ขอเชิญร่วมทำบุญสงเคราะห์พระภิกษุสงฆ์อาพาธ

ในห้อง 'ตลาด พระเครื่องเพื่อการกุศล' ตั้งกระทู้โดย พันวฤทธิ์, 29 พฤศจิกายน 2007.

  1. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,789
    ค่าพลัง:
    +16,101
    หลวงพ่อโสธร ชื่อนี้น้อยคนนักจะไม่รู้จัก หรือไม่เคยไปกราบไหว้ แต่ใครจะรู้บ้างว่า หลังพระประธานองค์ใหญ่นั้น จะมีพระพุทธรูปองค์เล็กอยู่องค์หนึ่ง ซึ่งตรงกับตำแหน่งหลังพระประธานพอดี พระพุทธรูปองค์นี้นี่ล่ะที่ท่านผู้มีตาในดีมากๆ กำหนดดูแล้วพบว่ามีเทพผู้ซึ่งมีพลังทางด้านรักษาโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ท่านลงมาดูแลอยู่ ใครที่มีโรคมากให้ไปนั่งสมาธิใกล้ๆ ท่านแล้วโน้มจิตขอกระแสพลังจากท่านมารักษาโรคทั้งโรคภายในและโรคภายนอก ท่านว่าถ้ามีกระแสบุญเป็นแรงเสริมด้วย พลังท่านเด็ดขาดนัก แต่น้อยคนที่จะรู้จริง ส่วนพระต่างๆ ที่รายล้อมท่านนั้น แต่ละองค์ก็มีทีเด็ดต่างกัน หากพิจารณาดูดีๆ ก็จะเห็นว่า องค์หลวงพ่อโสธรท่านบัญชาการอยู่ ประเภท นี่ท่านโยมเค้าเจ็บป่วยมา ท่านข้างหลังช่วยหน่อย เอ้า! นั่นโยมขอโชคลาภ ท่านพุงพลุ้ยดูซิว่าท่านช่วยเค้าไหวมั๊ย เป็นต้น ลองดูกัน และลองขอให้ถูกองค์ รับรองว่าไม่เสียหายน่าๆ แต่อย่าลืมเรื่องโรคภัยต้องด้านหลังองค์พระประธาน แต่เผอิญหารูปจนทั่วแล้วไม่มีครับ เลยไม่ได้นำมาลงให้ดูกัน....
    [​IMG]
     
  2. พุทธนิรันดร์

    พุทธนิรันดร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    1,641
    ค่าพลัง:
    +5,039
    วันนี้มีญาติธรรมกัลยามิตรธรรมชื่อคุณฟองนวล อุ่งคำ ได้ฝากโอนเงินร่วมทำบุญ200 บาทเพื่อร่วมทำบุญสงเคราะห์สงฆ์อาพาธกับโรงพยาบาล 9 แห่งทั่วประเทศ<!-- google_ad_section_end --> ทำโอนเป็นที่เรียบร้อยแล้วครับ กราบโมทนาบุญกับทุกท่านด้วยครับ

    ส่วนของผมเองก็จะขอร่วมบุญ โดยโอนให้ในอีก 2-3 วันนี้ครับ<!-- google_ad_section_end -->
     
  3. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    916
    ค่าพลัง:
    +4,291
    [​IMG]

    [​IMG]

    [​IMG]
     
  4. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    916
    ค่าพลัง:
    +4,291
    ขอตอบเพิ่มเติมคุณพันวฤทธิ์หน่อยนะครับ ถ้าผมจำไม่ผิดจะเป็นองค์ที่เป็นปางนาคปรก ที่อยู่ข้างหลังด้านล่างขวามือขององค์หลวงพ่อ(หันหน้าเข้าหาองค์พลวงพ่อโสธร) ซึ่งถ้าดูจากรูปที่โพสท์นี้ก็จะเห็นอยู่ตรงช่องประตูขวามือด้านหลังองค์หลวงพ่อโสธรครับ
     
  5. พุทธนิรันดร์

    พุทธนิรันดร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    1,641
    ค่าพลัง:
    +5,039
    วันนี้ผมได้โอนเงินร่วมทำบุญจำนวน 200 บาทเพื่อร่วมทำบุญสงเคราะห์พระภิกษุสงฆ์อาพาธ ได้ทำการโอนเงินเป็นที่เรียบร้อยแล้วครับ กราบโมทนาบุญกับทุกท่านด้วยครับ สาธุ
     
  6. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    916
    ค่าพลัง:
    +4,291
    "คนนอก" ยังรู้ซึ้งถึงพระคุณ
    แล้ว "คนใน" เล่า..???


    <TABLE borderColor=#ffffff cellSpacing=1 cellPadding=5 width=250 align=center bgColor=#f4f4f4 border=0><TBODY><TR><TD align=middle bgColor=#ffffff>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=bot2 bgColor=#f9f9f9 height=30></TD></TR></TBODY></TABLE>​



    ภาพนี้ ได้จากรุ่นน้องทำงานที่ UN เป็นภาพจากประเทศภูฏาน ภาพนี้ ประทับใจ ซาบซึ้งใจที่กษัตริย์จิกมี่ ทรงนับถือในหลวงของเรา และเอาเป็นแบบอย่างของพระองค์ในการปกครองประเทศ ถึงกับเอาพระบรมฉายาลักษณ์ไปประดิษฐานในที่สูงเสมอด้วยพระบรมฉายาลักษณ์แห่งพระราชบิดาในที่อันควรบูชาส่วนพระองค์เห็นเพียงนี้ได้...
    แล้วคนไทยเรากันเองเล่า..?????


    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100 align=center border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE borderColor=#ffffff cellSpacing=1 cellPadding=5 width=250 align=center bgColor=#f4f4f4 border=0><TBODY><TR><TD align=middle bgColor=#ffffff>[​IMG]</TD></TR><TR><TD class=bot2 bgColor=#f9f9f9 height=25></TD></TR></TBODY></TABLE>


    "มีแต่คนโง่เท่านั้นที่ไม่รู้ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของเราพระองค์นี้ดีอย่างไร..???"

    พระอาจารย์วัน อุตตโม วัดถ้ำอภัยดำรงธรรม สกลนคร

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100 align=center border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE borderColor=#ffffff cellSpacing=1 cellPadding=5 width=250 align=center bgColor=#f4f4f4 border=0><TBODY><TR><TD align=middle bgColor=#ffffff>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    ขอพระองค์ทรงพระเกษมสำราญ
    เจริญพระชนม์ยิ่งยืนนาน
    ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ


    ขอขอบพระคุณข้อมูลจากเว็บ
    http://phuttawong.net
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 กรกฎาคม 2011
  7. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    916
    ค่าพลัง:
    +4,291
    *** ไม่มีใครสมบูรณ์แบบ***


    กล่าวกันว่า"ท่านพุทธทาสภิกขุ" เป็นพระมหาเถระ ผู้มากด้วยปัญญาและเมตตาต่อศิษยานุศิษย์เป็นอย่างยิ่ง ท่านเป็นพระที่มีวิถีชีวิตเรียบง่าย แต่ใช้ปัญญาอย่างสูงส่ง

    ศิษย์ฝรั่งคนหนึ่งมาบวชศึกษาธรรมะอยู่กับท่านเป็นเวลานานพอสมควร ช่วงแรกๆ ศิษย์ฝรั่งคนนี้ยังมีความเป็น "ฝรั่งจ๋า" อยู่เต็มตัว คือ ช่างสงสัย ช่างไต่ถาม ชอบความสมบูรณ์แบบค่อนไปทางPerfectionist เสียด้วยซ้ำบ่อยครั้งที่พระฝรั่งสังเกตเห็นว่าพระไทยไม่สู้สนใจในวัตรปฏิบัติเคร่งครัดนัก เอาแต่ทำงานกุลี โดยหารู้ไม่ว่าที่นี่ (สวนโมกข์) ถือคติ "การทำงาน คือการปฎิบัติธรรม" ความเป็นนักสมบูรณ์แบบนิยมของท่าน ทำให้ท่านกลายเป็นนัก "จับผิด" ผู้อื่นไปโดยปริยาย ยิ่งจับผิดยิ่งพบว่า จิตใจเร่าร้อนกระวนกระวาย หงุดหงิดง่าย ฉุนเฉียว อะไรๆ ดูเหมือนจะไม่ได้ดั่งใจไปเสียทั้งหมด
    ท่านหอบเอาความ "ไม่ได้ดังใจ" ไประบายให้ท่านพุทธทาสฟังครั้งแล้วครั้งเล่า แต่ทุกครั้งไม่มีปฏิกิริยาอะไรตอบกลับมาจากผู้เป็นอาจารย์เลย พระฝรั่งพูดอะไรมาท่านฟังทั้งหมด แต่เป็นการฟังที่เสมือนไม่ได้ยิน ศิษย์ฝรั่งจึงรู้สึกเอะใจฟ้องอะไรออกไปเหมือนทุกอย่างถูกดูดหายเข้า กว่าจะรู้ว่าถูกพระอาจารย์สอนเรื่อง "ความว่าง" ก็เผลอฟ้องไปหลายเรื่องแล้ว
    คนส่วนใหญ่พอใจเรียกร้องความสมบูรณ์แบบจากคนอื่น โดยหลงลืมการเรียกร้องจากตัวเอง มีอยู่เสมอที่เราเผลอคาดหวังให้คนนั้นเป็นอย่างนี้ คนนี้เป็นอย่างนั้น เข้มงวดกับใครต่อใครเข้าไปทั่ว แต่สำหรับตัวเองกลับ "ยืดหยุ่น" ได้ทุกเรื่อง เรามักลืมไปว่า โดยพื้นฐานแล้วมนุษย์ไม่มีใครสมบูรณ์แบบไปเสียทั้งหมด ทุกคนย่อมมีข้อดีข้อด้อยในตัวเองไม่มากก็น้อย คนฉลาดย่อมรู้จักเลือกที่จะมองข้ามข้อด้อยของคนอื่น นึกนิยมแต่ในข้อดีของเขา ส่วนคนเขลาพอใจยกข้อด้อยของคนอื่นมาโจมตี แล้วทำทีมองไม่เห็นข้อดีของคนอื่น หากเราตระหนักอย่างชัดเจนว่า "ความไม่สมบูรณ์แบบ" คือ สัจจธรรมพื้นฐานของมนุษย์ เราจะเรียกร้องจากคนอื่นน้อยลง เข้าใจตนและคนอื่นมากขึ้น มองโลกและชีวิตอย่างอ่อนโยนและผ่อนคลาย พร้อมเสมอที่จะให้อภัยในความ "ไม่สมบูรณ์แบบ" ของคนอื่นอย่างรู้เท่าทัน...​

