ดูจิตที่รู้เห็นผิดจากความเป็นจริง เพราะดูแต่จิตสังขาร

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ธรรมภูต, 25 เมษายน 2010.

  1. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    การดูจิตที่รู้เห็นตามความเป็นจริง ย่อมต่างกับการดูจิตที่รู้เห็นผิดไปจากความเป็นจริง

    ดังที่เคยจั่วหัวเรื่องไปแล้วว่า การรู้จักจิตผิดๆนั้น ทำให้การศึกษาพระพุทธศาสนาผิดไปตลอดแนว เปรียบเหมือนการติดกระดุมเสื้อเม็ดแรกผิด ย่อมทำให้ติดเม็ดอื่นผิดตามไปด้วยตลอดแนวเช่นกัน ฉันใดก็ฉันนั้น

    เพราะรู้จักจิตผิดไปจากความเป็นจริงนั่นเอง ไม่ใช่ไม่รู้จักจิต แต่เป็นเพราะรู้จักจิตแบบผิดๆ เข้าใจว่าจิตเป็นตัวทุกข์ โดยเห็นการที่จิตแสดงอาการตอบสนองต่ออารมณ์เหล่านั้นว่าเป็นจิตตนเอง

    ซึ่งแท้จริงแล้วเป็นเพียงจิตสังขาร คือจิตผสมปรุงแต่งกับอารมณ์เหล่านั้นเรียบร้อย จนมีอาการของจิตแสดงออกมาให้เห็นทางร่างกายและจิตใจแล้ว โดยเจ้าตัวจะรู้เห็นได้เองอย่างชัดเจน ต่อเมื่ออารมณ์เหล่านั้นผ่านพ้นไปแล้วและตนเองนำกลับมาพิจารณาอีกที

    แต่บางท่านที่เคยผ่านการปฏิบัติสมาธิกรรมฐานภาวนามาบ้างนั้น ก็สามารถที่จะยับยั้งอารมณ์ที่กำลังคุกรุ่นอยู่นั้นให้บรรเทาเบาบางลงได้ ไม่ว่าจะโดยวิธีการกดข่ม(ใหม่ๆ) หรือรู้จักวิธีสลัด(สละ)อารมณ์ออกไปจากจิตได้ก็ตามที

    ก็เพราะล้วนแล้วแต่ต้องรู้เห็นตามความเป็นจริงว่า การที่มีอารมณ์เหล่านั้นมาคุกรุ่นอยู่ที่จิตได้นั้น ไม่ใช่ว่าอารมณ์เหล่านั้นมีขึ้นมาได้เอง แต่เพราะเนื่องจากจิตนั่นเอง ที่เป็นผู้ออกไปรับเอาอารมณ์เหล่านั้นเข้ามาเป็นของๆจิต แต่ทำไมถึงไม่เป็นอารมณ์ของบางคนหละ?

    เนื่องจากจิตสามัญสัตว์โลกนั้น ล้วนแล้วแต่ยังโง่เขลาเบาปัญญา ยังมีความยึดมั่นถือมั่น ณ.ภายในจิต อารมณ์ทั้งหลาย รูป เสียง กลิ่น รส กายสัมผัส ธรรมารมณ์ และอาการของจิต ซึ่งก็คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่จิตเองได้สะสมสั่งสมอบรมมานานแล้วไม่รู้กี่ภพ กี่ชาติ ทำให้จิตมีความยึดมั่นถือมั่น ณ.ภายในจิตขึ้นมาอย่างเหนียวแน่น เพราะจิตไม่รู้เห็นตามความเป็นจริงนั่นเอง จึงได้สั่งสมอบรมความยึดมั่นถือมั่นเหล่านั้นเข้ามา โดยไม่รู้ตัว

    โดยความเป็นจริงแล้ว คนส่วนใหญ่ที่ไม่ได้ฝึกฝนอบรมการปฏิบัติสมาธิกรรมฐานภาวนามานั้น จะรู้สึกตัวก็ต่อเมื่อจิตได้รับการผสมกับอารมณ์ที่รัก ชอบ ชังนั้นแล้ว จะรู้สึกตัวช้าหรือเร็ว ก็ขึ้นอยู่กับความคุ้นชินที่เคยตั้งเจตนาไว้ก่อนกับอารมณ์เหล่านั้น ซึ่งแต่ละคนจะมีความสามารถในการรู้สึกตัวต่ออารมณ์ที่แตกต่างกันออกไป ตามแต่จริตนิสัยที่ตนเองสั่งสมอบรมมาแต่เก่าก่อน

    (มีต่อ)

     
  2. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    (ต่อ)

    บางพวกที่ได้รับการสั่งสอนอบรมให้ดูจิตโดยเริ่มต้นที่ฐานจิตเลยนั้น ส่วนใหญ่แล้วจะรู้สึกว่า(ความรู้สึก ยังเชื่อถือไม่ได้) ดีขึ้น เพราะรู้เห็นอาการของจิตที่เกิดขึ้นในแต่ละขณะได้เร็วขึ้นนั้น ซึ่งโดยความเป็นจริงแล้ว ใครก็ตามที่ได้รับการฝึกฝนอบรมการสำรวมอินทรีย์มาก่อนแล้ว ย่อมเข้าใจได้ดี

