สติ คืออะไร

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ขันธ์, 13 มิถุนายน 2009.

  1. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    ก่อนอื่นขอเกริ่นนำสักหน่อย เพราะว่า เห็นมีความเข้าใจคลาดเคลื่อนกับ คำว่า สติกันมาก จนกลายเป็นว่า สตินี้ ทำให้เกิดไม่ได้ ต้องทำเหตุใกล้ อันเป็นการคลาดเคลื่อนต่อพุทธพจน์อย่างมาก

    คำว่า สติ คือ การระลึกรู้ ตัวเดียวสั้นๆ นี้แหละ เราเข้าใจง่ายๆ เช่นว่า เราระลึกรู้ว่าเรากำลังทำอะไรอยู่ นี้เรียกว่า มีสติ

    แต่คำถามก็คือ เราจะระลึกรู้อะไร และ เราจะระลึกรู้เพื่ออะไร อันจะนำไปสู่องค์ธรรม มหาสติปัฎฐาน

    ขอท้าวความเดิม ก่อนจะไปที่ มหาสติ

    เนื่องจากว่า มีพระท่านหนึ่ง และ สาวก ได้เอ่ยว่า สตินี้ไปกำหนดไม่ได้

    สตินี้ไปทำให้มันมีขึ้นไม่ได้ มันมีขึ้นเอง เพียงแค่ไปจดจำรูปนาม เท่านั้นมันจะมีขึ้นเอง ซึ่งผิดจากพุทธพจน์มากมายก่ายกอง

    ย้อนกลับไปดูความหมายของ สติ อันหมายถึงระลึกรู้ ทีนี้ การจะระลึกรู้ ก็นำไปสู่คำถามว่า เราจะระลึกรู้อะไรบ้าง พระศาสดาสอนว่า อย่างแรก คือ รู้กาย

    ตามธรรมดา สติ นั้นไม่ได้ไปจับที่กาย เราก็ไม่ได้ไปสนใจว่ากาย นั้นจะเคลื่อนอย่างไร ข้อนี้ทุกท่านทราบดี แม้ว่า ตอนนี้เราระลึกรู้ว่าเรากำลังทำอะไร ก็ไม่ได้หมายความว่า เรากำลังรู้ว่า นิ้วเรากระดิกอย่างไรในการพิมพ์ เราไม่ได้รู้ทุกอย่างตลอดเวลา ดังนั้น สติไปจับกับอะไร เราจึงต้องกำหนดเพื่อเอาสติไปจับกับสิ่งนั้น นี้เป็นประการแรก ที่เราต้องสังวรเอาไว้ว่า ต้องกำหนดการเข้าไปรู้ ดังนั้น อยู่ดีๆ สติจะไประลึกรู้ที่นิ้วขยับไหม สติจะไประลึกรู้ที่ นิ้วโป้งเท้ากระดิกไหม ในกรณีที่เรากำลังนึกคิด ด้วยสังขารธรรม ดังนั้น การจะเอาใจเข้าไปรู้อะไรก็ตาม ต้องกำหนดรู้ พระศาสดาจึงสอนให้เอาใจกำหนดที่ลมหายใจ เพราะธรรมดาเราไม่ได้สังเกตุลมหายใจ เรียกว่า อานาปานสติ คือ กำหนดเอาสติมาไว้ที่ลมหายใจ

    ดังนั้นในพระไตรปิฎก จึงใช้คำว่า ไปกำหนดรู้ รู้ได้ นั้นแหละคือ การเจริญสติ คือ ไปกำหนดระลึกรู้ ใน บรรพทั้งสี่

    มีคำถามต่อมาว่า กำหนดไปรู้เพื่ออะไร ตอบว่า เพื่อให้องค์สตินั้นเจริญขึ้น พัฒนาขึ้น ดังนั้น สติจึงต้องถูกอบรมให้ดี ให้ละเอียด โดยเริ่มจากสติกำหนดรู้ที่ฐานกาย ก่อน

    ข้อนี้ จึงต้องไปค้านกับ คนที่ดูจิต ที่บอกว่า สตินั้น ทำให้เกิดไม่ได้ ต้องดูรูปนามไป มันจะเกิดเอง ( ข้อนี้สังเกตุให้ดี ว่า การเอาใจเข้าไปรู้นั้นแหละ คือ การทำให้สติเกิด คือ ระลึกรู้ในสิ่งนั้นแล้ว นั่นแหละ ทำให้เกิดด้วยตนเองแล้ว )

    ทีนี้ เมื่อ กำหนดเอาสติ มาระลึกรู้ที่กาย ถามว่าในส่วนอื่นตอนนั้นหละ เช่นว่า อารมณ์ เวทนา ตอนนั้น หละ เรารู้ไหม ตอบว่า ตรงนี้แหละ ที่ทำให้ พระปราโมทย์ สับสนในชีวิต และ ฝ่ายดูจิตสับสนในชีวิต กล่าวคือ

    เมื่อ เอาสติมารู้ตรงจุดหนึ่ง แต่ส่วนอื่นมันยังไม่สงบ สติที่เอาไปรู้ จึงไม่นิ่ง จึงรู้ตรงนั้นที รู้ตรงนี้ที แล้วแต่่ว่า จะระลึกรุ้ตรงไหนที่มันสะกิดใจมากกว่ากัน มันจึงกลายเป็น สติสตังไม่สมประกอบ ไม่ใช่มหาสตินะ

    แล้วก็ยังมีคำสอนจากฝ่ายดูจิตต่อไปอีกว่า ดูเฉยๆ
    ก็ต้องถามว่า จะให้ดูอะไรดีในเมื่อ เวทนา อารมณ์ สังขาร วิญญาณ สัญญา มันผัดเวียนกันเกิดอย่างไม่ลดละ อันเนื่องมาจาก การขาดสมาธิที่ดี


