เรื่องเด่น UNESCO ประกาศยกย่องให้'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' เป็นบุคคลสำคัญของโลกประจำวาระปี 2563-2564

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย montrik, 13 กันยายน 2019.

  1. montrik

    montrik แดง แดนอุทัย สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มกราคม 2008
    โพสต์:
    10,129
    กระทู้เรื่องเด่น:
    74
    ค่าพลัง:
    +12,091
    E0%B8%99%E0%B8%A0%E0%B8%B9%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B9%82%E0%B8%95_Unesco.jpg

    UNESCO ประกาศยกย่องให้'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' เป็นบุคคลสำคัญของโลกประจำวาระปี 2563-2564
    Last updated: 31 กรกฎาคม 2562 | 23:28

    องค์การ UNESCO ได้ประกาศยกย่องให้หลวงปู่มั่น ภูริทัตโตในวาระที่มีชาตกาลครบ 150 ปี ใน พ.ศ. 2563 เป็นบุคคลสำคัญของโลกประจำวาระปี 2563-2564 นับเป็นพระอริยสงฆ์รูปที่ 3 ของประเทศไทย นับตั้งแต่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส และท่านพุทธทาสภิกขุ

    31 กรกฎาคม 2562-สืบเนื่องจากกระทรวงวัฒนธรรมยุคนายวีระ โรจน์พจนรัตน์ เป็น รมว.วัฒนธรรม ได้เสนอรายชื่อหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต พระอาจารย์ทางวิปัสสนากัมมัฏฐาน ที่ได้รับการยกย่องอย่างสูงจากบรรพชิตและคฤหัสถ์ในทุกภูมิภาคต่างๆ ของประเทศไทย จะครบรอบ 150 ปีชาตกาล ในปี 2563 เป็นบุคคลสำคัญด้านวัฒนธรรมต่อองค์การ UNESCO (องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ)

    ปรากฏว่าในการการประชุมสมัยสามัญของยูเนสโกครั้งที่ 40 ได้ประกาศยกย่องเป็นบุคคลสำคัญของโลกเมื่อวันที่ 28 กค. 2562 ถือเป็นพระสงฆ์รูปที่ 3 ของประเทศไทย นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2533 องค์การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ ยูเนสโก ได้ประกาศยกย่องสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรสเป็นบุคคลผู้มีผลงานดีเด่นด้านวัฒนธรรมระดับโลก ประจำปี พ.ศ. 2533 นับเป็นพระอริยสงฆ์รูปแรกของประเทศไทยที่ได้รับการถวายเกียรตินี้

    ส่วนพระอริยสงฆ์รูปที่ 2 คือท่านพุทธทาสภิกขุ โดยเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ.2548 องค์การยูเนสโก ประกาศยกย่องให้ท่านพุทธทาสภิกขุเป็นบุคคลสำคัญของโลก ด้านส่งเสริมขันติธรรม สันติธรรม วัฒนธรรม ความสัมพันธ์และความเข้าใจอันดีของมวลมนุษย์ พระสงฆ์รูปที่ 2 ที่ได้รับการยกย่องจากยูเนสโก

    ล่าสุดพระอริยสงฆ์รูปที่ 3 องค์กร UNESCO ได้ประกาศยกย่องให้หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต เป็นบุคคลสำคัญของโลกประจำวาระปี 2563-2564

    สำหรับ เกร็ดประวัติและปกิณกธรรมของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโตจากหนังสือ “รำลึกวันวาน” โดย หลวงตาทองคำ จารุวัณโณได้บันทึกไว้ว่า

    "หลวงปู่มั่น เกิดมาพร้อม บุคลิกพิเศษ ที่ทำให้ท่านกลายเป็น สาวกที่สมบูรณ์แบบ ของพระพุทธเจ้า

    หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต คือหนึ่งในพระวิปัสสนาจารย์ผู้ยิ่งใหญ่ของเมืองไทย ท่านเป็นผู้มีปฏิปทาสันโดษ มักน้อย แสวงหาความวิเวก และปรารภความเพียรตั้งแต่วันแรกบรรพชา-อุปสมบทจวบจนกระทั่งวาระสุดท้ายของชีวิต ชนิดที่เรียกได้ว่าครบถ้วนสมบูรณ์แบบ

    วัตรปฏิบัติอันเคร่งครัดของหลวงปู่มั่นก็คือ บิณฑบาตเป็นวัตร ฉันในบาตรเป็นวัตร ฉันมื้อเดียวเป็นวัตร และใช้ผ้าบังสุกุลเป็นวัตร