    เพราะเมื่อเราระวังรักษาสำรวมกาย วาจา ใจ ด้วยความต่อเนื่องเนืองๆมาก่อน ก็เป็นธรรมดาอยู่เองที่ทำให้เราจดจำและรู้จักอารมณ์เหล่านั้นได้ดีขึ้น แต่การที่จะสลัด สละอารมณ์ออกไปจากจิตให้ได้นั้น ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก ที่ต้องได้รับการฝึกฝนอบรมภาวนา "พุทโธ" เพื่อสั่งสมสัมมาสติให้เจริญขึ้นที่จิต คือ ฝึกให้จิตมีความชำนาญในการสลัด สละ ปล่อยวางอารมณ์ต่างๆพร้อมความยึดมั่นถือทั้งหลาย ณ.ภายในจิตออกไปจากจิต จนกระทั่งจิตอุเบกขาวางเฉยต่ออารมณ์ต่างๆเหล่านั้นได้จริง

    ซึ่งจะเกิดขึ้นได้นั้น ต้องลงมือปฏิบัติสมาธิกรรมฐานภาวนา "พุทโธ" อันเป็นการฝึกสร้างสัมมาสติให้เกิดขึ้นที่จิตนั่นเอง ซึ่งต้องเริ่มต้นจากการฝึกฝนอบรมปฏิบัติสมาธิกรรมฐานภาวนา "พุทโธ" ที่ฐานกายก่อน เพื่อให้จิตเข้าถึงกายในกาย

    กล่าวคือ เมื่อจิตไปรู้ที่ส่วนไหนของฐานกายก็ตาม รู้อยู่ที่ไหนจิตย่อมอยู่ที่นั้นเสมอ เป็นการฝึกให้เกิดฐานที่ตั้งของสติให้สำเร็จก่อน (สัมมาสติ)

    เมื่อสามารถสร้างสัมมาสติให้เกิดขึ้นที่จิตได้แล้ว จิตย่อมรู้เห็นตามความเป็นจริงและมองเห็นตนเองที่ซ้อนอยู่ ณ.ภายในกายนี้ได้อย่างชัดเจน เป็นธรรมอันเอกที่ผุดขึ้นมาให้เห็น และจิตก็จะเข้าถึง เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรมโดยปริยาย

    เมื่อฝึกฝนจนชำนาญเป็นวสีดีแล้ว จิตจะรู้อยู่ที่ฐานไหนก็เช่นเดียวกัน แต่ใหม่ๆ ที่ยังไม่รู้เห็นตามความเป็นจริงนั้น ต้องเริ่มต้นที่ฐานกายเพื่อจะได้เข้าถึงจิตที่แท้จริง(กายในกาย) เป็นการสร้างสัมมาสติให้เกิดขึ้นที่จิต

    ที่ว่าจิตรู้เห็นตามความเป็นจริงนั้น ก็คือ จิตจะเห็นอาการของจิตที่หวั่นไหวไปตามอารมณ์ต่างๆและความยึดมั่นถือมั่น ณ.ภายในจิตได้อย่างชัดเจน และมีกำลังสติ สมาธิ มากพอที่จะสลัด สละ ปล่อยวางอารมณ์ต่างๆและความยึดมั่นถือมั่น ณ.ภายในจิตออกไปจากจิตตามกำลังของสติ สมาธิ ที่ได้รับการอบรมสั่งสมมา

    จิตจะอุเบกขาวางเฉยต่ออารมณ์ต่างๆและความยึดมั่นถือมั่นได้มากน้อยนั้น ขึ้นอยู่กับกำลังสติ สมาธิเช่นกัน จิตสามารถสลัด สละ ปล่อยวางอารมณ์ออกไปจากจิตได้เท่าใด จิตก็จะอุเบกขาวางเฉยต่ออารมณ์ได้เท่านั้น

    (มีต่อ)
     
  3. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    (ต่อ)

    คำสอนของพ่อแม่ครูบาอาจารย์หลวงปู่สิงห์ ขันตยาคโม ก็กล่าวไว้ชัดเจนแล้วนะครับ ในหนังสือพระไตรสรณคมน์และสมาธิวิธี โดย พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม

    กำหนดจำเพาะจิตผู้รู้ เพ่งพินิจพิจารณาให้เห็นพื้นแผ่นดินกว้างใหญ่ เป็นที่อาศัยของสัตว์ทั้งโลก(ผู้ข้องในอารมณ์) ก็ยังต้องฉิบหายด้วยน้ำ ด้วยลม ด้วยไฟ ยกวิปัสสนาละลายแผ่นดินนี้เสียให้เห็นเป็นสภาวธรรม เพียงสักว่าเกิดขึ้นแล้วก็ดับไปเท่านั้น รวบรวมเอาแต่จิตคือผู้รู้ ตั้งไว้ให้เป็นเอกจิต เอกธรรม สงบนิ่งแน่วอยู่ และวางลงเป็นอุเบกขาเฉยอยู่กับที่ คราวนี้จะแลเห็นจิตนั้นแจ่มแจ้งยิ่งขึ้นทีเดียว ก้าวล่วงจากนิมิตได้ดี มีกำลังให้แลเห็นอำนาจอานิสงส์ของจิตที่ได้ฝึกหัดสมาธิมาเพียงชั้นนี้ ก็พอมีศรัทธาเชื่อในของตนในการที่จะกระทำความเพียรยิ่งๆ ขึ้นไป


