เรื่องเด่น เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันพุธที่ ๒๓ เมษายน ๒๕๖๘

ในห้อง 'หลวงพ่อเล็ก วัดท่าขนุน' ตั้งกระทู้โดย iamfu, 23 เมษายน 2025 at 16:48.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    21,494
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,721
    ค่าพลัง:
    +26,581
    เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน วันพุธที่ ๒๓ เมษายน ๒๕๖๘


     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 เมษายน 2025 at 17:29
  2. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    21,494
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,721
    ค่าพลัง:
    +26,581
    วันนี้ตรงกับวันพุธที่ ๒๓ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๖๘ กระผม/อาตมภาพมีภารกิจที่วัดไร่ขิง (พระอารามหลวง) ในฐานะคณะกรรมการอำนวยการในการสอบบาลีสนามหลวง (ครั้งที่ ๒) ประจำปี ๒๕๖๘ (วันที่ ๒)

    สำหรับวันนี้ เรามากล่าวถึงการ "เล่าความหลัง" กันต่อไป เมื่อวานได้เล่าไปถึงเรื่องเรือนชานบ้านช่อง ที่ส่วนใหญ่เป็น "เครื่องผูก - เครื่องสับ" ก็คือไม่ได้ใช้ตะปู ไม่ได้ใช้การเข้าลิ้นเข้ารางต่าง ๆ เพราะว่าไม่ได้ใช้ "ไม้จริง"

    คำว่า "ไม้จริง" ก็คือ ไม้กระดานที่เลื่อยออกมาจากต้นไม้ต่าง ๆ ซึ่งในสมัยนั้นก็จะมีเลื่อยที่เรียกว่า "เลื่อยอก" ต้องใช้คนสองคนช่วยกันชัก คนหนึ่งดึง คนหนึ่งผลัก ตัวเลื่อยจะกว้างเกือบ ๆ ๑ ฟุต แต่ว่ายาวน่าจะถึง ๓ เมตร เพราะว่าบางทีเจอต้นไม้ใหญ่ ๆ ซึ่งล้มลงมาแล้วยังสูงท่วมหัวผู้ใหญ่ ก็จะได้เลื่อยออกมาเพื่อใช้งานได้

    แต่ว่าถ้าเป็นการโค่นต้นไม้เพื่อที่จะมาเลื่อยโดยตรง ก็จะเป็นการผิดกฎหมาย ดังนั้น..ชาวบ้านจึงใช้การหา "ไม้ล้มขอนนอนไพร" ที่เรียกกันว่า "ไม้แก่นล่อน" ก็คือล้มตายมานานแล้ว จนกระทั่งผุพังเหลือแต่แก่น ในส่วนของเปลือกและกระพี้ ผุล่อนไปหมดแล้ว เอามาเลื่อยเพื่อที่จะทำเป็นต้นเสาบ้าง เป็นไม้กระดานบ้าง กว่าที่จะพอทำข้างฝา หรือว่าทำเตียงทำโต๊ะอะไรสักอย่างหนึ่ง บางทีก็ต้องสะสมไม้กันอยู่หลายปีทีเดียว..!

    แล้วการเลื่อยไม้นั้นก็จะเลื่อยกันเฉพาะตอนที่ว่างจากงานไร่งานนาเท่านั้น การใช้ไม้ไผ่หรือว่าหวาย ในการทำบ้านแบบ "เครื่องผูก - เครื่องสับ" จึงเป็นเรื่องที่สะดวกที่สุด เพียงแต่ว่าให้ระวังฟืนไฟเอาไว้หน่อยเท่านั้น

    เครื่องใช้ไม้สอยในบ้านยุคนั้น ส่วนใหญ่ก็จะเป็นหม้อดิน มีทั้งหม้อดินที่ใช้หุงข้าว และใช้ในการต้มแกงต่าง ๆ จะต้องเป็นบุคคลที่มือไม้เบามาก เพราะว่าถ้าหากว่ามือไม้หนัก หม้อดินก็จะแตก..! และดูความขยันของลูกสาวแต่ละบ้านได้จากหม้อดิน บ้านไหนถ้าหุงข้าวแล้วขัดล้างหม้อดินจนใหม่เอี่ยม ก็ถือว่าเป็นบ้านที่มีลูกสาวขยัน เอางานเอาการ ถ้าหากว่าหม้อดินก้นดำปี๋ มีแต่ควันไฟเขม่าไฟติด เขาก็จะรู้ว่าลูกสาวบ้านนี้ขี้เกียจ..!

