เรื่องเด่น หลวงปู่บุญฤทธิ์ ปณฺฑิโตละสังขารแล้ว สิริอายุ 104 ปี เป็นลูกศิษย์พระป่าสายหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย โพธิสัตว์, 15 พฤศจิกายน 2018.

  1. โพธิสัตว์

    โพธิสัตว์ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 ธันวาคม 2016
    โพสต์:
    113
    กระทู้เรื่องเด่น:
    92
    ค่าพลัง:
    +734
    เมื่อเวลา 22.22 น. ของวันที่ 14 พ.ย.2561 หลวงปู่บุญฤทธิ์ ปณฺฑิโต ละสังขารแล้ว ที่โรงบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย สิริอายุ 104 ปี

    131684_th.jpg

    หลวงปู่บุญฤทธิ์ ปณฺฑิโต จำที่พักสงฆ์สวนทิพย์ 17/9 ถนนสุขาประชาสรรค์ 2 ต.บางพูด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี นามเดิมบุญฤทธิ์ จันทรสมบูรณ์ เกิดในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 เดือนกุมภาพันธ์ ณ ตำบลท่าอิฐ อ.พิชัยดาบหัก จ.อุตรดิตถ์ เป็นบุตรชายของ หลวงพินิจจินเภท และคุณแส นามเดิมว่า บุญฤทธิ์ จันทรสมบูรณ์

    หลวงปู่บุญฤทธิ์ ปณฺฑิโต อดีตเป็นนักศึกษาจบปริญญาจากต่างประเทศ เป็นข้าราชการหนุ่มที่มีอนาคตสดใส แต่ด้วยความเลื่อมใสปฏิปทาพระป่าสายหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต จึงลาออกจากราชการ แล้วออกบวชและปฏิบัติธรรมแบบถวายชีวิตต่อพระศาสนา ออกธุดงค์อยู่ตามป่าตามเขาโดยตลอด หลวงปู่บุญฤทธิ์เป็นศิษย์สำคัญองค์หนึ่งของหลวงปู่ชอบ ฐานสโม ที่ทั้งพระและโยมในวงพระธุดงค์กรรมฐานรู้จักเป็นอย่างดี และเป็นศิษย์กรรมฐานของพระอาจารย์กู่ ธมฺมทินฺโน หลวงพ่อลี ธมฺมธโร และออกป่าติดตาม หลวงปู่ชอบ ฐานสโม นานถึง 9 ปี
     
  2. ษิตา

    ษิตา ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    10,209
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,230
    ค่าพลัง:
    +34,711
    สิ้น "หลวงปู่บุญฤทธิ์ ปัณฑิโต" อารยะสองฝั่งโลก

    000BD06101474ED387D21C40F6B08442.jpg

    "หลวงปู่บุญฤทธิ์ ปัณฑิโต" แห่ง วัดสวนป่าบุญฤทธิ์ ได้ละสังขารอย่างสงบ สิริอายุ 104 ปี 73 พรรษา

    เมื่อวันที่ 14 พ.ย. หลวงปู่บุญฤทธิ์ ปัณฑิโต แห่ง วัดสวนป่าบุญฤทธิ์ ได้ละสังขารอย่างสงบเมื่อวันที่่ 14 พ.ย.61 เวลา 22.22 น. สิริอายุ 104 ปี 73 พรรษา ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย หลังเข้ารับการรักษาอาการอาพาธตั้งแต่วันที่ 27 ก.ย.ที่ผ่านมา

    โพสต์ทูเดย์ขอนำประวัติ "หลวงปู่บุญฤทธิ์ ปัณฑิโต" ที่เคยตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ ฉบับวันที่ 24 มิ.ย. 2555 มานำเสนออีกครั้งดังนี้

    *************************************************

    อารยะสองฝั่งโลก "หลวงปู่บุญฤทธิ์ ปัณฑิโต"
    โดย...ภัทระ คำพิทักษ์

    สำหรับคนสมัยใหม่ที่อ่อนศรัทธา แต่มีใจจะเรียนรู้พุทธศาสนาขอแนะนำให้ศึกษาประวัติและเทศนาของ หลวงปู่บุญฤทธิ์ ปัณฑิโต

    เรื่องราวของหลวงปู่บุญฤทธิ์ เป็นจุดบรรจบระหว่างโลกสมัยใหม่ คือ มีกลิ่นอายความเป็นโลกตะวันตก กับแก่นสารที่ก่อรูปมาจากศาสนา วัฒนธรรมและวิถีชีวิตของโลกตะวันออก