    ฉะนั้นเราพอสรุปได้ไม่ยากว่า จิตไม่ใช่ตัวทุกข์หรือกองทุกข์เลย แต่ที่จิตเป็นสุขหรือเป็นทุกข์ไปนั้น เนื่องจากอารมณ์ต่างๆภายนอกหรือธรรมารมณ์ ณ.ภายในจิต ที่เกิดผัสสะให้จิตแสดงอาการสนองตอบต่ออารมณ์ต่างๆเหล่านั้น ไม่ใช่เป็นที่ตัวจิตเอง แต่เป็นที่อาการของจิตที่แสดงออกมาให้เห็นในการสนองตอบต่ออารมณ์นั้นๆ

    ถ้าเราฝึกฝนอบรมจิตจนกระทั่งสามารถอุเบกขาวางเฉยต่ออารมณ์ต่างๆและความยึดมั่นถือมั่น ณ.ภายในจิตได้ จิตก็จะไม่สุข ไม่ทุกข์ไปตามสิ่งที่เกิดผัสสะเหล่านั้นนั่นเอง

    เรื่องจิตจึงเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในพระพุทธศาสนา ที่พวกเราต้องศึกษาให้เข้าใจ และปฏิบัติตามรอยพระบาทองค์สมเด็จพระพุทธชินวร บรมศาสดา

    พระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ทรงกล่าวไว้ชัดเจนว่า
    “สจิตปริโยทปนัง เอตังพุทธานสาสนัง การชำระจิตให้บริสุทธิ์หมดจดจากเครื่องเศร้าหมอง นี้เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลายทุกๆพระองค์”

    ธรรมภูต

    ;aa24
     
  4. ธรรมะสวนัง

    ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,255
    ขอร่วมแจมค่ะ
    พี่ธรรมภูตโพสเรื่องนี้ไว้ในบล็อก ดูจิตที่รู้เห็นผิดจากความเป็นจริง เพราะดูแต่จิตสังขาร

    มีคนเข้ามาคอมเม้นท์ว่า
    สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ การปล่อยวาง ละซึ่งทุกๆ อย่าง ขั้นสูงๆของพระอรหันต์นั้น แม้แต่จิตก็ยังต้องละค่ะ
    และคงเหลือแต่ความไม่รับรู้ในจิต จึงนำไปสู่นิพพานนั่นเอ


    ก็ขออนุญาตตอบคอมเม้นท์นี้ ที่นี่ค่ะ ระหว่างพี่ธรรมภูตยังไม่มา
    เพราะหลายคนที่นี่ก็มีคคหเหมือนคอมเม้นท์นี้

    สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ
    เราต้องฝึกฝนอบรมจิต โดยการปฏิบัติสมาธิกรรมฐานภาวนา
    โดยประกอบสัมมาสมาธิ ควบคู่ไปกับสัมมาสติ และสัมมาวายามะ
    จนจิตสงบตั้งมั่นเป็นสมาธิ

    เมื่อจิตสงบตั้งมั่นเป็นสมาธิแล้ว จิตก็จะเกิดปัญญารู้เห็นตามความเป็นจริง
    จิตจะรู้ว่า ขันธ์ ๕ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
    เมื่อจิตยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ ๕ จิตก็แปรปรวนตามขันธ์ ๕ ที่แปรปรวนไป
    การปฏิบัติสมาธิกรรมฐานภาวนาเป็นการนำจิตกลับเข้ามาสงบตั้งมั่นที่ฐาน(สติปัฏฐาน)
    จิตปล่อยวางการยึดถือขันธ์ ๕ จิตไม่แปรปรวนตามขันธ์ ๕ ที่แปรปรวนไปได้

    ส่วนพระอรหันต์นั้น พูดให้ชัดเจน จิตที่ท่านละคือจิตสังขาร (การปรุงแต่งไปตามอารมณ์ฺของจิต)
    พระพุทธองค์ทรงกล่าวไว้เองชัดเจนว่า
    จิตของเราสิ้นการปรุงแต่ง
    (จิตเป็นวิสังขาร -ไม่ปรุงแต่งเป็นจิตสังขารแล้ว)
    บรรลุพระนิพพานเพราะสิ้นตัณหาแล้ว

    ทรงตรัสให้รู้ว่า ทรงบรรลุพระนิพพาน
    ความก็ชัดเจนว่า ทรงรู้อยู่
    ถ้าไม่รู้หรือไม่รับรู้ จะทรงบอกได้อย่างไรว่าบรรลุพระนิพพาน


    ส่วนที่ว่าความไม่รับรู้ในจิตนั้น ขอขยายความให้ชัดเจนว่า
    ไม่ใช่ไม่รับรู้ จิตรู้ แต่ไม่รับเอาอารมณ์ต่างๆเข้ามาปรุงแต่ง ณ ภายในจิตต่างหาก

    (smile)
     
  5. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,240
    กระทู้เรื่องเด่น:
    54
    ค่าพลัง:
    +4,023

    ถ้าจิตเป็นตัวทุกข์ และกองทุกข์ จะพึงทำให้เกิดให้มีสติรักษาจิตทำไม .....
    เพียรเพ่งแผดเผากิเลสเพื่อสิ่งใด ......

