักษณะเห็นผิด โดยนัยมีอาทิว่า ทาน
    ที่ให้แล้ว ไม่มีผล. มิจฉาทิฏฐินั้น ชื่อว่ามีโทษน้อยและมีโทษมาก
    เหมือนสัมผัปปลาปะ. อีกอย่างหนึ่ง มิจฉาทิฏฐิที่ไม่แน่นอน (ยังไม่ดิ่ง)
    ชื่อว่ามีโทษน้อย ที่แน่นอน ( ดิ่ง ) ชื่อว่ามีโทษมาก.

    <DL><DD>มิจฉาทิฏฐินั้น มีองค์ประกอบ ๒ ประการ คือ การที่เรื่องผิดไป </DD></DL>จากอาการที่ยึดถือ ๑ การปรากฏขึ้นแห่งเรื่องนั้น โดยไม่เป็นอย่างที่
    มิจฉาทิฏฐิกบุคคลยึดถือ ๑.

    <DL><DD>วินิจฉัยโดยอาการ ๕ อย่าง </DD></DL><DL><DD>อนึ่ง พึงทราบวินิจฉัยอกุศลกรรมบถทั้ง ๑๐ เหล่านี้ โดยอาการ </DD></DL>๕ อย่าง คือ โดยธรรมะ ( ธมฺมโต) ๑ โดยโกฏฐาสะ (โกฏฺฐาสโต) ๑
    โดยอารมณ์ (อารมฺมณโต) ๑ โดยเวทนา (เวทนาโต) ๑ โดยเค้ามูล
    (มูลโต) ๑.

    <DL><DD>บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธมฺมโต มีเนื้อความว่า ความจริงใน </DD></DL>จำนวนกรรมบถ ๑๐ อย่างเหล่านี้ กรรมบถ ๗ ข้อ ตามลำดับ (กาย-
    กรรม ๓ วจีกรรม ๔ ) เป็นเจตนาธรรมตรงตัว ส่วนกรรมบถ ๓ อย่าง
    มีอภิชฌา เป็นต้น เป็นตัวประกอบเจตนา.

    <DL><DD>บทว่า โกฏฺฐาสโต ความว่า กรรมบถ ๗ ข้อตามลำดับ และ </DD></DL>มิจฉาทิฏฐิอีก ๑ รวมเป็น ๘ ข้อนี้ เป็นกรรมบถอย่างเดียว ไม่เป็นมูล
    (รากเหง้าของอกุศล) ส่วนอภิชฌากับพยาบาท (๒ ข้อนี้) เป็นทั้ง
    กรรมบถ เป็นทั้งมูล (รากเหง้าของอกุศล). อธิบายว่า เพราะเป็น
    รากเหง้า อภิชฌาจึงเป็นโลภกุศลมูล พยาบาทเป็นโทสอกุศลมูล.

    <DL><DD>บทว่า อารมฺมณโต ความว่า ปาณาติบาต มีสังขารเป็นอารมณ์ </DD></DL>เพราะมีชีตินทรีย์เป็นอารมณ์ อทินนาทาน มีสัตว์เป็นอารมณ์บ้าง มี
    สังขารเป็นอารมณ์บ้าง มิจฉาจาร มีสังขารเป็นอารมณ์ ด้วยอำนาจแห่ง
    โผฏฐัพพะ อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า มีสัตว์เป็นอารมณ์ก็มี. มุสาวาท
    มีสัตว์เป็นอารมณ์บ้าง มีสังขารเป็นอารมณ์บ้าง ปิสุณาวาจาก็เหมือนกัน
    ผรุสวาจา มีสัตว์เป็นอารมณ์อย่างเดียว สัมผัปปลาปะ มีสัตว์เป็นอารมณ์
    บ้าง ด้วยอำนาจแห่งรูปที่ได้เห็นแล้ว เสียงที่ได้ยินแล้ว กลิ่น รส และ
    โผฏฐัพพะที่ได้ทราบแล้ว และธรรมารมณ์ที่ได้รู้แล้ว อภิชฌาก็เหมือน
    กัน (แต่ ) พยาบาทมีสัตว์เป็นอารมณ์อย่างเดียว (ส่วน) มิจฉาทิฏฐิ
    มีสังขารเป็นอารมณ์ ด้วยอำนาจแห่งธรรมอันเป็นไปในภูมิ ๓.

    <DL><DD>บทว่า เวทนาโต ความว่า ปาณาติบาต มีเวทนาเป็นทุกข์. เพราะ </DD></DL>ว่า พระราชาทั้งหลายทรงเห็นโจรแล้ว ถึงจะทรงกระหยิ่มอยู่พลางรับสั่ง
    ว่า ไป เอามันไปสังหาร ดังนี้ก็จริง แต่ถึงกระนั้น เจตนาที่เป็นตัวการ
    ให้ตกลงปลงพระทัยของพระราชาเหล่านั้น เป็นเจตนาที่ประกอบด้วยทุกข์
    อยู่นั้น.

    <DL><DD>อทินนาทาน มีเวทนา ๓. มิจฉาจาร มีเวทนา ๒ ด้วยอำนาจ </DD></DL>แห่งสุขเวทนาและอุเบกขาเวทนา. แต่ไม่ใช่มีเวทนาเป็นอุเบกขา ใน
    เพราะจิตเป็นตัวการให้ตกลงปลงใจ. มุสาวาทมีเวทนา ๓. ปิสุณาวาจา
    ก็เหมือนกัน. ผรุสวาจามีเวทนาเป็นทุกข์อย่างเดียว. สัมผัปปลาปะ มี
    เวทนา ๓. อภิชฌามีเวทนา ๒ ด้วยอำนาจแห่งสุขเวทนาและอุเบกขา-
    เวทนา. มิจฉาทิฏฐิก็เหมือนกัน. (แต่) พยาบาท มีเวทนาเป็นทุกข์.

    <DL><DD>แก้อกุศลมูล </DD></DL><DL><DD>บทว่า มูลโต ความว่า ปาณาติบาต มีอกุศล ๒ อย่างเป็นมูล </DD></DL>ด้วยอำนาจแห่งโทสะและโมหะ. อทินนาทาน (มีอกุศล ๒ อย่างเป็น
    มูล ) ด้วยอำนาจแห่งโทสะและโมหะ หรือด้วยอำนาจแห่งโลภะและโมหะ
    มิจฉาจาร (มีอกุศล ๒ อย่างเป็นมูล ) ด้วยอำนาจแห่งโลภะและโมหะ.
    มุสาวาท ด้วยอำนาจแห่งโทสะและโมหะหรือโลภะและโมหะ. ปิสุณาวาจา
    และสัมผัปปลาปะก็เหมือนกัน (กับมุสาวาท). ผรุสวาจา ด้วยอำนาจ
    แห่งโทสะและโมหะ. อภิชฌา มีอกุศลอย่างเดียวเป็นมูล ด้วยอำนาจแห่ง
    โมหะ. พยาบาทก็เหมือนกัน (กับอภิชฌา). ( แต่ ) มิจฉาทิฏฐิ มีอกุศล
    ๒ อย่างเป็นมูล ด้วยอำนาจแห่งโลภะและโมหะ ดังนี้แล.

    <DL><DD>พึงทราบวินิจฉัย ในคำว่า โลโภ อกุสลมูลํ เป็นต้น (ดังต่อไปนี้) </DD></DL><DL><DD>อกุศลธรรม ชื่อว่าโลภะ เพราะอยากได้. ชื่อว่าโทสะ เพราะ </DD></DL>ประทุษร้าย. ชื่อว่าโมหะ เพราะหลง.

    <DL><DD>ในจำนวนอกุศลธรรมทั้ง ๓ อย่างเหล่านั้น โลภะ ชื่อว่าเป็นอกุศล - </DD></DL>มูล เพราะตัวมันเองเป็นทั้งอกุศล เพราะอรรถว่า มีโทษและมีทุกข์เป็น
    วิบาก เป็นทั้งรากเหง้าของอกุศลธรรมเหล่านี้ มีปาณาติบาตเป็นต้น
    เพราะอรรถว่า เป็นสภาพแห่งสัมปยุตธรรมของอกุศลลางเหล่า และเพราะ
    อรรถว่า เป็นอุปนิสสยปัจจัยของอกุศลธรรมลางอย่าง. สมจริงตามคำ
    ที่ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวว่า คุณ ผู้กำหนัดมากแล้ว ถูกราคะครอบงำ
    แล้ว มีจิตถูกราคะรึงรัดแล้ว ย่อมฆ่าสัตว์มีชีวิตได้ ดังนี้เป็นต้น แม้ใน
    การที่โทสะและโมหะเป็นอกุศลมูล ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.

    <DL><DD>แก้กุศลกรรมบถ </DD></DL><DL><DD>พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า ปาณาติปาตา เวรมณี กุสลํ (เจตนา </DD></DL>งดเว้นจากปาณาติบาตเป็นกุศล) เป็นต้น ดังต่อไปนี้ อกุศลกรรมบถ
    ทั้งหลาย มีปาณาติบาตเป็นต้น มีอรรถาธิบายดังที่ข้าพเจ้าได้กล่าวมาแล้ว
    นั้นแหละ.

    <DL><DD>เจตนาชื่อว่า เวรมณี เพราะย่ำยีเวร อธิบายว่า ละเวรได้ </DD></DL>อีกอย่างหนึ่ง บุคคลเว้น จากเวรได้เพราะเจตนานี้เป็นเหตุ เพราะเหตุนั้น
    เจตนานั้น จึงชื่อว่า เวรมณี โดยเปลี่ยน วิ อักษร ให้เป็น เว อักษร ไป
    นี้เป็นการขยายความในคำว่า เวรมณี นี้ โดยพยัญชนะก่อน ส่วนการ
    ขยายความโดยอรรถ (ความหมาย) พึงทราบว่า วิรัติที่สัมปยุตด้วยกุศลจิต
    ชื่อว่าเวรมณี. วิรัติของผู้เว้นจากปาณาติบาตที่ตรัสไว้อย่างนี้ว่า การงด
    การเว้นจากปาณาติบาต ในสมัยนั้น ดังนี้ ชื่อว่าเป็นวิรัติที่สัมปยุตด้วย
    กุศลจิต.

    <DL><DD>แก้วิรัติ ๓ </DD></DL><DL><DD>วิรัตินั้นแยกประเภทออกเป็น ๓ อย่าง คือ สัมปัตตวิรัติ ๑ สมาทาน- </DD></DL>วิรัติ ๑ สมุจเฉทวิรัติ ๑. ในจำนวนวิรัติทั้ง ๓ นั้น วิรัติที่เกิดขึ้นแก่
    ผู้ไม่ได้สมาทานสิกขาบททั้งหลาย (มาก่อน) แต่ได้พิจารณาถึงชาติ วัย
    และการคงแก่เรียนเป็นต้นของตนแล้ว เห็นว่า ไม่เหมาะแก่เรา การ
    ทำอย่างนี้ แล้วไม่ล่วงเกินสิ่งที่เผชิญเข้า พึงทราบว่า เป็นสัมปัตตวิรัติ
    เหมือนวิรัติของจักกนะอุบาสกในสีหลทวีป

    <DL><DD>นิทานประกอบสัมปัตตวิรัติ/H1 </DD></DL><DL><DD>ได้ทราบว่า ในเวลาเขายังหนุ่มอยู่นั้นแหละ มารดาของเขาเกิดโรค </DD></DL>และหมอบอกว่า ควรจะได้เนื้อกระต่ายสด ๆ (มาประกอบยา). ลำดับนั้น
    พี่ชายของจักกนะสั่งว่า ไปเถอะเจ้าจงไปนา แล้วส่งจักกนะไป. เขาก็
    ได้ไปที่นานั้น. และเวลานั้นมีกระต่ายตัวหนึ่งมาเล็มหญ้าอ่อนอยู่. มันเห็น
    เขาแล้วรีบวิ่งหนีไป แต่ไปข้องเถาวัลย์ จึงส่งเสียงร้อง แกร่ก แกร่ก
    ( กริ กริ) ขึ้น. จักกนะตามเสียงนั้นไป จับกระต่ายไว้ได้ ตั้งใจว่า
    จะเอามาทำยาให้แม่ แต่ก็ฉุกคิดขึ้นมาว่าไม่เป็นการสมควรสำหรับเขาที่จะ
    ทำลายชีวิตสัตว์อื่นแลกชีวิตแม่ของเรา. จึงพูดว่า ไปเถิดเจ้าไปกินหญ้า
    กินน้ำร่วมกับกระต่ายทั้งหลายในป่าเถิดแล้วปล่อยมันไป และเมื่อกลับ
    ถึงบ้าน เขาถูกพี่ชายถามว่า เป็นอย่างไรน้อง ได้กระต่ายไหม ? จึงได้
    บอกความเป็นไปนั้นให้ทราบ. บัดนั้น พี่ชายก็ได้บริภาษเขา. เขาเข้าไป
    หาแม่แล้ว ได้ยืนตั้งสัตยาธิษฐานว่า ข้าพเจ้าตั้งแต่เกิดมาจำความได้
    ไม่เคยจงใจฆ่าสัตว์ตัดชีวิตเลย. ทันใดนั้น แม่ของเขาได้หายจากโรค.

    <DL><DD>แต่วิรัติที่เกิดขึ้นแก่ผู้สมาทานสิกขาบทมาแล้ว ถึงจะสละชีพ </DD></DL>ของตน ในเวลาสมาทานสิกขาบทและเวลาถัดจากนั้นไป ก็ไม่ล่วงเกิน
    วัตถุ พึงทราบว่า เป็นสมาทานวิรัติ เหมือนวิรัติของอุบาสก ชาวเขา
    อุตรวัฑฒมานะ.

    <DL><DD>นิทานประกอบสมาทานวิรัติ </DD></DL><DL><DD>ได้ทราบว่า อุบาสกนั้นรับสิกขาบทในสำนักของท่านปิงคลพุทธ- </DD></DL>รักขิตเถระชาวอัมพริยวิหารแล้วไปไถนา. ต่อมา โคของเขาหายไป.
    เขาเมื่อตามหามัน ได้ขึ้นภูเขาอุตรวัฑฒมานะ. งูใหญ่ได้รัดเขาอยู่บนภูเขา
    นั้น. เขาคิดว่า จะเอามีดที่คมนี้ตัดหัวมัน แต่ก็ยังคิดอีกว่า การที่สมาทาน
    สิกขาบทในสำนักของครูผู้น่านับถือแล้ว ทำลายเสียไม่สมควรเลย. ครั้น
    คิดอย่างนี้ถึง ๓ ครั้งแล้วก็ตัดสินใจว่า เราจะสละชีวิต ไม่ยอมสละสิกขาบท
    (ศีล) แล้ว ได้ขว้างมีดโต้เล่มที่แบกมาอยู่บนบ่าเข้าป่าไป. ทันใดนั้น
    งูใหญ่ก็ได้คลายตัวออกแล้วเลื้อยไป.
     
  11. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    http://th.wikisource.org/wiki/อรรถกถา_สัมมาทิฏฐิสูตร


    <DL><DD>แก้สมุจเฉทวิรัติ และกุศลกรรมบท </DD></DL><DL><DD>ส่วนวิรัติที่สัมปยุตด้วยอริยมรรคพึงทราบว่า เป็นสมุจเฉทวิรัติ ซึ่ง </DD></DL>จำเดิมแต่เกิดแล้ว พระอริยบุคคลทั้งหลายไม่เคยแม้แต่จะเกิดความคิดว่า
    เราจักฆ่าสัตว์มีชีวิต ดังนี้. แต่วิรัตินี้นั้นท่านเรียกว่า กุศล เพราะเป็น
    ไปแล้วด้วยความฉลาด. อีกอย่างหนึ่งท่านเรียกว่า กุศล เพราะตัดซึ่ง
    ความทุศีล ที่ได้โวหารว่า กุศะ เพราะเป็นที่หมักหมมความชั่วร้ายบ้าง.๑
    แต่ไม่ได้เรียกว่ากุศล เพราะไม่เหมาะสมกับปัญหานี้ว่า คุณ กุศลเป็น
    อย่างไร ?

    <DL><DD>วินิจฉัยโดยอาการ ๕ อย่าง </DD></DL><DL><DD>อนึ่ง กุศลกรรมบถแม้เหล่านี้ ก็ควรทราบวินิจฉัยโดยอาการ ๕ </DD></DL>อย่าง คือ โดยธรรม ( ธมฺมโต ) ๑ โดยโกฏฐาส (โกฏฺฐาสโต) ๑
    โดยอารมณ์ (อารมฺมณโต) ๑ โดยเวทนา (เวทนาโต) ๑ โดยเค้ามูล
    (มูลโต) ๑ เหมือนกับอกุศลกรรมบถทั้งหลาย.
    ๑. ปาฐะว่า กุจฺฉิตสฺส สลนโต วา กุสลนฺติ.. ฉบับพม่าเป็น กุจฺฉิตสยฺโต วา กุสนฺติ.. จึง
    ได้แปลตามฉบับพม่า เพราะเห็นว่าได้ความดีว่า.

    <DL><DD>บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธมฺมโต ความว่า ในจำนวนกุศล. </DD></DL>กรรมบถแม้เหล่านี้ กรรมบถ ๗ ประการตามลำดับเป็นตัวเจตนา ก็ถูก
    แต่วิรัติทั้ง ๓ ตอนสุดท้าย (มโนกรรม ๓) เป็นธรรมสัมปยุตด้วย
    เจตนา.

    <DL><DD>บทว่า โกฏฺฐาสโต ความว่า กุศลธรรม ๗ ประการตามลำดับ </DD></DL>เป็นกรรมบถอย่างเดียวไม่เป็นรากเหง้า ( กุศล). (แต่) กุศลธรรม ๓ ประ-
    การตอนท้าย เป็นทั้งกรรมบถ เป็นทั้งรากเหง้า (กุศล). อธิบายว่า
    อนภิชฌา ถึงกรรมบถแล้ว จึงชื่อว่าเป็น อโลภะ กุศลมูล. แต่อัพยาบาท
    ชื่อว่าเป็น อโทสะ กุศลมูล. ส่วนสัมมาทิฏฐิ ชื่อว่าเป็น อโมหะ กุศลมูล.

    <DL><DD>บทว่า อารมฺมณโต ความว่า อารมณ์ทั้งหลายมีปาณาติบาตเป็นต้น </DD></DL>นั่นแหละ เป็นอารมณ์ของเวรมณี (เจตนางดเว้นจากปาณาติบาตเป็นต้น )
    เหล่านั้น เพราะว่า เวรมณีจะมีได้ก็โดยได้เผชิญ กับวัตถุที่จะต้องก้าวล่วง
    เท่านั้น อุปมาเสมือนหนึ่งว่า อริยมรรค (ต้อง) มีนิพพานเป็นอารมณ์
    จึงจะละกิเลสได้ ฉันใด กรรมบถเหล่านี้ ก็พึงทราบว่า เป็นเช่นนั้น
    เหมือนกัน (ต้อง) มีชีวิตินทรีย์เป็นต้น เป็นอารมณ์ จึงจะละทุศีล
    มีปาณาติบาตเป็นต้นได้.

    <DL><DD>บทว่า เวทนาโต ความว่า กุศลกรรมบถทั้งหมด เป็นสุขเวทนา </DD></DL>บ้าง เป็นอุเบกขาเวทนาบ้าง เพราะว่าถึงกุศลแล้ว จะไม่มีทุกขเวทนา
    (กรรมบถฝ่ายกุศลไม่มีให้ผลเป็นทุกข์).

    <DL><DD>บทว่า มูลโต ความว่า กรรมบถ ๗ จะมีมูล ๓ ตามอำนาจของ </DD></DL>อโลภะ อโทสะ และอโมหะ สำหรับผู้งดเว้นด้วยจิตสัมปยุตด้วยญาณ
    แต่มีมูล ๒ สำหรับผู้งดเว้นด้วยจิตที่ปราศจากญาณ. อนภิชฌามีมูล ๒
    สำหรับผู้งดเว้นด้วยจิตสัมปยุตด้วยญาณ มีมูลเดียวสำหรับผู้งดเว้นด้วยจิต
    ที่ปราศจากญาณ แต่อโลภะ ตัวมันเองจะเป็นรากเหง้าของตนไม่ได้.
    แม้ในอัพยาบาท ก็ทำนองเดียวกันนี้แหละ.

