ขอเชิญร่วมทำบุญสงเคราะห์พระภิกษุสงฆ์อาพาธ

ในห้อง 'ตลาด พระเครื่องเพื่อการกุศล' ตั้งกระทู้โดย พันวฤทธิ์, 29 พฤศจิกายน 2007.

  1. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,789
    ค่าพลัง:
    +16,101
    พรุ่งนี้จะมีการประชุมคณะกรรมการทุนนิธิฯ โดยมีเรื่องเข้าที่จะประชุม เพื่อแจ้งให้ผู้ที่บริจาคกับบัญชีของทุนนิธิฯ ทราบคร่าวๆ ดังนี้

    1. กำหนดรอบในทำกิจกรรมประจำเดือน ตุลาคม
    2. รายงานโรงพยาบาลที่ทุนนิธิฯ ได้หาเพิ่มเติมไว้อีก 2 ที่ จากเดิมที่แจ้งไว้ในวันกิจกรรมเดือนที่แล้วคือ

    2.1 โรงพยาบาลแม่สอด จ.ตาก ซึ่งในขณะนี้ทางปรึกษาทาง รพ.แล้ว ค่าใช้จ่ายสำหรับพระองค์ที่ป่วยเป็นวัณโรคชนิดร้ายแรงและเรื้อรัง ตามที่เห็นในภาพ ที่ท่านจะต้องนอนพักรักษาตัวต่ออีกราว 2 อาทิตย์ จะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นราวหมื่นบาท จะเห็นควรทำประการใดดี (ขณะนี้ยังไม่ได้มีการส่งเงินไปช่วยเหลือในส่วนของสงฆ์อาพาธใน รพ.นี้ แม้แต่บาทเดียว แต่มีผู้เสนอความเห็นมา 2 รายคือ คุณ chaipat และ คุณ wibool ว่าควรจะให้การช่วยเหลือโดยไม่เลือกเชื้อชาติว่าเป็นพระพม่าหรือไทย ซึ่งจะนำไปประกอบการพิจารณาด้วย)
    2.2 ผมจะนำเสนอเรื่องของโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชฯ ของ อ.ปัว จ.น่าน ซึ่งการรักษาจะเป็นไปอย่างของ รพ.แม่สอด แต่ขอบเขตการรักษาของ รพ. นี้จะเป็นทางภาคเหนือตอนบนด้านขวา ติดชายแดนลาว คือมีพระสงฆ์ชาวลาวข้ามมารักษาตัว บางครั้ง ทาง พยาบาลแจ้งว่า ขากลับต้องเรี่ยไรเงินส่งกลับถวายท่านไปด้วย ที่ผ่านมา รพ.แห่งนี้ ไม่เคยมีใครหรือองค์กรใด เข้ามาช่วยเหลือสงฆ์อาพาธเลย หากเราช่วยก็จะเป็นรายแรกของ รพ.แห่งนี้ (ข้อมูลโดยสรุป รพ.นี้ มีประมาณ 200 เตียง ส่วนของสงฆ์อาพาธจะถูกจัดไว้รวมกับส่วนการรักษาของเด็ก เพียงแต่แบ่งพื้นที่ออกมาอีก 19 เตียง เป็นรพ.ของกระทรวงสาธารณสุขเหมือนกับ รพ.แม่สอด และ รพ.สงขลา)

    ยังไงในข้อนี้ พวกเรามีความเห็นอย่างไร ขอแรงโพสท์ให้ทราบด้วยครับ จะได้ช่วยกันหลายหัวหน่อย ยังดีกว่าที่กรรมการฯ มานั่งคิดเอง สี่-ห้าคนเน๊อะ..จะช่วยดีหรือไม่ช่วยดี หรือถ้าช่วยควรจะช่วยแบบน้อยๆ ก่อนเช่น เริ่มจาก สามพัน สี่พัน หรือห้าพัน เท่า รพ.อื่น ก่อนดีมั๊ย หรือจะเอาเท่ากันจะได้ไม่ต้องคิดมากก็เอากัน ทุกคนเป็นเจ้าของปัจจัยครับ

    3.เรื่องการจัดส่งพระพิมพ์ที่มีผู้ขอมา
    4.สรุปทบทวนถึงจุดที่ต้องปรับปรุงแก้ไขในกิจกรรมที่ผ่านมา
    5.แผนงานเรื่องการครบรอบ 1 ปี ของการก่อตั้งทุนนิธิฯ
    6.พระพิมพ์เจ้าสัว และพระกริ่งท่านปวเรศ และพระพิมพ์สมเด็จอีกที่ได้มาใหม่อีก 1 ไหขนาดใหญ่เกือบพันองค์ ฯลฯ
    7.สนทนาธรรมะและความคืบหน้าด้านจิตที่เพียรพยายามฝึกกัน
    8.เรื่องใบอนุโมทนาและหนังสือขอบคุณ
    9.เรื่องยอดเงินบริจาค
    10.เรื่องอื่นๆ
    - กฐินตกค้างตามที่ได้ลงไว้ให้ทราบแล้ว

    ทั้งหมดคงใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง และหากมีความคืบหน้าเป็นอย่างไร จะได้นำมาแจ้งให้ทราบต่อไปครับ


    พันวฤทธิ์

    5/10/51
     
  2. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,789
    ค่าพลัง:
    +16,101
    สำหรับท่านผู้ที่มาใหม่ โปรดศึกษาจากรากเหง้า เจตนารมย์ และตัวตนของทุนนิธสงเคราะห์สงฆ์อาพาธ อ.ประถม อาจสาคร ของพวกเราก่อนครับ ก่อนที่จะมาตัดสินใจว่าจะมาร่วมเป็นสายบุญเพื่อร่วมกันสงเคราะห์สงฆ์อาพาธทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค โดยไม่เลือกเชื้อชาติ และชนชาติ ที่ถือเป็นหน้าที่ที่ช่วยสืบอายุพุทธศาสนาของอุบาสก และอุบาสิกาทีดีพึงกระทำเช่นพวกเราอีกทางหนึ่งด้วย และไม่เสียทีทีเกิดมาใน "บวรพุทธศาสนา ในภัทรกัปปนี้"

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=3><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=80>[​IMG]


    </TD><TD vAlign=top>ขอเชิญร่วมทำบุญสงเคราะห์พระภิกษุสงฆ์อาพาธ
    ด้วยในปัจจุบันพระภิกษุสงฆ์อาพาธตามโรงพยาบาลต่างๆ เช่น รพ.สงฆ์ ยังคงมีอยู่เป็นจำนวนมาก พระสงฆ์เหล่านี้ล้วนเป็นเนื้อนาบุญของเรา ดังคำกล่าวที่ว่า"ผู้ใดปราถนาจะอุปปัฏฐากเราตถาคต ผู้นั้นพึงรักษาภิกษุป่วยไข้"
    ผู้เขียน: pratomfoundation ชมแล้ว: 84,384 ครั้ง
    post ครั้งแรก: Thu 7 February 2008, 3:43 am ปรับปรุงล่าสุด: Tue 9 September 2008, 10:34 pm
    อยู่ในส่วน: พักผ่อนหย่อนใจ, วิชาการ.คอม, สุขภาพ, สุขภาพทั่วไป, โรคภัยไข้เจ็บ, อาหารการกิน, กิจกรรมพิเศษ, ศาสนา
    <INPUT type=hidden value=article> <INPUT type=hidden value=34941> <INPUT type=hidden value=vblog>



    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    สารบัญ
    1-20 | 21-40 | 41-60 | 61-78

    หน้า : 1 บทนำ
    หน้า : 2 จุดเริ่มต้นและแนวทางการดำเนินงาน
    หน้า : 3 ความคืบหน้าและยอดเงินบริจาค ณ เดือน ธันวาคม 2550
    หน้า : 4 พี่ใหญ่ฝากมา...
    หน้า : 5 ภาพการทำบุญของ ศ.ทุนนิธิสงเคราะห์ สงฆ์อาพาธ อ.ประถม อาจสาคร ประจำเดือน ธันวาคม 2550 #1
    หน้า : 6 ความรู้ปู่ให้มา..พระสมเด็จกรุบางน้ำชน (ปีระกาป่วงใหญ่)
    หน้า : 7 ความรู้ปู่ให้มา..พระสมเด็จปูนสอ "สมเด็จอัศนี"
    หน้า : 8 พระท่าดอกแก้วที่ อ.ประถม อาจสาครสร้าง
    หน้า : 9 ความคืบหน้าและยอดเงินบริจาค ณ เดือน มกราคม 2551
    หน้า : 10 ภาพการทำบุญของ ศ.ทุนนิธิสงเคราะห์ สงฆ์อาพาธ อ.ประถม อาจสาคร ประจำเดือน มกราคม 2551 #2
    หน้า : 11 ความคืบหน้าและยอดเงินบริจาค ณ เดือน กุมภาพันธ์ 2551
    หน้า : 12 ภาพการทำบุญของ ศ.ทุนนิธิสงเคราะห์ สงฆ์อาพาธ อ.ประถม อาจสาคร ประจำเดือน กุมภาพันธ์ 2551 #3
    หน้า : 13 การไหว้ 5 ครั้ง (ของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ญาณวรเถร ) วัดเทพศิรินทราวาส
    หน้า : 14 แจ้งกำหนดการร่วมทำบุญเดือน มีนาคม
    หน้า : 15 ภาพพระโลกอุดรที่เรียกว่า "กรุเก่า"
    หน้า : 16 ใบเสร็จรับเงินที่ไปทำบุญมาเมื่อวันอาทิตย์ที่ 23 มีนาคม 2551
    หน้า : 17 ภาพการทำบุญของ ศ.ทุนนิธิสงเคราะห์ สงฆ์อาพาธ อ.ประถม อาจสาคร ประจำเดือน มีนาคม 2551 #4
    หน้า : 18 ภาพการทำบุญของ ศ.ทุนนิธิสงเคราะห์ สงฆ์อาพาธ อ.ประถม อาจสาคร ประจำเดือน มีนาคม 2551 #4 หน้า 2
    หน้า : 20 "กระดูก 300 ท่อน" สุดยอดธรรมจากหลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร
    หน้า : 21 ย้อนหลังกลับมาคุยถึงเรื่อง พระกำลังใจ 2

    หน้า : 22 ชนวนที่ใช้ในการสร้างพระกำลังใจ 2 หน้าที่ 1
    หน้า : 23 ชนวนที่ใช้ในการสร้างพระกำลังใจ 2 หน้าที่ 2
    หน้า : 24 สรุปยอดเงินบริจาคที่ Update ยอดเมื่อวันนี้ 10 เมษายน 2551
    หน้า : 25 ใบโมทนาบัตรเมื่อคราวไปทำบุญเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2551
    หน้า : 26 สรุปรายการพระที่นำมามอบให้เป็นสำหรับผู้ร่วมทำบุญกับทุนนิธิ ฯ
    หน้า : 27 บรรยากาศแบบไทย ๆ ณ บ้านอาจารย์ประถม อาจสาคร ร่วมกับ คณะกรรมการทุนนิธิฯ
    หน้า : 28 พระอีกรุ่นหนึ่งที่เป็นพระที่ อ.ประถมฯ สร้างไว้...
    หน้า : 29 คำบอกเล่าเกี่ยวกับกิจกรรมทำบุญครั้งที่ 5 ของทุนนิธิฯ...จากประธานทุนนิธิฯ
    หน้า : 30 ภาพการทำบุญของ ศ.ทุนนิธิสงเคราะห์ สงฆ์อาพาธ อ.ประถม อาจสาคร ประจำเดือน เมษายน 2551 #5
    หน้า : 31 ภาพการทำบุญของ ศ.ทุนนิธิสงเคราะห์ สงฆ์อาพาธ อ.ประถม อาจสาคร ประจำเดือน เมษายน 2551 #5-2
    หน้า : 32 รูปขณะที่ทางประธานทุนนิธิฯและคณะกรรมการได้นำกระเช้า ไปกราบเยี่ยมอาการผ่าตัดต้อที่ตาของ อาจารย์ประถม ที่บ้าน
    หน้า : 34 ประชาสัมพันธ์ งานบุญที่ รพ.สงฆ์ ครั้งที่ 6/51
    หน้า : 35 รายละเอียด ก่อนเริ่มการทำบุญ ในวันอาทิตย์ที่ 25/5/2551
    หน้า : 36 รายงานการถอนเงินออกมาเพื่อทำบุญ และ สรุปยอดเงินบริจาคที่ Update ยอดเมื่อ 27/05/08
    หน้า : 37 ภาพการทำบุญของ ศ.ทุนนิธิสงเคราะห์ สงฆ์อาพาธ อ.ประถม อาจสาคร ประจำเดือน พฤษภาคม 2551 #6 หน้าที่ 1
    หน้า : 38 ภาพการทำบุญของ ศ.ทุนนิธิสงเคราะห์ สงฆ์อาพาธ อ.ประถม อาจสาคร ประจำเดือน พฤษภาคม 2551 #6 หน้าที่ 2
    หน้า : 39 แจ้งข่าว หลวงปู่อ่อนศรี ฐานวโร วัดถ้ำเขาประทุน ชลบุรี ได้มรณภาพแล้วด้วยอาการสงบ
    หน้า : 40 แจ้งข่าวเรื่องการทำบุญ รพ.สงฆ์ ในวันที่ ๒๒/๐๖/๒๕๕๑
    หน้า : 41 ขอประชาสัมพันธ์กิจกรรมของทุนนิธิฯ วันที่ 22 มิ.ย (ครั้งที่ 7)
    หน้า : 42 ภาพการทำบุญของ ศ.ทุนนิธิสงเคราะห์ สงฆ์อาพาธ อ.ประถม อาจสาคร ประจำเดือน มิถุนายน 2551 #7 หน้าที่ 1

    หน้า : 43 ภาพการทำบุญของ ศ.ทุนนิธิสงเคราะห์ สงฆ์อาพาธ อ.ประถม อาจสาคร ประจำเดือน มิถุนายน 2551 #7 หน้าที่ 2
    หน้า : 44 ภาพการทำบุญของ ศ.ทุนนิธิสงเคราะห์ สงฆ์อาพาธ อ.ประถม อาจสาคร ประจำเดือน มิถุนายน 2551 #7 หน้าที่ 3
    หน้า : 45 ประธานทุนนิธิฯ แจ้งยอดการทำบุญในครังที่ 7 นี้ และใบเสร็จแจ้งการทำบุญ ร่วมโมทนาบุญด้วยกันครับ
    หน้า : 46 พระนาคปรกมหาลาภ
    หน้า : 47 ประชาสัมพันธ์กิจกรรมสำหรับงานบุญประจำเดือนกรกฎาคม 2551
    หน้า : 48 หลักฐานการโอนเงินเข้ากองทุนของหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี และ กองทุนสงฆ์อาพาธ รพ. 50 พรรษา มหาวชิราลงกรณ์ จ.อุบลฯ
    หน้า : 49 ใบโมทนาบัตรที่ทางโรงพยาบาลสงฆ์ และของทาง รพ.50 พรรษา มหาวชิราลงกรณ จ.อุบลส่งมาให้ทางทุนนิธิฯทั้งของเดือน พฤษภาคมและเดือนมิถุนายน
    หน้า : 50 การเบิก-จ่ายในงานบุญ ๒๗/๐๗/๒๕๕๑
    หน้า : 51 ภาพการทำบุญของ ศ.ทุนนิธิสงเคราะห์ สงฆ์อาพาธ อ.ประถม อาจสาคร ประจำเดือน กรกฏาคม 2551 #8 หน้าที่ 1
    หน้า : 52 ภาพการทำบุญของ ศ.ทุนนิธิสงเคราะห์ สงฆ์อาพาธ อ.ประถม อาจสาคร ประจำเดือน กรกฏาคม 2551 #8 หน้าที่ 2
    หน้า : 53 พระพิมพ์สมเด็จเจ้าคุณกรมท่า พิมพ์ปรกโพธิ์
    หน้า : 54 ซื้อผ้ามัสสลิน ถวายเพื่อใช้เป็นเครื่องบริขารให้แก่พระสงฆ์อาพาธ ณ รพ.ศรีนครินทร์ จ.ขอนแก่น
    หน้า : 55 ปุจฉา - วิสัชนา
    หน้า : 56 สมเด็จเจ้าคุณกรมท่าพิมพ์ใหญ่และสมเด็จปัญจสิริรุ่นแรกเนื้อเก่าสวยๆ #1
    หน้า : 57 สมเด็จเจ้าคุณกรมท่าพิมพ์ใหญ่และสมเด็จปัญจสิริรุ่นแรกเนื้อเก่าสวยๆ #2
    หน้า : 58 สมเด็จเจ้าคุณกรมท่าพิมพ์ใหญ่และสมเด็จปัญจสิริรุ่นแรกเนื้อเก่าสวยๆ #3
    หน้า : 59 สมเด็จเจ้าคุณกรมท่าพิมพ์ใหญ่และสมเด็จปัญจสิริรุ่นแรกเนื้อเก่าสวยๆ #4
    หน้า : 60 สมเด็จเจ้าคุณกรมท่าพิมพ์ใหญ่และสมเด็จปัญจสิริรุ่นแรกเนื้อเก่าสวยๆ #5
    หน้า : 61 ใบโมทนาบัตรของเดือน กรกฎาคม+ยอดเงินที่เบิกออกมาใช้ในการทำบุญกับทาง รพ.สงฆ์ ในวันที่ 24 สิงหาคม 2551
    หน้า : 62 ภาพของผ้ามัสลินที่ได้จากการบริจาคของทุนนิธิ ฯ ไปใช้หอสงฆ์ที่ รพ.ศรีนครินทร์ จ.ขอนแก่น

    หน้า : 65 พระกรุวังหน้าบางส่วน
    หน้า : 66 ภาพการทำบุญของ ศ.ทุนนิธิสงเคราะห์ สงฆ์อาพาธ อ.ประถม อาจสาคร ประจำเดือน สิงหาคม 2551 #1
    หน้า : 67 แจงรายละเอียดการทำบุญเดือนสิงหาคม 2551
    หน้า : 68 ปิดท้ายงานบุญเดือนสิงหาคม 2551
    หน้า : 69 พระพิมพ์เจ้าสัว....
    หน้า : 70 พระกรุโลกอุดร
    หน้า : 71 พระกรุโลกอุดร พิมพ์ปิดตา อรหัง
    หน้า : 72 พระสารีริกธาตุของพระพุทธปัจเจกพุทธเจ้า
    หน้า : 73 พระสกุลวังหน้า
    หน้า : 74 พระพิมพ์สกุลวังหน้า
    หน้า : 75 พระพิมพ์สกุลวังหน้า.. ต่อ
    หน้า : 76 พระพิมพ์ของบรมครูพระเทพโลกอุดร
    หน้า : 77 แจ้งข่าวเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินงานขั้นต่อไปของทุนนิธิ
    หน้า : 78 ทางทุนนิธิฯตั้งใจจะแจกพระให้ในเดือนนี้นั้นก็ขอเรียนชี้แจงดังนี้นะครับ
    หน้า : 79 ภาพพระ ๒๔๐๘ เพื่อการศึกษา
    หน้า : 80 ภาพของการรักษาผู้ป่วยของ รพ.สงขลานครินทร์ ที่เราเตรียมส่งเงินไปช่วยเหลือ
    หน้า : 81 ภาพพระ ๒๔๐๘ เพื่อการศึกษา (๒)
    หน้า : 82 ใบโมทนาบัตรของโรงพยาบาล 5 พรรษา มหาวชิราลงกรณ และโรงพยาบาล ศรีนครินทร์ มาให้ได้ร่วมกันโมทนาในบุญ
    <INPUT id=cur_content type=hidden value=1 name=cur_content>