    อยากฟังทัศนะท่านที่เห็นจิตเป็นตัวทุกข์ เป็นกองทุกข์ ชี้แนะด้วยครับ เพื่อปรับทิฐิให้ถูกให้ตรงต่อไป ....
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 25 เมษายน 2010
  6. บุคคลทั่วไป 3 คน

    บุคคลทั่วไป 3 คน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,938
    ค่าพลัง:
    +1,253
    การอุปมาเริ่มด้วย จิตเป็นขันธ์ โดยพระป่า

    เกริ่นด้วยคำว่า "ถ้าเห็นจิต..." อันนี้ถ้าพูดเสียใหม่ คือ ถ้าเป็นนักดูจิต จะพิจารณา
    ที่จิตเข้ามาเป็นหลักเริ่มต้น เห็นจิตไปตรงๆ ... ก็จะเห็นว่าว่า จะสมมติให้เป็นขันธ์
    แล้วค่อยๆแจงออก ให้เห็นเป็นส่วนนาม4 แล้ววิธีการปฏิบัตคือ ทำสติตวามความรู้สึก
    จับได้แล้ว ก็จะค่อยๆ แยกออก หมุนธรรมจักรออก ลองทัศนา ....

    แต่ต้องไม่ลืมว่า ปริยัติเป็นส่วนสมมติ ที่ยกขึ้น เพื่อใช้อธิบายวิธีการปฏิบัติ ดังนั้นการ
    อ่าน จะต้องอ่านให้เข้าถึง การปฏิบัติ ต้องให้เข้าใจการนำออกไปปฏิบัติ

    จากความข้างต้น สิ่งที่ต้องทำความเข้าใจเพิ่มเติมหลังจาก อุปมา "จิตเป็นขันธ์" แล้ว
    คือการ "หมุนจักร(ลพ.สงบ)" "แยกรูปถอด(ลป.ดูลย์)" "วิภัชวิธี(อภิธรรมปิฏก)"
    "แยกรูปแยกนามพิจารณาที่ขันธ์5(พระสังฆราชฯ)"

    การหมุนจักร หรือ หมุนธรรมจักร คือ กองปัญญา การใช้ ปัญญาอบรมสมาธิ หรือ การ
    ยกวิปัสสนา(ใช้คำว่า การยก เพราะถือว่า วิปัสสนาญาณยังไม่เกิด) วิธีการยก หรือหมุน
    ทำอย่างไร

    ก็อ่านดู

    จะเห็นว่า การย้อนกลับเข้ามานั้น หรือ ใช้ปัญญาอมรมสมาธิเข้ามานั้น นอกจากจะแยก
    ขันธ์5ออกไปเป็นกองๆ ได้ และพอแยกขันธ์5ออกเป็นกองได้ ก็จะเกิด การรวมของจิต
    คู่กันไปด้วย(เกิดสมาธิ) จึงเรียกปัญญาอบรวมสมาธิ แต่พอเกิดสมาธิแล้วจิตก็จะผลิกไป
    ทำสมถะคือไปรู้ไปเห็นอนาคต หรือ อดีต

    พอไปเห็นอนาคตก็จะทราบว่า เป็นสิ่งที่ยังมาไม่ถึง ก็จะละออกด้วยสติปัญญาที่รู้ทัน

    พอไปเห็นอดีตก็จะทราบว่า ตนทำมาแล้วแค่ไหน หากทำมาน้อย การที่วิปัสสนาลง
    มานั้นวิปัสสนาล้วนๆไปอย่างนี้ จะแห้งแล้ง คือ จิตขาดกำลังในการเห็น แต่ใช่ว่าจะ
    ทำต่อไปไม่ได้ บางท่านมีจริตที่จะวิปัสสนาไปด้วยความกล้าของปัญญาก็ยกวิปัสสนา
    ไปทั้งๆที่รู้อยู่แก่ใจว่าแห้งแล้ง ก็ทำได้ ไม่ใช่แห้งแล้งแล้วแปลว่า ทำไม่ได้

    และเมื่อทำได้แล้วก็จะละสมมติอุปมา "จิตเป็นขันธ์" ลงได้ เพราะรู้แล้วว่า ขันธ์5
    ทำงานอย่างไร แยกออกเป็นกองอย่างไร แล้วมันออกมาจากอะไร ติดกับอะไร
    ก็จะทวนเข้าไปเห็นสิ่งที่เรียกว่า จิต ตามจริงได้

    ส่วนพวกที่ไม่มีความกล้าทางปัญญาพอ ก็เป็นพวกรักสุขรักสบายเป็นตัณหาจริต ก็จะ
    ทนไม่ได้ในความแห้งแล้วนั้น ก็จะออกดิ้นรนทำสมาธิมำสมถะเก็บตุนไว้ จึงเรียกว่า
    เป็นทุกขาปฏิปทาคล้อยตามความอยากไปก่อน เพราะรักสุขรักสบาย..ปัญญาไม่กล้าพอ

