มีระดับสมาธิแค่ไหน ถึงเพียงพอต่อการบรรลุธรรม สิ้นอาสวะ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย siratsapon, 25 ธันวาคม 2009.

  1. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,647
    ถูกครับ....แล้วอย่างไรต่อครับ.....

    ยกมาฝากผม...ผมก็โมทนาสาธุธรรมครับ....
     
  2. svTii

    svTii สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    5
    ค่าพลัง:
    +11
    ต้องได้ฌาน ๔
     
  3. ปรานต์

    ปรานต์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มกราคม 2009
    โพสต์:
    270
    ค่าพลัง:
    +668
    ยึดถือพุทธวจนะเป็นหลัก

    เห็นชอบด้วยครับ สาธุ...
     
  4. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    สมาธิแค่ไหน ถึงเพียงพอต่อการบรรลุธรรม
    ตอบว่า สมาธิที่เป็นสมาธิจริงๆ ไม่ใช่สมาธิหลอกๆ
    เช่น ใจยังเต็มไปด้วยนิวรณ์ หรือ ใจถูกกระเพื่อมด้วยสิ่งภายนอกได้ง่าย หรือ ใจอยู่ในภวังค์แล้วนึกว่า ทำสมาธิเข้าฌาณ

    จะอธิบายให้ฟัง เรื่อง ใจตกภวังค์นี่ เหมือนคนทำสมาธิืเป็นนะ มันบริกรรมไปเรื่อยๆ แล้วใจมันก็นิ่งไป แต่มันไม่ตื่น

    ถ้าตื่นคือ เหมือนคนสดชื่นไปมองดูท้องฟ้าตอนเย็นๆ คือ มันไม่มีความคิดอะไรปรุง แล้วมันก็ไม่เบลอๆ มึนๆ มันจะโปร่ง แต่โปร่งในที่นี้ คือ นั่งอยู่ ตื่นตรงหน้านี้ นิ่งตั้งมั่น สุข อยู่ มีกำลัง สดชื่น เบิกบาน

    แต่ก็ต้องคอยดูอีกว่า ความมีสมาธิระดับนั้น ถ้าไม่ทำให้ตั้งมั่นนานๆ มันก็อาจจะโดนทะลายลงได้ง่าย หรือ ถ้าไม่ใช่ปัญญาประกอบ เวลาที่ใจไปประสบพบเจอกับสิ่งภายนอก มันก็หายสุขสดชื่นได้ง่ายๆ เหมือนกัน
    จึงว่า สมาธินี้ ถ้าไม่ประกอบด้วยปัญญา มันก็ละกิเลสไม่ได้เลย มันเพียงแค่ ตัวทำให้กิเลสโตช้าลง เท่านั้น

    มันจึงต้องอาศัย สติ และ ปัญญา เข้ามาพิจารณาเท่าทันตามความจริงว่า สิ่งที่ใจยังกระเพื่อมกับ เรื่องราวภายนอกได้นี่เป็นเพราะอะไร
     
  5. โทสะ

    โทสะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    187
    ค่าพลัง:
    +466
    อนุโมทนา สาธุ กับทุกท่านที่ได้เสนอสิ่งดีๆ ให้แก่ผู้อ่าน ภูมิธรรมแต่ละท่าน อยู่ในขั้นของ ปรมาจารย์ ด้าน สมถะ และวิปัสนา ขอให้ทุกท่านเร่งบำเพ็ญเพียรต่อไป เพื่อถอดถอนกิเลสให้เบาบางและหมดสิ้นไปจากจิต ของท่าน วันเวลาที่ผ่านไป ทุกวัน ทุกคืน หมายถึงเวลาของการสั่งสมบรมีในภูมิมนุษย์นี้น้อยลงไปทุกที
    ฝึกให้จิตรวมกันเป็นหนึ่ง นั่นถูกต้องแล้ว จะสามารถทำขั้นไหนก็เป็นไปด้วยความเพียร และบรมีเดิม เมื่อกำลังใจพร้อม ตั้งมั่นดีแล้วการถอดถอนกิเลสใหญ่ 3 กอง ก็ใช้กำลังสมาธินั้นยกองค์วิปัสนา เพื่อให้จิตที่รวมเป็นหนึ่งนั้นเห็นความเป็นจริง ของ กาย ของใจ เป็นไปตามกฏแห่งไตรลักษ์ ส่วนแบบฝึกนั้นมีมากมาย หลายแบบนัก แล้วแต่จริต นิสัย หรือการพลิกแพลงต่างๆกันไป
    หากกำลังสมาธิอ่อน ความเนินช้าแห่งการปฏิบัติก็เป็นเงาตามตัว
    เผาทำลายกิเลส ในใจท่านซะ นี่เป็นทางที่ถูกแล้ว
     
  6. Ukie

    Ukie เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    232
    ค่าพลัง:
    +594
    อนุโมทนาสาธุ ข้าพเจ้ายังไม่เก่งอะไรมาก แต่กำลังปฏิบัติอยู่ เชื่อมั่นว่าต้องสำเร็จแน่นอน สาธุ สาธุ สาธุ

    เริ่มต้นจากการดูลมหายใจ ใช่หรือไม่
     
  7. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,647
    เริ่มต้นจากการดูลมหายใจ ก็ได้....
     
