การให้ทาน รักษาศีล เจริญสติ เจริญสมาธิ เจริญปัญญา แบบนักปฏิบัติธรรม

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย โทสะ, 12 มิถุนายน 2010.

  1. โทสะ

    โทสะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    187
    ค่าพลัง:
    +466
    การให้ทาน รักษาศีล เจริญสติ เจริญสมาธิ เจริญปัญญา<o></o>
    สิ่งเหล่านี้เกื้อหนุนกัน<o></o>
    <o></o>
    การปฏิบัติ จำเป็นยิ่งที่จะต้องเริ่มจากสิ่งหยาบไปหาละเอียด มันไม่มีทางลัดที่ไหนหรอก ที่จะสอนการบรรลุ ๓ วัน ๗ วัน หรือคนบ้าก็เห็นนิพพานได้การจะก้าวข้ามสู่การเป็นนักปฏิบัติธรรมนั้น ผู้นั้นต้องตรวจสอบสภาพจิตตนเอง ก่อนว่าพร้อมแล้วหรือยัง ซึ่งหลักเกณฑ์ที่พอจะนำมาตรวจสอบได้ นั่นก็คือ<o></o>
    ๑. ทานซึ่งโดยหลักสำคัญของการให้ทานนี้ก็เพื่อ การสลัดออกซึ่งอารมณ์แห่งการยึดติด จากหยาบ เข้าหาละเอียด<o></o>
    สิ่งหยาบ คือ สิ่งนอกกายต่างๆที่จิตไปยึด ไปถือว่าเป็นของๆตนนั้น เช่น บ้าน เรือน ทรัพย์ สิน เงิน ทอง ฯลฯ ซึ่งแท้จริงแล้วมันไม่ใช่ของๆตนแม้แต่น้อย <o></o>
    สิ่งที่ละเอียดเข้ามาอีก คือ ร่างกาย ที่เป็น ธาตุ ขันธ์ นี้ ก็ไปยึด ไปถือว่าเป็นของๆตน ซึ่งจริงๆแล้วมันก็ไม่ใช่ <o></o>
    ละเอียดลึกลงไปอีก เช่น อารมณ์แห่งโลภ โกรธ หลง ตัณหา อุปาทาน ที่จิตไปยึดถือ<o></o>
    ลึกสุดๆ ก็คือ อวิชา ซึ่งเป็นตัวสุดท้ายที่ละเอียดยิ่งที่เหล่านักปฏิบัติมุ่งหวังที่จะถอดถอนความยึดติด<o></o>
    การที่เราสามารถสละออกซึ่งอารมณ์แห่งการยึดติดของภายนอก แล้วเผื่อแผ่สิ่งต่างๆ เหล่านั้นเพื่อยังประโยชน์ให้แก่ผู้อื่นที่เป็นเพื่อร่วมเกิด แก่ เจ็บ ตาย นั้น เสมือนเป็นบันไดขั้นต้นที่พร้อมจะก้าวไปต่อ แต่หากยังวนเวียนหลงยึดนั่น ยึดนี่มาเป็นของๆตน ก็อย่าหวังจะก้าวข้ามมาได้ หากลุ่มหลงมากตายไปก็เป็นได้แค่เพียงเหล่าเปรต สัตว์เดรัจฉาน <o></o>
    ๒. ศีล คือความปกติ ผู้ใดที่ผิดศีลอยู่เสมอ แสดงว่าจิตผู้นั้นก็ผิดปกติ แค่ศีล ๕ เป็นศีลเพื่อการเป็นมนุษย์โดยปรมัตถ์ก็มิอาจรักษาได้ แสดงว่าการเป็นมนุษย์ก็เป็นแบบครึ่งๆกลางๆ <o></o>
    ๑)ด้วยการที่ไปฆ่า ไปทำลาย คิดร้าย มุ่งร้ายใส่ผู้อื่น จากหยาบไปละเอียดอันนี้ จิตนี้เยี่ยงของสัตว์นรก<o></o>
    ๒) ด้วยการมุ่งเอาทรัพย์ของผู้อื่น จะด้วยแบบใดก็แล้วแต่ สะสมอารมณ์แห่งความละโมบ อยากได้ จากหยาบไปละเอียดจิตนี้เยี่ยงเปรต<o></o>
