ความหมายของรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย จิตสดใส, 6 มกราคม 2011.

  1. จิตสดใส

    จิตสดใส เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    464
    ค่าพลัง:
    +1,260
    [FONT=AngsanaNew,Bold]ความหมายของคำว่า [/FONT][FONT=AngsanaNew,Bold][/FONT][FONT=AngsanaNew,Bold]รูป[/FONT][FONT=AngsanaNew,Bold][/FONT]

    ภิกษุ ท
    .! คนทั่วไปกล่าวกันว่า รูปเพราะอาศัยความหมายอะไรเล่า ? ภิกษุ ท .! เพราะกิริยาที่แตกสลายได้ มีอยู่ในสิ่งนั้น (เช่นนี้แล) ดังนั้น สิ่งนั้นจึงถูกเรียกว่า รูป. สิ่งนั้นแตกสลายได้ เพราะอะไร

    ?


    สิ่งนั้น แตกสลายได้เพราะความเย็นบ้าง, แตกสลายได้ เพราะความร้อนบ้าง, แตกสลายได้ เพราะความหิวบ้าง, แตกสลายได้ เพราะความระหายบ้าง,แตกสลายได้ เพราะถูกต้องกับเหลือบ ยุง ลม แดด

    และสัตว์เลื้อยคลานบ้าง, (ดังนี้เป็นต้น) ภิกษุ ท .! เพราะกิริยา ที่แตกสลายได้มีอยู่ในสิ่ง (เช่นนี้แล)ดังนั้น สิ่งนั้น จึงถูกเรียกว่ารูป
    [FONT=AngsanaNew,Bold]อุปมาแห่งรูป[/FONT]
    ภิกษุ ท


    .! แม่น้ำคงคานี้ ไหลพาเอา [FONT=AngsanaNew,Bold]ฟองน้ำ [/FONT]ก้อนใหญ่ก้อนหนึ่งมา,บุรุษผู้จักษุ (ตามปกติ) เห็นฟองน้ำ ก้อนใหญ่ก้อนนั้น ก็พึงเพ่งพินิจพิจารณาโด ยแยกคาย เมื่อบุรุษ ผู้นั้นเห็น อยู่ เพ่งพินิจพิจารณา

    โดยแยบ คายอยู่, [FONT=AngsanaNew,Bold]ก้อนฟองน้ำนั้น ย่อมปรากฏเป็นของว่างของเปล่า และปรากฏเป็นของหาแก่นสารมิได้ไป [/FONT][FONT=AngsanaNew,Bold]. [/FONT]ภิกษุ ท.! ก็แก่นสารในก้อนฟองน้ำนั้น จะพึงมีได้อย่างไร, อุปมานี้ฉันใด ; ภิกษุ ท.! อุปไมยก็ฉันนั้น คือ รูปชนิดใดชนิดหนึ่ง มีอยู่ จะเป็นอดีตอนาคตหรือปัจจุบันก็ตาม เป็นภายในหรือภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม มีในที่ไกลหรือที่ใกล้ก็ตาม. ภิกษุเห็นรูปนั้นย่อม
    เพ่งพินิจพิจารณาโดยแยบคาย. เมื่อภิกษุนั้นเห็นอยู่ เพ่งพินิจพิจารณาโดยแยบคายอยู่, [FONT=AngsanaNew,Bold]รูปนั้น ย่อมปรากฏเป็นของว่างของเปล่า และปรากฏเป็นของหาแก่นสารมิได้ไป[/FONT][FONT=AngsanaNew,Bold]. [/FONT]ภิกษุ ท.! ก็แก่นสารในรูปนั้น จะพึงมีได้อย่างไร.
    [FONT=AngsanaNew,Bold]ความหมายของคำว่า [/FONT]


    [FONT=AngsanaNew,Bold][/FONT][FONT=AngsanaNew,Bold]เวทนา[/FONT][FONT=AngsanaNew,Bold][/FONT]

    ภิกษุ ท


    .! คนทั่วไป กล่าวกันว่า "เวทนา" เพราะอาศัยความหมายอะไรเล่า ? ภิกษุ ท.! เพราะกิริยาที่รู้สึก (ต่อผลอันเกิดจากผัสสะ) ได้ มีอยู่ในสิ่งนั้น (เช่นนี้แล) ดังนั้น สิ่งนั้น จึงถูกเรียกว่า เวทนา.

    สิ่งนั้น ย่อมรู้สึกได้ ซึ่งอะไร


    ? สิ่งนั้น ย่อมรู้สึกได้ ซึ่งความรู้สึกอันเป็นสุขบ้าง, ย่อมรู้สึกได้ ซึ่งความรู้สึกอันเป็นทุกข์บ้าง, และย่อมรู้สึกได้ ซึ่งความรู้สึกอันไม่ทุกข์ไม่สุขบ้าง (ดังนี้เป็นต้น).