    * * * * *

    ปล. ตอนนี้ พวกกบฏศาสนาได้เข้าตีสนิทพระป่า และเริ่มกระบวนการบิดเบือนคำสอน
    ของพระป่าเป็นลำดับถัดไป ก็เรียกว่า ผลงานของเขาได้ก้าวหน้าขึ้นอย่างเป็นลำดับ
    จากการเริ่มบ่อนทำลายคำสอนเชิงอภิธรรมปิฏกลงได้ ก็เริ่มเข้าสู่การทำลายพระป่าต่อ
    ไป โดยจะคอยๆ ยกคำสอน ตัดแปะ สอดไส้ไปเรื่อยๆ จนกระทั้งผู้หลงเชื่อเริ่มแยกแยะ
    อะไรไม่ได้ เริ่มไม่รู้วิธีการเผ้นหาวิธีปฏิบัติจากปริยัติอุบายสมมติ ที่พระทั้งหลายได้ให้
    ไว้ด้วยความปริเฉท(จากประสบการณ์การปฏิบัติ)

    เมื่อไหร่ก็ตามที่ นักปฏิบัติเริ่มตีความสั้นลง ตัดทอนอุบายธรรมต่างๆออกไป โดยโดน
    การยึดตัวอักขระมาบังปฏิภาณ เมื่อนั้น กิจสุดท้ายคือ การตัดทำลายพระไตรปิฏกไป
    เป็นจำนวนมาก เพื่อให้เหลือแต่ที่สอดคล้องกับหลักศาสนาพรหมันต์ อาตมันต์ของพราหมณ์เท่านั้น

    คือ เหลือแต่เรื่องสมาธิ เรื่องกายใน(เห็นแต่ไม่ยกทำลาย) ทำเพื่อยึด ทำเพื่อเป็น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 เมษายน 2010
  7. บุคคลทั่วไป 3 คน

    บุคคลทั่วไป 3 คน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,938
    ค่าพลัง:
    +1,253
    ย้ำว่า

    วิธีการปฏิบัติ ที่เรียกว่า แห้งแล้ง หรือ วิปัสสนาล้วนๆ นั้น ในศาสนาพุทธ มี!!

    และแม้จะมีสาวกหลายประเภท แต่ ไม่มี สาวกท่านใดปฏิเสธโดยดุษฏีว่า การ
    "ปฏิบัติแบบแห้งแล้งไม่มี"

    ตรงนี้ ขอให้ลองใช้เป็นอุบายธรรมอย่างหนึ่ง ในการ ยกขึ้นถาม พวกกบฏศาสนา
    ที่แทรกซึมเข้ามา เมื่อถามแล้ว ให้ตายยังไงพวกกบฏศาสนาก็ต้องพูดกึ่งปฏิเสธ

    เพียงแค่มีจิตกึ่งปฏิเสธ แค่นี้ก็จำแนกจิตที่เป็นเดียรถีย์ได้แล้ว
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 เมษายน 2010
  8. สับสน!

    สับสน! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2010
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +3,984
     
  9. สับสน!

    สับสน! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2010
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +3,984
    ที่ผมอ่าน...ของ จขกท.. สรุปๆสั้นๆว่า " คนธรรมดา ไม่มีสมาธิจะเห็นแต่สังขารจิต ชอบ ชัง รัก โกรธ...นั่นเพราะจิตเสวยอารมณ์เข้าไปแล้วเต็มที่
    หากจิตเห็นจิตจริง(สติ) จิตเขาจะดูเฉยๆ..รู้.. แต่ไม่ไปรับเอาอารมณ์ที่จรเข้ามา ปรุงเป็นสังขารขึ้นบนจิต"
    เข้าใจรึยัง เล่าปัง
     
  10. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,240
    กระทู้เรื่องเด่น:
    54
    ค่าพลัง:
    +4,023
  11. บรมบรรพต

    บรมบรรพต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    67
    ค่าพลัง:
    +245
    พระพุทธเจ้าไม่เคยสอนว่าจิตไม่ใช่ตัวตนของเรา
    พระสารีบุตร:-ท่านยมกะเราได้ยินว่าท่านกล่าวถ้อยคำอันลามกว่าพระอรหันต์ตายแล้วขาดสูญหรือ เธอเห็นว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นเช่นใด

    คือพระอริยะเจ้าท่านก็ไม่ใช้คำว่าจิตครับ ท่านจะใช้ว่า ขันธ์ ๕ เท่านั้นเองแล้วพระอรหันต์ตายแล้วก็ไม่สูญอีกต่างหากเห็นไหมครับ
     
  12. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,462
    ค่าพลัง:
    +1,137
    จิตที่หลุดพ้นไม่ใช่กองขันธ์ สภาวะนั้นเราเรียกนิโรท จึงไม่เรียกว่าจิตเป็นกองทุขท่าจิตเป้นนิโรท
    แต่ท่าจิตที่มีอวิชาเป็นทุข เพราะอวิชาเป็นเชื้อก่อไห้เกิดขันธ์ กองขันธ์เหล่านั้นเป้นกองทุข
    ขันธ์เป็นกองทุขเพราะมีอวิชา รุปและนามที่เกิดขึ้นเป็นกองทุขเพราะอวิชาทำไห้หลงยึดว่าเป็นเรา ที่ทุขเพราะทนอยู่ไม่ได้เกิดขึ้นตั้งอยุ่และดับไปเท่านั้นไม่เที่ยงแท้ รู้ได้อย่างไรว่าเป็นเช่นนั้นต้องใช้สติดูที่กองขันธ์จะรู้ทันทีว่ามันไม่เที่ยง

    1 ถ้าจิตเป็นตัวทุกข์ และกองทุกข์ จะพึงทำให้เกิดให้มีสติรักษาจิตทำไม .....
    เพื่อให้รู้ถึง อนิจจัง ทุขขัง และอนัตตา ในกอง ขันธ์เหล่านี้

    2เพียรเพ่งแผดเผากิเลสเพื่อสิ่งใด ......
    เพื่อคลายความยึดมั่นถือมั่นหรืออัตตา

    อนุโมทนา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 เมษายน 2010
  13. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,240
    กระทู้เรื่องเด่น:
    54
    ค่าพลัง:
    +4,023

    1 ถ้าจิตไม่ได้เป็นตัวทุกข์ และไม่ได้เป็นกองทุกข์ จะพึงทำให้เกิดให้มีสติรักษาจิตทำไม .....
    2 เพียรเพ่งแผดเผากิเลสเพื่อสิ่งใด ......


