อารมณ์ของพระวิปัสสนากรรมฐาน

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย dreamlnw002, 5 ธันวาคม 2011.

  1. dreamlnw002

    dreamlnw002 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    105
    ค่าพลัง:
    +11
    ตามหลักการที่พระพุทธเจ้าและพระอรรถกถาจารย์ได้วางไว้ เราสามารถทราบอารมณ์ของวิปัสสนา ได้ด้วยกาไล่ตามวิถึจิตไปตามกฏเกณฑ์และตามหลักฐาน ซึ่งจะพบว่ามีทั้ง ปรมัตถ์ และ บัญญัตติ เป็นอารมณ์ กล่าวคือ เมื่อคิดถึงวิปัสสนาภูมิ เช่น ธรรมะ 201 เป็นต้นตอนที่ ทำวิปัสสนาอยู่ ก็มีปรมัตถ์เป็นอารมณ์ แต่เมื่อนึกถึงพระพุทธพจน์ เช่น ชื่อของธรรมะ 201 หรือ อาการของขันธ์ เช่น ไตรลักษณ์ หรือิริยาบถต่างๆเป็นต้น เป็นเครื่องกำหนด วิปัสสนาก็จะมีบัญญัติเป็นอารมณ์

    วิปัสสนาภูมิ ตามที่แสดงไว้ในวิสุทธิมรรคนั้น ได้แก่ ธรรมะ 201 เป็นต้น เช่น

    1.ขันธ์ 5 ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
    2.อายตนะ 12 ได้แก่ อายตนะภายใน หมายถึงสื่อเชื่อมต่อที่อยู่ในตัวคน บ้างเรียกว่า อินทรีย์ 6 มี 6 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ทั้งหมดนี้เป็นที่เชื่อมต่อกับอายตนะภายนอก
    อายตนะภายนอก หมายถึงสื่อเชื่อมต่อที่อยู่นอกตัวคน
    บ้างเรียกว่า อารมณ์ 6 มี 6 คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ทั้งหมดนี้เป็นคู่กับอายตนภายใน เช่น รูปคู่กับตา หูคู่กับเสียง เป็นต้น

    อายตนะภายนอกนี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อารมณ์ เมื่อตา เห็นรูป เรียกว่า สัมผัส รู้ว่ามีการเห็น เรียกว่า วิญญาณ เกิดความรู้สึกขึ้นเมื่อตาเห็นรูป เรียกว่า เวทนา
    3.ธาตุ 18 ได้แก่ ปสาท 5 คือ 1.จักขุธาตุ 2.โสตธาตุ 3.ฆานธาตุ 4.ชิวหาธาตุ 5.กายธาตุ

    4.อารมณ์ 5 (รู้โดยอาศัยปสาท 5) คือ 6.รูปธาตุ 7.สัททธาตุ 8.คันธธาตุ 9.รสธาตุ 10.โผฏฐัพพธาตุ ซึึ่งได้แก่มหาภูตรูป 3 คือ
    ธาตุดิน สภาพแข็งหรือ่อน
    ธาตุไฟ สภาพร้อนหรือเย็น
    ธาตุลม สภาพไหวหรืือตึง

    ทวิปัญจวิญยาณ (รู้อารมณ์ 5) คือ 11.จักขุวิญญาณธาตุ 12.โสตวิญยาณธาตุ 13.ฆานวิญญาณธาตุ 14.ชิวหาวิญยาณธาตุ 15.กายวิญญาณธาตุ อีก 3 ธาตุ คือ 16.มโนธาตุ 17.ธัมมธาตุ 18.มโนวิญญาณธาตุ