    ภิกษุ.! เพราะกิริยาที่รู้สึก (ต่อผลอันเกิดจากผัสสะ) ได้ มีอยู่ ในสิ่งนั้น (เช่นนี้แล) ดังนั้น สิ่งนั้น จึงถูกเรียกว่าเวทนา.
    [FONT=AngsanaNew,Bold]อุปมาแห่งเวทนา[/FONT]
    ภิกษุ ท


    .! เมื่อฝนเมล็ดหยาบ ตกในสรทสมัย (ท้ายฤดูฝน ), [FONT=AngsanaNew,Bold]ต่อมน้ำ
    ย่อมเกิดขึ้นและแตกกระจายอยู่บนผิวน้ำ. บุรุษผู้มีจักษุ (ตามปรกติ) เห็นต่อมน้ำนั้น ก็เพ่งพินิจพิจารณาโดยแยบคาย. เมื่อบุรุษนั้น

    เห็นอยู่ เพ่งพินิจพิจารณาโดยแยบคายอยู่[FONT=AngsanaNew,Bold], [/FONT][FONT=AngsanaNew,Bold]ต่อมน้ำนั้น ย่อมปรากฏเป็นของว่างของเปล่า และปรากฏเป็นของหาแก่นสารมิได้ไป[/FONT]. ภิกษุ ท.! ก็แก่นสารในต่อมน้ำนั้นจะพึงมีได้อย่างไร, อุปมานี้ฉันใด;ภิกษุท.! อุปไมยก็ฉันนั้น คือ เวทนา ชนิดใดชนิดหนึ่ง มีอยู่จะเป็นอดีตอนาคตหรือปัจจุบันก็ตาม เป็นภายในหรือภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม มีในที่ไกลหรือที่ใกล้ก็ตาม; ภิกษุรู้สึกในเวทนานั้น ย่อมเพ่งพินิจพิจารณาโดยแยบคาย. เมื่อภิกษุนั้นรู้สึกอยู่เพ่งพินิจพิจารณาโดยแยบคายอยู่, [FONT=AngsanaNew,Bold]เวทนานั้น ย่อมปรากฏเป็นของว่างของเปล่า และปรากฏเป็นของหาแก่นสารมิได้ไป [/FONT]ภิกษุ ท.!ก็แก่นสารในเวทนานั้นจะพึงมีได้อย่างไร.
    [FONT=AngsanaNew,Bold]อาการเกิดดับแห่งเวทนา[/FONT]
    ภิกษุทั้งหลาย


    ! [FONT=AngsanaNew,Bold]เปรียบเหมือน เมื่อไม้สีไฟสองอันสีกัน ก็เกิดความร้อนและเกิดไฟ[/FONT][FONT=AngsanaNew,Bold], [/FONT][FONT=AngsanaNew,Bold]เมื่อไม้สีไฟสองอันแยกกัน ความร้อนก็ดับไปสงบไป [/FONT]ภิกษุทั้งหลาย ! ฉันใดก็ฉันนั้น : [FONT=AngsanaNew,Bold]เวทนาทั้งสามนี้ ซึ่งเกิด[/FONT]

    [FONT=AngsanaNew,Bold]จากผัสสะ [/FONT]มีผัสสะเป็นมูล มีผัสสะเป็นเหตุ มีผัสสะเป็นปัจจัย [FONT=AngsanaNew,Bold]อาศัยผัสสะแล้วย่อมเกิดขึ้น[/FONT][FONT=AngsanaNew,Bold], [/FONT][FONT=AngsanaNew,Bold]ย่อมดับไปเพราะผัสสะดับ[/FONT][FONT=AngsanaNew,Bold], [/FONT]ดังนี้แล.


    [FONT=AngsanaNew,Italic]สฬา[/FONT][FONT=AngsanaNew,Italic]. [/FONT][FONT=AngsanaNew,Italic]สํ[/FONT][FONT=AngsanaNew,Italic]. [/FONT][FONT=AngsanaNew,Italic]๑๘[/FONT][FONT=AngsanaNew,Italic]/[/FONT][FONT=AngsanaNew,Italic]๒๖๖[/FONT][FONT=AngsanaNew,Italic]/[/FONT][FONT=AngsanaNew,Italic]๓๘๙[/FONT][FONT=AngsanaNew,Italic]-[/FONT][FONT=AngsanaNew,Italic]๓๙๐[/FONT][FONT=AngsanaNew,Italic].[/FONT]


    [FONT=AngsanaNew,Italic][FONT=AngsanaNew,Bold]ความหมายของคำว่า [/FONT][/FONT]
    [FONT=AngsanaNew,Italic]

    [FONT=AngsanaNew,Bold][/FONT][FONT=AngsanaNew,Bold]สัญญา[/FONT][FONT=AngsanaNew,Bold][/FONT][/FONT]​

    [FONT=AngsanaNew,Italic]
    ภิกษุ ท[/FONT]​
    [FONT=AngsanaNew,Italic]

    .! คนทั่วไป กล่าวกันว่า สัญญาเพราะอาศัยความหมายอะไรเล่า? ภิกษุ ท.! เพราะกิริยาที่หมายรู้ได้พร้อม มีอยู่ในสิ่งนั้น (เช่นนี้แล) ดังนั้น สิ่งนั้นจึงถูกเรียกว่า สัญญา . สิ่งนั้น ย่อมหมายรู้ได้พร้อมซึ่งอะไร ? สิ่งนั้น ย่อมหมายรู้ได้พร้อม ซึ่งสีเขียวบ้าง, ย่อมหมายรู้ได้พร้อมซึ่งสีเหลืองบ้าง,ย่อมหมายรู้ได้พร้อม ซึ่งสีแดงบ้าง, และย่อมหมายรู้ได้พร้อมซึ่งสีขาวบ้าง (ดังนี้ เป็นต้น). ภิกษุ ท. !เพราะกิริยาที่หมายรู้ได้พร้อมมีอยู่ในสิ่งนั้น (เช่นนี้แล) ดังนั้น สิ่งนั้น จึงถูกเรียกว่าสัญญา.