    3 พระอริยะเจ้าเห็นจิตเหมือนกับปุถุชนหรือไม่


    ขอทราบความคิดเห็น และขอฟังทัศนะท่านที่เห็นจิตเป็นตัวทุกข์ เป็นกองทุกข์ และท่านที่เห็นจิตไม่ได้เป็นตัวทุกข์ ไม่เป็นกองทุกข์ ชี้แนะด้วยครับ เพื่อปรับทิฐิให้ถูกให้ตรงต่อไป ....
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 25 เมษายน 2010
  14. บรมบรรพต

    บรมบรรพต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    67
    ค่าพลัง:
    +245
    คือว่า จิตมีความ โลภ โกรธ หลง และจิตไม่มีความโลภ โกรธ หลง จิตกับความโกรธ ไม่ใช่ตัวเดียวกันครับ เป็นอาการที่เรียกเท่านั้น

    แล้วก็จิตหลุดพ้น จิตหลุดพ้นมันก็ไม่ทุกข์แล้วครับ

    การที่จะพิจารณ์ไตรลักษณ์นั้น ควรใช้คำว่า ขันธ์ ๕ เท่านั้นจะดีที่สุดครับ อย่าไปใช้ว่าจิต
     
  15. 2ชาติตรัสรู้

    2ชาติตรัสรู้ គ្រប់គ្រាន់ รักษาดวงใจ.គ្រប់គ្រាន់

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,696
    ค่าพลัง:
    +1,558
  16. โป

    โป เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    183
    ค่าพลัง:
    +256
    ยังมี....ผู้ที่มองเห็น พวกยึดอาตมัน...เข้ามาบิดเบือนสัจธรรมแท้ของศาสนาพุทธ

    มองดูง่ายๆ...ครับ พวกยึดอาตมัน ปฏิบัติเพื่อความยึดมั่นถือมั่นเพื่อความสุขของตนเอง

    หาใช่เพื่อความเบื่อหน่ายคลายกำหนัด...ปลงปล่อยวางตามลำดับตามคำสอนของศาสนาพุทธเรา...ไม่
     
  17. 2ชาติตรัสรู้

    2ชาติตรัสรู้ គ្រប់គ្រាន់ รักษาดวงใจ.គ្រប់គ្រាន់

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,696
    ค่าพลัง:
    +1,558
    คนที่ยึดว่าจิตเป็นเรา อันนี้ผิดจากสัจธรรมแท้ ผิดจากคำสอนของพระพุทธเจ้าใช่ใหม

    แล้วคิดว่าคนที่เขายึดว่าจิตเป็นเราเขาไม่รู้หรือว่าสุดท้ายก็ต้องละวางจิต
    แต่ถ้าเขาจะพูดให้จิตเป็นเราไว้ก่อน ตรงตามความเห็นที่มีของเขา ไม่ใช่ตรงถูกตามตำราท่องตามตำราแล้วมาบอกว่านี้ฉันมีความเห็นถูกฉันสัมมาทิฐิ..ที่จริงต้องเรียกว่ามีความจำถูกตะหาก เพราะความเห็นนั้นมันยังไม่มีในคนที่พร่ำเพ้อว่าเราไม่มี จิตก็ไม่ใช่เราแต่พูดเอาตามตำรา ตามพระพุทธเจ้า พระอรหันต์ ที่ท่านมีความเห็นอย่างนั้นจริงๆแล้วท่านพูด แต่บางคนมันไม่มี คือมันก็ยังยึดจิตเป็นตัวมันนั่นหละ แต่ดันบอกว่าไม่ใช่เรา อะไรอะไรก็ไม่ใช่เรา ท่องไปตั้งแต่เริ่มปฏิบัติ อะไรๆก็ไม่ใช่เรา เราแค่รู้อย่างเดียว พอทุกข์มา เอ้า ใครมันทุกข์หว่า...ไม่มีที่มาที่ไปเลย
    ถ้าความเห็นว่าเราไม่ใช่จิตยังไม่เกิดไม่มีจริงในตน
    ก็ไม่ต้องพูดติเตียนคนอื่นให้มันบ่อยนักหรอก
     
  18. บุคคลทั่วไป 3 คน

    บุคคลทั่วไป 3 คน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,938
    ค่าพลัง:
    +1,253
    แล้วทำไมไม่คิดกลับด้านมั่งหละ

    หาก การปรารภว่า จิตไม่ใช่เรา มันก็คือการฝึก ก็แล้วคนเขาจะฝึกไป
    แบบนี้ มันผิดตรงไหนหละ เขาเรียกว่า มนสิการธรรม เคยได้ยินไหม