    วกกลับมาที่ การเจริญสติ ดังนั้น จากที่ได้กล่าวไปว่า การเจริญสติ คือ การเอาใจเข้าไประลึกรู้ การทำงานของ กาย เวทนา จิต ธรรม แล้วแต่เราจะกำหนดรู้ในส่วนใดๆ

    จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ จะต้องใช้กำลังสมาธิ เพื่อให้ดับนิวรณ์ อันเป็นตัวกระตุ้นปรุงแต่ง สังขารต่างๆ เมื่อดับนิวรณ์ไปแล้ว

    การเจริญสติ จึงจะเข้าไปสู่ การกำหนดรู้ได้อย่างชัดเจน เป็นหนึ่งและเป็นเอกคตาจิตที่แท้จริง

    ก็กลับมาที่ แล้ว เราจะเจริญมหาสติ ในส่วนกายทำไม ตอบว่า เมื่อเรามีสมาธิแล้ว เราเจริญ กายเพื่อเป็นฐานให้สตินั้น ระลึกรู้ในสิ่งหยาบ เพียรจนเห็น ลักษณะของกาย ที่แปรปรวนไป แล้วจะทำให้เรา เห็น ธรรมตรงนั้น

    พร้อมกับ การอบรมสติให้ละเอียด จนขยับไปมองเวทนา เห็น ความไร้สาระในเวทนา ธรรมเกิดตรงนั้น

    ขยับไปพิจารณาที่จิต เห็นความไร้สาระในจิต ธรรมเกิดตรงนั้น

    นี้คือ การเจริญมหาสติอย่างแท้จริง ไม่ใช่ไปยุ่งวุ่นวายอยู่แต่กับ เรื่องว่า สติทำให้เกิดไม่ได้ ต้องจดจำรูปนาม สติจะเกิดเอง หรือ อย่าไปเพียร ให้ดูเฉยๆ

    ถ้ามีปัญญากันสักหน่อย มันจะเห็นว่า คนที่กล่าวนั้น ไม่ได้บอกหนทางอะไรเลย
    มัวแต่ไปสาลวนกับ วิถีของสติ อันผิดพลาดเสียด้วยซ้ำ และ หยุดชะงักความเพียรที่เหมาะสม


    ลองพิจารณาดู
     
  2. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    อย่างไรก็ดี การเจริญสมถภาวนา หรือ สมาธินั้น แม้จะได้บุญอานิสงส์มากมายมหาศาลอย่างไร ก็ยังไม่ใช่บุญกุศลที่สูงสุดยอดในพระพุทธศาสนา หากจะเปรียบกับต้นไม้ก็เป็นเพียงเนื้อไม้เท่านั้น
    การเจริญวิปัสสนา ( การเจริญปัญญา ) จึงจะ เป็นการสร้างบุญกุศลที่สูงสุดยอดในพระพุทธศาสนา หากจะเปรียบก็เป็นแก่นไม้โดยแท้

    . วิปัสสนาภาวนา ( การเจริญปัญญา )
    เมื่อจิตของผู้บำเพ็ญตั้งมั่นในสมาธิจนมีกำลังดีแล้ว เช่นอยู่ในระดับฌานต่าง ๆ ซึ่งจะเป็นฌานในระดับใดก็ตาม
    แม้แต่จะอยู่แค่เพียงอุปจารสมาธิ จิตของผู้บำเพ็ญเพียรก็ย่อมมีกำลังและอยู่ในสภาพที่นุ่มนวล ควรแก่การเจริญวิปัสสนาต่อไปได้

    อารมณ์ของวิปัสสนานั้น แตกต่างไปจากอารมณ์ของสมาธิ เพราะว่าสมาธินั้นมุ่งแต่ให้จิตตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งแต่อารมณ์เดียวโดยแน่นิ่งอยู่เช่นนั้น ไม่นึกคิดอะไร ๆ
    แต่วิปัสสนาไม่ใช่ให้จิตตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียวนิ่งอยู่เช่นนั้น แต่เป็นจิตที่คิดและใคร่ครวญหาเหตุและผลในสภาวธรรมทั้งหลายและสิ่งที่เป็นอารมณ์ของวิปัสสนานั้น มีแต่เพียงอย่างเดียวคือ " ขันธ์ ๕ " ซึ่งนิยมเรียกกันว่า " รูป - นาม " โดย รูป มี ๑ ส่วน นาม นั้นมี ๔ คือ เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ

    ขันธ์ ๕ ดังกล่าวเป็นเพียงอุปาทานขันธ์ เพราะแท้จริงแล้วเป็นแต่เพียงสังขารธรรมที่เกิดขึ้นเนื่องจากการปรุงแต่ง แต่เพราะอวิชชา คือความไม่รู้เท่าสภาวธรรม จึงทำให้เกิดความยึดมั่นด้วยอำนาจอุปาทานเป็นตัวตนและของตน การเจริญวิปัสสนาก็โดยมีจิตพิจารณาจนรู้แจ้งเห็นจริงว่า อันสภาวธรรมทั้งหลายอันได้แก่ขันธ์ ๕ นั้นล้วนแต่มีอาการเป็น พระไตรลักษณ์ คือ เป็น อนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา โดย