    หน้าที่ 1 - บทนำ




    [​IMG]



    ด้วยในปัจจุบันพระภิกษุสงฆ์อาพาธตามโรงพยาบาลต่างๆ เช่น รพ.สงฆ์
    ยังคงมีอยู่เป็นจำนวนมาก พระสงฆ์เหล่านี้ล้วนเป็นเนื้อนาบุญของเรา
    ดังคำกล่าวที่ว่า"ผู้ใดปราถนาจะอุปปัฏฐากเราตถาคต ผู้นั้นพึงรักษาภิกษุป่วยไข้"
    ด้วยเหตุและปัจจัยแห่งเนื้อนาบุญอันมีอานิสงส์ที่ประมาณมิได้นี้ ประกอบกับเป็นการเชิดชู
    ครูอาจารย็ที่ได้อบรมความรู้ และถ่ายทอดประสบการณ์ในเรื่องอภิญญาจิต และความรู้เรื่องพระพิมพ์
    สกุล วัดพระแก้ววังหน้า พระพิมพ์สกุลบรมครูเทพโลกอุดรของ ท่าน อ.ประถม อาจสาคร
    กระผมและคณะจึงได้ก่อตั้งกองทุนขึ้นมาในรูปแบบของทุนนิธิ เพื่อรวบรวมเงินบริจาค
    ที่จะได้มานำไปบริจาคให้หรือรักษาไข้แก่พระภิกษุสงฆ์อาพาธที่ยากไร้ ตามโรงพยาบาลต่างๆ
    หรือบำรุงศาสนกิจที่จำเป็นตามที่คณะกรรมการของกองทุนจะได้พิจารณาขึ้น ดังนั้น กระผมและคณะ
    จึงใคร่ขอเชิญชวนทุกท่านที่ได้อ่าน ได้มีส่วนร่วมในการช่วยเหลือพุทธศาสนา ด้านการรักษาสงฆ์
    หรือศาสนกิจอื่นๆ





    บัญชี "ศ. ทุนนิธิสงเคราะห์ สงฆ์อาพาธ อ.ประถม อาจสาคร"(pratom foundation)
    บัญชีธนาคารกรุงศรีอยุธยา สาขาถนนวิภาวดีรังสิต (ซันทาวเวอร์ส)
    บัญชีออมทรัพย์ หมายเลข 348-1-23245-9


     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 ตุลาคม 2008
  3. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,789
    ค่าพลัง:
    +16,101
    [​IMG]


    <TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center></TD><TD vAlign=center>เปลี่ยนปัญหา...เป็นปัญญา
    &laquo; เมื่อ: วันพุธที่ 16 เมษายน 2008 เวลา 11:30:38 น. &raquo;


    </TD><TD style="FONT-SIZE: smaller" vAlign=bottom align=right height=20></TD></TR></TBODY></TABLE>


    <HR class=hrcolor width="100%" SIZE=1>"ปัญหา"เป็นสิ่งที่ใคร ๆ ก็อยากเลี่ยงหลีก แต่ไม่มีใครที่หนีมันพ้นได้ เพราะปัญหาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต ในเมื่อเราไม่มีวันหนีปัญหาพ้น จะไม่ดีกว่าหรือหากเราเตรียมใจให้พร้อมเพื่อต้อนรับมันอยู่เสมอ

    การมองว่า "ปัญหา"เป็นเรื่องธรรมดาของชีวิตที่ไม่มีใครหนีพ้น เช่นเดียวกับ เกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยให้เราเผชิญกับปัญหาได้โดยไม่ทุกข์มากนัก แต่วิธีที่ดีกว่านั้นก็คือการเปลี่ยน "ปัญหา" ให้กลายเป็น "ปัญญา" เพราะนอกจากจะไม่ทุกข์หรือ "ขาดทุน"แล้ว ยังได้ประโยชน์เป็น "กำไร"กลับมาด้วย

    ขอให้สังเกตคำว่า "ปัญหา" กับ "ปัญญา" นั้นมีความใกล้เคียงกันมาก ต่างกันแค่ตัวเดียวคือ "ห" กับ "ญ" ในชีวิตจริง สิ่งที่เรียกว่า "ปัญหา" นั้นก็อยู่ใกล้กับ "ปัญญา" มากเช่นเดียวกัน

    ปัญหาสามารถก่อให้เกิดปัญญาได้หากรู้จักมองหรือใคร่ครวญกับมัน นักเรียนจะเฉลียวฉลาดได้ก็เพราะหมั่นทำการบ้าน การบ้านนั้นคืออะไรหากไม่ใช่ปัญหาหรือโจทย์ที่ต้องขบคิด ถ้าครูไม่ขยันให้โจทย์หรือตั้งคำถามให้นักเรียนขบคิด นักเรียนก็ยากที่จะเกิดปัญญาได้
    คนทั่วไปนั้นเมื่อเจอปัญหาก็จะเป็นทุกข์หรือกลัดกลุ้มไปกับมัน แต่ถ้าลองตั้งสติและพิจารณาให้ดี ปัญหาก็จะกลายเป็นปัญญาได้ไม่ยาก เมื่อ ๘๐ ปีก่อน นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษคนหนึ่งได้เพาะเลี้ยงแบคทีเรียไว้ในจานเพื่อใช้ในการศึกษาวิจัยเรื่องไข้หวัด วันหนึ่งเขาพบว่ามีเชื้อราเข้าไปปนเปื้อนและทำลายแบคทีเรียที่เพาะเอาไว้ นั่นหมายความว่าเขาต้องเพาะแบคทีเรียขึ้นใหม่

    เจ้าเชื้อราตัวนี้สร้างปัญหาให้นักวิทยาศาสตร์ผู้นี้ แต่แทนที่จะโมโห เขากลับฉุกคิดขึ้นมาว่าถ้ามันฆ่าแบคทีเรียที่เพาะในจานได้ มันก็ต้องกำจัดแบคทีเรียที่ในร่างกายคนได้เช่นกัน ปัญญาเกิดขึ้นแก่นักวิทยาศาสตร์ผู้นี้ทันที นำไปสู่การค้นพบเพนนิซิลินหรือยาปฏิชีวนะ ซึ่งในเวลาไม่นานสามารถช่วยชีวิตผู้คนนับร้อยล้านคนทั่วโลก นักวิทยาศาสตร์ผู้นี้คืออเล็กซานเดอร์ เฟลมมิ่งนั่นเอง

    โลกก้าวหน้าได้เพราะเรารู้จักเปลี่ยนปัญหาให้เป็นปัญญา มองให้แคบลงมา ชีวิตของคนเราก็เช่นกัน มีคนจำนวนไม่น้อยที่ชีวิตเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้นหลังจากประสบวิกฤต บางคนเป็นโรคหัวใจเจียนตาย ภัยร้ายได้บังคับให้เขาต้องหันมาทบทวนชีวิตของตน และพบว่าการหมกมุ่นอยู่กับตนเอง ตัดขาดจากผู้อื่น และจมอยู่กับความหดหู่เศร้าหมอง เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เขามีอาการดังกล่าว เขาจึงปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต เข้าหาผู้คน ช่วยเหลือเอื้อเฟื้อผู้อื่น และปล่อยวางความกังวลหม่นหมอง ไม่นานสุขภาพของเขาก็ดีขึ้น มีความสุขมากขึ้น เขายอมรับว่า การเป็นโรคหัวใจเป็นสิ่งดีที่สุดอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นกับเขา

    เมื่อเกิดปัญหาขึ้นมา แทนที่จะคร่ำครวญหรือตีอกชกหัว ลองใคร่ครวญดูให้ดี จะพบว่า ปัญหาเหล่านี้เป็นสัญญาณเตือนให้เราเปลี่ยนแปลงตัวเอง ถ้าเรามองสัญญาณนี้ออก นั่นแสดงว่าปัญญาได้เกิดแก่เราแล้ว ขั้นต่อไปก็คือเปลี่ยนทัศนคติ พฤติกรรม หรือการใช้ชีวิตให้ถูกต้อง เหมาะสม และชาญฉลาด

    ไม่ควรมองว่าปัญหาคือ "ทางตัน" ถ้ามองให้ดี ในตัวปัญหานั้นก็มี "ทางออก" ด้วยเหมือนกัน อย่าลืมว่า สลักที่ล็อคประตูนั้นก็เป็นสลักอันเดียวกับที่ใช้เปิดประตู สวิตช์ที่ปิดไฟก็เป็นอันเดียวกับที่ใช้เปิดไฟให้สว่าง ฉันใดก็ฉันนั้นในคำถามก็มีคำตอบเฉลยอยู่

    จะว่าไปแล้วปัญหาหรือความทุกข์ทั้งหลายไม่ได้มีไว้ให้เราคร่ำครวญ แต่มีไว้ให้ใคร่ครวญนั่นเอง ในความทุกข์นั้นก็มีทางออกจากความไม่ทุกข์แฝงอยู่เสมอ ในภาพยนตร์เรื่อง Batman Begins เด็กชายบรู๊ซ (ซึ่งต่อมาจะกลายเป็นมนุษย์ค้างคาว)ได้พลัดตกลงไปในหลุม เมื่อพ่อช่วยขึ้นมาแล้ว ได้ถามลูกว่า "รู้ไหมทำไมคนเราถึงหกล้ม?" ลูกนึกไม่ออก พ่อจึงเฉลยว่า "ก็เพื่อเราจะได้รู้วิธีลุกขึ้นมาไงล่ะ"

    ความทุกข์มีขึ้นก็เพื่อสอนเราให้รู้จักหลุดพ้นจากความทุกข์ ปัญหาเกิดขึ้นก็เพื่อสอนเราให้เกิดปัญญา ด้วยเหตุนี้ปัญหาจึงไม่ใช่เรื่องน่ากลัว หากคือครูที่มาสอนให้เราฉลาดขึ้นนั่นเอง
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 11330-2.jpg
      11330-2.jpg
      ขนาดไฟล์:
      7.4 KB
      เปิดดู:
      756
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 ตุลาคม 2008
  4. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,789
    ค่าพลัง:
    +16,101
    <CENTER>[​IMG]</CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER><TABLE width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center>อ่านซะแล้วจะรักพ่อแม่มาก
    &laquo; เมื่อ: วันอังคารที่ 19 สิงหาคม 2008 เวลา 16:01:31 น. &raquo;
    </TD><TD style="FONT-SIZE: smaller" vAlign=bottom align=right height=20></TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER><CENTER><HR class=hrcolor width="100%" SIZE=1></CENTER>
    เวลาไม่มีเงิน ...................

    คนแรกที่คิดถึงคือ พ่อและแม่


    แต่พอมีเงิน ...

    คนแรกที่คิดถึงคือแฟนและเพื่อน


    อยากได้รถ ...

    คนแรกที่คิดถึงคือ พ่อและแม่


    แต่พอมีรถ ...

    คนแรกที่จะไปรับคือแฟนและเพื่อน


    ร้านอาหารหรู ๆ บรรยากาศคลาสสิค ....

    มีไว้สำหรับแฟนและเพื่อน


    อาหารบนโต๊ะที่บ้าน ..

    มีสำหรับพ่อและแม่


    โรงหนัง ห้างสรรพสินค้า ....

    มีไว้สำหรับแฟนและเพื่อน


    ทีวี และสวนหน้าบ้าน ....

    มีไว้สำหรับพ่อและแม่


    พ่อและแม่ คิดบัญชีค่าใช้จ่ายก่อนนอน ...

    เพื่อความอยู่รอด


    ลูกนอนคุยโทรศัพท์ เล่นเนตก่อนนอน ....

    เพื่อให้หลับฝันดี


    เวลาเรามีความสุข .................

    มักจะมองหาแฟนและเพื่อน


    เวลาเรามีความทุกข์ ..

    คนที่กังวล หดหู่และเศร้าสลดใจ คือพ่อและแม่


    เวลาประสบความสำเร็จ !..

    เรามักมองหาแฟนและเพื่อนเพื่อนัดฉลองและสังสรรค์


    แต่คนที่ดีใจที่สุดคือพ่อและแม่ ....

    แต่พ่อและแม่

    กลับกลายเป็นคนที่เรามองข้ามไป


    ลูกไปรื่นเริงตามโรงหนัง

    เธค ผับ โต๊ะสนุ๊ก ฯลฯ ....


    พ่อและแม่กลับทำงาน หรือ

    นอนหลับเก็บแรงไว้ทำงานหาเงินในวันรุ่งขึ้น

    เพื่อแลกความสุขของลูก

    อยากให้ลูกเรียนสูง ๆ


    เวลาแต่งงาน ...

    คนที่เป็นธุระหาสินสอดทองหมั้นคือพ่อและแม่

    คนที่มีความสุขคือลูก


    พ่อและแม่ตำหนิ ตักเตือน บางครั้ง

    เต็มไปด้วยอารมณ์ห่วงใย

    ...........เพื่อให้ลูกได้ดี

    แต่ลูกคิดว่าสิ่งที่ พ่อและแม่พูด ....

    เป็นแค่เรื่องไร้สาระ


    พ่อและแม่ ...

    คือผู้ฝ่าฟันปัญหาเป็นร้อยพันประการเพื่อลูก


    แต่พอลูกมีปัญหา ...................

    มักคิดได้แค่ ท้อถอย หดหู่หรืออยากตาย!!!!


    พ่อและแม่คือผู้ที่ปกป้อง

    และยืนเคียงข้างลูกจวบจนชีวิตจะหาไม่


    ลูกกำลังคิดถึงสิ่งใด ....


    คำว่า
     
  5. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,789
    ค่าพลัง:
    +16,101
    ประมวลภาพพ่อแม่ครูอาจารย์ต่างๆ พร้อมประวัติและคำสอนของวัดสันติธรรม ที่รวบรวมไว้ดีมาก ง่ายต่อการค้นคว้า ต้องขอขอบคุณและโมทนา สาธุบุญในธรรมทานครั้งนี้เป็นที่สุด


    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD></TD><TD></TD><TD></TD><TD></TD><TD height=11></TD></TR><TR><TD></TD><TD bgColor=#eef2d9>
    [​IMG]


    </TD><TD bgColor=#eef2d9>พระราชมุนีสามีรามคุณูปมาจารย
    (หลวงปู่ทวด สามีราโม)


    </TD><TD bgColor=#aeae00></TD><TD bgColor=#eef2d9>
    (หลวงปู่โต พรหมรังสี)
    </TD><TD bgColor=#eef2d9>[​IMG]

    </TD><TD height=11></TD></TR><TR><TD></TD><TD>
    [​IMG]


    </TD><TD>หลวงพ่อเงิน พุทธโชติ

    </TD><TD bgColor=#dfdf00></TD><TD>
    (หลวงพ่อปาน โสนันโท)
    </TD><TD>[​IMG]

    </TD><TD background=pic1/watsanti_bg.gif height=11></TD></TR><TR><TD></TD><TD bgColor=#eef2d9>
    [​IMG]


    </TD><TD bgColor=#eef2d9>พระครูวิเวกพุทธกิจ
    (หลวงปู่เสาร์์ กันตสีโล) ​


    </TD><TD bgColor=#aeae00></TD><TD bgColor=#eef2d9>
    </TD><TD bgColor=#eef2d9>[​IMG]

    </TD><TD height=70></TD></TR><TR><TD></TD><TD>
    [​IMG]

    </TD><TD>พระอุบาลีคุณูปมาจารย์

    (
    </TD><TD bgColor=#dfdf00></TD><TD>
    ( หลวงพ่อสด จันทสโร)
    </TD><TD>[​IMG]

    </TD><TD background=pic1/watsanti_bg.gif height=90></TD></TR><TR><TD></TD><TD bgColor=#eef2d9>
    [​IMG]

    </TD><TD bgColor=#eef2d9>พระูญาณวิศิษฏ์สมิทธิวีราจารย์
    (หลวงปู่สิงห์ ขันตยาคโม)

    </TD><TD bgColor=#dfdf00></TD><TD bgColor=#eef2d9>
    (หลวงพ่อลีี ธัมมธโร)
    </TD><TD bgColor=#eef2d9>[​IMG]

    </TD><TD background=pic1/watsanti_bg.gif height=90></TD></TR><TR><TD></TD><TD>
    [​IMG]

    </TD><TD>พระราชวุฒาจารย์
    ( หลวงปู่ดุลย์ อตุโล)

    </TD><TD bgColor=#dfdf00></TD><TD>
    (ครูบาพรหมมา พรหมจักโก)
    </TD><TD>[​IMG]

    </TD><TD background=pic1/watsanti_bg.gif height=90></TD></TR><TR><TD></TD><TD bgColor=#eef2d9>
    [​IMG]


    </TD><TD bgColor=#eef2d9>หลวงปู่ฝั้น อาจาโร

    </TD><TD bgColor=#aeae00></TD><TD bgColor=#eef2d9>
    </TD><TD bgColor=#eef2d9>[​IMG]

    </TD><TD height=23></TD></TR><TR><TD></TD><TD>
    [​IMG]

    </TD><TD>หลวงปู่แหวน สุจิณโณ

    </TD><TD bgColor=#dfdf00></TD><TD>
    (หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี)

    </TD><TD>[​IMG]

    </TD><TD height=23></TD></TR><TR><TD></TD><TD bgColor=#eef2d9>
    [​IMG]

    </TD><TD bgColor=#eef2d9>หลวงปู่พรหม จิรปุญโญ

    </TD><TD bgColor=#aeae00></TD><TD bgColor=#eef2d9>
    หลวงปู่บัว สิริปุณโณ​

    </TD><TD bgColor=#eef2d9>[​IMG]

    </TD><TD height=23></TD></TR><TR><TD></TD><TD>
    [​IMG]

    </TD><TD>หลวงปู่บุญมา ฐิตเปโม

    </TD><TD bgColor=#dfdf00></TD><TD>
    หลวงปู่มหาบุญมี สิรินธโร​

    </TD><TD>[​IMG]

    </TD><TD height=23></TD></TR><TR><TD></TD><TD bgColor=#eef2d9>
    [​IMG]

    </TD><TD bgColor=#eef2d9>หลวงปู่จวน กุลเชฏโฐ

    </TD><TD bgColor=#aeae00></TD><TD bgColor=#eef2d9>
    </TD><TD bgColor=#eef2d9>[​IMG]

    </TD><TD height=23></TD></TR><TR><TD></TD><TD>
    [​IMG]

