เว็บพลังจิต สมเด็จองค์ปฐม (ทรงตรัสเกี่ยวกับเรื่องสงคราม)

ในห้อง 'กฎแห่งกรรม - ภพภูมิ' ตั้งกระทู้โดย เทพออระฤทธิ์, 15 พฤษภาคม 2010.

  1. เทพออระฤทธิ์

    เทพออระฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    4,573
    กระทู้เรื่องเด่น:
    4
    ค่าพลัง:
    +22,048
    (พระธรรมที่ทรงตรัสสอนในเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๓๙)

    [​IMG]<O:p</O:p


    ปกิณกะธรรม



    สมเด็จองค์ปฐม (ทรงตรัสเกี่ยวกับเรื่อง สงคราม)
    <O:p</O:p
    ๑. ฟังข่าวสงครามให้พิจารณาว่าเป็นกฎของกรรม การขัดแย้งของมนุษย์ชาตินั้นมีมานานแล้ว แม้แต่ในสมัยตถาคต บรรลุพระอภิเษกสัมมาสัมพุทธเจ้า (สัมมาสัมโพธิญาณ) ก็มีสงครามในระหว่างมนุษย์ด้วยกันนี้ ในทุก ๆ พุทธันดรก็มีสงครามปรากฏอยู่ตลอดเวลา<O:p</O:p

    ๒. อนึ่ง สงครามนี้เป็นสงครามภายนอก ให้ดูสงครามภายใน คือกิเลส ความโกรธ - โลภ - หลง ที่ทำการต่อสู้อยู่ในอารมณ์จิตของ
    ตนเองด้วย (ซึ่งในแต่ละคน ต่อสู้กับมันมาเป็นอสงไขยกัปนับไม่ได้ ยังพ่ายแพ้ต่อกิเลสมาทุกๆ ชาติ หากผู้ใดต้องการจะไปสู่แดนพระนิพพาน ก็จะต้องชนะมันให้ได้ในชาติปัจจุบันนี้ โดยเอาพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธองค์เป็นจอมทัพ แล้วจิตเราปฏิบัติตามนั้นอย่างจริงจัง ก็จะชนะมันได้ในชาตินี้
    <O:p</O:p
    ๓. หากอนาถใจกับสงครามภายนอก ก็ให้อนาถใจกับสงครามภายในด้วย เพราะจิตของเราพ่ายแพ้ต่อกิเลสอยู่เสมอ<O:p</O:p
    สมเด็จองค์ปฐม (ทรงตรัสสอนเกี่ยวกับรูป - นาม)
    <O:p</O:p
    ๑. พิจารณารูป - นามแล้ว ให้พิจารณาจิตของตนเองที่เกาะติดรูป - นามด้วย (รูป - นามก็คือขันธ์ ๕ ประกอบด้วยรูป ๑ กับนามอีก ๔ มีเวทนา - สัญญา - สังขาร - วิญญาณ หรือ สักกายทิฎฐิ นั่นเอง) ดูให้รู้ว่าเหตุใดจึงไปเกาะติดรูป - นามนั้น แล้วพยายามตั้งใจที่ต้นเหตุนั้น (กาม - กิน - นอน ๓ ตัวนี้ยังติดกันมาก ซึ่งล้วนเป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดขันธ์ ๕ หรือรูป - นามทั้งสิ้น อันนี้เป็นโทษของการเกาะติด หากละวางการเกาะติดในกาม - กินและนอนได้ อันนี้เป็นคุณ ซึ่งมีอยู่ในศีล ๘ ทั้งสิ้น ให้พิจารณาจุดนี้ให้ดีๆ)
    <O:p</O:p
    ๒. อนึ่ง การไปฟังธรรมคำสอนของท่านฤๅษีที่วิหาร ๑๐๐ เมตรก็ดี หรือการฟังธรรมในเวลาที่พระเปิดเสียงตามสายก็ดี อย่าเบื่อหน่ายในการฟังซ้ำ ให้ฟังโดยเสมือนหนึ่งยังไม่เคยฟังมาก่อน ล้างสัญญาที่จำว่าเคยฟังมาแล้วแต่เก่าก่อน ให้ตั้งใจฟังใหม่โดยใช้ปัญญาพิจารณาตามไป หากทำได้อย่างนี้จักมีประโยชน์เกิดขึ้นมาก เพราะจิตจักเจริญขึ้นในธรรมวิจัยมากขึ้น<O:p</O:p
    สมเด็จองค์ปฐม (ทรงตรัสสอนเรื่องอย่าสนใจในจริยาของผู้อื่น)
    <O:p</O:p
    อย่าสนใจในจริยาของผู้อื่น ให้หันมาดูจิตของตนเอง ให้รู้ว่าขณะนี้จิตเรากำลังทำสงครามภายใน เพื่อชนะอารมณ์เลวของตนเอง อย่าไปมุ่งชนะความเลวของผู้อื่น
    <O:p</O:p
    ๒. งานภายนอกเป็นงานประกอบ(งานทางโลก) งานภายในที่จักตัด กิเลส ให้เป็นสมุจเฉทปหานนั้น เป็นงานหลัก (งานทางธรรม) แล้วให้ตรวจสอบดูอารมณ์ยึดมั่นถือมั่นในตัวของตนเองเป็นระยะๆ ด้วย อย่าหลงคิดว่า สักกายทิฎฐิ นั้นไม่มีแล้ว เพราะหากยังไม่บรรลุเป็นพระอรหันต์เพียงใด สักกายทิฎฐิ ย่อมยังมีอยู่แน่ ดังนั้น ถ้าจักให้ได้ผลในการปฏิบัติ จงหมั่นตรวจตรา สักกายทิฎฐิ ตัวนี้ไว้ให้เนืองๆ ด้วย<O:p</O:p