    [FONT=AngsanaNew,Bold]อุปมาแห่งสัญญา[/FONT]
    ภิกษุ ท


    .! เมื่อเดือนท้ายแห่งฤดูร้อนยังเหลืออยู่, ในเวลาเที่ยงวัน[FONT=AngsanaNew,Bold]พยับแดด[/FONT]ย่อมไหวยิบยับ . บุรุษผู้มีจักษุ (ตามปกติ) เห็นพยับแดดนั้น ก็เพ่งพินิจพิจารณาโดยแยบคาย. เมื่อบุคคลนั้นเห็นอยู่ เพ่งพินิจพิจารณาโดยแยบคายอยู่, [FONT=AngsanaNew,Bold]พยับแดดนั้น ย่อมปรากฏเป็นของว่าง ของเปล่า และปรากฏเป็นของหาแก่นสารมิได้ไป. ภิกษุ ท.! ก็แก่นสารในพยับแดดนั้น จะพึงมีได้อย่างไร, อุปมานี้ฉันใด;[/FONT]

    ภิกษุ ท


    .! อุปไมย ก็ฉันนั้นคือสัญญาชนิดใดชนิดหนึ่งมีอยู่ จะเป็นอดีต อนาคต หรือปัจจุบันก็ตาม เป็นภายในหรือภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม มีในที่ไกลหรือที่ใกล้ก็ตาม ; ภิกษุสังเกตเห็น (การบังเกิดขึ้นแห่ง) สัญญานั้น ย่อมเพ่งพินิจพิจารณาโดยแยบคาย เมื่อ

    ภิกษุนั้นสังเกตเห็นอยู่ เพ่งพินิจพิจารณาโดยแยบคายอยู่, [FONT=AngsanaNew,Bold]สัญญานั้นย่อมปรากฏเป็นของว่างของเปล่าและปรากฏเป็นของหาแก่นสารมิได้ไป
    . ภิกษุ ท.!ก็แก่นสารในสัญญานั้น จะพึงมีได้อย่างไร.
    [FONT=AngsanaNew,Bold]ความหมายของคำว่า [/FONT]


    [FONT=AngsanaNew,Bold]
    [FONT=AngsanaNew,Bold]สังขาร[/FONT][FONT=AngsanaNew,Bold][/FONT]
    [/FONT]​

    ภิกษุ ท


    .! คนทั่วไป กล่าวกันว่า สังขารทั้งหลายเพราะอาศัยความหมายอะไรเล่า ? ภิกษุ ท.!เพราะกิริยาที่ปรุงแต่งให้สำเร็จรูปมีอยู่ในสิ่งนั้น (เช่นนี้แล ) ดังนั้น สิ่งนั้น จึงถูกเรียกว่า สังขาร. สิ่งนั้นย่อมปรุงแต่งอะไร ให้เป็นของสำเร็จรูป ? สิ่งนั้นย่อมปรุงแต่งรูป ให้สำเร็จรูปเพื่อความเป็นรูป, ย่อมปรุงแต่งเวทนา ให้สำเร็จรูป เพื่อความเป็นเวทนา, ย่อมปรุงแต่งสัญญา ให้สำเร็จรูปเพื่อความเป็นสัญญา, ย่อมปรุงแต่งสังขารให้สำเร็จรูป เพื่อความเป็นสังขาร, และย่อมปรุงแต่งวิญญาณให้สำเร็จรูปเพื่อความเป็นวิญญาณ. ภิกษุ ท.! เพราะกิริยาที่ปรุงแต่งให้สำเร็จรูป มีอยู่ในสิ่งนั้น (เช่นนี้แล) ดังนั้น สิ่งนั้น จึงถูกเรียกว่าสังขารทั้งหลาย.