    </TD><TD>หลวงปู่หล้า ตาทิพย์

    </TD><TD bgColor=#dfdf00></TD><TD>
    </TD><TD>[​IMG]

    </TD><TD height=23></TD></TR><TR><TD></TD><TD bgColor=#eef2d9>
    [​IMG]

    </TD><TD bgColor=#eef2d9>พระราชพรหมญาณ
    (หลวงพ่อวีระ ถาวโร)

    </TD><TD bgColor=#dfdf00></TD><TD bgColor=#eef2d9>
    (หลวงพ่อตรึก ธัมมวิตักโก)
    </TD><TD bgColor=#eef2d9>[​IMG]

    </TD><TD height=23></TD></TR><TR><TD></TD><TD>
    [​IMG]

    </TD><TD>หลวงปู่จาม มหาปุญโญ

    </TD><TD bgColor=#dfdf00></TD><TD>
    (หลวงปู่คำดี ปภาโส)
    </TD><TD>[​IMG]

    </TD><TD height=23></TD></TR><TR><TD></TD><TD bgColor=#eef2d9>
    [​IMG]

    </TD><TD bgColor=#eef2d9>หลวงปู่ขาว อนาลโย

    </TD><TD bgColor=#aeae00></TD><TD bgColor=#eef2d9>
    (หลวงปู่สิม พุทธาจาโร)
    </TD><TD bgColor=#eef2d9>[​IMG]

    </TD><TD height=23></TD></TR><TR><TD></TD><TD>
    [​IMG]

    </TD><TD>พระครูสันตยานุศาสน์
    (ครูบาอิ่นคำื อินทนันโท) ​

    </TD><TD bgColor=#dfdf00></TD><TD background=pic1/watsanti_bg.gif>
    พระครูปัญญาวรวัฒน์

    (ครูบาผาผ่า ปัญญาวโร)​
    </TD><TD>[​IMG]

    </TD><TD height=23></TD></TR><TR><TD></TD><TD bgColor=#eef2d9>
    [​IMG]

    </TD><TD bgColor=#eef2d9>พระราชอุดมมงคล
    (หลวงพ่ออุตตมะ อุตตมรัมโภ) ​

    </TD><TD bgColor=#dfdf00></TD><TD bgColor=#eef2d9>
    (หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินธโร)
    </TD><TD bgColor=#eef2d9>[​IMG]

    </TD><TD height=23></TD></TR><TR><TD></TD><TD>
    [​IMG]

    </TD><TD>พระครูวิมลญาณวิจิตร
    (หลวงปู่บุญ ชินวังโส) ​

    </TD><TD bgColor=#dfdf00></TD><TD background=pic1/watsanti_bg.gif>
    พระครูศาสนูปกรณ์

    (หลวงปู่บุญจันทร์ กมโล)​
    </TD><TD>[​IMG]

    </TD><TD height=23></TD></TR><TR><TD></TD><TD bgColor=#eef2d9>
    [​IMG]

    </TD><TD bgColor=#eef2d9>พระโพธิญาณเถระ
    (หลวงปู่ชา สุภัทโท)

    </TD><TD bgColor=#aeae00></TD><TD bgColor=#eef2d9>
    (หลวงปู่จันทร์ศรี จันททีโป)
    </TD><TD bgColor=#eef2d9>[​IMG]

    </TD><TD height=23></TD></TR><TR><TD></TD><TD>
    [​IMG]

    </TD><TD>หลวงปู่หล้า เขมปัตโต

    </TD><TD bgColor=#dfdf00></TD><TD>
    (หลวงตามหาบัว ญาณสัมปัณโณ)
    </TD><TD>[​IMG]

    </TD><TD height=23></TD></TR><TR><TD></TD><TD bgColor=#eef2d9>
    [​IMG]

    </TD><TD bgColor=#eef2d9>หลวงปู่หลุย จันทสาโร

    </TD><TD bgColor=#aeae00></TD><TD bgColor=#eef2d9>
    (หลวงปู่คำพอง ติสโส)
    </TD><TD bgColor=#eef2d9>[​IMG]

    </TD><TD height=23></TD></TR><TR><TD></TD><TD>
    [​IMG]

    </TD><TD>พระครูวิโรจน์ธรรมาจารย์
    (หลวงปู่ปิ่น ชลิโต)

    </TD><TD bgColor=#dfdf00></TD><TD>
    </TD><TD>[​IMG]

    </TD><TD height=23></TD></TR><TR><TD></TD><TD bgColor=#eef2d9>
    [​IMG]

    </TD><TD bgColor=#eef2d9>พระอุดมสังวรวิสุทธิเถร
    (หลวงปู่วัน อุตตโม)

    </TD><TD bgColor=#aeae00></TD><TD bgColor=#eef2d9>
    พระครูปัญญาวิสุทธิ์

    (หลวงปู่บัวพา ปัญญาภาโส)​
    </TD><TD bgColor=#eef2d9>[​IMG]

    </TD><TD height=23></TD></TR><TR><TD></TD><TD>
    [​IMG]

    </TD><TD>หลวงปู่อ่อน ญาณสิร

    </TD><TD bgColor=#dfdf00></TD><TD>
    (หลวงพ่อพุทธทาส อินทปัญโญ)
    </TD><TD>[​IMG]

    </TD><TD height=23></TD></TR><TR><TD></TD><TD bgColor=#eef2d9>
    [​IMG]

    </TD><TD bgColor=#eef2d9>พระครูบริบาลสังฆกิจ
    (หลวงปู่อุ่น อุตตโม) ​

    </TD><TD bgColor=#aeae00></TD><TD bgColor=#eef2d9>
    </TD><TD bgColor=#eef2d9>[​IMG]

    </TD><TD height=23></TD></TR><TR><TD></TD><TD>
    [​IMG]

    </TD><TD>พระครูภาวนาทัศนวิสุทธิ์
    (หลวงปู่แว่น ธนปาโล) ​

    </TD><TD bgColor=#dfdf00></TD><TD>
    พระครูจันทวรคุณ

    (หลวงปู่บุญจันทร์ จันทวโร) ​
    </TD><TD>[​IMG]

    </TD><TD height=23></TD></TR><TR><TD></TD><TD bgColor=#eef2d9>
    [​IMG]

    </TD><TD bgColor=#eef2d9>หลวงปู่ผาง จิตตคุตโต

    </TD><TD bgColor=#aeae00></TD><TD bgColor=#eef2d9>
    หลวงปู่พวง ฆรมุตโต​

    </TD><TD bgColor=#eef2d9>[​IMG]

    </TD><TD height=23></TD></TR><TR><TD></TD><TD>
    [​IMG]

    </TD><TD>หลวงปู่สิงห์ทอง ธัมมวโร

    </TD><TD bgColor=#dfdf00></TD><TD>
    พระครูสีลขันธ์สังวร

    (หลวงปู่อ่อนสี สุเมโธ) ​

    </TD><TD>[​IMG]

    </TD><TD height=23></TD></TR><TR><TD></TD><TD bgColor=#eef2d9>
    [​IMG]

    </TD><TD bgColor=#eef2d9>พระราชสังวรญาณ
    ( หลวงปู่พุธ ฐานิโย)

    </TD><TD bgColor=#aeae00></TD><TD bgColor=#eef2d9>
    ( หลวงปู่หลวง กตปุญโญ)
    </TD><TD bgColor=#eef2d9>[​IMG]

    </TD><TD height=23></TD></TR><TR><TD></TD><TD>
    [​IMG]

    </TD><TD>พระครูสุทธิธรรมรังสี
    ( หลวงปู่เจี๊ยะ จุนฺโท)

    </TD><TD bgColor=#dfdf00></TD><TD>
    สมเด็จพระมหามุนีวงศ์

    (สนั่น จันทปัตโชโต)​
    </TD><TD>[​IMG]

    </TD><TD height=23></TD></TR><TR><TD></TD><TD bgColor=#eef2d9>
    [​IMG]

    </TD><TD bgColor=#eef2d9>สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช
    (เจริญ สุวัฒฑโน) ​

    </TD><TD bgColor=#aeae00></TD><TD bgColor=#eef2d9>
    ( หลวงปู่ศรี มหาวีโร)
    </TD><TD bgColor=#eef2d9>[​IMG]

    </TD><TD height=23></TD></TR><TR><TD></TD><TD>
    [​IMG]

    </TD><TD>พระครูฐิติธรรมญาณ
    ( หลวงปู่ลี ฐิตธัมโม)​

    </TD><TD bgColor=#dfdf00></TD><TD>
    หลวงปู่เข็มทอง วรธัมโม ​

    </TD><TD>[​IMG]

    </TD><TD height=23></TD></TR><TR><TD></TD><TD bgColor=#eef2d9>
    [​IMG]

    </TD><TD bgColor=#eef2d9>หลวงปู่สนั่น รักขิตสีโล

    </TD><TD bgColor=#aeae00></TD><TD bgColor=#eef2d9>
    พระวิสุทธิญาณเถร

    (หลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย)​
    </TD><TD bgColor=#eef2d9>[​IMG]

    </TD><TD height=23></TD></TR><TR><TD></TD><TD>
    [​IMG]

    </TD><TD>พระสุธรรมคณาจารย์
    ( หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ)

    </TD><TD bgColor=#dfdf00></TD><TD>
    พระโพธิธรรมาจารย์

    ( หลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ)​
    </TD><TD>[​IMG]

    </TD><TD height=23></TD></TR><TR><TD></TD><TD bgColor=#eef2d9>
    [​IMG]

    </TD><TD bgColor=#eef2d9>พระพุทธพจนวราภรณ์
    ( หลวงปู่จันทร์ กุสโล ) ​

    </TD><TD bgColor=#aeae00></TD><TD bgColor=#eef2d9>
    ( หลวงพ่อมหาทองอินทร์ กุสลจิตโต)
    </TD><TD bgColor=#eef2d9>[​IMG]

    </TD><TD height=23></TD></TR><TR><TD></TD><TD>
    [​IMG]

    </TD><TD>พระสุนทรธรรมากร
    (หลวงปู่คำพันธ์ โฆษปัญโญ)

    </TD><TD bgColor=#dfdf00></TD><TD>
    ( หลวงปู่พวง สุวีโร)
    </TD><TD>[​IMG]

    </TD><TD height=23></TD></TR><TR><TD></TD><TD bgColor=#eef2d9>
    [​IMG]

    </TD><TD bgColor=#eef2d9>หลวงปู่ขาน ฐานวโร

    </TD><TD bgColor=#aeae00></TD><TD bgColor=#eef2d9>
    พระครูภาวนากิจโกศล

    (หลวงปู่สอ พันธุโล) ​
    </TD><TD bgColor=#eef2d9>[​IMG]

    </TD><TD height=23></TD></TR><TR><TD></TD><TD>
    [​IMG]

    </TD><TD>พระราชสังวรญาณ
    ( หลวงพ่อไพบูลย์ สุมังคโล ) ​

    </TD><TD bgColor=#dfdf00></TD><TD>
    </TD><TD>[​IMG]

    </TD><TD height=23></TD></TR><TR><TD></TD><TD bgColor=#eef2d9>
    [​IMG]

    </TD><TD bgColor=#eef2d9>หลวงพ่อเปลี่ยน ปัญญาปทีโป

    </TD><TD bgColor=#aeae00></TD><TD bgColor=#eef2d9>
    (หลวงปู่สังข์ สังกิจโจ)

    </TD><TD bgColor=#eef2d9>[​IMG]

    </TD><TD height=23></TD></TR><TR><TD></TD><TD>
    [​IMG]

    </TD><TD>หลวงพ่ออินทร์ถวาย สันตุสสโก

    </TD><TD></TD><TD>
    หลวงพ่อประสิทธิ์ ปุญญมากโร​

    </TD><TD>[​IMG]

    </TD><TD height=23></TD></TR><TR><TD></TD><TD></TD><TD></TD><TD></TD><TD></TD><TD></TD><TD height=23></TD></TR><TR><TD></TD><TD></TD><TD></TD><TD></TD><TD colSpan=2>
    โดย สุกิตฺตยานนฺโท ภิกขุ ​


    </TD><TD height=23></TD></TR></TBODY></TABLE>​
    http://www.santidham.com/Lhuangpoo/Lhuangpoo.html
     
  6. natta_pea

    natta_pea เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    322
    ค่าพลัง:
    +1,515
    วันนี้เวลา 08.11 น. ผมได้โอนเงิน 200 บาท ร่วมทำบุญพระภิกษุสงฆ์อาพาธ
    ขออนุโมทนาบุญกับทุกๆท่านครับ
     
  7. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,789
    ค่าพลัง:
    +16,101
    [​IMG]


    สรุปการประชุมของคณะกรรมการฯ ประจำเดือน ตุลาคม (ครั้งที่ 1) เพื่อแจ้งให้ผู้ที่บริจาคปัจจัยทำบุญให้กับทุนนิธิฯ ได้ทราบคร่าวๆ ดังนี้ครับ

    1. การทำกิจกรรมในครั้งต่อไป ขอข้ามจากเดือนตุลาคม เป็นเดือน พฤศจิกายนเลย ทั้งนี้ ได้ทราบจากผู้ที่ทำบุญหลายท่านว่า ช่วงนี้ออกพรรษา มีงานบุญทั้งออกพรรษา และทอดกฐินหลายที่ จึงไม่สะดวกที่จะร่วมงาน ดังนั้น จึงขอยกยอดไปครั้งต่อไปในวันที่ 9 เดือน พฤศจิกายน เลยส่วนเงินบริจาคนั้น จะบริจาคให้ รพ.สงฆ์อย่างเดียว เพื่อคงหลักการไว้คือ
    1. บริจาคซื้อเลือด 5,000.- บาท
    2. บริจาคซื้อเวชภัณฑ์ฯ 5,000.-บาท
    โดยคาดว่าจะบริจาคได้ในวันที่ 19/10 นี้ โดยงดถวายสังฆทานพระฯ และการบริจาคจะมีตัวแทนของทุนนิธิฯ โดยผม นายสติ หรือคุณโสระ จะไปบริจาคให้ พร้อมจะได้ถ่ายรูป และนำใบเสร็จมาแสดงให้ทราบ โดย รพ.ในส่วนของภูมิภาค จะยกยอดไปบริจาคในเดือน พฤศจิกายนทั้งหมด

    2. คณะกรรมการฯ ได้ตกลงที่จะช่วยเหลืออีก 2 รพ.ที่ต้องการความช่วยเหลือใหม่เพิ่มเติม คือ
    1. รพ.แม่สอด จ. ตาก ซึ่งให้การรักษาทั้งพระสงฆ์ไทยและพระสงฆ์พม่า
    2. รพ.สมเด็จพระยุพราชฯ อ.ปัว จ.น่าน ซึ่งให้การรักษาทั้งพระสงฆ์ไทยและพระสงฆ์ลาว
    โดยในส่วนของ รพ.ทั้ง 2 แห่งนั้น จะให้การช่วยเหลือ รพ. แห่งละ 5,000.- แต่สำหรับในเดือน พฤศจิกายนนี้ รพ.แม่สอด จะช่วยให้ 5,000.-บาทก่อน เนื่องจากมีภาระต้องใช้ในการรักษาพระที่เป็นวัณโรคเรื้อรัง
    ดั้งนั้นแผนการบริจาคปัจจัยในเดือนตุลาคม และพฤศจิกายน จึงมีดังนี้

    ตุลาคม
    - รพ.สงฆ์
    -ค่าเลือด 5,000.-
    -ค่าเวชภัณฑ์ฯ 5,000.-
    - รพ.แม่สอด จ.ตาก
    -ค่าเวชภัณฑ์ฯ 5,000.-
    รวมประมาณการบริจาคในเดือน ตุลาคม 15,000.-

    พฤศจิกายน
    - รพ.สงฆ์
    -ค่าสังฆทาน 5,000.-
    -ค่าเลือด 5.000- (เดิมบริจาค 7,500.-)
    -ค่าเวชภัณฑ์ฯ 5,000.-(เดิมบริจาค 7,500.-)
    - รพ.มหาราช จ.เชียงใหม่ 5,000.-
    - รพ.ศรีนครินทร์ จ.ขอนแก่น 5,000.-
    - รพ.ยุพราชฯ จ.น่าน 5,000.-
    - รพ.50 พรรษาฯ จ.อุบล 5,000.-
    - รพ.แม่สอด จ.ตาก 5,000.-
    - รพ.สงขลา จ.สงขลา 5,000.-
    รวมประมาณการบริจาคในเดือน พฤศจิกายน 45,000.-
    ทั้งนี้ ยังไม่รวมการกันเงินสำรองกรณีที่มีการบริจาคเครื่องดูดเสมหะเผื่อไว้อีก 5,000.-

    3. ยอดเงินในบัญชีอัพเดทสมุดบัญชีในสัปดาห์นี้ มีจำนวนเงินทั้งสิ้น ราว 2 แสนกว่าบาท (จะนำมาโพสท์ให้ทราบในภายหลัง)

    4. กิจกรรมที่ผ่านมามีข้อที่ต้องปรับปรุงหลายอย่างเช่นเรื่องการนำถุงสังฆทานไปถวายพระกรณีที่ท่านไม่อยู่ที่เตียง หรือท่านหลับอยู่
    - ขอให้ผู้ที่ถวายฝากกับเตียงข้างๆ ได้ครับ เพราะจะได้ไม่ต้องไปถวายที่ตึกอื่นอีก
    - การบริจาคเงินในห้องกิจกรรมสงฆ์ด้านล่าง ได้มอบหมายให้มีผู้ดูแลไว้แล้ว วันงานจะแจ้งให้ทราบอีก

    5. สรุปจำนวนพระที่แจกในครั้งนี้ทั้งทางไปรษณีย์และที่มาร่วมงาน มีราวๆ 80 ชุดๆ ละ 4 องค์ รวม 320 องค์ โดยในส่วนของการส่งทางไปรษณีย์คาดว่าจะเริ่มส่งให้ภายในสัปดาห์นี้ ราวๆ 15 คน ครับ (หากใครยังไม่ส่งค่าจัดส่งและที่อยู่ให้คุณโสระให้ pm ด่วนด้วย)

    6. กฐินตกค้างหากมีใกล้ๆ ไปเช้าเย็นกลับได้ ใครทราบให้บอกด้วย คณะกรรมการฯ อยากจะไปร่วมงานด้วยและรับเป็นเจ้าภาพให้ (บุญแรง)