    <O:p</O:p
    ท่านพระ....(ท่านสอนเรื่อง ความสำคัญของศีล)
    <O:p</O:p
    ๑. ศีลเป็นแม่ของพระธรรม ศีลเป็นมารดาของพระพุทธศาสนา
    <O:p</O:p
    ๒. ศีลเป็นฐานรองรับพระธรรมในพุทธศาสนา ทุกคนที่ศรัทธาเข้ามาในพระพุทธศาสนา ก็ต้องมีศีลก่อนทุกคน
    <O:p</O:p
    ๓. พิธีการต่างๆ ทางพุทธ ก็เริ่มด้วยศีลก่อนทั้งสิ้น แต่ในสมัยปัจจุบัน มักลืมความสำคัญของศีล มุ่งแต่จะเอากันแต่สมาธิเป็นหลักใหญ่ การเข้ามาฝึก มโนมยิทธิกัน ก็ต้องใช้กำลังของสมาธิเป็นฌานสมาบัติ ซึ่งเพียงแค่ระงับนิวรณ์ ๕ ได้ จิตก็เป็นฌานสมาบัติได้ชั่วคราว หลวงพ่อฤๅษีท่านเน้นให้รักษาศีลให้มั่นคง มโนมยิทธิก็จะแจ่มใสไม่เสื่อม<O:p</O:p

    ๔. เรื่องไสยศาสตร์เกิดได้จากอำนาจของสมาธิ เป็นกำลังของฌาน
    แต่เป็นสมาธิที่ไม่มั่นคง เพราะไม่มีศีลเป็นพื้นฐานรองรับ จึงเสื่อมได้ง่ายๆ เช่น ท่านเทวทัต เป็นต้น แม้ในศาสนาอื่นๆ ก็เล่นไสยศาสตร์ โดยใช้อำนาจของสมาธิ ซึ่งไม่มีศีลรองรับ ยังเป็นมิจฉาสมาธิอยู่ และเสื่อมได้เช่นกัน<O:p</O:p

    ๕. หากตัดสังโยชน์เบื้องต่ำ ๓ ข้อแรกได้ มีอธิศีล มีศีล ๕ รองรับเป็นหลักสำคัญ ก็พ้นอบายภูมิ ๔ ได้ถาวร ตัดสังโยชน์ ๔ - ๕ ได้ โดยมีศีล ๘ รองรับ ก็พ้นเกิดพ้นตาย ตัดสังโยชน์ ๑๐ ได้ จิตไม่ยินดี - ไม่ยินร้ายในสิ่งสมมุติทั้งหลายในโลก จิตไม่เกาะโลก ไม่เกาะ ขันธโลก หรือรูป - นาม ไม่เกาะในสมมุติบัญญัติ ๖ ก็คือ หมดอุปาทานนั่นเอง ศีล ๑๐ และศีล ๒๒๗ ก็เต็มได้จริงๆ ในอารมณ์จิตที่วางสมมุติได้ จิตก็วิมุติทั้งกาย - วาจา - ใจ<O:p</O:p

