พุทธวจน...ผู้เข้าไปหา เป็นผู้ไม่หลุดพ้น ผู้ไม่เข้าไปหา ย่อมเป็นผู้หลุดพ้น

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย พุืทธวจน000, 14 พฤศจิกายน 2012.

  1. พุืทธวจน000

    พุืทธวจน000 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    259
    ค่าพลัง:
    +1,051
    ผู้เข้าไปหา เป็นผู้ไม่หลุดพ้น
    ผู้ไม่เข้าไปหา ย่อมเป็นผู้หลุดพ้น

    ภิกษุ ท. ! ผู้เข้าไปหา เป็นผู้ไม่หลุดพ้น ; ผู้
    ไม่เข้าไปหา เป็นผู้หลุดพ้น.

    ภิกษุ ท. ! วิญญาณ ซึ่ง เข้าถือเอารูป ตั้งอยู่ ก็
    ตั้งอยู่ได้, เป็นวิญญาณที่มีรูปเป็นอารมณ์ มีรูปเป็นที่ตั้ง
    อาศัย มี นันทิ (ความเพลิน) เป็นที่เข้าไปส้องเสพ ก็ถึง
    ความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ได้ ;

    ภิกษุ ท. ! วิญญาณ ซึ่ง เข้าถือเอาเวทนา
    ตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้, เป็นวิญญาณที่มีเวทนาเป็นอารมณ์ มี
    เวทนาเป็นที่ตั้งอาศัย มี นันทิ (ความเพลิน) เป็นที่เข้า
    ไปส้องเสพ ก็ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ได้ ;

    ภิกษุ ท. ! วิญญาณ ซึ่ง เข้าถือเอาสัญญา
    ตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้, เป็นวิญญาณที่มีสัญญาเป็นอารมณ์ มี
    สัญญาเป็นที่ตั้งอาศัย มี นันทิ (ความเพลิน) เป็นที่เข้า
    ไปส้องเสพ ก็ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ได้ ;

    ภิกษุ ท. ! วิญญาณ ซึ่ง เข้าถือเอาสังขาร
    ตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ได้, เป็นวิญญาณที่มีสังขารเป็นอารมณ์ มี
    สังขารเป็นที่ตั้งอาศัย มี นันทิ (ความเพลิน) เป็นที่เข้า
    ไปส้องเสพ ก็ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ได้.

    ภิกษุ ท. ! ผู้ใดจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า “เราจัก
    บัญญัติ ซึ่งการมา การไป การจุติ การอุบัติ ความเจริญ
    ความงอกงาม และความไพบูลย์ของวิญญาณ โดย เว้น
    จากรูป เว้นจากเวทนา เว้นจากสัญญา และเว้นสังขาร”
    ดังนี้นั้น, นี่ ไม่ใช่ฐานะที่จักมีได้เลย.
    ภิกษุ ท. ! ถ้าราคะในรูปธาตุ ในเวทนาธาตุ
    ในสัญญาธาตุ ในสังขารธาตุ ในวิญญาณธาตุ เป็นสิ่งที่
    ภิกษุละได้แล้ว ;
    เพราะละราคะได้ อารมณ์สำหรับวิญญาณก็
    ขาดลง ที่ตั้งของวิญญาณก็ไม่มี.
    วิญญาณอันไม่มีที่ตั้งนั้นก็ไม่งอกงาม หลุดพ้น
    ไปเพราะไม่ถูกปรุงแต่ง ;

    เพราะหลุดพ้นไปก็ตั้งมั่น เพราะตั้งมั่นก็ยินดี
    ในตนเอง ; เพราะยินดีในตนเองก็ไม่หวั่นไหว ; เมื่อ
    ไม่หวั่นไหวก็ปรินิพพานเฉพาะตน ;
    ย่อมรู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบ
    แล้ว กิจที่ควรทำได้ทำสำเร็จแล้ว กิจอื่นที่จะต้องทำเพื่อ
    ความเป็นอย่างนี้ มิได้มีอีก” ดังนี้.

    ขนฺธ. สํ. ๑๗ / ๖๖ / ๑๐๕.
     

แชร์หน้านี้

Loading...