    ไม่เคยได้ยินก็แบบนี้ก็ได้ บริหาร ไง เคยได้ยินใช่ไหม ไปฟังมาสอง
    รู้หูแล้วนี่ บริหารกรรม ย่นย่อลงมาก็ บริกรรม

    พวกคุณเริ่มแรกมา ก็ พุท-โธ แล้ว จิตคุณมันลงพุธ-โธ เลยหรือไง

    ก็ยังใช่ไหม ปฏิบัติไป จนกระทั่ง เกิดจิตตื่น เกิดธรรมเอก ก็อุปมา
    อุปมัยจิตตื่นนั้นว่า พุท-โธ แล้วพวกคุณบริกรรมเป็นวรรคเป็นเวร
    บริกรรมไม่ขาดสายตั้งแต่เช้ายันค่ำ บอกตัวเองว่ามีจิต พุท-โธ
    ทุกเมื่อเชื่อเวลามากกว่าเราอีก

    ก็เหมือนกันไง

    เราก็ใช้คำ บริกรรมว่า จิตไม่ใช่เรา เอาคำนี้มาบริกรรมแทนคำว่า
    พุท-โธ ไงครับ ต่างกันตรงไหนหละ บริกรรมไปจนกว่าจิตจะตื่น
    พอจิตตื่น ทางผมเรียกว่า เห็นจิตไม่ใช่เรา มันเกิดไง ก็เหมือนคุณ
    ไงที่อุปมาว่า มีจิตพุท-โธ แต่เราบริกรรมเล่นๆ บอกว่าจิตไม่ใช่เรา
    ก็จริง แต่บริกรรมเล่นๆ บริกรรมเฉพาะที่สมควรแก่ธรรม หรือเฉพาะ
    ที่เล็งเห็นองค์ธรรม ไม่ใช่บริกรรมพร่ำเพื่ออย่างคนสกดจิตซะเมื่อไหร่

    แล้วถ้าไม่เอาแบบ เทียบเคียง รับไม่ได้ ติดคำศัพท์ ติดศรัทธาหน้า
    มืดแยกแยะองค์ธรรมไม่ออก

    ก็มองไปอีกมุมซี ว่า เราบริกรรม จิตไม่ใช่เรานี้ แล้วคุณก็รับรู้ไปสิ
    ว่า เรายังไม่เห็นจิตไม่ใช่เราหลอก ก็คล้ายๆที่คุณ ยอมรับว่าจิตเป็น
    เราอยู่ไง เรียกว่า เสมอกันนั้นแหละ

    แล้วสุดท้าย คุณบอกผมใช่ไหมว่า ยอมรับว่า สุดท้ายต้องเล็งเห็น
    ว่าจิตไม่ใช่เราขึ้นมาสักวันหนึ่ง แล้วไงหละ ก็มาเท่ากันกับเราที่
    สมาทานมาแต่ต้น เรียกว่า มาตามก้นกันทีหลัง

    ก็แล้วไง ทำไมไม่ยอมรับไปหละว่า ปัญญายังไม่มี ศรัทธาไม่กล้า
    พอ ศรัทธามันไปมีปัญญาประกอบพอ เลยต้องอาศัยศรัทธาหน้า
    มืดงมไปก่อน จนกระทั้งมายอมสมาทาน จิตไม่ใช่เรา ที่เราพร่ำ
    สอนกันอยู่ภายหลัง ก็ยอมรับไปซีว่า เราก้าวหน้ากว่า

    แล้วมันจะอะไรนักหนากับการที่เราจะชัดชวนว่า เห้ย เดินมาข้างหน้านี่
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 เมษายน 2010
  19. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    น้องเล่าปัง ข้อความข้างบนนี้ถูกใจพี่ภูตจริงๆ
    ปัจจุบันนี้มีกบฏศาสนา ที่พยายามเข้าไปตีสนิทพ่อแม่ครูบาอาจารย์สายปฏิบัติพระป่า
    และก็เริ่มขบวนการบิดเบือนคำสอนของพ่อแม่ครูบาอาจารย์สายพระป่าเป็นลำดับถัดไป
    ใหม่ๆนั้นมักแอบอ้างว่า ท่านพ่อแม่ครูบาอาจารย์สายปฏิบัติรับรองให้กบฏศาสนาคนนี้เป็นพระอริยะแล้ว

    ทั้งๆที่เรื่องที่เล่าให้สานุศิษย์ของตัวเองฟัง แต่ละครั้งไม่เคยตรงกันเลย
    ในเรื่องวันเวลาที่ตนเองได้อริยะจากการฝันกลางวัน

    น้องเล่าปังเรื่องทำลายพระอภิธรรมนั้น ไม่มีใครทำลายได้หรอก
    สิ่งที่จะทำลายพระอภิธรรมลงได้นั้นก็คือตัวอภิธรรมเองนั่นแหละที่กล่าวไว้ไม่ตรงกับพระสูตร

    ซึ่งท่านพระอรรถกถาจารย์ท่านเองก็ได้รจนาไว้เพื่อให้เกิดความถูกต้องว่า
    เมื่อเกิดความขัดแย้งกันขึ้นมาให้เชื่อพระสุตตะหรือพระสูตรนั่นเอง
    ใครไม่เชื่อถือว่าไม่เชื่อพระพุทธเจ้าเช่นกัน