    ๖. ครั้งหนึ่ง (หลังจากหลวงพ่อฤๅษีทิ้งขันธ์ ๕ แล้ว) พระวัดท่าซุงลงโบสถ์ทำสังฆกรรม สวดปาฏิโมกข์ หลวงน้าสัมฤทธิ์เล่าว่า มีพระผู้สวด สวดนำ ๑ องค์ และมีพระ ๑ องค์เป็นผู้ทวน วันนั้นผู้นำนำผิด ผู้ตามก็ทักว่าผิด ผู้นำถามผู้ตามว่าผิดตรงหน ผู้ตามก็ตอบไม่ถูก หลวงพี่...เป็นพระองค์เดียวที่บอกว่าตกจุดไหน หรือสวดข้ามไปตกไปบทไหน แสดงว่าท่านเป็นพระที่ได้ศีลปาฏิโมกข์ครบ ๒๒๗ โดยไม่มีเผลอหรือตกหล่น ท่านเมตตาอธิบายว่า ท่านลงโบสถ์เพื่อฟังสวดปาฏิโมกข์ทุกกึ่งเดือนตามที่ หลวงพ่อแนะนำว่า ถ้าฟังตามเฉย ๆ อานิสงส์ได้น้อย ต้องเอาจิตน้อมตาม และตรวจสอบจิตของเราว่า ใน ปาฏิโมกข์คือศีล ๒๒๗ นั้น มีข้อไหนที่เราบกพร่องบ้าง เป็นการตรวจศีลไปในตัว ท่านจำคำสอนหลวงพ่อ ได้แม่นยำ แล้วนำมาปฏิบัติโดยใคร่ครวญด้วยปัญญา จนเข้าใจได้ด้วยตนเองก่อน แล้วจึงนำไปปฏิบัติให้เกิดผล ด้วยความไม่ประมาทในธรรม จนจิตท่านเป็นอัตโนมัติในศีล ๒๒๗ (ศีลปาฏิโมกข์)<O:p</O:p
    สมเด็จองค์ปฐม<O:p</O:p

    ๑. การเอาศีลเป็นพื้นฐานแก้ โทสะจริต ก็คือ การทรงพรหมวิหาร ๔ นั่นเอง ซึ่งเมื่อรู้เหตุ รู้หนทางแก้ที่ต้นเหตุก็จักดับเหตุได้ แต่ละบุคคลมีจริตต่างกัน จึงพึงหาทางเรียนรู้จุดเด่นของจริตตนเองให้พบ ก็จักหากรรมฐานแก้จริตของตนได้เอง เดินให้ตรงทางอยู่ในศีล - สมาธิ - ปัญญา แล้วผลที่ได้นั่นแหละจักเป็นของจริงที่เจ้าได้แก่จิตของเจ้าเอง<O:p</O:p

    ๒. หมั่นพิจารณาวางภาระอันยึดเกาะขันธ์ ๕ ลงเสีย ให้เห็นโทษของอายตนะสัมผัสอันมีขันธ์ ๕ เป็นเครื่องรองรับ หมั่นชำระจิตให้หลุดพ้นจากการเกาะติดในอายตนะสัมผัสนั้น อย่ามีความประมาทในชีวิต มองทุกอย่างให้เข้าสู่สภาพความเป็นจริง เห็นทุกข์ เห็นอริยสัจให้ชัด แล้ววางภาระและพันธะของจิตที่มีอารมณ์เกาะติดในขันธ์ ๕ ลงเสีย กิจทางพุทธศาสนาก็จักจบลงได้ไม่ยาก ความปรารถนาพระนิพพานในชาตินี้ก็เป็นของไม่ไกล ขอให้ตั้งใจทำจริงเท่านั้น ผลที่ได้ย่อมได้ตามที่ต้องการแน่นอน<O:p</O:p

    ๓. การอ่านพระสูตร อันเป็นธรรมภายนอกแล้วต้องน้อมเข้ามาในใจตน คือ โอปนยิโก เข้ามาเป็นธรรมภายใน แล้วใช้ปัญญาพิจารณาว่า แม้ตัวเราเองก็มีสภาพเช่นนั้นเหมือนกัน ใช้ความเพียรตีธรรมนั้นๆ จนหมดความสงสัย ตัวปัจจัตตังก็จะเกิดในจิตของเราเอง รู้ได้เฉพาะตน ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ พระองค์สอนอยู่แค่กายกับจิตเท่านั้น เราทุกคนต่างก็มีกายกับจิตเท่ากับ มีตู้พระไตรปิฎกอยู่กับตน แต่ความโง่ขาดปัญญา ไม่น้อมธรรมภายนอกเข้ามาเป็นธรรมภายใน (โอปนยิโก) โดยอ่านแล้วจำให้ได้ แล้วนำมาคิดพิจารณาด้วยปัญญาให้เกิดตัวรู้ แล้วปฏิบัติตามให้เกิดผล เพราะฉะนั้น ในเวลาศึกษาศีลก็ดี (พระวินัย) พระสูตรก็ดี พระอภิธรรมก็ดี ให้น้อมเข้ามาเทียบกายกับจิตทุกๆ ประการด้วย แล้วจุด นั้นเจ้าจักเห็นความก้าวหน้าของจิต อันจักประกอบด้วยความเพียรตัดซึ่งกิเลสได้ และที่เจ้าเข้าใจว่าตนเองเป็นผู้แก้ยาก ตัดยากเนื่องจากกิเลสที่เกาะกุมจิตใจ จึงต้องอาศัยศีลเป็นพื้นฐาน เป็นกำลังของจิตก่อน เพื่อให้จิตละเอียดขึ้น จึงจะตัดกิเลสได้นั้น เข้าใจถูกแล้ว และให้อาศัยศึกษาสังโยชน์ ๑๐ ประการควบคู่ไปด้วย ก็จักทำให้เข้าใจยิ่งๆ ขึ้นไปได้เร็วขึ้นเท่านั้น<O:p></O:p>