    หรือบางทีก็ไปแอบฟังเสียงตำน้ำพริกอยู่ใกล้ ๆ บ้านนั้น ถ้าเสียงตำถี่ ๆ ไม่หยุด ก็จะได้รู้ว่าเป็นคนเอางานเอาการ ถ้าตำแบบประมาณ "ถึงก็ช่าง ไม่ถึงก็ช่าง" ก็ตราหน้าได้เลยว่าลูกสาวบ้านนี้ขี้เกียจ ไม่เอางานเอาการอะไรเลย..!
     
  3. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    21,494
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,721
    ค่าพลัง:
    +26,581
    สมัยนั้นส่วนใหญ่แล้วก็จะเลี้ยงหมู เลี้ยงเป็ด เลี้ยงไก่เอาไว้ใต้ถุนบ้าน ถึงเวลาหุงข้าวในลักษณะที่เรียกว่า "หุงเช็ดน้ำ" ก็จะรินน้ำข้าวลงไปในรางไม้ไผ่ที่เป็นไม้ไผ่ลำโต ๆ ผ่าครึ่งแล้วก็เลาะข้อกลางออก เหลือแต่หัวท้ายปิดเอาไว้ เทน้ำข้าวลงไปในนั้น หมูหมากาไก่แย่งกันกินอุตลุด ซึ่งก็เป็นเรื่องแปลกที่ว่า ทั้ง ๆ ที่กินแค่นั้น แต่เรื่องบรรดาผักหญ้าต่าง ๆ ตลอดจนกระทั่งสัตว์เล็กสัตว์น้อยในป่าในดงมีมาก พวกหมาพวกหมูต่าง ๆ จึงหากินกันเองตามอัธยาศัย แต่ละตัวล้วนแล้วแต่อ้วนแน่น บางตัวก็ถึงขนาดพุงลากพื้นไปเลยก็มี..!

    หมูในสมัยก่อนนั้นเป็นพันธุ์พื้นเมืองตัวดำ ๆ ถ้าหากว่ามีผสมหมูพันธุ์ที่เขาเรียกว่า "หมูเกษตร" ก็มีลายดำขาวด่าง ๆ แต่ว่าส่วนใหญ่แล้ววิ่งจี๋เหมือนอย่างกับลมพัด พูดง่าย ๆ ว่าถ้าหากจะจับหมูนี่ เป็นอะไรที่เรื่องใหญ่มาก ถึงขนาดต้องเอาตาข่ายมาล้อมกัน เพื่อที่จะต้อนหมูไปเข้า "กระชุ" ซึ่งเป็นเครื่องมือบรรจุหมูที่สานมาจากหวาย ด้านก้นเล็กลงหน่อย แล้วก็มาขยายออกด้านหัวที่หมูจะต้องมุดเข้าไป เมื่อหมูมุดเข้าไปแล้วยกขึ้น ขาหมูก็จะลอดตากระชุออกมา ทำให้ไม่สามารถที่จะเดินได้ โดนหามไปไหนก็ต้องไปแต่โดยดี..!

    การที่จะฆ่าหมูนั้นก็ต้องซื้ออาชญาบัตรเสียภาษี ดังนั้น..เขาจะฆ่าหมูได้ก็ต่อเมื่อมีงานบุญหรือว่างานศพ เป็นการบอกกล่าวขออนุญาตต่อผู้ใหญ่บ้านและกำนัน ซึ่งจะแจ้งแก่สรรพสามิตว่า บ้านนี้จะมีการฆ่าหมู เพื่อที่จะใช้ในงานอะไรบ้าง บางทีเจ้าหน้าที่มาตรวจ ก็ต้องแบ่งให้เขาไป ๒ กิโลกรัม ๓ กิโลกรัมเหมือนกัน..!