    <DL><DD>สัมมาทิฏฐิมีมูล ๒ เหมือนกันตามอำนาจของอโลภะและอโทสะ </DD></DL>ดังนี้.

    <DL><DD>กุศลธรรมชื่อว่า อโลภะ ในคำว่า อโลโภ กุสลมูลํ เป็นต้น </DD></DL>เพราะไม่โลภ. คำว่า อโลโภ นี้ เป็นชื่อของธรรมที่เป็นฝ่ายตรงกัน
    ข้ามกับโลภะ. ถึงในอโทสะและอโมหะ ก็ทำนองเดียวกันนี้แหละ.

    <DL><DD>ในจำนวนกุศลมูลทั้ง ๓ อย่างนั้น อโลภะชื่อว่าเป็นกุศลมูล เพราะ </DD></DL>ตัวเองก็เป็นกุศล และชื่อว่าเป็นมูลของกุศลธรรมทั้งหลาย มีการงดเว้น
    จากปาณาติบาตเป็นต้น เหล่านี้ด้วย เพราะอรรถว่า เป็นสภาพแห่ง
    สัมปยุตธรรมของกุศลลางเหล่า และเพราะอรรถว่า เป็นอุปนิสสยปัจจัย
    ของกุศลธรรมลางเหล่า. ในความที่อโทสะและอโมหะเป็นกุศลมูล ก็นัย
    เดียวกันนี้แหละ.

    <DL><DD>อริยสัจในกรรมบถ </DD></DL><DL><DD>บัดนี้ ท่านพระสารีบุตร เมื่อจะย้ำเนื้อความนั้นทั้งหมด ที่ท่านได้ </DD></DL>แสดงไว้แล้วทั้งโดยย่อและโดยพิสดาร จึงได้กล่าวอัปปนาวาระไว้มีอาทิว่า
    ยโต โข อาวุโส ดังนี้ .

    <DL><DD>บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอวํ อกุสลํ ปชานาติ ความว่า รู้ชัด </DD></DL>อกุศล ด้วยสามารถแห่งอกุศลกรรมบถ ๑๐ ตามที่ได้แสดงไว้แล้วอย่างนี้.
    ถึงในบทมีอาทิว่า เอวํ อกุสลมูล ก็นัยเดียวกันนี้แหละ.

    <DL><DD>ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ คือด้วยนัยอย่างเดียวกัน เป็นอันท่านพระ </DD></DL>สารีบุตรได้กล่าวถึงกรรมฐานเป็นเหตุนำสัตว์ออกไป (จากภพ) จนถึง
    พระอรหัต สำหรับผู้บำเพ็ญกรรมฐาน มีจตุราริยสัจเป็นอารมณ์.

    <DL><DD>กล่าวไว้อย่างไร ? </DD></DL><DL><DD>กล่าวไว้ว่า ความจริง อกุศลกรรมบถ ๑๐ และกุศลกรรมบถ ๑๐ </DD></DL>เว้นอภิชฌา (ท่านกล่าวว่า) เป็นทุกขสัจในกรรมบถวาระนี้ ส่วนธรรม
    ทั้ง ๒ อย่างเหล่านี้ คือ อภิชฌา ๑ โลภะที่เป็นอกุศลมูล ๑ (ท่าน
    กล่าวว่า) เป็นสมุทัยสัจโดยตรง. แต่กรรมบถทั้งหมด (ท่านกล่าวว่า)
    เป็นทุกขสัจโดยอ้อม. กุศลมลและอกุศลมูลทั้งหมด (ท่านกล่าวว่า)
    เป็นสมุทัยสัจ. ความไม่เป็นไปแห่งกุศลมูลและอกุศลมูลทั้ง ๒ (ท่าน
    กล่าวว่า) เป็นนิโรธสัจ. เมื่อกำหนดรู้ทุกข์ เมื่อละสมุทัย เมื่อรู้แจ้ง
    นิโรธ อริยมรรค (ท่านกล่าวว่า) เป็นมรรคสัจ สัจจะทั้ง ๒ ท่านได้
    กล่าวไว้แล้วโดยสรุป ดังที่พรรณนามานี้. ส่วนสัจจะ ๒ อย่าง (นิโรธ
    มรรค) พึงทราบด้วยสามารถแห่งการไม่หมุนกลับ.

    <DL><DD>บทว่า โส สพฺพโส ราคานุสยํ ปหาย (เธอละราคานุสัยได้ </DD></DL>โดยประการทั้งปวง) ความว่า เธอรู้ชัดอกุศลเป็นต้น อยู่อย่างนี้ จะละ
    ราคานุสัยได้โดยอาการทุกอย่าง.

    <DL><DD>บทว่า ปฏิฆานุสยํ ปฏิวิโนเทตฺวา (บรรเทาปฎิฆานุสัย) มีคำ </DD></DL>ที่ท่านกล่าวไว้ว่า นำปฏิฆานุสัยออกได้โดยประการทั้งปวงทีเดียว ด้วย
    คำเพียงเท่านี้ พระเถระได้กล่าวถึงอนาคามิมรรค.

    <DL><DD>บทว่า อสฺมีติ ทิฏฺฐิมานานุสยํ สมูหนิตฺวา (ถอนทิฏฐิมานา- </DD></DL>นุสัยว่า เรามี ออกไป) ความว่า เพิกถอนทิฏฐิมานานุสัยที่เป็นไปโดย
    อาการถือรวมกันนี้ว่า เรามี โดยกระทำธรรมบางประการในขันธ์ ๕
    ไม่ให้ตกต่ำ.

    <DL><DD>บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทิฏฺฐิมานานุสยํ ท่านอธิบายไว้ว่า </DD></DL>ได้แก่มานานุสัยที่เช่นกับทิฏฐิ. เพราะว่ามานานุสัยนี้ เป็นเช่นเดียวกับ
    ทิฏฐิ เพราะมีลักษณะเป็นไปแล้วว่า เรามี เพราะฉะนั้น ท่านจึงได้กล่าว
    ไว้อย่างนี้. อนึ่ง ผู้ประสงค์จะเข้าใจอัสมิมานะนี้โดยพิสดาร ควรตรวจดู
    เขมกสูตร ในขันธกวรรคเทอญ.

    <DL><DD>บทว่า อวิชฺชํ ปหาย ความว่า ละอวิชชาที่เป็นรากเหง้าของ </DD></DL>วัฏฏะ.

    <DL><DD>บทว่า วิชฺชํ อุปฺปาเทตฺวา ความว่า ให้วิชชาคืออรหัตตมรรค </DD></DL>ซึ่งห้ำหั่นอวิชชานั้นเกิดขึ้น. ด้วยคำเพียงเท่านี้ท่านพระสารีบุตรได้กล่าว
    ถึงอรหัตตมรรค.

    <DL><DD>ข้อว่า ทิฏฺเฐว ธมฺเม ทุกฺขสฺสนฺตกโร โหติ (เป็นผู้การทำ </DD></DL>ที่สุดแห่งทุกข์ในปัจจุบันนี้ทีเดียว ) ความว่า เป็นผู้กระทำการตัดขาด
    วัฏฏทุกข์ในอัตภาพนี้ทีเดียว.

    <DL><DD>ท่านพระสารีบุตร ยังเทศนาให้จบลงด้วยคำว่า เอตฺตาวตาปิ โข </DD></DL>อาวุโส อธิบายว่า แม้ด้วยสามารถแห่งการแทงตลอดด้วยมนสิการดังที่
    กล่าวแล้วในการแสดงกรรมบถนี้. คำที่ยังเหลือมีนัยดังที่ได้กล่าวมาแล้ว
    นั้นแหละ.

    <DL><DD>ท่านพระสารีบุตรเถระ ได้จบเทศนาลงด้วยอนาคามิมรรค และ </DD></DL>อรหัตตมรรคดังที่ได้พรรณนามานี้แล.

    <DL><DD>จบ กถาว่าด้วยกรรมบถ </DD></DL><DL><DD>พระภิกษุชื่นชมภาษิตของพระสารีบุตร </DD></DL><DL><DD>[๑๑๒] ในคำว่า สาธาวุโส โข ฯลฯ อาคโต อิมํ สทฺธมฺมํ </DD></DL>มีคำอธิบายไว้ว่า ภิกษุเหล่านั้น ครั้นได้ฟังเทศนาว่าด้วยสัจจะทั้ง ๔ ของ
    ท่านพระสารีบุตร โดยมุขคือกุศลและอกุศลอย่างนี้แล้ว จึงพากันชมเชย
    ภาษิตของท่านพระสารีบุตร ด้วยถ้อยคำนี้ว่า ดีแล้วครับได้เท้า และ
    อนุโมทนาด้วยจิตที่เป็นสมุฏฐานของถ้อยคำนี้นั้นเอง รับเอาด้วยวาจา
    เอิบอิ่มด้วยใจทีเดียว.

    <DL><DD>บัดนี้ เพราะเหตุที่พระเถระเป็นผู้สามารถที่จะแสดงธรรมเทศนาว่า </DD></DL>ด้วยจตุราริยสัจได้ ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ
    ทั้งหลาย พระสารีบุตรสามารถจะบอกจะแสดงอริยสัจ ๔ ได้โดยพิสดาร.
    หรือเพราะเหตุที่ท่านพระสารีบุตรต้องการจะแสดงธรรมให้สูงยิ่งขึ้นไปอยู่
    แล้ว จึงได้กล่าวว่า เอตฺตาวตาปิ โข อาวุโส ( เพียงเท่านี้เท่านั้นแล
    คุณ) เพราะเหตุนั้น ภิกษุทั้งหลายนั้น ผู้ประสงค์จะฟังสัจจเทศนา
    โดยนัยแม้อย่างอื่น จึงได้ถามปัญหาสูงขึ้นไป กะท่านพระสารีบุตร.
    ภิกษุเหล่านั้นจึงได้ถามปัญหาอื่นที่สูงขึ้นไป โดยนัยนี้ว่า ใต้เท้าขอรับ
    ยังมีอยู่อีกหรือ บรรยายแม้อย่างอื่น คือเหตุแม้อย่างอื่น ที่เหนือกว่า
    ปัญหาที่ใต้เท้าได้ถามเองตอบเองมาแล้ว.

    <DL><DD>อีกอย่างหนึ่ง มีคำอธิบายไว้ว่า ภิกษุเหล่านั้นได้พากันถามปัญหา </DD></DL>ในส่วนที่เหนือปัญหาก่อนขึ้นไป. อีกอย่างหนึ่ง ท่านอธิบายว่า ภิกษุ
    ทั้งหลายได้ถามปัญหาข้อแรกให้สูงขึ้นไปอีกขั้นหนึ่ง.

    <DL><DD>ถัดนั้น พระเถระเมื่อจะพยากรณ์ปัญหาให้ภิกษุเหล่านั้นฟัง จึงได้ </DD></DL>กล่าวคำมีอาทิว่า สิยา อาวุโส (ยังมีอยู่คุณ) ดังนี้.

    <DL><DD>กถาพรรณนาอาหารวาระ </DD></DL><DL><DD>ภูต - สัมภเวสี </DD></DL><DL><DD>[๑๑๓] ในจำนวนบทเหล่านั้น คำขยายต่อไปนี้ จะเป็นคำขยาย </DD></DL>ความเฉพาะบทที่ยาก.

    <DL><DD>คำว่า อาหาร ได้แก่ปัจจัย. เพราะปัจจัยนำผลมาให้ตน ฉะนั้น </DD></DL>ปัจจัยจึงเรียกว่า อาหาร.

    <DL><DD>เหล่าสัตว์ที่ถือกำเนิดเกิดแล้ว ชื่อว่า ภูต ในคำทั้งหลายมีอาทิว่า </DD></DL>ภูตานํ วา สตฺตานํ.

    <DL><DD>เหล่าสัตว์ที่เสาะหา คือแสวงหาการสมภพ คือการเกิด ได้แก่การ </DD></DL>บังเกิดขึ้น ชื่อว่า สัมภเวสี.

    <DL><DD>บรรดากำเนิดทั้ง ๔ ชนิดเหล่านั้น. เหล่าสัตว์ที่เกิดในฟองและที่ </DD></DL>เกิดในหยดน้ำ ตราบใดที่ยังไม่ทำลายกระเปาะฟองและรังมดลูก (ออกมา)
    ตราบนั้นก็ยังชื่อว่า สัมภเวสี ต่อเมื่อทำลายกระเปาะฟองและรังมดลูก
    ออกมาภายนอกแล้ว จึงชื่อว่า ภูต.

    <DL><DD>ส่วนสัตว์ที่เกิดแต่เถ้าไคลและผุดเกิด ในขณะแห่งจิตดวงแรก </DD></DL>ชื่อว่า สัมภเวสี ตั้งแต่ขณะแห่งจิตดวงที่ ๒ ไป ชื่อว่า ภูต.

    <DL><DD>อีกอย่างหนึ่ง สัตว์ทั้งหลายจะเกิดโดยอิริยาบถใดก็ตาม ตราบใด </DD></DL>ยังไม่เปลี่ยนอิริยาบถเป็นอย่างอื่น จากอิริยาบถนั้น ตราบนั้น ชื่อว่า
    สัมภเวสี ต่อจากอิริยาบถนั้นไปจึงชื่อว่า ภูต.

    <DL><DD>อีกอย่างหนึ่ง เหล่าสัตว์ที่เกิดแล้ว คือเกิดขึ้นแล้ว ( สำเร็จแล้ว ) </DD></DL>ชื่อว่า ภูต. พระขีณาสพเหล่าใด ผู้เป็นพระอริยเจ้าแล้วนั่นแหละ นับว่า
    จักไม่เกิดอีก คำว่า ภูต นี้ เป็นชื่อของพระขีณาสพเหล่านั้น.

    <DL><DD>สัตว์เหล่าใดกำลังแสวงหาการเกิด สัตว์เหล่านั้น ชื่อว่า สัมภเวสี </DD></DL>คำว่า สัมภเวสี นี้ เป็นชื่อของพระเสขะและปุถุชนผู้กำลังแสวงหาการเกิด
    ต่อไป เพราะยังละสังโยชน์ในภพไม่ได้.

    <DL><DD>เมื่อเป็นเช่นนี้ ด้วย ๒ บทนี้ แม้ในที่ทุกแห่ง (เนื้อความ) จึง </DD></DL>คลุมถึงสัตว์ทุกชนิด. และ วา ศัพท์ ในคำว่า ภูตานํ วา สตฺตานํ นี้
    เป็นสัมปิณฑนัตถะ (มีเนื้อความรวม ไม่ใช่เป็นวิกัปปัตถะ). เพราะ-
    ฉะนั้น ผู้ศึกษา พึงทราบ (ว่าเท่ากับ) เนื้อความนี้ว่า ภูตานํ จ
    สมฺภเวสีนญฺจ (ทั้งภูตทั้งสัมภเวสี).

    <DL><DD>บทว่า ฐิติยา ได้แก่เพื่อดำรงอยู่. </DD></DL><DL><DD>บทว่า อนุคฺคหาย ได้แก่เพื่ออนุเคราะห์ คือเพื่ออุปการะ. </DD></DL><DL><DD>ทั้ง ๒ บท คือ ภูตานํ วา สมฺภเวสีนํ นั้น มีความแตกต่างกัน </DD></DL>เพียงคำพูดเท่านั้น แต่ความหมายของทั้ง ๒ บทนั้น เป็นอย่างเดียวกัน
    ทีเดียว.

    <DL><DD>บทว่า ฐิติยา ( เพื่อดำรงอยู่ ) คือเพื่อไม่ให้ธรรมทั้งหลายที่ </DD></DL>เกิดขึ้นแล้วแก่สัตว์นั้น ๆ ขาดตอนไป โดยไม่สามารถติดต่อกันได้.

    <DL><DD>บทว่า อนุคฺคหาย เพื่ออนุเคราะห์ ได้แก่เพื่อให้ธรรมที่ยังไม่เกิด </DD></DL>ได้เกิดขึ้น.

    <DL><DD>และทั้ง ๒ บทนี้ ควรใช้ในข้อความทั้งคู่อย่างนี้ว่า เพื่อการดำรงอยู่ </DD></DL>และเพื่ออนุเคราะห์ภูตทั้งหลายด้วย เพื่อการดำรงอยู่และเพื่ออนุเคราะห์
    สัมภเวสีทั้งหลายด้วย.

    <DL><DD>กวฬิงการาหาร </DD></DL><DL><DD>อาหารที่จะต้องทำให้เป็นคำๆ ไปแล้วกลืนกิน ชื่อว่า กวฬิงการา- </DD></DL>หาร. คำว่า กวฬิงการาหาร นี้ เป็นชื่อของโอชะที่มีข้าวสุกและขนมสด
    (กุมมาส) เป็นต้น เป็นที่ตั้ง.

    <DL><DD>สองบทว่า โอฬาริโก วา สุขุโม วา ความว่า ( อาหาร) </DD></DL>ชื่อว่า โอฬาร เพราะเป็นสิ่งที่หยาบ โดยวัตถุ. ชื่อว่า สุขุม เพราะ
    เป็นสิ่งที่ละเอียด โดยวัตถุ.

    <DL><DD>แต่โดยสภาวะ กวฬิงการาหาร ชื่อว่า เป็นของละเอียดทีเดียว </DD></DL>เพราะเป็นของนับเนื่องในสุขุมรูป. ถึงแม้ว่าการที่อาหารนั้นจะเป็นของ
    หยาบและเป็นของละเอียดโดยวัตถุ ก็ต้องรู้ได้เพราะอุปาทายรูป. ความจริง
    อาหารของนกยูงที่ชื่อว่าเป็นของละเอียด เพราะเปรียบเทียบกับอาหาร
    จระเข้. ได้ทราบว่า พวกจระเข้ฮุบก้อนหินเข้าไป และก้อนหินเหล่านั้น
    พอตกถึงท้องของจระเข้เท่านั้นก็ย่อยหมด (ละลายไป). พวกนกยูงจิกกิน
    สัตว์มีชีวิต เช่นงูและแมลงป่องเป็นต้น. แต่อาหารของพวกหมาใน
    ชื่อว่าเป็นของละเอียด เพราะเปรียบเทียบกับอาหารของนกยูง. ได้ทราบว่า
    หมาในเหล่านั้นแทะเขาและกระดูก (สัตว์) ที่ทิ้งไว้ตั้ง ๓ ปีได้ ก็เขา
    และกระดูกสัตว์เหล่านั้น พอแต่เปียกน้ำลายของมันเท่านั้น ก็ยุ่ยเหมือน
    กันกับเหง้ามัน.