    ๔. งานทางโลก (คันถธุระ) กับงานทางธรรม(วิปัสสนาธุระ) จัก ต้องทำไปด้วยกันตลอดเวลางานทางโลกมีหน้าที่เท่าไหร่ก็ทำไปตามหน้าที่ใน ทางสายกลาง งานทางธรรมที่จักต้องละอุปาทานขันธ์ ๕ ให้ได้ในชาตินี้ จักต้องทำด้วยกำลังใจเต็ม แม้จักแลกด้วยชีวิตก็ต้องทำ ให้มีความเพียรในการปฏิบัติธรรมอยู่เสมอ ตราบใดที่ยังมีขันธ์ ๕ อยู่ ให้ทำไปจนกว่าจักจบกิจลง เมื่อนั้นงานทางโลกและทางธรรมก็เป็นว่าจบสิ้นลงสำหรับพวกเจ้า ที่ตรัสมานี้หมายความว่า เมื่อกิจทางจิตในการตัดอุปาทานขันธ์ ๕ หมดแล้ว (จากเสขะบุคคลเป็น อเสขะบุคคล) ขันธ์ ๕ นี้ก็จักต้องคืนสู่สภาพธรรม (คือคืนให้ไว้กับโลก เพราะไม่มีใครเอาสมบัติของโลกไปได้ ตามพระองค์ทรงตรัสไว้ว่า ขันธ์ ๕ หรือร่างกายที่เห็นกันอยู่นี้เป็นของใครก็ไม่รู้ มันเป็นสมบัติของโลก ซึ่งไม่มีใครสามารถเอาไปได้ บุคคลหรือฆราวาสที่จบกิจ จึงต้องทิ้งขันธ์ ๕ หรือคืนขันธ์ ๕ ให้กับโลก หรือต้องตายนั่นเองภายใน ๒๔ ชั่วโมง ในพระไตรปิฎกกล่าวไว้ว่า ภายใน ๗ วัน แต่หลวงพ่อฤๅษีท่านสังเกตว่า เท่าที่ท่านเห็นก็ภายใน ๒๔ ช.ม.ทุกราย เพราะเมื่อจบกิจแล้วคงไม่มีใครที่จะอาลัยใยดีกับขันธ์ ๕ อีกต่อไป ใช้ความเพียรเพื่อละอุปาทานขันธ์ ๕ มาเป็นอสงไขยกัปนับไม่ถ้วน ก็เพื่อจุดนี้จุดเดียว) ในเมื่อพวกเจ้าทำงานทั้ง ๒ ประการ (คันถธุระและวิปัสสนาธุระ) ก็เพื่อพระนิพพานเท่านั้น พระตถาคตเจ้าทั้งหลายและพระอริยสงฆ์ทั้งหลาย ย่อมไม่ทอดทิ้งพวกเจ้าอยู่แล้ว และมาช่วยสงเคราะห์ให้พวกเจ้าได้รับธรรมะ อันนำมาซึ่งการเจริญของจิตเป็นระยะๆ ตามวาระที่สมควรจักให้คำสอนนั้นๆ<O:p</O:p

    ๕. ให้ดูความแปรปรวนที่เกิดขึ้นกับร่างกาย ให้เห็นตามความเป็นจริง คือ ดูอารมณ์ของจิตที่มีสภาพแปรปรวนไปกับอาการของร่างกายด้วย แล้วพยายามปลดอารมณ์ที่เกาะติดร่างกายนี้ลงให้ได้ โดยใช้อริยสัจเป็นหลักสำคัญ จิตเศร้าหมองได้ก็ต้องมีสาเหตุหาสาเหตุ ให้พบ แล้วแก้ไขเสีย พยายามฝึกจิตให้มีความละเอียดในการเพ่งดูอารมณ์ด้วย อย่าลืมเห็นธรรมภาย นอกแล้วให้น้อมเข้ามาเป็นธรรมภายใน (โอปนยิโก) เข้ามาหาขันธ์ ๕ อันเป็นปัญญาที่แท้จริงของพระพุทธศาสนา ให้พิจารณาโทษของการติดรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ธรรมารมณ์ให้มาก และพิจารณาโทษของการติด กาม กิน และนอนให้มากด้วย เมื่อจิตละเอียดขึ้นจักเบื่อหน่ายในทุกข์ อันเกิดจากการเกาะติดนั้น และจักทำให้จิตหลุดจากกามคุณ ๕ ได้ และหากโชคดีก็จักพ้นจากกิเลสเป็นสมุจเฉทปหานได้เลย<O:p></O:p>