    ในส่วนของความเป็นตะวันตกนั้นมิเพียงท่านจะพูดภาษาต่างประเทศ โดยเฉพาะภาษาอังกฤษและฝรั่งเศสได้อย่างคล่องแคล่วแล้ว ท่านยังเป็นกำลังสำคัญในการนำพุทธศาสนาออกไปเผยแผ่ในต่างประเทศ โดยสามารถเชื่อมโยงความรู้แจ้งทางพุทธศาสนาเข้ากับวิทยาศาสตร์ชั้นสูงได้ชนิดที่คนที่ไม่มีพื้นไม่อาจจะตามทัน ท่านเป็นพระป่าที่รจนาคำเทศน์เป็นภาษาต่างประเทศ จาริกอยู่ในต่างประเทศเป็นเวลานาน มีศิษย์เป็นชาวต่างชาติอยู่ในหลายประเทศจำนวนมาก

    ก่อนละโลกฆราวาสเข้าสู่โลก บรรพชิต ท่านมิได้กำเนิดในตระกูล ลูกชาวนา มีความทุกข์ยากในชีวิตเหมือนกับพระอริยะหลายๆ รูปที่เป็นพ่อแม่ครูอาจารย์หรือเป็นบรรพชิตรุ่นเดียวกัน หากแต่กำเนิดในตระกูลในคหบดีอุตรดิตถ์ มารดาท่านอยู่ในวัง ตัวท่านเองได้รับการศึกษาสูง เป็นนักเรียนทุนต่างประเทศ

    ยิ่งถ้าไม่ลืมว่า ช่วงเวลาที่ท่านได้รับทุนไปต่างประเทศนั้นเป็นช่วงกึ่งศตวรรษก่อน เป็นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 และผู้ที่แนะนำให้ท่านสอบทุนไปต่างประเทศคือ พระยาอนุมานราชธน ซึ่งเป็นปราชญ์คนสำคัญท่านหนึ่งของประเทศ คนที่ทีโอกาสทางสังคมในระดับนั้นย่อมมีไม่มากคนนัก

    ปัญญาชนที่ไปศึกษาในต่างประเทศยุคโน้นก็มักจะกลับมารับราชการและมีความก้าวหน้าอย่างสูงในสาขาที่ตนเลือก แต่หนุ่มบุญฤทธิ์เลือกทางที่แตกต่างโดยสิ้นเชิง

    ท่านมุ่งเข้าสู่วิถีแห่งตะวันออก ตัดตรงเข้าสู่การรู้แจ้งเห็นจริงตามหนทางของพุทธองค์

    หลังได้ระดมยิงคำถามใส่ท่านพระอาจารย์กู่ ธัมมทิโน ศิษย์อาวุโสของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต แล้วพบว่า การยิงคำถามเหล่านั้นเป็นเสมือนการยิงลูกศรไปในอากาศ ต่อมาไม่นานนักท่านก็เปลื้องชุดปารีส สละโอเวอร์โค้ตผ้า สักหลาดที่ "นุ่มยังกับลูบขนแมว" อันเป็นสัญลักษณ์การแต่งกายแบบ ขุนนางนักเรียนนอกออกโกนผม ถือครองผ้า 3 ผืน

    เมื่อสิ้นพระอาจารย์กู่ ท่านก็บุกป่าฝ่าดงขึ้นเขาไปอยู่กับ หลวงปู่ชอบ ฐานสโม อีกหนึ่งซึ่งเป็นศิษย์อาวุโสของหลวงปู่มั่นบนยอดภูกระดึง อยู่กุฏิใบตองตึง นอนกับพื้น มิหนำซ้ำยังปวารณาอยู่อย่างโดดเดี่ยวบนยอดภูเป็นเวลาถึง 3 ปี

    หนทางของการเรียนรู้พระสัทธรรมของท่านนั้น น่าสนใจเรียนรู้ยิ่งนัก แม้รากบางส่วนของท่านจะมีกลิ่นอายของความเจริญสมัยใหม่ และความรู้แบบตะวันตก แต่มิอาจอธิบายด้วยชุดความรู้จากโลกตะวันตก และเมื่อปะทะสังสรรค์กับรากแก้วที่เป็นพุทธแบบพระป่าแท้ๆ แล้ว หากเป็นภาพวาด ภูมิหลังกับภูมิใหม่ก็เป็นเสมือนแม่สี ที่ตัดกัน แต่ลงตัวอย่างน่าทึ่ง