    ๓) ด้วยหมกมุ่นในกาม ราคะแรงกล้า ครอบงำจิต มุ่งเสพสมไม่เลิก อารมณ์ติดใจในกาม จากหยาบไปละเอียด จิตนี้เยี่ยงเดรัจฉาน เช่นเสมือนเหล่าสุนัขที่เห่าหอนในคืนเดือนเก้า วิ่งตามกันเป็นทิวแถว<o></o>
    ๔) ด้วยโกหก หลอกรวง เพื่อประโยชน์แห่งตน ทั้งระดับที่หยาบ เช่น เพื่อให้ได้ทรัพย์สิน เงินทองผู้อื่น หรือลึกเข้ามาอีก โกหกเพื่อให้คนอื่นเข้าใจผิดว่าตนดี วิเศษ จะด้วยบางครั้งคราว หรือ เป็นประจำจนติดเป็นนิสัย ก็ขอให้ทราบว่า ยิ่งสั่งสมสันดานชอบโกหกมากเพียงใด ปากอบายรออยู่ ทั้ง ๓ ภูมิ ด้วยโกหก เพื่อมุ่งร้ายต่อผู้อื่น จิตนี้เยี่ยงสัตว์นรก ด้วยโกหกเพื่อเอาทรัพย์ผู้อื่น จิตนี้เยี่ยงเปรต ด้วยโกหกเพื่อได้สนองราคะ ตัณหาตน จิตนี้เยี่ยงเดรัจฉาน<o></o>
    ๕) ด้วยการมุ่งเสพของมึนเมา เป็นการสร้างความผิดปกติให้แก่ ธาตุ ขันธ์ สามารถทำสิ่ง ที่เหล่า สัตว์นรกก็ทำได้ สามารถทำในสิ่งที่เหล่าเปรตก็ทำได้ สามารถทำในสิ่งที่เหล่าเดรัจฉานก็ทำได้ สติขาดปากอบายก็เปิดรอรับ<o></o>
    ศีล ๕ <o></o>
    พร้อมหรือยัง สำรวจจิตตนว่าเป็นปกติแล้วหรือยัง หากยังขาดตก บกพร่อง ก็ควรที่จะตั้งหน้า ตั้งตา ยกระดับจิตตนให้เป็นปกติ อย่าถือว่าเป็นเรื่องปกติเพราะผิดศีล เห็นเป็นแบบนิยมโลก ด้วยเห็นว่าคนอื่นเขาก็ทำ ไม่เห็นเป็นไร <o></o>
    ข้อวัตร<o></o>
    นอกจากจิตที่เป็นปกติ แล้ว ต้องหมั่นสร้างให้ตนมีข้อวัตร ที่เกื้อหนุน ดังนี้<o></o>
    ๑.มีจิตที่เมตตา สงสาร อยากให้เขาพ้นทุกข์ ชอบช่วยเหลือ ต้องการให้คนอื่นมีความสุข<o></o>
    ๒.มีจิตที่อยากแต่จะให้ เพื่อผู้ที่ลำบากกว่าตนได้พ้นทุกข์<o></o>
    ๓.มีจิตมีสันโดษ เป็นหนึ่ง ไม่ยึดติด วุ่นวายในกามราคะ<o></o>
    ๔.มีจิตที่มุ่งแสดงแต่ความจริง ถ่ายทอดความรู้ที่ถูกต้อง มุ่งเพื่อยังประโยชน์ให้ผู้อื่นเกิดสัมมาทิฐิ<o></o>
    ๕. สร้างความปกติแก่ธาตุ ขันธ์ เพื่อการมีสติที่ตั่งมัน <o></o>
    <o></o>
    เมื่อสำรวจ ตรวจตราตนว่า ๒ อย่างพร้อมแล้ว ก็พร้อมกับการก้าวสู่การเป็นนักปฏิบัติธรรม เพื่อแสวงหาทางหลุดพ้น<o></o>