    เครื่องมือในการชั่งก็เป็น "ตาชั่งจีน" ซึ่งจะเป็นคานยาว ๆ ด้านหนึ่งจะเป็นจานโยงกับโซ่เล็ก ๆ สำหรับวางสิ่งของ อีกด้านหนึ่งเป็นตุ้มน้ำหนักที่รูดไปแล้วจะมีขีดบอกน้ำหนักอยู่ ถ้าหากว่าวางของลงไปแล้วก็หิ้วโซ่ที่อยู่ตรงกลางขึ้น ค่อย ๆ เลื่อนลูกตุ้มนั้นไป
    ทางด้านท้ายเรื่อย ๆ พอคานอยู่ตรงกลางพอดีก็จะรู้ว่าน้ำหนักเท่าไร สมัยก่อนเรียกว่า "ตาชั่ง" บ้าง "ตาเต็ง" บ้าง ภายหลังถึงได้มีเครื่องชั่งมาตรฐานที่เป็นจานขึ้นมา ไม่เช่นนั้นแล้วก่อนหน้านั้นเป็นการใช้ "ตาชั่งจีน" ทั้งนั้น

    เครื่องใช้ไม้สอยอื่น ๆ ส่วนใหญ่ก็ผลิตขึ้นมาจากวัสดุในป่า ไม่ว่าจะเป็นไม้ เป็นหวาย หรือว่าไม้ไผ่ สานเป็นข้าวของเครื่องใช้ บางคนฝีมือละเอียดยิบจนกระทั่งผู้หญิงยังต้องอาย ใครฝีมือดี ๆ ก็มักจะจีบสาวได้ง่าย..! เพราะว่าผู้หญิงมักจะมาขอให้ช่วยสานกระบุง ตะกร้า กระจาดให้
     
  4. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    21,494
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,721
    ค่าพลัง:
    +26,581
    แล้วก็มีภาชนะหลายอย่างที่เด็กสมัยนี้ไม่รู้จักแล้ว อย่างเช่นเครื่องใช้ในครัวที่เรียกว่า "กระจ่า" ซึ่งถ้าหากว่าเป็นสมัยนี้ก็เรียกว่า "กระบวย" บ้าง "ทัพพี" บ้าง แต่ว่ากระจ่าเป็นเครื่องมือที่คล้าย ๆ กระบวยกึ่งตะหลิว หรือว่ากึ่งทัพพี จะเป็นวัสดุรูปโค้ง ๆ ลงไป แล้วก็มีด้านหนึ่งที่ผายออก อยู่ในลักษณะคล้ายกับทัพพี หรือว่าตะหลิว ใช้งานได้สารพัด ไม่ว่าจะหุงข้าวต้มแกงอะไรก็ตาม บางบ้านฝีมือดีถึงขนาดแกะสลักลายไทยบ้าง เป็นรูปผู้หญิงเปลือยบ้าง เห็นแล้วก็ยังรู้สึกว่า ช่างมีสุนทรีย์ในอารมณ์เหลือเกิน..!

    เครื่องมือในการขูดมะพร้าว โบราณเขาเรียกว่า "กระต่าย" ลักษณะเหมือนกับเป็นม้านั่งเตี้ย ๆ แล้วด้านหนึ่งก็จะมีแผ่นเหล็ก ที่มีก้านโค้ง ๆ ลงมาเสียบเอาไว้ ลักษณะดัดจากเหล็กเส้น ตอนปลายตีแผ่ออก ส่วนใหญ่ก็เป็นลักษณะโค้งค่อนวงกลม แล้วก็มีฟันเป็นซี่ ๆ ถึงเวลาก็ใช้ในการขูดมะพร้าว ถ้าหากว่าลูกบ้านไหนใจร้อน ก็จะขูดมะพร้าวเป็นเส้นใหญ่ ๆ เพราะว่าเอาแต่แรงโหมลงไปอย่างเดียว ก็จะโดนพ่อแม่ด่าว่าเป็น "ลูกล้างลูกผลาญ" เพราะว่าขูดมะพร้าวแล้วคั้นไม่ค่อยได้กะทิ แต่ถ้าหากว่าลูกบ้านไหนรู้เคล็ด ใช้กำลังแต่พอดี ก็จะขูดมะพร้าวเป็นฝอยละเอียดมาก สามารถที่จะคั้นกะทิได้ถึง ๒ น้ำ ๓ น้ำ ตั้งแต่ "หัวกะทิ" ยัน "หางกะทิ" เลยทีเดียว