    (พลายชุมพล 22/9/46)

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100 border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE borderColor=#ffffff cellSpacing=1 cellPadding=5 width=250 align=center bgColor=#f4f4f4 border=0><TBODY><TR><TD align=middle bgColor=#ffffff><!-- [​IMG] -->[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=bot2 bgColor=#f9f9f9 height=30> </TD></TR></TBODY></TABLE>



    ขอขอบพระคุณข้อมูลจากเว็บ
    http://phuttawong.net
     
  8. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,789
    ค่าพลัง:
    +16,101

    สำหรับรายการบริจาคในเดือนนี้ผมได้ดำเนินการโอนเงินผ่านธนาคารและธณาณัติไปยัง รพ.ต่างๆ เรียบร้อยแล้ว จึงขอนำหลักฐานในการดำเนินการข้างต้นนำมาให้ทราบกันครับ

    [​IMG]

    เงินบริจาคสำหรับ รพ.มหาราช จ.เชียงใหม่ และ รพ.สงขลา จ.สงขลา


    [​IMG]


    เงินบริจาคสำหรับ รพ.ศรีนครินทร์ จ.ขอนแก่น และ รพ.สมเด็จพระยุพราชด่านซ้าย จ.เลย



    [​IMG]

    เงินบริจาคสำหรับ รพ.ปัตตานี จ.ปัตตานี และ รพ.แม่สอด จ.ตาก


    [​IMG]


    เงินบริจาคสำหรับ รพ.50 พรรษาฯ จ.อุบลฯ และ รพ.สมเด็จพระยุพราช (ปัว) จ.น่าน
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  9. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,789
    ค่าพลัง:
    +16,101
    พระสมเด็จวัดระฆัง "องค์อธิบดี" ที่สวยงามครับ

    ภาพพระสมเด็จที่นำมาลงเป็นข้อมูลนี้ เป็นสมบัติส่วนตัวของอาจารย์ฐานแซม นักคำนวนแห่งบ้านHi-hueythai
    ซึ่งเป็นแม่พิมพ์เดียวกับพระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์ใหญ่ ที่เคยอยู่ในความครอบครองของพล.ต.อ.หลวงอดุล อดุลเดชจรัส(บัตร พึ่งพระคุณ)
    อดีตอธิบดีกรมตำรวจ (พ.ศ.๒๔๗๙-พ.ศ.๒๔๘๐) ซึ่งได้รับการขนานนามว่า "นายพลตาดุ"
    และเป็นแม่พิมพ์เดียวกับที่ลงหน้าปกหนังสือ the Art of Siam ฉบับที่ 6
    โดยขนานนามพระสมเด็จองค์นี้ว่า "องค์อธิบดี"

    [​IMG]

    http://apichoke.com/index.php/topic,5821.0.html
     
  10. aries2947

    aries2947 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    2,031
    ค่าพลัง:
    +11,622
    วันนี้ช่วงบ่ายผม ภรรยา และครอบครัวได้โอนเงินร่วมทำบุญด้วย 200 บาทครับ
    ขอบคุณมากครับ
    มหาโมทนาบุญด้วยนะครับ
     
  11. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,789
    ค่าพลัง:
    +16,101
    พระเครื่องตามคำบอกเล่าจากเวบ เนาวรัตน์ดอทคอม

    วันนี้จะขอบอกเล่าเรื่องราวรูปหล่อเหมือนขนาดห้อยคอ หลวงพ่อทอง สุนทโร วัดมูลเหล็ก ต.คลองหก อ.คลองหลวง ปทุมธานี พระชุดนี้พบใต้ฐานพระประธานจำนวนประมาณค่อนบาตรพระเมื่อประมาณไม่เกิน 15 ปีที่แล้ว จัดสร้างด้วยเนื้อทองเหลือง(ขันลงหิน) ผสมโลหะได้ค่อนข้างจัด ลักษณะสัณฐานคล้ายรูปเหมือนหลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอมรุ่นแรก ซึ่งหากผ่านการห้อยบูชาเนื้อพระจะจัดมาก ก่อนอื่นต้องขออธิบายว่าข้อเขียนนี้จะไม่เหมือนกับในหนังสือพระเครื่องฉบับหนึ่งที่เคยเขียนไปแล้ว เนื่องจากผมได้ติดตามหาข้อมูลจากที่วัดพร้อมพบพระภิกษุผู้มีเมตตา พร้อมกับคณะกรรมการวัดขณะที่เปิดกรุดังกล่าวยังอยู่กันครบถ้วนรวมทั้งชาวบ้านที่มีวัตถุมงคลดังกล่าวก็ให้ความรู้และรายละเอียดเป็นอย่างดี และมีข้อความของหนังสือฉบับดังกล่าวที่ตีพิมพ์ไม่ตรงกับข้อเท็จจริงมากพอสมควร ดังนั้นขอเริ่มเลยนะครับ

    รูปเหมือนหลวงพ่อทอง ก้นอุดผงปิดด้วยตะกั่วเริ่มเป็นที่รู้จักเพราะนายตำรวจมือปราบท่านหนึ่งซึ่งหากเอ่ยชื่อคนรู้จักค่อนเมืองพบเจอประสบการณ์กับตนเองเนื่องจากได้มีการปะทะกันระหว่างลูกน้องของท่านและผู้ต้องหาซึ่งถูกยิงด้วยปืนขนาด 11 มม.จุกเพราะลุกหนีไม่ไหวจนล้อมจับได้ไอ้หนุ่มห้อยรูปเหมือนหลวงพ่อทองเลี่ยมพลาสติกอยู่องค์เดียวร่องรอยที่ถูกยิงหลายนัดบวมปูดขึ้นเป็นลูกมะนาวภาพถ่ายจากการยิงได้มีการบันทึกไว้และจากนั้นท่านได้ทำการทดสอบจนเชื่อถือได้ว่าพระองค์ดังกล่าวมีพุทธคุณดีจริงจึงได้ให้ลูกน้องในท้องที่ประสานไปยังวัดดังกล่าวเพื่อที่จะขอเช่าบูชา

    ขณะนั้นฐานพระประธานในโบสถ์ได้ทรุดตัวเนื่องจากน้ำท่วมทางวัดเกรงว่าองค์พระจะล้มลงมาจึงได้ติดต่อไปยังกรมการศาสนาและว่าจ้างช่างเพื่อทำการบูรณะจึงได้เจาะฐานพระประธานเพื่อตรวจสอบและแก้ไขจึงพบพระดังกล่าวไว้ในฐานพระโดยใส่อยู่ในบาตรพระส่วนมากสภาพค่อนข้างดีเพราะเป็นพื้นที่แห้งพร้อมกันนั้นได้พบพระสมเด็จคล้ายวัดเกศไชโยจำนวนหนึ่งซึ่งสร้างบรรจุไว้ด้วย จากการสอบถามพระในวัดและกรรมการวัดทราบว่าก่อนหน้านี้บริเวณเจดีย์เก่าข้างโบสถ์ขณะทำการรื้อเพื่อปรับสภาพพื้นที่ก็พบจำนวนหนึ่งบรรจุในถุงผ้าชาวบ้านเจอโดยบังเอิญหลังจากรื้อเจดีย์แล้วแต่มีจำนวนไม่มากนักจากนั้นมาก็เจอในโบสถ์จากการสอบถามทราบว่าเป็นพิมพ์เดียวกันขนาดองค์พระใกล้เคียงกันแต่ในโบสถ์ผิวรูปหล่อจะสวยงามกว่า ส่วนใต้ฐานองค์พระนั้นที่ระบุในหนังสือพระเครื่องฉบับดังกล่าวว่ามีจารด้วยนั้นผมตระเวณตรวจสอบพระที่ชาวบ้านละแวกวัดดังกล่าวได้ไปและรวมทั้งเจ้าของโรงหนังใกล้สี่แยกพงษ์เพชรที่ได้ไว้ค่อนข้างหลายองค์รวมทั้งหมดประมาณ 20 องค์ไม่พบว่ามีรอยจารดังกล่าว สอบถามคณะกรรมการวัดขณะที่เปิดกรุไม่พบพระที่มีรอยจาร ดังนั้นในประเด็นพระทุกองค์ต้องมีจารนั้นไม่ถือเป็นบรรทัดฐานในเมื่อส่วนใหญ่ที่พบไ่ม่มีการจารที่ใต้ฐานองค์พระทั้งนั้น อาจเป็นได้ว่าเจ้าของเดิมอาจเป็นลูกศิษย์นำไปให้หลวงพ่อทองจารเป็นการส่วนตัวก็อาจเป็นได้จึงไม่ถือเป็นข้อยุติว่าต้องมีจารทุกองค์และองค์ที่หนังสือดังกล่าวลงภาพถ่ายก็มีเพียงองค์เดียวเท่านั้นไม่ได้มีหลายองค์เพื่อเป็นการเปรียบเทียบ


    กล่าวกันว่าหลวงพ่อทองท่านเป็นศิษย์ของหลวงพ่อชม วัดพุทไธสวรรค์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ท่านเป็นพระพูดน้อย ไม่สนใจเรื่องอื่น ไม่เคยไปปลุกเสกพระเครื่องที่ใดส่วนมากจะนั่งวิปัสนากรรมฐาน และไม่มีใครสอบถามประวัติท่านกันไว้เลยผู้ที่ทันท่านในปัจจุบันได้เสียชีวิตไปหมดแล้่วเหลือแต่เพียงคุณลุงและคุณป้าสองท่านซึ่งอยู่ข้างวัดและมีฐานะดีในปัจจุบันเล่าให้ฟังว่าคุณแม่ให้นำข้าวต้มไปถวายท่านในตอนเพลโดยไปพร้อมกับคุณแม่ตอนนั้นยังเด็กอยู่มากอายุประมาณ 8 ขวบ ก่อนกลับหลวงพ่อทองท่านให้พระรูปเหมือนมาคนละองค์เท่านั้นซึ่งคนในละแวกนั้นยืนยันตรงกันว่าท่านปลุกเสกบรรจุผงรวมทั้งนำไปไว้ใต้ฐานพระประธานท่านทำด้วยตนเองทั้งสิ้นส่วนสร้างเมื่อไร ใครสร้างมาให้ไม่มีใครทราบข้อมูลดังกล่าวเลย รู้แต่เพียงว่าท่านแจกเพียงเล็กน้อยเท่านั้นและำจำนวนที่สร้างไม่มากชาวบ้านละแวกดังกล่าวหวงแหนมาก

