เรื่องเด่น พระขีณาสพตายแล้วสูญหรือไม่(พระสารีบุตรแก้ทิฏฐิพระยมก)

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย นโมพุทธายะ๕, 22 กรกฎาคม 2024.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,985
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,550
    ยมกสูตร

    ว่าด้วย
    พระขีณาสพตายแล้วสูญหรือไม่





    เหตุการณ์
    พระยมกะมีทิฏฐิอันลามกว่าตนรู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วว่า พระขีณาสพเมื่อตายไปแล้ว ย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ ย่อมไม่เกิดอีก พระสารีบุตรแก้ทิฏฐิพระยมกะเรื่องพระอรหันตขีณาสพตายแล้วสูญ เมื่อพระสารีบุตรถกธรรมจบ พระยมกะบรรลุอรหัตตผล

    พระสารีบุตรถามพระยมกะว่า

    ชันธ์ ๔ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวของตัวเรา

    พระอริยสาวกผู้ใดสดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในรูป ทั้งในเวทนา ทั้งในสัญญา ทั้งในสังขาร ทั้งในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น

    แล้วถามพระยมกะต่อไปว่า

    - ขันธ์ ๕ เป็นสัตว์เป็นบุคคลหรือ
    - สัตว์บุคคลมีในขันธ์ ๕ หรือ
    - สัตว์บุคคลอื่นจากขันธ์ ๕ หรือ
    - เห็นขันธ์ ๕ ว่าเป็นสัตว์บุคคลหรือ
    - เห็นว่า สัตว์บุคคลนี้ไม่มีขันธ์ ๕ หรือ

    ในเมื่อท่านพระยมกะจะค้นหาสัตว์บุคคลในขันธ์ ๕ ไม่ได้เลย ควรหรือที่จะยืนยันว่า เรารู้ทั่วถึงธรรมตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วว่า พระขีณาสพเมื่อตายไปแล้ว ย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ ย่อมไม่เกิดอีก

    เมื่อพระยมกะตอบคำถามเหล่านี้ของพระสารีบุตร พระยมกะก็ละทิฏฐิอันลามกได้

    พระสารีบุตรถามพระยมกะต่อว่า ถ้าชนทั้งหลายถามพระยมกะว่า ภิกษุผู้ที่เป็นพระอรหันตขีณาสพ เมื่อตายไปแล้ว ย่อมเป็นอะไร พระยมกะจะพึงกล่าวแก้ว่าอย่างไร

    พระยมกะตอบว่า ตนจะแก้ว่า

    ขันธ์ ๕ ไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นดับไปแล้ว ถึงแล้วซึ่งการตั้งอยู่ไม่ได้

    พระสารีบุตรแสดงธรรมต่อไปว่า

    ปุถุชนย่อมเห็นขันธ์ ๕ โดยความเป็นตน เห็นตนมีขันธ์ ๕ เห็นขันธ์ ๕ ในตน หรือเห็นตนในขันธ์ ๕

    ย่อมไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันไม่เที่ยงว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา

    ย่อมไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันปัจจัยปรุงแต่งว่า ปัจจัยปรุงแต่ง อันเป็นผู้ฆ่าว่า เป็นผู้ฆ่า

    ย่อมเข้าไปถือมั่น ยึดมั่น ซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณว่า เป็นตัวตนของเรา

    อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ ปุถุชนเข้าไปถือมั่น ยึดมั่นแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสิ่งมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุุกข์ตลอดกาลนาน

    พระอริยสาวกย่อมไม่เห็นขันธ์ ๕ โดยความเป็นตน ไม่เห็นตนมีขันธ์ ๕ ไม่เห็นขันธ์ ๕ ในตน หรือไม่เห็นตนในขันธ์ ๕

    ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันไม่เที่ยงว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา

    ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันปัจจัยปรุงแต่งว่า ปัจจัยปรุงแต่ง อันเป็นผู้ฆ่าว่า เป็นผู้ฆ่า