    7. งานครบรอบการก่อตั้งทุนนิธิโดยนับจากวันที่บริจาคให้ รพ.สงฆ์ครั้งแรก 9 ธันวาคม 2550 จะมีกิจกรรมหลายอย่าง รวมถึงการเชิญท่าน อ.ประถมฯ ประธานที่ปรึกษาทุนนิธิฯ มาร่วมงานด้วย โดยจะแจกพระพิมพ์ปัญจสิริ เจ้าคุณกรมท่าฯ พระกริ่งปวเรศ (เนื้อผง) พระพิมพ์เจ้าสัวของท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ พระพิมพ์ในใหดินเก่า ซึ่งเป็นพระพิมพ์สมเด็จวัดเกศไชโย และทันเจ้าประคุณสมเด็จฯ อธิษฐานจิต ให้เลือกกันฟรีคนละหนึ่ง หรือสององค์ (จะแจ้งให้ทราบอีกครั้ง) แล้วแต่จะหยิบกันครับ(สงวนสิทธิ์ให้ผู้ที่มีการบริจาคประจำได้เลือกพระก่อน ส่วนผู้ที่อยู่ทางไกลก็เลือกพระมาได้เช่นกัน ตามกติกาเดิมคือเฉพาะผู้ที่ทำบุญมาประจำตั้งแต่ 2 ครั้งขึ้นไป ไม่ซ้ำเดือนกัน) พระมีเกือบพันองค์ พร้อมกับจะมีการสรุปการดำเนินการมาทั้งหมดในรอบปี เพื่อให้ทราบกันเช่นทั้งปีมีการบริจาคไปแล้วเท่าไร แจกพระอะไรไปแล้วบ้าง ทุนนิธิฯ มีการพัฒนาการอย่างไรบ้าง และจะทำอะไรต่อไป ฯลฯ

    8. ส่วนธรรมะประจำสัปดาห์ก็ขอนำมาเตือนกันในเรื่องของจิต จากวันกิจกรรมที่ผ่านมา มีผู้เข้ามาสอบถามพี่ใหญ่เรื่องการภาวนา ส่วนใหญ่อยากจะเร่งการภาวนา โดยการบังคับจิตให้รู้ ให้จิตเห็น ตามตำราที่ตนเองได้อ่านมา ซึ่งทั้งหมดล้วนเป็นความ "อยากมี อยากเป็น และอยากได้" ผลก็คือยังคงเป็น "ผู้ที่ไม่มี ผู้ที่ไม่เป็น และกลายเป็นผู้ล้มเหลวในการภาวนา" ทำให้เกิดท้อใจ พี่ใหญ่จึงฝากให้ อย่าไปบังคับจิตอย่างนั้น ทุกอย่างมีวาระ ถึงเวลา เมื่อภูมิจิตถึงขั้น จิตก็จะรู้เอง เขาจะเปิดให้ดูให้เห็นเอง เหมือนอย่างเรานั่งดูอะไรสักอย่าง อยากรู้อะไร จิตก็จะผุดความรู้ขึ้นมาเอง เป็นปัจจัตตัง เฉพาะตัว ที่สำคัญก็คือ ไม่รู้จริงแล้วไปสอนคนอื่นก็ยิ่งหลงทางกันไปใหญ่ พอมาแก้ก็ต้องใช้เวลาในการแก้และแก้ยากเพราะสัญญาเก่าจะคอยมาเตือน และหากยังคงติดเป็นเหมือนเดิมอีก ก็งมกันไปอย่างนั้นเอง ชาตินี้ก็คงไม่ถึงสวรรค์หรือนิพพาน ดีไม่ดีอาจลงนรกซะด้วยซ้ำ เพราะไปแนะนำในสิ่งที่ผิดๆ ให้ผู้อื่นทำตาม เพราะฉะนั้นทำไปเรื่อยๆ ๆ ๆ และทำไปเรื่อยๆ ไม่ต้องอยาก เหมือนอย่างที่ผมเคยบอกไว้ ปลูกพริก จะต้องได้กินพริก จะได้กินมะม่วงได้อย่างไรเล่า

    ก็คงจบแต่เพียงเท่านี้ คราวนี้ลาจริงๆ ขอลา 2 วันครับ

    พันวฤทธิ์

    5/10/51
     
  8. pon98

    pon98 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    632
    ค่าพลัง:
    +3,886
    <CENTER>ปฏิปัติปุจฉาวิสัชนา
    </CENTER>
    [SIZE=+1]พระธรรมเจดีย์ :
    ถามว่า ผู้ปฏิบัติศาสนาโดยมากปฏิบัติอยู่แค่ไหน?

    พระอาจารย์มั่น :
    ปฏิบัติอยู่ภูมิกามาพจารกุศลโดยมาก

    พระธรรมเจดีย์ :
    ทำไมจึงปฏิบัติอยู่เพียงนั้น?

    พระอาจารย์มั่น :
    อัธยาศัยของคนโดยมากยังกำหนัดอยู่ในกาม เห็นว่ากามารมณ์ที่ดีเป็นสุข ส่วนที่ไม่ดีเห็นว่าเป็นทุกข์ จึงได้ปฏิบัติในบุญกริยาวัตถุ มีการฟังธรรม ให้ทาน รักษาศีล เป็นต้น หรือภาวนาบ้างเล็กน้อย เพราะความมุ่งเพื่อจะได้สวรรคสมบัติ มนุษยสมบัติ เป็นต้น ก็คงเป็นภูมิกามาพจรกุศลอยู่นั่นเอง เบื้องหน้าแต่กายแตกตายไปแล้ว ย่อมถึงสุคติบ้าง ไม่ถึงบ้าง แล้วแต่วิบากจะซัดไป เพราะไม่ใช่นิยตบุคคล คือยังไม่ปิดอบาย เพราะยังไม่ได้บรรลุโสดาปัตติผล
    [/SIZE]
    [SIZE=+1][/SIZE]
    [SIZE=+1]ข้อความข้างต้นเป็นตัวอย่างการถามตอบธรรมะของพระธรรมเจดีย์กับหลวงปู่มั่น เป็นธรรมะทรงคุณค่าอ่านต่อตามlinkนี้ครับhttp://www.geocities.com/Tokyo/Gulf/4126/poomun0001.html[/SIZE]
    [SIZE=+1]ที่ผมทำสีแดงไว้หมายว่า เราท่านทำบุญมาก ก็หาใช่ว่าจะเป็นการการันตีว่าปิดอบายภูมิได้เสมอไป ตราบใดไม่ได้ภูมิโสดาบัน บางท่านยิ่งทำบุญ ยิ่งภาวนา ยิ่งเกิดมิฉาทิฐิว่า ตนมีบารมี ตนมีบุญ ตนวิเศษกว่าใคร เป็นอย่างนี้กันมากลองอ่านบทความนี้จะกระจ่างครับ
    [/SIZE]
     
  9. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    916
    ค่าพลัง:
    +4,291
    เทวทูตทั้ง ๕


    <TABLE class=blog_center_data><TBODY><TR><TD>[​IMG]

    ... ไม่มองข้ามเทวทูต คือ รู้จักมอง รู้จักพิจารณาสภาวะที่ปรากฏอยู่เสมอในหมู่มนุษย์ อันเป็นสัญญาณเตือนใจให้ระลึกถึงคติธรรมของชีวิต ที่ไม่ควรลุ่มหลงมัวเมา ซึ่งเรียกว่า เทวทูต (สื่อแจ้งข่าวของยมเทพหรือตัวแทนของพญายม) ๕ อย่าง คือ

    ๑. เด็กอ่อน.. ว่าคนเราทุกคนเกิดมาก็อย่างนี้ เพียงเท่านี้
    ๒. คนแก่.. ว่าทุกคน หากมีชีวิตอยู่ได้นาน ก็ต้องประสบภาวะเช่นนี้
    ๓. คนเจ็บ.. ว่าภาวะเช่นนี้ เราทุกคนอาจประสบได้ด้วยกันทั้งนั้น
    ๔. คนต้องโทษ.. ว่ากรรมชั่วนั้น ไม่ต้องพูดถึงตายไป แม้ในบัดนี้ก็มีผลเดือดร้อนเป็นทุกข์
    ๕. คนตาย.. ว่าภาวะเช่นนี้ เราทุกคนต้องได้พบ ไม่มีใครพ้น และกำหนดไม่ได้ว่า ที่ไหน เมื่อใด



    คำสอนของพระพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ ปยุตฺโต)
    วัดญาณเวศกวัน อ. สามพราน จ. นครปฐม

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​


    ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://www.oknation.net/blog/panyadeesiri
     
  10. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    916
    ค่าพลัง:
    +4,291
    ทิพจักขุญาณ
    แห่งองค์
    หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก

    [​IMG]


    [FONT=tahoma,arial,helvetica,sans-serif]วันนี้ ขอนำเรื่องหลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก มาเล่าสู่กันฟังต่ออีกสักเล็กน้อย เรื่องนี้บันทึกโดยพระราชพรหมยาน หรือหลวงพ่อฤาษีลิงดำ แห่งวัดท่าซุง จังหวัดอุทัยธานี ความว่าเมื่อหลวงพ่อปานแห่งวัดบางนมโคได้มรณภาพไปแล้ว หลวงพ่อฤาษีลิงดำท่านก็แวะมาวัดของหลวงพ่อจงบ่อยขึ้น วันหนึ่ง ขณะที่ท่านกำลังนั่งคุยอยู่กับหลวงพ่อจง ก็พอดีภรรยาของกำนันมากได้มากราบหลวงพ่อจงเพื่อถามถึงสามีของเธอที่ไปธุระทางเมืองเหนือ แล้วก็เงียบหายไปทั้ง ๆ ที่ควรจะกลับถึงบ้านหลายวันแล้ว เธอเกรงว่าอาจจะเกิดอันตราย หลวงพ่อจงฟังแล้วก็เอื้อมมือไปหยิบหนังสือตำราพรหมชาติขึ้นมา เปิดปุ๊บก็อ่านปั๊บ ท่านอ่านว่า สิทธิการิยะ เวลานี้ชาวบ้านเขามาขอดูกำนันมาก ว่าเดินทางไปทำไมจึงยังไม่กลับ แต่วันนี้เป็นวันศุกร์ เป็นมหาฤกษ์ ตามตำราท่านทายว่า เวลานี้กำนันมากเอาเรือมาจอดอยู่ที่หน้าบ้านแล้ว แล้วท่านก็วางหนังสือลง บอกว่านี่ ตำราเขาบอกว่ากำนันมากน่ะ เอาเรือมาจอดอยู่ที่บ้านแล้วนะ ลองไปดูสิว่าตำราเขาพูดไว้ถูกหรือผิดประการใด เมื่อภรรยาของกำนันมากลาไปแล้ว หลวงพ่อฤาษีลิงดำก็หยิบหนังสือขึ้นมาดู เพราะแปลกใจว่าตำราที่ไหนจะรู้มากขนาดบอกได้ว่ากำนันมากเอาเรือมาจอดอยู่ที่หน้าบ้านแล้ว ปรากฏว่าไม่มีในตำรา จึงกราบเรียนถามหลวงพ่อจงว่าตำราเขาไม่ได้เขียนไว้อย่างนั้นนี่นา มันเป็นเรื่องอื่น หลวงพ่อจงท่านก็บอกว่าฉันเป็นคนแก่ สายตาไม่ค่อยดี ตามันเห็นอย่างไรก็อ่านไปอย่างนั้น

    [​IMG]


    คุยกับท่านอยู่สักพักใหญ่ ลูกชายกำนันมากก็เข้ามากราบหลวงพ่อจง บอกว่าคุณพ่อกลับมาแล้วขอรับหลังจากคุณแม่มาหาหลวงพ่อประเดี๋ยวเดียวยังไม่ทันจะกลับ

    เรื่องนี้ก็เป็นความอัศจรรย์ ส่วนใครจะถามว่าหลวงพ่อจงท่านดูแบบไหน ก็เป็นเรื่องของอภิญญาเท่านั้นที่จะตอบได้
    [/FONT]



    ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://www.oknation.net/blog/panyadeesiri
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 ตุลาคม 2008
  11. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    916
    ค่าพลัง:
    +4,291
    พระท่ากระดาน
    กรุศรีสวัสดิ์ จ.กาญจนบุรี สนิมแดง กรุเก่า

    พระท่ากระดาน กรุศรีสวัสดิ์ กาญจนบุรี กล่าวตามประวัติความเป็นมาแล้ว "พระท่ากระดาน" นี้ตั้งชื่อตาม "วัดท่ากระดาน หรือ วัดกลาง" อันเป็นวัดสำคัญ 1 ใน 3 วัดของ "เมืองท่ากระดาน" เมืองเก่าแก่เมืองเดียวริมแม่น้ำแควใหญ่ที่มีความสำคัญในสมัยกรุงศรีอยุธยาเคียงคู่กับเมืองกาญจนบุรีเก่า และเมืองไทรโยค คือ เป็นเมืองที่มีเจ้าปกครอง อีกทั้งเป็นเมืองหน้าด่านที่ต้องสู้รบกับกองทัพพม่าที่ยกทัพเข้ามาทางด่านเจดีย์สามองค์ในทุกคราว แต่ปัจจุบันลักษณะสภาพทางภูมิศาสตร์ จึงถูกยุบเป็นกิ่งอำเภอเมื่อ พ.ศ.2438 และลดฐานะเป็นหมู่บ้านและตำบลอยู่ในเขตการปกครองของอำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี "เมืองท่ากระดาน" มีวัดสำคัญ 3 วัดคือ วัดเหนือ (วัดบน) วัดกลาง (วัดท่ากระดาน) และวัดล่าง เมื่อราว พ.ศ. 2495 ได้มีการขุดค้นหาโบราณวัตถุกันเป็นการใหญ่และได้พบพระพิมพ์เนื้อตะกั่วสนิมแดงที่วัดทั้งสามเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะที่วัดกลางซึ่งเรียกชื่อเต็มว่า "วัดท่ากระดาน" นั้น ได้ปรากฏพระพิมพ์เนื้อตะกั่วสนิมแดงที่สนิมแดงงามจัดและปิดทองมาแต่ในกรุทุกองค์ กอปรกับวัดนี้ตั้งอยู่ในส่วนกลางของเมืองท่ากระดานเก่าพอดี ชาวบ้านจึงเห็นเหมาะสมที่จะเรียกพระพิมพ์นี้ตามชื่อวัดว่า "พระท่ากระดาน" สถานที่ที่สันนิษฐานว่าเป็นที่สร้าง "พระท่ากระดาน" คือบริเวณหน้าถ้ำทางตอนเหนือของเมืองท่ากระดานเก่าขึ้นไปตามลำน้ำ ซึ่งเดิมคงจะเป็นวัดเก่าแก่ เนื่องจากมีศาสนวัตถุที่ปรักหักพังและพระเจดีย์เป็นจำนวนมาก และจากวัตถุโบราณที่พบ เช่น บาตรขนาดเขื่อง เตาดินเก่าๆหลายเตา ที่สำคัญคือปรากฏมีสนิมแดงงดงามมากตกอยู่เรี่ยราดบริเวณเตาและพบพระท่ากระดานทุกๆพิมพ์อีกด้วย จึงเชื่อว่าน่าจะเป็นแหล่งสร้างพระท่ากระดานอย่างแน่นอน และเนื่องจากหน้าถ้ำมีต้นลั่นทมขนาดใหญ่อยู่ต้นหนึ่ง จึงเรียกพระท่ากระดานที่พบในบริเวณนี้ว่า "พระท่ากระดาน กรุต้นลั่นทม" นอกจากนี้ยังมีการขุดค้นพบพระท่ากระดานตามบริเวณต่างๆ โดยรอบแต่มีจำนวนไม่มากนัก อาทิ วัดบ้านนาสวน (วัดต้นโพธิ์) อารามร้างตอนเหนืออำเภอศรีสวัสดิ์ วัดศรีอุปลาราม (วัดหนองบัว) อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี วัดท่าเสา ตำบลลาดหญ้า อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี เป็นต้น "พระท่ากระดาน" มีพุทธลักษณะเค้าพระพักตร์เคร่งขรึมน่าเกรงขาม แข้งเป็นสัน และพระหนุแหลมยื่นออกมา ลักษณะเหมือน "พระอู่ทองหน้าแก่" อันเป็น "พุทธศิลปะสมัยลพบุรี" และด้วยอายุการสร้างเกินกว่า 500 ปี พระท่ากระดานส่วนมากจึงเกิด "สนิมไขและสนิมแดง" ขึ้นคลุมอย่างหนาแน่นและส่วนใหญ่จะลงรักปิดทองมาแต่เดิม ดังนั้นข้อพิจารณาเบื้องต้นในการศึกษา "พระท่ากระดาน" ก็คือ สภาพสนิมไข สนิมแดง และรักเก่า ทองเก่า "พระท่ากระดาน" นั้นในสมัยโบราณเรียกขานกันว่า "พระท่ากระดาน เกศคด ตาแดง" อันเป็นเอกลักษณ์พิเศษเฉพาะคือ มีเกศค่อนข้างยาวและคดงอ ส่วน "ตาแดง" นั้นเนื่องจากพระท่ากระดานเป็นพระหล่อจากเนื้อชินตะกั่ว ซึ่งพอได้อายุเนื้อตะกั่วจะขึ้นสนิมปกคลุมบนผิว "สนิมตะกั่ว" จะมีลักษณะเป็นสีแดง หนา และติดแน่น มีความมันเยิ้ม ยิ่งเมื่อถูกสัมผัสก็จะยิ่งมันวาว และบนสนิมแดงนี้จะเกิดสนิมไขสีขาวครีมเคลือบอยู่อีกชั้นหนึ่ง และจาการเวลาที่ยาวนานดังกล่าวแล้วสนิมแดงนี้จะเป็นสนิมแดงเข้มคล้ายสีเปลือกมังคุด และมี "รอยแตกตามุ้ง" ลักษณะเป็นตาตารางบนเนื้อสนิมแดง ตลอดจนบนสนิมไขซึ่งเกิดจากการหดตัวหรือขยายตัวของเนื้อตะกั่วขององค์พระ เอกลักษณ์อีกประการหนึ่งคือ "คราบปูนแคลเซี่ยม" อันเป็นหลักสำคัญสำหรับการพิจารณาพระแท้ของพระเนื้อชินตะกั่ว ซึ่งเรียกว่า "พระชินสนิมแดง" "พระท่ากระดาน" มีทั้งหมด 2 กรุคือ กรุเก่าและกรุใหม่ ทั้งสองกรุนี้จะแตกต่างกันที่พื้นหลังขององค์พระ "กรุเก่า" จะตัดติดเป็นขอบพื้นบ้าง ทำให้องค์พระแลดูใหญ่และล่ำสัน ส่วน "กรุใหม่" จะตัดติดขอบชิดกับแม่พิมพ์ขององค์พระ เห็นพระพักตร์และพระกรรณอย่างชัดเจน ทำให้เมื่อดูพระท่ากระดานกรุใหม่จะมีขนาดเล็กกว่ากรุเก่า แต่ผิวพระและลักษณะแม่พิมพ์ด้านหน้าจะคมชัดกว่า ในอดีตนักนินมสะสมพระเครื่อง พระบูชา มักนำ "พระท่ากระดาน" ไปล้างผิวแคลเซี่ยมออกเพื่อให้เห็นสีของสนิมแดงและรอยแตกตามุ้งได้อย่างชัดเจนทั้งองค์ แต่ในปัจจุบันจะนิยมความบริสุทธิ์ขององค์พระเดิมที่ปราศจากการล้างหรือตกแต่งใดๆ ตำหนิแม่พิมพ์และรายละเอียดต่างๆ จึงถูกบดบังด้วยผิวรักปิดทอง สนิมแดง และแคลเซี่ยม การพิจารณาจึงจำเป็นต้องตรวจสอบจากขนาดขององค์พระ และ เอกลักษณ์ของแม่พิมพ์ดังที่กล่าวมาเท่านั้น องค์ที่เห็นในภาพนี้ถือว่าสมบูรณ์ มาก แล้วครับบ..