    วัสดุบางอย่าง สมัยนี้ก็ไม่ได้เห็นอย่างเช่นว่า "กระพ้อม" เป็นภาชนะที่สานด้วยไม้ไผ่ในลักษณะของเข่งใบใหญ่ ซึ่ง "กระพ้อม"นั้น สามารถบรรจุข้าวเปลือกได้ ๑ เกวียน ต้องมาดูมาตราโบราณ อย่างเช่นว่า ๔ สลึง เป็น ๑ บาท / ๔ บาท เป็น ๑ ตำลึง / ๒๐ ตำลึง เป็น ๑ ชั่ง / ๕๐ ชั่ง เป็น ๑ หาบ หรือว่าถ้าเป็นมาตราตวง อย่างเช่นว่า ๒๐ ทะนาน เป็น ๑ ถัง / ๕๐ ถัง เป็น ๑ บั้น / ๒ บั้น เป็น ๑ เกวียน เหล่านี้เป็นต้น ดังนั้น..ข้าวเปลือก ๑ กระพ้อมก็คือข้าวเปลือกที่บรรจุได้ ๑ เกวียนพอดี

    ในเมื่อมีภาชนะต่าง ๆ เหล่านี้อยู่ ใช้ในการชั่ง ตวง วัด ได้ง่าย ถ้าหากว่าเป็นของคนจีน บางทีก็ใช้ไม้ไผ่ บางทีก็ใช้หวายสานเอา ถ้าหากว่าเป็นของคนไทย ส่วนใหญ่ก็จะสานด้วยไม้ไผ่ ใครที่มีฝีมือก็ "จักตอก" ได้ละเอียดยิบมากเลย

    ภาชนะอีกอย่างหนึ่ง เรียกว่า "กระบาย" อยู่ในลักษณะเป็นภาชนะสำหรับขนข้าวขึ้นยุ้ง เป็นภาชนะที่หน้าตาแปลกมาก ถ้าใครเคยเห็นหมวกจีนที่เรียกว่า "กุยเล้ย" "กระบาย" ก็คล้าย ๆ กับกุยเล้ยที่หงายขึ้น แต่ว่ามีช่วงตูดที่ยาวลงไปมาก บางทีก็ยาวถึง ๒ ศอก ด้านบนแผ่กว้างออกคล้ายขอบหมวก เมื่อโกยเอาข้าวเปลือกเข้าไปแล้ว ก็แบกขึ้นยุ้งได้ง่าย ๆ ถ้าหากว่าใหญ่กว่านั้น บางทีก็แบกไม่ไหว การแบก "กระบาย" ข้าวเปลือกส่วนใหญ่ผู้ชายแบก ถ้าเป็นผู้หญิง อย่างเก่งก็แบกได้แต่ "กระบุง" เท่านั้น
     
  5. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    21,494
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,721
    ค่าพลัง:
    +26,581
    แล้วก็มีภาชนะหลายอย่างที่เด็กสมัยนี้ไม่รู้จักแล้ว อย่างเช่นเครื่องใช้ในครัวที่เรียกว่า "กระจ่า" ซึ่งถ้าหากว่าเป็นสมัยนี้ก็เรียกว่า "กระบวย" บ้าง "ทัพพี" บ้าง แต่ว่ากระจ่าเป็นเครื่องมือที่คล้าย ๆ กระบวยกึ่งตะหลิว หรือว่ากึ่งทัพพี จะเป็นวัสดุรูปโค้ง ๆ ลงไป แล้วก็มีด้านหนึ่งที่ผายออก อยู่ในลักษณะคล้ายกับทัพพี หรือว่าตะหลิว ใช้งานได้สารพัด ไม่ว่าจะหุงข้าวต้มแกงอะไรก็ตาม บางบ้านฝีมือดีถึงขนาดแกะสลักลายไทยบ้าง เป็นรูปผู้หญิงเปลือยบ้าง เห็นแล้วก็ยังรู้สึกว่า ช่างมีสุนทรีย์ในอารมณ์เหลือเกิน..!

    เครื่องมือในการขูดมะพร้าว โบราณเขาเรียกว่า "กระต่าย" ลักษณะเหมือนกับเป็นม้านั่งเตี้ย ๆ แล้วด้านหนึ่งก็จะมีแผ่นเหล็ก ที่มีก้านโค้ง ๆ ลงมาเสียบเอาไว้ ลักษณะดัดจากเหล็กเส้น ตอนปลายตีแผ่ออก ส่วนใหญ่ก็เป็นลักษณะโค้งค่อนวงกลม แล้วก็มีฟันเป็นซี่ ๆ ถึงเวลาก็ใช้ในการขูดมะพร้าว ถ้าหากว่าลูกบ้านไหนใจร้อน ก็จะขูดมะพร้าวเป็นเส้นใหญ่ ๆ เพราะว่าเอาแต่แรงโหมลงไปอย่างเดียว ก็จะโดนพ่อแม่ด่าว่าเป็น "ลูกล้างลูกผลาญ" เพราะว่าขูดมะพร้าวแล้วคั้นไม่ค่อยได้กะทิ แต่ถ้าหากว่าลูกบ้านไหนรู้เคล็ด ใช้กำลังแต่พอดี ก็จะขูดมะพร้าวเป็นฝอยละเอียดมาก สามารถที่จะคั้นกะทิได้ถึง ๒ น้ำ ๓ น้ำ ตั้งแต่ "หัวกะทิ" ยัน "หางกะทิ" เลยทีเดียว