    <DL><DD>อาหารของพวกช้าง ชื่อว่า เป็นของละเอียด เพราะเปรียบเทียบ </DD></DL>อาหารของหมาใน พวกมันกินกิ่งไม้นานาชนิด. อาหารของสัตว์ทั้งหลาย
    เช่นโคลาน ระมาดและมฤค เป็นต้น ชื่อว่า เป็นของละเอียดกว่าอาหาร
    ช้าง. ได้ทราบว่า พวกมันพากันกินใบไม้นานาชนิดเป็นต้น ที่ไม่แข็ง
    (ไม่มีแก่น). อาหารของพวกโค ชื่อว่า เป็นอาหารละเอียดกว่าอาหารของ
    โคลานเป็นต้น เหล่านั้น. พวกมันกินหญ้าสดและหญ้าแห้งกัน. อาหาร
    ของกระต่ายเป็นอาหารละเอียดกว่าอาหารโคเหล่านั้น. อาหารของพวกนก
    ละเอียดกว่าอาหารของพวกกระต่าย. อาหารของชาวชายแดนละเอียดกว่า
    อาหารของพวกนก. อาหารของนายอำเภอ ( เจ้าเมือง ) ละเอียดกว่า
    อาหารของชาวชายแดน. อาหารของพระราชาและมหาอำมาตย์ของพระ
    ราชาละเอียดกว่าอาหารของนายอำเภอ ( เจ้าเมือง ). พระกระยาหารของ
    พระเจ้าจักรพรรดิละเอียดกว่าอาหารของคนแม้เหล่านั้น. อาหารของเหล่า
    ภุมมเทวดาละเอียดกว่าพระกระยาหารของพระเจ้าจักรพรรดิ. อาหารของ
    เหล่าเทวดาชั้นจาตุมมหาราชิกาละเอียดกว่าอาหารของเหล่าภุมมเทวดา.
    อาหาร (ของเหล่าเทวดาชั้นต่าง ๆ) ก็ควรขยายให้พิสดารอย่างนี้ไปจน
    ถึงเหล่าเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี. อาหารของเทวดาชั้นเหล่านั้นตกลงว่า
    เป็นอาหารละเอียดทั้งนั้น. อนึ่ง ในวัตถุหยาบนี้ โอชาก็น้อย มีพลังต่ำ.
    ในวัตถุละเอียด โอชามีพลังสูง. จริงอย่างนั้น ผู้ดื่มข้าวยาคูตั้งเต็มบาตร
    ครู่เดียวเท่านั้นก็หิว อยากจะเคี้ยวกินของสิ่งใดสิ่งหนึ่งอยู่นั่นเอง.๑ ส่วน
    ผู้ดื่มเนยใส แม้เพียงฟาดมือเดียว ก็ไม่อยากกิน (ไม่หิว) ตลอดทั้งวัน.
    ในจำนวนวัตถุและโอชา ๒ อย่างนั้น วัตถุบรรเทาความกระวนกระวาย
    ๑. เปยยาลเล็ก วางไว้หลัง โหติ เข้าใจว่า ผิดที่ ควรจะอยู่หลัง ขาทิตุกาโม จึงแปลเช่นนั้น.
    (หิว) ได้ แต่ไม่อาจจะรักษา (ชีวิต ) ไว้ได้. (ส่วน) โอชา รักษา
    ชีวิตไว้ได้ แต่ไม่อาจบรรเทาความกระวนกระวาย (หิว) ได้. แต่ทั้ง ๒
    อย่างนั้น รวมกันเข้าแล้ว บรรเทาความกระวนกระวาย (หิว) ได้ด้วย
    รักษา (ชีวิต) ได้ด้วย ดังนี้แล.

    <DL><DD>ผัสสาหาร - มโนสัญเจตนาหาร - วิญญาณาหาร </DD></DL><DL><DD>บทว่า ผสฺโส ทุติโย ความว่า ผัสสะ ๖ อย่างมีจักขุสัมผัส </DD></DL>เป็นต้น พึงทราบว่า เป็นอาหารอย่างที่ ๒ ในจำนวนอาหาร ๔ อย่างนั้น.

    <DL><DD>ก็นัยนี้ เป็นนัยแห่งเทศนาเท่านั้น เพราะฉะนั้น ด้วยเหตุชื่อนี้จึง </DD></DL>ไม่ควรแสวงหาคำนี้ว่า อาหารที่ ๒ และที่ ๓ ในอาหารวาระนี้.

    <DL><DD>เจตนานั้นเอง ท่านเรียกว่า มโนสัญเจตนา. </DD></DL><DL><DD>จิตดวงใดดวงหนึ่ง ชื่อว่า วิญญาณ. </DD></DL><DL><DD>ในเรื่องนี้ ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวไว้ว่า ถ้ามีคำถามว่า สัตว์ </DD></DL>ดำรง (ชีพ) อยู่ได้เพราะปัจจัย ดำรงชีพอยู่ได้เพราะอาหาร เมื่อเป็น
    เช่นนั้นเหตุไฉน เมื่อปัจจัยของสัตว์ทั้งหลายแม้อย่างอื่นมีอยู่ พระองค์
    จึงตรัสอาหารไว้ อย่างเหล่านี้เท่านั้น๑.

    <DL><DD>ข้าพเจ้าจะกล่าวตอบว่า พระองค์ตรัสไว้ เพราะเป็นปัจจัยพิเศษแห่ง </DD></DL>สันตติที่เป็นภายใน.

    <DL><DD>อธิบายว่า กวฬิงการาหาร เป็นปัจจัยพิเศษของรูปกายของสัตว์ </DD></DL>ทั้งหลายผู้มีกวฬิงการาหารเป็นภักษา ผัสสาหารเป็นปัจจัยพิเศษของเวทนา
    ในหมวดนาม มโนสัญเจตนาหารเป็นปัจจัยพิเศษของวิญญาณ วิญญาณ
    เป็นปัจจัยพิเศษของนามรูป. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อน
    ๑. เปยยาลเล็กในปาฐะวางไว้หลัง วุจฺจเต เข้าใจว่าคงวางผิด จึงได้แปลตามที่เข้าใจ.
    ภิกษุทั้งหลาย ร่างกายนี้อาศัยอาหารจึงดำรง (ชีพ) อยู่ได้ ไม่มีอาหาร
    ดำรง (ชีพ) อยู่ไม่ได้ ฉันใด. เหมือนอย่างเวทนาเกิดมีเพราะผัสสะ
    เป็นปัจจัย วิญญาณเกิดมีเพราะสังขารเป็นปัจจัย นามรูปเกิดมีเพราะวิญญาณ
    เป็นปัจจัย.

    <DL><DD>ถามว่า ก็ในอาหารวาระนี้ อาหารอะไร นำอะไรมาให้ ? </DD></DL><DL><DD>ตอบว่า กวฬิงการาหาร นำรูปมีโอชะเป็นที่ ๘ มาให้ ( อวินิพ- </DD></DL>โภครูป ๘ ) ผัสสาหาร นำเวทนา ๓ มาให้ มโนสัญเจตนาหาร นำภพ
    ทั้ง ๓ มาให้ วิญญาณาหาร นำนามรูปโนปฏิสนธิมาให้.

    <DL><DD>นำมาให้อย่างไร ? </DD></DL><DL><DD>(นำมาให้อย่างนี้) คือก่อนอื่น กวฬิงการาหาร เพียงแต่วางไว้ </DD></DL>ในปากเท่านั้น ก็ก่อตั้งรูปทั้ง ๘ ขึ้น (สร้างรูปทั้ง ๘ ขึ้น). ส่วน
    คำข้าวแต่ละคำที่ฟันเคี้ยวให้ละเอียดกลืนลงไป จะก่อตั้งรูปขึ้นคำละ ๘ รูป
    ทั้งนั้น. กวฬิงการาหาร นำรูปมีโอชะเป็นที่ ๘ มาให้อย่างนี้. ส่วน
    ผัสสาหาร คือผัสสะที่จะให้เกิดสุขเวทนา เมื่อเกิดขึ้นจะนำสุขเวทนานาให้.
    ผัสสะที่จะให้เกิดทุกขเวทนาก็เช่นนั้น คือจะนำทุกข์มาให้ ที่จะให้เกิด
    อทุกขมสุขเวทนาก็จะนำอทุกขมสุขมาให้. ผัสสาหารจะนำเวทนาทั้ง ๓ มาให้
    โดยประการทั้งปวง ดังที่พรรณนามานี้.
     
  12. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    http://th.wikisource.org/wiki/อรรถกถา_สัมมาทิฏฐิสูตร


    <DL><DD>มโนสัญเจตนาหาร คือกรรมที่จะให้เข้าถึงกามภพ จะนำกามภพ </DD></DL>มาให้. ที่จะให้เข้าถึงรูปภพและอรูปภพ ก็จะนำรูปภพและอรูปภพมาให้.
    มโนสัญเจตนาหาร จะนำภพทั้ง ๓ นาให้อย่างนี้ แม้โดยประการทั้งปวง.

    <DL><DD>แต่วิญญาณาหารท่านกล่าวว่า จะนำขันธ์ทั้ง ๓ ที่สัมปยุตด้วยวิญญาณ </DD></DL>นั้น และรูป ๓๐ อย่างที่เกิดขึ้น ด้วยสามารถแห่งสันตติ ๓ มาให้
    โดยนัยแห่งปัจจัยมีสหชาตปัจจัยเป็นต้น ในปฏิสนธิขณะ. วิญญาณาหาร
    นำนามรูปในปฏิสนธิขณะมาให้อย่างนี้ ดังนี้ .

    <DL><DD>อนึ่ง ในอาหารวาระนี้ กุศลเจตนาและอกุศลเจตนาที่ยังมีอาสวะ </DD></DL>อยู่นั้นแหละ ท่านกล่าวไว้ว่า มโนสัญเจตนาหาร จะนำภพทั้ง ๓ มาให้
    ปฏิสนธิวิญญาณนั้นเองท่านกล่าวไว้ว่า วิญญาณจะนำนามรูปในปฏิสนธิ-
    ขณะมาให้. แต่อาหาร ๓ อย่างเหล่านี้ พึงทราบว่าเป็นอาหารโดยไม่แปลก
    กัน เพราะนำมาซึ่งธรรมที่สัมปยุตกับด้วยวิญญาณนั้น และธรรมที่เป็น
    สมุฏฐานแห่งวิญญาณนั้น.

    <DL><DD>ในจำนวนอาหาร ๔ อย่างนั้น กวฬิงการาหาร เมื่อค้ำชู (ชีวิต ) </DD></DL>ไว้ย่อมให้สำเร็จกิจคือการนำ (รูป) มา. ผัสสะ เมื่อถูกต้องอยู่นั้นแหละ
    (ย่อมให้สำเร็จกิจคือการนำเวทนามา ). มโนสัญเจตนา เมื่อประมวลมาอยู่
    นั่นแหละ (ย่อมให้สำเร็จกิจคือการนำภพมา). วิญญาณ เมื่อรู้อยู่นั้นแหละ
    (ย่อมให้สำเร็จกิจคือการนำนามรูปในปฏิสนธิขณะมา)

    <DL><DD>อย่างไร ? </DD></DL><DL><DD>( อย่างนี้คือ) ความจริง กวฬิงการาหาร เมื่อค้ำชู (ชีวิต) </DD></DL>อยู่นั้นเอง จะมีการดำรงสัตว์ทั้งหลายไว้ โดยการดำรงกายไว้ เพราะว่า
    ร่างกายนี้ ถึงกรรมจะแต่งให้เกิด กวฬิงการาหารก็ค้ำชูไว้ จึงดำรงอยู่ได้
    จนถึงกำหนดอายุ ๑๐ ปีบ้าง ๒๐ ปีบ้าง เหมือนทารกที่มารดาให้เกิดแล้ว
    แม่นมให้ดื่มนมเป็นต้นเลี้ยงดูอยู่ จึงดำรงอยู่ได้นานแล. เหมือนเรือนที่
    ใช้ไม้ค้ำค้ำไว้.

    <DL><DD>สมจริงตามพระพุทธพจน์ว่า ขอถวายพระพรมหาบพิตร เมื่อ </DD></DL>เรือนจะล้ม คนทั้งหลายจะเอาไม้อื่นมาค้ำไว้ เรือนนั้น ที่ถูกไม้อื่นค้ำไว้
    ทรงตัวอยู่ได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ เรือนนั้น จะไม่ล้ม ฉันใด ขอถวาย
    พระพรมหาบพิตรพระราชสมภารเจ้า ร่างกายนั้น ก็ฉันนั้น เหมือนกัน
    นั้นแล ดำรงอยู่ได้เพราะอาหารอาศัยอาหาร จึงดำรงอยู่ได้. กวฬิงการา-
    หาร เมื่อค้ำจุนร่างกายอยู่อย่างนี้ ย่อมชื่อว่า ให้สำเร็จหน้าที่ของอาหาร
    (การนำรูปมา) และแม้เมื่อให้สำเร็จอาหารกิจอยู่อย่างนี้ กวฬิงการาหาร
    ก็ชื่อว่าเป็นปัจจัยของรูปสันตติ ๒ อย่างคือ เป็นปัจจัยของรูปที่มีอาหาร
    เป็นสมุฏฐานด้วย รูปที่ตัณหาและทิฏฐิถือเอาแล้วด้วย๑. กวฬิงการาหาร
    เป็นสิ่งที่ตามรักษากัมมชรูป (รูปเกิดแต่กรรม) และเป็นผู้ให้กำเนิด
    แก่รูปที่มีอาหารเป็นสมุฏฐานดำรงอยู่ได้.

    <DL><DD>ส่วนผัสสะ เมื่อถูกต้องอารมณ์ซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งความสุขเป็นต้นอยู่ </DD></DL>นั้นแหละ. ชื่อว่ามีอยู่ เพื่อการดำรงอยู่แห่งสัตว์ทั้งหลาย ด้วยการหมุน
    เวียนไปแห่งสุขเวทนาเป็นต้น.

    <DL><DD>มโนสัญเจตนา เมื่อประมวลไว้ ด้วยสามารถแห่งกุศลกรรมและ </DD></DL>อกุศลกรรมอยู่นั้นแหละ ชื่อว่ามีอยู่เพื่อการดำรงอยู่แห่งสัตว์ทั้งหลาย โดย
    การยังรากเหง้าของภพให้สำเร็จ.

    <DL><DD>วิญญาณ เมื่อรู้อยู่นั้นแหละ ชื่อว่ามีอยู่เพื่อการดำรงอยู่แห่งสัตว์ </DD></DL>ทั้งหลายโดยการเป็นไปแห่งนามรูป.
    ๑. เปยยาลเล็กวางไว้หลัง โหติ เข้าใจว่าเป็นหลัง จ ซึ่งใช้ควบพากย์ จึงแปลตามที่เข้าใจ.

    <DL><DD>ภัยในอาหาร ๔ </DD></DL><DL><DD>ในอาหาร ๔ อย่างเหล่านี้ ที่ให้สำเร็จอาหารกิจอยู่ ด้วยสามารถ </DD></DL>แห่งการอุปถัมภ์เป็นต้น ควรเห็นภัย ๔ ประการอย่างนี้ คือ ในกวฬิง-
    การาหาร ได้แก่ภัยคือความใคร่ (อยาก) ในผัสสาหาร ได้แก่ภัยคือ
    การข้องแวะ. (ติด) นั้นเอง ในมโนสัญเจตนาหาร ได้แก่ภัยคือการ
    ประมวลมา (สั่งสม) นั้นแหละ. ในวิญญาณาหาร ได้แก่ภัยคือการตกลง
    จำเพาะ (การถือกำเนิด ) ทีเดียว.

    <DL><DD>เพราะเหตุไร ? </DD></DL><DL><DD>เพราะว่า สัตว์ทั้งหลายสร้างภัย คือ ความใคร่ในกวฬิงการาหาร </DD></DL>มุ่งหน้าต่อความหนาวเป็นต้น ทำงานมีการนับด้วยหัวแม่มือเป็นต้นเพื่อ
    ต้องการอาหาร ย่อมเข้าถึงทุกข์มิใช่น้อย. และคนลางจำพวก ถึงจะบวช
    ในพระศาสนานี้ ก็แสวงหาอาหารโดยการแสวงหาที่ไม่สมควร มีเวชช-
    กรรมเป็นต้น จะเป็นผู้ถูกครหาในปัจจุบันนี้. ถึงในสัมปรายภพ ก็จะเป็น
    สมณเปรตโดยนัยที่ได้กล่าวไว้แล้วในลักษณะสังยุตมีอาทิว่า แม้สังฆาฏิ
    ของเธอ ถูกไฟไหม้ลุกโชนแล้ว และความใคร่ในกวฬิงการาหารนั้นเอง
    พึงทราบว่าเป็นภัย เพราะเหตุนี้ก่อน.

    <DL><DD>ชนทั้งหลายผู้มีอัสสาทะในผัสสะ แม้เมื่อเผชิญผัสสะ ก็จะเบียด- </DD></DL>เบียนสิ่งของทั้งหลายมีเมียเป็นต้นของคนอื่นที่เขารักษาคุ้มครองไว้. เจ้าของ
    สิ่งของจะจับเขาพร้อมด้วยสิ่งของ ฟันให้แหลกเป็นท่อน ๆ โยนทิ้งที่
    กองขยะ หรือมอบตัวแก่พระราชา. ต่อจากนั้น พระราชาก็จะตรัสสั่งให้
    พวกเขาทำงานชนิดต่าง ๆ ( ลงโทษ). และเพราะกายแตกทำลายไป
    พวกเขาเป็นหวังได้รับภัย คือ ทุคติ. กรรมที่มีอสัสาทะในผัสสะเป็น
    รากฐาน เป็นเหตุให้ประสบภัยทั้งในปัจจุบันและสัมปรายภพทีเดียว ด้วย
    ประการฉะนี้. เพราะเหตุนี้ การข้องแวะในผัสสาหารนั้นเอง พึงทราบ
    ว่าเป็นภัย. แต่ภัยในภพทั้ง ๓ ที่มีกุศลและอกุศลกรรมนั้นเป็นมูลฐาน
    จะมาทั้งหมดเลย เพราะการประมวลมาซึ่งกุศลกรรมและอกุศลกรรมนั้น
    เอง. เพราะเหตุนี้ การประมวลมาในมโนสัญเจตนาหารนั้นเอง พึงทราบ
    ว่าเป็นภัย.

    <DL><DD>ส่วนปฏิสนธิวิญญาณ ก็จะรับเอาปฏิสนธินามรูปนั้นแหละ เกิดขึ้น </DD></DL>ในที่เป็นที่ถือกำเนิด และเมื่อปฏิสนธิวิญญาณนั้นเกิดขึ้นแล้ว ภัยทุกอย่าง
    ก็เป็นอันเกิดขึ้นเหมือนกัน เพราะมีปฏิสนธินั้นเป็นมูลราก เพราะเหตุ
    ดังที่พรรณนามาแล้วนี้แล การถือกำเนิด ( ตกลงเฉพาะ) พึงทราบว่า
    เป็นภัยในวิญญาณาหารดังนี้แล.

    <DL><DD>แต่ในจำพวกอาหารทั้ง ๔ อย่างเหล่านี้ ที่เป็นภัยอย่างนี้ เพื่อจะ </DD></DL>ให้ครอบงำความใคร่ในกวฬิงการาหาร พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงทรง
    แสดงการเปรียบเทียบด้วยเนื้อบุตร โดยนัยมีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
    ผัวเมียทั้ง ๒ แม้ฉันใด.

    <DL><DD>เพื่อให้ครอบงำความใคร่ในผัสสาหารจึงทรงแสดงการเปรียบเทียบ </DD></DL>ด้วยแม่โคที่ถูกถลกหนัง โดยนัยมีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม่โคที่
    เขาถลกหนังแล้ว. . . . แม้ฉันใด.

    <DL><DD>เพื่อให้ครอบงำความใคร่ในมโนสัญเจตนาหาร จึงทรงแสดงการ </DD></DL>เปรียบเทียบด้วยหลุมถ่านเพลิง โดยนัยมีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
    หลุมถ่านเพลิง. . . แม้ฉันใด.

    <DL><DD>เพื่อให้ครอบงำความใคร่ในวิญญาณาหาร จึงทรงแสดงการเปรียบ- </DD></DL>เทียบด้วยการแทงด้วยหอกสามร้อยเล่ม โดยนัยมีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุ
    ในทั้งหลาย. . .ซึ่งโจรผู้ประพฤติชั่วช้า แม้ฉันใด.

    <DL><DD>นี้เป็นการประกอบเนื้อความโดยสังเขป โดยอธิบายความให้แจ่มชัด </DD></DL>ในอาหารวาระนั้น.

    <DL><DD>เปรียบเทียบสามีภรรยากินเนื้อบุตร </DD></DL><DL><DD>ได้ทราบว่า สองผัวเมีย พากันอุ้มบุตรเดินทางกันดาร ๑๐๐ โยชน์ </DD></DL>โดยเสบียงเล็กน้อย. เมื่อเขาเดินไปได้ ๕๐ โยชน์ เสบียงหมดลง.