    [FONT=AngsanaNew,Bold]อุปมาแห่งสังขาร

    ภิกษุ ท


    .! บุรุษผู้หนึ่งมีความต้องการด้วยแก่นไม้ เสาะหาแก่นไม้เที่ยวหาแก่นไม้อยู่, เขาจึงถือเอาขวานอันคมเข้าไปสู่ป่า. เขาเห็น[FONT=AngsanaNew,Bold]ต้นกล้วย[/FONT]ต้นใหญ่ ในป่านั้น ลำต้นตรง ยังอ่อนอยู่ ยังไม่เกิดแกนไส้. เขาตัดต้นกล้วยนั้นที่โคน แล้วตัดปลาย แล้วจึงปอกกาบออก. บุรุษนั้น เมื่อปอกกาบออกอยู่ ณ ที่นั้น ก็ไม่พบ แม้แต่กระพี้ (ของมัน) จักพบแก่นได้อย่างไร. บุรุษผู้มีจักษุ (ตามปรกติ) เห็นต้นกล้วยนั้นก็เพ่งพินิจพิจารณาโดยแยบคาย. เมื่อบุรุษนั้นเห็นอยู่ เพ่งพินิจพิจารณาโดยแยบคายอยู่, [FONT=AngsanaNew,Bold]ต้นกล้วยนั้นย่อมปรากฏเป็นของว่าของเปล่า และปรากฏเป็นของหาแก่นสารมิได้ไป[/FONT]. ภิกษุ ท.! ก็แก่นสารในต้นกล้วยนั้น จะพึงมีได้อย่างไร, อุปมานี้ฉันใด;ภิกษุ ท.! อุปไมยก็ฉันนั้น คือ สังขารทั้งหลาย ชนิดใดชนิดหนึ่งมีอยู่ จะเป็นอดีต อนาคต หรือปัจจุบันก็ตาม เป็นภายในหรือภายนอก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม มีในที่ไกลหรือที่ใกล้ก็ตาม; ภิกษุสังเกตเห็น (การเกิดขึ้นแห่ง) สังขารทั้งหลายเหล่านั้น ย่อมเพ่งพินิจพิจารณาโดยแยบคาย. เมื่อภิกษุนั้นสังเกตเห็นอยู่ เพ่งพินิจพิจารณาโดยแยบคายอยู่, [FONT=AngsanaNew,Bold]สังขารทั้งหลาย ย่อมปรากฏเป็นของว่างของเปล่า และปรากฏเป็นของหาแก่นสารมิได้ไป[/FONT][FONT=AngsanaNew,Bold].[/FONT]ภิกษุ ท.! ก็แก่นสารในสังขารทั้งหลายเหล่านั้น จะพึงมีได้อย่างไร.

    [FONT=AngsanaNew,Bold]ความหมายของคำว่า [/FONT]


    [FONT=AngsanaNew,Bold]
    [FONT=AngsanaNew,Bold] วิญญาณ[/FONT][FONT=AngsanaNew,Bold][/FONT]
    [/FONT]​

    ภิกษุ ท


    .! คนทั่วไปกล่าวกันว่า วิญญาณเพราะอาศัยความหมายอะไรเล่า ? ภิกษุ ท.! เพราะกิริยาที่รู้แจ้ง (ต่ออารมณ์ที่มากระทบ) ได้ มีอยู่ในสิ่งนั้น (เช่นนี้แล) ดังนั้น สิ่งนั้น จึงถูกเรียกว่าวิญญาณ. สิ่งนั้นย่อมรู้แจ้ง ซึ่งอะไร ? สิ่งนั้นย่อมรู้แจ้ง ซึ่งความเปรี้ยวบ้าง, ย่อมรู้แจ้ง ซึ่งความขมบ้าง,ย่อมรู้แจ้ง ซึ่งความเผ็ดร้อนบ้าง, ย่อมรู้แจ้ง ซึ่งความหวานบ้าง, ย่อมรู้แจ้ง ซึ่งความขื่นบ้าง, ย่อมรู้แจ้งซึ่งความความไม่ขื่นบ้าง, ย่อมรู้แจ้ง ซึ่งความเค็มบ้าง, ย่อมรู้แจ้ง ซึ่งความไม่เค็มบ้าง (ดังนี้เป็นต้น)ภิกษุ ท.! เพราะกิริยาที่รู้แจ้ง (ต่ออารมณ์ที่มากระทบ) ได้ มีอยู่ในสิ่งนั้น (เช่นนี้แล) ดังนั้น สิ่งนั้น จึงถูกเรียกว่า วิญญาณ.

    [FONT=AngsanaNew,Bold]อุปมาแห่งวิญญาณ

    ภิกษุ ท


    .! นักแสดงกลก็ตาม ลูกมือของนักแสดงกลก็ตาม แสดงกลอยู่ที่ทางใหญ่สี่แยก. บุรุษผู้มีจักษุ (ตามปรกติ) เห็นกลนั้น ก็เพ่งพินิจพิจารณาโดยแยบคาย. เมื่อบุรุษผู้นั้นเห็นอยู่ เพ่งพินิจพิจารณาโดยแยบคายอยู่, [FONT=AngsanaNew,Bold]กลนั้น ย่อมปรากฏเป็นของว่างของเปล่า และปรากฏเป็นของหาแก่นสารมิได้ไป[/FONT]. ภิกษุท.! ก็แก่นสาร ในกลนั้น จะพึงมีได้อย่างไร, อุปมานี้ฉันใด; ภิกษุ ท.! อุปไมยก็ฉันนั้น คือ วิญญาณชนิดใดชนิดหนึ่ง มีอยู่ จะเป็นอดีตอนาคตหรือปัจจุบันก็ตาม เป็นภายในหรือภายนอกก็ตาม หยาบหรือละเอียดก็ตาม เลวหรือประณีตก็ตาม มีในที่ไกลหรือใกล้ก็ตาม; ภิกษุสังเกตเห็น (การเกิดขึ้นแห่ง)วิญญาณนั้น ย่อมเพ่งพินิจพิจารณาโดยแยบคาย เมื่อภิกษุนั้นสังเกตเห็นอยู่ เพ่งพินิจพิจารณาโดยแยบคายอยู่, [FONT=AngsanaNew,Bold]วิญญาณนั้น ย่อมปรากฏเป็นของว่างของเปล่า และปรากฏเป็นของหาแก่นสารมิได้ไป[/FONT].ภิกษุท.! ก็แก่นสารในวิญญาณนั้น จะพึงมีได้อย่างไร.
    [/FONT]
    [/FONT]
    [/FONT]
    [/FONT]
    [/FONT]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 มกราคม 2011
  2. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,425
    ค่าพลัง:
    +35,040
    โดยรวมที่กล่าวมาแล้วมันคือ ปรมัถท์หรือเปล่าครับ..
     