    จะเอาหลักฐานบอกได้นะน้องเล่าปัง พี่ภูตจะลงให้

    ถ้าน้องเล่าปังมีประสบการณ์จริงจากการปฏิบัติ
    น้องเล่าปังก็ไม่ต้องให้พี่ภูตเสียเวลาขนาดนี้หรอก
    แค่เรื่องจิตเรื่องเดียวแท้ๆ น้องยังออกทะเลไปเสียไกลลิบเลย

    พูดเข้าไปนั่นว่า ถ้ายังมีอะไรอยู่สักอย่าง เป็นพวกพราหมณ์ กลายเป็นอาตมัน
    น้องเล่าปังตอบพี่ภูตหน่อยสิว่า
    จิตที่ได้รับความบริสุทธิ์หมดจดจากเครื่องเศร้าหมองแล้ว
    ซึ่งเรียกว่าธรรมธาตุหรืออมตะธาตุหนะ เป็นอาตมันด้วยหรือ?

    น้องเล่าปังน้องต้องรู้ไว้นะ อันนี้สำคัญมาก
    อาตมันที่พวกฤาษีชีไพรเข้าใจผิดว่าเป็นพระนิพพานนั้น
    ก็คือจิตที่ยังยึดอารมณ์รูปฌาน-อรูปฌานอย่างเหนียวแน่นปล่อยวางไม่เป็นต่างหาก
    เมื่อตายไปก็กลายเป็นรูปพรหมหรืออรูปพรหมที่เรียกว่าอาตมันหรือปรมาตมัน

    จำเอาไว้นะน้องเล่าปังแล้วไปบอกคุณโปด้วยว่า อย่าเพิ่งกลัวความมี
    ในเมื่อยังไม่รู้จักความไม่มี(กิเลส)ที่แท้จริง จะกลายพันธุ์ไปเป็นพวกนัตถิกทิฐิ
    จะแก้ยาก เพราะอะไรๆก็ไม่มี อะไรๆก็ไม่ใช่ ที่ใช่ก็ไม่มี ที่มีก็ไม่ใช่

    น้องเล่าปังจะกล่าวร้ายอะไรใครควรศึกษาเสียให้ดีก่อน(ลงมือปฏิบัติจริงๆซะ)
    น้องเล่าปังไม่รู้จริงๆหรืออุบายธรรมแม้เพียงข้อเดียว เมื่อเราปฏิบัติจริงจัง ย่อมพ้นทุกข์ได้
    จะให้พี่ภูตยกตัวอย่างให้มั้ย ไม่เที่ยงๆๆๆๆๆคำเดียวก็เข้าพระอรหันต์ได้นะ

    ส่วนตัดทอนนั้นไม่ต้องตัดทอนหรอก
    แค่ย่นย่อพระไตรปิฎกลงมาตามเสด็จที่สอนไว้ก็พอแล้ว
    เหลือศีล สมาธิ ปัญญาก็พอ อย่ากล่าวร้ายว่าพระพุทธองค์ทรงตัดทอนหละ

    แม้พระพุทธองค์ท่านเองก็ทรงบอกให้พระอรหันต์ที่เป็นเอหิภิขุอุปสัมปทา๖๐รูป
    ให้ออกไปเผยแผ่ไปองค์ละทิศทาง อย่าไปซ้อนทิศทางกัน ก็แค่ศีล สมาธิ ปัญญาเท่านั้นเองนะ

    ;aa24
     
  20. บุคคลทั่วไป 3 คน

    บุคคลทั่วไป 3 คน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,938
    ค่าพลัง:
    +1,253
    แต่อย่างไรก็ดี เรื่อง การบริหารจิตนี่ ใครจะเอาอะไรมาเป็น องค์บริกรรม บริหาร
    จิตตรงนี้หากมาถกกัน ก็เสียเวลาเปล่าๆ

    เอาอย่างนี้ดีกว่า พี่สองชาติ ผมมีข้อธรรมข้อหนึ่งมาให้พิจารณา ไม่ยากเย็นอะไร
    เพราะเนื้อหานั้นค่อนข้างตรง แต่ทว่า เราเห็นผู้เจริญสมาทานได้ยากมีอยู่ ดังนี้

    ข้อความดังกล่าว เป็น มัชฌิมศีล 10 ข้อ ง่ายๆ

    จะเห็นว่า ผู้กล่าวว่า เราเว้นขาด ก็คือ องค์อรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้า

    และที่ต้องบัญญัติขึ้นเป็น มัชฌิมศีล ก็เพราะ ลำพังกำลัง "สติ" "ปัญญา"
    สาวกไม่มีทางคำนึงได้ถึง จึงต้องบัญญัติไว้เป็นศีลให้ประพฤติปฏิบัติ

    คุณสองชาติคิดว่า คุณเคยเห็นใคร หรือ นิยมสาวกท่านใดที่ทำผิดศีล
    ข้อดังกล่าวทุกเมื่อเชื่อวัน ทุกครั้งที่เทศน์ และเทศน์ในสิ่งทีไม่เป็นไป
    เพื่อประโยชน์อันพระพุทธเจ้าแม้พระองค์เองก็ทรงเว้นขาด และกำหนด
    ให้สาวกเว้นขาดหรือไม่
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 เมษายน 2010

แชร์หน้านี้

Loading...