    วัสดุบางอย่าง สมัยนี้ก็ไม่ได้เห็นอย่างเช่นว่า "กระพ้อม" เป็นภาชนะที่สานด้วยไม้ไผ่ในลักษณะของเข่งใบใหญ่ ซึ่ง "กระพ้อม"นั้น สามารถบรรจุข้าวเปลือกได้ ๑ เกวียน ต้องมาดูมาตราโบราณ อย่างเช่นว่า ๔ สลึง เป็น ๑ บาท / ๔ บาท เป็น ๑ ตำลึง / ๒๐ ตำลึง เป็น ๑ ชั่ง / ๕๐ ชั่ง เป็น ๑ หาบ หรือว่าถ้าเป็นมาตราตวง อย่างเช่นว่า ๒๐ ทะนาน เป็น ๑ ถัง / ๕๐ ถัง เป็น ๑ บั้น / ๒ บั้น เป็น ๑ เกวียน เหล่านี้เป็นต้น ดังนั้น..ข้าวเปลือก ๑ กระพ้อมก็คือข้าวเปลือกที่บรรจุได้ ๑ เกวียนพอดี

    ในเมื่อมีภาชนะต่าง ๆ เหล่านี้อยู่ ใช้ในการชั่ง ตวง วัด ได้ง่าย ถ้าหากว่าเป็นของคนจีน บางทีก็ใช้ไม้ไผ่ บางทีก็ใช้หวายสานเอา ถ้าหากว่าเป็นของคนไทย ส่วนใหญ่ก็จะสานด้วยไม้ไผ่ ใครที่มีฝีมือก็ "จักตอก" ได้ละเอียดยิบมากเลย

    ภาชนะอีกอย่างหนึ่ง เรียกว่า "กระบาย" อยู่ในลักษณะเป็นภาชนะสำหรับขนข้าวขึ้นยุ้ง เป็นภาชนะที่หน้าตาแปลกมาก ถ้าใครเคยเห็นหมวกจีนที่เรียกว่า "กุยเล้ย" "กระบาย" ก็คล้าย ๆ กับกุยเล้ยที่หงายขึ้น แต่ว่ามีช่วงตูดที่ยาวลงไปมาก บางทีก็ยาวถึง ๒ ศอก ด้านบนแผ่กว้างออกคล้ายขอบหมวก เมื่อโกยเอาข้าวเปลือกเข้าไปแล้ว ก็แบกขึ้นยุ้งได้ง่าย ๆ ถ้าหากว่าใหญ่กว่านั้น บางทีก็แบกไม่ไหว การแบก "กระบาย" ข้าวเปลือกส่วนใหญ่ผู้ชายแบก ถ้าเป็นผู้หญิง อย่างเก่งก็แบกได้แต่ "กระบุง" เท่านั้น
     
  6. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    21,494
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,721
    ค่าพลัง:
    +26,581
    ในส่วนของ "กระจาด" นั้น จะมีเครื่องประกอบก็คือ ไม้คาน ต้องหาไม้ไผ่แก่ ๆ มาเหลา บุคคลที่เหลาจะต้องรู้จังหวะว่าไม้ไผ่ตรงกลางจะต้องหนาเท่าไร ? ตรงปลายจะต้องหนาเท่าไร ? แล้วก็ยังมีการทำข้อไม้ไผ่ตรงจุดปลายไม้คานนั้นเป็นเครื่องกั้น เพื่อที่จะไม่ให้หูกระจาด ซึ่งส่วนใหญ่ทำด้วยหวาย เอากระจาดวางไว้ด้านใน เพื่อที่จะให้หูตรงนั้นเกี่ยวติดกับข้อของไม้ไผ่ ถ้าหากว่าเป็นคนที่เหลาไม้คานเก่ง ๆ ถึงเวลาผู้หญิงหาบ ไม้คานจะอ่อนขึ้นลงเป็นจังหวะตามจังหวะการเดิน..น่าดูมาก ๆ..!