  8. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,240
    กระทู้เรื่องเด่น:
    54
    ค่าพลัง:
    +4,023
    ถ้าจะให้แนะนำก็ควรเริ่มจาก พุทธานุสติหรืออาณาปานุสติอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นอันดับต้น หรือจะควบทั้งพุทธานุสติหรืออาณาปานุสติเลยก็ไม่ผิด
    แต่ถ้ามมีกรรมฐานที่คิดว่าเหมาะกับจริตนิสัยอยู่แล้วก็ควรดำเนินแนวทางเดิมต่อไป หมั่นทำเหตุไว้โดยไม่ต้องหวังในผล
    ทำเหตุก็คือ ให้จิตอยู่ในอารมณ์กรรมฐานไว้มีสติคอยควบคุมถ้าจิตเผลอออกไปก็กลับมาตั้งใหม่ประคองไว้ในอารมณ์เดิมจนจิตเริ่มอ่อน กวัดแก่งน้อยลงๆ สมาธิจะค่อยๆเกิด อาจใช้เวลามากน้อยขึ้นอยู่กับความเพียรและของเก่าด้วย ถ้าตรงกับจริตนิสัยก็จะไปได้รวดเร็ว อานาปณสติเป็นกรรมฐานกลาง รากฐานของทุกจริตนิสัย เป็นมงกุฏกรรมฐาน.. ลองพิจารณาดู
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 27 ธันวาคม 2009
  9. zeedhama

    zeedhama Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    32
    ค่าพลัง:
    +48
    อันดับแรกองค์สมเด็จสวัสดิโสภาคทรงแนะนำ ให้นักเจริญกรรมฐาน ทรงอานาปานุสสติกรรมฐานเป็นปรกติ

    ทั้งนี้เราจะเห็นได้ว่าในมหาสติปัฏฐานสูตร พระพุทธเจ้าทรงหยิบเอาอานาปานุสสติกรรมฐานขึ้นมาก่อน ถ้าอานาปานุสสติกรรมฐานไม่ดีแล้ว องค์สมเด็จพระชินวรก็ไม่นำยกขึ้นมาให้ปฏิบัติก่อนเป็นอันดับต้นของกรรมฐานอื่นๆ

    อ่านต่อ หลวงพ่อสอนอานาฯ ตอนที่ ๑

    ................

    ตอนนี้ ในเมื่อองค์สมเด็จพระบรมโลกเชษฐ์ แนะนำให้เราใช้อานาปานุสสติกรรมฐาน ก็เพื่อเป็นการป้องกันและยับยั้งหรือว่าประหัตประหารอารมณ์ฟุ้งซ่านของจิต

    ฉะนั้น ต่อไปท่านจะเจริญสมถะกองไหนก็ตาม จะเจริญภาวนากองไหนก็ตาม หรือว่าจะเจริญวิปัสสนากองใดก็ตาม เป็นอันว่า ส่วนนั้นๆ กรรมฐานกองนั้นๆจะเว้นอานาปานุสสติกรรมฐานไม่ได้

    อันดับแรกขอให้ทุกท่านทำอานาปานุสสติกรรมฐานให้เข้าถึงฌาน ๔ เอากันจริงกันจัง อย่าสักแต่ว่าทำ

    อ่านต่อ หลวงพ่อสอนอานาฯ ตอนที่ ๒

    ...................

    ฉะนั้น อาการที่ท่านทั้งหลายพากันพยายามรู้ลมหายใจเข้าหายใจออกกันเป็นปรกติ ก็จะเป็นการห้ามจิตไม่ให้ไปยุ่งกับนิวรณ์ ๕ ประการ และก็จะเป็นการห้ามจิตและป้องกันจิตไม่ให้ไปยุ่งกับอารมณ์ที่เป็นอกุศลทั้งหมด หลังจากนั้นจิตของท่านก็จะประกอบไปด้วยปัญญา ต่อนี้ไปจิตก็ก้าวเข้าสู่ความเป็นผู้เข้าถึงวิปัสสนาญาน

    ฉะนั้นขอท่านพระโยคาวจรทุกท่าน จงอย่าทิ้งอารมณ์การรู้ลมหายใจเข้าหายใจออกเสีย ถึงแม้ว่าท่านจะทำกองอื่นก็ตาม ต้องขึ้นอานาปานุสสติก่อนเสมอ