    การเจริญสติ การเจริญสมาธิ การเจริญปัญญา ๓ สิ่งนี้เกื้อหนุนกัน ไม่มีทางลัดที่ไหนที่จะไปบรรลุธรรมชนิดสำเร็จรูปได้ดอก การบำเพ็ญเพียรนี้ มันมีลำดับขั้น มันเกี่ยวเนื่องกัน การเจริญเป็นการทำให้มาก และก็มากขึ้นๆ จนจิตเองยอมรับสภาพตามความเป็นจริง คลายความยึดติดออกไปๆ จนหมดสิ้น คิดหรือว่า กิเลสมันจะขาดออกไปในวัน สองวัน คิดดูเอาเอง แม้แต่บรมศาสดาท่านบำเพ็ญอยู่นานเพียงใด อริยะสาวกท่านปฏิบัติแบบเอาเป็นเอาตายนานขนาดไหนถึงรู้แจ้งเห็นจริง แล้วปุถุชนคนที่ยังหนา ยังเสพกาม ยังวุ่นวายกับโลก มันจะไปมีทางลัดที่ไหน กิเลสยังเต็มหัวใจ <o></o>
    ศาสนาบางศาสนาสอนเพื่อการไปเป็นเทพชั้นพรหม ศาสนาบางศาสนาสอนให้ไปเป็นเทพ เทวา ลัทธิเช่นกัน ส่วนใหญ่ก็ไปติดที่สุข ชั้นเทพ เทวา แต่ยังมีลัทธิอีกแบบที่สอนกันไปลงนรก อันนี้ก็แปลก แล้วพวกไม่มีศาสนาส่วนใหญ่มีแต่พากันลงอบายภูมิ<o></o>
    ก็มีเพียงพุทธศาสนานี้ ที่มุ่งสอนให้ก้าวข้ามสิ่งเหล่านั้นออกมา มันสอยยอดมั้ยละ คิดดูเอาเอง <o></o><o></o>
    เอากันแบบไปปฏิบัติเลยไม่ต้องพูดให้ยาวอย่างนักปริยัติ <o></o>
    <o></o>
    ๑. เจริญสติ <o></o>
    เจริญสติคือ การระลึกรู้ พระพุทธองค์ท่านสอนจากหยาบเข้าหาละเอียด เอาข้อที่ว่าด้วยกายที่พอจะเห็นเป็นรูปธรรมนี้ได้ แล้วไปต่อที่เวทนา ที่เป็นนามธรรม ลึกลงไปอีก ในจิต และในสภาวธรรม เมื่อเรามีสติ ระลึกรู้จดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งไปแบบไม่ลดละ จิตจะรวมกันเข้า เกิดความตั้งมั่นขึ้นมา ในอารมณ์นั้นๆ เราเรียกจิตที่รวมกันและตั่งมั่นนั้นว่า สมาธิ เช่น มีสติจดจ่อกับลมหายใจ ไปตลอดแบบไม่ลดละ จิตจะรวมและตั่งมั่นเป็นสมาธิ โดยมีลมหายใจเป็นเครื่องผูกเอาไว้ ที่เรียกว่า อาณาปานสติกรรมฐาน เมื่อจิตเป็นสมาธิ มันก็มีลำดับขั้นๆ จากอารมณ์แบบหยาบ เริ่มที่ ขณิกสมาธิ ไปจนละเอียดที่มีความตั้งมั่นอย่างใหญ่ ซึ่งเรียกว่าขั้น ฌาน<o></o>
    อันนี้ จึงเรียกว่า สติ หนุน สมาธิ<o></o>
    ๒. เจริญสมาธิ <o></o>
    จะให้สติไปจดจ่อกับอะไร หรือชอบแบบใด เลือกเอาตามจริตนิสัยตน เพราะมีแบบฝึกตั้ง ๔๐ แบบ แต่มีเพียง กสิณ ๑๐ อาณาปานสติ ๑ และ อุเบกขาในพรหมวิหารธรรม ๑ เท่านั้นที่ไปถึง ฌาน ๔ เมื่อจิตรวมเป็นหนึ่ง จิตจะมีกำลังมาก คิด อ่านประการใด ดูมันจะทะลุ ทะลวง เข้าใจ อย่างแจ่มแจ้ง นักเรียน นักศึกษาหลายคน มุ่งทำสมาธิ เพื่อให้การเรียนดี อันนี้เป็นจริงถ้าผู้ใดจิตรวมเป็นหนึ่งเป็นสมาธิ เวลาพิจารณาอะไรมันจะเข้าใจ ด้วยการที่มันไม่แส่ส่ายไปในอารมณ์อื่น <o></o>