    <DL><DD>เขาทั้ง ๒ กระสับกระส่ายเพราะความหิวกระหายพากันนั่งใต้ร่มเงา </DD></DL>โปร่ง (ของต้นไม้) ถัดนั้นฝ่ายชายได้พูดกับภรรยาว่า น้องนางเอ๋ย
    ระยะ ๕๐ โยชน์รอบ ๆ นี้ ไม่มีบ้านหรือนิคมเลย เพราะฉะนั้น บัดนี้
    พี่ไม่สามารถจะทำงานตั้งมากมายที่ผู้ชายจะพึงทำได้ มีการทำนาและเลี้ยง
    โคเป็นต้นได้ มาเถิดน้อง จงฆ่าพี่แล้ว กินเนื้อเสียครึ่งหนึ่ง อีกครึ่งหนึ่ง
    เอาเป็นเสบียงเดินข้ามทางกันดารไปกับลูกเถิด.

    <DL><DD>ฝ่ายนางได้พูดกับสามีว่า พี่ขา บัดนี้ น้องไม่สามารถจะทำงานที่ </DD></DL>หญิงจะต้องทำ มีการปั่นด้ายเป็นต้นตั้งมากมายได้ มาเถิดพี่ จงฆ่าน้อง
    แล้วกินเนื้อเสียครึ่งหนึ่ง อีกครึ่งหนึ่งเอาเป็นเสบียงเดินทางข้ามทางกันดาร
    ไปกับลูกเถิด.

    <DL><DD>ฝ่ายชายจึงพูดกับภรรยาอีกว่า น้องเอ๋ย เพราะแม่บ้านตาย ความ </DD></DL>ตายจะปรากฏแก่เราทั้ง ๒ พ่อลูก เพราะเด็กน้อย เว้นมารดาแล้ว จะไม่
    สามารถมีชีวิตอยู่ได้ แต่ถ้าเราทั้ง ๒ ยังมีชีวิตอยู่ ก็จะได้ลูกอีก อย่ากระนั้น
    เลย บัดนี้เราจะฆ่าลูกเอาเนื้อกิน ข้ามทางกันดาร.

    <DL><DD>ลำดับนั้น แม่ได้พูดกับลูกว่า ลูกเอ๋ย จงไปหาพ่อเถอะ. ลูกก็ได้ไป </DD></DL>(หาพ่อ). ถัดนั้นพ่อของลูกพูดว่า พี่ได้เสวยทุกข์มาไม่น้อย เพราะการ
    ทำนาเลี้ยงโคด้วยหวังว่าจะเลี้ยงลูก พี่จึงไม่อาจจะฆ่าลูกได้ เธอนั้นแหละ
    จงฆ่าลูกของเธอ ดังนี้แล้วได้บอกลูกว่า ลูกเอ๋ย จงไปหาแม่เถิด. ลูกก็
    ได้ไป (หาแม่ ) ถึงแม่ของลูกนั้นก็ได้พูดว่า ฉันเมื่ออยากได้ลูก ได้เสวย
    ทุกข์ทรมานมิใช่น้อย ด้วยการประพฤติตนเยี่ยงโค ประพฤติตนเยี่ยงลูก
    สุนัข และอ้อนวอนขอต่อเทวดาเป็นต้นก่อน ไม่ต้องพูดถึงการประคับ
    ประคองท้อง ฉันจึงไม่อาจจะฆ่าลูกได้ แล้วได้บอกลูกว่า ลูกเอ๋ย เจ้า
    จงไปหาพ่อเถิด. ลูกนั้นเมื่อเดินไปมาในระหว่างพ่อแม่ทั้ง ๒ อยู่อย่างนี้
    ก็ได้ตายลง.

    <DL><DD>สองผัวเมียนั้นเห็นลูกเข้าพากันคร่ำครวญ เอาเนื้อ ( ลูก) มากิน </DD></DL>แล้วหลีกไป ตามนัยที่ได้กล่าวไว้แล้วแต่ต้น. เขาทั้ง ๒ นั้นไม่ได้เอาเนื้อ
    บุตรกินเป็นอาหารเพื่อเล่นเลย ไม่ใช่เพื่อเมามาย ไม่ใช่เพื่อประดับประดา
    ไม่ใช่เพื่อตกแต่ง แต่เพื่อต้องการข้ามให้พันทางกันดารอย่างเดียวเท่านั้น
    เอง เพราะเป็นของปฏิกูลด้วยเหตุ ๙ ประการ.

    <DL><DD>หากจะถามว่า ปฏิกูลด้วยเหตุ ๙ ประการอะไรบ้าง ? </DD></DL><DL><DD>แก้ว่า คือเพราะเป็นเนื้อที่เกิดจากตน ๑ เพราะเป็นเนื้อของญาติ ๑ </DD></DL>เพราะเป็นเนื้อของลูก ๑ เพราะเป็นเนื้อของลูกรัก ๑ เพราะเป็นเนื้อของ
    เด็กอ่อน ๑ เพราะเป็นเนื้อดิบ ๑ เพราะเป็นเนื้อที่ไม่ใช้กิน ๑ เพราะ
    ไม่ได้ใส่เกลือ ๑ เพราะไม่ได้ย่าง ๑.

    <DL><DD>เพราะฉะนั้น ภิกษุใด เห็นกวฬิงการาหาร เป็นเสมือนเนื้อลูก </DD></DL>อย่างนี้ เธอจะครอบงำ (คลาย) ความใคร่ ในกวฬิงการาหารนั้นได้.
    นี้เป็นการประกอบความในข้ออุปมาด้วยเนื้อบุตรก่อน.

    <DL><DD>เปรียบเทียบแม่โคที่ถูกถลกหนัง </DD></DL><DL><DD>ส่วนในข้อเปรียบเทียบด้วยแม่โคที่เขาถลกหนัง พึงทราบอรรถา- </DD></DL>อธิบาย ดังต่อไปนี้ แม่โคนั้นเขาถลกหนังแต่คอจนถึงเล็บออกไปแล้วปล่อย
    ทิ้งไว้ มันจะถูกสัตว์มีชีวิตกัดกินอยู่ในที่ที่มันอาศัยอยู่. จะมีแต่เรื่องทุกข์
    เท่านั้นฉันใด. ถึงผัสสะก็ฉันนั้นเหมือนกัน อาศัยวัตถุหรืออารมณ์ใด ๆ
    สถิตอยู่. จะมีแต่เรื่องทุกข์ที่ได้เสวยแล้วเท่านั้น อันเกิดจากวัตถุและ
    อารมณ์นั้น ๆ.

    <DL><DD>เพราะฉะนั้น ภิกษุใดเห็นผัสสาหารเป็นเสมือนกับแม่โคที่เขาถลก </DD></DL>หนึ่งอยู่อย่างนี้ ภิกษุนั้นจะครอบงำความใคร่ในผัสสาหารนั้นได้. นี้เป็น
    การประกอบความในข้อเปรียบเทียบด้วยแม่โคที่เขาถลกหนัง.

    <DL><DD>เปรียบเทียบหลุมถ่านเพลิง </DD></DL><DL><DD>แต่ในข้อเปรียบเทียบด้วยหลุมถ่านเพลิง พึงทราบอรรถาธิบาย </DD></DL>ดังต่อไปนี้ ภพทั้ง ๓ เหมือนกับหลุมถ่านเพลิง เพราะอรรถว่า ร้อนระอุ
    มาก มโนสัญเจตนา เหมือนกับชายสองคน ต่างพากันจับแขน กระชาก
    ลงในหลุมถ่านเพลิงนั้น เพราะอรรถว่า ฉุดกระชากเข้าไปในภพทั้งหลาย.

    <DL><DD>เพราะฉะนั้น ภิกษุใดเห็นมโนสัญเจตนาหาร ว่าเป็นเช่นกับหลุม </DD></DL>ถ่านเพลิงอยู่อย่างนี้ ภิกษุนั้นจะครอบงำความใคร่ในมโนสัญเจตนาหาร
    ได้. นี้เป็นการประกอบความในข้อเปรียบเทียบด้วยหลุมถ่านเพลิง.

    <DL><DD>เปรียบเทียบด้วยการแทงด้วยหอกร้อยเล่ม </DD></DL><DL><DD>ส่วนในข้อเปรียบเทียบ การถูกแทงด้วยหอก ๓ ร้อยเล่ม พึงทราบ </DD></DL>อรรถาธิบาย ดังต่อไปนี้ ในเวลาเช้า ชายคนหนึ่งเดือนร้อนเพราะหอก
    ๑๐๐ เล่มจำนวนโค. หอกจำนวนนั้นแทงร่างของเขาให้เป็นบาดแผลถึง
    ๑๐๐ แห่ง ทะลุไปไม่หยุดอยู่ในระหว่างแล้ว ในกาลต่อมา ก็หล่นออกไป
    หอก ๒๐๐ เล่ม อีกต่างหาก ก็อย่างนั้น เมื่อเช่นนั้น ทั่วร่างจึงพรุน
    ไปหมด เพราะหอกหลายด้ามที่พุ่งไปไม่หล่นในโอกาสที่หอก ๑๐๐ ด้าม
    (รุ่นก่อน) นั้น หล่นไปแล้ว. ทุกข์ของชายคนนั้นที่เกิดขึ้น เพราะ
    ปากบาดแผล แม้บาดแผลเดียว ก็หาประมาณไม่ได้อยู่แล้ว. จะป่วยกล่าว
    ไปไยถึงทุกข์ที่เกิดขึ้น เพราะปากบาดแผล ๓๐๐ แผล.

    <DL><DD>บรรดาเหตุการณ์เหล่านั้น ปฏิสนธิเหมือนกับเวลาที่หอกตกถูก. </DD></DL>การเกิดแห่งขันธ์เหมือนกับการเกิดในเพราะปากบาดแผล การเกิดขึ้น
    แห่งทุกข์นานาชนิดที่มีวัฏฏะเป็นมูลมีได้ในเพราะขันธ์ทั้งหลายที่เกิดแล้ว
    เหมือนการเกิดขึ้นแห่งทุกขเวทนาในเพราะปากบาดแผลทั้งหลาย.

    <DL><DD>อีกนัยหนึ่ง ปฏิสนธิวิญญาณ เหมือนชายผู้ประพฤติชั่วช้า. </DD></DL>นามรูปมีเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย เหมือนปากบาดแผลที่เกิดขึ้นแก่ชาย
    คนนั้น เพราะถูกหอกทั้งหลายแทงแล้ว. พึงเห็นการเกิดขึ้นแห่งทุกข์มี
    ประการต่าง ๆ สำหรับวิญญาณ เพราะมีนามรูปเป็นปัจจัย ด้วยสามารถ
    ของกรรมกรณ์ ๓๒ ประการ และโรค ๙๘ ชนิด เป็นต้น เหมือนการ
    เกิดขึ้นแห่งทุกข์หนักแก่ชายคนนั้น เพราะมีปากบาดแผลเป็นปัจจัย.

    <DL><DD>เพราะฉะนั้น ภิกษุใดเห็นวิญญาณาหารว่า เป็นเช่นกับด้วยถูกแทง. </DD></DL>ด้วยหอก ๓๐๐ เล่มอย่างนั้น ภิกษุนั้นจะครอบงำความใคร่ในวิญญาณาหาร
    ได้. นี้เป็นการประกอบความในการเปรียบเทียบด้วยการถูกแทงด้วยหอก
    ๓๐๐ เล่ม.

    <DL><DD>เธอเมื่อครอบงำความใคร่ในอาหารเหล่านี้อย่างนี้ว่า ชื่อว่า ย่อม </DD></DL>กำหนดรู้อาหารทั้ง ๔ อย่าง. เมื่อกำหนดรู้อาหารเหล่านั้นแล้ว วัตถุ
    ที่กำหนดรู้แม้ทั้งหมด ก็เป็นอันกำหนดรู้แล้วเหมือนกัน.

    <DL><DD>สมจริงตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า </DD></DL><DL><DD>ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อเธอทั้งหลายกำหนดรู้กวฬิงการาหารแล้ว </DD></DL>ราคะที่อาศัยเบญจกามคุณ ก็เป็นอันกำหนดรู้แล้ว. เมื่อกำหนดรู้ราคะ
    ที่อาศัยเบญจกามคุณแล้ว จะไม่มีสังโยชน์นั้น (กามราคสังโยชน์) ซึ่ง
    เป็นเหตุให้อริยสาวกผู้ประกอบแล้ว มาสู่โลกนี้อีก.

    <DL><DD>ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อกำหนดรู้ผัสสาหารแล้ว เวทนาทั้ง ๓ </DD></DL>ก็เป็นอันเธอทั้งหลายกำหนดรู้แล้ว. เมื่อกำหนดรู้เวทนาทั้ง ๓ แล้ว เรา
    ตถาคตกล่าวว่า อริยสาวกจะไม่มีกิจอะไรที่จะต้องทำให้ยิ่งขึ้นไป.

    <DL><DD>ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อกำหนดรู้มโนสัญเจตนาหารแล้ว ตัณหา ๓ </DD></DL>ก็เป็นอันกำหนดรู้แล้ว. เมื่อกำหนดรู้ตัณหา ๓ แล้ว เราตถาคตกล่าวว่า
    อริยสาวกจะไม่มีกิจอะไรที่จะต้องทำให้ยิ่งขึ้นไป.

    <DL><DD>ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อกำหนดรู้วิญญาณาหารแล้ว นามรูป </DD></DL>ก็เป็นอันกำหนดรู้แล้ว เมื่อกำหนดรู้นามรูปแล้ว เราตถาคตก็กล่าวว่า
    อริยสาวกจะไม่มีกิจอะไรที่จะต้องทำให้ยิ่งขึ้นไป.

    <DL><DD>ตัณหาเกิด - อาหารจึงเกิด </DD></DL><DL><DD>บทว่า ตณฺหาสมุทยา อาหารสมุทโย มีเนื้อความว่า เพราะ </DD></DL>ตัณหาเก่าก่อนเกิดขึ้น สมุทัย ( เหตุเกิด) คือการเกิดขึ้นแห่งอาหาร
    ทั้งหลายที่มีมาแต่ปฏิสนธิ ย่อมมีขึ้น.

    <DL><DD>มีอย่างไร ? </DD></DL><DL><DD>(มีอย่างนี้คือ) เพราะในขณะแห่งปฏิสนธิ จะมีโอชะที่เกิดขึ้นแล้ว </DD></DL>ในภายในรูป ๓๐ ถ้วน ที่เกิดขึ้นด้วยสามารถแห่งสันตติ ๓ นี้ คือ
    กวฬิงการาหาร ที่เป็นอุปาทินนกะ (มีใจครอง) เกิดขึ้นแล้ว เพราะ
    ตัณหาเป็นปัจจัย. ส่วนผัสสาหาร มโนสัญเจตนาหาร และวิญญาณาหาร
    ที่เป็นอุปาทินนกะเหล่านี้ คือ ผัสสะและเจตนาที่สัมปยุตด้วยปฏิสนธิจิต
    และวิญญาณคือตัวจิตเอง เกิดขึ้นแล้ว เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย ดังนี้แล.

    <DL><DD>พึงทราบการเกิดขึ้นแห่งอาหารทั้งหลายที่มีมาแต่ปฏิสนธิ เพราะ </DD></DL>ตัณหาเก่าก่อนเกิดขึ้น ดังที่พรรณนามานี้ก่อน.

    <DL><DD>แต่เพราะเหตุที่ในอาหารวาระนี้ ท่านพระสารีบุตรกล่าวถึงอาหาร </DD></DL>คละกันไปทั้งอาหารที่เป็นอุปาทินนกะ. (มีใจครอง) และที่เป็น
    อนุปาทินนกะ (ที่ไม่มีใจครอง) ฉะนั้น จึงควรทราบการเกิดขึ้นแห่ง
    อาหาร เพราะตัณหาเกิดอย่างนี้ สำหรับอาหารทั้งหลายที่เป็นอนุปาทินนกะ
    (ดังต่อไปนี้) :-

    <DL><DD>อันที่จริง โอชะมีอยู่ในรูปทั้งหลายที่ตั้งขึ้น แต่จิตที่สหรคตด้วยโลภะ </DD></DL>๘ ดวง นี้ คือกวฬิงการาหารที่เป็นอนุปาทินนกะ ที่เกิดขึ้นแล้วเพราะ
    ตัณหาที่เกิดขึ้นพร้อมกันเป็นปัจจัย ส่วนผัสสะ ๑ เจตนาที่สัมปยุตด้วย
    จิตที่สหคตด้วยโลภะ ๑ วิญาณคือตัวจิตเอง ๑ รวมทั้ง (๓ อย่าง )
    เหล่านี้ ได้แก่ผัสสาหาร มโนสัญเจตนาหาร และวิญญาณาหาร ที่เป็น
    อนุปาทินนกะ เกิดขึ้นแล้ว เพราะมีตัณหาเป็นปัจจัย ดังนี้แล.

    <DL><DD>ตัณหาดับ อาหารจึงดับ </DD></DL><DL><DD>สองบทว่า ตณฺหานิโรธา อาหารนิโรโธ ความว่า ความดับแห่ง </DD></DL>อาหารย่อมปรากฏ เพราะความดับแห่งตัณหา ที่เป็นปัจจัยของอาหาร
    ทั้งหลาย ทั่งที่เป็นอุปาทินนกะ และที่เป็นอนุปาทินนกะนี้.

    <DL><DD>คำที่เหลือ (จากที่อธิบายนี้) มีนัยดังที่ได้กล่าวไว้แล้วนั้นแหละ. </DD></DL><DL><DD>ในอาหารวาระนี้ ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวถึงสัจจะทั้ง ๔ ไว้โดย </DD></DL>สรุปแล้ว. และในทุกวาระนอกเหนือจากนี้ ท่านก็ได้กล่าวไว้เหมือนใน
    อาหารวาระนี้ เพราะเหตุนั้นแล ผู้ศึกษาที่ไม่หลงลืมควรยกสัจจะทั้งหลาย
    ขึ้นในทุกวาระ และการประมวลเทศนาในทุกวาระว่า เอตฺตาวตาปิ โข
    อาวุโส นี้ ควรประกอบด้วยสามารถแห่งธรรมที่แสดงแล้วในวาระนั้น ๆ.
    นี้เป็นการประกอบเนื้อความนั้น ในวาระนี้ก่อน.

    <DL><DD>บทว่า เอตฺตาวตาปิ นี้ ความว่า ด้วยเทศนาเรื่องอาหารนี้ มี </DD></DL>อธิบายว่า แม้ด้วยสามารถแห่งการแทงตลอดด้วยมนสิการที่กล่าวมาแล้ว.
    แม้ในทุกบทก็ทำนอง (นัย) นี้.