    อ่านต่อ หลวงพ่อสอนอานาฯ ตอนที่ ๗
     
  10. ผู้พันจุ่น

    ผู้พันจุ่น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,396
    ค่าพลัง:
    +2,983
    เปรียบดังจิตของบุคคลที่มีความรู้สึกนึกคิดอยู่ในวันหนึ่ง ๆ เป็นเช่น สิ่งหนึ่ง ที่บรรจุเต็มไปด้วยของสารพัดอย่าง การนั่งสมาธิคือการเททุกสิ่งทุกอย่างนั้นออกไปให้ว่างหมด แล้วทำการชำระสิ่งสกปรกในจิตนั้นให้สะอาดด้วยการวิปัสสนา (ทำให้แจ้ง) ด้วยการ ขูด ขัด ซักฟอก สิ่งนั้น นั้นให้มันสะอาด สว่าง สงบ...........ก็เท่านั้น

    ปัญหาทั้งหมดมันอยู่ที่ เราจะจัดระเบียบเรียบร้อย(สมาธิ) ได้ระดับไหน ? และ การชำระให้สะอาด นั้น ใช้ อะไร (ธรรม) ? เป็นตัวทำความสะอาดอนุสัย (สิ่งที่นอนเนื่องอยู่) และป้องกันมิให้มันกลับมาสกปรก รก รุงรังได้อีก ต่างหาก......

    เราไม่จัดระเบียบแล้วทำความสะอาดเลย นั้น นึกภาพเอาก็แล้วกัน เคยได้ยินไหม ? วิปัสสนึก น่ะ...
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 ธันวาคม 2009
  11. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    ระดับ ของ สมถะ สมาธิ ที่เพียงพอต่อการบรรลุธรรม จนสิ้นอาสวะกิเลส นั้น ขึ้นอยู่กับ วิสัยแห่งการ บรรลุของแต่ละบุคคล

    หากเป็นวิสัยของท่านผู้เป็นสัพพรรณญูญาณ ตรัสรู้ชอบด้วยโดยพระองค์เอง เป็นพระพุทธเจ้า นั้น ย่อมต้องเข้าถึงซึ่ง อรูปสมาบัติแปด


    หากเป็นวิสัยของสาวกภูมินั้น ต้องพิจารณาว่า เป็นวิสัยของผู้ปฏิบัติใน วิสัยแห่งการบรรลุธรรมเช่นใด

    - สุขขะวิปัสโก ไม่รู้ไม่เห็นในความเป็นทิพย์ของจิต มีญาณเครื่องรู้แห่งการตัดอาสวะกิเลสให้เป็นสมุทเฉทประหาร ต้องได้ ฌาน สี่ จากอานาปานสติกรรมฐานเป็นอย่างต่ำ เพื่อให้ จิต สงบ สงัดจากนิวรณ์ห้าประการ ระงับ จิตจากอคติในการ พิจารณาธรรม

    เมื่อจิต สงบ จากนิวรณ์ห้าประการจึงใช้ กำลัง และความสงบแห่งฌานสี่ นั้นในการพิจารณาตัดกิเลส จนสิ้นไป


    -เตวิชโช หรือวิชชาสาม เป็นวิสัย ที่ได้ทิพยจักษุญาณ มีความเป็นทิพย์ของจิต รู้เห็น พิสูจน์ความเป็นไปในภพภูมิทั้งปวง เป็นญาณเครื่องประกอบการพิจารณา ในการตัดกิเลสและสังโยชน์เครื่องร้อยรัดในวัฏฏ์

    สมถะสมาธิที่ ได้ จึงต้องได้ ฌาน สี่ จากกสิณกองใดกองหนึ่ง อันเป็นบาทฐานของทิพยจักษุญาณ อันได้แก่ กสิณไฟ กสิณน้ำ กสิณแสงสว่าง
    เป็นอย่างต่ำ เพื่อให้เกิดญาณเครื่องรู้เป็นเครื่องประกอบในการพิจารณา ธรรม เพื่อตัดกิเลส


    -ฉฬภิญโญ หรือ อภิญญาหก ปรากฏ ฤทธิ์อภิญญาสมาบัติ และอิทธิวิธี เป็นเครื่องประกอบ

    ย่อมต้องเจริญ ฌานสี่ จบ ครบในกสิณทั้งสิบกอง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คล่องตัว ในกสิณ ธาตุทัั้งสี่ คือกสิณดิน น้ำ ลม ไฟ เรียกว่าสำเร็จ วิชชาธาตุ อันเป็นเหตุ บาทฐานแห่งการแสดงฤทธิ์

    และเมื่อเห็นปรากฏประจักษ์ในการแปรเปลี่ยน ไม่เที่ยงในธาตุทั้งปวง

    ของอ่อนเป็นของแข็งได้ ของแข็งเป็นอากาศได้ ความว่างได้ จนจิตเห็นในกฏไตรลักษณ์ด้วยญาณที่ปรากฏจากการ ใช้ฤทธิ์ จนจิตปล่อยวางจากสังโยชน์ทั้งสิบ เข้าถึงโมกขธรรมในที่สุด