  3. bluebaby2

    bluebaby2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กันยายน 2010
    โพสต์:
    2,471
    ค่าพลัง:
    +4,288
    อนุโมทนาครับ พระพุทธองค์ใช้คำว่ากิริยาเพราะมันไม่มีคน ไม่มีตัวตนมีแต่
    อาการหรือกิริยาเท่านั้น ไม่มีคนเดินมีแต่การเดิน เป็นต้น
     
  4. ยศวดี

    ยศวดี ยายแก่แล้ว*_*

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2010
    โพสต์:
    4,255
    กระทู้เรื่องเด่น:
    11
    ค่าพลัง:
    +5,796
    โมทนาสาธุคะ
    ด้วยเหตุว่าต้องการคำอธิบายและหา คำตอบที่เข้าใจง่าย ในเรื่องรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาน จึงได้ค้น และ ก็ยังอยากได้ คำอธิบายเพิ่มอีก เหตุแห่ง การเกิดและดับ ตลอดเวลานั้น ให้เข้าใจได้เร็วขึ้นทุกขณะจิต เจ้าคะ ขอความเข้าใจ สำหรับผู้รู้เจ้าคะ
    ขอบคุณล่วงหน้าคะ
     
  5. พลรัฐ

    พลรัฐ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    610
    ค่าพลัง:
    +1,111
    1.รูป ร่างกาย
    2.เวทนา อารมณ์ ชอบก็พอใจ ไม่ชอบก็ไม่พอใจ เฉยๆ
    3.สัญญา ความทรงจำ ว่าของใครเป็นของใคร
    4.สังขาร ความคิด ผูกเรื่อง เป็นเรื่องเป็นราว คิดดี คิดไม่ดี
    5.วิญญาณ ประสาทสัมผัส รู้ร้อน รู้หนาว รู้เจ็บปวด ทรมาน
     
  6. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    พระวจนะ" ภิกษุทั้งหลาย กล่าวโดยสรุปแล้ว ปัญจุปาทานักขันธิ์ เป้นตัวทุกขืนั้น เป็นอย่างไรเล่า ภิกษุทั้งหลาย ปัญจุปาทานักขันธิ์ นั้น ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือขันธิ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือ รูป ขันธิ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือ เวทนา ขันธิ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือ สัญญา ขันธิ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นคือ สังขาร และขันธิ์อันเป้นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นคือ วิญญาน เหล่านี้แล เรียกว่า กล่าวโดยสรุปแล้ว ปัญจุปาทานักขันธิ์ เป็นตัวทุกข์---มหา.ที.10/343/295...:cool:
     
  7. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    พระวจนะ-----รูป"ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุชื่อว่าผู้ไม่รู้จักรุป เป็นอย่างไรเล่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมไม่รู้ตามเป็นจริงว่ารูป ชนิดใดชนิดหนึ่งนั้น คือ มหาภูตสี่อย่าง และ รูปที่อาศัยมหาภูตสี่อย่างเหล่านั้นด้วย ดังนี้ ภิกษุทั้งหลาย นีี้แล เรียกว่า ภิกษุผู้ไม่รู้จักรูป..เอกาทสก.อํ.24/378/224...:cool:
     