    ๖. งานใดที่ทำอยู่ ก็พึงคิดว่างานนั้นเป็นกรรมฐาน เห็นธรรมภายนอก ก็น้อมธรรมภายนอกเข้ามาเป็นธรรมภายใน อย่างที่หลวงปู่ไวย ท่านว่า ดูงานทุกอย่างให้เป็นกรรมฐาน ให้เห็นไตรลักษณ์ ให้เห็นทุกข์ในงานนั้นๆ แล้วจึงแปรกลับเข้ามาเป็นกรรมฐานสอนจิตตนเอง สนใจ จุดนี้ให้มาก รู้ช่องรู้หนทางไปของการปฏิบัติแล้ว ก็จงพยายามทำความเพียรเข้าไว้ให้มาก ให้รู้เท่าทันคุณค่าของเวลาที่ล่วงไปด้วย ทุกๆ ขณะจิตมีค่า และร่างกายนี้ใกล้ความตายเข้าไปทุกที ให้ดูกิเลสที่เกาะกุมอยู่ในจิตของตนเองเป็นหลักสำคัญ สอนตนเองไว้ให้มากจักได้ไม่มีความประมาทในชีวิต
    <O:p</O:p
    ๗. ให้สังเกตอายตนะสัมผัสกระทบให้มาก แล้วดูอารมณ์จิตที่ไหวไปตามอายตนะนั้นด้วยปัญญา อย่าลืมคำว่าปัญญาของพระพุทธศาสนาคือรู้เท่าทันกองสังขารชื่อว่าปัญญา (กอง สังขารแห่งกายและกองสังขารแห่งจิต) อนึ่งการเจริญวิปัสสนาญาณ จักต้องทำให้ถึงขั้นหมดอาลัยในชีวิต คือ ไม่เป็นห่วงเป็นใยในขันธ์ ๕ อีก หรือหมดความยินดียินร้ายในขันธ์ ๕<O:p</O:p

    ๘. อนึ่งการพิจารณาอาหาร อย่าไปกังวลลดอาหารจนไม่พอกับความพร่องของร่างกาย ให้กำหนดจิตดูความติดในรสอาหารด้วย จุดนี้เป็นกิเลสสำคัญ ที่เป็นความทะยานอยากของจิต มิใช่สำคัญแต่บริโภคมากเกินไปเพียงอย่างเดียว นี่คือการพิจารณาหรือปฏิบัติเพื่อแก้อินทรีย์สังวร และเป็นแนวทางให้สำรวมไปยังอายตนะอื่นๆ ด้วย ให้ปฏิบัติด้วยอุบายเดียวกันนี้ให้ชำนาญ อย่าให้เผลอในธรรมสัมผัสที่เกิด จากทวารทั้งหก แล้วทำให้เกิดอารมณ์พอใจ ไม่พอใจ ซึ่งเป็นอารมณ์ของกิเลส (สังโยชน์ ข้อ ๔-๕) อันพึงละพึงวางด้วยปัญญา อันเกิดจากการพิจารณาเมื่อมีสติสัมปชัญญะกำหนดรู้อยู่อย่างนั้น การเจริญพระกรรมฐานอย่าฝืนร่างกาย จักทำให้ลำบากใจ จงอย่าทำจักไม่เป็นผล (จรณะ ๑๕ ซึ่งเป็นจริยาหรือปฏิปทาของพระอริยเจ้าเบื้องสูงท่าน ๔ ข้อแรก คือ มีศีลสังวร มีอินทรีย์สังวร โภชเนมัตตัญญุตา และชาคริยานุโยค ผู้ใดปฏิบัติได้ทรงตัว ก็ยืนอยู่หน้าประตูพระนิพพานแล้ว)<O:p</O:p