    -ปฏิสัมภิทาญาณ ปรากฏคุณธรรมวิเศษครอบคลุมในวิสัยทั้งปวง และยังทรงพระไตรปิฎกทั้ง 84,000 พระธรรมขันธ์
    ทรงญาณเครื่องรู้ของจิต ในภาษาคน ภาษาสัตว์ทุกภาษา
    ทรงปฏิธานในการแสดงธรรม จากยากลึกซึ้งให้ง่าย จากธรรมมะที่ง่ายให้ละอียดพิสดารลึกซึ้งหลายชั้น หลายแง่มุม ในการเสริมความเข้าใจในธรรมของสาธุชนผู้สะดับในธรรมให้สิ้นสงสัย

    สมถะสมาธิ ที่ท่านต้องเข้าถึงก็คือ อรูปฌาน ในสมาบัติแปด กองใดกองหนึ่ง

    และใช้กำลังของอรูปสมาบัติ มาเป็นกำลังฌาน กำลังปัญญาพิจารณาในกฏไตรลักษณ์ พิจารณาในการตัดสังโยชน์สิบ จนจิตเกิดญาณเครื่องรู้ในการตัดกิเลสได้ในที่สุด

    สำหรับในการปฏิบัติจริงนั้น ถึงแม้ยังไม่เข้าสู่โลกุตรภูมิ แต่หากโยคะวจร ผู้ปฏิบัติธรรมเพื่อความดี ใช้กำลังของอรูปสมาบัติ ตัดกิเลสอยู่เสมอ องค์แห่งปฏิสัมภิทาญาณบางประการก็จะปรากฏได้เป็นโลกียอภิญญาได้เช่นกัน ซึ่งเรื่องนี้ จากที่ครูบาอาจารย์ท่านสอนให้ฟังและจากผลแห่งการปฏิบัติจริงของท่านผู้ได้อรูปสมาบัติ แปด


    ดังนั้นหากเราพิจารณาแล้ว ขั้นต่ำของกำลังสมถะสมาธิเพื่อให้เข้าถึงอรหันตผลนั้น ขึ้นกับวิสัยของการบรรลุธรรมของแต่ละบุคคล

    ส่วนกำลังแห่งวิปัสนาญาณในการเข้าถึงซึ่งพระอรหันต์ผลนั้น ต้องตัดสังโยชน์สิบให้สิ้นเสมอกันในทุกวิสัย

    ดังนั้นขอให้ท่านผู้ปฏิบัติพึงเจริญจิต เจริญสมาธิให้เกิดฌาน เกิดญาณให้ปรากฏตามเหตุ ตามวิสัย ตามภูมิอัตถ์ ภูมิธรรมของแต่ละบุคคลเถิด

    โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อพระนิพพานเป้นที่สุด

    นิพพานะ ปัจจะโย โหตุ
     
  12. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,647
    [​IMG]

    พระสูตรนี้ พระพุทธองค์ ตรัสถึง " สมถะ และ วิปัสสนนา คู่เคียงกันไป"

    [๘๓๑] เมื่อบุคคลนั้นเจริญอัฏฐังคิกมรรคอันประเสริฐอยู่อย่างนี้ ชื่อว่า มีสติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ ถึงความเจริญบริบูรณ์ บุคคลนั้นย่อมมีธรรมทั้งสองดังนี้ คือ สมถะและ วิปัสสนา คู่เคียงกันเป็นไป

    เขาชื่อว่า กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ด้วยปัญญาอันยิ่ง
    ละธรรมที่ควรละ ด้วยปัญญาอันยิ่ง
    เจริญธรรมที่ควรเจริญ ด้วยปัญญาอันยิ่ง
    ทำให้แจ้งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง ด้วยปัญญาอันยิ่ง ฯ

    พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔ สุตตันตปิฎกที่ ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์



    [​IMG]


    “สัมมาสมาธิ” คือ อย่างไร?

    สัมมาสมาธิเป็นไฉน ? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ เธอบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายในเป็นธรรมผุดขึ้น เพราะวิตกวิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่ เธอมีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข เธอบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุข ละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อน ๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นแหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ อันนี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ


    สติปัฏฐานสูตร ๑๒/๘๔ <O:p</O:p

     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 ธันวาคม 2009
  13. วิศว

    วิศว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    2,349
    ค่าพลัง:
    +5,104
    หลักดำเนิน ที่จะหมุนจิตหมุนสติปัญญาเข้าไปสู่ความจริงนั้น
    จิตใจต้องฝืนจากกิเลส ตัวหลอกลวงตัววายร้ายจ้องทำลาย
    ที่คอยกระซิบให้เราออกนอกลู่นอกทางอยู่เสมอ
    คอยฉุดลากเราให้หลงเพลิดเพลินไปกับมัน
    ทั้งที่ใจจอมปลอมหลงเชื่อเสียงกระซิบกระซาบนั้นมีแต่เรื่องของกิเลสทั้งมวล