  8. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    พระวจนะ" ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุชื่อว่า ผู้รู้จักรูป เป็นอย่างไรเล่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ ในกรณีนี้ ย่อมรู้ตามจริงว่า รูปชนิดใดชนิดหนึ่งนั้นคือ มหาภูตสี่อย่าง และรูปที่อาศัยมหาภูติสี่อย่างเหล่านั้นด้วย ดังนี้ ภิกษุทั้งหลาย นี้แล เรียกว่า ภิกษุผู้รู้จักรูป---(อริยสัจจากพระโอษฐ์ ท่านพุทธทาส):cool:ความเกิดขึ้นของธาตุสี่ เท่ากับการเกิดขึ้นของทุกข์ พระวจนะ" ภิกษุทั้งหลาย การเกิดขึ้น การตั้งอยู่ การเกิดโดยยิ่ง และความปรากฎของ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ และวาโยธาตุ ใดใดนั่นเท่ากับ เป็นการเกิดขึ้นของทุกข์ เป็นการตั้งอยู่ของสิ่งซึ่งมีปรกติเสียดแทงทั้งหลาย และ เป็นความปรากฎของ ชราและมรณะ:cool:พระวจนะ" ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดย่อมเพลินโดยยิ่ง ซึ่งปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ ผู้นั้นย่อมเพลินโดยยิ่ง ซึ่งสิ่งเป็นทุกข์ ผู้นั้นย่อมไม่หลุดพ้นไปได้ จากทุกข์....(อริยสัจจากพระโอษฐ์ ท่านพุทธทาส):cool:
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 ตุลาคม 2012
  9. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    วิภาคแห่งสังขารขันธิ์ สังขารหก พระวจนะ" ภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลาย เป็นอย่างไรเล่า ภิกษุทั้งหลายหมู่แห่ง เจตนาหกเหล่านี้คือ สัญเจตนา(ความคิดนึก) ในเรื่องรูป สัญเจตนาในเรื่องเสียง สัญเจตนาในเรื่องกลิ่น สัญเจตนาในเรื่องรส สัญเจตนาในเรื่องโพฎฐัพพะ และ สัญเจตนาในเรื่องธรรมารมณ์ ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า สังขารทั้งหลาย---ขนธ.สํ.17/74/116:cool:ภิกษุทั้งหลาย คนทั่วไปกล่าวกันว่า สังขารทั้งหลาย เพราะอาสัยความหมายอันใดเล่า ภิกษุทั้งหลาย เพราะกริยาที่ปรุงแต่งให้สำเร็จรูป มีอยู่ในสิ่งนั้น ดังนั้น สิ่งนั้นจึงถูกเรียกวว่าสังขาร สิ่งนั้นย่อมปรุงแต่งอะไร ให้เป็นของสำเร็จรูป สิ่งนั้นย่อมปรุงแต่งรูป ให้สำเร็จรูปเพื่อความเป้นรูป ย่อมปรุงแต่งเวทนาให้สำเร็จรูปเพื่อความเป็นเวทนา ย่อมปรุงแต่งสัญญา ให้สำเร็จรูปเพื่อความเป็นสัญญา ย่อมปรุงแต่งสังขารให้สำเร็จรูปเพื่อ ความเป็นสังขาร และย่อมปรุงแต่งวิญญานให้สำเร็จรูปเพื่อความเป็นวิญญาน ภิกษุทั้งหลาย เพราะกริยาที่ปรุงแต่งให้สำเร็จรูปมีอยู่ในสิ่งนั้น ดังนั้นสิ่งนั้น จึงถูกเรียกว่า สังขารทั้งหลาย:cool:พระวจนะ"ภิกษุทั้งหลาย การเกิดขึ้น การตั้งอยู่ และความปรากฎ ของสัญเจตนาในเรื่องรูป สัญเจตนาในเรื่องเสียง สัญเจตนาในเรื่องกลิ่น สัญเจตนาในเรื่องรส สัญเจตนาในเรื่องโพฎฐัพพะ และสัญเจตนาในเรื่องธรรมารมณ์ใดใดนั้น เท่ากับเป็นการเกิดขึ้นของทุกข์ เป็นการตั้งอยู่ของสิ่งที่มีปรกติเสียดแทงทั้งหลาย และเป็นความปรากฎของ ชราและ มณระแล----ขนธ.สํ.17/285/491:cool:
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 ตุลาคม 2012
  10. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    พระวจนะ" ข้าแต่พระองคืผู้เจริญ อุปาทานนั้นเองหรือ ชื่อว่า ปัญจุปาทานักขันธิ์เหล่านั้น หรือว่า อุปาทานเป้นอื่นไปจาก ปัญจุปาทานักขันธิื ทั้งหลายเล่า พระเจ้าข้า---ภิกษุทั้งหลาย ตัวอุปาทานนั้น ก็มิได้มีในที่อื่น นอกไปจาก ปัญจุปาทานักขันธิ์ทั้งหลาย เพราะว่าตัวฉันทะ ราคะ ที่มีอยู่ในปัญจุปาทานักขันธิ์ นั้นแหละ คือ ตัวอุปาทานในที่นี้แล---อุปริ.ม.14/101/121:cool:พระวจนะ"ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงสิ่งซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน และ ตัวอุปาทาน พวกเธอทั้งหลาย จงฟังข้อนั้น...ภิกษุทั้งหลาย สิ่งซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน เป็นอย่างไรเล่า และ ตัวอุปาทาน เป็นอย่างไรเล่า...ภิกษุทั้งหลาย รูป เป็นสิ่งซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน ฉันทะ ราคะ(ความกำหนัดเพราะพอใจ)ใด เข้าไปมีอยู่ในรูปนั้น นั้นคือ ตัวอุปาทาน ในรูปนั้น..........ภิกษุทั้งหลาย เวทนา เป็นสิ่งซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน ฉันทะ ราคะใด เข้าไปมีอยู่ในเวทนานั้น ฉันทะราคะนั้น คือ ตัวอุปาทาน ในเวทนานั้น..............ภิกษุทั้งหลาย สัญญา เป็นสิ่งซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน ฉันทะราคะใด เข้าไปมีอยู่ในสัญญานั้น ฉันทะราคะนั้น คือตัวอุปาทาน ในสัญญานั้น............ภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลาย เป็นสิ่งซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน ฉันทะราคะใด เข้าไปมีอยู่ใน สังขารทั้งหลายเหล่านั้น ฉันทะราคะใด เข้าไปมีอยู่ในสังขารทั้งหลายเหล่านั้น ฉันทะราคะนั้น คือ ตัวอุปาทาน ในสังขารทั้งหลายเหล่านั้น.........ภิกาุทั้งหลาย วิญญาน เป็นสิ่งซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน ฉันทะราคะใด เข้าไปมีอยู่ในวิญญานนั้น ฉันทะราคะนั้น คือ ตัวอุปาทาน ในวิญญานนั้น........ภิกาุทั้งหลาย ขันธิืเหล่านี้ เรียกว่า สิ่งวึ่งเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน ฉันทะราคะนี้ เรียกว่า ตัวอุปาทานแล---ขนธ.สํ.17/202/309..:cool:
     