    แต่ว่าที่บ้านส่วนใหญ่ใช้ในการหาบน้ำ ในเมื่อใช้ไม้คานในการหาบน้ำ ก็เลยใช้ "ไม้จริง" อย่างเช่นว่าไม้มะเกลือบ้าง ไม้ชิงชันบ้าง แล้วสามารถใช้เป็นอาวุธได้ด้วย เพราะว่าหนักมาก ๆ กระผม/อาตมภาพมั่นใจว่า ถ้าหากใครโดนตีด้วยไม้คานแบบนั้น ถ้าตั้งใจ..รับรองว่าตายภายในครั้งเดียว..!

    อาวุธในสมัยนั้น ส่วนใหญ่แล้วก็เป็น "มีดซุย" หรือว่า "มีดปาดตาล" หรือว่า "มีดพร้า" ที่พกติดเอวอยู่ ทุกเล่มล้วนแต่ลับคมกริบทั้งนั้น..! มีการทำฝักให้เข้ากับตัวมีดได้อย่างสวยงาม บางคนก็สานด้วยหวาย บางคนก็ใช้ไม้แกะ แล้วก็สานหวายรัดปลอกมีดไว้อย่างงดงาม ยิ่งใช้ก็ยิ่งสวย ยิ่งใช้ก็ยิ่งคม เป็นของคู่ตัว ไม่ว่าผู้หญิงหรือว่าผู้ชาย ถึงขนาดมีภาษิตว่า "เข้าเถื่อนอย่าลืมพร้า" ก็คือถ้าจะเข้าป่าต้องเอามีดไปด้วย ขอเพียงมีมีดเท่านั้น จะหาอยู่หากินนานสักเท่าไรก็ได้

    อาวุธอีกอย่างหนึ่งก็คือ "ไม้คมแฝก" ถ้าหากว่าเป็นผู้ใหญ่ที่มีความรู้ความสามารถ หรือว่ามีฐานะ ก็มักจะเปลี่ยนจากคมแฝกเป็น "ไม้ตะพด" ส่วนใหญ่ก็จะหาไม้ไผ่ตันแล้วก็เอามาเลี่ยมทองเหลืองบ้าง เลี่ยมทองแดงบ้าง บางคนฐานะดีหน่อยก็เลี่ยมนาก แต่ไม่เคยเห็นใครเลี่ยมทอง เพราะว่าต้องใช้งานจริง ๆ..!

    มีลุงหมอที่ชื่อ "หมอพร" เป็นหมอประจำตำบลในการรักษาโรคด้วยสมุนไพร หมอพรใช้ไม้ไผ่พิเศษที่เรียกว่า "ไม้ไผ่จระเข้ขบฟัน" เห็นว่าสามารถทำลายอาถรรพ์ได้ด้วย คนต่อให้เหนียวเท่าเหนียว โดนไม้ไผ่หมอพรหวดเข้า ก็มีหวัง "กระอัก" ไปตาม ๆ กัน..!
     
  7. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    21,494
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,721
    ค่าพลัง:
    +26,581
    ส่วน "ไม้คมแฝก" นั้น ถ้าหากว่าเมตตาหน่อย เขาก็จะเหลาแค่พอเป็นเหลี่ยม แต่ถ้าตั้งใจเอากันถึงตายก็จะเหลาออกแบนแล้วมีปีกเป็นเหลี่ยมสองข้าง ลักษณะกึ่ง ๆ คมทีเดียว ถ้าโดนเข้าแถวทัดดอกไม้ บางทีก็หนังหัวเปิดไปแถบหนึ่ง..! พูดง่าย ๆ ว่าตีกันให้ตายไปเลย..! แต่เนื่องจากว่าสมัยนั้นคนส่วนใหญ่หนังเหนียว พวกมีดพวกดาบไม่ค่อยได้รับประทานกัน แม้แต่ปืนก็ยิงออกบ้างไม่ออกบ้าง ถึงออกก็ไม่ถูก หรือว่าถูกก็ไม่เข้า จึงต้องแก้กันด้วยการใช้ไม้ ไม่ว่าจะเป็นไม้ตะพด หรือว่าไม้คมแฝกแทน อย่างของโยมพ่อหรือว่าโยมเตี่ยก็จะใช้ไม้คาน คนเข้ามาเท่าไรก็ตีกระจายหมด..!