    หากผู้ใดต้องการถวายจีวร ผ้าสบง ผ้าเช็ดหน้า หรือผ้าเล็ก ๆ น้อย ๆ ใด ๆ ให้แก่ท่าน ก็เป็นอันรู้กันว่าจะต้องนำไปวางไว้ที่บันไดบ้าง วางไว้ใกล้ ๆ กุฏิของท่านบ้าง วางไว้ตรงทางเดินไปห้องน้ำบ้าง เมื่อท่านเห็นก็จะบังสุกุลเอา บางผืนท่านก็ใช้ บางผืนก็ไม่ได้ใช้ ใครไม่รู้อัธยาศัยแล้วนำไปถวายกับมือ ท่านจะไม่รับ

    หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต เป็นพระนักปฏิบัติ ท่านเป็นสาวกของพระพุทธเจ้าที่มีความสมบูรณ์แบบด้วยบุคลิกลักษณะทั้งภายนอกและภายใน นั่นคือเหตุผลว่าทำไมเกียรติคุณของท่านจึงขจรขจายจนถึงทุกวันนี้ แทนที่ความศรัทธาในตัวท่านจะเลือนหายไปเมื่อท่านละสังขาร ก็กลายเป็นว่าศรัทธานั้นกลับเจริญงอกงามขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ

    หลวงปู่มั่นมีไฝอยู่ตรงระหว่างคิ้ว ลักษณะคล้ายกับพระอุณาโลมของพระพุทธเจ้า ไฝเม็ดนี้เป็นจุดดำเล็ก ๆ มีขนสามเส้น ไม่ยาวมาก โค้งหักเป็นตัวอักษร ก. และเป็นเส้นละเอียดอ่อนมาก ถ้าไม่สังเกตจะไม่เห็น เวลาท่านปลงผมจะปลงขนที่ว่านี้ออกด้วย แต่ไม่นานก็งอกขึ้นใหม่ในลักษณะเดิมอีก

    หูของหลวงปู่มั่นมีลักษณะยาน จมูกโด่ง แววตาของท่านก็เหมือนแววตาของไก่ป่า (คือเป็นวงแหวนในตาดำ) ส่วนที่มือของท่านนั้น นิ้วชี้จะยาวกว่านิ้วอื่น แล้วไล่ลงมาจนถึงนิ้วก้อย นิ้วเท้าก็เหมือนกัน

    ตลอดชีวิตของหลวงปู่มั่นนั้น ท่านเดินทางธุดงค์ข้ามภูเขาไปไม่รู้กี่ลูกต่อกี่ลูกจนเท้าพองไปหมด

    ศิษย์ท่านหนึ่งคือหลวงปู่หล้า เขมปัตโต เคยเล่าว่า เวลาล้างเท้าให้หลวงปู่มั่นจะเห็นฝ่าเท้าของท่านเป็นลายก้นหอยสองอัน และมีรอยอยู่กลางฝ่าเท้าเหมือนกากบาท เวลาท่านเดินไปไหนแล้วนำไปก่อน สานุศิษย์จะไม่เดินเหยียบรอยเท้าของท่าน และเมื่อท่านเดินผ่านไปแล้ว ชาวบ้านไปส่องดูก็จะเห็นเป็นลาย “ตารางหมากรุก” ปรากฏอยู่ที่รอยฝ่าเท้าทั้งสองข้าง ส่วนรอยนิ้วเท้าก็เป็นลายก้นหอยเหมือนกัน จะเรียกก้นหอยหรือวงจักรก็ได้ มีอันใหญ่กับอันเล็กสองอัน

    สิ่งเหล่านี้เป็นลักษณะพิเศษทางกายภาพของหลวงปู่มั่น

    บุคคลทุกระดับเมื่อเข้าถึงตัวหลวงปู่มั่นแล้ว ท่านจะเป็นกันเองมาก เวลาคุยก็สนุกสนานเหมือนคนรู้จักกันมานาน แต่เป็นที่น่าสังเกตว่า หากบุคคลที่เข้าไปหาท่านเป็นพวกที่มักจะเอาเปรียบเพื่อนมนุษย์ ท่านจะไม่ค่อยเป็นกันเองเท่าไหร่ ถามคำไหน…ได้คำนั้น ถ้าไม่ถาม…ท่านก็นั่งเฉย

    หลวงปู่มั่นเคยพูดว่า

    “ผู้ที่จะมาศึกษาธรรมะกับเรา จะเป็นญาติโยมก็ดี หรือเป็นพระสงฆ์ก็ดี ขอให้เก็บหอกเก็บดาบไว้ที่บ้านเสียก่อน อย่านำมาที่นี่ … อยากมาปฏิบัติ มาฟังเทศน์ฟังธรรม ถ้านำหอกนำดาบมาจะไม่ได้ฟังเทศน์ของพระแก่องค์นี้”