    <DL><DD>จบ กถาพรรณนาอาหารวาระ </DD></DL><DL><DD>กถาพรรณนาสัจจวาระ </DD></DL>
     
  13. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    http://th.wikisource.org/wiki/อรรถกถา_สัมมาทิฏฐิสูตร

    <DL><DD>[๑๑๔] บัดนี้ ภิกษุเหล่านั้น ครั้นพากันชื่นชมอนุโมทนาภาษิต </DD></DL>ของพระเถระนั้น โดยนัยที่กล่าวไว้แล้วในตอนก่อนว่า สาธาวุโส
    แล้วได้ถามปัญหาสูงขึ้นไปอีก และพระเถระก็ได้แก้ปัญหา โดยทำนอง
    แม้อย่างอื่น แก่ภิกษุเหล่านั้น. ในทุกวาระแม้นอกจากวาระนี้ ก็มีนัยนี้.
    <DL><DD>[๑๑๕] เพราะฉะนั้น ต่อจากนี้ไปข้าพเจ้าจักขยายความของบรรยาย </DD></DL>ที่พระเถระได้กล่าวแก้ไว้แล้ว ไม่พาดพิงถึงคำแบบนี้. แต่ด้วยการแสดง
    โดยย่อซึ่งวาระนี้ พระเถระได้แสดงทุกขสัจว่า ทุกข์ ในคำว่า ทุกฺขญฺจ
    ปชานาติ. ส่วนในการแสดงโดยพิสดาร คำที่จะต้องกล่าวทั้งหมด ได้
    กล่าวไว้แล้วในสัจจนิเทศ ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคนั้นแล.
    <DL><DD>จบ กถาพรรณนาสัจจวาระ </DD></DL><DL><DD>กถาพรรณนาชรามรณวาระ </DD></DL><DL><DD>[๑๑๗ ] ต่อจากนี้ไป เป็นเทศนาว่าด้วยปฎิจจสมุปบาท. </DD></DL><DL><DD>ในจำนวนวาระเหล่านั้น ก่อนอื่นพึงทราบวินิจฉัยในชรามรณวาระ </DD></DL>ว่า
    <DL><DD>บทว่า เตสํ เตสํ นี้ เป็นการแสดงทั่วไปถึงสัตว์จำนวนมากมายไว้ </DD></DL>โดยสังเขป. เพราะว่า เมื่อพูดอยู่ตลอดทั้งวันอย่างนี้ว่า ความแก่ของ
    พระเทวทัตอันใด ความแก่ของท่านโสมทัตอันใด. . .ดังนี้ สัตว์ทั้งหลาย
    จะไม่ถึงการครอบคลุมไว้ ( จะไม่ครอบคลุมไปถึงสัตว์ทั้งหมด). แต่
    ด้วยบททั้ง ๒ นี้ (เตสํ เตสํ) สัตว์ตัวไหนจะไม่ถูกครอบคลุมเป็นไม่มี
    (คลุมไปหมดทุกตัวสัตว์). เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงกล่าวไว้ว่า บทนี้
    เป็นการแสดงทั่วไปถึงสัตว์จำนวนมากไว้โดยสังเขป.
    <DL><DD>บททั้ง ๒ ว่า ตมฺหิ ตมฺหิ นี้. เป็นการแสดงทั่วไปถึงหมู่สัตว์ </DD></DL>จำนวนมากมายด้วยสามารถแห่งการเกิดในคติ.
    <DL><DD>บทว่า สตฺตนิกาย เป็นการแสดงสรุปถึงสัตว์ที่ได้แสดงไว้แล้ว </DD></DL>โดยสาธารณนิเทศ.
    <DL><DD>ก็บทว่า ชรา ในคำทั้งหลายมีอาทิว่า ชรา ชีรณตา เป็นการ </DD></DL>แสดงถึงสภาวธรรม.
    <DL><DD>บทว่า ชีรณตา เป็นการ แสดงถึงอาการ. </DD></DL><DL><DD>บททั้งหลายมี ขณฺฑิจฺจํ เป็นต้น เป็นการแสดงถึงหน้าที่ (ของ </DD></DL>ชรา) ในเพราะผ่านกาลเวลาไป.
    <DL><DD>สองบทหลังเป็นการแสดงถึง (หน้าที่) ตามปกติ. เพราะว่า </DD></DL>ชรานี้ ท่านพระสารีบุตรแสดงไว้โดยสภาวะด้วยบทว่า ชรา เพราะฉะนั้น
    บทนี้จึงเป็นบทแสดงถึงสภาวะของชรานั้น.
    <DL><DD>ด้วยบทว่า ชีรณตา นี้ พระเถระได้แสดงไว้โดยอาการ. เพราะ </DD></DL>ฉะนั้น บทนี้จึงเป็นบทแสดงถึงอาการของชรานั้น
    <DL><DD>ด้วยบทว่า ขณฺฑิจฺจํ นี้ พระเถระได้แสดงโดยกิจคือการการทำ </DD></DL>ภาวะแห่งฟันและเล็บที่หักเป็นชิ้น ๆ ในเพราะล่วงกาลเวลาไป.
    <DL><DD>ด้วยบทว่า ปาลิจฺจํ นี้ พระเถระได้แสดงโดยกิจคือการทำภาวะ </DD></DL>ที่ผมและขนหงอก. ด้วยบทว่า วลิตตจตา นี้ พระเถระได้แสดงแม้โดย
    กิจคือการกระทำให้เนื้อเหี่ยวหนังย่น. ด้วยเหตุนั้น ศัพท์ทั้ง ๓ มี ขณฺฑิจฺจํ
    เป็นต้นเหล่านี้ จึงเป็นศัพท์แสดงถึงกิจของชรานั้น ในเพราะล่วงกาล
    เวลาไป ด้วยศัพท์ทั้ง ๓ เหล่านั้น พระเถระได้แสดงถึงชราที่ปรากฏคือ
    เป็นสิ่งที่ปรากฏ ด้วยสามารถเห็นความพิการเหล่านี้ได้.
    <DL><DD>อุปมาเสมือนหนึ่งว่า ทางเดินของน้ำปรากฏ (ให้เห็นได้) เพราะ </DD></DL>พัดหญ้าและต้นไม้เป็นต้นให้ล้มราบ หรือทางเดินของไฟปรากฏ (ให้
    เห็นได้) เพราะหญ้าและต้นไม้เป็นต้นไหม้. และทางเดิน (ของน้ำ
    เป็นต้น ) นั้น ก็ไม่ใช่น้ำเป็นต้นเหล่านั้นเลย (เป็นคนละอย่าง) ฉันใด.
    ทางเดินของชรา ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นธรรมชาติปรากฏ (ให้เห็น)
    ในอวัยวะทั้งหลายมีฟันเป็นต้น ด้วยสามารถแห่งความพิการทั้งหลาย มี
    ความหักเป็นต้น คนแม้ลืมตาดูแล้ว ก็จับต้องได้. และทางเดินของชรา
    นั้น ด้วยความสามารถแห่งความพิการทั้งหลาย มีความหักเป็นต้น ก็ไม่
    ใช่ชรา. เพราะชราจะเป็นธรรมชาติรู้ได้ด้วยจักษุหามิได้เลย. ( ต้องรู้ได้
    ด้วยปัญญา).
    <DL><DD>แต่ด้วยบทเหล่านี้ว่า อายุโน สํหานิ อินฺทฺริยานํ ปริปาโก </DD></DL>พระเถระได้แสดงชราตามปกติ เพราะความสิ้นไปแห่งอายุเป็นสิ่งที่รู้ได้
    จากความหง่อมของอินทรีย์มีจักษุเป็นต้น ในเพราะการก้าวล่วงกาลเวลา
    เท่านั้น เหตุที่ท่านเป็นผู้ฉลาดยิ่ง.
    <DL><DD>เพราะฉะนั้น ๒ อาการหลังนี้พึงทราบว่า เป็นการแสดง (อาการ) </DD></DL>ตามปกติของชรานั้น.
    <DL><DD>บรรดาอายุและอินทรีย์ทั้ง ๒ อย่างนั้น เพราะเหตุที่อายุของผู้ถึง </DD></DL>ความแก่ ย่อมเสื่อมไป (มากขึ้น) ฉะนั้น ท่านจึงได้กล่าวชราไว้โดย
    ใกล้ต่อผล ( ใกล้ต่อความตาย) ว่า ได้แก่ความเสื่อมแห่งอายุ อายุมาก.
    <DL><DD>แต่เพราะเหตุที่เวลายังหนุ่ม อินทรีย์ทั้งหลายมีตาเป็นต้น ยังสดใส </DD></DL>สามารถรับเอาอารมณ์ (มีรูปเป็นต้น ) ของตน แม้ที่ละเอียดได้ โดย
    ง่ายดาย เมื่อเข้าถึงชราแล้วจะหง่อม ขุ่นมัว ไม่สดใส อารมณ์ของตน
    ถึงจะหยาบก็ไม่สามารถจะรับได้ ฉะนั้น ชราพระเถระจึงกล่าวไว้ โดย
    ความใกล้ต่อผลว่า ความหง่อมของอินทรีย์ทั้งหลายบ้าง
    <DL><DD>ชรา ๒ อย่าง </DD></DL><DL><DD>อนึ่ง ชรานี้นั้น คือชราทั้งหมดที่แสดงมาแล้วอย่างนี้ มี ๒ อย่าง </DD></DL>คือ ปากฏชรา ( ความแก่ที่ปรากฏ ) ๑. ปฏิจฉันนชรา (ความแก่ที่
    ปกปิด ) ๑. ในจำนวนชราทั้ง ๒ อย่างนั้น ความแก่ในรูปธรรมทั้งหลาย
    ชื่อว่า ปากฏชรา เพราะแสดงความวิการ มีความหักเป็นต้น ในอวัยวะ
    ทั้งหลาย มีฟันเป็นต้นให้เห็น ส่วนในอรูปธรรมชื่อว่า ปฏิจฉันนชรา
    เพราะไม่แสดงความวิการเช่นนั้นให้เห็น.
    <DL><DD>มีชรา ๒ อย่างอีก อย่างนี้ คือ อวีจิชรา ( แก่ไม่มีร่องรอยให้ </DD></DL>เห็น) ๑ สวีจิชรา (แก่มีร่องรอยให้เห็น) ๑. ในจำนวนชรา ๒
    อย่างนั้น ชราของแก้วมณี. ทอง เงิน แก้วประพาฬ ดวงจันทร์และดวง
    อาทิตย์เป็นต้น พึงทราบว่า ชื่อว่า อวีจิชรา อธิบายว่า ชื่อว่าชราไม่มี
    ระหว่างขั้น (ไม่มีขั้นตอนให้เห็น) เพราะความแตกต่างของสีเป็นต้น
    ในระหว่าง ๆ รู้ได้ยาก เหมือนความแตกต่างแห่งสีเป็นต้น ในระหว่าง ๆ
    ของสัตว์มีปราณ ในวัยมันททสกะ (วัย ๑๐ ปีที่เยาว์) เป็นต้น และ
    เหมือนความแตกต่างแห่งสีเป็นต้น ในระหว่าง ๆ ของสิ่งที่ไม่มีลมปราณ
    ในดอกไม้ผลไม้และใบไม้เป็นต้น. แต่ชราในสิ่งอื่นนอกจากนั้น ตาม
    ที่กล่าวมาแล้ว ชื่อว่า สวีจิชรา เพราะความแตกต่างแห่งสีเป็นต้น ใน
    ระหว่าง ๆ เป็นสิ่งที่พึงรู้ได้ง่าย.
    <DL><DD>ต่อแต่นี้ไป บทว่า เตสํ เตสํ เป็นต้น พึงทราบโดยนัยที่ได้ </DD></DL>กล่าวมาแล้วนั้นแหละ.
    <DL><DD>ก็บทว่า จุติ ในคำทั้งหลายมีอาทิว่า จุติ จวนตา เป็นต้น </DD></DL>พระเถระกล่าวไว้ด้วยสามารถแห่งสัตว์ผู้เคลื่อนไป.
    <DL><DD>คำว่า จุติ นี้ เป็นคำทั่วไปสำหรับขันธ์ ๑ ขันธ์ ๔ และขันธ์ ๕. </DD></DL><DL><DD>คำว่า จวนตา เป็นคำแสดงถึงลักษณะ (ของขันธ์) โดยการ </DD></DL>เคลื่อนจากภาวะ.
    <DL><DD>คำว่า เภโท เป็นคำแสดงถึงการแตกดับและการเกิดขึ้นแห่งขันธ์ </DD></DL>ทั้งหลายที่จุติ.
    <DL><DD>คำว่า อนฺตรธานํ เป็นคำแสดงถึงภาวะของการเคลื่อนที่จากฐานหห </DD></DL>โดยปริยายใดปริยายหนึ่ง แห่งจุติขันธ์ทั้งหลายที่แตกไป เหมือนกระออม
    ที่แตกแล้วฉะนั้น. ความตายกล่าวคือมฤตยู ชื่อว่า มัจจุมรณะ.
    <DL><DD>ด้วยศัพท์ว่า มจฺจุมรณํ นั้น พระเถระปฏิเสธสมุจเฉทมรณะเป็นต้น. </DD></DL>(การตายโดยการตัดขาดซึ่งชาติเป็นต้น). มัจจุราชผู้ทำซึ่งที่สุด ( จุดจบ)
    ชื่อว่า กาละ การทำกาละนั้น ชื่อว่า กาลกิริยา ( การถึงแก่กรรม)
    ด้วยคำว่า กาลกิริยา นี้ พระเถระแสดงถึงความตายตามสมมติของชาวโลก.
    ต่อไปนี้ เพื่อจะแสดงถึงความตายโดยปรมัตถ์ พระเถระจึงได้กล่าวคำมี
    อาทิว่า ขนฺธานํ เภโท ไว้.
    <DL><DD>อันที่จริง โดยปรมัตถ์ ขันธ์ทั้งหลายเท่านั้น แตกดับ ไม่ใช่ </DD></DL>สัตว์อะไร ๆ เลยตาย เนื้อขันธ์ทั้งหลายกำลังแตกดับอยู่ สัตว์ก็ชื่อว่า
    กำลังตาย เมื่อแตกดับแล้ว ก็มีโวหารว่า ตายแล้ว.
    <DL><DD>ในชรามรณวาระนี้ การแตกดับแห่งขันธ์ทั้งหลาย มีได้โดย </DD></DL>จตุโวการภพ (นามขันธ์ ๔) การทอดทิ้งซากศพมีได้โดยเอกโวการภพ
    (รูปขันธ์๑) หรือการแตกดับแห่งขันธ์ทั้งหลาย พึงทราบโดยจตุโวการภพ
    (ส่วน) การทอดทิ้งซากศพ พึงทราบด้วยสามารถแห่งภพทั้ง ๒ ที่เหลือ
    (เอกโวการภพและปัญจโวการภพ).
    <DL><DD>เพราะเหตุไร ? </DD></DL><DL><DD>เพราะซากศพกล่าวคือรูปกายเกิดขึ้นเฉพาะใน ๒ ภพ. </DD></DL><DL><DD>อีกอย่างหนึ่ง เพราะเหตุที่ขันธ์ทั้งหลายในเทวโลกและพรหมโลก </DD></DL>มีชั้นจาตุมหาราชิกาเป็นต้นแตกดับไปอย่างเดียว ไม่ทิ้งอะไรไว้ฉะนั้น
    การแตกดับแห่งขันธ์ทั้งหลาย พึงทราบด้วยสามารถแห่งขันธ์ทั้งหลายใน
    เทวโลกและพรหมโลก มีชั้นจาตุมหาราชิกาเป็นต้นเหล่านั้น. (ส่วน)
    การทอดทิ้งซากศพไว้มีอยู่ในสัตว์ทั้งหลายมีมนุษย์เป็นต้น. ความตาย
    โดยเหตุที่ทอดทิ้งซากศพไว้พระเถระกล่าวว่า การทอดทิ้งซากศพ. พึง
    ทราบอรรถาธิบายอย่างนี้ว่า ทั้งชรา ทั้งมรณะนี้ พึงทราบดังที่พรรณนา
    มานี้. ข้อว่า อิทํ วุจฺจตาวุโส ความว่า ชราและมรณะทั้ง ๒ อย่างนี้
    พระเถระกล่าวรวมกันว่า ชรามรณะ. คำที่เหลือมีนัยดังที่กล่าวมาแล้ว
    นั้นแหละ ฉะนี้แล.
    <DL><DD>จบ กถาพรรณนาชรามรณวาระ </DD></DL><DL><DD>กถาพรรณนาชาติวาระ </DD></DL>
     
  14. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    http://th.wikisource.org/wiki/อรรถกถา_สัมมาทิฏฐิสูตร


    <DL><DD>[๑๐๘] พึงทราบวินิจฉัย ในคำทั้งหลายมีอาทิว่า ชาติ สญฺชาติ </DD></DL>ในชาติวาระ (ดังต่อไปนี้) :-

    <DL><DD>ชื่อว่า ชาติ เพราะอรรถว่า. (เริ่ม) เกิด. ชาตินั้น ประกอบแล้ว </DD></DL>ด้วยสามารถแห่งอายตนะยังไม่บริบูรณ์.

    <DL><DD>ชื่อว่า สญฺชาติ เพราะอรรถว่า เกิดครบแล้ว. สัญชาตินั้น </DD></DL>ประกอบแล้ว ด้วยสามารถแห่งอายตนะบริบูรณ์แล้ว.

    <DL><DD>ชื่อว่า โอกฺกนฺติ เพราะอรรถว่า ก้าวลง (สู่ครรภ์). โอกกันติ </DD></DL>นั้นประกอบด้วยอัณฑชกำเนิด (เกิดในฟอง) และชลาพุชกำเนิด
    (เกิดเป็นตัว ). อธิบายว่า สัตว์เหล่านั้นก้าวลง คือถือปฏิสนธิ เหมือน
    ก้าวย่างเข้าไปสู่กะเปาะไข่และรังมดลูก.

    <DL><DD>ชื่อว่า อภินิพฺพตฺติ เพราะอรรถว่า ผุดเกิด. อภินิพพัตตินั้น </DD></DL>ประกอบด้วยสังเสทชกำเนิด (เกิดในเถ้าไคล ) และโอปปาติกกำเนิด
    (ผุดเกิด) อธิบายว่า สัตว์เหล่านั้น เกิดปรากฏขึ้นทีเดียว. นี้เป็นเทศนา
    ตามโวหารก่อน. ต่อไปนี้จึงเป็นเทศนาโดยปรมัตถ์ อธิบายว่า โดย
    ปรมมัตถ์ ขันธ์ทั้งหลายเท่านั้นแหละ ปรากฏขึ้น ไม่ใช่สัตว์ปรากฏ.

    <DL><DD>บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ขนฺธานํ พึงทราบว่า หมายเอาขันธ์ ๑ </DD></DL>ในเอกโวการภพ ขันธ์ ๔ ในจตุโวการภพ และขันธ์ ๕ บ้าง ใน
    ปัญจโวการภพ.

    <DL><DD>การอุบัติ ชื่อว่า ปาตุภาโว. พึงทราบการสงเคราะห์ด้วยอายตนะ </DD></DL>ที่กำลังเกิดขึ้นในภพนั้น ๆ เข้าในคำว่า อายตนานํ นี้.

    <DL><DD>การปรากฏขึ้นในสันตตินั่นเอง ชื่อว่า ปฏิลาโภ อธิบายว่า </DD></DL>อายตนะเหล่านั้นที่ปรากฏอยู่นั่นแหละ ย่อมชื่อว่าเป็นอันสัตว์ทั้งหลาย
    กลับได้แล้ว.

    <DL><DD>ด้วยบทนี้ว่า อยํ วุจฺจตาวุโส ชาติ พระเถระกล่าวย้ำชาติที่ได้ </DD></DL>แสดงมาแล้ว ทั้งโดยโวหาร ทั้งโดยปรมัตถ์ ดังนี้แล.

    <DL><DD>ก็ผู้ศึกษาพึงทราบกรรมภพที่เป็นปัจจัยแห่งชาติ ในคำว่า ภว- </DD></DL>สมุทยา นี้. คำที่เหลือมีนัยดังที่กล่าวมาแล้วนั้นแหละ.

    <DL><DD>จบ กถาพรรณนาชาติวาระ </DD></DL><DL><DD>กถาพรรณนาภววาระ </DD></DL><DL><DD>[๑๑๙] พึงทราบวินิจฉัยในภววาระดังต่อไปนี้ :- </DD></DL><DL><DD>กรรมภพและอุปปัตติภพ ชื่อว่า กามภพ. บรรดาภพทั้ง ๒ อย่าง </DD></DL>นั้น กรรมที่เป็นเหตุให้เข้าถึงกามภพนั่นเอง ชื่อว่า กรรมภพ.

    <DL><DD>อธิบายว่า กรรมนั้นเองท่านกล่าวว่า ภพ โดยการกล่าวถึงผล </DD></DL>เหมือนคำทั้งหลายมีอาทิว่า การอุบัติขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นเหตุ
    นำมาซึ่งความสุข การสะสมบาปเป็นเหตุนำมาซึ่งทุกข์ดังนี้ เพราะกรรมภพ
    นั้นเป็นเหตุแห่งอุปปัตติภพ. ขันธปัญจกที่ตัณหาและทิฏฐิยึดครองแล้ว
    เกิดขึ้นแล้วด้วยกรรมนั้น ชื่อว่า อุปปัตติภพ. เพราะว่าขันธปัญจกนั้น
    ท่านกล่าวว่า ภพ เพราะตั้งวิเคราะห์ว่า เป็นที่เกิด (แห่งปฏิสนธิจิต).