    ประสบการณ์ถูกยิงจนตกเรือเหล็กบรรทุกข้าวไม่เป็นไร นักเลงแถวอำเภอสามโคกถูกรุมยิงต้องเข้าโรงพยาบาลเพราะช้ำในจนเยี่ยวป็นเลือดมาบวชที่วัดเพื่อแก้บนหลังจากหายแล้วก็มีเรื่องราวเหล่านี้บอกเล่าเพื่อเป็นส่วนประกอบเน้นย้ำเรื่องพุทธคุณของวัตถุมงคลของท่านว่ามีประสบการณ์ที่ดีจริง ๆ พระของท่านส่วนมากที่มีออกมานั้นก็คือตอนเปิดกรุเพื่อนำเงินมาบูรณะพระประธานและสร้างศาลาฌาปนกิจ จากการสอบถามพบว่ามีพระอยู่ในบาตรไม่เกิน 500 องค์ ทางวัดให้บุคคลภายนอกทำบุญองค์ละ 10,000 บาท(หนึ่งหมื่นบาทถ้วน) พร้อมใบอนุโมทนาบัตร ส่วนกรรมการวัดทำบุญคนละ 5,000 บาท(ห้าพันบาทถ้วน)ได้คนละไม่เกิน 2 องค์เปิดให้ทำบุญประมาณ 1 สัปดาห์พระก็หมดลง
    ผู้ที่เช่าพระจากทางวัดส่วนมากเป็นนายตำรวจและนายทหารและนักการเมืองในจังหวัดปทุมธานี นนทบุรี รวมทั้งคุณเสรี รุ่งสว่าง และกลุ่มเซียนพระชื่อดังในเมืองนนทบุรีก็หลายคนที่มาเช่าเนื่องจากรู้จักกับนายตำรวจคนดังกล่าวประกอบกับคุณเสรี รุ่งสว่าง ห้อยบูชาติดตัวขณะไปออกรายการทีวีของคุณวิทวัส สุนทรวิเนตร ด้วยทำใ้ห้คนเสาะหากันมากขึ้น จากการสอบถามทราบว่าคนในละแวกวัดรวมทั้งกรรมการเช่าไว้ไม่เกิน 10 คน เงินที่ได้นำมาสร้างศาลาฌาปนกิจและเสริมฐานพระประธานอย่างที่เห็นในปัจจุบัน จากการที่เข้าไปพบและขอข้อมูลคนในละแวกวัดต่างยืนยันเรื่องประสบการณ์และความแน่นอนของวัตถุมงคลท่านเป็นอย่างดี คณะกรรมการวัดหลายท่านยืนยันตรงกันว่ามีการนับรายชื่อในต้นขั้วใบอนุโมทนาบัตรที่วัดจัดเก็บไว้เมื่อการให้เช่าพระยุติลงจำนวน 350 ใบเป็นรายชื่อของนายทหารและนายตำรวจที่มาเช่าบูชาพระทั้งนั้นครับ หากท่านมีโอกาสที่สามารถจะเช่าหาไว้ได้ผมขอแนะนำครับพร้อมกับยกนิ้วโป้งให้ 2 นิ้วเลยครับว่าพระของท่านดีจริง และหากเมื่ออันตรายมาถึงท่านจะทราบได้ว่าวัตถุมงคลของท่านดีเด่นเช่นที่ว่าจริงหรือไม่ ผมขอเอาใจช่วยให้ทุกท่านสมหวังครับ


    [​IMG]

    รูปภาพของหลวงพ่อทองตามภาพ ผมไม่ยืนยันว่าแท้หรือไม่ครับ เพราะไม่มีข้อมูล เพียงแต่นำมาลงประกอบเนื้อเรื่องเท่านั้น

    ขอขอบคุณ

    เนื้อเรื่อง Index of topic5278.
    รูปภาพ http://www.212cafe.com/freewebboard/view.php?user=wpradee&id=422
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 กรกฎาคม 2011
  12. ต้นแก้ว

    ต้นแก้ว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มกราคม 2007
    โพสต์:
    828
    ค่าพลัง:
    +3,569
    ครอบครัวตั้งไพศาลกิจ โอนเงินร่วมบุญทุนนิธิสงเคราะห์สงฆ์อาพาธฯ จำนวน 300 บาท 29/07/54 เวลา 20.53 น. อนุโมทนาบุญกับทุกท่านด้วยครับ
     
  13. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,789
    ค่าพลัง:
    +16,101
    จำนวนพระสงฆ์ที่จะทำกิจกรรมในวันนี้ เช็คครั้งสุดท้ายเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา มีจำนวนประมาณ 150 รูป ส่วนพระพิมพ์วังหน้าที่จะนำไปให้บูชากัน มีประมาณ 30องค์ จึงแจ้งให้ทราบครับ

    พันวฤทธิ์
    31/7/54
     
  14. SilentSoar

    SilentSoar เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    481
    ค่าพลัง:
    +2,384
    แจ้งโอนเงินทำบุญครับ ^_^ 200 บาท

    <TABLE border=0 cellSpacing=0 borderColor=#ffffff cellPadding=5 width="100%"><TBODY><TR><TD colSpan=2>โอนเงินต่างธนาคาร - สถานะการทำรายการ

    </TD></TR><TR><TD colSpan=2>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=top width="34%">สถานะการทำรายการ</TD><TD width="66%">ธนาคารได้ทำรายการของคุณเรียบร้อยแล้ว </TD></TR><TR><TD width="34%">หมายเลขอ้างอิง</TD><TD width="66%">KBKR110731688118</TD></TR><TR><TD colSpan=2>[​IMG]</TD></TR><TR><TD colSpan=2>รายละเอียดการทำรายการ

    </TD></TR><TR><TD width="34%">วิธีโอนเงิน</TD><TD width="66%">ออนไลน์ (ตลอด 24 ชั่วโมง) </TD></TR><TR><TD width="34%">จากบัญชี</TD><TD width="66%">778-2-07487-8 null</TD></TR><TR><TD width="34%">ธนาคารเจ้าของบัญชี</TD><TD width="66%">ธนาคาร กรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)</TD></TR><TR><TR><TD width="34%">เพื่อเข้าบัญชี</TD><TD width="66%">[SIZE=+0]348-1-23245-9 ศ. ทุนนิธิสงเคราะห์สงฆ์อาพาธ อ.ประถม อาจสาคร[/SIZE]</TD></TR><!-- Adding Account Name UAT defect number 414--><TR><TD width="34%">ชื่อเจ้าของบัญชีในฐานข้อมูล</TD><TD width="66%">[SIZE=+0]PRATOM F.[/SIZE]</TD></TR><!-- /Adding Account Name --><!-- <tr> <td width="25%">สาขา</td> <td width="75%">ถนนวิภาวดีรังสิต (ซันทาวเวอร์ส) </td> </tr> --><TR><TD width="34%">จำนวนเงิน (บาท)</TD><TD width="66%">200.00</TD></TR><TR><TD width="34%">ค่าธรรมเนียม (บาท)</TD><TD width="66%">25.00</TD></TR><TR><TD width="34%">วันที่โอนเงิน</TD><TD width="66%">31/07/2011 [15:21:05]</TD></TR><TR><TD width="34%">บันทึกช่วยจำ</TD><TD width="66%">ร่วมทำบุญสงเคราะห์พระภิกษุสงฆ์อาพาธ</TD></TR></TBODY></TABLE>


    ร่วมทำบุญสงเคราะห์พระภิกษุสงฆ์อาพาธ
    รวมถึงร่วมทำบุญทุกอย่าง
    รวมร่วมบุญจำนวน 200 บาท

    ขออนุโมทนาบุญ ทั้งหลายทั้งปวงให้พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ พรหม เทพ เทวดา สิ่งศักดิ์ทั้งหลาย ครูบาอาจารย์ทั้งหลาย เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายที่มีตั้งแต่ต้น บิดามารดาของข้าพเจ้าทั้งชาตินี้และทุกๆชาติ
    พระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ พระปัจเจกพุทธเจ้าทุกๆพระองค์
    พระโพธิสัตว์ทุกๆพระองค์ พระยายมราช เจ้าการบัญชี ลุงพุฒิ
    พระศรีอารียเมตไตรย และสมเด็จองค์ปฐมอันเป็นที่สุด

    ขอร่วมอนุโมทนาบุญกับผู้ร่วมทำบุญทุกท่านด้วยครับ สาธุ สาธุ สาธุ...
    อนุโมทนาบุญครับ,
    SilentSoar<!-- google_ad_section_end -->
     
  15. kujakuo19

    kujakuo19 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    78
    ค่าพลัง:
    +119
    ทำบุญ วันที่31/7/11 19:56 bay 4846
    600 บาทครับ บางเดือนไม่ได้ลงโพสคงไม่เป็นไรนะครับ แต่ทำทุกเดือนครับ แล้วชีวิตก็จะไม่ติดขัดเลย ปัญหาก็มีน้อยลง ชีวิตค่อยๆดีขึ้น รู้สึกได้เลยครับ ก็เลยบอกบุญ แม่ญาติพี่น้อง แต่ก็คงไม่มีใครมาลงโพสนะครับให้เค้าอธิฐานกับใบบิลเลย
    ร่วมอนุโมทนาบุญกับทุกๆท่านด้วยครับ
     