    ๑ . อนิจจัง คือ ความไม่เที่ยง คือสรรพสิ่งทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นคน สัตว์ สิ่งของ สมบัติ เพชร หิน ดิน ทราย และรูปกายของเรา ล้วนแต่ไม่เที่ยงแท้แน่นอน เมื่อมีเกิดขึ้นแล้วก็ต้องเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา เพียงแต่จะช้าหรือเร็วเท่านั้น ไม่อาจจะตั้งมั่นทรงอยู่ในสภาพเดิมได้ เช่นคนและสัตว์ เมื่อมีการเกิดขึ้นแล้วก็มีการเจริญเติบโตเป็นหนุ่มสาวและเฒ่าแก่จนตายไปใน ที่สุด ไม่มีเว้นไปได้ทุกผู้คน แม้แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระอรหันต์เจ้าทั้งหลาย พรหมและเทวดา ฯลฯ

    สรรพสิ่งทั้งหลายอันเนื่องมาจากการปรุงแต่งที่เรียกว่าอุปาทานขั้นธ์ ๕ เช่น รูปกาย ล้วนแต่เป็นแร่ธาตุต่างๆมาประชุมรวมกันเป็นหน่วยเล็กๆของชีวิตขึ้นมาก่อน ซึ่งเล็กจนตาเปล่ามองๆไม่เห็น เรียกกันว่า " เซลล์ " แล้วบรรดาเซลล์เหล่านั้นก็มาประชุมรวมกันเป็นรูปร่างของคนและสัตว์ขึ้น ซึ่งหน่วยชีวิตเล็กๆเหล่านั้นก็มีการเจริญเติบโตและแตกสลายไป แล้วเกิดของใหม่ขึ้นมาแทนที่อยู่ตลอดเวลา ล้วนแล้วแต่เป็นอนิจจังไม่เที่ยงแท้แน่นอน

    ๒ . ทุกขัง ได้แก่ " สภาพที่ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ " ทุก ขัง ในที่นี้ไม่ได้หมายความแต่เพียงว่าเป็นความทุกข์กายทุกใจเท่านั้น แต่การทุกข์กายทุกข์ใจก็เป็นลักษณะส่วนหนึ่งของทุกขังในที่นี้ สรรพสิ่งทั้งหลายอันเป็นสังขารธรรม เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็ไม่อาจที่จะทนตั้งอยู่ในสภาพนั้น ๆได้ตลอดไป ไม่อาจจะทรงตัวและต้องเปลี่ยนแปลงตลอดไป เพียงแต่จะช้าหรือเร็วเท่านั้น เมื่อได้เกิดมาเป็นเด็กจะให้ทรงสภาพเป็นเด็ก ๆ เช่นนั้นตลอดไปหาได้ไม่ จะต้องเปลี่ยนแปลงไปเป็นคนหนุ่มและสาวแล้วก็เฒ่าแก่
    จนในที่สุดก็ต้องตายไป แม้แต่ขันธ์ที่เป็นนามธรรมอันได้แก่เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ก็ไม่มีสภาพทรงตัวเช่นเดียวกัน เช่นขันธ์ที่เรียกว่าเวทนา อันได้แก่ความทุกข์กายทุกข์ใจ และความไม่สุขไม่ทุกข์ ซึ่งเมื่อมีเกิดเป็นอารมณ์ดังกล่าวอย่างใดขึ้นแล้ว จะให้คงทรงอารมณ์เช่นนั้นให้ตลอดไปย่อมไม่ได้ นานไปอารมณ์เช่นนั้นหรือเวทนาเช่นนั้นก็ค่อยๆจางไปแล้วเกิดอารมณ์ใหม่ชนิด อื่นขึ้นมาแทน

    ๓ . อนัตตา ได้แก่ " ความไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่สิ่งของ " โดย สรรพสิ่งทั้งหลายอันเนื่องมาจากการปรุงแต่ง ไม่ว่าจะเป็น รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ล้วนแต่เกิดเพราะเหตุปัจจัย เช่น รูปขันธ์ย่อมประกอบขึ้นด้วยแร่ธาตุต่าง ๆ มาประชุมรวมกันเป็นกลุ่มก้อน เป็นหน่วยชีวิตเล็ก ๆ ขึ้นก่อน

    เรียกในทางวิทยาศาสตร์ว่าเซลล์ แล้วเซลล์เหล่านั้นก็ประชุมรวมกันเป็นรูปใหญ่ขึ้น จนเป็นรูปกายของคนและสัตว์ทั้งหลาย ซึ่งพระท่านรวมเรียกหยาบ ๆ ว่าเป็นธาตุ ๔ มาประชุมรวมกัน โดยส่วนที่เป็นของแข็งมีความหนักแน่น เช่น เนื้อ กระดูก ฯลฯ เรียกว่า " ธาตุดิน " ส่วนที่เป็นของเหลว เช่น น้ำเลือด น้ำเหลือง น้ำลาย น้ำดี น้ำปัสสาวะ น้ำไขข้อ น้ำมูก ฯลฯ รวมเรียกว่า " ธาตุน้ำ " ส่วนสิ่งที่ให้พลังงานและอุณหภูมิในร่างกาย เช่น ความร้อน ความเย็น เรียกว่า " ธาตุไฟ "

    ส่วนธรรมชาติที่ทำให้เกิดความเคลื่อนไหว ความตั้งมั่น ความเคร่ง ความตึง และบรรดาสิ่งเคลื่อนไหวไปมาในร่างกาย เรียกว่า " ธาตุลม " ( โดยธาตุ ๔ ดังกล่าวนี้มิได้หมายความอย่างเดียวกับคำว่า " ธาตุ " อันหมายถึงแร่ธาตุในทางวิทยาศาสตร์ )