    <DL><DD>เมื่อเป็นอย่างนี้ ทั้ง ๒ อย่างนี้ คือ กรรมภพนี้ ๑ อุปปัตติภพ ๑ </DD></DL>ท่านกล่าวว่า เป็นกามภพแม้โดยประการทั้งปวง. ในรูปภพและอรูปภพ
    ก็ทำนองนี. แต่อุปาทานในคำนี้ว่า อุปาทานสมุทยา นี้ เป็นปัจจัยของ
    กรรมภพที่เป็นกุศล. โดยอุปนิสสยปัจจัยนั้นเอง. อุปาทานเป็นปัจจัย
    ของกรรมภพที่เป็นอกุศล โดยอุปนิสสยปัจจัยบ้างโดยสหชาตปัจจัยเป็นต้น
    บ้าง แต่เป็นปัจจัยของอุปปัตติภพ ของกรรมภพทั้งที่เป็นกุศลและอกุศล
    ทั้งหมดโดยอุปนิสสยปัจจัยบ้าง. คำที่เหลือมีนัยดังที่กล่าวมาแล้วนั่นแหละ
    ดังนี้.

    <DL><DD>จบ กถาพรรณนาชาติวาระ </DD></DL><DL><DD>กถาพรรณนาอุปาทานวาระ </DD></DL><DL><DD>[๑๒๐] พึงทราบวินิจฉัย ในคำทั้งหลายมีอาทิว่า กามุปาทานํ </DD></DL>ในอุปาทานวาระ.

    <DL><DD>กิเลสชาต ชื่อว่า กามุปาทาน เพราะวิเคราะห์ว่า เป็นเหตุยึดมั่น </DD></DL>วัตถุกาม หรือเพราะยึดวัตถุกามนั่นเอง. อีกอย่างหนึ่ง กามนั้นด้วย
    เป็นอุปาทานด้วย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า กามุปาทาน.

    <DL><DD>การยึดมั่นท่านเรียกว่า อุปาทาน. เพราะว่า อุปศัพท์ ในคำว่า </DD></DL>อุปาทานํ นี้ มีเนื้อความว่ามั่น เหมือนอุปศัพท์ ในคำทั้งหลายมีอาทิว่า
    อุปายาส และ อุปกัฏฐะ.

    <DL><DD>คำว่า กามุปาทาน นี้ เป็นชื่อของราคะที่เป็นไปในกามคุณ. นี้ </DD></DL>เป็นข้อความสังเขปในกามุปาทานนี้.

    <DL><DD>แต่โดยพิสดาร กามุปาทานนี้ พึงทราบโดยนัยที่ได้ตรัสไว้แล้วว่า </DD></DL>บรรดาอุปาทานเหล่านั้น กามุปาทานเป็นไฉน ? ได้แก่ความพอใจด้วย
    อำนาจความใคร่ในกามทั้งหลาย.

    <DL><DD>ทิฏฐุปาทาน ก็อย่างนั้น คือ ทิฏฐินั้นด้วย เป็นอุปทานด้วย </DD></DL>เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ทิฏฐุปาทาน. อีกอย่างหนึ่ง กิเลสขาด ชื่อว่า
    ทิฏฐุปาทาน เพราะยึดมั่นทิฏฐิ. หรือชื่อว่า ทิฏฐุปาทาน เพราะวิเคราะห์
    ว่า เป็นเหตุให้ยึดมั่นทิฏฐิ. อธิบายว่า กิเลสขาดใดย่อมยึดมั่นทิฏฐิเดิม
    ในคำทั้งหลายมีอาทิว่า ทั้งอัตตา (อาตมัน) ทั้งโลก เป็นของเที่ยง
    เพราะฉะนั้น กิเลสชาตินั้น จึงชื่อว่าอย่างนั้น (ทิฏฐุปาทาน).
    อย่างที่ตรัสไว้มีอาทิว่า ทั้งอัตตา (อาตมัน ) ทั้งโลก เป็นของเที่ยง
    สิ่งนี้เท่านั้น เป็นสัตยะ (ของจริง) สิ่งอื่นเป็นโมฆะ. (ไร้ประโยชน์).
    คำว่า ทิฏฐุปาทานนี้ เป็นชื่อของทิฏฐิทั้งหมดเว้นไว้แต่สีลัพพัทตุปาทาน
    และอัตตวาทุปาทาน. นี้เป็นข้อความสังเขปในทิฏฐุปาทานนี้. แต่
    โดยพิสดารทิฏฐุปาทานนี้ พึงทราบโดยนัยที่ได้ตรัสไว้แล้วนั่นแหละว่า
    บรรดาอุปาทานเหล่านั้น ทิฏฐุปาทานเป็นอย่างไร ? (ทิฏฐุปาทานคือ)
    ทานที่บุคคลให้แล้ว ไม่มีผล.

    <DL><DD>บรรดาอุปาทานเหล่านั้น ชื่อว่า สีลัพพัตตุปาทาน เพราะเป็น </DD></DL>เหตุยึดมั่นศีลและพรตบ้าง เพราะศีลและพรตนั้นยึดมั่นเองบ้าง เพราะ
    ศีลและพรตนั้นด้วยเป็นอุปทานด้วยบ้าง.

    <DL><DD>อธิบายว่า การยึดมั่นด้วยตนเองนั่นแหละโดยความเชื่อมั่นว่า ศีล </DD></DL>และพรตทั้งหลายมีศีลของโคและวัตรของโคเป็นต้น เป็นของบริสุทธิ์ด้วย
    อาการอย่างนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าอย่างนั้น (สีลัพพัตตุปาทาน). นี้
    เป็นข้อความสังเขปในสีลัพพัตตุปาทานนี้.

    <DL><DD>แต่โดยพิสดารสีลัพพัตตุปาทานนี้ พึงทราบโดยนัยที่ตรัสไวแล้วว่า </DD></DL>บรรดาอุปาทานเหล่านั้น สีลัพพัตตุปาทานเป็นไฉน ? คือ ความบริสุทธิ์
    ด้วยศีลของสมณพราหมณ์ทั้งหลายภายนอกศาสนานี้.

    <DL><DD>ชื่อว่า วาทะ เพราะเป็นเหตุกล่าวในบัดนี้. ชื่อว่า อุปาทาน </DD></DL>เพราะเป็นเหตุยึดมั่น.

    <DL><DD>ถามว่า กล่าวหรือยึดมั่นอะไร ? </DD></DL><DL><DD>แก้ว่า กล่าวหรือยึดมั่นอัตตา (อาตมัน). </DD></DL><DL><DD>การยึดมั่นวาทะของตน ชื่อว่า อัตตวาทุปาทาน. อีกอย่างหนึ่ง </DD></DL>ชื่อว่าอัตตวาทุปาทาน เพราะเป็นเหตุยึดมั่น เพียงแต่วาทะของตนเท่านั้น
    ว่าเป็นอัตตา (อาตมัน). คำว่า อัตตวาทุปาทาน นี้เป็นชื่อของ
    สักกายทิฏฐิมีวัตถุ ๒๐. นี้เป็นข้อความสังเขปในอัตตวาทุปาทานนี้.

    <DL><DD>ส่วนโดยพิสดารอัตตวาทุปาทานนี้ พึงทราบโดยนัยที่ตรัสไวแล้วว่า </DD></DL>บรรดาอุปาทานเหล่านั้น อัตตวาทุปาทานเป็นไฉน ? อัตตวาทุปาทาน
    คือ ปุถุชนในพระศาสนานี้ ไม่ได้สดับแล้ว ไม่เห็นพระอริยเจ้าทั้งหลาย
    ดังนี้.

    <DL><DD>ตัณหาในคำว่า ตณฺหาสมุทยา นี้ เป็นปัจจัยของกามุปาทานโดย </DD></DL>อุปนิสสยปัจจัย หรือโดยอนันตรปัจจัย สมนันตรปัจจัย นัตถิปัจจัย
    และอาเสวนปัจจัย แต่เป็นปัจจัยของอุปาทานที่เหลือ คือแม้โดยเป็น
    สหชาตปัจจัยเป็นต้นบ้าง คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั้นแหละ ดังนี้.

    <DL><DD>จบ กถาพรรณนาอุปทานวาระ </DD></DL><DL><DD>กถาพรรณนาตัณหาวาระ </DD></DL><DL><DD>ตัณหา ๑๐๘ </DD></DL><DL><DD>[๑๒๑] พึงทราบวินิจฉัยในตัณหาวาระ (ต่อไป) :- </DD></DL><DL><DD>ตัณหาที่เป็นไปแล้วโดยชวนวิถี มีชื่อตามอารมณ์ที่คล้ายกับบิดา </DD></DL>(ผู้ให้เกิด) ว่า รูปตัณหา ฯลฯ ธรรมตัณหา เหมือนกับ (คน)
    มีชื่อตามบิดาในคำทั้งหลาย มีอาทิว่า เศรษฐีบุตร พราหมณบุตร เป็นต้น .

    <DL><DD>ก็ในตัณหาวาระนี้ ตัณหามี ๓ ประการอย่างนี้ คือตัณหาที่มีรูป </DD></DL>เป็นอารมณ์คือตัณหาในรูป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่ารูปตัณหา รูปตัณหานั้น
    เมื่อยินดี เป็นไปโดยความเป็นกามราคะ ชื่อว่า กามตัณหา.

    <DL><DD>เมื่อยินดี (รูป) เป็นไปอย่างนี้ว่า รูปเที่ยง คือยั่งยืนได้แก่ติดต่อ </DD></DL>กันไป โดยความเป็นราคะที่เกิดร่วมกับสัสสตทิฏฐิ ชื่อว่า ภวตัณหา.

    <DL><DD>เมื่อยินดี (รูป) เป็นไปอย่างนี้ว่า รูปขาดสูญ คือหายไป ได้แก่ </DD></DL>ละโลกนี้ไปแล้ว จักไม่มี โดยความเป็นราคะเกิดร่วมกับอุจเฉททิฏฐิ
    ชื่อว่า วิภวตัณหา.

    <DL><DD>และสัททตัณหาเป็นต้น ก็เหมือนกับรูปตัณหา ฉะนั้น จึงรวมเป็น </DD></DL>ตัณหาวิปริต ๑๘ ประการ. ตัณหาวิปริตเหล่านั้น แจกออกเป็น ๑๘
    ในอายตนะทั้งหลายมีรูปภายในเป็นต้น (และ) แจกออกเป็น ๑๘ ใน
    อายตนะทั้งหลายมีรูปภายนอกเป็นต้น จึงรวมเป็น ๓๖ ประการ. แจก
    เป็นอดีต ๓๖ เป็นอนาคต ๓๖ เป็นปัจจุบัน ๓๖ ด้วยประการอย่างนี้
    จึงเป็นตัณหาวิปริต ๑๐๘ ประการ.

    <DL><DD>อีกอย่างหนึ่ง ตัณหาวิปริต ๑๘ ประการ อาศัยรูปที่เป็นไปภายใน </DD></DL>เป็นต้น มีอาทิอย่างนี้ว่า เพราะอาศัยรูปเป็นภายใน มีตัณหาว่าเรามี
    เพราะรูปนี้ (และ) ว่า เมื่อเรามี เราก็เป็นที่ปรารถนา ฉะนั้น จึง
    รวมเป็นตัณหา ๓๖ แบ่งเป็นอดีต ๓๖ อนาคต ๓๖ ปัจจุบัน ๓๖
    โดยประการอย่างนี้ รวมเป็นตัณหาวิปริต ๑๐๘ ดังที่พรรณนามานี้แล.

    <DL><DD>เมื่อทำการสงเคราะห์เข้ากันอีก ตัณหาก็มี ๖ หมวดเท่านั้น ใน </DD></DL>อารมณ์ทั้งหลายมีรูปเป็นต้น ด้วยอรรถที่ท่านแสดงไว้อย่างนี้ว่า ตัณหา
    มี ๓ อย่างเท่านั้น มีกามตัณหาเป็นต้น นักปราชญ์พึงทราบ ตัณหา
    โดยการสงเคราะห์ข้อความที่พิสดารเข้าด้วยกันอีก จากข้อความพิสดาร
    ทีแสดงไว้แล้ว ดังนี้.

    <DL><DD>ก็เวทนาที่เป็นวิบากพระเถระประสงค์เอาแล้วว่า เวทนา ในคำว่า </DD></DL>เวทนาสมุทยา นี้.

    <DL><DD>ถ้าจะมีคำถามว่า เวทนานั้นเป็นปัจจัยแห่งตัณหาในทวาร ๖ </DD></DL>อย่างไร ?

    <DL><DD>ตอบว่า เป็นปัจจัยเพราะเวทนาเป็นสิ่งที่น่ายินดี. อธิบายว่า เมื่อ </DD></DL>สัตว์ทั้งหลายยึดมั่นเวทนาว่าเป็นของเราอยู่. ด้วยความชอบใจสุขเวทนา
    เขาจะเป็นผู้ยังความทะยานอยากเวทนาให้เกิดขึ้นแล้ว ยินดีแล้วด้วยความ
    กำหนัดยินดีเวทนา ปรารถนารูปที่ได้เห็นแล้วนั่นแหละ และครั้นได้
    รูปนั้นแล้ว ก็ชอบใจทั้งทำสักการะแก่ช่างเขียนเป็นต้น ผู้ให้อารมณ์.

    <DL><DD>ในโสตทวารเป็นต้น ก็เหมือนกัน สัตว์ทั้งหลายย่อมปรารถนา </DD></DL>เสียงเป็นต้น ซึ่งเป็นที่น่าปรารถนาทีเดียว และครั้นได้แล้ว ก็ชอบใจ
    เสียงเป็นต้นเหล่านั้น ทั้งทำการสักการะ นักดีดพิณ ช่างปรุงน้ำหอม
    ช่างทอ และผู้แสดงศิลปนานาชนิดเป็นต้น.

    <DL><DD>เหมือนอะไร ? </DD></DL><DL><DD>เหมือนแม่ผู้รักลูก ทำสักการะแม่นมคือให้เขาดื่มและบริโภคเนยใส </DD></DL>และนมที่อร่อยเป็นต้น. เพราะความเสน่หาในลูก. ถ้อยคำที่เหลือมีนัย
    ดังที่กล่าวแล้วนั่น แหละ.

    <DL><DD>จบ กถาพรรณนาตัณหาวาระ </DD></DL><DL><DD>กถาพรรณนาเวทนาวาระ </DD></DL><DL><DD>[๑๒๒] พึงทราบวินิจฉัยในเวทนาวาระ (ต่อไป) :- </DD></DL><DL><DD>หมวดเวทนาชื่อว่า เวทนากายะ. </DD></DL><DL><DD>คำว่า จกฺขุสมฺผสฺสชา เวทนา ฯลฯ มโนสมฺผสฺสชา เวทนา </DD></DL>นี้เป็นชื่อของเวทนาทั้งที่เป็นกุศลทั้งที่เป็นอกุศล และอัพยากฤตที่เป็นไป
    แล้วในจักษุทวารเป็นต้น ตามวัตถุ (ที่ตั้ง) ที่คล้ายแม่ เหมือนกับชื่อ
    (ของลูก ) ตามแม่ในคำทั้งหลายมีอาทิอย่างนี้ว่า สารีบุตร ( ลูกนางสารี)
    มันตานีบุตร (ลูกนางมันตานี) เพราะมาแล้วในคัมภีร์วิภังค์อย่างนี้ว่า
    เวทนาที่เกิดจากจักขุสัมผัสที่เป็นกุศลก็มี ที่เป็นอกุศลก็มี ที่เป็นอัพยา-
    กฤตก็มี ในคำมีอาทิว่า จกฺขุสมฺผสฺสชา เวทนา นี้ มีอรรถพจน์ว่า
    เวทนาที่เกิดขึ้น เพราะจักขุสัมผัสเป็นเหตุ ชื่อว่า จักขุสัมผัสสชาเวทนา.
    ในทุกทวารมีโสตะเป็นต้น ก็ทำนองนี้. นี้เป็นกถาที่ว่าด้วยการสงเคราะห์
    เข้ากันทุกอย่าง ในเวทนาวาระนี้ก่อน.

    <DL><DD>แต่ว่า เวทนาพึงทราบโดยเวทนาที่สัมปยุตด้วยธรรมเหล่านั้น คือ </DD></DL>ในจักขุทวารโดยวิบาก มีจักขุวิญญาณ ๒ ดวง มโนธาตุ ๒ ดวง มโน-
    วิญญาณธาตุ ๓ ดวง. ในโสตทวารเป็นต้น ก็ทำนองนี้. ส่วนมโนทวาร
    พึงเข้าใจว่า เป็นเวทนาสัมปยุตด้วยมโนวิญญาณธาตุ.

    <DL><DD>ก็ในคำว่า ผสฺสสมุทยา นี้ พึงทราบวินิจฉัยว่า ในทวารทั้ง ๕ </DD></DL>เวทนาอาศัยวัตถุทั้ง ๕ มีการเกิดขึ้น เพราะจักขุสัมผัสที่เกิดขึ้นร่วมกัน
    เป็นต้นเกิดขึ้น. จักขุสัมผัสเป็นต้น จึงเป็นปัจจัยของเวทนาที่เหลือทั้งหลาย
    โดยเป็นอุปนิสสยปัจจัยเป็นต้น เวทนาโนตทาลัมพณขณะ. ในมโนทวาร
    และเวทนาในปฏิสนธิขณะ ภวังคขณะและจุติขณะที่เป็นไปในทวารทั้ง ๖
    มีการเกิดขึ้น เพราะการเกิดขึ้นแห่งมโนสัมผัสที่เกิดขึ้นร่วมกัน. คำที่เหลือ
    มีนัยดังที่กล่าวมาแล้วนั่นแหละ.

    <DL><DD>จบ กถาพรรณนาเวทนาวาระ </DD></DL><DL><DD>กถาพรรณนาผัสสวาระ </DD></DL>
     
  15. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    http://th.wikisource.org/wiki/อรรถกถา_สัมมาทิฏฐิสูตร


    <DL><DD>[๑๒๓] พึงทราบวินิจฉัยในผัสสวาระ (ต่อไป) :- </DD></DL><DL><DD>สัมผัสในเพราะจักษุชื่อว่า จักขุสัมผัส. ในทุกทวารก็ทำนองนี้. </DD></DL>และด้วยคำเพียงเท่านี้ว่า จกฺขุสมฺผสฺโส ฯลฯ กายสมฺผสฺโส เป็น
    อันพระเถระได้กล่าวถึงสัมผัสทั้ง ๑๐ มีวัตถุ ๕ ทั้งที่เป็นกุศลวิบากและ
    อกุศลวิบาก.

    <DL><DD>ด้วยคำว่า มโนสมฺผสฺโส นี้ เป็นอันพระเถระได้กล่าวถึงผัสสะที่ </DD></DL>สัมปยุตด้วยโลกิยวิบากที่เหลือ ๒๒ อย่าง.

    <DL><DD>บทว่า สฬายตนสมุทยา ความว่า เพราะอายตนะ ๖ อย่าง มี </DD></DL>ภิกษุเป็นต้นเกิดขึ้น ผัสสะแม้ทั้ง ๖ อย่างนี้ ก็มีการเกิดขึ้น. คำที่เหลือ
    มีนัยดังกล่าวมาแล้วนั้นแหละ.

    <DL><DD>จบ กถาพรรณนาผัสสวาระ </DD></DL><DL><DD>กถาพรรณนาสฬายตนวาระ </DD></DL><DL><DD>[๑๒๔] พึงทราบวินิจฉัยในสฬายตนวาระ (ต่อไป) ว่า </DD></DL>อายตนะทั้งหมด ที่ควรจะกล่าวในคำทั้งหลาย มีอาทิว่า จกฺขายตนํ
    มีนัยดังที่ได้กล่าวไว้แล้วในขันธกนิเทศและอายตนนิเทศในคัมภีร์วิสุทธิ-
    มรรคนั่นเอง.

    <DL><DD>แต่ว่า ในคำว่า นามรูปสมุทยา นี้ ผู้ศึกษาพึงทราบการเกิดขึ้น </DD></DL>แห่งสฬายตนะ เพราะนามรูปเกิด โดยนัยที่ได้กล่าวไว้แล้ว ในนิเทศ
    แห่งปฏิจจสมุปบาทในคัมภีร์วิสุทธิมรรค ด้วยสามารถแห่งอายตนะที่มีรูป
    (อย่างเดียว) และนาม (อย่างเดียว) และทั้งนามทั้งรูปเป็นปัจจัย.
    คำที่เหลือมีประการดังที่กล่าวมาแล้วนั่นแล.