    ๙. อย่างห้องพักพิงอาศัย มีภัยวิบัติเกิดขึ้น ก็จักต้องบรรเทาซ่อมแซมเป็นธรรมดา เพื่อความอยู่เป็นสุขของร่างกาย อย่าให้มีเวทนามากเกินไปจากภัยวิบัติที่เกิดขึ้นนั้น ทำไปแล้วให้โอปนยิโกเข้ามาว่า บ้านที่พักก็เสมือนหนึ่งกับร่างกายอันเป็นรังของโรคอันเป็นภาระที่เราคือจิต หรือผู้อยู่อาศัยจักต้องรักษาพยาบาลตามกรรม ตามวาระอันสมควร เมื่อเห็นร่างกายป่วยก็จำเป็นต้องเยียวยาเสียก่อน ก่อนที่จักไปคิดรักษาคนอื่น เห็นมด เห็นแมลง เห็นปลวกมาอาศัยอยู่ในห้องในบ้าน ก็จงพิจารณาว่าเหมือนกับร่างกายของเราที่เป็นรังของโรค เจ็บป่วยก็ต้องเยียวยาไป ทำนองเดียวกันเมื่อบ้านฝารั่ว หลังคามีรูก็ต้องซ่อมแซม เพื่อความอยู่ได้โดยไม่เดือดร้อนผู้อาศัย เรา คือจิตหรือผู้อาศัยยังต้องอยู่ในกาย หรือบ้านที่พักนั้นอย่างจำใจ มิใช่ปล่อยบ้านหรือปล่อยกายไปโดยไม่ทอดธุระ เป็นการฝืนกฎของกรรม เป็นเหตุให้ผู้อาศัยต้องทุกข์ทรมานมากขึ้น ไม่เป็นผลดีแก่ผู้อาศัย ไม่เป็นผลดีแก่กายและจิต เพราะบ้านทุพพลภาพหรือร่างกายทุพพลภาพ ย่อมก่อให้เกิดทุกขเวทนาถึงจิตได้โดยตรง การอยู่จึงต้องอาศัยพึ่งพาซึ่ง กันและกัน กายอาศัยจิต จิตอาศัยกาย เหมือนเราอาศัยบ้าน บ้านก็ต้องอาศัยเราดูแลรักษา ฉัน ใดก็ฉันนั้น ผู้ฉลาดเขาไม่เบียดเบียนกาย รู้เท่าทันสภาวะที่แท้จริงของกาย เป็นผู้บรรเทาประทังทุกขเวทนาของกาย เพื่อไม่ให้ก่อให้เกิดสภาวะเข้ามารบกวนจิต
    <O:p</O:p
    ๑๐. อย่าสนใจกายและจริยาของผู้อื่น ให้สนใจกายและจริยาของตนเอง จุดนี้สำคัญมาก เพราะถ้าพวกเจ้าจักสำรวจอารมณ์ของพวกเจ้าจริงๆ แล้ว จักพบว่าเสียเวลาไปมาก ด้วยการมีอารมณ์ไปสนใจกายและจริยาของผู้อื่น และถ้าหากกำหนดดูจิตที่แส่ ส่าย (เสือก) ไปอยู่เช่นนี้ จักเห็นทุกข์อันเป็นเหตุให้จิตไม่สงบด้วยเหตุนั้น จึง พึงที่จักเอาเวลานั้นมาดูกายและจิตตนเอง ให้พ้นไปจากกิเลสของตนยังจักดีกว่า แต่ต้องดูอารมณ์ของจิตตนให้เห็นจริงๆ จึงจักแก้ไขได้ งานดูจิตตนเองนี้เป็นงานหนัก แต่ถ้ามุ่งหวังจักเอาดี ก็ต้องทำให้ได้ ใช้เวลาของจิตให้เป็นประโยชน์ แล้วใช้เวลาของกาย อย่าให้เป็นโทษด้วย อย่าเอาปากเอากายไปหาเรื่องกับชาวบ้าน ให้สงบระงับให้ได้จริงๆ โดยให้เห็นโทษของการแส่ส่าย (เสือก) ด้วย (ให้ใช้อัตนาจทยัตตานัง ปรับกายและใจตนเองตลอดเวลา)
    <O:p</O:p
    ๑๑. หมั่นตรวจสอบนิวรณ์ทั้ง ๕ ประการไปด้วย หมั่นดูอารมณ์ตนเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งตัวฟุ้งซ่านไปในอดีตธรรมและอนาคตธรรม หรือฟุ้งซ่านอยู่ในธรรมปัจจุบันก็ตาม ให้ดูให้เห็นชัดเจนในอารมณ์ตัวนี้ จักเห็นความทะยานอยากของจิต (ตัณหา ๓) ที่ตกเป็นทาสของกิเลส โกรธ - ขัดเคือง ราคะ - พอใจ หรือโลภและหลง จักบอกให้เห็นกับจิตที่คอยดูจิตนั่นแหละ จุดนั้นจึงจักเป็นเหตุให้หาทางแก้ไขอารมณ์ของจิตตนเองได้<O:p</O:p