  11. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    ความสดุ้งหวาดเสียว เพราะอุปาทาน--พระวจนะ" ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงความสดุ้งหวาดเสียวเพราะอุปาทานแก่พวกเธอ...เธอทั้งหลายจงฟังข้อความนั้น จงทำในใจให้สำเร็จประโยชน์ เราจักกล่าวบัดนี้...ภิกษุทั้งหลาย ความสดุ้งหวาดเสียวเพราะอุปาทาน เป็นอย่างไรเล่า ภิกษุทั้งหลาย ในกรณีนี้ ปุถุชน ผู้ไม่มีการสดับ ย่อมตามเห็นอยู่เป็นประจำ ซึ่งรูป ว่า นั้นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นอัตตาของเรา ดังนี้ แต่รูปนั้น ย่อมแปรปรวน ย่อมเป้นโดยประการอื่น แก่เขา เพราะความแปรปรวนโดยเป็นประการอื่นแห่งรูป โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาส ทั้งหลาย ย่อมเกิดขึ้น แก่ปุถุชนนั้น(ในกรณีแห่ง เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาน ก็มีข้อความที่ตรัสเหมือนกับในกรณีแห่งรูป) ภิกษุทั้งหลาย ความสะดุ้งหวาดเสียวเพราะอุปาทานย่อมมีได้ด้วย อาการอย่างนี้แล--ขนธ.สํ.17/24/34:cool:
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 ตุลาคม 2012
  12. ยศวดี

    ยศวดี ยายแก่แล้ว*_*

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2010
    โพสต์:
    4,255
    กระทู้เรื่องเด่น:
    11
    ค่าพลัง:
    +5,796
    โมทนาสาธุคะ
    ตอนนี้เริ่มเข้าใจแล้วว่า ทำไม จึงมีทุกข์
     
  13. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    เพิ่มเติมครับ...จากธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งสัมปชัญญะ19อย่าง ขอยกมาในที่กล่าวถึง ปัญจุปาทานักขันธิ์ นะครับ-----พระวจนะ"อานนท์ อุปาทานขันธิ์ 5 เหล่านี้แล มีอยู่ ซึ่งในอุปาทานขันธิ์ห้าเหล่านั้น ภิกษุพึงเป็นผู้มีปรกติ ตามเห็นซึ่งความตั้งขึ้น และความเสื่อมไปดังนี้ว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาน เป็นอย่างนี้ ความเกอดขึ้น แห่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาน เป็นอย่างนี้ดังนี้ เมื่อ ภิกษุนั้นมีปรกติตามเห็นซึ่งความ ตั้งขึ้นและความเสื่อมไปในอุปาทานขันธิ์ห้าเหล่านี้อยู่ อัสิมานะในอุปาทานขันธิ์ทั้งห้า อันเธอย่อมละได้ อานนท์ เมื่อเป็นอย่างนี้ ภิกษุนั้นย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า อัสมิมานะของเราในอุปาทานขันธิ์ทั้งห้า อันเราละได้แล้ว ดังนี้ ในกรณีอย่างนี้ นี้ ภิกษุนั้นชื่อว่าเป็นผู้มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อมในกรณีแห่งอัสมิมานะในปัญจุปาทานักขันธิ์อันตนละได้แล้วนั้น(อันนี้เป็นฐานที่ตั้งแห่งสัมปชัญญะฐานที่ 19)---อริยสัจจากพระโอษฐ์ท่านพุทธทาสหน้าที่1176...:cool:
     
  14. mailgolf

    mailgolf เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    153
    ค่าพลัง:
    +306
    คำของพระศาสดา มีความหมายลึก เป็นชั้นโลกุตระ ว่าด้วยเรื่อง สูญญตา

    สาธุ สาธุ สาธุ
     
  15. ยศวดี

    ยศวดี ยายแก่แล้ว*_*

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 เมษายน 2010
    โพสต์:
    4,255
    กระทู้เรื่องเด่น:
    11
    ค่าพลัง:
    +5,796
    มิมีครายมาอธิบายเพิ่มเติมเลยเหรอเนี้ย
    มาตามอ่านอยู่เน้อ โมทนาสาธุกับทุกท่านคะ
     