    เราจะเห็นว่าเครื่องไม้เครื่องมือนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นเครื่องไม้เครื่องมือในการทำมาหากิน อย่างเช่นว่า "จอบ" บ้าง "เสียม" บ้าง หรือว่าเครื่องมือพิเศษ อย่างเช่น "ระหัดวิดน้ำ" ซึ่งจะต้องใช้คนที่มีความรู้ความสามารถในการทำระหัด แล้วก็คนที่จะสามารถ "ถีบระหัด" เพื่อ "ชักน้ำ" เข้าไร่เข้านาของตนเอง ซึ่งส่วนนี้เกินความรู้ของกระผม/อาตมภาพไปมาก เคยแต่ช่วยผู้ใหญ่ถีบระหัดไปได้ไม่เท่าไร พอนอนหลับไปตื่นหนึ่ง ลุกขึ้นมาแทบจะเดินไม่ไหว แข้งขาปวดระบมไปหมด..!

    ถ้าเป็นเครื่องมืออีกอย่างหนึ่งเรียกว่า "โชงโลง" สำหรับเอาไว้เพื่อที่จะทำให้บ่อกว้างขึ้น เพราะว่าสมัยก่อนส่วนใหญ่ในไร่ในนาก็มักจะขุดบ่อขังน้ำเอาไว้ ถึงเวลาหน้าน้ำหลากก็จะมีปลามา "ตกคลั่ก" อยู่ พอถึงหน้าแล้งก็ได้ใช้น้ำในไร่ในนา แล้วก็ "วิดปลา" มาเป็นอาหารได้ด้วย แต่ว่าต้องอาศัยโชงโลงในการที่จะสาดเลนออกจากบ่อขึ้นไปที่ขอบบ่อ

    หรือบางคนถ้าทำร่องสวนปลูกผลไม้ ก็จะสาดเลนขึ้นไปเพี่อที่จะโปะโคนต้นไม้เป็นปุ๋ยไปในตัว "โชงโลง" จะเป็นภาชนะอยู่ในลักษณะสานด้วยไม้ไผ่ถี่ ๆ ตอนปลายกว้างผายออก แล้วก็มีด้ามยาว ๆ ถ้าคนที่ทำ "โชงโลง" เก่ง ๆ ก็จะมีการตั้ง "สามขา" แล้วก็มีเชือกโยงลงมาตรงกึ่งกลางเพื่อผ่อนแรง ถึงเวลา "โล้" มาทางด้านหลัง ทิ่มเข้าไปในโคลน งัดขึ้นมา แล้วก็ "โยก" หรือ "โยน" ขึ้นหน้า สาดโคลนขึ้นไปบนฝั่งพอดี เรื่องพวกนี้ถ้าไม่เคยเห็น บางทีก็นึกไม่ออก

    แล้วก็มีการ "วิดปลา" ส่วนใหญ่ก็จะใช้ถังสังกะสีที่เรียกว่า "ปี๊บ" แต่ความจริงแล้วเขียนว่า "ปีบ" เป็นปีบที่ใส่น้ำตาลบ้าง เป็นปีบที่ใส่น้ำมันบ้าง เพราะว่าน้ำตาลสมัยนั้นส่วนใหญ่ก็เป็นน้ำตาลโตนด เคี่ยวจนข้นแล้วก็ใส่ปีบไปขาย แล้วจนกระทั่งเมื่อมาในระยะหลัง ก็มีน้ำมันเพิ่มขึ้นมาอีกอย่างหนึ่ง จากที่ชาวบ้านส่วนใหญ่ใช้น้ำมันที่เคี่ยวจากไขมันของหมู ก็เริ่มมาใช้น้ำมันพืช แต่สมัยนั้นไม่ได้เรียกว่าน้ำมันพืช เขาเรียกว่า "น้ำมันบัว" ใช้ในการทำอาหารบ้าง ใช้ในการทอดขนมบ้าง
     