    ท่านเล่าถึงเหตุที่ทำให้บวชว่า หลังได้พบสนทนากับพระอาจารย์กู่อยู่เนืองๆ แล้ว วันหนึ่งขณะเดินอยู่หน้าจวนข้าหลวง จ.หนองคาย นั้น "ก็เกิดว่างวาบขึ้นในทันใด ว่างขึ้นในจิตใจ คล้ายๆ meditation come to me, not I go to meditation เกิดโล่งขึ้นมาอย่างประหลาด แต่ก่อนอย่างคนปกติ ทำอะไรไปไหนมาไหน มันก็คิดโน่นคิดนี่ เดินไปก็คิดไป แต่นี่มัน "โล่งหมด" พยายามจะคิดอะไรสักอย่าง มันก็ไม่คิด ไม่มีอะไรเกิดขึ้นในสมองความคิดเลย ใจมันว่างโล่งไปหมด ก็หยุดยืนกึกเลย เหมือนเอามือควานลงไปในโอ่ง ก็เกิดความรู้ขึ้นว่า "หมดห่วงแล้ว" คนไทยแต่โบราณมา ก่อนที่จะมามีวัตถุนิยมรุนแรงอย่างเดี๋ยวนี้ การรู้ว่า "หมดห่วง" ก็คือ "เข้าวัด" ก็บอกตัวเองเลยว่า "งั้นก็ไปบวชซี"

    บวชแล้วท่านก็อยู่ศึกษากับพระอาจารย์กู่ ท่านพระอาจารย์กู่ บอกแต่ว่า ภาวนาบ้าง แต่ก็ไม่ได้บอกว่าภาวนาอย่างไร อยู่มาคืนหนึ่งท่านก็คิดขึ้นมาเองว่า จะเพ่งดวงจันทร์ กุฏิที่ท่านอยู่นั้นเป็นกุฏิที่ "ไม่เคยเห็นที่ไหนเหมือนหลังนั้นอีกเลย" กล่าวคือ เป็นกุฏิไม้ 2 ชั้นเล็กๆ ใต้ถุนสูง ชั้นบนมีระเบียงกว้างราว 1 เมตร โดยรอบ ปีกชายคาสั้นมากสามารถมองเห็นท้องฟ้าสบายๆ

    ในคืนจันทร์เต็มดวงค่อยๆ เคลื่อนขึ้นมาทอดตัวอยู่เหนือยอดกอไผ่นั้น ภิกษุหนุ่มนั่งจ้องดวงจันทร์อยู่ โดยไม่ยอมหลับตา และหารู้ไม่ว่านั่นคือ การคือ เพ่งกสิณอย่างหนึ่ง

    ท่านเพ่งอยู่ 5 วัน

    "เมื่อมองดูพระจันทร์แล้วมองดูเงามืดที่กอไผ่ ปรากฏดวงสว่างคงที่แล้ว พร้อมกันนั้น จิตใจที่ไม่เคยนิ่งเลยแต่ก่อน ก็เกิดนิ่งพร้อมกันทันที นิ่งอยู่พร้อมนิมิต บังคับให้สว่าง บังคับให้ดับ ให้เกิดได้ทุกที ให้ปรากฏขึ้นตรงไหนก็ได้ ทำเมื่อใดก็ได้"

    ท่านเล่าในกาลต่อมาว่า นั่นคือ กสิณนิมิตภาวนา

    เมื่อไปกราบเรียนท่านพระอาจารย์กู่ ท่านก็แนะว่า "ดูข้างในกายเธอซิ- จ้องไปในตัว" ครั้นทำตามก็ "เกิดเป็น แสงสว่างจ้านวลราวกับแสงไฟฉายกระบอกใหม่ปรากฏขึ้นภายใน ทันทีนั้นก็เกิดปีติสุขอย่างมากขึ้นพร้อมกัน"

    เมื่อท่านอาจารย์กำกับว่า "ดูเส้นผมซิ" ขณะหลับตามองนั้นเองก็ "เกิดแสงสว่างนวล แบบนีออนเห็นนิมิตเส้นผมทันที ขนาดใหญ่ราวสายไฟฟ้า ท่านอาจารย์แนะให้ใช้แสงตรวจดูในเส้นผมก็เกิดเป็นอัตโนมัติเลย นึกขึ้นได้เองว่า อย่างนี้เองที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ทรงพุทธญาณส่องแสงสว่างเหนือโลก ดัง Super computer, internet ทรงต้องการรู้อะไร ก็กดปุ่มจิตสมาธิ อภิญญาเหมือนกดปุ่ม เพ่ง จิต...พรึบ...ภาพคำตอบก็ปรากฏทันที อดีต ปัจจุบัน อนาคต สถานที่ บุคคลในจักรวาล Cosmos นอกจักรวาลนี้ ไม่มีขอบเขต..."