    พวกมิจฉาทิฐิ ส่วนใหญ่ก็ไปต่อจากตรงนี้ หรือพวกจิตไม่มีความตั้งมั่นก็ไปโกหกว่ามี หรอกให้คนอื่นเชื่อเพื่อยังประโยชน์แก่ตน คนจะได้นับถือเยอะ คนจะได้จ่ายเยอะๆ เป็นธุรกิจนักบุญ (ธุรกิจใหม่ ง่ายๆ แต่รวยไว ลงนรกไว ) โกหกทีคนจะได้จ่ายเป็นแสนๆ คิดว่าตนเป็นผู้วิเศษไป เหนือมนุษย์ธรรมดา หรือพวกที่จิตสงบเกิดสิ่งมหัศจรรย์ขึ้นจากความตั่งมั่นของจิต ไปฝึกต่อก็เกิดฤทธ์เดช แสดงนั่น แสดงนี้ได้ เกิดปาฎิหารย์ ไปตัดกง ตัดกรรม เออแปลก กรรมเวรตัดเอาแบบง่ายๆ แบบเป็นแพ๊กเก๊ต จ่ายเยอะตัดได้มาก หรือพวกไปซื้อบุญกับบางลัทธิ จ่ายเยอะได้บุญมาก มันบ้ากันไปใหญ่แล้ว<o></o>
    แล้วพวกที่คิดว่าตนวิเศษ แล้วมันจะวิเศษมาจากไหน กิเลสครอบกบาลมันอยู่ สิ่งเหล่านี้เป็นของสาธารณะ ผู้ใดที่จิตตั้งมั่นมาก สิ่งต่างๆเหล่านี้มันเกิดได้กันทั้งนั้น ก็มีแต่จ่อคิวลงอบายภูมิไม่ใช่เรื่องเล่นนะ ระวัง!<o></o>
    สำหรับนักปฏิบัติธรรม ที่จิตสามารถรวมกันเป็นหนึ่ง หากไม่นำออกเดินทางด้านปัญญา ก็ตั้งมั่นอยู่อย่างนั้น จิตมันก็ยังยึดอยู่ ยังไม่ยอมปล่อยวางอะไรเลย เพราะจิตมันยังไม่เข้าใจ และยังไม่ยอมรับ แล้วจะมาให้ปล่อยวางได้รึ หลายคนหลงคิดไปว่า เมื่อมีสมาธิมันจะเกิดปัญญา เอออันนี้ก็แปลกถ้าไม่เรียนมันจะรู้เหรอ ถ้าไม่ทำงานมันจะเสร็จหรืองาน อุปมาดั่งเมื่อได้กินอิ่ม นอนหลับมีกำลังวังชา แต่งานไม่ทำ โดยคิดไปว่า กินอิ่ม นอนหลับมีกำลังวังชา แล้วไปนั่งดูว่างานมันจะเสร็จ เพราะตนได้กินอิ่มแล้ว นอนหลับแล้ว <o></o>
    เมื่อจิตสามารถตั่งมั่นขึ้นเมื่อใดก็ได้ ตามใจปรารถนา นั่นแสดงว่าจิตกำลังวังชาพร้อมที่ ออกเดินทางด้านปัญญา คือการพิจารณาให้เห็นตามความเป็นจริง แห่งกาย แห่งจิตนี้<o></o>
    อันนี้ จึงเรียกว่า สมาธิ หนุน ปัญญา<o></o><o></o>
    ๓. เจริญปัญญา <o></o>
    สติ ตั้ง ปัญญา แทง คำนี้ เป็นคำสั้นๆ จะได้จำได้ง่าย <o></o>
    หลักการมีอยู่ว่า <o></o>
    ๑. ให้ฝึกระลึกรู้ขึ้นให้เป็นปกติให้ได้ ทั้งที่เป็นแบบหยาบ เช่น ร่างกายที่เป็น ธาตุ ขันธ์นี้ ( กาย ) และทั่งที่เป็นสิ่งละเอียดลงไป เช่น สุข ทุกข์ เฉยๆ (เวทนา ) และลึกลงไปอีก คืออารมณ์แห่งโลภ โกรธ หลง จากหยาบสุด ไปละเอียด (จิต) สุดท้ายสภาวธรรมทั้งหลาย แต่อันดับแรกเอาสิ่งที่หยาบก่อน <o></o>
    คือให้เริ่มที่กาย แล้วค่อยไล่ลงไปสู่ละเอียดเรื่อยๆคือสภาวธรรมทั้งหลาย อันนี้ขอเรียกว่าเป็น สติตั้ง <o></o>
    ๒. เมื่อระลึกรู้ขึ้นได้แล้ว ให้พิจารณาลงไปในปัจจุบันนั้นให้เห็นตามความเป็นจริงว่า มันเกิดขึ้น มันตั้งอยู่ แล้วมันก็ดับไป ไม่เห็นมีอะไร จะเอามายึดติด สำคัญมั่นหมายได้ ว่าเป็นนั่น ว่าเป็นนี่ ว่าเป็นเรา จากหยาบเข้าหาละเอียด ดังนี้ <o></o>