  8. iamfu

    iamfu ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2008
    โพสต์:
    21,494
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2,721
    ค่าพลัง:
    +26,581
    ตอนหลังถึงได้รู้ว่าสิ่งนั้นเรียกว่า "น้ำมันพืช" แต่ไม่เข้าใจว่าทำมาจากอะไร จะเป็นถั่วเหลืองหรือว่าเป็นข้าวโพด หรือเป็นปาล์มน้ำมัน หรือว่าเป็นมะพร้าวก็ไม่แน่ใจ เนื่องเพราะว่าทางบ้านยังคงถนัดที่จะใช้น้ำมันหมูเหมือนเดิม

    เมื่อซื้อมันหมูมาแล้วสักกิโลกรัม ๒ กิโลกรัม พี่สะใภ้ก็จะหั่นเป็นชิ้นบาง ๆ แล้วนำลงไปเจียว เพื่อที่จะให้ได้น้ำมันมา แล้วก็เทใส่ "หม้อเขียว" เก็บเอาไว้ ส่วนใหญ่เมื่ออากาศเย็นหน่อย ก็จะจับแข็งติดก้นหม้ออยู่เป็นก้อน ถึงเวลาจะใช้ก็ตั้งไฟเอากระทะขึ้น แล้วก็ตักเอาน้ำมันนั้นลงไปละลาย แล้วทำกับข้าวตามที่ต้องการ

    ในช่วงแรกที่บ้านก็ใช้ "เตาแกลบ" ก็คือเป็นเตาที่ก่อมาจากอิฐ แล้วก็ใช้แกลบเป็นเชื้อเพลิง ซึ่งจะต้องมีเหล็กคอยไปแยงเพื่อให้แกลบนั้นลุกไหม้สม่ำเสมอกัน มาภายหลังก็เป็น "เตาฟืน" ซึ่งถ้าหากว่าเราใช้ฟืนที่มีความชื้น ก็จะเกิดเขม่าดำจับภาชนะ ทำให้ก้นหม้อหรือว่ากาน้ำดำปิ๊ดปี๋..! สมัยนั้นเขาเรียกเขม่าที่ติดก้นหม้อว่า "มินหม้อ" บ้าง "ดินหม้อ" บ้าง บางคนก็เอาไปมอมหน้าเพื่อนที่เมาเหล้าจนดำปี๋แล้วก็หัวเราะกัน เป็นสิ่งที่ล้างออกได้ยากสุด ๆ..!

    ดังนั้น..ถ้าไม่อยากให้หม้อหรือว่ากาน้ำดำ แม่บ้านก็มักจะหากะละมังที่ก้นทะลุแล้ว ตั้งใจที่จะไม่บัดกรี หากแต่ว่าเอาส่วนที่ทะลุออก แล้วก็ไปตั้งบนเตาไฟ เอากระทะหรือว่าหม้อ หรือว่ากาน้ำไปวาง ใช้ขี้เถ้าโรยรอบ ๆ กะละมังส่วนที่ติดกับก้นภาชนะ ความร้อนก็จะโดนเฉพาะก้นภาชนะ แล้วถึงเวลาเขม่าไฟก็จะไปติดอยู่ที่กะละมังนั้นแทน ทำให้ไม่ต้องขัดล้างภาชนะอื่น ๆ มากมายนัก

    จากเตาฟืนก็พัฒนามาเป็น "เตาถ่าน" จนกระทั่งกระผม/อาตมภาพเข้ามาอยู่กรุงเทพฯ หลัง พ.ศ. ๒๕๒๐ แล้ว ก็ถึงได้รู้จัก "เตาแก๊ส" ขึ้นมา ทำให้กระผม/อาตมภาพสามารถที่จะหุงข้าวไม่ว่าจะเป็นเตาแกลบ เตาถ่าน เตาฟืน เตาแก๊ส จนกระทั่งหม้อไฟฟ้าได้ เพียงแต่ว่าไม่เคยใช้ไมโครเวฟ เนื่องจากว่าบวชไปนานแล้วถึงจะมีไมโครเวฟขึ้นมา ทำให้ไม่รู้เหมือนกันว่าถ้าใช้ไมโครเวฟหุงข้าวแล้วรสชาติจะเป็นอย่างไรบ้าง ?

    สำหรับวันนี้ก็ขอเรียนถวายพระภิกษุสามเณรของเรา และบอกกล่าวแก่ญาติโยมแต่เพียงเท่านี้

    พระครูวิลาศกาญจนธรรม, ดร.
    เสียงธรรมจากวัดท่าขนุน
    วันพุธที่ ๒๓ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๖๘
    (ถอดจากเสียงเป็นอักษร โดย เผือกน้อย)
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...