    [​IMG]




    [​IMG]




    ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://www.oknation.net/blog/panyadeesiri
     
  12. nongnooo

    nongnooo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    4,139
    ค่าพลัง:
    +9,446
    วันนี้เวลา 8.57น. ผมได้ฝากเงินจำนวน 300บาทเข้าบัญชี bay pratom f. 3481232459 เพื่อร่วมทำบุญสงฆ์อาพาธ ประจำเดือน ตุลาคม 51
    ขอบคุณและโมทนาสาธุครับ
     
  13. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    916
    ค่าพลัง:
    +4,291
    รำลึกถึงครูบาดาบส สุมโน

    ในวันนี้ (12 กันยายน 2551) หากว่า หลวงพ่อครูบาดาบส สุมโน อาศรมไผ่มรกต เชียงราย ยังคงดำรงสังขารอยู่ ก็จะเจริญอายุครบ 7 รอบ 84 พรรษาบริบูรณ์
    แต่แม้หลวงพ่อครูบาดาบสจะ "นิพพาน" ไปโดยกาลถึง 8 ปีล่วงแล้ว แต่คุณงามความดีชั้นเลิศแห่งพระคุณท่าน กลับยังคงแจ่มจ้าเจิดจรัสอยู่ในท่ามกลางดวงใจแห่งผู้ที่มีวาสนาเคยพบเคยเห็นเคยได้รับเมตตาวิสาสะด้วยอย่างมิอาจจะเลือนรางจากใจไปได้
    ความที่เป็นพระอนุตรบริสุทธิสงฆ์ "โดยธรรม" จนก่อให้เกิดความสงบงามอย่างถึงขีดสุดทั้งกาย วาจา และใจอย่างบริบูรณ์สิ้นเชิงด้วยประการทั้งปวงแห่งครูบาดาบสนั้น นับเป็นสิ่งที่ล้ำเลอค่ายิ่งกว่ารัตนมณีใดๆจักเปรียบปาน
    จนเป็นที่มาแห่งเรื่องราวอัน "เล่าลือ" ปานประหนึ่งเรื่องที่ได้เกิดขึ้นมาจริงมานานด้วยทศวรรษ แม้ตราบเท่าถึงทุกวันนี้ สมควรที่จะจดจารึกไว้เป็นมงคลอนุสรณ์สืบไปตราบชั่วนิรันดร์โดยแท้ทีเดียว.....

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100 border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE borderColor=#ffffff cellSpacing=1 cellPadding=5 width=250 align=center bgColor=#f4f4f4 border=0><TBODY><TR><TD align=middle bgColor=#ffffff><!-- [​IMG] -->[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>


    แท้จริงแล้ว หลวงพ่อครูบาดาบส เป็นพระอริยสงฆ์ผู้ทรงอัจฉริยคุณอันประเสริฐสุดองค์หนึ่งแห่งยุค มีนามเดิมชื่อ สง่า นามสกุล เจริญจิตต์ (โจ้) เกิดเมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2467 ที่ตำบลกระไชย อ.แหลมสิงห์ จ.จันทบุรี
    อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ที่วัดจันทนาราม จ.จันทบุรี ในธรรมยุตนิกาย ได้รับฉายาว่า "สุมโน" เมื่อปีพ.ศ. 2487 ก่อนหน้าที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 จะเสด็จนิวัติพระนคร 1 ปี(พ.ศ. 2488) และถูกประทุษร้ายจนเสด็จสวรรคต 2 ปี(พ.ศ.2489)
    จนกระทั่งถึงปีพ.ศ.2494 พระภิกษุสง่า สุมโนก็ประสพเหตุใหญ่ในชีวิตแห่งเพศบรรพชิตด้วยถูกกลั่นแกล้งจนมีอันต้องปริวรรตออกจากภิกษุภาวะ แล้วครองเพศเป็น"ดาบส" จนเป็นที่มาของนาม "หลวงพ่อครูบาดาบส" สืบมาจนตลอดอายุขัย หลวงพ่อครูบาดาบส สุมโน ถึงแก่กาลดับขันธ์ด้วยอาการกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2543 รวมสิริอายุได้ 76 ปี <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100 align=center border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE borderColor=#ffffff cellSpacing=1 cellPadding=5 width=250 align=center bgColor=#f4f4f4 border=0><TBODY><TR><TD align=middle bgColor=#ffffff>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    "หลวงพ่อดาบส ท่านเย็นมานานกว่า 20 ปีแล้ว...!!!"
    หลวงพ่อฤาษี วัดท่าซุง อุทัยธานี

    "หลวงพ่อดาบสที่เชียงราย แทนหลวงปู่ได้น๊ะ...!!!!"
    หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร สำนักสงฆ์ถ้ำผาปล่อง เชียงใหม่
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100 align=center border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE borderColor=#ffffff cellSpacing=1 cellPadding=5 width=250 align=center bgColor=#f4f4f4 border=0><TBODY><TR><TD align=middle bgColor=#ffffff>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>


    อุบายสู่ฝั่งโน้น

    อุบายสู่ฝั่งโน้น ก็คือ วิธีทำจิตทำใจ ที่เรียกว่าสมาธิ แต่การทำสมาธิแบบนี้ เป็นสมาธิไม่ต้องทำอารมณ์ ไม่ต้องมีคำภาวนาใดๆทั้งนั้น แต่มีการทำในใจ คือ ทำในใจ คลายอารมณ์ เป็นการตรงกันข้ามกับการทำอารมณ์ ความหมายของการทำสมาธิแบบนี้ ก็คือ ทำให้จิตสงบ ว่างจากอารมณ์ที่นึกที่คิด และสิ่งที่เกาะที่ถือทั้งปวง ให้จิตเป็นเสมือนอากาศว่าง ไม่มีอะไรเลย แต่ไม่ใช่ไปเพ่งอากาศว่างเปล่า หรือไปนึกถึงอากาศว่างเปล่า มันว่างเปล่า……..”มันว่างเปล่า เพราะจิตสงบ ปล่อยวางอารมณ์ต่างหาก”

    สมาธิแบบนี้ มีทั้งคลายออกและน้อมเข้าพร้อมกันไป …..คลายออก ก็คือ คลายอารมณ์นึกคิด และสิ่งที่เกาะที่ถือนั่นเองออก………น้อมเข้า ก็คือ เขยิบจิตเข้าสู่ความสงบ เมื่อคลายออก หรือ สลัดอารมณ์ออกทิ้งไปแล้ว จิตก็ว่างได้ ความวกวุ่นเร่าร้อนและมืดมน ก็จะหายไป ความหนักและความทุกข์ก็จะหายไป……

    ขณะที่จิตว่างนี้ เราต้อง”มีสติ” และ “ความรู้ตัว”อยู่ด้วย ตราบใดจิตของเรา ยังไม่เป็นตัวของตัวเองได้ ตราบนั้น เราก็ยังจะต้องมีการคืบคลานเข้าและนำออกอยู่อีก จนกว่าจะสุดทาง ล่วงทาง คือ จิตของเรา เป็นตัวของตัวเองได้……. สุดทาง หรือไม่สุดทาง เราจะรู้ได้เอง ไม่ต่างอะไรกับที่เราตัดทอนต้นไม้ออก ทีแรกก็ตัดทอนกิ่งใบ แล้วก็มาลำต้น แล้วก็มาตอและราก จะไปสุดลงที่รากนั่นแล

    จิต เป็นตัวของตัวเอง ย่อมไม่ต้องตั้งอยู่กับอะไรๆ เป็นจิตล่วงพ้นหรือล่วงแดน เป็นอยู่เองได้ ไม่อาศัยอะไรๆอยู่ ไม่มีนอก ไม่มีใน ไม่มีอดีต ไม่มีอนาคต ไม่มีปัจจุบัน สงบสงัดว่างเปล่า ผ่องใสดั่งน้ำในภาชนะ ปราศจากตะกอน เปือกตม หรือเหมือนผ้าขาว อันซักด้วยน้ำสะอาดดีแล้ว หรือเหมือนแก้ว อันช่างเจียรไนดีแล้ว มีความแจ่มใสเต็มเปี่ยม ไม่ใช่หลับหรือเคลิบเคลิ้มหลงลืม ฯ



    สมาธิไม่ต้องทำอารมณ์แต่มีทำในใจ


    ครั้งหนึ่ง พระพุทธองค์ตรัสถามแก่ภิกษุทั้งหลายว่า
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย พึงมีได้หรือหนอ แลการที่ภิกษุได้สมาธิ โดยประการที่ไม่ถึงมี ความสำคัญ………


    ในธาตุดิน ว่าเป็นธาตุดิน…………….เป็นอารมณ์
    ในธาตุน้ำ ในธาตุไฟ ในธาตุลม………เป็นอารมณ์
    ในอากาสานัญจายตนะ………………เป็นอารมณ์
    ในวิญญานัญจายตนะ………………..เป็นอารมณ์
    ในอากิญจัญญายตนะ………………..เป็นอารมณ์
    ในเนวสัญญานา สัญญายตนะ……….เป็นอารมณ์
    ในโลกนี้ ในโลกหน้า เป็นอารมณ์ ฯ
    ไม่พึงมีความสำคัญ………..
    ในรูป ที่ได้เห็น…………………………เป็นอารมณ์
    เสียง ที่ได้ยิน ………………………….เป็นอารมณ์
    กลิ่น ที่ได้ทราบ………………………..เป็นอารมณ์
    รส ที่รู้แจ้ง……………………………..เป็นอารมณ์

    โผฏฐัพพะ ที่ถึงแล้ว แสวงหาแล้ว ที่ใจตรองตามแล้ว…….เป็นอารมณ์ ก็แต่ว่าถึง เป็นผู้มีสัญญาหมายรู้…………


    ภิกษุเหล่านั้น กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ไม่แจ่มแจ้งในเนื้อความนี้ ขอพระองค์ จงประทานวโรกาส แสดงเนื้อความแห่ง ภาษิตนี้ แก่พวกข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายเถิด ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายได้สดับแล้ว จะทรงจำไว้

    พระพุทธองค์จึงตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น เธอทั้งหลายจงฟัง จงจำใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้น ทูลรับพระพุทธพจน์ว่า พระเจ้าข้า ดังนี้แล้ว จึงตรัสว่า…….

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย พึงมีได้ การที่ภิกษุได้สมาธิ โดยประการที่ ไม่พึงมีความสำคัญ……….


    ในธาตุดิน ในธาตุน้ำ ในธาตุไฟ ในธาตุลม………….
    ในอากาสานัญจายตนะ
    ในวิญญานัญจายตนะ
    ในอากิญจัญญายตนะ
    ในเนวสัญญานา สัญญายตนะ
    ในโลกนี้ ในโลกหน้า………เป็นอารมณ์
    ไม่พึงมีความสำคัญ………..
    ในรูป ที่ได้เห็น
    เสียง ที่ได้ยิน
    กลิ่น ที่ได้ทราบ
    รส ที่รู้แจ้ง

    โผฏฐัพพะ ที่ถึงแล้ว แสวงหาแล้ว ที่ใจตรองตามแล้ว……เป็นอารมณ์
    ก็แต่ว่าถึง เป็นผู้มีสัญญา…….. หมายรู้ คือ ทำใจหมายรู้อย่างนี้ ว่า………


    (บาลี) เอตัง สันตัง เอตัง ปะณีตัง, ยะทิทัง สัพพะสังขาระ มะมะโถ สัพพูปะธิปะฏินิสสัคโค,ตัณหักขะโย,วิราโค,นิโรโธ นิพพานัง. ฯ
    ธรรมชาตินั่นสงบละเอียด ฯ
    ธรรมชาตินั่นประณีตยอดเยี่ยม ฯ
    คือ ความสงบจากอารมณ์นึกอารมณ์คิดทั้งหลาย ฯ
    และ ความสละคืนสิ่งทั้งปวงที่เกาะที่ถือ ฯ
    ความวกวนเร่าร้อนทั้งหลาย ย่อมหายไป ฯ
    ย่อมมีความผ่องใสไพบูลย์ สะอาดสะอ้านเกิดขึ้น ฯ
    ย่อมเป็นสุขแท้ เพราะสังขารทั้งหลายดับสนิท ฯ
    นี่แหละ ฝั่งอมตะนิพพาน ที่ล่วงพ้นจากภัยทั้งหลายทั้งปวง ฯ


    (บาลี) เอตัง สันตัง,เอตัง ปะณีตัง ฯ ยะทิทัง สัพพะสังขาระสะมะโถ ฯ สัพพูปะธิปะฏินิสสัคโค ตัณหักขะโย ฯ วิราโค ฯ นิโรโธ ฯ นิพพานัง ฯ

    เนื้อความ หรือ ข้อความการปฏิบัติตามแนวพระสูตรนี้ ก็คือ การกระทำภายในใจหมายหา คือ โน้มใจหันเข้าหาความสงบอารมณ์ พร้อมทั้งมีการปล่อยอารมณ์ออกคู่กันไป เพื่อให้จิตเข้าถึงความเป็นจิตเดิม หรือเป็นตัวของตัวเอง ดังได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ฯ


    นิโรธสัญญา

    นิโรธ แปลว่า ดับความทุกข์ ความชั่ว บาป ดับรูปกาย นามซึ่งมีในกายดับจากวัตถุธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ มีความหมายเช่นเดียวกับคำว่า นิพพาน ดับหรือว่างจากทุกสิ่งทุกอย่างในโลก นรก สวรรค์ พรหม ไม่เหลือการเวียนว่ายตายเกิด ซึ่งเป็นสาเหตุของความทุกข์ยากลำบากอีกต่อไป

    สัญญา แปลว่า ความจดจำ หมายจำเอาไว้หรือจำได้ นิโรธสัญญา จึงแปลว่า ความจำได้หมายรู้ในการดับความทุกข์ยากลำบากทั้งปวง ดับธาตุทั้งหมด ดิน น้ำ ลม ไฟ ให้เหลือแต่ความว่างเปล่า การปฏิบัตินิโรธสัญญานี้เป็นทางลัด รวดเร็ว ทำง่ายมาก เป็นการปฎิบัติได้ผลรวดเร็วไม่ยากนัก เพียรเฝ้าทำจิตให้ว่างจากสิ่งที่เป็นของหนักคือ ร่างกายเราเขาหรือขันธ์ ๕ ขจัดสิ่งวุ่นวายวิตกกังวลเรื่องต่างๆออกจากจิตเท่านั้น

    ทางปฎิบัตินิโรธสัญญา ก็เริ่มด้วยตัดจิตให้มีเมตตาไปยังสรรพสัตว์ทั่ว ๓ โลก นรกโลก เทวโลก รักษาศีล ๕ ให้ครบถ้วน การเฝ้ากำจัดความคิดที่ไม่ดีไร้สาระออกจากจิตก็เป็นสมาธิอย่างหนึ่ง การเฝ้าพิจารณาทุกสิ่งทุกอย่างในโลกในที่สุดก็แตกสูญสลายกลายเป็น ดิน น้ำ ลม ไฟ เป็นอากาศ แยกกระจายจากอนูเป็นอะตอมเล็กๆละเอียด เป็นธาตุว่างคือวิปัสสนาญาณ ผู้มีศีลเจริญสมาธิภาวนานิดเดียวตั้งจิตทำเพื่อจิตเข้าสู่ความสุขอย่างยิ่งคือ พระนิพพาน ก็เข้าถึงเมืองแก้วพระนิพพานได้ง่าย พระนิพพานนั้นไม่ใช่ไกลเกินเอื้อมออกไป อยู่ในจิตในใจเรานี่เอง เรียกว่า สอุปาทิเสสนิพพาน ทั้งที่ขันธ์ ๕ กายยังไม่แตกสลาย ถ้าร่างกายตายจิตสะอาดหมดความยึดติดในขันธ์ ๕ จิตก็จะเคลื่อนเข้าเสวยความสุขยอดเยี่ยมแดนทิพยนิพพาน เรียกว่า อนุปาทิเสสนิพพาน

    นิโรธสัญญา คือการเพียรพยายามทำจิตให้ว่างจากสิ่งที่เป็นของสมมุติทั้งปวงในโลก รวมถึงชีวิต คนและสัตว์ ทรัพย์สิ่งของเป็นของสมมุติเป็นของชั่งคราวทั้งสิ้นเป็นของปลอม พระนิพพานธาตุ พุทธิธาตุ ภูตะธาตุ อสังขธาตุ ทั้งหมดนี้เป็นของจริง เป็นธาตุอะตอมไม่ตายไม่สูญสลายเหมือนธาตุของโลก ถึงตาจะมองไม่เห็นแต่มีอยู่จริง เป็นธาตุบริสุทธิ์มีอยู่แล้วโดยธรรมชาติ ไม่มีใครสร้าง เปรียบธาตุนิพพานอมตะนี้ก็เหมือนเมืองหรือฝั่งข้างโน้นที่เราจะข้ามไป จิตเป็นนามธรรม อาศัยอยู่ในกายในขันธ์ ๕ ที่เป็นของสมมุติชั่วคราว จิตเป็นธาตุบริสุทธิ์ โดยธรรมจากในจิตนั้น มีธรรมกายหรือพุทธิกาย หรือนามกายทิพย์ นิพพานกายอยู่ มีตา หู จมูก ลิ้น กายทิพย์ จิตทิพย์ ไม่ต้องทำขึ้น มีอยู่แล้ว ไม่ตายเป็นอมตะ ในกายทิพย์นิพพานไม่มีประสาท ไม่มีอวัยวะภายใน โปร่งใสเบา เย็นสบายเป็นจิตรู้ฉลาดสะอาดบริสุทธิ์ อิสระจากกฏทั้งปวงอยู่เหนือกฏของกรรมหรือกฏของธรรมชาติ หรือเรียกอีกอย่างว่า จิตของพระอรหันต์ จิตของพระขีณาสพ ผู้หมดกิเลสอวิชชาตัณหาอุปาทานบาปทั้งปวง

    รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส อารมณ์ดีร้ายทั้ง ๖ นี้ เป็นผู้มาทีหลัง เป็นของผ่านไปมา เป็นของสมมุติ เป็นของปลอม ไม่ใช่ของจริง เป็นของร้อนเป็นของหนัก ถ้าจิตเราไปคิดเอาเป็นจริงก็ทำให้เกิดความไม่สบายใจ ผิดหวังเป็นทุกข์ใจมิได้หยุดหย่อน รูปเสียง กลิ่น รส สัมผัส อารมณ์ทั้งหลายเป็นของสกปรกของชั่วคราวเป็นฝ่ายดำ เป็นสิ่งที่เราจะต้องรู้เท่าทัน และกำจัดออกจากจิตทันที คือให้ว่างเปล่าจากของที่เป็นทุกข์เป็นโทษ จิตจะอยู่ว่างเปล่าเฉยๆ ไม่ชินก็นึกถึงพระคุณความดีขององค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า นึกถึงฝั่งแดนทิพยนิพพานเป็นสุขเลิศล้ำ นึกถึงร่างกายสมมุตินี้ตายโดนเผาทิ้งแน่นอน แบบนี้จิตจะว่างจากของหนัก ว่างจากความเครียด ความฟุ้งซ่าน ความวุ่นวายหรือปลอดภัยจากอันตรายได้ เพราะจิตว่างสะอาด ปราศจาก โลภ โกรธ หลง เพราะมีแต่พระรัตนตรัย พระนิพพานเต็มเปี่ยมอยู่ในจิต แถมอีกนิดมีเมตตาต่อสรรพสัตว์ทั้ง ๓ โลก ต้องการให้ทุกผู้ทุกคนพ้นทุกข์ได้เหมือนเรา

    วิธีปฏิบัตินิโรธสัญญา หรือ ทำจิตให้ว่างจากกิเลส ตัณหา อุปาทาน บาปกรรม มี ๓ อย่าง

    ๑. โน้มใจเข้าหาความว่าง ด้วยการนึกถึงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีพระมหาเมตตา มีพระปัญญาธิคุณ พระบริสุทธิคุณ นำสัตว์ชี้ทางเข้าสู่พระนิพพาน เริ่มระลึกถึงความว่างเปล่าไม่มีอะไร ทั้งโลกอากาศว่างเปล่า ธาตุว่างอยู่รอบตัวเราเอิบอาบไปทั่ว เป็นธาตุอะตอม โอบอุ้มทุกสิ่งทุกอย่าง เป็นธาตุเบา ธาตุเย็น ธาตุสงบ ธาตุพอเพียง ธาตุแท้

    ๒. ทำจิตว่างด้วยสลัดขจัดทิ้งความคิดไม่ดีไร้สาระออกจากจิต หรือปล่อยวางอารมณ์ดีชั่วทั้งปวงออกจากจิตให้มีเพียงแต่คำว่ารู้ แต่ไม่นำเอามาคิดปรุงแต่งเป็นตัวเราตัวเขา เป็นแต่เพียงธาตุของโลก จิตเป็นธาตุเบาไม่เอาไปปนกับธาตุหนักๆของโลก กายก็เป็นธาตุของโลกไม่ใช่ของจิต แต่จิตก็เพียงให้รู้ว่าจิตมาอาศัยอยู่ในกายบ้านสมมุติชั่วคราว ไม่เอามาปนกับจิต จิตส่วนจิต กายส่วนกาย ไม่ใช่อันเดียวกัน มีกายแล้วจิตก็ทำเป็นว่าไม่มี เพราะไม่ช้ากายก็ตายสูญสลาย ไม่มีกายอีก เป็นของว่างๆ เพียรคิดสลัดกาย อารมณ์ทั้งหลายออกจากจิต จิตจะสว่างสะอาดจากกิเลสเฝ้าผูกพันยึดมั่นกายเรากายเขา แต่ก็ยังคงทำหน้าที่การงาน สังคมครบถ้วน จิตใจสะอาดผ่องใส ร่างกายก็ไม่มีโรคหรือโรคน้อย จิตก็จะแปรสภาพจากหนักเป็นเบา โปร่งสบาย จิตหยาบก็จะกลายเป็นจิตละเอียดสะอาดผ่องใส ไม่มีความวุ่นวายจิตสงบนิ่งมีปัญญาดี

    ๓.วิธีทำจิตให้สะอาดว่างจากกิเลสแบบให้สังเกตหรือจับดูอารมณ์ตามความเป็นจริง แต่มิใช่ให้จับแบบยึดมั่นถือมั่น คือจิตมันชอบคิดเรื่องต่างๆอยู่เสมอ มันคิดอะไรก็เอาเรื่องนั้นแหละมาพิจารณาดูให้ลึกและไกลออกไป ให้เห็นความไม่คงที่ จะเป็นไปในทางที่ดีหรือไม่ดีก็เท่ากันไม่มีอะไรเป็นจริงเป็นจัง เป็นแก่นสารย่อมถึงความแปรผันดับสูญเสมอกัน

    เงาในกระจกหรือเงาในน้ำมิใช่ของจริงฉันใด สรรพสังขาราทั้งหมดก็ไม่ใช่ของจริงฉันนั้น หรือจะมองชีวิตทั้งหมดนี้เหมือนความฝันก็ได้ เพราะจุดจบของชีวิตคือความตาย ความตายของชีวิตร่างกายของคนนี่แหละ คือการตื่นจากความฝัน คือจิตออกจากร่างไปหาที่อยู่ใหม่ ที่อยู่ใหม่ของเราท่านเที่ยงแท้แน่นอนไม่ยอมแปรผันอีกต่อไปคือ แดนอมตะทิพยนิพพาน

    เมื่อมาพิจารณารู้ความจริงของชีวิตร่างกายทุกผู้ทุกนามแล้ว ก็จะเห็นได้ว่าสิ่งที่มีอยู่เป็นอยู่ทั้งคน สัตว์ สิ่งของ มีก็เท่ากับไม่มี คือว่างเปล่านั่นเอง เพราะสูญสลายไม่ช้าก็เร็ว

    เมื่อกำหนดจิตเห็นทุกสิ่งทุกอย่างรอบตัวเป็นของว่างเปล่า จิตก็จะเข้าถึงความว่าง ธาตุว่างจากทุกสิ่งทุกอย่างในโลก เมื่อพิจารณาทบทวนถึงความไม่มีในร่างกายเรากายเขา ขันธ์ ๕ เรา ขันธ์ ๕ เขา มันมีแล้วก็เหมือนกับไม่มี เพราะแปรปรวนไม่เที่ยงแท้แน่นอน ไม่จริง เป็นของปลอมของสมมุติ หาตัวตนตัวเราตัวเขาไม่ได้ เพราะทุกอย่างมีแต่เดินทางหาความทรุดโทรม ผุพังสลายตายกันในที่สุด จิตก็จะหลุดจากกิเลสคือว่างจากความทุกข์ยาก จิตจะเป็นอิสระเสรีไม่ยึดเกาะในสิ่งของจอมปลอมอีกต่อไป ถึงแม้จิตจะยังอาศัยอยู่ในกาย แต่จิตไม่หลงรักว่าเป็นอันเดียวกับจิต อย่าเอาจิตไปนึกว่ามันมี รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ปล่อยไปเพียงแต่ผ่านมาผ่านไปเท่านั้น ถ้าทรงอารมณ์อยู่จิตไม่สนใจขันธ์ ๕ ของใครวางเฉยไม่ทุกข์ร้อน ทำงานทุกอย่างตามหน้าที่ อารมณ์เฉยเป็นเอกัคตารมณ์ เห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างไม่มีสำหรับเรา เราไม่มีสำหรับกาย จิตจะสะอาดเบิกบานผ่องใสพ้นจากความยึดมั่นในของปลอมของทุกข์ของร้อนพระท่านเรียกว่า จิตของพระอรหันต์

    วิธีทำจิตให้ว่างจากกายเรากายเขาแบบนี้ เป็นวิธีลัดแบบง่าย มีแต่พรหมวิหาร ๔ ไม่ยึดถืออารมณ์ใดๆมาไว้ในจิตมีความจำได้หมายรู้ก็เหมือนไม่มีความจำ เพราะความจำอยู่ได้ไม่นานไม่ช้าก็ลืม ประสาทสมองลืมง่าย ความคิดความจำ ความฟุ้งซ่าน วิตกกังวลเป็นเรื่องของกายให้สลัดทิ้ง ให้จิตเต็มไปด้วยพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า จิตจะเบาบริสุทธิ์สะอาด จิตอันนี้เราจะตามรอยพระพุทธบาทเมื่อกายพังแตกสลาย

    ผู้เพียรทำจิตให้ว่างจากร่างกาย หรืออารมณ์ต่างๆแบบนี้เป็นแบบของพระอริยเจ้า เป็นสมาธิเป็นวิปัสนาญาณอยู่ด้วยกัน ทำได้ทุกเวลา ทุกอิริยาบถ นั่ง นอน ยืน เดิน ทำได้ทั้งที่อยู่คนเดียวและอยู่แบบหมู่คณะ เป็นทางหลุดพ้นทุกข์ได้อย่างแน่นอน เป็นทางลัดตรงไปสู่จุดหมายปลายทางคือ พระนิพพาน

    นิพพานธาตุ คือ นิโรธธาตุ อันเดียวกัน มีอยู่ทุกหนทุกแห่ง แม้ในจิตเราท่านที่อยู่ในร่างกายที่สกปรกนี้ ทำจิตให้เข้าถึงพระนิพพานได้ทันทีทั้งๆที่ยังไม่ตาย นิพพานไม่ใช่มนุษย์โลก เทวโลก พรหมโลก แต่อยู่เหนือโลกทั้งสิ้น มีอยู่ทั่วไปถ้าจิตจิตดับทุกข์ดับขันธ์ ๕ ว่างจากกิเลสจะรู้สภาวะพระนิพพานทันที

    นิโรธสัญญา คือทำจิตให้ว่างไม่มีอารมณ์ใดๆทั้งปวงคือเฉยๆ จิตจะสะอาดปล่อยวางจากทุกสิ่งทุกอย่างทั้งโลก รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส จิตจะเข้าสู่ภาวะ ที่เป็นจิตพุทธะดั้งเดิม จิตประภัสสร

    นิโรธสัญญา ทำจิตให้ว่างจากพันธะใดๆในโลก จะทำวิชชาให้สำเร็จด้วยฤทธิ์ก็ย่อมได้ เพราะจิตสงบทรงตัว แต่ท่านที่เจริญความว่างทางจิตแบบนี้ ท่านไม่ต้องการอิทธิฤทธิ์ใดๆ ความรู้พิเศษใดๆอีก ทั้งสิ้น เพราะจิตท่านอิ่มด้วยความสุข สงบ สบาย สว่างสดใส ไม่ต้องการอะไรอีกต่อไป เป็นความสุขยอดเยี่ยม ไม่สามารถบรรยายเป็นตัวหนังสือได้


    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=100 align=center border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE borderColor=#ffffff cellSpacing=1 cellPadding=5 width=250 align=center bgColor=#f4f4f4 border=0><TBODY><TR><TD align=middle bgColor=#ffffff>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 ตุลาคม 2008
  14. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    916
    ค่าพลัง:
    +4,291
    "แร่ดอกมะขาม"

    [​IMG]

    ดูเนื้อพระตระกูลลำพูน(และที่อื่นๆ ) มักจะเห็นเป็นจุดเป็นก้อนแดงๆ เรียกกันว่า "แร่ดอกมะขาม" อย่าเข้าใจผิดว่าเป็นมวลสารประเภทมวลสารดอกมะขามจริงๆ ล่ะครับ เพราะว่าที่เห็นเป็นจุดเป็นก้อนแดงๆ น่ะ แท้จริงคือแร่เหล็กนั่นเอง(Read Oxide) มักพบในดินแถบภาคเหนือ ขุดลึกลง 3 เมตร ขึ้นไปก็จะพบอยู่ปนกับชั้นดินเหนียว ถ้าเป็นพระจากกรุวัดพระคง, วัดประตูลี้, วัดดอกแก้ว ฯลฯ จะเห็นบ้างที่แร่เป็นก้อนไม่ได้ละเอียดกระจายบนเนื้อพระซะหมด....ยกเว้นจำพวกพระรอดมหาวัน ที่แร่ส่วนมากจะเล็กแล้วก็ละเอียดกว่า(เฉพาะพระรอด เนื้อพระโดยรวมก็จะละเอียดกว่ากรุอื่นอยู่แล้ว แร่เหล็กจึงละเอียดตามไปด้วย) อีกโซนหนึ่งที่เนื้อพระมักมีแร่ชนิดนี้ปนอยู่คืนพระตระกูลกำแพง...ซึ่งเนื้อพระมีความละเอียดรวมไปถึงแร่เหล็กที่ผสมลงไปด้วยจึงมักดูแร่เป็นหลักคือ พระกำแพงแร่ต้องละเอียด...ข้อสังเกตุพระกรุเนื้อดินที่เนื้อไม่ค่อยละเอียดคืออยู่ในโซนหยาบจะมีแร่งพวกนี้น้อยตามไปด้วย...พบบ้างเป็นก้อนไปเลยไม่มาก แต่จะพบมากในเนื้อพระโซนละเอียด หนึก นุ่ม....


    [​IMG]

    [​IMG]


    [​IMG]



    [​IMG]

    [​IMG]
     
  15. katicat

    katicat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กันยายน 2008
    โพสต์:
    1,112
    ค่าพลัง:
    +524
    โอนเงิน 1555.55 บาทเข้ากองทุนภิกษุอาพาธ ธ.กรุงศรีอยุธยาวันนี้ค่ะ อนุโมทนาบุญทุกท่านด้วยนะคะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 8 ตุลาคม 2008
  16. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    916
    ค่าพลัง:
    +4,291
    อิริยาบทสะอาด

    ปุจฉา
    ขอให้หลวงปู่อธิบายการทำให้อริยาบทสะอาดสำหรับบุคคลทั่วๆไป ว่าควรทำอย่างไรเช่น ขณะเดิน นั่ง คุย ทำงานควรจะนำเอาจิตไว้ตรงไหน (ถ้าจะพูดว่าทุกอริยาบทจะต้องมีสมาธิอย่างอ่อนๆได้ไหมครับ)


    วิสัชนา

    " คำว่าอิริยาบทสะอาด มันได้มาจากการที่กายกับใจรวมกันเป็นหนึ่ง ฝึกสติ ถามว่าจะเอาจิตไว้ไหน ก็เอาจิตไว้ที่กายนี้เอาจิตไว้กำกับอิริยาบท ยืน นั่ง เดิน นอน ขณะที่คุณ ยืน นั่ง เดิน นอน ต้องเป็นการ ยืน นั่ง เดิน นอน ด้วยความสำนึก รู้สึกว่าเรารู้เนื้อรู้ตัวในขณะ ยืน นั่ง เดิน นอน นั้นๆ อย่างชนิด จดจ่อ จับจ้อง จริงจัง และก็ตั้งใจที่จะยืน ตั้งใจที่จะเดิน ตั้งใจที่จะนั่ง หรือตั้งใจที่จะนอน เรียกว่า นั่ง ยืน เดิน นอน เป็นการ นั่ง ยืน เดิน นอน พร้อมทั้งกายและใจ เมื่อเป็นอย่างนี้อิริยาบทนั้นๆก็ไม่บกพร่องมีแต่เรื่องถูกต้องจึงกลายเป็นอิริยาบทสะอาด ไม่รกสกปรก ไม่เป็นมลภาวะ ไม่ก่อเกิดปัญหา ต่อตน และคนทั้งหลาย เหล่านี้จึงเรียกว่า อิริยาบทสะอาด สรุปก็คือคุณต้องมีสติ กำกับอิริยาบทนั้นๆนั่นเอง จบ "

    [​IMG]


    ขอขอบคุณเว็บไซท์ http://www.onoi.org
     
  17. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    916
    ค่าพลัง:
    +4,291
    คนมีธรรมะ

    <TABLE class=contentpaneopen><TBODY><TR><TD vAlign=top align=left width="70%" colSpan=2>เขียนโดย เฒ่าไม้แห้ง </TD></TR><TR><TD vAlign=top colSpan=2>(จากบทบรรณาธิการ หนังสือพิมพ์ธรรมลีลา เล่มที่ 72)
    ความหมายของธรรมะที่ถูกตรงถูกต้องตามครรลองพระสัจธรรมของพระศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า หมายถึงเครื่องชำระล้าง ฟอก ขัดเกลาจิตวิญญาณ
    เพราะฉะนั้น คนมีธรรมะก็เหมือนมีเครื่องฟอก เครื่องชำระล้าง เครื่องดูดฝุ่นในตัว ฝุ่นมันเกิดขึ้นตรไหนก็ดูดมันออก ตรงไหนเป็นขยะก็เก็บมันทิ้ง ตรงไหนมีคราบแสงสีเสียงกลิ่นก็ชำระมันออก นั่นคือคนมีธรรมะ

    คนมีธรรมะไม่ใช่ยายแก่แร้งทึ้ง
    คนมีธรรมะไม่ใช่ตาเฒ่าหัวหงอก
    คนมีธรรมะไม่ใช่คนที่ทำตัวล้าหลังในสังคม
    คนมีธรรมะไม่ใช่คนเป็นคนที่เคร่งเคลียดแล้วกลายเป็นคนที่น่าเกลี่ยดในสังคม

    แต่ความหมายของคนมีธรรมะจะเป็นคนที่ใหม่และทันสมัยเสมอต่อทุกสภาวะทุกสถานะและทุกถิ่นทุกที่และทุกเรื่องที่ทำ
    คนที่มีธรรมะมีสํกยภาพ และสมรรถนะ และวิถีคิด วิถีงาน วิถีจิต วิถีชีวิตที่เป็นวิถีพุทธ คือรู้ตื่น และเบิกบาน ตามกระบวนการของการดำรงชีวิต

    ผู้มีธรรมะย่อยชาญฉลาดทุกสถาน
    ผู้มีธรรมะย่อมมีชัยชนะทุกถิ่นทุกที่ทุกทางที่ตนอยู่อาศัย
    ผู้มีธรรมะย่อมมีสันติ สงบสุข ร่มเย็น ในขณะที่คนอื่นทุกข์ร้อย เสร้าหมอง ขุ่นมัว
    ผู้มีธรรมะจะรู้จักปล่อยว่าง สลัดหลุด และไม่ปล่อยให้อะไรมาฉุดรั้ง
    ผู้มีธรรมะย่อมมีพระอยู่ในใจ
    ผู้มีธรรมะย่อมต้องรู้จักพอ หรือถ้าต้องการก็รู้จักหยุดธรรมะจึงเป็นสัญลักษณ์ของคนที่ฉลาด สะอาด สว่าง และสงบธรรมะจะดัดกายวาจาใจของเราให้กลายเป็นบุคคลที่ซื่อตรงต่อตนเอง ซื่อตรงต่อคนอื่น ซื่อตรงต่อสังคมส่วนรวม ความซื่อตรงนี่เหละคือคุณลักษณะของคนมีธรรมะ และความซื่อตรงมันเกิดขึ้นได้จากการที่ต้องเรียนรู้ธรรมะ