    ๒.๑ กาย เมื่อสามารถระลึกรู้ ถึงกายว่า ยืน เดิน นั่ง นอน ก็มีสติระลึกรู้ไปเรื่อยๆได้ ต้องฝึกที่จะทำงานอย่าหนักก่อน ก่อนที่จะมาหางานอย่างเบา ดังนี้<o></o>
    ๑) งานอย่างหนัก คือ ให้เข้าสมาธิให้ตั้งมั่นแล้ว พิจาณากาย<o></o>
    โดยใช้การปลงอสุภะ ๑๐ ให้เห็นจนกายนี้เป็นเพียงสภาวะธาตุ มีเพียง ดิน น้ำ ลม ไฟ ไม่เห็นมีอะไร โดยใช้กายตนนี้แหละเป็นที่ทำงาน พิจารณามันลงไปๆๆๆๆๆๆๆๆ เอามันมีเวลาเมื่อไหร่ ยกมันขึ้นมาแล้วพิจาณา สิ่งที่ท่านจะเกิดความประหลาดใจคือ ถ้าท่านใดสมาธิตั้งมั่นดีแล้ว จะเกิดนิมิตสมาธิ หรือนิมิตฝันว่าตนกลายเป็นศพ จะแบบใดก็แล้วแต่ ก็แสดงว่า จิตเริ่มคลายความยึดกายตนออกบ้างแล้ว ถ้าเกิดแบบนี้ เอามันให้หนักเข้าไปอีกๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ แล้วจิตจะบอกเองว่ามันถอนแล้ว แต่ที่เล่ามาอย่าไปคาดไปหมายเอง เพราะจิตจะบอกเองแต่อย่าไปคิดว่ามันต้องเป็น (ให้ทำงาน ไม่ให้คาดหมาย )<o></o>
    ๒) งานแบบเบาๆ คือ ในชีวิตประจำวัน (ในเวลาที่ไม่ได้<o></o>
    เข้าสมาธิเพื่อพิจารณา ) ให้มีสติระลึกรู้กายให้ตลอดสาย แล้วแต่อารมณ์ใจว่าในอากัปกริยา ที่ยืน เดิน นั่ง นอนนั้น ชอบแบบไหน ที่จะยกพิจารณา เช่นหากนั่งลง เห็นกายมันนั่ง แล้วกายนี้มัน เป็นอะไรหว่า มันมีเพียงดิน น้ำ ลม ไฟ ที่มาประชุมรวมกันมิใช่รึ พิจารณา พลิกแพลง ตามแต่จริตตน แล้วแต่ชอบ แล้วแต่ปัญญาตน สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือ บางครั้งจิตจดจ่อ แล้วพิจารณา กายนี้มันอาจจะพัง เปือยยุ่ย เห็นแต่โครงกระดูกห้อยต่องแต่งก็มี แต่อย่าไปคิดว่ามันต้องเป็น (ให้ทำงาน ไม่ให้คาดหมาย )<o></o>
    ๒.๒ เวทนา คือ ความรู้สึก สุข ทุกข์ หรือเฉยๆ หากผ่านขั้นที่จิตเริ่มถอดถอนความยึดติดในกาย เชื่อเถอะว่า นามขันธ์ คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ มันจะสืบเนื่องกัน มีความเข้าใจ ย้อนกลับไป กลับมา ว่า ด้วยอายตะรับสัมผัสเข้ามา วิญญาณเกิด พอมันเกิดแล้วมันก็อยู่ครู่หนึ่งแล้วมันก็หายไป แต่หากไม่เป็นอย่างนั้น เมื่อเกิดวิญญาณขึ้น เช่น เกิดวิญญาณทางตาขึ้น มันก็เกิดการคิดนึกปรุงแต่งไป สังขารเกิด คิดนึกแล้วก็จำได้ว่านั่นคือนั้น นี่คือนี้ สัญญาเกิด เมื่อจำได้ก็เตลิดไปว่าชอบ ไม่ชอบ หรือเฉยๆ หากชอบก็สุข ไม่ชอบก็ทุกข์ หรือเป็นกลางๆก็เฉยๆ เวทนาเกิด แล้วก็ไป ว่ายวนในกองทุกข์นั้น เอามาเผาลนจิตใจ <o></o>