    ๑๒. หากกายพักผ่อนไม่พอก็เป็นเหตุให้กายทรุดโทรม การเจริญพระกรรมฐานก็ไม่เป็นผล อันนี้เป็นโทษของการเบียดเบียนกาย เพราะฉะนั้น ให้คอยดูการพักผ่อนของกายให้เพียงพอไว้ด้วย สติ - สัมปชัญญะ การเจริญพระกรรมฐานให้ได้ผลดี จักต้องไม่เบียดเบียนทั้งกาย - วาจา - ใจ ในทางสายกลาง ไม่ตึงไป - ไม่หย่อนไป โดยใช้หลักตองพรหมวิหาร ๔ เป็นสำคัญ<O:p</O:p

    ๑๓. สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ วัดสามพระยา ท่านมรณภาพ เมื่อวันศุกร์ที่ ๑๖ ก.พ.๒๕๓๙ อายุของท่าน ๙๐ ปีกว่า นี่แหละคือความจริงของขันธ์ ๕ไม่มีใครเกิดแล้วไม่ตาย แต่ให้พึงศึกษาว่าท่านตายแต่ขันธ์ ๕ จิตของท่านไม่มีคำว่าเกิดคำว่าตายแล้ว ความดีใดๆ ที่ทำให้จิตของท่านไม่ตาย - ไม่เกิดอีก พวกเจ้าพึงสนใจจุดนั้นให้มาก สังโยชน์ ๑๐ ประการท่านละแล้ว จึงถึงซึ่งพระนิพพาน จุดนี้แหละที่พวกเจ้าพึงเจริญจิตให้เข้าถึงให้มาก เพราะเป็นหนทางพ้นทุกข์อย่างแท้จริง อีกองค์หนึ่งที่พวกเจ้าควรสนใจให้ มากคือปฏิปทาของหลวงปู่ทองเทศน์ ท่านละความโลภ ท่านมีเงินก็ทำบุญ สร้างโน้นทำนี่เป็นวิหารทานตลอดมา อารมณ์ท่านยึดเกาะแต่ความดี เรื่องศีล เรื่องธรรม จริยาวัตร เป็นที่มั่นคง อายุท่านกว่า ๙๐ ปี ยังอุตส่าห์ทำวัตรไม่ขาด ยกเว้นตอนกายป่วยไข้ไม่สบาย จิตท่านยึดเกาะท่านฤๅษีและพระนิพพานมาก จึงนับว่า เป็นพระตัวอย่างองค์หนึ่ง ซึ่งมีแต่คุณไม่มีโทษในพุทธศาสนา พวกเจ้า พึงสำรวจอารมณ์ของจิตตนเองไว้เสมอ อย่าให้บกพร่องในคุณภาพของกาย - วาจา - ใจ อย่างคำเทศน์ของท่านฤๅษีเมื่อวานนี้ที่ว่า พระอริยเจ้าท่านไม่ด่าคน ไม่นินทาคนอื่นด้วย จึงต้องสำรวมกาย - วาจา - ใจของตนเองเอาไว้ให้ดี (ใช้กรรมบถ ๑๐เป็นข้อวัตรปฏิบัติ) เพื่อให้หลุดพ้นจากโลกธรรมทั้งปวง จึงจักถึงซึ่งพระนิพพานได้<O:p</O:p