    ย่อมไม่เข้าไปถือมั่น ยึดมั่น ซึ่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณว่า เป็นตัวตนของเรา

    อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ อริยสาวกไม่เข้าไปถือมั่น ยึดมั่นแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อสุขตลอดกาลนาน



    อ่าน ยมกสูตร

    อ้างอิง
    ยมกสูตร พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๑๗ ข้อที่ ๑๙๘-๒๐๗ หน้า ๑๐๖-๑๑๒


    **************************************

    ขอบคุณที่มา https://uttayarndham.org/tripitaka-mp3-files-individual-track/1708/ยมกสูตร

    อุทยานธรรม
    uttayarndham.org




    ?temp_hash=4db47ecebb32f021a327d5678edab3aa.jpg
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • ส.jpg
      ส.jpg
      ขนาดไฟล์:
      91.8 KB
      เปิดดู:
      116
  2. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,985
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,550
    เอกาทสกนิบาต - ปัณณาสก์ - ๒. ทุติยวรรค - สมาธิสูตรที่ ๓
    พระไตรปิฎก ฉบับธรรมทาน
    สมาธิสูตรที่ ๓

    [๒๒๗] ครั้งนั้นแล ภิกษุเป็นอันมากได้เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ได้ปราศรัย
    กับด้วยพระสารีบุตร ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

    ครั้นแล้วได้ถามท่านพระสารีบุตรว่า ข้าแต่พระสารีบุตรผู้มีอายุ พึงมีได้หรือหนอแล การที่ภิกษุได้สมาธิโดยประการที่ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ... ไม่พึงมีความสำคัญในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว แสวงหาแล้ว ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา ฯ

    ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย พึงมีได้ การที่ภิกษุได้สมาธิโดยประการ
    ที่ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุ ว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ฯลฯ ไม่พึงมีความสำคัญในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว แสวงหาแล้ว ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา ฯ


    ภิ. ข้าแต่ท่านพระสารีบุตรผู้มีอายุ พึงมีได้อย่างไร การที่ภิกษุได้สมาธิโดยประการที่ตนไม่พึงมี ความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ฯลฯ ไม่พึงมีความสำคัญในรูปที่ได้เห็นเสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว แสวงหาแล้ว ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา ฯ

    สา. ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้มีความสำคัญอย่างนี้ว่า
    ธรรมชาตินั่นสงบ ธรรมชาตินั่นประณีต คือ ความสงบสังขารทั้งปวงความสละคืนอุปธิทั้งปวงความสิ้นตัณหา ความสิ้นกำหนัด ความดับ นิพพาน


    ดูกรอาวุโสทั้งหลาย พึงมีได้อย่างนี้แล การที่ภิกษุได้สมาธิโดยประการที่ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ...ไม่พึงมีความสำคัญในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้วแสวงหาแล้ว ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา ฯ

    จบสูตรที่ ๑๐

    *****************************
    เอกาทสกนิบาต - ปัณณาสก์ - ๒. ทุติยวรรค - สมาธิสูตรที่ ๔


    พระไตรปิฎก ฉบับธรรมทาน
    สมาธิสูตรที่ ๔



    [๒๒๘] ณ ที่นั้นแล ท่านพระสารีบุตรถามภิกษุทั้งหลายว่า อาวุโสทั้งหลาย พึงมีได้
    หรือหนอแล การที่ภิกษุได้สมาธิโดยประการที่ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุ

    เป็นอารมณ์ ... ไม่พึงมีความสำคัญในรูปที่ได้เห็นเสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง

    ที่ถึงแล้ว แสวงหาแล้ว ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา ฯ

    ภิกษุเหล่านั้นเรียนท่านพระสารีบุตรว่า ข้าแต่ท่านผู้มีอายุ พวกกระผมมาแต่ที่ไกล
    เพื่อจะรู้อรรถแห่งภาษิตนี้ในสำนักท่านพระสารีบุตร ขออรรถแห่งภาษิตนี้จงแจ่มแจ้งกะท่าน