    ธาตุ ๔ หยาบ ๆ เหล่านี้ได้มาประชุมรวมกันเป็นรูปกายของคน สัตว์และสรรพสิ่งทั้งหลายขึ้นเพียงชั่วคราวเท่านั้น เมื่อนานไปก็ย่อมเปลี่ยนแปลงแล้วแตกสลายกลับคืนไปสู่สภาพเดิม โดยส่วนที่เป็นดินก็กลับไปสู่ดิน ส่วนที่เป็นน้ำก็กลับไปสู่น้ำ ส่วนที่เป็นไฟก็กลับไปสู่ไฟ และส่วนที่เป็นลมก็กลับไปสู่ความเป็นลม ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนของคนและสัตว์ที่ไหนแต่อย่างใด จึงไม่อาจจะยึดมั่นถือมั่นรูปกายนี้ว่าเป็นตัวเราของเราให้เป็นที่พึ่งอัน ถาวรได้


    สมาธิ ย่อมมีกรรมฐาน ๔๐ เป็นอารมณ์ ซึ่งผู้บำเพ็ญอาจจะใช้กรรมฐานบทใดบทหนี่งตามแต่ที่ถูกแก่จริตนิสัยของตนก็ย่อมได้

    ส่วน วิปัสสนานั้น มีแต่เพียงอย่างเดียวคือ มีขันธ์ ๕ เป็นอารมณ์ เรียกสั้น ๆ ว่า มีแต่รูปกับนามเท่านั้นเอง ขันธ์ ๕ ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา และวิญญาณ

    ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นสภาวธรรมหรือสังขารธรรมเกิดขึ้นเนื่องจากการปรุงแต่ง เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็ไม่เที่ยง ทนอยู่ในสภาพเช่นนั้นไม่ได้ และไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนแต่อย่างใด อารมณ์ของวิปัสสนานั้น เป็นอารมณ์จิตที่ใคร่ครวญหาเหตุและผลในสังขารธรรมทั้งหลายจนรู้แจ้งเห็นจริง ว่าเป็น พระไตรลักษณ์ คือเป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา และ เมื่อใดที่จิตยอมรับสภาพความเป็นจริงว่าเป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตาจริง เรียกว่าจิตตกระแสธรรมตัด กิเลสได้ ปัญญา ที่จะเห็นสภาพความเป็นจริงดังกล่าว ไม่ใช่แต่เพียงปัญญาที่จะนึกคิดและคาดหมายเอาเท่านั้น แต่ย่อมมีตาวิเศษหรือตาใน ที่พระท่านเรียกว่า " ญาณทัสสนะ " เห็นเป็นเช่นนั้นจริง ๆ

    ซึ่งจิตที่ได้ผ่านการอบรมสมาธิมาจนมีกำลังดีแล้ว ย่อมมีพลังให้เกิดญาณทัสสนะหรือปัญญาที่รู้แจ้งเห็นจริงดังกล่าวได้ เรียกกันว่า " สมาธิอบรมปัญญา " คือสมาธิทำให้วิปัสสนาญาณเกิดขึ้น และเมื่อวิปัสสนาญาณเกิดขึ้นแล้ว ย่อมถ่ายถอนกิเลสให้เบาบางลง จิตก็ย่อมจะเบาและใสสะอาดบางจากกิเลสทั้งหลายไปตามลำดับ สมาธิจิตก็จะยิ่งก้าวหน้าและตั้งมั่นมากยิ่ง ๆ ขึ้นไปอีก เรียกว่า " ปัญญาอบรมสมาธิ "
    ฉะนั้นทั้งสมาธิและวิปัสสนาจึงเป็นทั้งเหตุและผลของกันและกันและอุปการะซึ่งกันและกัน จะมีวิปัสสนาปัญญาเกิดขึ้นโดยขาดกำลังสมาธิสนับสนุนมิได้เลย

    อย่างน้อยที่สุดก็จะต้องใช้กำลังของขณิกสมาธิเป็นบาทฐานในระยะแรกเริ่ม สมาธิจึงเปรียบเสมือนกับหินลับมีด ส่วนวิปัสสนานั้นเหมือนกับมีดที่ได้ลับกับหินคมดีแล้ว ก็ย่อมมีอำนาจถากถางตัดฟันบรรดากิเลสทั้งหลายให้ขาดและพังลงได้ อันสังขารธรรมทั้งหลายนั้นล้วนแต่เป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน ไม่ใช่คน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่ตัวเราของเราแต่อย่างใด ทุกสรรพสิ่งล้วนแล้วแต่เป็นแค่ดิน น้ำ ลม และไฟ มาประชุมรวมกันชั่วคราวตามเหตุตามปัจจัยเท่านั้น ในเมื่อจิตได้เห็นความเป็นจริงเช่นนี้แล้ว จิตก็จะละคลายจากอุปาทาน คือความยึดมั่นถือมั่น โดยคลายกำหนัดในลาภ ยศ สรรเสริญ สุขทั้งหลาย ความโลภ ความโกรธ และความหลงก็เบาบางลงไปตามลำดับปัญญาญาณจนหมดสิ้นจากกิเลสทั้งมวล บรรลุซึ่งพระอรหัตผลต่อไป

    ฉะนั้น การที่จะเจริญวิปัสสนาภาวนาได้ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพยายามทำสมาธิให้ได้เสียก่อน หากทำสมาธิยังไม่ได้ ก็ไม่มีทางที่จะเกิดวิปัสสนาปัญญาขึ้น สมาธิจึงเป็นเพียงบันไดขั้นต้นที่ก้าวไปสู่การเจริญวิปัสสนาปัญญาเท่านั้น


    http://palungjit.org/threads/ภาวนา-โดย-สมเด็จพระญาณสังวร-สมเด็จพระสังฆราช-สกลมหาสังฆปริณายก.189747/
     
  3. 2ชาติตรัสรู้

    2ชาติตรัสรู้ គ្រប់គ្រាន់ รักษาดวงใจ.គ្រប់គ្រាន់

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,696
    ค่าพลัง:
    +1,558
    โอย มันยาวจริงหนอ . . .
    มันก็ต้องหนุ่นกันและกันนั่นหละหนอ ก็ถ้าสมาธิไม่ดี มันก็วิปัสสนาไม่ได้ดีเหมือนกันนะละมั๊ง หุหุ
     