    ๑๔. ให้เห็นทุกข์ของการเกิด - แก่ - เจ็บ - ตายเป็นธรรมดาเข้าไว้ ไม่มีคน - สัตว์ตนใดจักหนีพ้นจากสภาพนี้ไปได้ นี่เป็นธรรมดาของร่างกาย มองคนอื่นเขาตาย จงน้อมเข้ามาถึงตนเองว่าสักวันหนึ่งความตายอย่างนี้ก็พึงเกิดขึ้นกับร่างกาย ของเราเองด้วย ให้เห็นเป็นธรรมดาของธาตุ ๔ อาการ ๓๒ เข้ามาประชุมกัน มีเกิดเป็นเบื้องต้น มีเสื่อมเป็นท่ามกลาง มีความตายในที่สุด คิดอยู่ให้รู้อยู่ จักได้ไม่ประมาทในชีวิต ความตายสามารถมีได้กับคนทุกวัย และมีสิทธิ์ที่จักตายได้ทุกเมื่อทุกขณะ ให้ ใช้เวลาที่เหลืออยู่ดูกิเลสที่คั่งค้างอยู่ หมั่นใช้ปัญญาพิจารณา และเพียรตัดซึ่งกิเลสนั้นอย่างเต็มความสามารถ หลวงปู่ไวย ท่านกล่าวไว้ว่า คนใกล้จะตาย ใจมันหวิวจะขาดไม่ขาด เหมือนลมพัดยอดไม้ ตรงนั้นแหละจิตจะต้องมีสติ - สัมปชัญญะกำหนดรู้เข้าไว้ว่าจิตเราจะไปไหน การเลี้ยงสัตว์แล้วสัตว์ตายไป จักเห็นตัวสัญญาที่เกาะติดสัตว์เลี้ยงนั้น เพราะความเคยชินในอายตนะสัมผัสในสัตว์เลี้ยงนั้น โดยเกาะในรูป - เสียงและสัมผัสในตัวสัตว์เลี้ยงนั้น พยายามแก้สัญญานั้นด้วยการพิจารณาลงตัวธรรมดาในสัทธรรม ๕ ของผู้มีขันธ์ ๕ ซึ่งมีเกิด - แก่ - เจ็บ - ตายเป็นธรรมดาเหมือนกันหมด ไม่ว่าคนหรือสัตว์ จิตมันก็ค่อยๆ คลายจากสัญญาเดิมได้ คลายอารมณ์อุปาทานขันธ์ ๕ ลงได้ตามลำดับ<O:p</O:p
    <O:p</O:p





    <CENTER>รวบ รวมโดย พล.ต.ท. นพ. สมศักดิ์ สืบสงวน</CENTER><CENTER></CENTER><CENTER>สามารถติดอ่านธรรมที่ไปนำไปสู่ความหลุดพ้นได้ที่</CENTER><CENTER>Frameset-9</CENTER>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 25 พฤษภาคม 2010
  2. นวกะ36

    นวกะ36 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กันยายน 2008
    โพสต์:
    222
    ค่าพลัง:
    +2,997
    สา...ธุ สา...ธุ สา...ธุ อนุโมทามิ
     
  3. fullmoonsun

    fullmoonsun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    735
    ค่าพลัง:
    +2,321
    Anumothana Sathu
     
  4. Phra Atipan

    Phra Atipan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    221
    ค่าพลัง:
    +1,301
    ขอบคุณสำหรับบทความดีๆเอามาให้ชาวแฟนคลับ เวปพลังจิต.com อ่านน่ะครับ

    ขออนุโมทนาบุญ สาธุ...สาธุ...สาธุ...
     
  5. chai8383

    chai8383 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    1,032
    ค่าพลัง:
    +6,348
    สาูธุครับ.................
     
  6. xanadu

    xanadu เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    153
    ค่าพลัง:
    +1,637
    SADHU!!!

    Thank you very much for this eye opening article.
    It is the battle "within the mind" which is the most fierceful.

    Thanks again.
     
  7. clearlove

    clearlove เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    273
    ค่าพลัง:
    +644
    ขออนุโมทนาสาธุ ทุกบุญกุศลบารมีและทุกท่านด้วยครับ
     
  8. ชนะ สิริไพโรจน์

    ชนะ สิริไพโรจน์ ทีมผูัดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    5,891
    กระทู้เรื่องเด่น:
    14
    ค่าพลัง:
    +35,260
    สาธุ ขออนุโมทนาเป็นอย่างสูงครับ
    เว็บทางนิพพาน เว็บไซด์ เผยแพร่ ธรรมที่นำไปสู่ความหลุดพ้น<O:p< font O:p<>
    ที่รวบรวมโดย พล.ต.ท.นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน<O:p< font O:p<>
    ขอเชิญทุกท่านเข้าไปอ่านได้ที่

    www.tangnipparn.com<O:p< p O:p<>
    <?XML:NAMESPACE PREFIX = O /><O:p>ขอเชิญแวะเยี่ยมชมและโมทนาบุญเว็บศูนย์พุทธศรัทธา



    [​IMG]</O:p>
    </O:p<>
    </O:p<>
    </O:p<>
     
  9. มาพบพระ

    มาพบพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    643
    ค่าพลัง:
    +1,973
    ธรรมของพระพุทธองค์เป็นธรรมแท้ ผู้ปฏิบัติเข้าถึงแล้วย่อมเป็นปัจจัตตัง ธรรมที่พระพุทธองค์แสดงเป็นอกาลิโก สาธุ สาธุ สาธุ
     
  10. เขื่อน

    เขื่อน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    24
    ค่าพลัง:
    +100
    อนุโมทนาสาธุ ธรรมใดพ่อเห็นขอลูกเห็นธรรมนั้นด้วยเถิด
     

แชร์หน้านี้

Loading...