  16. ลูกปลาใหญ่

    ลูกปลาใหญ่ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    166
    ค่าพลัง:
    +577
    วันนี้ 03/07/54 เวลาประมาณ 15.30 น. ได้โอนเิงินจำนวน 500 บาทเข้าบัญชีทุนนิธิฯ เพื่อร่วมทำบุญประจำเดือนสิงหาคม 2554 ครับ
     
  17. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,789
    ค่าพลัง:
    +16,101
    ได้ทราบจากอาจารย์แพทย์ที่ดูแลรักษาท่านอยู่ และเป็นอาจารย์แพทย์ที่ดูแลมูลนิธิหลวงปู่มั่น และหลวงปู่เทสก์ ที่ รพ.ศรีนครินทร์ จ.ขอนแก่น โดยอาจารย์แพทย์ท่านนี้ เป็นผู้ที่ผม ได้ติดต่อท่านในการบริจาคปัจจัยที่ทุนนิธิฯ ได้รับมาให้แก่มูลนิธิฯ ทั้งสองมาเป็นเวลากว่า 3 ปี ว่า จะขอนำเงินที่โอนมาให้ในแต่ละเดือน นำไปรักษาหลวงปู่องค์หนึ่งเป็นครั้งสุดท้ายเป็นจำนวนเงินประมาณ 20,000.- เพราะในขณะนี้ลูกศิษย์ลูกหาจะนำท่านออกจาก รพ.ศรีนครินทร์ไปยังวัดท่านแล้ว โดยอาจารย์ได้บอกกับผมว่า ท่านจะไม่กลับมาที่ รพ.ศรีนครินทร์อีกแล้ว เพราะธาตุขันธ์และอวัยวะภายในท่านไม่ตอบสนองแก่ยาที่ใช้รักษาประจำอยู่ ผมจึงตอบตกลงทันที อาจารย์ฯ ท่านย้ำว่า หากมีโอกาสให้รีบไปกราบท่านก่อนสิ้นเดือนนี้ ด้วยเหตุนี้ ผมจึงขอแจ้งให้ลูกศิษย์ของท่าน หรือผู้ที่นับถือท่าน ไปกราบขอบารมีท่านโดยเร็วครับ หลวงปู่องค์นี้ก็คือ....


    <TABLE height=25 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="85%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=Caption1 align=middle background=../pics/bg_ef1.gif>[​IMG] พระราชสังวรอุดม (หลวงปู่ศรี มหาวีโร)</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE width="85%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=Content vAlign=top><TABLE align=left border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]

    </TD></TR></TBODY></TABLE>










    พระราชสังวรอุดม (หลวงปู่ศรี มหาวีโร)

    วัดประชาคมวนาราม (ป่ากุง) อ.ศรีสมเด็จ จ.ร้อยเอ็ด
    พระภิกษุสงฆ์ ในประเทศไทย สายอรัญวาสี หรือที่เรียกว่า "พระป่า พระธุดงคกรรมฐาน" นับตั้งแต่ ปีพุทธศักราช 2458 เป็นต้นมา ได้รับการอบรม วางหลักปักฐาน การเผยแผ่ ศาสนธรรม จากพระบุพพาจารย์ใหญ่ สายวิปัสสนากรรมฐาน คือท่าน พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต
    ด้วยปฏิปทาบารมีธรรม ของพระเดชพระคุณหลวงปู่มั่น ทำให้บังเกิดกองทัพธรรมพระกรรมฐาน นำธงชัย แห่งพระพุทธศาสนา กระจายเผยแผ่อมตะธรรมไปทั่วสารทิศ และในบรรดาพระกรรมฐาน ลูกศิษย์ของท่าน ได้มีสมณะผู้ทรงศีลาจารวัตร เป็นที่เลื่อมใสศรัทธา ของชาวพุทธกว้างไกล และนำพาซึ่งประโยชน์ แห่งการพระศาสนาอย่าง สัมฤทธิ์ผล ปรากฏชัด ณ ปัจจุบันกาล พระคุณเจ้ารูปนี้คือ

    พระราชสังวรอุดม ( หลวงปู่ศรี มหาวีโร ) วัดประชาคมวนาราม (ป่ากุง) อำเภอศรีสมเด็จ จังหวัดร้อยเอ็ด
    นามเดิมของท่านชื่อ ศรี เกิดในสกุลปักกะสีนัง เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ.2460 ตรงกับวันศุกร์ เดือนหก ปีมะเมีย ที่บ้านขามป้อม อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม โยมบิดาชื่อนายอ่อนสี โยมมารดาชื่อนางทุม ปักกะสี

    ในช่วงปฐมวัย ท่านเข้าศึกษา ที่โรงเรียนประชาบาล วัดบ้านขามป้อม ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำท้องถิ่น จบชั้นประถมปีที่ 6 และได้ขวนขวาย เข้ามาเรียนต่อ ที่โรงเรียนสารคามพิทยาคม ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำจังหวัด จนจบชั้นมัธยมปีที่ 3 เมื่อปี พ.ศ.2480
    การศึกษาของท่าน ในยุคสมัยนั้น นับว่าอยู่ในขั้นดี ท่านได้เข้ารับราชการ เป็นครูในปีรุ่งขึ้น หลังจากสำเร็จการศึกษา ชีวิตการเป็นครู ท่านเริ่มที่ โรงเรียนวัดบ้านชาด ตำบลหัวเรือ มหาสารคาม และต่อมาที่โรงเรียน บ้านสวนจิก ตำบลปอภาร ร้อยเอ็ด

    ด้วยความเลื่อมใสศรัทธา ในพระพุทธศาสนา ท่านได้บรรพชาอุปสมบทเมื่อปี พ.ศ.2488 ณ พัทธสีมาวัดราษฎร์รังสรรค์ บ้านป่ายาง อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด โดยมีพระโพธิญาณมุนี ( ดำ โพธิญาโณ) เจ้าคณะจังหวัดร้อยเอ็ด (ธรรมยุต) เป็นอุปปัชฌาย์ ได้รับฉายา ทางพระพุทธศาสนา เป็นมคธว่า "มหาวีโร"
    พรรษาแรก ในชีวิตสมณะผู้ละวาง ท่านได้พำนักศึกษาปฏิบัติธรรม อยู่กับท่านพระอาจารย์คูณ อุตตโม วัดประชาบำรุง มหาสารคาม
    ปีต่อมา พ.ศ.2489 ท่านได้จาริกไปจำพรรษ ที่วัดป่าแสนสำราญ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี มีโอกาสศึกษา ปฏิบัติธรรม เจริญวิปัสสนา กับท่านพระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม ซึ่งเป็นศิษย์สำคัญของท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต

    เมื่อออกพรรษาแล้วพระศรี มหาวีโรในครั้งนั้นได้ออกจาริกแสวงธรรม ไปตามวนาป่าเขาราวไพร อาทิ ภูเก้า ภูผักกูด บ้านห้วยทราย อำเภอคำชะอี จังหวัดนครพนม ซึ่งที่ภูผักกูด หรือภูผากูดแห่งนี้ เป็นสัปปายะสถาน ที่พ่อแม่ครูอาจารย์หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น เคยธุดงค์จาริก มาพำนัก เป็นแหล่งเจริญธรรม ที่ผู้กล้าแห่งกองทัพธรรม ได้มาประพฤติธรรม บำเพ็ญเพียร ด้วยเป็นสถานที่อยู่ไกลจากชุมชน ขาดแคลนขัดสน ในปัจจัยสี่ แต่มีภูมิทัศน์ ที่เหมาะแก่การพัฒนา ภูมิธรรมสัมมาปฏิบัติเป็นอย่างยิ่ง

    ปี พ.ศ. 2490 หลวงปู่ศรี มหาวีโร ธุดงค์ไปพำนักที่ถ้ำพระเวส ครั้นเข้าพรรษา ได้ไปจำพรรษา ที่วัดบ้านนาแก อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม ซึ่งในยุคสมัยนั้น เป็นดินแดนที่ครุกรุ่นไปด้วยสถานะการณ์ แห่งความขัดแย้ง ด้านอุดมการณ์ทางการเมือง และสังคม แต่ท่านก็อยู่ด้วยความราบรื่น ปราศจากอันตราย จนกระทั่ง ออกพรรษา จึงจาริกไปยังจังหวัดสกลนคร และปี พ.ษ. 2491 เข้าจำพรรษา ที่วัดโนนนิเวสน์ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ซึ่งเป็นการเดินตามทางรอยธรรม พ่อแม่ครูอาจารย์ คือหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ซึ่งเคยมาพำนักที่วัดแห่งนี้มาแต่ครั้งอดีต

    ด้วยความเลื่อมใสศรัทธา ในปฎิปทาบารมีธรรม ของท่าน พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต พระบุพพาจารย์ใหญ่ ด้านวิปัสสนากรรมฐาน ซึ่งขณะนั้น อยู่ในช่วงปัจฉิมวัย พำนักอยู่ที่สำนักป่า บ้านหนองผือ ตำบลนาใน อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร

    พระอาจารย์ศรี มหาวีโร จึงเข้าไปกราบนมัสการ พระเดชพระคุณหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ที่สำนักป่าบ้านหนองผือ ขออนุญาต พำนักจำพรรษา และศึกษาธรรมกับท่าน ซึ่งหลวงปู่มั่น ก็เมตตาอนุญาติ นับเป็นโอกาส อันเป็นมหามงคล ในชีวิตบรรพชิต ที่มีโอกาสศึกษาธรรม และอุปปัฎฐาก พระบุพพาจารย์ใหญ่ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต รวมทั้งมีโอกาสเจริญธรรม กับสหธรรมิกร่วมสำนัก ร่วมครูอาจารย์เดียวกัน

    เมื่อหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต อาพาธพระอาจารย์ศรี ก็มีโอกาสถวายการปฏิบัติ เมื่อท่านพระอาจารย์ใหญ่ถึงแก่มรณภาพ ก็นำความวิโยคอาดูร มาสู่ผู้เป็นศิษย์ ผู้เคารพศรัทธาครูอาจารย์ อย่างสุดจิต สุดใจ พระอาจารย์ศรี มหาวีโร ได้ถวายสักการะ สรีระ หลวงปู่มั่น เป็นครั้งสุดท้าย ในงานถวายเพลิง ฌาปนกิจ ที่วัดป่าสุทธาวาส จังหวัดสกลนคร