    สติต้องจดจ่อลงที่นี่ พิจารณาที่นี่ให้ชัดเจน รู้เท่าทันสิ่งเหล่านี้
    หากรู้ไม่เท่าทัน ตัวทุกขเวทนานี้จะมาเป็นตัวทุกข์ภายในจิตใจเพิ่มเข้าไปอีก
    พิจารณาด้วยสติปัญญา ค้นคว้าคลี่คลายดูที่จุดนี้ ตัวทุกข์ที่เกิดขึ้นที่จิตใจตรงนี้
    ทุกข์จะมาก ทุกข์น้อยเพียงไร ทุกข์ก็เป็นเพียงสัจจธรรม
    เป็นหลักอันหนึ่งในธรรมชาติ ย่อมมีเกิด มีดับ
    ทุกข์ก็เป็นอันหนึ่ง เราก็เป็นอันหนึ่ง ต่างอันต่างจริง
    เราเป็นเราิ ทุกข์เป็นทุกข์ ความจริงเข้าถึงกันแล้ว ย่อมเป็นความจริงเสมอกัน
    เราเป็น “ผู้รู้”ทุกข์ต่างหาก เป็นผู้พิจารณาทุกข์
    ทุกข์นั้นเป็นอันหนึ่ง ต่างหากจากใจ
    มันคนละเรื่อง ถ้าเอามาคละเคล้ากัน รวมเข้าด้วยกัน
    จิตใจย่อมเดือดร้อนเพราะทุกข์นั้นมาเสียดแทงจิตใจเรา

    สติปัญญาขุดค้นจนให้ถึงความจริงแห่งทุกข์
    ให้ถึงความจริงแห่งกาย กายก็เป็นกาย
    ทุกข์ก็เป็นทุกข์ รูปเป็นรูป เวทนาเป็นเวทนา
    พิจารณาให้ละเอียดละออให้รู้เท่าทันกลมายาของกิเลส
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 29 ธันวาคม 2009
  14. pantham phuakph

    pantham phuakph เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    186
    ค่าพลัง:
    +444

    ผมขอคัดลอกข้อความจากหนังสือส่องทางสมถวิปัสสนา แสดงธรรมโดย พระราชนิโรธรังสี (เทสก์ เทสรังสี) มาให้พี่ๆช่วยพิจารณา


    ผมมีข้อสงสัยว่า ทำไมสัมมาสมาธิ ใน มรรค ๘ หมายถึง ฌาน ๔

    ในเบื้องต้นผมเข้าใจว่า การเดินวิปัสสนา จนถึงอนุโลมญาณ
    ใช้กำลังของอุปจารสมาธิ(ไม่อยู่ในฌาน ๔) แต่พอเข้ามรรคญาณ ต้องใช้กำลังอัปปนาสมาธิประหารกิเลส ถ้าเป็นกรณีนี้ใช้ ฌานไหนครับ 1 2 3 หรือ 4

    พี่ๆช่วยอธิบายหน่อยครับผมเข้าใจถูกหรือไม่


    ข้อความจากหนังสือส่องทางสมถวิปัสสนามีดังนี้ครับ


    วิปัสสนาปัญญา วิปัสสนาปัญญาเป็นผลออกมาจากอุปจารสมาธิโดยตรง ได้อธิบายมาแล้วข้างต้นว่า อุปจารสมาธิเป็นที่ตั้งขององค์ปัญญา

    อธิบายว่า วิปัสสนาปัญญาจะเกิดนั้น สมาธิต้องตั้งมั่นลงเสียก่อนจึงจะเกิดขึ้นได้ มิใช่เกิดเพราะฌานซึ่งมีแต่การเพ่งความสุขสงบอยู่หน้าเดียว และมิได้เกิดจากอัปปนาสมาธิอันหมดจากสมมติสัญญาภายนอกเสียแล้ว จริงอยู่ เมื่อจิตยังไม่ถึงอัปปนาสมาธิ วิปัสสนาปัญญาไม่สามารถจะทำหน้าที่ละสมมติของตนให้ถึงอาสวขัยได้

    แต่ว่าอัปปนาเป็นของละเอียดกว่าสัญญาภายนอกเสียแล้ว จะเอามาใช้ให้เห็นแจ้งในสังขารนี้อย่างไรได้ อัปปนาวิปัสสนาปัญญาเป็นผู้ตัดสินต่างหาก อุปจารวิปัสสนาปัญญาเป็นผู้สืบสวนคดี ถ้าไม่สืบสวนคดีให้มีหลักฐานถึงที่สุดแล้ว จะตัดสินลงโทษอุปาทานอย่างไรได้