  4. เห็นเป็นจริง

    เห็นเป็นจริง สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กันยายน 2008
    โพสต์:
    29
    ค่าพลัง:
    +23
    ผมเห็นอย่างนี้
    ง่ายๆคือ สติทางโลก และสติทางธรรม
    สติ คือ การระลึกรู้
    การมีสติทางโลก เช่น การขับรถ การอ่านหนังสือ อื่นๆ คนไม่ปฏิบัติธรรมก็รู้
    การมีสติทางธรรม เช่น การระลึกรู้สภาวะธรรม ที่เกิดขึ้นกับ กาย ใจ ในปัจจุบัน
    และพิจารณา การเกิดดับ ตามกฏของไตรลักษณ์
    ผู้ปฏิบัติธรรม ก็ภาวนาให้มีความเจริญ และเกิดปัญญา
    จิตนั้นแหล่ะเป็นผู้มีปัญญา เมื่อพิจารณาอย่างแยบคาย
    ก็จะรู้ว่าธรรมทั้งหลาย เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วดับไป
    เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี
    เพราะสิ่งนี้เกิด สิ่งนี้จึงเกิด
    เพราะสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ก็ไม่มี
    เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ
    ทุกสิ่งย่อมมีเหตุปัจจัย เป็นอนัตตา บังคับไม่ได้
    เป็นสิ่งไม่เทียง จึงไม่ควรยึดมั่นในสิ่งทั้งปวง
    การเจริญ สติปัฎฐาน 4
    กายในกาย - พิจารณารู้การเกิดดับภายในกาย
    เวทนาในเวทนา - พิจารณารู้การเกิดดับภายในเวทนา
    จิตในจิต - พิจารณารู้การเกิดดับภายในจิต
    ธรรมในธรรม - พิจารณารู้ธรรมทั้งปวงเป็น อนัตตา

    วิปัสสนา และสมถะ ควรปฏิบัติทั้งสองอย่าง
    การที่จะ รู้ อะไร เราต้องปฏิบัติให้ถูกต้อง
    เมื่อปฏิบัติถูกต้อง เราก็รู้ถูกต้อง
    --------------------------
    เก็บมาฝาก
    การแปลกหนังสือจากภาษาหนึ่งเป็นอีกภาษาหนึ่งย่อมมีการ เพิ่มเติม หรือ ขยายความอีก
    ดังนั้นที่ถูกต้อง นำทั้งสอง เล่ม มาเปรียบเทียบคำต่อคำ จึงจะรู้ชัด

    ลองพิจารณาดู ข้อความใดถูกมากที่สุด
    สติ คือ การระลึกรู้
    สติ คือ ไปกำหนดระลึกรู้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 มิถุนายน 2009
  5. Amoxcycol

    Amoxcycol Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    296
    ค่าพลัง:
    +65
    ต้องอ่านตำราตัวเองให้ออกก็พอ เขาถึงเรียกว่า มีสติ
     
  6. ปัทมินทร์

    ปัทมินทร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    467
    ค่าพลัง:
    +1,393
    หมั่นให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา

    หมั่นฝึกสติ กำหนดรู้ อะไรเกิด อะไรตั้งอยู่ อะไรดับไป ในรูปขันธ์ (ดิน-เส้นผม เล็บ กระดูก ฟัน เป็นต้น, น้ำ-เลือด น้ำมูก น้ำลาย เป็นต้น, ลม-ลมหายใจ เป็นต้น, ไฟ-อุณหภูมิ ร้อน หนาวในร่างกาย เป็นต้น ) นามขันธ์ (เวทนา-สุข ทุกข์ ไม่สุขไม่ทุกข์, สัญญา-ความจำหมายรู้ เช่น รูปสวย รสหวาน กลิ่นเหม็น เสียงดัง หนาว ร้อน เป็นต้น, สังขาร-สภาพที่ปรากฏของจิตนั่นเอง เช่น ความโลภ ความโกรธ ความหลง ความเมตตา กรุณา มุทิตา สมาธิ ความฟุ้งซ่าน ความหดหู่ท้อถอย ความง่วง ความละอาย ความเกรงกลัว เป็นต้น, วิญญาณ-จิต คือผู้ที่รับรู้สิ่งทั้งปวง คือรับรู้ความรู้สึกต่าง ๆ ตั้งแต่ เวทนาขัน สัญญาขันธ์ จนถึงสังขารขันธ์ และเป็นผู้รับรู้ถึงส่วนที่เป็นรูปขันธ์ทั้งหลายด้วย อันได้แก่เป็นผู้รับรู้สิ่งทั้งหลาย ที่มากระทบทางตา หู จมูก ลิ้น กาย นั่นเอง รวมถึงเป็นผู้รับรู้ในสภาวะแห่ง นิพพาน ด้วย)

    หวังว่าจะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยสำหรับผู้ปฏิบัตินะครับ ผิดพลาดประการใด ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยนะครับ ขอให้เจริญในธรรมกันทุกท่านนะครับ
     
  7. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    อนุโมทนาอาจานขันธ์ครับ

    สติอยู่ที่ไหนปัญญาอยู่ที่นั่น
    ปัญญาอยู่ที่ไหนสติอยู่ที่นั่น

    สมาธิอยู่ที่ไหนสติอยู่ที่นั่น
    สติอยู่ที่ไหนสมาธิอยู่ที่นั่น

    สติ สมาธิ ปัญญา ตั้งลงที่ไหน???
    อย่าบอกนะครับว่าลอยไปลอยมา หาที่ตั้งไม่ได้
    มีแต่สภาวะ แต่หาสิ่งรองรับสภาวะไม่ได้