    พระสารีบุตรเถิด ภิกษุทั้งหลายได้ฟังต่อท่านพระสารีบุตรแล้ว จักทรงจำไว้ ฯ

    ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้นท่านทั้งหลายจงฟังอรรถแห่ง
    ภาษิตนั้น จงใส่ใจให้ดี ผมจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระสารีบุตรแล้ว ท่านพระสารีบุตร

    ได้กล่าวว่า


    ดูกรอาวุโสทั้งหลาย พึงมีได้ การที่ภิกษุได้สมาธิโดยประการที่ตน ไม่พึงมีความสำคัญ

    ในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ฯลฯ ไม่พึงมีความสำคัญในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน

    อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว แสวงหาแล้ว ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มี

    สัญญา ฯ

    ภิ. ข้าแต่ท่านพระสารีบุตรผู้มีอายุ พึงมีได้อย่างไร การที่ภิกษุได้สมาธิโดยประการที่ตน
    ไม่พึงมีความสำคัญ ในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ฯลฯไม่พึงมีความสำคัญในรูปที่ได้เห็น

    เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้งที่ถึงแล้ว แสวงหาแล้ว ตรองตามแล้วด้วยใจ

    ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา ฯ

    สา. ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีความสำคัญอย่างนี้ว่าธรรมชาติ
    นั่นสงบ ธรรมชาตินั่นประณีต คือ ความสงบสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความ

    สิ้นตัณหา ความสิ้นกำหนัด ความดับ นิพพาน ดูกรอาวุโสทั้งหลาย พึงมีได้อย่างนี้แล


    การที่ภิกษุได้สมาธิโดยประการที่ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ...

    ไม่พึงมีความสำคัญในรูปที่ได้เห็นเสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว

    แสวงหาแล้ว ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา ฯ

    จบสูตรที่ ๑๑
    จบทุติยวรรคที่ ๒
     
  3. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,985
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,151
    ค่าพลัง:
    +70,550
    พระอานนท์ ได้ถามเรื่องสมาธิ กับพระพุทธองค์ แล้ว เข้าไปถามในเรื่องเดียวกันกับพระสารีบุตร

    ในเรื่อง สมาธิ .... มีนัย ดังนี้


    --------------------------------------------

    เอกาทสกนิบาต - ปัณณาสก์ - ๑. นิสสายวรรค - สัญญาสูตร

    พระไตรปิฎก ฉบับธรรมทาน


    สัญญาสูตร


    [๒๑๔] ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคม
    พระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่

    พระองค์ผู้เจริญ พึงมีหรือหนอแล การที่ภิกษุได้สมาธิโดยประการที่ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ไม่พึงมีความสำคัญในอาโปธาตุว่าเป็นอาโปธาตุเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในเตโชธาตุว่าเป็นเตโชธาตุเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในวาโยธาตุว่าเป็นวาโยธาตุเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในอากาสานัญจายตนะว่าเป็นอากาสานัญจายตนะเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในวิญญาณัญจายตนะ ว่าเป็นวิญญาณัญจายตนะเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในอากิญจัญญายตนะว่าเป็นอากิญจัญญายตนะเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในเนวสัญญานาสัญญายตนะว่าเป็นเนวสัญญานาสัญญายตนะเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในโลกนี้ว่าเป็นโลกนี้เป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในโลกหน้าว่าเป็นโลกหน้าเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว ที่แสวงหาแล้ว ที่ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา ฯ

    พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า พึงมีได้อานนท์ การที่ภิกษุได้สมาธิโดยประการที่ตนไม่พึง
    มีความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ... ที่ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา ฯ

    อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พึงมีได้อย่างไรเล่า การที่ภิกษุได้สมาธิโดยประการที่ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ... ที่ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา ฯ

    พ. ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้มีสัญญาอย่างนี้ว่าธรรมชาตินั่นสงบ ธรรมชาตินั้นประณีต คือ ความสงบแห่งสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความสิ้นกำหนัด ความดับ นิพพาน