    ถึงแม้ว่าอัปปนาวิปัสสนาปัญญาจะเห็นโทษของอุปาทานว่าผิดอย่างนั้นแล้ว แต่ยังหาหลักฐานพยานยังไม่เพียงพอ ก็คงไม่สมเหตุสมผลอยู่นั่นเอง เหตุนั้น วิปัสสนาปัญญาจึงได้ยึดเอาตัวสังขารนี้เป็นพยาน เอาอุปจารสมาธิเป็นโรงวินิจฉัย ท่านแสดงวิปัสสนาปัญญาไว้มีถึง ๑๐ นัยดังนี้ คือ

    ๑. สมฺมสนญาณ ปัญญาพิจารณาสังขารเฉพาะในภายในเห็นเป็นอนิจจาทิลักษณะแล้ว พิจารณาสังขารภายนอกก็เป็นสภาวะอย่างนั้นด้วยกันหมดทั้งสิ้น หรือประมวลสังขารทั้งสองนั้นเข้าเป็นอันเดียวกันแล้วพิจารณาเห็นอย่างนั้น

    ๒. อุทยพฺพยญาณ ปัญญาพิจารณาสังขารทั้งที่เกิดแลที่ดับโดยลักษณะอย่างนั้น

    ๓. ภงฺคญาณ ปัญญาพิจารณาสังขารเฉพาะแต่ฝ่ายทำลายอย่างเดียว โดยลักษณะอย่างนั้น

    ๔. ภยตูปฏฺฐานญาณ เมื่อปัญญาพิจารณาเห็นอย่างภังคญาณนั้น แล้วมีความกลัวต่อสังขารเป็นกำลัง

    ๕. อาทีนวญาณ ปัญญาพิจารณาสังขารเห็นเป็นโทษเป็นของน่ากลัว อุปมาเหมือนเรานอนอยู่บนเรือนที่ไฟกำลังไหม้อยู่ฉะนั้น โดยลักษณะอย่างนั้น

    ๖. นิพฺพิทาญาณ ปัญญาพิจารณาเห็นเป็นของน่าเกลียดน่าหน่าย ว่าเราหลงเข้ามายึดเอาของไม่ดีว่าเป็นของดี โดยลักษณะอย่างนั้น

    ๗. มุญฺจิตุกมฺยตาญาณ ปัญญาพิจารณาสังขารแล้ว ใคร่หนีให้พ้นเสียจากสังขารนั้น เหมือนกับปลาที่ติดอวนหรือนกที่ติดข่ายฉะนั้น โดยลักษณะนั้น

    ๘. ปฏิสงฺขาญาณ ปัญญาพิจารณาสังขารโดยหาอุบายที่จะเอาตัวรอดด้วยอุบายต่างๆ ดังญาณทั้งหกในเบื้องต้นนั้น

    ๙. สงฺขารุเปกฺขาญาณ ปัญญาพิจารณาสังขารโดยอุบายต่างๆ อย่างนั้น เห็นชัดตามเป็นจริงไม่มีสิ่งใดปกปิด แล้วไม่ต้องเชื่อคนอื่นหมด หายความสงสัยแล้ววางเฉยในสังขารทั้งปวง โดยลักษณะนั้น

    ๑๐. สจฺจานุโลมิกญาณ ปัญญาพิจารณาสังขารโดยอนุโลมกลับถอยหลังว่า มันเป็นจริงอย่างไร มันก็มีอยู่อย่างนั้น ตัวสัญญาอุปาทานต่างหากเข้าไปยึดมั่นสำคัญมันว่าเป็นอย่างนั้นเป็นอย่างนี้ แต่แล้วสังขารมันก็เป็นอยู่ตามเดิม หาได้ยักย้ายไปเป็นอื่นไม่ สมกับที่พระองค์ทรงแสดงแก่พระอานนท์ว่า อานนท์ ผู้ที่จะพิจารณาสังขารเห็นจริงตามพระไตรลักษณญาณแล้ว จึงจะมีขันติอนุโลม ถ้าหาไม่แล้วขันติอนุโลมย่อมมีไม่ได้ดังนี้

    วิปัสสนานี้บางแห่งมีเพียง ๙ ท่านเรียกว่า วิปัสสนาญาณ ๙ ยกสัมมสนญาณออกเสีย ยังคงเหลืออยู่ ๙ นั่นเอง ในที่นี้นำมาแสดงให้ครบทั้ง ๑๐ เพื่อให้ทราบความละเอียดของวิปัสสนานั้นๆ