    ต่อมาปี พ.ศ.2493 พระอาจารย์ศรี มหาวีโร ไปจำพรรษาที่วัดป่าบ้านหนอง ผักตบ อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดอุดรธานี และปีต่อมา ได้มีโอกาส ไปพำนัก จำพรรษาที่ วัดบ้านห้วยทราย อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร ได้มีโอกาส ศึกษาธรรม กับท่านอาจารย์พระมหาบัว ญาณสัมปันโน ซึ่งเป็นประธานสงฆ์ในสำนักแห่งนี้
    ปี พ.ศ.2495 ได้ร่วมสร้างวัดป่าหนองแซง โดยบัญชาของท่านเจ้าคุณธรรมเจดีย์ (จูม พันธุโล) วัดโพธิสมภรณ์ อุดรธานี
    ท่านพระอาจารย์ศรี ได้ออกจาริกห่างถิ่นมหาสารคาม และร้อยเอ็ดไปนานหลายปี จนกระทั้งปี พ.ศ.2496 ท่านจาริกมายังวัดป่ากุง ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่ สร้างมาประมาณ 170 ปี ท่านเป็นผู้นำศรัทธา ในการพัฒนาวัดป่ากุง ให้เรืองรุ่งโดยลำดับ จนกระทั้งเป็น "วัดประชาคมวนาราม" ที่งามสง่า เป็นศาสนสถาน อันไพศาล สำหรับชาวพุทธ ผู้ศรัทธาในธรรมะ ของพระผู้มีพระภาคเจ้า และดำเนินตามธรรมวิถีของพ่อแม่ครูอาจารย์
    หลวงปู่ศรี มหาวีโร จำพรรษาที่วัดประชาคมวนาราม หรือวัดป่ากุง ตั้งแต่ปี พ.ศ.2507 เป็นต้นมา ท่านเป็นผู้นำ เป็นธุระในกิจการงาน พระศาสนา อย่างจริงจังและ มั่นคง สร้างคุณูปการและสาธารณประโยชน์ เป็นจำนวนมาก

    ที่เป็นงานยิ่งใหญ่อลังการคือการก่อสร้าง "พระมหาเจดีย์ชัยมงคล" ณ วัดผาน้ำทิพย์ อำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด
    พระมหาเจดีย์แห่งนี้ เป็นผลานิสงส์แห่งแรงศรัทธา ของชาวพุทธ ต่อพระบวรพุทธศาสนา ต่อพระสุปฏิปันโน ต่อบารมีธรรม ของพระราชสังวรอุดม เจ้าคุณหลวงปู่ศรี มหาวีโร ที่มุ่งเพื่อประโยชน์ ต่อสถาบันชาติ ศาสน์ กษัตริย์ อันเป็นหลักชัยหลักใจของชาวไทย หมายจรรโลงพระพุทธศาสนา สืบสานศิลปวัฒนธรรม งานพุทธศิลปให้สถิตสถาพรสืบไป

    รูปแบบอันวิจิตร เป็นศิลปผสมความยิ่งใหญ่ ของพระปฐมเจดีย์ กับความ โอฬารของพระธาตุพนม กลมกลืนเป็นอันหนึ่งอันเดียว ประดิษฐานตระหง่าน ตระการตา ด้วยศิลปกรรม อันล้ำเลิศ ด้วยฝีมือลูกหลานไทย เป็นนฤมิตกรรมแห่งยุคสมัย ที่จะเป็นปูชนียสถานสำคัญ ของไทย และของโลกวัฒนา สืบต่อไปภายภาคหน้า
    ในยามเช้าผู้คนจากบ้านไกลเรือนไกล จากหลายถิ่น จะมารวมกัน ที่หน้าวัดประชาคมวนาราม เพื่อเตรียมถวายภัตตาหาร บิณฑบาตรพระคุณเจ้า เป็นโอกาสที่พุทธศาสนิกชน จะได้กราบนมัสการหลวงปู่ศรี อย่างใกล้ชิด บางรายบางท่าน ก็มาขอพึ่งบารมีธรรมของท่าน ซึ่งท่านก็เมตตาเสมอตลอดมา

    การบิณฑบาตร เป็นธุดงควัตรที่พระกรรมฐานประพฤติปฏิบัติ หลวงปู่ศรีจะตื่นแต่ดึก ออกเดินไปรอบ ๆ วัด จนถึงเวลาบิณฑบาตร ท่านเป็นผู้มีสุขภาพพลานามัยแข็งแรงแม้จะมีอายุกว่า 80 ปีแล้ว
    หลังจากบิณฑบาตรแล้ว สาธุชนจะร่วมกันถวายภัตตาหารแด่พระภิกษุสามเณร หลวงปู่ศรี มหาวีโร ท่านเป็นพระวิปัสนาจารย์กรรมฐาน ที่มีความสามารถอย่างสูงในการแจกแจงแสดงธรรม
    หลวงปู่ศรี มหาวีโร เป็นพระเถราจารย์ ผู้เปี่ยมด้วยพรหมวิหารธรรม เป็นเนื้อนาบุญ อันยิ่งใหญ่ ของพระพุทธศาสนา เป็นพระป่า พระกรรมฐาน ที่ศิษย์เคารพ ศรัทธา อย่างมหาศาล เป็นสมณะผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ อย่างสิ้นสงสัย

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​

    ขอขอบคุณ http://www.dhammathai.org/monk/sangha38.php
     
  18. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,789
    ค่าพลัง:
    +16,101
    [​IMG]
    น่าจะมีไม่น้อยที่เวลาเราฟังธรรม บางครั้งพระธรรมเทศนาของหลวงปู่หลวงตานั้นน่าจดจำอย่างยิ่ง จนเราเกิดความรู้สึกว่าท่านสอนอะไรต้องเก็บให้หมด บางครั้งถึงขนาดเอาสมุดบันทึกขึ้นมา lecture เอาเสียเลย
    หรือในการอ่านหนังสือธรรมะก็เหมือนกัน ก็มุ่งทำความเข้าใจมากกว่าจะให้ธรรมะสัมผัสที่ใจ
    ผลของการกระทำทั้งสองอย่างข้างต้นก็คือ เราอาจได้ความเข้าใจ แต่มันยังไม่ถึงใจ
    การฟังธรรม ศึกษาธรรมในภาคปฏิบัตินั้น ครูบาอาจารย์มีหลวงปู่ดู่ เป็นต้น ท่านมุ่งเน้นที่จะให้ใจได้สัมผัสธรรมะมากกว่าแค่ความเข้าใจ เรียกว่า ฟังธรรมที่ใจ ไม่ใช่ฟังธรรมที่สมอง
    การที่เรากำหนดจิตไว้กับตัว ไม่ส่งจิตไปหาผู้เทศน์สอน เป็นสิ่งที่ถูกต้อง ทำใจของของเราให้เป็นเหมือนภาชนะว่าง ๆ เปล่า ๆ และสะอาดพอที่จะรองรับธรรมะที่หลั่งลงมาเหมือนฝน หากธรรมะนั้นมาสัมผัสใจเรา จิตใจเรากระเทือนเพราะความซาบซึ้งในธรรมะนั้น ก็ถือว่าสำเร็จประโยชน์จากการฟังธรรม
    หรืออ่านหนังสือธรรมะ โดยวางใจเราว่ากำลังฟังเทศน์ที่ในหัวใจเรา น้อมจิตตามธรรมะคำสอนนั้น จนเกิดปีติซาบซึ้งหรือเกิดธรรมสังเวชที่ในใจเรา ก็ถือว่าสำเร็จประโยชน์ของการศึกษาธรรม
    เราไม่ควรห่วงการจดการจำ เพราะหากมันซาบซึ้งถึงใจเราแล้ว มันจะจำได้เอง แถมยังจำไม่ลืมอีกด้วย ไม่เหมือนการฟังการอ่านที่มุ่งการจดการจำ ที่เดี๋ยวก็ลืมแล้ว
    หลวงปู่ดู่ท่านจึงให้หลักคือการดูความเปลี่ยนแปลงของกายใจเรา ความดีความชั่วของใคร ๆ ก็ไม่สำคัญเท่ากับความดีความชั่วของตัวเรา เราไปกราบครูบาอาจารย์ที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ นั่นก็เป็นสมบัติของท่าน ไม่ใช่สมบัติของเรา ผลการปฏิบัติของเพื่อนกัลยาณมิตร ก็เป็นสมบัติของเขา ไม่ใช่สมบัติของเรา ธรรมะที่อ้างอิงมาจากตำราหรือใคร ๆ มันก็เป็นสมบัติอยู่ในหนังสือ ไม่ใช่สมบัติของเรา ฯลฯ
    เท่าที่สัมผัสหลวงปู่ดู่ ท่านจึงไม่ส่งเสริมให้ใคร ๆ เที่ยวอ่านและจดจำคำสอนในตำรามาซักถามท่าน ยิ่งไปกว่าปัญหาการปฏิบัติจิตตัวเอง คำถามที่ไม่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติที่เป็นส่วนตัวของเราเอง มันมีประโยชน์น้อย และมักเป็นเรื่องไกลตัว แถมยังอาจมีข้อเสียตรงที่เกิดการสั่งสมสัญญาความจำจนบางครั้งสร้างอุปาทานสำคัญมั่นหมายว่าเรารู้แล้ว ทั้ง ๆ ที่เป็นแค่ความรู้จำ มิใช่ความรู้จริงที่ประจักษ์ใจเจ้าของ
    หลวงปู่ท่านมิได้ให้วัดผลการปฏิบัติที่ว่าใครจดจำธรรมะได้มากกว่ากัน หรือใครรู้เห็นภายในได้พิสดารกว่ากัน ท่านพูดซ้ำ ๆ แต่ว่า "โลภ โกรธ หลง ลดลงไหม หากลดลงจึงจะใช้ได้" เพราะแม้มีความรู้มากมายและพิสดารล้ำลึกเพียงใด แต่กิเลสในใจไม่กระเทือนเลย ก็ยังใช้ไม่ได้
    จึงว่าฟังธรรม ศึกษาธรรม ต้องมุ่งให้มันถึงใจ มิใช่แค่ความเข้าใจ

    http://palungjit.org/newreply.php?
     