    แม้กระทั่งเด็กที่ไม่รู้เดียงสา หลวงปู่มั่นก็ทำเสมือนว่าเป็นเพื่อนได้ ในความรู้สึกของผู้ที่อยู่ใกล้ชิด เวลาท่านอยู่กับเด็ก กิริยาของท่านจะเข้ากับเด็กได้ดี

    คุณสมบัติอันเป็นมิตรของท่านนี้ทำให้ใครก็ตามที่เข้าไปหาท่านแล้ว…กลับออกมาก็อยากเข้าไปอีก ใครได้ฟังเทศน์ฟังธรรมแล้ว…กลับมาก็อยากกลับไปฟังอีก!!"

    สำหรบบุคคลสำคัญที่ทางกระทรวงวัฒนธรรมยุคนายวีระได้เตรีขมเสนอ 4 ท่านได้แก่

    1.หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต พระอาจารย์ทางวิปัสสนากัมมัฏฐาน ที่ได้รับการยกย่องอย่างสูงจากบรรพชิตและคฤหัสถ์ในทุกภูมิภาคต่างๆ ของประเทศไทย จะครบรอบ 150 ปีชาตกาล ในปี 2563

    2.พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ (น.ม.ส.) ทรงเป็นนักหนังสือพิมพ์ นักประพันธ์ และกวีเอกของไทย ทรงใช้พระนามแฝงว่า น.ม.ส. ทรงนิพนธ์ร้อยกรองและร้อยแก้วไว้จำนวนมาก จะครบรอบ 150 ปี วันประสูติในวันที่ 10 มกราคม ปี 2569

    3.พระยาโบราณราชธานินทร์ (พร เดชะคุปต์) ผู้บุกเบิกการค้นคว้าทางโบราณคดีของเมืองอยุธยาโดยสำรวจโบราณสถานและวัดต่างๆ และจัดทำแผนที่เกาะเมืองอยุธยา รวมถึงเก็บรวบรวมศิลปวัตถุและโบราณวัตถุที่พบภายในเมืองอยุธยา ทำให้ประวัติศาสตร์กรุงศรีอยุธยาเป็นที่รู้จักแพร่หลาย จะครบรอบ 150 ปี ชาตกาลในปี 2564

    4.นายไพบูลย์ บุตรขัน นักแต่งเพลงและนักเขียนบทละครที่มีผลงานที่มีชื่อเสียงเป็นจำนวนมาก จะครบรอบ 50 ปีที่เสียชีวิตในปี 2565

    First posted: 31 กรกฎาคม 2562 | 23:28

    ขอขอบคุณแหล่งข่าวจาก
    http://www.thaitribune.org/contents/detail/309?content_id=36108&rand=1564590508





     
  2. นะมัตถุ โพธิยา

    นะมัตถุ โพธิยา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    618
    ค่าพลัง:
    +2,269
    สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
    สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นหมู่ใด, ปฏิบัติดีแล้ว ;
    อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
    สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด, ปฏิบัติตรงแล้ว ;
    ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
    สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด, ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว ;
    สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
    สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด, ปฏิบัติสมควรแล้ว ;
    ยะทิทัง,
    ได้แก่บุคคลเหล่านี้คือ :
    จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา,
    คู่แห่งบุรุษ ๔ คู่, นับเรียงตัวบุรุษ ได้ ๘ บุรุษ ;
    เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,
    นั่นแหละ สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ;
    อาหุเนยโย,
    เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา ;
    ปาหุเนยโย,
    เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ ;
    ทักขิเณยโย,
    เป็นสงฆ์ควรรับทักษิณาทาน ;
    อัญชะลิกะระณีโย,
    เป็นสงฆ์ที่บุคคลทั่วไปควรทำอัญชลี ;
    อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสะ,
    เป็นเนื้อนาบุญของโลก, ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ;
    ตะมะหัง สังฆัง อะภิปูชะยามิ,
    ข้าพเจ้าบูชาอย่างยิ่ง เฉพาะพระสงฆ์หมู่นั้น ;
    ตะมะหัง สังฆัง สิระสา นะมามิ,
    ข้าพเจ้านอบน้อมพระสงฆ์หมู่นั้นด้วยเศียรเกล้า
     
  3. Pfoo

    Pfoo สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2019
    โพสต์:
    1
    ค่าพลัง:
    +2
  4. THEVAN

    THEVAN สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2019
    โพสต์:
    2
    ค่าพลัง:
    +2

แชร์หน้านี้

Loading...