    ความจริงวิปัสสนาญาณทั้งสิบนี้จะเกิดได้พร้อมๆ กันในวิถีจิตเดียวก็หามิได้ เมื่อจะเกิดนั้นย่อมเกิดจากภูมิของสมาธิเป็นหลัก สมาธิเป็นเกณฑ์ ถ้าหากสมาธิหนักแน่นมาก หรือถอนออกจากอัปปนาใหม่ๆ แล้ว วิปัสสนาญาณทั้งหกเหล่านี้คือ อุทยัพพยญาณ ภังคญาณ ภยตูปัฏฐานญาณ อาทีนวญาณ นิพพิทาญาณ มุญจิตุกัมยตาญาณ

    มักเกิด ถ้าหากอุปจารสมาธิแก่กล้า วิปัสสนาญาณทั้งสองเหล่านี้ คือ สัมมสนญาณ กับ ปฏิสังขาญาณ มักเกิด เรียกกันง่ายๆ ว่า ถ้าอุปจารสมาธิกล้าก็คือหนักไปทางปัญญา อัปปนาสมาธิกล้าก็คือหนักไปในทางสมถะ

    ถ้าสมถะกับปัญญามีกำลังพอเสมอเท่าๆ กัน ไม่ยิ่งหย่อนกว่ากันแล้ว สังขารุเปกขาญาณย่อมเกิดขึ้น หรือจะเรียกอีกนัยหนึ่งว่า มัคคสมังคี ส่วนสัจจานุโลมิกญาณ เป็นผลพิจารณาอนุโลมตามสัจธรรม ไม่แย้งสมมติบัญญัติของโลกเขา ความจริงของเขาเป็นอยู่อย่างไร ก็ให้เป็นไปตามความเป็นจริงของเขาอย่างนั้น ส่วนความจริงของท่านผู้รู้จริงเห็นจริงแล้ว ย่อมไม่เสื่อมไปตามเขา

    ถ้าเป็นผลของโลกุตตระ พระอริยเจ้าทั้งหลายท่านย่อมพิจารณาอนุโลมตามพระอริยสัจของท่าน คือ เห็นตามความจริง ๔ ประการ ได้แก่ จริงสมมติ จริงบัญญัติ จริงสัจจะ จริงอริยสัจ วิชาของพระอริยเจ้าจึงได้ชื่อว่า วิชชาอันสมบูรณ์ทุกประการ
    <!--[if !supportLineBreakNewLine]-->
    <!--[endif]-->
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 29 ธันวาคม 2009
  15. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    ปฐมฌาณ หรือ ทุติยฌาณ หรือ ตติยฌาณ เพียงพอ ต่อพระโสดาบัน และ พระสกิทาคามี
    จตุถฌาณ เพียงพอ ต่อ พระอนาคามีและพระอรหันต์
     
  16. ธรรมะสวนัง

    ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,255

    เพราะในมหาสติปัฏฐานสูตร แสดงไว้ค่ะ ตามที่คุณภาณุเดชยกมาค่ะ


    มหาสติปัฏฐานสูตร เป็นพระสูตรหลักในการปฏิบัติในพระศาสนา
    ในธัมมจักกัปปวัตนสูตร ปฐมเทศนา ก็ตรัสไว้เช่นกัน ไม่ผิดเพี้ยนกัน

    สัมมาสมาธิ ในอริยมรรค ๘ ประกอบด้วย
    ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน
    ฌาน ๑ ฌาน ๒ ฌาน ๓ ฌาน ๔ เท่านั้น


    และถ้าอ่านปฐมเทศนาให้ละเอียด จะเห็นว่าได้ทรงตรัสไว้ว่า

    ซึ่งแสดงว่า อริยสัจ ๔ (ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค)ที่ทรงตรัสรู้นั้น
    ทรงรู้ด้วยองค์เอง ไม่มีใครสอน (ไม่เคยได้ยินได้ฟังมาจากไหน)
    ซึ่งตรงนี้ก็เป็นการแสดงชัดว่า
    ฌาน ๗ ฌาน ๘ ที่ทรงศึกษาจากอาฬารดาบสและอุทกดาบส
    ไม่ใช่หนทางพ้นทุกข์ เพียงแต่ทำให้กิเลสเบาบางลง

    ทรงตรัสรู้อริยสัจ ๔ อริยมรรค ๘
    ประกอบสัมมาสมาธิอันมีฌาน ๑-๔ เท่านั้น จึงถึงที่สุดทุกข์

    ดังนั้นจึงเห็นได้ว่าในมหาสติปัฏฐานสูตร
    มิได้จัดสัมมาสมาธิว่าเป็นรูปฌานหรืออรูปฌาน
    คงกล่าวเพียงว่าเป็นฌาน ๑ ฌาน ๒ ฌาน ๓ ฌาน ๔


    (smile)
     