  19. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,789
    ค่าพลัง:
    +16,101
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD style="BACKGROUND-COLOR: #ffffff"></TD></TR><TR><TD style="BACKGROUND-COLOR: #ffffff">เวลาที่เห็นบรรดาลูกศิษย์ทั้งพระและฆราวาสขวนขวายเป็นธุระในการดูแลอาการอาพาธของครูบาอาจารย์บางท่าน ในขณะที่พระอาวุโสบางท่านกลับอาพาธอย่างเดียวดาย ไร้คนดูแลไม่ว่าจะเป็นพระภิกษุร่วมอาวาส หรือแม้แต่ญาติโยมทั้งหลาย บางรูปถึงขนาดต้องสึกออกไปให้โยมที่บ้านดูแล


    ได้ทราบเหตุผลอันหนึ่งจากหลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ ว่า “บางคนมาบวชเมื่อแก่ บวชแล้วก็ยังไม่ได้ทำข้อวัตรปฏิบัติต่อครูอาจารย์ จึงไม่ได้สร้างอานิสงส์ในทางนี้ ดังนั้น ในยามที่ป่วย จึงไม่มีผู้ใดมาดูแล ต่างจากผู้ที่บวชแต่ยังเป็นพระหนุ่มเณรน้อย ได้มีโอกาสดูแลอุปัฏฐากครูบาอาจารย์ มีโอกาสสั่งสมบุญกุศลด้านนี้ไว้ ยามที่ตนป่วยก็มักมีผู้ขวนขวายดูแล”


    โดยส่วนตัว ผมเห็นว่าเหตุปัจจัยสำคัญที่ทำให้ลูกศิษย์ขวนขวายดูแลครูบาอาจารย์ที่อาพาธ ก็คือคุณธรรมความดีที่ท่านเมตตาสงเคราะห์ศิษย์และสงเคราะห์โลก


    ดูอย่างหลวงตามหาบัวสิ ไม่รู้หมอกี่ชุดต่อกี่ชุด ลูกศิษย์ก็แน่นขนัดแย่งกันดูแล นั่นก็เพราะความดีที่หลวงตาทำไว้กับโลก


    หลวงพ่อชาเองก็เช่นกัน ท่านอาพาธเป็นอัมพาตอยู่นานถึง ๘ ปี แต่ไม่น่าเชื่อว่าคณะสงฆ์วัดหนองป่าพงสามารถจัดเวรพระอุปัฏฐากดูแลท่านตลอด ๒๔ ชั่วโมง ตลอดระยะเวลาที่ท่านป่วยนานหลายปีมิได้ขาด ถ้าหลวงพ่อชาไม่มีคุณงามความดีอย่างเหลือล้น มีหรือที่จะมีสานุศิษย์จะทุ่มเทได้ถึงเพียงนี้

    ท่านพุทธทาสภิกขุ เคยกล่าวว่า "หลวงพ่อชาท่านป่วยให้ลูกศิษย์ได้บุญ"


    หากนึกทบทวนดูแล้ว ก็เห็นจริงตามที่ท่านกล่าวไว้จริง ๆ

    ทุกวันนี้ พระอุปัฏฐากของหลวงพ่อชาหลาย ๆ รูปที่ผมพอรู้จัก ต่างบริบูรณ์ด้วยลาภสักการะ รวมทั้งคนอุปัฏฐากดูแล นี่เรียกว่าอานิสงส์ที่เกิดจากการประพฤติธรรมของท่านเองส่วนหนึ่ง และอานิสงส์จากการดูแลอุปัฏฐากครูอาจารย์นั่นเอง


    ที่นี้วกมาใกล้ตัว พวกเราเป็นฆราวาส แม้ไม่มีโอกาสอุปัฏฐากหลวงปู่ครูบาอาจารย์ แต่เราก็สามารถบำเพ็ญอานิสงส์ดังที่เล่ามานี้ได้ โดยการดูแลบุพการีของเราให้ดี โดยเฉพาะยามที่ท่านป่วยไข้ ทำอย่างใส่ใจ แม้ต้องเช็ดอุจจาระปัสสาวะก็ไม่นึกรังเกียจ อย่างนี้ธรรมย่อมเจริญในเรา แถมยังรับอานิสงส์เสมือนได้อุปัฏฐากพระอรหันต์อีกด้วย ดังที่หลวงปู่ดู่ท่านว่า “ทำบุญกับพ่อแม่ก็เหมือนทำบุญกับพระอรหันต์

    "อนันตริยกรรม" ในทางพุทธศาสนาหมายถึง กรรมหนัก
    กรรมที่เป็นบาปที่สุด ปิดทางสวรรค์ปิดทางนิพพาน มี ๕ อย่าง
    ๑. มาตุฆาต ฆ่ามารดา
    ๒. ปิตุฆาต ฆ่าบิดา
    ๓. อรหันตฆาต ฆ่าพระอรหันต์
    ๔. โลหิตุปบาท ทำร้ายพระพุทธเจ้าให้บาดเจ็บ
    ตั้งแต่ห้อพระโลหิตขึ้นไป
    ๕. สังฆเภท ทำสงฆ์ให้แตกกัน


    ในทางกลับกัน การบำรุงบิดามารดากับการดูแลพระอรหันต์
    ก็ย่อมมีอานิสงส์ในทางบวกไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน
    ในมงคลสูตรท่านยังได้กล่าวไว้ว่า
    มาตาปิตุอุปฏฐานํ เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ
    การบำรุงบิดามารดานั้นถือเป็นมงคลอันสูงสุดอย่างหนึ่ง


    สัปดาห์หน้าเป็นวันแม่แล้ว อย่าลืมหาโอกาสกราบแม่กันครับ วันนี้มีแม่ให้กราบก็ต้องรีบกราบ วันไหนแม่ไม่อยู่แล้ว ก็เหมือนนกน้อยขาดร่มไทรใหญ่ให้พักพิง ชีวิตคงเหงาหงอย ได้แต่มองดูผู้อื่นเขากราบแม่กัน เมื่อมีโอกาสทำสิ่งดีๆ ให้แม่ได้ ก็รีบๆ ทำกัน เหมือนอย่างทำบุญต้องใช้หลัก ท.ท.ท. คือ ทำทันที ทำวันนี้ นาทีนี้ดีกว่าผลัดไปวันอื่น เพราะเราอาจจะหลับไม่ตื่นในคืนนี้ก็ได้ใครจะไปรู้...

    พันวฤทธิ์
    5/8/54




    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  20. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,789
    ค่าพลัง:
    +16,101
    ของดีที่ถูกลืม แต่ปัจจุบันราคาประมาณ 2-300 เท่านั้น ลองหาดูตามเวบต่างๆ ในกูเกิลเซอร์จครับ บทความนี้สักสามสี่ปีมาแล้ว เลยเอามาลงให้ดูใหม่กัน บทความนี้เขียนโดยนักเขียนสายบู๊ ที่ผมชอบอยู่แล้ว โดยเมื่อสักยี่สิบปีมาแล้ว ผมอ่านบทความของคุณอำพลเป็นประจำในหนังสือ "ศักดิ์สิทธิ์" แต่เดี๋ยวนี้ไม่แน่ใจว่าหนังสือนี้ยังไม่อยู่หรือเปล่า และไม่ทราบว่าคุณอำพล ได้ไปเขียนหนังสือที่ไหนอีกบ้าง คงได้อ่านเพียงแค่เวบของคุณอำพล เท่านั้น ลองอ่านดูกันครับ


    [​IMG]