    แต่หากมีสติระลึกรู้ แล้วพิจารณาไป ด้วยจิตที่ตั่งมั่น มันก็จะเข้าใจและยอมรับ ว่า เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เกิดขึ้น แล้วมันก็ตั้งอยู่ แล้วมันก็ดับไป อย่างเช่น รูป ที่เป็น กาย ซึ่งรวมมาจากธาตุทั้ง ๔ เกิดได้ มันก็ดับได้ ไม่มีอะไรมาสัมผัส สัมพันธ์อะไร แต่พิจารณาครั้งเดียว เชื่อหรือว่าจะเข้าใจและยอมรับ ไม่แน่นอน ดังนั้นมันต้องพิจารณาซ้ำๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ ซากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ ดั่งเช่น พิจารณากาย เช่นกัน จิตจะบอกเอง อย่าไปคิดว่ามันต้องเป็น (ให้ทำงาน ไม่ได้ให้คาดหมาย )<o></o>
    จิต และ สภาวธรรม ไม่ขออธิบาย ซึ่งท่านใดที่อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว ก็พอจะมองเลาๆออกว่า ในการมีสติตั้ง ใช้ปัญญาแทงทะลุ ในข้อที่ว่าด้วย จิต และ สภาวธรรมนั้นเป็นอย่างไร ซึ่งขอบอกว่ามันละเอียด ล้ำลึกจนยากที่จะเข้าใจ <o></o>
    ที่เหล่าอริยะท่านทั้งหลายดำเนินมามีสิ่งหนึ่งที่จะเกิดขึ้นกับท่านทั้งหลายเหล่านั้นคือ สติอัตโนมัติ และปัญญาอัตโนมัติ<o></o>
    <o></o>
    หากท่านใด สนใจ หรือมีข้อสงสัยเพิ่มเติมในสิ่งที่นำเสนอไปนี้ PM มาคุยกันได้ หรือหากสนใจ ข้อที่ว่าด้วยจิต และสภาวธรรม สามารถแลกเปลี่ยนกันได้ <o></o><o></o>
    ขอให้นำไปพิจารณาดู อันนี้แค่เล่าให้ฟังเกี่ยวกับการปฏิบัติ จะลองนำไปปฏิบัติก็ขออนุโมทนาบุญด้วย แต่หากคิดว่ามันไม่ใช่ จากที่เรียนมาไม่เห็นเขาสอนอย่างนี้ ก็ไม่ต้องสนใจ<o></o> ...คิดเสียว่าเสียเวลามาอ่านเรื่องบ้าๆนี้ทำไมวะ ก็เท่านั้น ....<o></o>
    <!--[if !supportLists]--><!--[endif]--> <!--[if !supportLists]--><!--[endif]--> <!--[if !supportLists]--><!--[endif]--> <!--[if !supportLists]--><!--[endif]--> <!--[if !supportLists]--><!--[endif]-->
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 13 มิถุนายน 2010
  2. โทสะ

    โทสะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    187
    ค่าพลัง:
    +466
    ผม ศิษย์ หลวงตามหาบัว

    คัดลอกมาจากกบาลตัวเองนี่แหละ ไม่ได้เอามาจากไหนดอก
     

แชร์หน้านี้

Loading...