    พระบรมครูได้ชื่อว่าเป็นศาสดาเอกของโลก
    ไม่ใช่โชคช่วยหรือรวยทรัพย์
    แต่เพราะพระองค์ทรงกล่าวในสิ่งที่มีเหตุมีผล
    เอามาอวดชาวโลกให้รู้ยิ่งเห็นจริงตามนั้นครับ

    ;aa24
     
  8. มโน

    มโน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    316
    ค่าพลัง:
    +100
    รู้แล้วละ...ละแล้วรู้
     
  9. มโน

    มโน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    316
    ค่าพลัง:
    +100
    ของปลอม

    หลวงตาพระมหาบัว อธิบายธรรมเรื่องของปลอม
    วันศุกร์ ที่ 21 มิถุนายน 2517

    ''ธัมมปทีปวิหาร''อังกฤษ...
    ตอนแรกท่านหลวงตาสนทนากับคนไทยที่มากราบคารวะ ถึงพวกที่หากินกับศาสนา เช่น นำรูปพระอาจารย์ต่างๆ ไปทำจำหน่ายกัน แล้วท่านจึงเริ่มอธิบายธรรมเพื่อให้ท่านปัญญาฯแปลให้พุทธศาสนิกชนชาวอังกฤษ ฟัง ดังต่อไปนี้
    '' เมื่อกี้นี้ได้พูดกันถึงเรื่องการทำลายพระศาสนาโดยมีเจตนาหรือไม่ก็ตาม สิ่งที่ผิดพลาดย่อมผิดเสมอไป แต่เป็นของที่เป็นกันมาแล้ว เกิดจากของจริง ของปลอม ของแท้ ของเทียม ข้างนอก ข้างใน นี้แหละ
    ที่จริงมันเกิดขึ้นภายในใจดวงเดียวกัน ความปลอมนะมีอยู่มากในใจของเราแต่ละท่านๆรวมทั้งผู้แสดงอยู่ ณ บัดนี้ด้วย ที่เคยเป็นมาและเคยทราบเรื่องของตนเนื่องจากการสำเนียกอบรม หรือการศึกษาภาวะความเป็นของจิตเสมอมา จึงพอทราบว่าสิ่งใดปลอมสิ่งใดจริง
    ส่วนมากมีแต่ของปลอมๆทั้งนั้น ปรุงแต่งให้เราหลงไปตาม โดยไม่รู้ตัวเลยว่าสิ่งนั้นเป็นของจอมปลอม แต่เข้าใจว่าเป็นของจริงล้วนๆจึงเชื่อตาม โดยไม่มีปฏิกิริยาอะไรเป็นเครื่องต้านทานหรือพิสูจน์ความคิดประเภทนั้นๆบ้าง เลย เช่น นั่งภาวนาในขณะ 3 วินาทีแรก รู้สึกว่าจะจริง เราจะกำหนด''พุทโธๆๆ''ก็รู้สึกว่าเป็นพุทโธจริง พอ 4 วินาที 5 วินาที หลังไป จนกระทั่งถึง 1 นาที ของปลอมทั้งหลายเริ่มหลั่งไหลขึ้นจากจิตเรื่อย ออกลูกออกเต้าออกหลานออกเหลน แตกแขนงแผ่กระจายออกไป มีแต่ของปลอม คำว่า ''พุทโธ'' เลยไม่ทราบหายไปไหน เหลือแต่เรื่องอารมณ์ที่เคยคิดปรุงแต่ง เคยหลอกลวงตัวเองมาแล้วนั่นแหละเป็นเครื่องฉุดลากเอาไปโดยไม่รู้สึกตัว แล้วคล้อยตามเขาไปด้วย เคลิ้มตามเขาไปด้วย เพลินไปอย่างสดๆร้อนๆ เพลินไปกับเจ้าของปลอมนั้นๆ
    ''พุ ทโธ''ก็หาย อานาปานสติก็เงียบ ทั้งๆที่หายใจอยู่ แต่ก็เงียบๆ ในความจดจ่อ เงียบในทางกำหนดจดจ่อด้วยความตั้งใจด้วยความมีสติสตัง เลยหายเงียบไปตามๆกัน.....