    ดูกรอานนท์ พึงมีได้อย่างนี้แล การที่ภิกษุได้สมาธิโดยประการที่ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในอาโปธาตุว่าเป็นอาโปธาตุเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในเตโชธาตุว่าเป็นเตโชธาตุเป็นอารมณ์
    ไม่พึงมีความสำคัญในวาโยธาตุว่าเป็นวาโยธาตุเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในอากาสาณัญจายตนะว่าเป็นอากาสนัญจายตนะเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในวิญญาณัญจายตนะว่าเป็นวิญญาณัญจายตนะเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในอากิญจัญญายตนะว่าเป็นอากิญจัญญายตนะเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในเนวสัญญานาสัญญายตนะ ว่าเป็นเนวสัญญานาสัญญายตนะเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในโลกนี้ว่าเป็นโลกนี้เป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในโลกหน้าว่าเป็นโลกหน้าเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในรูปที่ได้เห็นเสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ
    ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว ที่แสวงหาแล้ว ที่ตรองตามแล้วด้วยใจ
    ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา ฯ...

    ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้ว ลุกจาก
    อาสนะ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค กระทำประทักษิณแล้ว เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่

    ครั้นแล้ว ได้ปราศรัยกับท่านพระสารีบุตร ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามท่านพระสารีบุตรว่า ดูกรท่านสารีบุตรผู้มีอายุ พึงมีได้หรือหนอแล การที่ภิกษุได้สมาธิโดยประการที่ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ฯลฯ ไม่พึงมีความสำคัญในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว ที่แสวงหาแล้ว ที่ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา ฯ

    ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ดูกรท่านอานนท์ผู้มีอายุ พึงมีได้ การที่ภิกษุได้สมาธิ โดยประการที่ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุ ว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ฯลฯ ไม่พึงมีความสำคัญในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว ที่แสวงหาแล้ว ที่ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา ฯ

    อา. ดูกรท่านสารีบุตรผู้มีอายุ พึงมีได้อย่างไรเล่า การที่ภิกษุได้สมาธิโดยประการ
    ที่ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ฯลฯไม่พึงมีความสำคัญในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้งที่ถึงแล้ว ที่แสวงหาแล้ว ที่ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา ฯ

    สา. ดูกรท่านอานนท์ผู้มีอายุ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้มีสัญญาอย่างนี้ว่า ธรรมชาตินั่นสงบ ธรรมชาตินั่นประณีต คือ ความสงบสังขารทั้งปวงความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความสิ้นกำหนัด ความดับ นิพพานดูกรท่านอานนท์ผู้มีอายุ พึงมีได้อย่างนี้แล การที่ภิกษุได้สมาธิโดยประการที่ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ฯลฯ ไม่พึงมีความสำคัญในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว ที่แสวงหาแล้ว ที่ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา ฯ

    อา. ดูกรท่านสารีบุตรผู้มีอายุ น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมาแล้ว การที่อรรถกับอรรถ พยัญชนะกับพยัญชนะ ของพระศาสดาและของสาวก เปรียบเทียบได้กัน เสมอกัน ไม่ผิดกัน ในบทที่เลิศ ดูกรท่านสารีบุตรผู้มีอายุ เมื่อกี้นี้กระผมเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ได้ทูลถามเนื้อความอันนี้ แม้พระผู้มีพระภาคก็ทรงพยากรณ์เนื้อความอันนี้ ด้วยบทเหล่านี้ ด้วย
    พยัญชนะเหล่านี้ แก่กระผมเหมือนที่ท่านพระสารีบุตรพยากรณ์ ดูกรท่านสารีบุตรผู้มีอายุ น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมาแล้ว การที่อรรถกับอรรถ พยัญชนะกับพยัญชนะ ของพระศาสดาและของพระสาวก เปรียบเทียบกันได้ เสมอกัน ไม่ผิดกัน ในบทที่เลิศนี้ ฯ

    จบสูตรที่ ๗
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...