    พระพุทธฤาชา หลวงพ่อสำเนียง อยู่สถาพร



    <!--colorc--><!--/colorc--><!--fontc--><!--/fontc-->
    • <!--fonto:Tahoma--><!--/fonto--><!--coloro:#006400--><!--/coloro--><!--sizeo:3--><!--/sizeo-->วัดเวฬุวนาราม นครปฐม<!--sizec--><!--/sizec--><!--colorc--><!--/colorc--><!--fontc--><!--/fontc-->
    <!--fonto:Tahoma--><!--/fonto--><!--coloro:#006400--><!--/coloro--><!--sizeo:3--><!--/sizeo-->โดย...อำพล เจน<!--sizec--><!--/sizec--><!--colorc--><!--/colorc--><!--fontc--><!--/fontc-->
    • <!--fonto:Tahoma--><!--/fonto--><!--sizeo:3--><!--/sizeo--><!--coloro:#483d8b--><!--/coloro-->มหาพุทธาภิเษกพิธี 25 พุทธศตวรรษ ตอนกึ่งพุทธกาล ได้ชื่อว่าเป็นพิธีของพระเครื่องไทยที่ยิ่งใหญ่สุดขีด<!--colorc--><!--/colorc--><!--sizec--><!--/sizec--><!--fontc--><!--/fontc-->
    • <!--fonto:Tahoma--><!--/fonto--><!--coloro:#483d8b--><!--/coloro--><!--sizeo:3--><!--/sizeo-->ใหญ่ขนาดไหน<!--sizec--><!--/sizec--><!--colorc--><!--/colorc--><!--fontc--><!--/fontc-->
    • <!--fonto:Tahoma--><!--/fonto--><!--coloro:#483d8b--><!--/coloro--><!--colorc--><!--/colorc--><!--fontc--><!--/fontc-->
    • <!--fonto:Tahoma--><!--/fonto--><!--coloro:#483d8b--><!--/coloro--><!--sizeo:3--><!--/sizeo--><!--sizeo:2--><!--/sizeo-->หลวงพ่อหลวงปู่รูปใดมีชื่อว่าเฮี้ยนว่าขลังแม้อยู่ในป่าเขาก็ไปรับเอาตัวออกร่วมพิธี
      จนได้ทั้งหมด<!--sizec--><!--/sizec--><!--sizec--><!--/sizec--><!--colorc--><!--/colorc--><!--fontc--><!--/fontc-->
    • <!--fonto:Tahoma--><!--/fonto--><!--sizeo:2--><!--/sizeo--><!--coloro:#483d8b--><!--/coloro-->ได้ยินว่าจะต้องใช้เฮลิคอปเตอร์ก็ใช้ทันที<!--colorc--><!--/colorc--><!--sizec--><!--/sizec--><!--fontc--><!--/fontc-->
    • <!--fonto:Tahoma--><!--/fonto--><!--sizeo:2--><!--/sizeo--><!--coloro:#483d8b--><!--/coloro-->เพราะว่ารัฐบาลเป็นคนจัดแจงทุกอย่าง<!--colorc--><!--/colorc--><!--sizec--><!--/sizec--><!--fontc--><!--/fontc-->
    • <!--fonto:Tahoma--><!--/fonto--><!--sizeo:2--><!--/sizeo--><!--coloro:#483d8b--><!--/coloro-->ใครจะไปใหญ่กว่ารัฐบาล<!--colorc--><!--/colorc--><!--sizec--><!--/sizec--><!--fontc--><!--/fontc-->
    • <!--fonto:Tahoma--><!--/fonto--><!--sizeo:2--><!--/sizeo--><!--sizec--><!--/sizec--><!--fontc--><!--/fontc--><!--fonto:Tahoma--><!--/fonto--><!--sizeo:2--><!--/sizeo-->
      <!--sizec--><!--/sizec--><!--fontc--><!--/fontc-->
    • <!--fonto:Tahoma--><!--/fonto--><!--sizeo:2--><!--/sizeo--><!--coloro:#483d8b--><!--/coloro-->พิธี 25 พุทธศตวรรษทำขึ้น 2 ครั้ง คือที่วัดสุทัศน์ฯ ครั้งหนึ่ง วัดพระแก้วอีกครั้งหนึ่ง มีคณาจารย์นับร้อยกว่ารูปเข้าร่วมสมโภช<!--colorc--><!--/colorc--><!--sizec--><!--/sizec--><!--fontc--><!--/fontc-->
    • <!--fonto:Tahoma--><!--/fonto--><!--sizeo:2--><!--/sizeo--><!--coloro:#483d8b--><!--/coloro-->สมัยโน้นอยู่กันครบถ้วน<!--colorc--><!--/colorc--><!--sizec--><!--/sizec--><!--fontc--><!--/fontc-->
    • <!--fonto:Tahoma--><!--/fonto--><!--sizeo:2--><!--/sizeo--><!--coloro:#483d8b--><!--/coloro-->หลวง พ่อสด วัดปากน้ำ,หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี,หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก,หลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลา,หลวงพ่อเต๋ วัดสามง่าม, หลวงพ่อแจ่ม วัดวังแดงเหนือ,หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ,หลวงพ่อลี วัดอโศการาม,หลวงพ่อทองสุข วัดโตนดหลวง,หลวงพ่อแฉ่ง วัดบางพัง,หลวงพ่อช่วง วัดบางแพรกใต้,หลวงพ่อแต้ม วัดพระลอย,หลวงพ่อถิร วัดป่าเลย์ไลยก์,หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม,หลวงพ่อเผือก วัดกิ่งแก้ว,หลวงพ่อนาค วัดระฆัง,หลวงพ่อผิน วัดโพธิ์กรุ,หลวงพ่อครื้น วัดสังโฆ ฯลฯ<!--colorc--><!--/colorc--><!--sizec--><!--/sizec--><!--fontc--><!--/fontc-->
    • <!--fonto:Tahoma--><!--/fonto--><!--sizeo:2--><!--/sizeo--><!--coloro:#483d8b--><!--/coloro-->ที่นึกชื่อไม่ออกยังมีอีกเยอะ<!--colorc--><!--/colorc--><!--sizec--><!--/sizec--><!--fontc--><!--/fontc-->
    • <!--fonto:Tahoma--><!--/fonto--><!--sizeo:2--><!--/sizeo--><!--coloro:#483d8b--><!--/coloro-->ยุค นี้เป็นยุคของการปลุกเสกพระเครื่องถัดมาจากยุคของจาดจงคงอี๋ มีร่วมสมัยคือคร่อมยุคอยู่หลายองค์ เช่น หลวงพ่อจง เรียกว่าสายสัมพันธ์ทางขลังยังต่อเนื่องอยู่บ้าง<!--colorc--><!--/colorc--><!--sizec--><!--/sizec--><!--fontc--><!--/fontc-->
    • <!--fonto:Tahoma--><!--/fonto--><!--sizeo:2--><!--/sizeo--><!--coloro:#483d8b--><!--/coloro-->ทุกวันนี้ถือว่าขาดตอนสนิท<!--colorc--><!--/colorc--><!--sizec--><!--/sizec--><!--fontc--><!--/fontc-->
    • <!--fonto:Tahoma--><!--/fonto--><!--sizeo:2--><!--/sizeo--><!--coloro:#483d8b--><!--/coloro-->ไม่มีอาจารย์รูปใดเหลือมาถึงยุคนี้แล้ว<!--colorc--><!--/colorc--><!--sizec--><!--/sizec--><!--fontc--><!--/fontc-->
    • <!--fonto:Tahoma--><!--/fonto--><!--sizeo:2--><!--/sizeo--><!--coloro:#483d8b--><!--/coloro-->ถ้าเหลืออยู่คงหง่อมเต็มที จะไปนิมนต์ท่านออกจากวัดมาเสกพระกันอีกก็ดูจะใจดำกับพระผู้เฒ่าไปหน่อย<!--colorc--><!--/colorc--><!--sizec--><!--/sizec--><!--fontc--><!--/fontc-->
    • <!--fonto:Tahoma--><!--/fonto--><!--sizeo:2--><!--/sizeo--><!--coloro:#483d8b--><!--/coloro-->เมื่อเป็นงานพิธีใหญ่โตเสียแล้ว จำนวนการสร้างพระเครื่องย่อมมากมายมหาศาลเป็นเงาตามตัว<!--colorc--><!--/colorc--><!--sizec--><!--/sizec--><!--fontc--><!--/fontc-->
    • <!--fonto:Tahoma--><!--/fonto--><!--sizeo:2--><!--/sizeo--><!--coloro:#483d8b--><!--/coloro-->ทราบว่ามีเป็นล้านองค์<!--colorc--><!--/colorc--><!--sizec--><!--/sizec--><!--fontc--><!--/fontc-->
    • <!--fonto:Tahoma--><!--/fonto--><!--sizeo:2--><!--/sizeo--><!--coloro:#483d8b--><!--/coloro-->พิธีปลุกเสกพระเครื่องจำนวนล้านองค์เห็นจะมีพิธีนี้ พิธีเดียวกระมัง<!--colorc--><!--/colorc--><!--sizec--><!--/sizec--><!--fontc--><!--/fontc-->
    • <!--fonto:Tahoma--><!--/fonto--><!--sizeo:2--><!--/sizeo--><!--coloro:#483d8b--><!--/coloro-->ไม่แต่พระเครื่อง 25 พุทธศตวรรษที่เรารู้จักกันดีเท่านั้น ยังมีพระร่วมพิธีซึ่งสร้างโดยสำนักอื่นอีกไม่น้อย<!--colorc--><!--/colorc--><!--sizec--><!--/sizec--><!--fontc--><!--/fontc-->
    • <!--fonto:Tahoma--><!--/fonto--><!--sizeo:2--><!--/sizeo--><!--coloro:#483d8b--><!--/coloro-->พระพุทธฤาชา ก็เป็นหนึ่งในบรรดาพระร่วมพิธี หรือจะเรียกว่าพระฝากพิธีก็ได้<!--colorc--><!--/colorc--><!--sizec--><!--/sizec--><!--fontc--><!--/fontc-->
    • <!--fonto:Tahoma--><!--/fonto--><!--sizeo:2--><!--/sizeo--><!--coloro:#483d8b--><!--/coloro-->หลวงพ่อสำเนียง อยู่สถาพร วัดเวฬุวนาราม อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม เป็นผู้สร้างพระพุทธฤาชา โดยสร้างขึ้น 2 พิมพ์ คือ พิมพ์สี่เหลี่ยม กับพิมพ์สามเหลี่ยมยอดมน ด้านหน้าเป็นรูปพระพุทธเจ้าที่เป็นพุทธศิลป์อย่างเดียวกัน ด้านหลังประทับยันต์จมลึก ตัว“นะฤาชา” เหมือนกันทุกองค์ ส่วนเนื้อมีลักษณะเป็นดินเผา มีทั้งสีดำ และแดง ถ้าจับแว่นขยายดูจะไม่เห็นว่ามีมวลสารอะไรน่าสนใจ แต่แท้จริงแล้วมวลสารในองค์พระทั้งหมดเป็นเลิศ พอเอามาเผาแล้วก็กลืนเป็นเนื้อเดียวกันหมด ลักษณะอันนี้ปรากฏในพระเครื่อง 25 พุทธศตวรรษ เนื้อดินเผาทุกองค์<!--colorc--><!--/colorc--><!--sizec--><!--/sizec--><!--fontc--><!--/fontc-->