    <DL><DD>จบ กถาพรรณนาสฬายตนวาระ </DD></DL><DL><DD>กถาพรรณนานามรูปวาระ </DD></DL><DL><DD>[๑๒๕] พึงทราบวินิจฉัยในนานรูปวาระ (ต่อไป) :- </DD></DL><DL><DD>นามมีการน้อมไปเป็นลักษณะ. รูปมีการสลายไปเป็นลักษณะ. </DD></DL>แต่ว่าในวาระแห่งวิตถารนัยของนามรูปนั้น พึงทราบว่า เวทนา ได้แก่
    เวทนาขันธ์ สัญญา ได้แก่สัญญาขันธ์ เจตนา ผัสสะ มนสิการุ ได้แก่
    สังขารขันธ์. ถึงจะมีธรรมะแม้อย่างอื่นที่สงเคราะห์เข้าด้วยสังขารขันธ์
    ก็จริงอยู่ แต่ธรรม ๓ อย่างนี้ มีอยู่ในจิตที่มีพลังต่ำทุกดวง เพราะฉะนั้น
    ในนามรูปวาระนี้ พระเถระก็ได้แสดงสังขารขันธ์ไว้ ด้วยอำนาจแห่งธรรม
    ๓ อย่างเหล่านี้นั่นเอง

    <DL><DD>คำว่า จตฺตาริ ในคำว่า จตฺตาริ มหาภูตานิ นี้ เป็นการกำหนด </DD></DL>การนับ (เป็นจำนวนนับ).

    <DL><DD>คำว่า มหาภูตานิ นี้ เป็นชื่อของดิน น้ำ ไฟ ลม แต่เหตุที่ </DD></DL>เรียกสิ่งทั้ง ๔ นั้นว่ามหาภูตและนัยแห่งการวินิจฉัยอย่างอื่นในนานรูปนี้
    ทั้งหมด ได้กล่าวไว้แล้ว ในนิเทศแห่งรูปขันธ์ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค.

    <DL><DD>ส่วนคำว่า จตุนฺนํ นคำว่า จตุนฺนญฺจ มหาภูตานํ อุปาทาย </DD></DL>เป็นฉัฏฐีวิภัตติ ใช้ในอรรถแห่งทุติยาวิภัตติ มีอธิบายว่า อาศัยซึ่ง
    มหาภูตทั้ง ๔.

    <DL><DD>บทว่า อุปาทาย ความว่า เข้าไปยึดไว้ คือจับไว้. อาจารย์ </DD></DL>บางพวกว่า นิสฺสาย ( อาศัย ) ก็มี.

    <DL><DD>ก็ศัพท์ว่า วตฺตมานํ นี้ เป็นปาฐะเหลือ (เกิน). อีกอย่างหนึ่ง </DD></DL>คำว่า วตฺตมานํ นี้ เป็นฉัฏฐีวิภัตติ ใช้ในอรรถว่า ชุมนุม เพราะ
    เหตุนั้น พึงทราบอรรถาธิบายนี้ว่า รูปที่อาศัยการชุมนุมมหาภูตรูปทั้ง ๔
    เป็นไปอยู่.

    <DL><DD>เมื่อเป็นอย่างนี้ แม้ในที่ทุกแห่ง มหาภูตรูป ๔ มีปฐวีเป็นต้น </DD></DL>และรูป ๒๓ อย่าง ที่อาศัยมหาภูต ๔ อย่างเป็นไป ที่ตรัสไว้ในพระบาลี
    นั่นเองในคัมภีร์อภิธรรม โดยแยกประเภทเป็นจักขายตนะเป็นต้น แม้
    ทั้งหมดพึงทราบว่า ชื่อว่ารูป.

    <DL><DD>ก็ในคำว่า วิญฺญาณสมุทยา นี้ วิญญาณใดเป็นปัจจัยของนาม </DD></DL>(อย่างเดียว) ด้วย ของรูป (อย่างเดียว ) ด้วย ทั้งของนามของรูปด้วย
    เพราะฉะนั้น ด้วยสามารถแห่งนาม แห่งรูป และทิ้งนามทั้งรูปที่มี
    วิญญาณเป็นปัจจัยนั้น ผู้ศึกษาพึงทราบการเกิดขึ้นแห่งนามรูปเพราะ
    วิญญาณเกิดขึ้น ตามนัยที่ได้กล่าวไว้แล้วในนิเทศแห่งปฏิจจสมุปบาท
    ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคนั้นเทอญ. คำที่เหลือมีนัยดังที่กล่าวมาแล้วนั้นแหละ
    ดังนี้แล.

    <DL><DD>จบ กถาพรรณนานามรูปวาระ </DD></DL><DL><DD>กถาพรรณนาวิญญาณวาระ </DD></DL><DL><DD>[๑๒๖] พึงทราบวินิจฉัย ในวิญญาณวาระ (ต่อไป) :- </DD></DL><DL><DD>วิญญาณในเพราะจักษุ ชื่อว่าจักขุวิญญาณ อีกอย่างหนึ่ง วิญญาณ </DD></DL>ที่เกิดขึ้นแล้วจากจักษุ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าจักษุวิญญาณ โสตวิญญาณ
    ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ และกายวิญญาณ ก็อย่างนี้ เหมือนกัน.
    แต่วิญญาณนี้ ได้แก่มโนนั่นเอง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่ามโนวิญญาณ.
    คำว่า มโนวิญญาณ นี้ เป็นชื่อของวิบากจิตที่เป็นไปในภูมิ ๓ เว้นทวิ-
    ปัญจวิญญาณ.

    <DL><DD>แต่ในคำว่า สงฺขารสมุทยา นี้ ผู้ศึกษาพึงทราบการเกิดขึ้นแห่ง </DD></DL>วิญญาณ เพราะสังขารเกิด ตามนัยที่ได้กล่าวไว้แล้วในคัมภีร์วิสุทธิมรรค
    นั่นเอง โดยวิญญาณที่มีสังขารเป็นปัจจัย. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้ว
    นั่นแหละ ดังนี้แล.

    <DL><DD>จบ กถาพรรณนาวิญญาณวาระ </DD></DL><DL><DD>กถาพรรณนาสังขารวาระ </DD></DL><DL><DD>[๑๒๗] พึงทราบวินิจฉัยในสังขารวาระ (ต่อไป) :- </DD></DL><DL><DD>สังขารมีการปรุงแต่งเป็นลักษณะ. แต่ว่า ในวาระแห่งวิตถารนัย </DD></DL>ของสังขารนั้น สังขารที่เป็นไปแล้วทางกาย ชื่อว่ากายสังขาร.

    <DL><DD>คำว่า กายสังขาร นี้ เป็นชื่อของสัตเจตนา ๒ ดวง คือ ๘ </DD></DL>ดวง จากกามาวจรกุศล และ ๑๒ ดวง จาก ( กามาวจร) อกุศลที่เป็นไป
    แล้วโดยการไหวในกายทวาร.

    <DL><DD>คำว่า วจีสังขาร นี้ เป็นชื่อของวจีสัญเจตนา ๒๐ ดวงเหมือนกัน </DD></DL>ที่เป็นไปแล้วโดยการเปล่งถ้อยคำในวจีทวาร.

    <DL><DD>สังขารที่เป็นไปแล้วทางจิต ชื่อว่าจิตตสังขาร คำว่า จิตตสังขาร </DD></DL>นี้ เป็นชื่อของมโนสัญเจตนา ๑ ดวง โดยโลกิยกุศลและโลกิยอกุศลที่
    เป็นไปแล้ว ( เกิดขึ้น) แก่ผู้นั่งคิดอยู่ในที่ลับโดยไม่ได้ทำการไหวกาย
    และวาจา. ก็ในคำว่า อวิชฺชาสมุทยา นี้ พึงทราบวินิจฉัยว่า อวิชชา
    ของสังขารที่เป็นกุศลโดยอุปนิสสยปัจจัยบ้าง ของสังขารที่เป็นอกุศล โดย
    สหชาตปัจจัยเป็นต้นบ้าง. คำที่เหลือมีนัยดังที่กล่าวมาแล้วนั่นเอง ดังนี้แล

    <DL><DD>จบ กถาพรรณนาสังขารวาระ </DD></DL><DL><DD>กถาพรรณนาอวิชชาวาระ </DD></DL><DL><DD>[๑๒๘ ] พึงทราบวินิจฉัยในอวิชชาวาระ. (ต่อไป) :- </DD></DL><DL><DD>ความไม่รู้ในทุกขสัจ ชื่อว่าความไม่รู้ในทุกข์. คำว่า ทุกฺเข </DD></DL>อญฺญาณํ นี้ เป็นชื่อของโมหะ. ในคำทั้งหลายมีอาทิว่า สมุทเย
    อญฺญาณํ ก็มีนัยนี้.

    <DL><DD>ในจำนวนสัจจะทั้ง ๔ นั้น การไม่รู้ในทุกข์ พึงทราบได้โดยเหตุ </DD></DL>๔ ประการ คือ โดยการหยั่งลงภายใน ๑ โดยฐาน (ที่ตั้ง) ๑ โดยอารมณ์ ๑
    โดยการปกปิดไว้ ๑. จริงอย่างนั้น การไม่รู้ทุกข์นั้น ชื่อว่าหยั่งลง
    ภายในทุกข์ เพราะนับเนื่องในทุกขสัจ ทุกขสัจ ชื่อว่าเป็นฐาน (ที่ตั้ง)
    เพราะเป็นนิสสยปัจจัยของการไม่รู้ทุกข์นั้น ชื่อว่าเป็นอารมณ์ เพราะความ
    เป็นอารัมณปัจจัย (ของการไม่รู้ทุกข์นั้น) และทุกขสัจ ย่อมปกปิด
    การไม่รู้ทุกข์นั้นไว้.

    <DL><DD>ในอธิการแห่งอวิชชาวาระ ความไม่รู้ในสมุทัย พึงรู้ได้โดยเหตุ </DD></DL>๓ ประการ คือ โดยฐาน ๑ โดยอารมณ์ โดยการปิดบังไว้ ๑ เพราะ
    สมุทัยนั้นห้ามกันการแทงตลอดลักษณะ ตามความจริง และเพราะไม่
    มอบให้ซึ่งความเป็นไปแห่งญาณ. ความไม่รู้ในนิโรธและปฏิปทา
    พึงทราบได้โดยเหตุเดียวเท่านั้น คือ โดยการปิดบังไว้. ก็ความไม่รู้
    ที่ปิดบังไว้. ก็ความไม่รู้ที่ปิดบังนิโรธและปฏิปทาไว้นั่นเอง พึงทราบได้
    เพราะห้ามไว้ซึ่งการแทงตลอดลักษณะ ตามความจริงแห่งนิโรธสัจและ
    ปฏิปทาเหล่านั้น และเพราะการไม่มอบให้ซึ่งความไม่เป็นไปแห่งญาณ
    ในสัจจะทั้ง ๒ นั้น. แต่ความไม่รู้สัจจะทั้ง ๒ นั้น ไม่เป็นการหยั่งลงสู่ภายใน
    ในสัจจะทั้ง ๒ นั้น เพราะไม่นับเนื่องในสัจจะทั้ง ๒ นั้น สัจจะทั้ง ๒
    นั้น ก็ไม่เป็นที่ตั้งของความไม่รู้สัจจะทั้ง ๒ นั้น เพราะไม่เป็นธรรมเกิด
    ร่วมกัน (และ) ไม่เป็นอารมณ์ เพราะไม่ปรารภสัจจะทั้ง ๒ เป็นไป.

    <DL><DD>อธิบายว่า สัจจะ ๒ ข้อหลัง เห็นได้ยาก เพราะลึกซึ้ง แต่ใน </DD></DL>เรื่องนี้ ความไม่รู้ไม่ใช่มืดบอด จึงเป็นไป. ส่วนสัจจะ ๒ ข้อต้น
    ลึกซึ้ง เพราะลักษณะของสภาวะเห็นได้ยาก โดยความหมายว่าเป็นข้าศึก
    กัน จึงเป็นไปด้วยการถึงวิปลาสในสัจจะทั้ง ๒ นั้น.

    <DL><DD>อีกอย่างหนึ่ง ด้วยคำเพียงเท่านี้ว่า ทุกฺเข พระเถระได้แสดงอวิชชา </DD></DL>ไว้ โดยการสงเคราะห์เข้าด้วยกัน ทั้งโดยฐาน (ที่ตั้ง) โดยอารมณ์ และ
    โดยกิจ.

    <DL><DD>ด้วยคำเพียงเท่านี้ว่า ทุกฺขสมุทเย ท่านแสดงไว้โดยฐาน (ที่ตั้ง ) </DD></DL>โดยอารมณ์ และโดยกิจ.

    <DL><DD>ด้วยคำเพียงเท่านี้ว่า ทุกฺขนิโรเธ ทุกฺขนิโรธคามินิยา ปฏิปทาย </DD></DL>ท่านแสดงไว้โดยกิจ. แต่โดยไม่แตกต่างกันแล้ว อวิชชา พึงทราบว่า
    ท่านแสดงไว้โดยสภาวะ. ด้วยคำว่า อญฺญาณํ นี้

    <DL><DD>ก็กามาสวะ ภวาสวะ ในคำว่า อาสฺวสมุทยา นี้ เป็นปัจจัย </DD></DL>แห่งอวิชชา ด้วยสามารถแห่งสหชาตปัจจัยเป็นต้น. อวิชชาสวะ พึงทราบ
    ว่า ก็อวิชชาที่เกิดขึ้นก่อนโดยอุปนิสสยปัจจัยนั่นเอง ชื่อว่าอวิชชาสวะ
    ในคำว่า อาสฺวสมุทยา นี้. อวิชชาสวะนั้นจะเป็นอุปนิสสยปัจจัย ของ
    อวิชชาที่เกิดขึ้นในกาลต่อมา. คำที่เหลือมีนัยดังที่กล่าวมาแล้วนั่นแหละ
    ดังนี้แล.

    <DL><DD>จบ กถาพรรณนาอวิชชาวาระ </DD></DL><DL><DD>กถาพรรณนาอาสววาระ </DD></DL><DL><DD>[๑๓๐] พึงทราบวินิจฉัยในอาสววาระ (ต่อไป) :- </DD></DL><DL><DD>อวิชชาในคำว่า อวิชฺชาสมุทยา นี้ เป็นปัจจัยโดยสหชาตปัจจย </DD></DL>เป็นต้น ของกามาสวะและภวาสวะ และเป็นปัจจัยแห่งอวิชชาสวะ โดย
    อุปนิสสยปัจจัยนั่นแหละ แต่ในคำว่า อวิชฺชาสมุทยา นี้ อวิชชา
    ที่เกิดขึ้นในกาลต่อ ๆ มา พึงทราบว่า เป็นอวิชชาสวะ. อวิชชานั่นเอง
    ที่เกิดขึ้นในกาลก่อน จะเป็นอุปนิสสยปัจจัยของอวิชชาสวะที่เกิดขึ้นในกาล
    ต่อมา. คำที่เหลือมีนัยดังที่กล่าวมาแล้วนั่นแหละ ดังนี้แล.

    <DL><DD>วาระนี้ ท่านกล่าวไว้แล้ว โดยการแสดงปัจจัยของอวิชชานี้ ที่ </DD></DL>เป็นประธานในบทปฏิจจสมุปบาททั้งหลาย. ด้วยวาระที่ท่านกล่าวไว้อย่าง
    นี้ เป็นอันสำเร็จความที่สงสารมีที่สุดเบื้องต้น (เงื่อนต้น) อันใคร
    ตามไปไม่รู้แล้ว.

    <DL><DD>ถามว่า ไม่รู้อย่างไร ? แก้ว่า (ไม่รู้อย่างนี้คือ ) เพราะว่า การ </DD></DL>เกิดขึ้นแห่งอวิชชา มีเพราะการเกิดขึ้นแห่งอาสวะ การเกิดขึ้นแห่ง
    อาสวะก็มี แม้เพราะการเกิดขึ้นแห่งอวิชชา อาสวะเป็นปัจจัยของอวิชชา
    ถึงอวิชชาก็เป็นปัจจัยของอาสวะ เพราะอธิบายดังที่กล่าวมาแล้วนี้ ที่สุด
    เบื้องต้น (เงื่อนต้น)๑ จึงไม่ปรากฏ ภาวะที่สงสารมีเงื่อนต้นที่ใคร
    ตามไปไม่รู้แล้ว เป็นอันสำเร็จแล้ว เพราะเงื่อนต้นของอวิชชานั้น
    ไม่ปรากฏ.

    <DL><DD>วาระเหล่านั้นทั้งหมดคือ กัมมปถวาระ ๑ อาหารวาระ ๑ ทุกข- </DD></DL>วาระ ๑ ชรามรณวาระ ๑ ชาติวาระ ๑ ภววาระ ๑ อุปาทานวาระ ๑
    ตัณหาวาระ ๑ เวทนาวาระ ๑ ผัสสวาระ ๑ สฬายตนวาระ ๑ นามรูป-
    วาระ ๑ วิญญาณวาระ ๑ สังขารวาระ ๑ อวิชชาวาระ ๑ อาสววาระ ๑
    รวม ๑๖ วาระ พระเถระได้กล่าวไว้แล้วในพระสูตรนี้ ดังที่พรรณนา
    มานี้.

    <DL><DD>เพราะในจำนวนวาระทั้ง ๑๖ วาระนั้น แต่ละวาระท่านวางไว้ ๒ </DD></DL>อย่าง โดยอย่างย่อและอย่างพิสดาร จึงเป็น ๓๒ สถาน. ด้วยเหตุดังนี้
    ในพระสูตรนี้ จึงเป็นอันพระเถระได้กล่าวสัจจะไว้ อย่าง ใน ๒๒
    สถานเหล่านี้ .
    ๑. ปาฐะ ปุพฺพา โกฏิ แยกกัน แต่ฉบับพม่าติดกันเป็น ปุพฺพโกฏิ จึงแปลตามที่ไม่แยก.
    ถ้าแยก ก็ต้องแปลว่า เบื้องต้น เบื้องปลาย...

    <DL><DD>พระเถระได้กล่าวอรหัตไว้ในที่ ๑๖ สถาน ที่กล่าวไว้แล้วโดย </DD></DL>พิสดารในบรรดาอย่างย่อและอย่างพิสดารนั้นนั่นเอง. แต่ตามมติของพระ
    เถระท่านได้กล่าวถึงสัจจะทั้ง ๕ และมรรคทั้ง ไว้ใน ๓๒ สถานเท่านั้น
    เพราะเหตุดังที่กล่าวมาแล้วนี้แล ในพระพุทธพจน์ที่พระธรรมสังคาห-
    กาจารย์ได้รวบรวมไว้ในนิกายใหญ่ทั้ง ๕ นิกาย หมดทั้งสิ้น จึงไม่มีสูตร
    ที่ประกาศสัจจะ ๔ อย่างไว้ถึง ๓๒ ครั้ง และประกาศอรหัตไว้ถึง ๓๒
    ครั้ง นอกจากสัมมาทิฏฐิสูตรนี้แล.

    <DL><DD>คำว่า อิทนโวจายสฺมา สาริปุตฺโต มีเนื้อความว่า ท่านพระ </DD></DL>สารีบุตร ได้กล่าวสัมมาทิฏฐิสูตรนี้ แพรวพราวไปด้วยเหตุ ๖๔ อย่าง
    คือ ด้วยการบรรยายอริยสัจ ๔ ไว้ ๓๒ อย่าง และบรรยายพระอรหัตไว้
    ๓๒ อย่าง.

    <DL><DD>ภิกษุเหล่านั้น พอใจ ได้พากันชมเชยภาษิตของท่านพระสารีบุตร </DD></DL>ดังนี้แล.