    มักจะมีคำพูดว่า พระพุทธเจ้าถ้าสอนให้เป็นคนเชื่องช้า พระองค์ก็คงไม่ใช่ศาสดาเอกของโลกเป็นแน่ เพราะคนที่ช้าย่อมตกเป็นทาสของคนที่ว่องไวและรวดเร็ว คนที่อ่อนแอย่อมตกเป็นทาสของคนที่เข้มแข็ง คนที่โง่เขลาย่อมตกเป็นทาสของคนฉลาดและรู้มากเพราะฉะนั้นธรรมะอยู่กับใคร คนนั้นจะไม่เป็นคนที่อ่อนแอ จะไม่เป็นคนที่ล่าช้า จะไม่เป็นคนที่เหลวไหล และจะไม่เป็นคนที่โง่เขลา แต่จะทำให้ผู้นั้นมีความตระหนักสำนึก รู้จักความถูกต้อง และไม่บกพร่องในหน้าที่
    </TD></TR></TBODY></TABLE>


    ขอขอบคุณเว็บไซท์ http://www.onoi.org
     
  18. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    916
    ค่าพลัง:
    +4,291
    การหายใจเป็น

    เขียนโดย หลวงปู่พุทธะอิสระ

    [​IMG]



    ลองสังเกตดูว่า ไม่ว่าจะเป็นนกก็ดี หมูก็ดี หนูก็ดี ปลาก็ดี ไก่ก็ดี หมาก็ดี แมวก็ดี มันจะมีลมหายใจถี่และไม่เป็นจังหวะเข้า-ออก ที่สม่ำเสมอ
    ทางวิทยาศาสตร์ถือว่า ลมหายใจที่เข้า มันสูดเอาสิ่งดีๆเข้าไป เพื่อจะปรุงเป็นโลหิต ไปหล่อเลี้ยงร่างกายให้มีพลัง การหายใจยาวๆหมายถึง การได้สูดเอาของดีๆ ให้เข้าไปขับไล่ของเสียออกมาจากการหายใจออก ในขณะเดียวกันมันก็ทำหน้าที่ปรุงพลังให้กับร่างกาย

    มีเรื่องพิสูจน์ยืนยันได้ว่า การหายใจเข้า-ออก ยาวกว่าคนปกติธรรมดา จะมีชีวิตยืนยาวได้เป็น ๓๐๐-๔๐๐ ปี หรือไม่ตายแม้กระทั่งฝังทั้งเป็น อย่างในประเทศอินเดีย มีโยคีนอกศาสนาเรียนวิชาโยคะ วิชาโยคะมี ๓๘ ท่า ในท่าสุดท้ายจะมีวิธีการฝังตัวและหายใจแบบกบ เรียกว่า กบจำศีล มีอาจารย์โยคะท่านหนึ่ง สามารถที่จะฝังตัวเองได้เป็นสิบปี เมื่อถึงเวลาแล้วลูกศิษย์ไปขุดดู ปรากฏว่าอาจารย์ยังสบายดี ไม่ตาย ทั้งนี้ก็ได้มาจากการหายใจ ความละเอียดอ่อนของลมหายใจ และการรู้จักขั้นตอนในการระบายลมเข้าและออก

    ฉะนั้น "ลมหายใจ" นอกจากจะมีประโยชน์ในการให้พลังต่อร่างกายแล้ว มันยังหล่อเลี้ยงให้เรามีชีวิต มีพลังความคิด และมีอำนาจต่างๆเกิดขึ้นมากมาย จากการที่คนหายใจเป็น สัตว์หายใจเป็น

    แต่ผู้ที่หายใจไม่เป็น สัตว์ที่หายใจไม่เป็น เราจะเห็นว่า อายุจะสั้น เช่น แมวตายก่อนหมา หมาตายก่อนควาย ควายตายก่อนวัว วัวตายก่อนช้าง ช้างตายก่อนปลาวาฬ อะไรเหล่านี้ จะเห็นว่ามันมีการหายใจต่างกัน

    ถ้าถามว่าเกี่ยวกับระบบสรีระด้วยรึเปล่า? เกี่ยวกับปอด เกี่ยวกับถุงลม เกี่ยวกับสิ่งเหล่านี้ด้วยรึเปล่า?

    สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่เกิดขึ้นโดยกรรมพันธุ์อย่างเดียว แต่มันเกิดขึ้นโดยการกระทำด้วยเหมือนกัน เช่น ถ้าเราฝึกปรือให้เด็๋กทารกรู้จักหายใจเข้ายาว ออกยาว เป็นจังหวะ มันก็สามารถที่จะทำให้เกิดพฤติกรรมทางร่างกาย เปลี่ยนแปลงกรรมพันธุ์ทางร่างกายได้อย่างน่าอัศจรรย์ทีเดียว

    เช่นในกรณีของคนที่มีพันธุ์หน้าอกเล็ก ปอดเล็ก ถุงลมเล็ก ถ้าเราฝึกให้รู้จักหายใจเป็น หายใจเข้าและออกยาวตั้งแต่เล็กๆ มันจะสามารถขยายทรวงอก ขยายโครงสร้างของร่างกาย และขยายอวัยวะต่างๆในร่างกายให้ทำงานได้เหมือนกับคนที่มีร่างกายแข็งแรงใหญ่โต เรื่องนี้เป็นเรื่องทางวิทยาศาสตร์

    หลวงปู่เคยใช้วิชาหายใจรักษาคนที่เป็นโรคปอด เป็นมะเร็งในปอด จนปอดเหลือข้างเดียว ตอนนั้นเค้าอายุ ๔๐ กว่า จนอยู่มาได้ถึง ๗๐ กว่า ด้วยวิธีการค่อยๆผ่อนลมหายใจให้เป็นปกติ

    การหายใจเข้าลึกๆและผ่อนคลายออกยาวๆ นั้น มันจะสามารถขับความร้อนในกายที่เกิดจากการเสียดสีของการทำงาน มันจะขับของเสียที่มีอยู่ในกายออกไป ซึ่งไม่จำเป็นจะต้องออกมาเป็นเหงื่อ

    แน่นอนละ ทางการแพทย์ย่อมรู้ว่า การขับเหงื่อออกมาเป็นการดี เพราะสามารถจะระบายของเสียในร่างกาย แต่ของเสียในร่างกาย มิใช่ออกมาจากเหงื่ออย่างเดียว มันออกมาจากลมได้ก็มี

    พวกเราจะสังเกตเห็นว่า หลวงปู่ไม่มีเหงื่อหยดติ๋งๆ ไม่ใช่เพราะว่าต่อมต่างๆมันอุดตัน แต่หลวงปู่จะใช้วิธีการหายใจ ระบายของเสียโดยลม แต่ไม่ยอมให้ร่างกายเสียน้ำ เพราะถ้าเสียน้ำมากจะเพลียมากกว่าเสียลม คนที่เหงื่อออกมากๆ ในเวลาทำงานนั้น เมื่อเลิกทำงานจะรู้สึกเพลียและกะปลกกะเปลี้ยไปหมด คือว่าร่างกายเสียน้ำ ขาดน้ำ แต่หลวงปู่พยายามทำให้เหงื่อออกน้อยที่สุด แล้วพยายามระบายลมให้คงที่ เป็นปกติ ความเหนื่อยของเราก็จะผ่อนคลายออกมากับลมหายใจที่พ่นออก พลังเราก็จะเข้าไปกับลมหายใจที่สูดเข้า และเมื่อถึงเวลา เราจะระบายของเสียอีกประเภทหนึ่งออกมา ก็คือ ปัสสาวะ ถ้าเราเหนื่อยจัด หรือว่ามีของเสียมาก เราจะรู้สึกปวดปัสสาวะ นี่คือเทคนิคของผู้ที่มีศิลปะในการกำจัดของเสีย

    พวกที่รู้จักการหายใจ มีศิลปะในการระบายลมหายใจ นอกจากร่างกายจะมีพลังปกติ โคจรได้อย่างสมบูรณ์ ยังมีเคล็ดวิเศษในวิชานี้อีก คือ สามารถดูดพลังจากธรรมชาติได้ เรื่องนี้เป็นเรื่องจริง ถ้าไม่เชื่อ ลองถามลูกหลานที่เคยอยู่ใกล้หลวงปู่ว่า ถ้าหลวงปู่เป็นลมล้มลงไป จะไล่ทุกคนออกจากห้องทั้งหมด ขอเพียงอยู่ลำพังสัก ๓ - ๑๐ นาที หลวงปู่สามารถลุกขึ้นมาทำงานได้เป็นปกติทุกอย่างเหมือนมีพลังเท่าเดิม เพราะสามารถจะดูดพลังจากไอของความชื้น ความร้อน สุริยัน จันทรา และสิ่งแวดล้อมได้

    ใครจะปฏิเสธมั้ยว่า ผิวหนังสามารถจะหายใจและระบายของเสีย พร้อมๆ กับสูดเข้าได้ ถ้าปฏิเสธตรงนี้ ก็ต้องบอกว่า ถ้าอย่างนั้นเชื้อโรคและของที่เป็นพิษเข้าทางผิวหนังได้อย่างไร นี่แหละศิลปะในการหายใจ ทำให้เราสามารถหายใจทางผิวหนังได้ สูดของเสียและระบายของเสียออกจากผิวหนังได้ ในขณะเดียวกันก็สูดอากาศเข้าสู่ผิวหนังได้ ก็อย่างที่เล่าว่าโยคีที่ฝังตัวเองไว้เป็น ๑๐ ปียังไม่ตาย เค้าหายใจทางไหน ได้รับน้ำกับความชื้นจากอะไร ก็จากผิวหนัง นี่คือศิลปะการสูดลมหายใจเป็นปกติและเทคนิคพิเศษ

    พระศาสดาจึงยกย่องว่า

    "ภิกษุทั้งหลาย เราไม่เห็นธรรมอันใด อันเลิศเท่าอานาปานะ
    ภิกษุทั้งหลาย เราไม่เห็นธรรมอันใด อันเลิศเท่ากับการเจริญสติในลมหายใจ
    ภิกษุทั้งหลาย เราไม่เห็นธรรมอันใดเลิศเท่ากับการรู้จักจะผ่อนคลายลมหายใจให้เป็นจังหวะ สำหรับการมีชีวิตอย่างมีพลังและผาสุก"

    เทคนิคของลมหายใจ มิใช่เพียงแค่จะสามารถสัมผัสกับพลังพิเศษๆจากธรรมชาติอย่างเดียว มันสามารถซึมซับพลังพิเศษๆจากธรรมชาติได้ด้วย ในขณะเดียวกันเทคนิคของการหายใจเข้ายาวและออกยาวนั้น สามารถทำให้เราขับไล่พลังร้าย อารมณ์ร้าย แล้วก็พิษร้ายๆในร่างกายได้อีก ซึ่งเราไม่คิดว่ามันจะทำได้ แต่มันก็ทำได้ผลจริงๆเสียด้วย

    หลวงปู่เคยใช้วิชาลมหายใจขับพิษงูสามเหลี่ยมออกจากกาย สยบพิษตัวต่อ ๑๔ ตัว ไม่ให้เข้าหัวใจ ใช้วิชาลมหายใจสกัดจุด โดยการระบายลม เดินลม ๗ ฐาน ให้เลือดเสียออกมาทางจมูกและปาก พยายามบังคับพิษไม่ให้ซึมเข้าสู่ในสมอง ในสายเลือด ในการหมุนเวียนของเลือด แล้วก็ควบคุมรักษาความสมดุลของหัวใจและการทำงานของสมอง นอกนั้นก็ปล่อยให้พิษซ่านไปตามผิวหนัง เพราะแค่คุม ๒ จุดนี้ร่างกายของเราสามารถอยู่ได้ เราจะมีสติรู้ว่า หัวใจเราปกติมั้ย สมองปกติมั้ย พิษถึงสมองหรือเปล่า

    ฉะนั้นอำนาจของการหายใจ มิใช่เพียงแค่เราจะซึมซับพลังธรรมชาติ อณูของบรรยากาศเท่านั้น แต่ยังทำให้เราขจัดอำนาจของพิษร้ายที่เกิดจากภัยของสัตว์เลื้อยคลาน สัตว์มีพิษทั้งหลายได้ และมันทำให้เราพร้อมที่จะตายอย่างเป็นผู้กล้าได้ด้วย

    มีอยู่ครั้งหนึ่งหลวงปู่ป่วย ไอเป็นเลือดตลอดเดือนเต็มๆ แล้วมีเสลดหนา ไออยู่อย่างนั้น จนกระทั่งเสลดไปอุดหลอดลมไม่ให้หายใจ จึงหายใจไม่ออก ขลุกขลักๆ ร้องเรียกใครก็ไม่มีใครได้ยิน ตอนนั้นมันหมิ่นเหม่กับมัจจุราช แล้วความตายมันใกล้เคียงกันถึงขนาดเส้นผมบังเท่านั้นเอง แต่ด้วยพลังของลมหายใจที่เคยฝึกปรือจนเป็นปกติ จึงใช้หลักการหายใจขับเอาพลังเสลดให้ไหลย้อนกลับลงไปในลำไส้ แล้วก็สูดขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง พ่นออกมาเป็นก้อนๆ ตั้งแต่นั้นมาก็หายไอ

    ศิลปะการหายใจที่เป็นปกติ เข้ายาวและออกยาว ตอนฝึกใหม่ๆเราจะรู้สึกอึดอัดและปวดหัว ทำให้หัวใจเต้นแรงแล้วก็เหนื่อย แต่อย่าไปเครียดกับการฝึก เราต้องสูดลมหายใจเข้าลึกๆช้าๆ แล้วก็ค่อยๆผ่อนออกมาช้าๆ เป็นระบบ

    จริงๆแล้วพวกทหารสอนวิธีนี้ แต่เป็นการสอนแบบชนิดที่ไม่รู้ว่ามันได้ประโยชน์อะไร สอนเพียงแค่จะให้ยกอกขึ้น ให้สูดลมหายใจเพียงแค่จะแบะอก แต่ศิลปะการหายใจมิใช่เพียงแค่ให้แบะอก คนที่หายใจเข้ายาวออกยาวนั้น โครงสร้างของร่างกายจะผึ่งผาย ด้วย จะทำให้โครงสร้างดี ถ้าฝึกตั้งแต่เด็กๆ

    ทีนี้ ทำอย่างไรถึงจะหายใจเป็น ก็เริ่มต้นจากการฝึกหายใจเป็นปกติเสียก่อน เราเคยรู้มั้ยว่าเราหายใจปกติอย่างไร เข้ากี่ที ออกกี่ที ใน ๑ นาทีเข้ากี่ครั้ง ออกกี่ครั้ง เมื่อเรานับได้รู้ได้ว่า ๑ นาทีเข้ากี่ครั้ง ออกกี่ครั้ง ก็ทำให้มันช้าลงกว่านั้น แล้วเราจะรู้เทคนิคของมันเองว่า จะช้าได้อย่างไร ถ้าเราทำให้ยาวแล้ว มันก็จะยาวเป็นปกติ

    หลังจากที่เราเริ่มหายใจเป็นเพียงแค่หนึ่งชั่วโมงในหนึ่งวัน มันจะมีสิ่งผิดปกติในร่างกายของเราบ่งบอกให้เห็น ลูกตาจะเป็นประกาย สีหน้าจะมีแสงสว่าง ถ้าเรามีดวงตาอันสว่างไสวและมองเห็น จับได้ จะสามารถรู้สัมผัสว่า รัศมีรอบกายจะสว่างรุ่งเรืองแค่ไหน มันอยู่ที่การเดินลมหายใจ เรียกว่า "ฉัพพรรณรังสี"

    พระพุทธเจ้า พระศาสดา พระสาวก มี "ฉัพพรรณรังสี" เพราะการฝึกปรือลมหายใจ วิชานี้ถ้าใครฝึกปรือได้ ก็จะสามารถเปล่งพลังแสงในร่างกายให้สว่าง การเปล่งนั้นคนสามัญจะสัมผัสและจับไม่ได้ แต่คนที่มีตาวิเศษ มีหูวิเศษ มีการสัมผัสทางกายที่วิเศษ จะสามารถรู้ได้ว่า คนคนนี้สะอาดแค่ไหน บริสุทธิ์อย่างไร เหมือนกับคนที่รู้จักตัวหิ่งห้อยบินมาในความมืด คนที่ไม่รู้จักตัวหิ่งห้อยก็จะมองว่า เอ๊ะ...นั่นแสงอะไร แต่สำหรับคนที่เคยเห็นตัวหิ่งห้อย ก็จะบอกได้ทันทีว่า นั่นแสงหิ่งห้อย

    เมื่อเราสามารถหายใจยาว เข้าออกยาว จนสามารถสกัดจุดต่างๆในร่างกายได้ สกัดพิษได้ และทำให้ร่างกายสดชื่นในขณะที่สูญเสียพลังได้ เราจะแก่เพียงแค่อายุ เส้นผม ผิวหนัง สายตา แต่สิ่งแวดล้อมในตัวเราจะไม่แก่ตาม ร่างกายและสุขภาพเราจะยังสดใส มีพลัง มีสมดุล พอสมควรที่จะทำกิจกรรมได้

    ศิลปะการหายใจไม่ใช่เพียงให้เรามีอำนาจพิเศษเพียงแค่นี้ มันยังทำให้เราสามารถสำรวจและสัมผัสรังสีที่เกิดจากคลื่นกระแสของความคิดที่ชาวบ้านมีต่อเรา คือ อิจฉา โกรธ โลภ หลง รัก ชอบ ชัง ยอมรับและปฏิเสธ เราสามารถที่จะสัมผัสได้ละเอียดอ่อนถึงอย่างนี้ในอารมณ์ของคนอื่น เราจะรู้ได้ทันทีว่า คนที่มาหาเราจะมีความรู้สึก ความคิดอย่างไร สมองกำลังทำอะไร มีอารมณ์ปกติหรือผิดปกติอย่างไร โกรธหรือว่าชอบ รักหรือชัง การสัมผัสด้วยลมหายใจอันละเอียดอ่อน มันจะทำให้เราเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น อย่างทรงสติ แล้วเมื่อใดที่เราเหนื่อยอ่อน เมื่อยล้าจากการทำงานอย่างเหน็ดเหนื่อยและเจ็บปวดในอวัยวะทั้งหลายในบางที บางที่ บางตำแหน่ง บางส่วนของร่างกาย เราสามารถจะใช้ลมหายใจเข้าไปผ่อนคลายความเครียดตรงนั้นให้คลายความเจ็บปวด คลายความทุกข์ทรมานลงได้ จนเกือบที่จะหายสนิททีเดียว

    หลายครั้งที่หลวงปู่ใช้ศิลปะในการเดินลมหายใจเข้ามาผ่อนคลายความเจ็บปวดที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นอุบัติเหตุ โรคภัยไข้เจ็บ หรือจากการเบียดเบียนของสิ่งแวดล้อม ตัวอย่างเช่น ตอนที่หลวงปู่ทำศาลา แล้วเกือบโดนหินกระแทก ตอนนั้นหลวงปู่ต้องทำมือให้ลีบแล้วก็เกร็งพลังเพื่อที่จะต้านพลังของหินสองก้อนที่มากระทบกัน ซึ่งมีมือเราอยู่ตรงกลาง มันเป็นศิลปะที่เป็นไปโดยอัตโนมัติ ไม่ได้กำหนดโดยสมอง ไม่ใช่สมองสั่งงาน เรียกว่าเป็นอิริยาบถอัตโนมัติทันที เหตุเพราะเราได้ฝึกปรือลมหายใจจนเป็นปกติ เพราะฉะนั้นทุกอย่างมันจะเป็นอัตโนมัติของมัน ถ้าเราฝึกถึงขั้นหนึ่งแล้ว