  17. วิศว

    วิศว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    2,349
    ค่าพลัง:
    +5,104
    ตามธรรมดาของใจที่มีกิเลส และถือขันธ์ห้าเป็นตัวตน
    ขณะที่ทุกขเวทนาครอบงำร่างกายมาก ๆ เกิดทุกขเวทนาอย่างหนักขึ้นมา
    มีการเจ็บปวดตามแข้งขาและอวัยวะส่วนต่างๆ แทบทนไม่ไหว
    ประหนึ่งร่างกายจะแตกเป็นเสี่ยงๆ ไปในเวลานั้นให้ได้
    แสดงอาการระส่ำระสาย กระวนกระวาย ใจย่อมเดือดร้อนทุกข์ไปด้วย
    อยากจะออกจากการนั่งสมาธิ ล้มเลิกความพากความเพียรเดี๋ยวนั้น
    หากยอมถอยหลังในขณะที่มีทุกขเวทนาแรงกล้าครอบงำ
    เกิดท้อแท้และระอากลัวต่อทุกขเวทนาที่เกิดขึ้นในขณะนั้น
    ไม่พิจารณาตามหลักธรรม เพื่อยังผลประจักษ์ให้เกิดขึ้นกับใจ
    นอกจากจะไม่ปรากฏผลแห่งการปฏิบัติของตนแล้ว
    มิหนำทุกข์ที่เกิดขึ้นยังจะกลายเป็นข้าศึกโจมตีแก่จิตใจของตน
    ให้เรากลายเป็นผู้พ่ายแพ้อย่างย่อยยับอับจน

    การฝึกหัดทางด้านจิตใจ เบื้องต้นก็ต้องมีการล้มลุกคลุกคลานเป็นธรรมดา
    เพราะไม่เคยผ่านและรู้เห็นมาก่อนก็ย่อมมีการผิดพลาด
    อาศัยความพยายามไม่ย่อท้อมีความพากเพียรเป็นหลักสำคัญ

    ท่านจึงสอน ให้พิจารณาทุกขเวทนาที่เกี่ยวกับกาย
    และอุปาทานยึดมั่นถือมั่นในกายและเวทนา
    อันเป็นเหตุให้จิตใจกำเริบส่งเสริมทุกข์ขึ้นมาอย่างมากมาย

    พิจารณาให้ถึงหลักความจริงของกาย เวทนา
    แยกกาย เวทนา และจิตออกจากกันได้ โดยทางปัญญา
    ต่างก็เป็นความจริงอยู่ตามสภาพของตน
    จิตจะหยั่งลงสู่ความสงบ ดำรงตนอยู่เป็นเอกเทศหนึ่งจากขันธ์
    ตั้งมั่นเป็นองค์สมาธิอย่างเต็มที่ในเวลานั้น
    กายกับทุกขเวทนาไม่ปรากฏในความรู้สึกว่ามี
    ปรากฏเห็นจิตเป็นของที่แปลกและอัศจรรย์อย่างยิ่งในขณะนั้น
    สภาวะจิตเป็นหนึ่ง ไม่ข้องเกี่ยวกับกายและเวทนา
    เมื่อรู้เห็นตามความจริงของ กาย เวทนา จิต ธรรม
    สภาวะธรรมทั้งหลาย ล้วนเป็น สัพเพ ธัมมา อนัตตา

    เมื่อพิจารณาในจุดหนึ่งย่อมส่งผลไปยังอีกจุดหนึ่ง
    เพราะธรรมเหล่านี้ เป็นเครื่องถอดถอนกิเลสที่ครอบงำจิตใจ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 30 ธันวาคม 2009
  18. ธรรมะสวนัง

    ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,255
    อ่าน วิปัสสนาญาณ โดยหลวงพ่อพระราชพรหมยาน ดูค่ะ
    (smile)
     
  19. หม้อหุงข้าว..!

    หม้อหุงข้าว..! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,103
    ค่าพลัง:
    +1,072
    สมาธิเพชรซิ สัก 2 ชั่วโมง เบาะๆ
    พิจารณาเวทนา อาการเวทนาจะมาในช่วงนาทีที่ 45 แต่ละรอบๆ

    แล้วเอาจิตพิจารณาแยกขันธ์
    หากใครทำได้ทั้งคืน ก็ขออนุโมทนา
     
  20. pantham phuakph

    pantham phuakph เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    186
    ค่าพลัง:
    +444
    ขอบคุณมากครับ คุณพี่ธรรมะสวนัง

    ผมรู้สึกว่า คุณพี่น่าจะมีคำตอบให้ผมมากกว่านี้

    ผมรออยู่นะครับ

    คุณพี่ธรรมะสวนัง คงรู้จัก คุณรสพระธรรม

    ไม่รู้บังเอิญหรือปล่า ผมได้รับหนังสือธรรมประทีป ๙ มา ๒ เล่ม

    ผมได้มาร่วมเดือนแล้วครับ อ่านไปบ้างแล้ว


    อย่างไรก็ขอให้คุณพี่ธรรมะสวนัง แสดงความเห็นต่อไปนะครับ

    ผมตั้งใจรออยู่

    อนุโมทนา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 ธันวาคม 2009

แชร์หน้านี้

Loading...