    พอระลึกขึ้นมาได้ว่า''เราก็ภาวนามา นานพอสมควร ไม่เห็นปรากฏผล อย่างไรขึ้นมาบ้าง มันเป็นเพราะเหตุอะไร..?'' ความคิดเช่นนี้ขึ้นมารู้สึกว่าจะถูกต้องแต่แล้วกลับผิดไปอีก คือ ที่คิดขึ้นมาอย่างนั้นเหมือนว่าจะเห็นโทษของตัว แต่ไม่ได้คิดว่า '' ก็เราไม่ได้ภาวนาเพื่อให้ได้ผลอย่างนี้นี่นา เราภาวนาให้ได้ผลแบบอะไรไม่ทราบต่างหาก ''
    เป็น ความสะดุดใจว่าน่าจะได้สติ ครั้นแล้วกลับเป็นอย่างนั้นอีก '' ว่าเรานั่งภาวนานานแล้ว เอ้า พักเสียหน่อยเถอะ ตื่นขึ้นมาแล้วจะเอาใหญ่ละคราวนี้ '' แต่มันไม่หลับสักหน่อยนี่นา ไม่หลับสักงีบ พอหลับแล้วมันไปใหญ่เลย จนกระทั่งตะวันโผล่ขึ้นฟ้าตื่นขึ้นมา '' โอแล้วกัน '' วันหลังเอาใหม่ มันก็โกหกเรื่อยๆ วันหลังก็เริ่มเอา 3 วินาทีแรก อีก 4 วินาทีหลังๆ ไปก็เหลวไปเรื่อยๆ นี่คือพวกจอมปลอม นอกจากนี้ยังทำลายตนเองว่า '' นี่เราภาวนามาก็นานแล้ว ก็ไม่เห็นได้ความคิดความดีอะไร เราจะภาวนาไปหาอะไร เราเป็นคนอาภัพวาสนา มีบุญน้อยวาสนาน้อย ไม่สมควรแก่อรรถแก่ธรรมของพระพุทธเจ้ามากกว่า ทำไปก็ไม่เกิดประโยชน์อะไร เสียเวล่ำเวลาไปเปล่าๆหยุดเสียดีกว่า '' โดยไม่ได้คำนึงเลยว่าหยุดไปนั้นจะดีกว่าจริงๆหรือ หยุดภาวนาดีกว่าจริงหรือ ถ้าดีจริงคนทั้งโลกที่ไม่ได้ภาวนาเลยก็น่าจะดีกันทั้งโลกไปนานแล้ว ย้อนคิดอีกว่า หยุดแล้วจะดีกว่าภาวนาได้อย่างไ เราทำอยู่แล้วยังไม่ได้เรื่อง ถ้าเราหยุดแล้วมันจะดีกว่าที่ตรงไหน มันไม่ได้เรื่องมาจากไหน..? ก็จากเรานั่นเอง เราต้มเราไปเรื่อยๆ ปลอมนอก ปลอมในจิต อยู่โดยดี
    ปลอมอะไรก็ตาม สำคัญที่ปลอมในตัวเอง หลอกตัวเองนี่สำคัญมา ควรจะได้พินิจพิจารณากัน

    มุตโตทัย เทศนาธรรมโดย หลวงปู่มั่น
    มุตโตทัย โดยหลวงปู่มั่น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 มิถุนายน 2009
  10. สมาปัญญา

    สมาปัญญา Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    34
    ค่าพลัง:
    +88
    รู้ไหมครับว่าทำไมถึงเรียกคน "สติไม่ดี" ว่าเป็นคนบ้า เป็นคนเสียสติ ?

    รู้ไหมครับว่าอะไรคือเหตุและผลที่ทำให้คนบ้า ?

    เรามาลองใช้ "ปัญญา" ของเราในการเจริญสมาธิภาวนาหาคำตอบนี้ดูไหมครับ

    การเจริญสมาธิภาวนานั้นก็คือการเจริญสตินั้นเอง ต้องใช้ปัญญาพิจารณาให้ดีว่าคือการเจริญสติได้ยังไร

    ในศีลมีอะไรซ่อนอยู่ ?
    ไม่ว่าจะเป็นศีล5 ศีล8 ศีล10 ศีล227ข้อ จะมีตัว "สติ" ซ่อนอยู่ ต้องใช้ปัญญาพิจารณาดูให้ดีว่าตัวสติซ่อนอยู่ตรงไหนของศีล การถือศีลนั้นแหละเป็นการฝึกการเจริญสติ นอกจากจะได้เจริญสติแล้ว ยังได้การกำจัดกิเลสและตัณหาให้เบาบ้างลง

    การฝึกเจริญสติเปรียบเสมือนกับเรากำลังหยดน้ำลงไปในแก้วทีละหยด ทีละหยด สักวันหนึ่งน้ำที่หยดลงไปจะต้องเต็มแก้ว ไม่ชาตินี้ก็ชาติหน้าจะต้องมีสักวันหนึ่งน้ำนั้นจะต้องเต็มแก้ว (ถ้าไม่เลิกหยดเสียก่อน) น้ำจะเต็มช้า หรือจะเต็มเร็ว ก็ขึ้นอยู่ที่ตัวท่านเอง ถ้าท่านขยันมาลองน้ำที่หยดทุกๆวัน น้ำก็จะเต็มแก้วเร็ว แต่ขออย่างเดียวอย่าไปหยิบโอ่งมาลองน้ำที่หยดแล้วกัน (ใช้ปัญญาพิจารณาให้ดีครับ อะไรคือน้ำ อะไรคือแก้ว อะไรคือโอ่ง)

    จะรู้ หรือ จะเห็น นั้นคือตัวเดียวกัน ตัวเดียวนี้คือ "สติ" จะรู้ได้ จะเห็นได้ ต้องมีสติมากำกับอยู่ตลอดไม่ใช่หรือครับ ถ้าอย่างนั้นเขาจะเรียกกันว่า "สติทันจิต" ได้อย่างไร

    สตินี้สำคัญมากๆ นะครับ อย่าไปติดอยู่ที่นามธรรมกับคำว่ารู้ กับคำว่าเห็นนะครับ แก่นแท้ของคำว่ารู้ ของคำว่าเห็น นั้นคือ "สติ" ครับ อย่าไปยึดติดรูปและนามนะครับ

    ศีลอริยมรรครอท่านอยู่ครับ (ศีลอริยมรรคเกิดขึ้นได้ยังไร?)
    สมาปัญญา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 ตุลาคม 2010
  11. สับสน!