    ถ้าเรายังไม่รู้ว่าการหายใจของเรานั้น เข้ายาวหรือออกสั้น เข้าสั้นหรือออกยาว ก็แสดงว่า เราไม่ได้ควบคุมการหายใจ เราก็ไม่ใช่ผู้ฝึกสมาธิ เราไม่เป็นสมาธิ ไม่รู้จักสมาธิ และนั่นก็ไม่ใช่สมาธิด้วย

    แต่ถ้าเมื่อใดที่เราสามารถระลึกรู้ได้ว่า ในขณะที่เรากำลังหายใจและการหายใจของเรามันสั้นหรือยาว ออกยาวหรือสั้น เราระลึกรู้ได้และตามติดมันได้ มันจะสามารถบอกเราได้ทันทีว่าความสงบ สันติ จะเกิดขึ้น นั่นแหละคือสมาธิ เป็นสมาธิโดยไม่มีอะไรเข้ามาวุ่นวาย และคิดสับสนในขณะนั้น

    คำว่า "สมาธิ" ตัวนี้ แปลว่า ความคิดต้องรวมเป็นหนึ่ง หลวงปู่เคยสอนวิชานิรรูป ให้ลูกหลานรวมกายกับใจ ผนึกรวมกันเป็นหนึ่ง เหมือนกับน้ำที่วิ่งแยกออกไปคนละสายสองสายในสายท่อเดียวกัน น้ำที่วิ่งออกจากตาเห็นรูป เป็นพลังที่สูญเสีย วิ่งจากหูฟังเสียง เป็นพลังที่สูญเสีย วิ่งจากลิ้นที่รับรส เป็นพลังที่สูญเสีย วิ่งออกจากกายไปต้องสัมผัส เป็นพลังที่สูญเสีย ถ้าสายน้ำในท่อไหลแยกออกที่รูรั่วตามจุดต่างๆ ๕ แห่ง มันคงจะไหลไปถึงเป้าหมายอย่างอ่อนแรงเป็นแน่ แต่ถ้าเราอุดรูรั่วทั้งห้าให้หมด แล้วปล่อยให้มันไหลตรงๆไปข้างหน้า แน่ละมันย่อมทะลวง ทำลาย และก็ทลายภูเขา หินผา ที่อยู่ข้างหน้า เพราะมีพลังที่แรงและมั่นคง

    ฉันใดก็ฉันนั้น พลังสมาธิของเราก็เหมือนกัน ถ้าปล่อยให้มันลื่นไหลไปกับความรู้สึกอื่นๆ ซึ่งจัดว่าเป็นอารมณ์ นั่นไม่ใช่สมาธิ เราจะสูญเสียพลัง

    พวกเราฝึกปรือและเรียนรู้ที่จะใช้พลัง แต่ไม่ฝึกปรือที่จะทำให้เกิดพลัง ตลอดชีวิตที่ผ่านมา เราพยายามที่จะเค้นเอาพลังจากส่วนนั้นส่วนนี้มาใช้ แต่เราไม่รู้ว่าพลังเหล่านี้เกิดมาจากอะไร เราจะอ้างว่าพลังเกิดจากร่างกาย แต่จริงๆ แล้วพลังไม่ใช่เกิดจากร่างกายโดยตรง มันเป็นผลทางอ้อมทั้งนั้น ไม่ว่าพลังจะเกิดจากอาหาร เกิดจากการผ่อนคลาย เกิดจากการพักผ่อน ไม่ใช่โดยตรง แต่พลังที่สุดยอดนั้นมันเกิดจากหัวใจที่รวมเป็นหนึ่งกับกายและพักผ่อนได้อย่างสนิท เวลาเราง่วง เพลีย เราก็อยากจะพัก ใจมันก็อยากจะพัก สมองก็อยากจะพัก แต่เราไม่เคยพักใจพักสมอง เพราะแม้แต่ตอนนอนก็ยังฝัน ใครจะปฏิเสธว่าไม่จริง

    เพราะฉะนั้นพลังที่ควรจะได้ ไม่ใช่ได้จากอาหารอย่างเดียว ไม่ใช่ได้จากการนอนหลับพักผ่อนอย่างเดียว ไม่ใช่ได้จากการที่ต้องไปดูหนังดูละคร พักผ่อนเล่นดนตรีอย่างเดียว แต่มันต้องได้มาจากความสงบและสันติของจิต ซึ่งไม่มีอะไรมากระทบรบกวน เรียกว่า "สมาธิ" นั่นแหละเป็นพลัง เราไม่ค่อยฝึกปรือที่จะสร้างพลัง มีแต่ฝึกปรือที่จะใช้พลัง และเพียรพยายามที่จะเค้นเอาพลัง ทั้งๆที่บางทีก็ไม่มีพลัง

    ดังนั้น พระพุทธเจ้าจึงต้องทรงสอนให้เราพยายามเข้าถึงจุดกำเนิดแห่งพลัง และในจุดกำเนิดแห่งพลังอันนั้นก็คือ "ศิลปะของการหายใจ"

    เรารู้กันมาแล้วว่า คนที่หายใจสั้น สัตว์ที่หายใจสั้น จังหวะสั้น เป็นคนที่ไร้พลัง เป็นสัตว์ที่ชีวิตสั้น เป็นผู้มีอายุสั้น คนที่หายใจยาว สัตว์ที่หายใจยาว มีจังหวะเข้ายาวออกยาว เป็นคนมากพลัง มีชีวิตอันยาวไกล

    เมื่อรู้อย่างนี้ เราก็ต้องกลับมาสร้างพลังให้เกิดขึ้นภายใน เรียกภาษาโบราณของจีนว่า กำลังภายในพลังปราณ เมื่อเรามีกำลังภายในเกิดขึ้น มันจะทำให้เกิดผลสะท้อนออกมาถึงพลังภายนอกอย่างกล้าแข็ง

    ลูกศิษย์ของหลวงปู่คนหนึ่ง เรียนลัทธิเต๋า ตอนหลังมาศึกษาวิชาชี่กง แต่ก็ยังไม่เข้าถึงขุมพลังแห่งร่างกาย ต่อมาหลวงปู่สอนให้เค้าเดินลม จนสามารถที่จะตบกำแพงตึกห้องที่หนึ่ง สะเทือนไปถึงกำแพงตึกห้องที่สิบ คนอยู่ห้องที่สิบได้ยินเสียงตบด้วยฝ่ามือ กำแพงไม่ได้ทะลุหรอกนะ แต่มันกระเทือนไปถึงตรงนั้นได้ ซึ่งคนธรรมดาตบแล้วกระเทือนไม่ได้ เอาฆ้อนตียังกระเทือนไม่ได้ กระแทกจนกำแพงทะลุก็ยังกระเทือนไม่ถึงห้องที่สิบ

    พลังชนิดนี้ มันเป็นพลังแฝงที่อยู่ภายใน เรียกว่า "พลังพันธาริณี" เป็นภาษาสันสกฤตโบราณ คนโบราณในอินเดียรู้จักจะฝึกปรือพลังชนิดนี้เอามาใช้เมื่อยามจำเป็น เช่น นักมวยปล้ำ พวกที่ต้องจับช้าง สู้กับเสือ กับกระทิง พวกนี้จะฝึกปรือพันธาริณี เพื่อที่จะสยบช้าง สยบสิงโต สยบเสือ ด้วยมือเปล่า ไม่ใช่ด้วยอาวุธ

    พลังพันธาริณี ก็คือ ศิลปะการหายใจ มีการฝึกอย่างพิสดาร คือ ไม่นั่ง ไม่นอน ได้แต่ยืนดูดาว มองฟ้า มองดิน และก็พยายามจะทำการหายใจสั้น หายใจยาวอยู่ตลอด เอาพระจันทร์เข้ามาโคจรไว้ในกาย ดึงเอาดวงอาทิตย์เข้ามาไว้ในลูกตา จนตาบอดไปก็มี นี่คือ วิธีฝึกของการเข้าถึงพลังพันธาริณี แต่เราไม่ต้องไปเรียนหรอก เพราะเรียนแล้วก็มิได้ทำให้พ้นทุกข์ ไม่มีครูคอยแนะคอยสอนก็กลายเป็นคนบ้าบอไปก็มี

    เอ้า...ทีนี้ เราจะทำลมหายใจเข้าปกติยาว ออกปกติยาว โดยไม่เครียดและไม่เหนื่อยได้อย่างไร วิธีก็คือ

    เริ่มสูดลมหายใจเข้าลึกๆ
    ...แล้วก็ผ่อนคลายออกยาวๆ...
    ...สูดเข้าลึกๆ...
    ...แล้วก็ผ่อนออกยาวๆ...
    ...ทำอย่างนี้ ...อย่างเนิบนาบ... อย่างเชื่องช้า ...อย่างมีศิลปะ ผ่อนคลาย เบาสบาย
    แล้วก็รอบรู้ในระบบการเดินลม

    ต้องหายใจปกตินะ ไม่ใช่ถี่เป็นหมาหอบแดด หายใจให้เป็นปกติ แล้วจับเวลาดู ต่อมาก็พยายามทำลมหายใจให้ยาวกว่าปกติบ้าง เข้าและออกปกติบ้าง สลับสับเปลี่ยนกันไป เพื่อไม่ให้เหนื่อยและเครียด คอยจับเวลาไว้ ดูว่าเราเหนื่อยมั้ย ถ้าเหนื่อยก็พัก ถ้าไม่เหนื่อยก็ทำต่อไป

    ในขณะที่คุมลมหายใจให้เข้ายาวออกยาวนั้น เราจะต้องเอาความรู้สึกทั้งปวงจับที่ลมหายใจ ไม่มีอารมณ์อื่นใดปรากฏเลย แล้วเมื่อใดที่มีอารมณ์ปรากฏ เราจะลืมหายใจ ก็แสดงว่า ระบบการหายใจเราจะล่มสลาย หรือไม่ได้ผลทันที เมื่อมันไม่ได้ผลก็แสดงว่า เราทำไม่สำเร็จ

    ถ้าเราทำสำเร็จ เราจะรู้สึกว่า สุขภาพเรา ความเหนื่อยในการทำงาน ความเครียด ความเมื่อย ความล้า ความเพลีย จะผ่อนคลายได้ด้วยระบบลมหายใจ

    เวลาที่หลวงปู่ทำงานเหนื่อยๆอ่อนระโหยโรยแรง ขอเพียงเหนื่อยนักพักหน่อยก็หาย ร้อนนักอาบน้ำก็สบาย หิวนักกินข้าวก็หาย กระหายนักดื่มน้ำก็คลาย แต่สำหรับสามัญชน หิวก็กิน แต่บางทีกินก็ไม่หาย เหนื่อยพักก็ยังไม่คลาย อาบน้ำก็ยังไม่สบาย เพราะมันไม่รู้จักดื่มด่ำต่อธรรมชาติที่กำลังจะเกิดขึ้นในการสัมผัสนั้นๆ เช่น อาบน้ำ กิน นั่งพัก มันดื่มด่ำไม่ได้ มันรับสัมผัสอย่างละเอียดอ่อนไม่ได้ ได้ครึ่งทิ้งครึ่ง คุณค่าของอาหาร คุณภาพของความเย็นฉ่ำแห่งน้ำ ความโปร่งเบาสบายแห่งลม ความอบอุ่น หวั่นไหวของไฟ ความมั่นคง มั่งคั่งแห่งดิน คุณค่าของเวลาที่สูญเสีย เราอาจจักได้ประโยชน์ไม่เท่าเสีย แต่พวกที่รู้จักวิธีการฝึกปรือลมหายใจ จะได้อย่างคุ้มค่า คุ้มราคา อย่างหลวงปู่นี่ถ้าเหนื่อยก็จะนั่งพัก หรือจะนอน แต่เป็นการนอนนิดหน่อย ไม่ใช่นอนนาน แค่หลับตาให้สายตามันพัก แล้วก็ผ่อนคลายลมหายใจ เราจะตื่นมาอย่างกระปรี้กระเปร่า สดชื่น เหมือนคนที่นอนมาแล้ว ๒ ชั่วโมงอย่างสบาย

    ถ้าถามว่าจำเป็นต้องมีท่าทางไหม ตอบว่าไม่จำเป็น กิริยาอย่างไรทำได้เสมอ นั่งอย่างไรก็ได้ เพราะนั่งก็หายใจ นอนก็หายใจ เดินก็ต้องหายใจ เพียงแค่เราคุมมันให้เข้ายาวและออกยาวเท่านั้นเอง เราก็สามารถจะผ่อนคลายอารมณ์ได้ แล้วมันจะทำให้เรามี ความคิด มีสติปัญญา สมาธิ ที่สดชื่น อยู่ตลอดเวลา เป็นคนที่ควรค่าต่อการอนุรักษ์ เพราะมีค่าต่อการกระทำและความคิด

    ดังนั้น ไม่ว่าจะยืน เดิน นั่ง และนอน ถ้าเรามีสติในการกำกับลมหายใจให้มันเป็นขั้น เป็นตอน และผ่อนคลายพอดีๆ มันจะมีพลังคงที่ ในขณะที่เราทำงาน มันจะเป็นความผาสุก ความเพลิดเพลิน และความสนุก ถ้าเรารู้จักระบายลมหายใจเป็น สูดลมหายใจเป็น และวิธีแก้ปัญหาที่เกิดจากการงานและหน้าที่ ไม่มีอะไรดีเท่ากับการเดินลมหายใจ

    เพราะฉะนั้น จงหาเวลาว่างอย่างน้อยสัก ๕ นาที ต่อการทำงานที่แสนยุ่ง ออกมานอกสถานที่ แล้วสูดลมหายใจเข้าช้าๆ ออกช้าๆ ๔-๕ ครั้ง หรือ ๑๐-๒๐ ครั้ง ในขณะที่เราเลิกจากการผ่อนคลายลมหายใจ เราจะมีความกระชุ่มกระชวย รู้สึกกระฉับกระเฉง สดชื่น กระปรี้กระเปร่า อยากจะทำงานอย่างขยันและชาญฉลาด จะมีแต่ความสุขสมบูรณ์ต่อการมีชีวิต ในขณะเดียวกันเมื่อเราเผชิญต่อปัญหาบีบคั้นทางอารมณ์ ทางเศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม เราสามารถเอาชนะมันได้ทุกขั้นตอน อย่างเป็นผู้ฉลาด สะอาด เราจะเป็นคนอารมณ์ดี หัวเราะได้ง่าย และผ่อนคลายทุกที่อย่างสบายๆ และก็ไม่ตะกาย ไม่ทะยานอยากอะไร ชีวิตเราจะมั่งคั่ง มั่งมีต่อความสุขเฉพาะตัวอันเสรี

    ศิลปะการเดินลมหายใจ ทำให้สมองเรากระฉับกระเฉง ว่องไว สดชื่น สั่งงานอวัยวะทั้ง ๓๒ ได้อย่างมีคุณภาพและมีพลัง จะสังเกตว่าหลวงปู่ไม่เคยมึน ไม่เคยงงต่อปัญหา ไม่เคยล่าช้าต่อการตัดสินใจ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาของใคร มาอย่างไร ถามเรื่องอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ ใครเป็นคนถาม ไม่เคยมีปัญหาอะไรที่ตอบไม่ได้ ถ้าอยากจะตอบ แต่ถ้าไม่อยากตอบ ต่อให้เทวดาถามก็ไม่ตอบ

    เพราะฉะนั้นศิลปะการหายใจและผ่อนคลาย มันทำให้เรามีพลังต่อการที่จะโต้ตอบ มีอำนาจ มีตบะ มีสมาธิที่อยู่เฉพาะหน้า ที่เราจะเผชิญต่อปัญหานั้นๆ แล้วชีวิตเราก็จะมีค่า มีราคา มีสาระ ที่ทำให้คนเรียกถามและเคารพบูชา

    (หมายเหตุ...เบญจลักษณ์ ห้วยเรไร : ถอดความจากเทปเรื่อง "การหายใจเป็น")

    [​IMG]

    ขอขอบคุณเว็บไซท์ http://www.onoi.org

    โมทนา สาธุ โมทนา สาธุ โมทนา สาธุ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 ตุลาคม 2008
  19. ไชยชุมพล

    ไชยชุมพล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    246
    ค่าพลัง:
    +1,873
    เรียนพี่โสระครับ วันนี้คุณแม่นำเงินฝากผ่านเคาน์เตอร์เข้าบัญชี ธ. กสิกรไทยของพี่ จำนวนรวม 600 บาท โดยเป็นเงินร่วมทำบุุญกับทุนนิธิฯ ประจำเดือนนี้ 500 บาท และค่าจัดส่งพระ 100 บาท ขอบคุณครับ
     
  20. narongwate

    narongwate เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    885
    ค่าพลัง:
    +3,840
    หอบทุกข์

    การฝึกจิตให้เข้าถึงความสงบนี้ เป็นสิ่งจำเป็นจริงๆ ให้ถือเป็นเรื่องจำเป็น ถ้าปล่อยจิตให้เลื่อนลอยไปตามอำนาจของกิเลสก็มีแต่ทุกข์
    อยู่ในปัจจุบันนี้ก็ทุกข์ใจหนักใจมาก ละโลกนี้ไปสู่โลกหน้าก็ทุกข์ หอบเอากองทุกข์เหล่านี้ไปด้วย มันเป็นอย่างนั้น มันทุกข์หลาย
    บางคนก็ถึงฆ่าตัวตาย ไม่มีทางออก ผู้ไม่เชื่อคำสอนของพระพุทธเจ้า ผู้ไม่ปฏิบัติตามคำสอน ให้ไหว้พระ นั่งสมาธิภาวนา
    ขี้คร้านไม่เอา ไม่นั่งแล้วเพราะใจมันลอย ใจมันไปยึดถือแต่เรื่องภายนอก แล้วจะมีแก่ใจมาไหว้พระ นั่งภาวนาสำรวมใจให้สงบอยู่ภายใน
    จะได้อย่างไร การที่ภาวนาจิตใจให้มันสงบลงไปได้ ก็เพราะมันเตือนใจของตนให้ละเรื่องภายนอกอยู่เสมอ ในเวลาที่ไม่ได้นั่งสมาธิภาวนา
    ก็ต้องเตือนใจให้ละอารมณ์ที่มากระทบทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ มันกระทบมาเวลาใด เราก็พิจารณากำหนดละมัน
    ในเวลานั้นไปเรื่อยๆ ให้จิตนี้เป็นปกติอยู่เสมอ ไม่ให้จิตนี้มันเปลี่ยนแปลงหวั่นไหวไปตามอารมณ์ที่มากระทบ เช่น "ตา" เป็นต้นนั้นก็ต้องระมัดระวังอยู่อย่างนี้เสมอไป

    ที่มา : http://www.relicsofbuddha.com
     

แชร์หน้านี้

Loading...