    <DL><DD>จบ อรรถกถาสัมมาทิฏฐิสูตร </DD></DL>
    [แก้ไข] ดูเพิ่ม
    <!-- Pre-expand include size: 67666/2048000 bytesPost-expand include size: 67669/2048000 bytesTemplate argument size: 0/2048000 bytes#ifexist count: 0/500--><!-- Saved in parser cache with key thwikisource:pcache:idhash:5316-0!1!0!!th!2 and timestamp 20071222192523 -->รับข้อมูลจาก "http://th.wikisource.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B8%81%E0%B8%96%E0%B8%B2_%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B4%E0%B8%8F%E0%B8%90%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%95%E0%B8%A3"
    <!-- end content -->
     
  16. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    http://th.wikisource.org/wiki/อรรถกถา_สัมมาทิฏฐิสูตร

    <TABLE id=links style="BORDER-RIGHT: #0000ff 1px solid; PADDING-RIGHT: 4px; BORDER-TOP: #0000ff 1px solid; PADDING-LEFT: 4px; BACKGROUND: #f4f4ff; FLOAT: right; PADDING-BOTTOM: 4px; MARGIN: 0em 0em 0.8em 0.8em; BORDER-LEFT: #0000ff 1px solid; PADDING-TOP: 4px; BORDER-BOTTOM: #0000ff 1px solid; TEXT-ALIGN: left; text-valign: middle"><TBODY><TR><TD><CENTER>พระสุตตันตปิฎกและอรรถกถา</CENTER></TD></TR><TR><TD>

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๑
    <SMALL>ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค
    อรรถกถา พรหมชาลสูตร
    อรรถกถา สามัญญผลสูตร
    อรรถกถา อัมพัฏฐสูตร
    อรรถกถา โสณทัณฑสูตร
    อรรถกถา กูฏทันตสูตร
    อรรถกถา มหาลิสูตร
    อรรถกถา ชาลิยสูตร
    อรรถกถา มหาสีหนาทสูตร
    อรรถกถา โปฏฐปาทสูตร
    อรรถกถา สุภสูตร
    อรรถกถา เกวัฏฏสูตร
    อรรถกถา โลหิจจสูตร
    อรรถกถา เตวิชชสูตร</SMALL> พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๒
    <SMALL>ทีฆนิกาย มหาวรรค
    อรรถกถา มหาปทานสูตร
    อรรถกถา มหานิทานสูตร
    อรรถกถา มหาปรินิพพานสูตร
    อรรถกถา มหาสุทัสสนสูตร
    อรรถกถา ชนวสภสูตร
    อรรถกถา มหาโควินทสูตร
    อรรถกถา มหาสมัยสูตร
    อรรถกถา สักกปัญหสูตร
    อรรถกถา มหาสติปัฏฐานสูตร
    อรรถกถา ปายาสิราชัญญสูตร</SMALL> พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๓
    <SMALL>ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค
    อรรถกถา ปาฏิกสูตร
    อรรถกถา อุทุมพริกสูตร
    อรรถกถา จักกวัตติสูตร
    อรรถกถา อัคคัญญสูตร
    อรรถกถา สัมปสาทนียสูตร
    อรรถกถา ปาสาทิกสูตร
    อรรถกถา ลักขณสูตร
    อรรถกถา สิงคาลกสูตร
    อรรถกถา อาฏานาฏิยสูตร
    อรรถกถา สังคีติสูตร
    อรรถกถา ทสุตตรสูตร</SMALL> พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๔
    <SMALL>มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
    มูลปริยายวรรค
    อรรถกถา มูลปริยายสูตร
    อรรถกถา สัพพาสวสังวรสูตร
    อรรถกถา ธรรมทายาทสูตร
    อรรถกถา ภยเภรวสูตร
    อรรถกถา อนังคณสูตร
    อรรถกถา อากังเขยยสูตร
    อรรถกถา วัตถูปมสูตร
    อรรถกถา สัลเลขสูตร
    อรรถกถา สัมมาทิฏฐิสูตร
    อรรถกถา สติปัฏฐานสูตร
    สีหนาทวรรค
    อรรถกถา จุลลสีหนาทสูตร
    อรรถกถา มหาสีหนาทสูตร
    อรรถกถา มหาทุกขักขันธสูตร
    อรรถกถา จุลลทุกขักขันสูตร
    อรรถกถา อนุมานสูตร
    อรรถกถา เจโตขีลสูตร
    อรรถกถา วนปัตถปริยายสูตร
    อรรถกถา มธุปิณฑิกสูตร
    อรรถกถา เทวธาวิตักกสูตร
    อรรถกถา วิตักกสัณฐานสูตร
    โอปัมมวรรค
    อรรถกถา กกจูปมสูตร
    อรรถกถา อลคัททูปมสูตร
    อรรถกถา วัมมิกสูตร
    อรรถกถา รถวินีตสูตร
    อรรถกถา นิวาปสูตร
    อรรถกถา ปาสราสิสูตร
    อรรถกถา จุลลหัตถิปโทปมสูตร
    อรรถกถา มหาหัตถิปโทปมสูตร
    อรรถกถา มหาสาโรปมสูตร
    อรรถกถา จุลลสาโรปมสูตร
    มหายมกวรรค
    อรรถกถา จูฬโคสิงคสาลสูตร
    อรรถกถา มหาโคสิงคสาลสูตร
    อรรถกถา มหาโคปาลสูตร
    อรรถกถา จูฬโคปาลสูตร
    อรรถกถา จูฬสัจจกสูตร
    อรรถกถา มหาสัจจกสูตร
    อรรถกถา จูฬตัณหาสังขยสูตร
    อรรถกถา มหาตัณหาสังขยสูตร
    อรรถกถา มหาอัสสปุรสูตร
    อรรถกถา จูฬอัสสปุรสูตร
    จูฬยมกวรรค
    อรรถกถา สาเลยยกสูตร
    อรรถกถา เวรัญชกสูตร
    อรรถกถา มหาเวทัลลสูตร
    อรรถกถา จุลลเวทัลลสูตร
    อรรถกถา จูฬธัมมสมาทานสูตร
    อรรถกถา มหาธรรมสมาทานสูตร
    อรรถกถา วีมังสกสูตร
    อรรถกถา โกสัมพิยสูตร
    อรรถกถา พรหมนิมันตนิกสูตร
    อรรถกถา มารตัชชนียสูตร</SMALL>
     
  17. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    http://th.wikisource.org/wiki/อรรถกถา_สัมมาทิฏฐิสูตร

    พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๕
    <SMALL>มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์
    คหบดีวรรค
    อรรถกถา กันทรกสูตร
    อรรถกถา อัฏฐกนาครสูตร
    อรรถกถา เสขปฏิปทาสูตร
    อรรถกถา โปตลิยสูตร
    อรรถกถา ชีวกสูตร
    อรรถกถา อุปาลิวาทสูตร
    อรรถกถา กุกกุโรวาทสูตร
    อรรถกถา อภัยราชกุมารสูตร
    อรรถกถา พหุเวทนิสูตร
    อรรถกถา อปัณณกสูตร
    ภิกขุวรรค
    อรรถกถา จูฬราหุโลวาทสูตร
    อรรถกถา มหาราหุโลวาทสูตร
    อรรถกถา จูฬมาลุงกยโอวาทสูตร
    อรรถกถา มหามาลุงกยโอวาทสูตร
    อรรถกถา ภัททาลิสูตร
    อรรถกถา ลฎกิโกปมสูตร
    อรรถกถา จาตุมสูตร
    อรรถกถา นฬกปานสูตร
    อรรถกถา โคลิสสานิสูตร
    อรรถกถา กีฏาคิริสูตร
    ราชวรรค
    อรรถกถา ฆฏิการสูตร
    อรรถกถา รัฏฐปาลสูตร
    อรรถกถา มฆเทวัมพสูตร
    อรรถกถา มธุรสูตร
    อรรถกถา โพธิราชกุมารสูตร
    อรรถกถา อังคุลิมาลสูตร
    อรรถกถา ปิยชาติกสูตร
    อรรถกถา พาหิติยสูตร
    อรรถกถา ธรรมเจติยสูตร
    อรรถกถา กรรณกัตถลสูตร
    พราหมณวรรค
    อรรถกถา พรหมายุสูตร
    อรรถกถา เสลสูตร
    อรรถกถา อัสสลายนสูตร
    อรรถกถา โฆฏมุขสูตร
    อรรถกถา จังกีสูตร
    อรรถกถา เอสุกรีสูตร
    อรรถกถา ธนัญชานิสูตร
    อรรถกถา วาเสฏฐสูตร
    อรรถกถา สุภสูตร
    อรรถกถา สคารวสูตร</SMALL> พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๖
    <SMALL>มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
    เทวทหวรรค
    อรรถกถา เทวทหสูตร
    อรรถกถา ปัญจัตตยสูตร
    อรรถกถา กินติสูตร
    อรรถกถา สามคามสูตร
    อรรถกถา สุนักขัตตสูตร
    อรรถกถา อาเนญชสัปปายสูตร
    อรรถกถา คณกโมคคัลลานสูตร
    อรรถกถา โคปกโมคคัลลานสูตร
    อรรถกถา มหาปุณณมสูตร
    อรรถกถา จูฬปุณณมสูตร
    อนุปทวรรค
    อรรถกถา อนุปทสูตร
    อรรถกถา ฉวิโสธนสูตร
    อรรถกถา สัปปุริสธรรมสูตร
    อรรถกถา เสวิตัพพาเสวิตัพพสูตร
    อรรถกถา พหุธาตุกสูตร
    อรรถกถา อิสิคิลิสูตร
    อรรถกถา มหาจัตตารีสกสูตร
    อรรถกถา อานาปานสติสูตร
    อรรถกถา กายคตาสติสูตร
    อรรถกถา สังขารูปปัตติสูตร
    สุญญตวรรค
    อรรถกถา จูฬสุญญตาสูตร
    อรรถกถา มหาสูญญตาสูตร
    อรรถกถา อัจฉริยัพภูตสูตร
    อรรถกถา พักกุลสูตร
    อรรถกถา ทันตภูมิสูตร
    อรรถกถา ภูมิชสูตร
    อรรถกถา อนุรุทธสูตร
    อรรถกถา อุปักกิเลสสูตร
    อรรถกถา พาลบัณฑิตสูตร
    อรรถกถา เทวทูตสูตร
    วิภังควรรค
    อรรถกถา ภัทเทกรัตตสูตร
    อรรถกถา อานันทภัทเทกรัตตสูตร
    อรรถกถา มหากัจจานภัทเทกรัตตสูตร
    อรรถกถา โลมสกังคยภัทเทกรัตตสูตร
    อรรถกถา สุภสูตร
    อรรถกถา มหากัมมวิภังคสูตร
    อรรถกถา สฬายตนวิภังคสูตร
    อรรถกถา อุทเทสวิภังคสูตร
    อรรถกถา อรณวิภังคสูตร
    อรรถกถา ธาตุวิภังคสูตร
    อรรถกถา สัจจวิภังคสูตร
    อรรถกถา ทักขิณาวิภังคสูตร
    สฬายตนวรรค
    อรรถกถา อนาถปิณฑิโกวาทสูตร
    อรรถกถา ฉันโนวาทสูตร
    อรรถกถา ปุณโณวาทสูตร
    อรรถกถา นันทโกวาทสูตร
    อรรถกถา ราหุโลวาทสูตร
    อรรถกถา ฉฉักกสูตร
    อรรถกถา มหาสฬายตนสูตร
    อรรถกถา นครวินเทยยสูตร
    อรรถกถา ปิณฑปาตปาริสุทธิสูตร
    อรรถกถา อินทริยภานาสูตร</SMALL>
     
  18. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    http://th.wikisource.org/wiki/อรรถกถา_สัมมาทิฏฐิสูตร

    พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๗
    <SMALL>สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
    เทวตาสังยุต
    นฬวรรค
    อรรถกถา โอฆตรณสูตร
    อรรถกถา นิโมกขสูตร
    อรรถกถา อุปเนยยสูตร
    อรรถกถา อัจเจนติสูตร
    อรรถกถา กติฉินทิสูตร
    อรรถกถา ชาครสูตร
    อรรถกถา อัปปฏิวัทิตสูตร
    อรรถกถา สุสัมมุฏฐสูตร
    อรรถกถา มานกามสูตร
    อรรถกถา อรัญญสูตร
    นันทนวรรค
    อรรถกถา นันทนสูตร
    อรรถกถา นันทิสูตร
    อรรถกถา นัตถิปุตตสมสูตร
    อรรถกถา ขัตติยสูตร
    อรรถกถา สกมานสูตร
    อรรถกถา นิททาตันทิสูตร
    อรรถกถา ทุกกรสูตร
    อรรถกถา หิริสูตร
    อรรถกถา กุฏิกาสูตร
    อรรถกถา สมิทธิสูตร
    สัตติวรรค
    อรรถกถา สัตติสูตร
    อรรถกถา ผุสติสูตร
    อรรถกถา ชฏาสูตร
    อรรถกถา มโนนิวารณสูตร
    อรรถกถา อรหันตสูตร
    อรรถกถา ปัชโชตสูตร
    อรรถกถา สรสูตร
    อรรถกถา มหัทธนสูตร
    อรรถกถา จตุจักกสูตร
    อรรถกถา เอณิชังฆสูตร
    สตุลลปกายิกวรรค
    อรรถกถา สัพภิสูตร
    อรรถกถา มัจฉริสูตร
    อรรถกถา สาธุสูตร
    อรรถกถา นสันติสูตร
    อรรถกถา อุชฌานสัญญีสูตร
    อรรถกถา สัทธาสูตร
    อรรถกถา สมยสูตร
    อรรถกถา สกลิสูตร
    อรรถกถา ปัชชุนนธีตุสูตร
    อรรถกถา ทุติยปัชชุนนธีตุสูตร
    </SMALL>
     
  19. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    อาทิตตวรรค
    อรรถกถา อาทิตตสูตร
    อรรถกถา กินททสูตร
    อรรถกถา อันนสูตร
    อรรถกถา เอกมูลสูตร
    อรรถกถา อโนมิยสูตร
    อรรถกถา อัจฉราสูตร
    อรรถกถา วนโรปสูตร
    อรรถกถา เชตวนสูตร
    อรรถกถา มัจฉริสูตร
    อรรถกถา ฆฏิกรสูตร
    ชราวรรค
    อรรถกถา ชราสูตร
    อรรถกถา อชรสาสูตร
    อรรถกถา มิตตสูตร
    อรรถกถา วัตถุสูตร
    อรรถกถา ปฐมชนสูตร
    อรรถกถา อุปปถสูตร
    อรรถกถา ทุติยสูตร
    อรรถกถา กวิสูตร
    อันธวรรค
    อรรถกถา นามสูตร
    อรรถกถา จิตตสูตร
    อรรถกถา สัญโญชนสูตร
    อรรถกถา อัพภาหตสูตร
    อรรถกถา อุฑฑิตสูตร
    อรรถกถา โลกสูตร
    ฆัตวาวรรค
    อรรถกถา ฆัตวาสูตร
    อรรถกถา รถสูตร
    อรรถกถา วิตตสูตร
    อรรถกถา วุฏฐิสูตร
    อรรถกถา ภีตสูตร
    อรรถกถา นชีรติสูตร
    อรรถกถา อิสสรสูตร
    อรรถกถา กามสูตร
    อรรถกถา ปาเถยยสูตร
    อรรถกถา ปัชโชตสูตร
    อรรถกถา อรณสูตร
    เทวปุตตสังยุตต์
    ปฐมวรรค
    อรรถกถา ปฐมกัสสปสูตร
    อรรถกถา ทุติยกัสสปสูตร
    อรรถกถา มาฆสูตร
    อรรถกถา ทามลิสูตร
    อรรถกถา กามทสูตร
    อรรถกถา ปัญจาลจัณฑสูตร
    อรรถกถา ตายนสูตร
    อรรถกถา จันทิมสูตร
    อรรถกถา สุริยสูตร
    อนาถปิณฑิกวรรค
    อรรถกถา จันทิมสสูตร
    อรรถกถา เวณาฑุสูตร
    อรรถกถา ทีฆลัฏฐิสูตร
    อรรถกถา นันทนสูตร
    อรรถกถา จันทนสูตร
    อรรถกถา สุพรหมสูตร
    อรรถกถา กกุธสูตร
    อรรถกถา อนาถปิณฑิกสูตร
    นานาติตถิยวรรค
    อรรถกถา เขมสูตร
    อรรถกถา เสรีสูตร
    อรรถกถา ชันตุสูตร
    อรรถกถา โรหิตัสสสูตร
    อรรถกถา สุสิมสูตร
    อรรถกถา นานาติตถิยสูตร
    โกสลสังยุตต์
    ปฐมวรรค
    อรรถกถา ทหรสูตร
    อรรถกถา ปุริสสูตร
    อรรถกถา ราชสูตร
    อรรถกถา ปิยสูตร
    อรรถกถา อัตตรักขิตสูตร
    อรรถกถา อัปปกสูตร
    อรรถกถา อัตถกรณสูตร
    อรรถกถา มัลลิกาสูตร
    อรรถกถา ยัญญสูตร
    อรรถกถา พันธนสูตร
    ทุติยวรรค
    อรรถกถา ชฏิลสูตร
    อรรถกถา ปัญจราชสูตร
    อรรถกถา โทณปากสูตร
    อรรถกถา ปฐมสังคามวัตถุสูตร
    อรรถกถา ทุติยสังคามวัตถุสูตร
    อรรถกถา ธีตุสูตร
    อรรถกถา ปฐมอัปปมาทสูตร
    อรรถกถา ทุติยอัปปมาทสูตร
    อรรถกถา ปฐมาปุตตกสูตร
    อรรถกถา ทุติยาปุตตกสูตร
    ตติยวรรค
    อรรถกถา ปุคคลสูตร
    อรรถกถา อัยยิกาสูตร
    อรรถกถา อิสสัตถสูตร
    อรรถกถา ปัพพโตปมสูตร
     
  20. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,949
    มารสังยุตต์
    ปฐมวรรค
    อรรถกถา ตโปรกรรมสูตร
    อรรถกถา นาคสูตร
    อรรถกถา สุภสูตร
    อรรถกถา ปฐมปาสสูตร
    อรรถกถา ทุติยปาสสูตร
    อรรถกถา สัปปสูตร
    อรรถกถา สุปปติสูตร
    อรรถกถา ปฐมอายุสูตร
    อรรถกถา ทุติยอายุสูตร
    ทุติยวรรค
    อรรถกถา ปาสาณสูตร
    อรรถกถา สีหสูตร
    อรรถกถา สกลิกสูตร
    อรรถกถา ปฏิรูปสูตร
    อรรถกถา มานสสูตร
    อรรถกถา ปัตตสูตร
    อรรถกถา อายตนสูตร
    อรรถกถา ปิณฑิกสูตร
    อรรถกถา กัสสกสูตร
    อรรถกถา รัชชสูตร
    ตติยวรรค
    อรรถกถา สัมพหุลสูตร
    อรรถกถา สมิทธิสูตร
    อรรถกถา โคธิกสูตร
    อรรถกถา สัตตวัสสสูตร
    อรรถกถา มารธีตุสูตร
    ภิกขุนีสังยุตต์
    อรรถกถา อาฬวิกาสูตร
    อรรถกถา โสมาสูตร
    อรรถกถา โคตมีสูตร
    อรรถกถา วิชยาสูตร
    อรรถกถา อุบลวรรณาสูตร
    อรรถกถา จาลาสูตร
    อรรถกถา อุปจาลาสูตร
    อรรถกถา สีสุปจาลาสูตร
    อรรถกถา เสลาสูตร
    อรรถกถา วชิราสูตร
    พรหมสังยุตต์
    ปฐมวรรค
    อรรถกถา อายาจนสูตร
    อรรถกถา คารวสูตร
    อรรถกถา พรหมเทวสูตร
    อรรถกถา พกสูตร
    อรรถกถา อปราทิฏฐิสูตร
    อรรถกถา ปมาทสูตร
    อรรถกถา ปฐมโกกาลิกสูตร
    อรรถกถา ติสสกสูตร
    อรรถกถา ตุทุพรหมสูตร
    อรรถกถา ทุติยโกกาลิกสูตร
    ทุติยวรรค
    อรรถกถา สนังกุมารสูตร
    อรรถกถา เทวทัตตสูตร
    อรรถกถา อันธกวินทสูตร
    อรรถกถา อรุณวตีสูตร
    อรรถกถา ปรินิพพานสูตร
     

แชร์หน้านี้

Loading...