    สับสน! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2010
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +3,984
    เข้ามาสาธุกับ ท่านขันธ์ครับ..งานนี้ ท่านขันธ์โดนโจมตีแน่ครับ
     
  12. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    พากันมีไว้เยอะ สร้างไว้ให้มากๆ สติที่ดีก็ไม่พาตนให้เป็นทุกข์ในภายหน้าส่วนสติที่ไม่ดีก็มักจะพาตนไหลไปตามอำนาจกรรมอำนาจกิเลส สร้างได้ ฝึกได้แน่นอน เหมือนกันกับเลือกเกิดไม่ได้ แต่เลือกเป็นได้นั่นแหละ สติ
     
  13. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    ก็ถ้าเจอของปลอมที่ทำเนียนเห็นทีจะวุ่นวายนะเพราะ มีแต่เจ้าของเองเท่านั้นที่รู้ว่าแท้จริงนั้นสิ่งที่ตนถือครองอยู่นั้นเป็นของปลอมฤาของจริง
    อนุโมทนาครับ
     
  14. ผู้พันจุ่น

    ผู้พันจุ่น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,396
    ค่าพลัง:
    +2,983
    พระเซนองค์หนึ่งพูดว่า "ในพรรษานี้ เราจะไม่ส่งจิตออกไปนอกบริเวณกุฎีนี้เลย...."
    แสดงว่าเขาฝึกให้มีสติอยู่ภายในบริเวณที่ต้องการได้ บังคับมันได้ ไม่ส่งออกไปนอกจากที่กำหนดไว้ .....

    ในมหาสติปัฏฐานสูตร ก็ให้ฝึกสติอยู่ใน กาย เวทนา จิต ธรรม ทำให้ระลึกได้ทัน บังคับใจได้ ไม่ส่งใจคิดฟุ้งซ่านออกไปในเรื่องต่าง ๆ อันจะทำให้เกิดอารมณ์ล่วงไปในอดีต อนาคต ไม่อยู่กับอารมณ์ปัจจุบัน

    ทีนี้การฝึกมหาสติปัฏฐาน ที่บอกว่า 3 วัน 7 วัน 7 เดือน 7 ปี จะทำให้สำเร็จเป็นพระอริยะบุคคลได้ นั้น ....มีท่านใดพอที่จะทราบแนวทาง หรือรู้ไหมว่า อย่างไร???? วิธีใด ???? เอาแค่คิดว่าน่าจะเป็นไปได้ก็พอ ........
     
  15. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    จ่อสติ ให้รู้แคบที่สุดให้ได้
     
  16. Bull_psi

    Bull_psi เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +1,445
    ดูก่อนท่านทหารหาญ
    สติปัฎฐาน4 คือ สติตั้งมั่นเห็นความแปรปรวนของฐานทั้ง4

    เช่น มีคนมาหมิ่นเกียรติยศทหารหาญ เกียรติยศย่อมเป็นของหนักของนายทหารชาตินักรบเป็นของธรรมดา

    ฐานกาย มีใจสั่น ปากสั่น หนักคอ มีเกร็ง หน้าเหวอ หน้าแดง
    ฐานเวทนามี ไม่สบายใจ ร้อนใจ กังวล
    ฐานจิต คิดอยู่นั้น ทำไมจึงหมิ่นเรา

    ผิดไปจากปกติสงบอย่างนี้ สติต่อเนื่องจึงเห็นความแปรปรวนเกิดแล้ว..
    สติต่อเนื่องยังเห็นมีอยู่..
    สติไม่ต่อเนื่องเสพอารมณ์เปิดสวนสัตว์เปิดไปแล้ว
    สติต่อเนื่องพิจารณา..ตอบโต้อย่างนี้กุศล อย่างนี้อกุศล ฐานธรรม
    สติต่อเนื่อง..ความแปรปรวนที่ฐานต่างๆดับไหม เที่ยงไหม ควรยึดมั่นไหม

    ถ้าสติไม่ตั้งมั่นก็พึงรู้ว่าต้องเจริญอาณาปานสติเพิ่ม อย่างนี้แล

    ครั้งสามก๊ก
    ขงเบ้งส่งคนไปร้องด่าสุมาอี้ ด่าเท่าไหร่ก็ไม่ออกมารบ ไม่หลงอุบานจึง ส่งเสื้อสตรี
    บอกว่าถ้าไม่มารบจงใส่เสื้อนี้เถิด สุมาอี้เห็นขงเบ้งเดิมใจเย็นครานี้กลับใจร้อนจึงรู้ว่า มีอะไรแน่ๆ (ขงเบ้งป่วยรู้ว่าอยู่ได้อีกไม่นาน จึงจะรีบเผด็จศึก) ล่วงรู้แก่อุบายแล้วจึงสวมเสื้อนั้นให้ทูตดู (มิได้ มิได้ไหลตามอารมณ์จึงเห็นตามจริง) จึงตั้งมั่นไม่ออกรบ
    ไม่นานจากนั้น ขงเบ้งตาย ไม่นานจากนั้น จ๊กก๊กแตก
     
  17. Mr.Boy_jakkrit

    Mr.Boy_jakkrit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    2,063
    ค่าพลัง:
    +2,676

    สาธุ..จ่อสติให้รู้แคบที่สุด

    เมื่อแคบที่สุดได้ก็เปรียบเสมือนกับจิตมีวงเกิดดับในดวงเดียว เฉกเช่นกับหลอดไฟเกิดสว่างฉันใดก็ดับความสว่างที่นั่นฉันนั้น

    จึงจะเรียกว่าสมาธิในที่สุด

    บางคำสั้นนิดเดียวแต่ก็ทำให้คนเกิดปัญญาได้

    อนุโมทนาครับ:cool:
     
  18. ผู้พันจุ่น

    ผู้พันจุ่น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,396
    ค่าพลัง:
    +2,983
    ขอคำอธิบายเพื่มเติมด้วยครับ............
     
  19. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    อะมอกซี่ครับ ข้อความข้างต้นนั้นผิดพลาดประการใด ทำไมไม่เห็นด้วยช่วยชี้แจงด้วยครับ ให้ชัดเจนกันไปเลยครับ
     
  20. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    มาช่วยคุณเอม๊อกซตอบเล่นๆ
    แต่ไม่รู้เข้าใจคุณเอม๊อกซ ถูกรึป่าวนะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...