    • <!--fonto:Tahoma--><!--/fonto--><!--sizeo:2--><!--/sizeo--><!--coloro:#483d8b--><!--/coloro-->ศิษย์ของหลวงพ่อสำเนียงได้บันทึกรายละเอียดของมวลสารเอาไว้ตั้งแต่ ปี 2500 ว่ามีทั้งหมด 82 รายการ<!--colorc--><!--/colorc--><!--sizec--><!--/sizec--><!--fontc--><!--/fontc-->
    • <!--fonto:Tahoma--><!--/fonto--><!--sizeo:2--><!--/sizeo--><!--coloro:#483d8b--><!--/coloro-->ลองไล่ ๆ ดู<!--colorc--><!--/colorc--><!--sizec--><!--/sizec--><!--fontc--><!--/fontc-->
    • <!--fonto:Tahoma--><!--/fonto--><!--sizeo:2--><!--/sizeo--><!--coloro:#483d8b--><!--/coloro-->ผง ใบลานจารึกอักษรสันสกฤต,ผงใบลานพระศรีมหาโพธิ,ผงอิทธิเจ, ผงปัทมัง,ผงพระพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ,ผงอิติปิโสตรึงไตรภพ,ผงรัตนมาลา,ผงมงกุฏพระพุทธเจ้า,ผงเกราะเพชร, ผงมหานิยมใหญ่,ผงพระฉิมพลี,ผงอิติปิโสแปดทิศ,ผงพระเจ้าเปิดโลก,ผงพระยาม้า, ผงเกสรดอกบัวหลวง,ผงเกสรดอกไม้ร้อยแปดชนิด,ผงยาอายุวัฒนะ,ผงผลไม้นานาชนิด, ผงผ้ากาสาวพัสตร์เนื้อบริสุทธิ์,ผงนิล,ผงพระสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต),ผงทำพระรอดเชียงใหม่,ผงพระเครื่องกรุพระแท่นดงรัง,ผงธูปในอุโบสถ วัดบ้านแหลม,ผงธูปพระร่วงโรจนฤทธิ์ พระปฐมเจดีย์,ผงพระกรุวัดไก่เตี้ย,ผงดินป่าลุมพินีที่พระพุทธเจ้าประสูติ,ผง ดินพุทธคยา,ผงดินพาราณสี,ผงดินตำบลสาลวัน แขวงเมืองกุสินารา,ผงดินใจกลางวัดต่าง ๆ 99 แห่ง,ผงดินกลางใจไร่ 99 แห่ง,ผงดินกลางใจสวน 99 แห่ง,ผงดินวัดไทรตั้ง ปีนัง,ผงดินมหาสมุทรแปซิฟิคที่เกาะเวกค์,ผงดินวัดเมยี ญี่ปุ่น,ผงดินซานฟรานซิสโก,ผงดินกรุงวอชิงตัน,ผงดินเมืองเดมเลอร์,ผงดินเกาะ ฮอโนลูลู, ผงดินเมืองเซนต์หลุยส์,ผงดินเมืองชิคาโก,ผงดินเมือง ดีทรอยส์,ผงดินกรุงลอนดอน,ผงดินกรุงปารีส,ผงดินกรุงโรม,ผงดินประเทศกัมพูชา, ผงดินพม่า,ผงดินอาหรับ,ผงดินจอมปลวก,ผงดินโป่ง,ผงดินท่า,ผงดินป่า,ผงดินเขา, ผงทรายปาโจ นราธิวาส, ผงทรายขาว สงขลา, ผงทรายขาว ท่าหิน,ผงทรายชะอำ,ผงทรายสระแก้ว ลพบุรี,ผงอิฐ ยอดเขาสารพัดดี,ผงอิฐพระวิหาร พนมวัน,ผงอิฐวัดดอนเจดีย์,ผงอิฐพระ-เจดีย์ศรีสุริโยทัย,ผงอิฐพระสมุทรเจดีย์ น้ำพุเย็น อ.ฝาง,น้ำพุร้อน อ.ศรีราชา,น้ำตกแม่กลาง, น้ำตก ผาเลียบ,น้ำตกปาโจ,น้ำพระพุทธมนต์หล่อพระกริ่งพระชัยวัฒน์ วัดพระเชตุพน,น้ำพระพุทธมนต์ในรอยพระพุทธบาทเขาสารพัดดี น้ำพระพุทธมนต์ในรอยพระพุทธมนต์พิธพุทธาภิเษกต่าง ๆ น้ำพระพุทธมนต์สรงพระธาตุจอมทอง,น้ำพระพุทธมนต์พระโมคคัลลาน์ สารีบุตร,แก้วแกลบ,ข้าวเหนียวดำ,หัวเผือกมันกลอย,ลิ้นทะเล,แร่พลวง,เศษเหล็ก ในพระวิหารวัดพระธาตุ อำเภอสรรค์, เม็ด พระศรีมหาโพธิจากพุทธคยา อินเดีย ฯลฯ<!--colorc--><!--/colorc--><!--sizec--><!--/sizec--><!--fontc--><!--/fontc-->
    • <!--fonto:Tahoma--><!--/fonto--><!--sizeo:2--><!--/sizeo--><!--coloro:#483d8b--><!--/coloro-->ที่ นำมาลงให้เห็นนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่แสดงความอุตสาหวิริยะของผู้สร้าง อย่างแท้จริง เป็นมวลสารที่มาจากทั่วโลก ทำนองจะเป็นเคล็ดให้พระเครื่องมีอานุภาพสากล คือไปที่ไหนในโลกก็ได้<!--colorc--><!--/colorc--><!--sizec--><!--/sizec--><!--fontc--><!--/fontc-->
    • <!--fonto:Tahoma--><!--/fonto--><!--sizeo:2--><!--/sizeo--><!--coloro:#483d8b--><!--/coloro-->พระพุทธฤาชาพบเห็นประปรายทั่วไป ราคาไม่แพง เป็นพระที่คนไม่ค่อยรู้จัก ถึงแม้รู้จักก็ไม่ค่อยให้ความสนใจ<!--colorc--><!--/colorc--><!--sizec--><!--/sizec--><!--fontc--><!--/fontc-->
    • <!--fonto:Tahoma--><!--/fonto--><!--sizeo:2--><!--/sizeo--><!--coloro:#483d8b--><!--/coloro-->ออกจะน่าเสียดายสำหรับพระเครื่องดีรุ่นนี้<!--colorc--><!--/colorc--><!--sizec--><!--/sizec--><!--fontc--><!--/fontc-->
    • <!--fonto:Tahoma--><!--/fonto--><!--sizeo:2--><!--/sizeo--><!--coloro:#483d8b--><!--/coloro-->ปัจจุบันที่วัดเวฬุวนารามยังมีเหลืออยู่จำนวนหนึ่ง คงไม่มากนัก ยังให้คนบูชาอยู่ทุกวัน ดูเหมือนราคาองค์ละประมาณ 100 บาท ยังไงก็ให้ลองติดต่อกับทางวัดดูอีกทีเพื่อแน่ใจ<!--colorc--><!--/colorc--><!--sizec--><!--/sizec--><!--fontc--><!--/fontc-->
    • <!--fonto:Tahoma--><!--/fonto--><!--sizeo:2--><!--/sizeo--><!--coloro:#483d8b--><!--/coloro-->ถ้า จะไปด้วยตนเองก็คงต้องไปกันไกลหน่อย วัดค่อนข้างอยู่ในพื้นที่กันดาร ผมแม้เคยไปก็อธิบายไม่ถูก เข้าใจว่าต้องติดต่อทางไปรษณีย์จะง่ายกว่าเขียนถึงเจ้าอาวาสวัดเวฬุวนาราม อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม 73130 ก็น่าจะถึง<!--colorc--><!--/colorc--><!--sizec--><!--/sizec--><!--fontc--><!--/fontc-->
    • <!--fonto:Tahoma--><!--/fonto--><!--sizeo:2--><!--/sizeo--><!--coloro:#483d8b--><!--/coloro-->ผมแนะนำได้คลุมเครือ แค่นี้แหละครับ<!--colorc--><!--/colorc--><!--sizec--><!--/sizec--><!--fontc--><!--/fontc-->
    • <!--fonto:Tahoma--><!--/fonto--><!--sizeo:2--><!--/sizeo--><!--coloro:#483d8b--><!--/coloro-->ใครสนใจต้องเหนื่อยสักหน่อย<!--colorc--><!--/colorc--><!--sizec--><!--/sizec--><!--fontc--><!--/fontc-->
    • <!--fonto:Tahoma--><!--/fonto--><!--sizeo:2--><!--/sizeo--><!--coloro:#483d8b--><!--/coloro-->ขออภัยในความไม่สะดวกไว้ด้วย<!--colorc--><!--/colorc--><!--sizec--><!--/sizec--><!--fontc--><!--/fontc-->
    • <!--fonto:Tahoma--><!--/fonto--><!--sizeo:2--><!--/sizeo--><!--coloro:#483d8b--><!--/coloro-->หลวง พ่อสำเนียง อยู่สถาพร ทุกวันนี้วัดยังเก็บศพท่านไว้ ถ้าไปถึงวัดก็กราบได้ ศพท่านอยู่บนศาลาที่มีพระเครื่องพระพุทธฤๅชาจำหน่าย บนศาลาร้อนมาก ถือพัดขึ้นไปด้วยก็ดี<!--colorc--><!--/colorc--><!--sizec--><!--/sizec--><!--fontc--><!--/fontc-->
    • <!--fonto:Tahoma--><!--/fonto--><!--sizeo:2--><!--/sizeo--><!--coloro:#483d8b--><!--/coloro-->สมัย หลวงพ่อสำเนียงยังมีชีวิตอยู่ ท่านปรากฏชื่อเสียงในทางรักษาโรคภัยไข้เจ็บ ได้รับนิมนต์ไปปลุกเสกพระเครื่องบ่อย ๆ เนื่องจากท่านเป็นบุตรบุญธรรมของหลวงปู่สุข วัดมะขามเฒ่า ได้รับถ่ายทอดวิชาอาคมมาตรง ๆ และยังสำเร็จยันต์เกราะเพชรของหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค อีกด้วย<!--colorc--><!--/colorc--><!--sizec--><!--/sizec--><!--fontc--><!--/fontc-->
    • <!--fonto:Tahoma--><!--/fonto--><!--sizeo:2--><!--/sizeo--><!--coloro:#483d8b--><!--/coloro-->ลำพังตัวท่านรูปเดียวก็เชื่อถือได้<!--colorc--><!--/colorc--><!--sizec--><!--/sizec--><!--fontc--><!--/fontc-->
    • <!--fonto:Tahoma--><!--/fonto--><!--sizeo:2--><!--/sizeo--><!--coloro:#483d8b--><!--/coloro-->จริง ๆ แล้ว พระอาจารย์รุ่นนั้นเชื่อได้แทบทุกองค์<!--colorc--><!--/colorc--><!--sizec--><!--/sizec--><!--fontc--><!--/fontc-->
    • <!--fonto:Tahoma--><!--/fonto--><!--sizeo:2--><!--/sizeo--><!--coloro:#483d8b--><!--/coloro-->แต่พระอาจารย์รุ่นนี้ต้องดูให้ดีก่อนจึงค่อยเชื่อ...<!--colorc--><!--/colorc--><!--sizec--><!--/sizec--><!--fontc--><!--/fontc-->
    <!--fonto:Tahoma--><!--/fonto--><!--sizeo:2--><!--/sizeo-->


    http://www.suankhlang.com/ipb//index.php?showtopic=40
     

แชร์หน้านี้

Loading...