  16. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    พระวจนะ" ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนแม่น้ำ ซึ่งมีกำเนิดแต่ภูเขา ใหลไปทางต่ำ สิ้นระยะใกล มีกระแสเชี่ยวจัด ถ้าหากหญ้ากาสะก็ตาม หญ้ากุสะก็ตาม หญ้าปัพชะก็ตาม หญ้าวีรณะก็ตาม หรือต้นไม้ก็ตาม เกิดอยู่ที่ฝั่งทั้งสองของแม่น้ำนั้นไซร้ หญ้าหรือต้นไม้เหล่านั้น ก็จะพึงย้อยลงปรกฝั่งทั้งสองของแม่น้ำนั้น บุรุษผู้หนึ่ง ถูกกระแสแห่งแม่น้ำนั้นพัดมา ถ้าจะจับหญ้ากาสะก็ตาม หญ้ากุสะก็ตาม หญ้าปัพชะก็ตาม หญ้าวีรณะก็ตาม หรือต้นไม้ก็ตาม สิ่งเหล่านั้นก็จะพึงขาดหลุดไป บุรุษนั้นก็ถึงความพินาศเพราะการทำเช่นนั้น อุปมานี้ฉันใด..................อุปไมก็ฉันนั้น คือปุถุชน ผู้ไม่ได้ยินได้ฟัง ไม่ได้เห็นเหล่าพระอริยะเจ้า ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ถูกแนะนำในธรรมของพระอริยเจ้า ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ย่อมตามเห็นพร้อมซึ่งรูปโดยความเป็นตน หรือตามเห็นพร้อมว่าตนว่า มีรูป หรือตามเห็นพร้อมซึ่งรูปว่ามีอยู่ในตน หรือตามเห็นพร้อมซึ่งตนว่ามีอยู่ในรูป รูปนั้นย่อมแตกสลายแก่เขา เขาย่อมถึงการพินาศ เพราะข้อนั้นเป็นเหตุบ้าง.............ปุถุชนนั้น ย่อมตามเห็นพร้อม ซึ่งเวทนาโดยความเป็นตน หรือซึ่งตามเห็นพร้อมว่าซึ่งตนว่ามีเวทนา หรือตามเห็นพร้อมซึ่งเวทนาว่ามีอยู่ในตน หรือตามเห็นพร้อมว่าตนมีอยู่ในเวทนา เวทนานั้นย่อมแตกสลายแก่เขา เขาย่อมถึงการพินาศ เพราะข้อนั้นเป็นเหตุบ้าง..................................ปุถุชนนั้น ย่อมตามเห็นพร้อมซึ่ง สัญญา โดยความเป็นตน หรือ ตามเห็นพร้อมซึ่งตนว่ามีสัญญา หรือตามเห็นพร้อมซึ่งสัญญา ว่ามีอยู่ในตน หรือตามเห็นพร้อมซึ่งตนว่ามีอยู่ในสัญญา สัญญานั้นย่อมแตกสลายแก่เขา เขาย่อมถึงการพินาศ เพราะข้อนั้นเป็นเหตุบ้าง...............................ปุถุชนนั้น ย่อมตามเห็นพร้อมซึ่งสังขารทั้งหลาย โดยความเป็นตน หรือตามเห็นพร้อมซึ่งตนว่ามีสังขาร หรือตามเห็นพร้อม ซึ่งสังขารทั้งหลาย ว่ามีอยู่ในตน หรือตามเห็นพร้อมซึ่งตนว่ามีอยู่ในสังขารทั้งหลาย สังขารทั้งหลายเหล่านั้น ย่อมแตกสลายแก่เขา เขาย่อมถึงการพินาศ เพราะข้อนั้นเป็นเหตุบ้าง.......................ปุถุชนนั้น ย่อมตามเห็นพร้อมซึ่งวิญญาน โดยความเป็นตน หรือตามเห็นพร้อมซึ่งตนว่ามีวิญญาน หรือตามเห็นพร้อมซึ่งวิญญาน ว่ามีอยู่ในตน หรือตามเห็นพร้อมซึ่งตนว่ามีอยู่ในวิญญาน วิญญานนั้น ย่อมแตกสลายแก่เขา เขาย่อมถึงการพินาศ เพราะข้อนั้นเป็นเหตุแล---ขนธ.สํ.17/168/237...:cool:
     
  17. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    พระวจนะ" กัสปะ เมื่อบุคคลมีความสำคัญมั่นหมายแต่ต้นว่า ผู้นั้นกระทำผู้นั้นเสวย(ผล) ดังนี้เสียแล้ว เขามีวาทะ ว่าความทุกข์ เป็นสิ่งที่บุคคลกระทำเอง ดังนี้ นั้นย่อมแล่นไปสู่(คลองแห่ง)สัสตะ(ทิฎฐิที่ถือว่าเที่ยง) กัสสปะ เมื่อบุคคลถูกเวทนากระทบให้มีความสำคัญมั่นหมายว่า ผู้อื่นกระทำผู้อื่นเสวย(ผล) ดังนี้เสียแล้ว เขามีวาทะ(ลัทธิที่ยืนอยู่) ว่า ความทุกข์เป็นสิ่งที่บุคคลอื่นกระทำให้ ดังนี้ นั้นย่อมแล่นไปสู่(คลองแห่ง)อุจเฉททิฎฐิ(ทิฎฐิที่ถือว่าขาดสูญ)....................กัสปะ ตถาคต ย่อมแสดงธรรมโดยสายกลาง ไม่เข้าไปหาส่วนสุดทั้งสองนั้น คือตถาคตย่อมแสดงดังนี้ว่า เพราะมีอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขารทั้งหลาย เพราะมีสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาน----(ไปจนถึง) เพราะมีชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงเกิดขึ้นครบถ้วน "ความเกิดขึ้นพร้อมแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้......................เพราะความจางคลายดับไปโดยไม่เหลือของอวิชชานั้นเทียว จึงมีความดับแห่งสังขาร เพราะมีความดับแห่งสังขาร จึงมีความดับแห่งวิญญาน-----(จนไปถึง) เพราะมีความดับแห่งชาตินั้นแล ชรามรณะ โสกะปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสทั้งหลาย จึงดับสิ้น ความดับลงแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยอาการอย่างนี้ ดังนี้-----นิทาน.สํ.16/24/50...(อริยสัจจากพระโอษฐ์ ท่านพุทธทาส):cool:
     

แชร์หน้านี้

Loading...