    5.อินทรีย์ 22 ได้แก่ อินทรีย์ที่ 1 จักขุนทรีย์ ประสาทตาก็คือสภาพที่รับสีเป็นความใส่ ในการบรับสี ในขบวนการเห็นแล้วประสาตานี้ก็เป็นใหญ่
    อินทรีย์ที่ 2 โสตินทรีย์ ธรรมชาติที่เป็นใหญ่ เป็นผู้ปกครองในการได้ยินเสียงองค์ธรรมก็คือโสตปสาท คือเป็นความใสที่อยู่ในรูหู
    อินทรีย์ 3 ฆานินทรีย์ ธรรมที่เป็นใหญ่ ปกครองในการรู้กลิ่น องค์ธรรมชาติ คือ จมูก
    อินทรีย์ 4 ชิวหินทรีย์ ธรรมชาติที่เป็นใหญ่ ในการรู้รส องค์ธรรมชาติ คือ ลิ้น
    อินทรีย์ 5 กายินทรีย์ ธรรมชาตืที่เป็นใหญ่ เป็นผู้ปกครองในการสัมผัส ในการรู้สึก องค์ธรรมก็คือกายปสาท
    อินทรีย์ 6 ธรรมชาติที่เป็นใหญ่ เป็นผู้ปกครองในการรับอารมณ์ องค์ธณรมคือจิตทั้งหมด
    อินทรีย์ที่ 7 อิตถินทรีย์ ธรรมชาติที่เป็นใหญ่เป็นผู้ปกครองในความเป็นหญิงองค์ธรรมคืออิตถึภาวรูป
    อินทรีย์ที่ 8 ปุริสินทรีย์ ความเป็นใหญ่ เป็นผู้ปกครองในความเป็นชาย องค์ธรรมก็คือปุริสินทรีย์ ก็เป็นภาวรูป ในกระบวนการของความเป็น ชายแล้ว
    อินทรีย์ที่ 9 ชีวิตินทรีย์ ธรรมชาติเป็นผู้ปกครองในการรักษารูปและองค์ธรรมคือ ชีวิตรูปและชีวิตินทรีย์
    อินทรีย์ที่ 10 สุขินทรีย์ ธรรมชาตที่เป็นใหญ่ เป็นผู้ปกครองในการเสวยความสุขกายสุขใจ
    อินทรีย์ที่ 11 ทุกขินทรีย์ ธณรมชาติที่เป็นใหญ่ เป็นผู้ปกครองในการเสวยความทุกข์กายทุกใจ
    อินทรีย์ที่ 12 ธรรมชาติที่เป็นใหญ่ เป็นผู้ปกครองในการเสวยความสุขใจ องธรรมคือเวทนาเจตสิก
    อินทรีย์ที่ 13 โทมนัสสินทรีย์ ความเป็นใหญ่ เป็นผู้ปกครองในความทุกข์ใจหรือว่า โทมนัสใจ องค์ธรรมก็คือเวทนาเจตสิก
    อินทรีย์ที่ 14 อุเปกขินทรีย์ ธรรมชาติที่เป็นใหญ่ เป็นผู้ปกครองในการเสวย อารมณ์เป็นกลางๆ คือความไม่สุขไม่ทุกข์
    อินทรีย์ที่ 15 ธรรมชาติที่เป็นผู้ปกครอง เป็นใหญ่ในความเชื่อต่อสิ่งที่ควรเชื่อ องค์ธรรมก็คือศรัทธาเจตสิก
    อินทรีย์ที่ 16 วิริยินทรีย์ ธณรมชาติที่เป็นใหญ่ เป็นผู้ปกครองในความเพียรขึ้นมา ในจิตในใจ เพียนตั้งสติ ก็กำหนดรู้้ ความเพียนเป็นนามธรรม
    อินทรีย์ที่ 17 สตินทรีย์ ธรรมชาติที่เป็นใหญ่ เป็นผู้ปกครองในการระลึกชอบองค์ก็คือสติเจตสิก
    อินทรีย์ที่ 18 สมาธินทรีย์ ธรรมชาติที่เป็นใหญ่ เป็นผู้ปกครองในการตั้งมั่นในอารมณ์เดียว องค์ธรรมก็คือเอกกัคคตาเจตสิก
    อินทรีย์ที่ 19 ปัญญิณทรีย์ ธรรมชาติีที่เป็นใหญ่ เป็นผู้ปกครองในการรู้ตามความเป็นจริง องค์ธรรมก็คือปัญญาเจตสิก
    อินทรีย์ที่ 20 อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์ ธรรมชาติที่เป็นใหญ่ เป็นผู้ปกครองในการ รู้แจ้งอริยสัจจะ 4 ที่ตนไม่เคยรู้ องค์ธรรมก็คือ ปัญญาเจตสิก
    อินทรีย์ที่ 21 อัญญิณทรีย์ คือธรรมชาติที่เป็นใหญ่ เป็นผู้ปกครองในการรู้แจ้งอริยสัจจะ 4 องค์ธณรมก็คือ ปัญญาเจตสิก.
    อินทรีย์ที่ 22 อัญญาตาวินทรีย์ ธรรมชาติที่เป็นผู้ปกครองในการรู้แจ้งอริยสัจจะ 4 สิ่นสุดแล้ว มีงอค์ธรรมคือปัญญาเจตสิกที่ในอรหัตตผลจิต

    อริยสัจ 4 ได้แก่

    ทุกข์ คือ สภาที่ทนได้ยาก ภาวะที่อยู่ในสภาพเดิมไม่ได้

    ทุกข์สมุทัย คือ สาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์

    ทุกขนิโรธ คือ ความดับทุกข์

    ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา คือ แนวปฏิบัติที่นำไปสู่หรือนำไปถึงความดับทุกข์

    ปฏิจสมุปบาท เป็นหลักธรรมข้อหนึ่งในพุทธศาสนา อธิบายถึง การเกิดขึ้นพร้อมแห่งธรรมทั้งหลายเพราะอาศัยกัน การที่สิ่งทั้งหลายอาศัยกัน จึงเกิดมีขึ้น

    การที่ทุกข์เกิดขึ้นเพราะอาสััญปัจจัยต่อเนื่องกันมา มีงอค์หรือหัวข้อ 12 ดังนี้ คือ อวิชชา สังขาร วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสส เวทนา ตัณหา อุปทาน ภพ ชาติ ชรามรณะ

    ด้วยเดชะผลบุญนี้จงค้ำชู อุดหนุน คุณบิดามารดา พระมหากษัตริย์ทุกๆพระองค์ พระโพธิ์สัตย์ทุกๆพระองค์ พระอริยเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระโสดาบัน พระศรีอาริยเมตไตรย หลวงพ่อทวด พระแม่โพสพ พระแม่คงคา พระแม่ธรณี พระเพลิง พระพราย พระพิรุณ นายนิริยบาล ศิริพุทธอำมาตย์ พญายมราช ขอให้ทุกท่านที่ต้องทุกข์ขอให้พ้นจากทุกข์ แต่ท่านที่ได้สุข ขอให้สุขยิ่งๆขึ้นไป ด้วยเดชะผลบุญนี้ขอให้ข้าพเจ้าและครอบครัวข้าพเจ้าประสบแต่ความสุขความเจริญ ความรุ่งเรือง ตลอดกาลนานเทอญ
     

แชร์หน้านี้

Loading...