    หลังได้กสิณ ท่านก็เลี้ยวเข้าสู่ทางหลักคือ จับสติปัฏฐาน ฝึกตนอย่างเข้มข้นจนกระทั่งวันหนึ่งขณะที่ท่านสรงน้ำอยู่ ก็เกิดแสงสว่างพรึบขึ้นรอบกาย สังเกตดูจิตก็ไม่รู้สึกปีติสุขอะไร ขณะที่กายก็เคลื่อนไหวอยู่เป็นปกติอยู่ สรงน้ำเสร็จไปนั่งภาวนา วงแสงนั้นก็ยังอยู่ พิจารณาดูแล้วจึงคิดว่า นั่นคือสมาธิ เมื่อดูต่อไปโดยไม่อยากรู้อยากเห็นอะไร ก็มีเสียงคน 2 คนถามตอบปัญหาธรรมกัน

    "เสียงโต้กันสักพัก ก็รู้ขึ้นว่าจิตนี่เองมันมืด อวิชชา สังขารา จิตมันหลง ก็รู้ปฏิจจสมุปบาทตอนต้น...ความคิดที่จะสึกหายไปหมดสิ้น"

    ท่านมิได้บอกแต่การที่ความคิดที่จะสึกหายไปหมดสิ้นนั้นเปิดพระไตรปิฎกหาความรู้ ก็คือ ความลังเลสงสัยสิ้นแล้ว เป็นหนึ่งในบาทฐานของวิถีแห่งมรรคผลแห่งพระอริยะบุคคลขึ้นต้นคือ พระโสดาบันนั่นเอง

    ต่อมาท่านปีนเขาบุกป่าไปหาหลวงปู่ชอบ อยู่กับหลวงปู่ชอบ 2 องค์ จนวันหนึ่งหลวงปู่ชอบจะกลับลงมา แต่เมื่อเรียนท่านไปว่า ได้อธิษฐานจิตไว้แล้วว่าจะขออยู่ที่นั่น 3 ปี หลวงปู่ชอบจึงพูดขึ้นมาชนิดแหวะหัวใจดูว่า "บุญฤทธิ์ที่ภาวนามาแล้วนั่น มันไม่ถูกนะ ไม่คิดเลยได้อย่างไร"

    หลวงปู่บุญฤทธิ์ เล่าว่า เพราะคิดว่าทำถูกแล้วเวลาภาวนาเลยไม่ได้บอกใครว่า ทำแบบไหน แต่ทำไมหลวงปู่ชอบจึงรู้ได้?

    หลวงปู่ชอบ แนะกับท่านสั้นๆ ก่อนลงเขาไปว่า "เอานิพพานเสียที่นี่ซี..."

    จากนั้นท่านหันมาใช้วิธีอานาปานสติ เย็นวันหนึ่ง ขณะเดินจงกรมภาวนาเจริญสติปัฏฐานอยู่นั่นเอง ก็มีเสียงดังลั่นฟ้าไปหมดว่า "ธรรมเป็นธรรม"

    ท่านว่า เมื่อได้ยินเสียงนั้น ทั้งกายและใจละลายไปหมด จึงเข้าที่นั่งภาวนาไปจิตแน่นลง ได้ยินภาษาบาลีว่า นะ โส เหตวัง วิวาโท แล้วหยุดนิ่งอยู่จน เมื่อจิตรวมลงจนนิ่งไปอีกรอบคราวนี้มีคาถาอีกบทดังขึ้นว่า "โลกุตตรสันตัง" อันมีความหมายว่า "พระพุทธศาสนาโลกุตรธรรม ธรรมโลกมืดหลง เป็นที่สันติที่สุดแล้ว"

    ความรู้สึกที่เกิดขึ้นในขณะนั้นคือ...

    "รู้สึกว่าตัวเองลงไปนั่งอยู่ก้นมหาสมุทร มองขึ้นไปเห็นเรือเดินสมุทร เห็นซากศพลอย มันไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับเราสักอย่าง ไม่มีอันตรายมาถึงเราด้วย มันสบายตามธรรมชาติ ไม่เคยนั่งสบายเช่นนี้มาก่อนเลย นั่งอยู่ราว 3-4 ชั่วโมง จากนั้นพูดกับตัวเองว่า ตั้งแต่นี้ต่อไป คนหมดโลกนี้ไม่เชื่อพุทธศาสนาหลวงปู่ก็เฉย ต่อไปนี้คนหมดโลกเชื่อพุทธศาสนา หลวงปู่ก็เฉยๆ หมดเรื่องเท่านั้น"

    เทศนาหลายบทของหลวงปู่ บุญฤทธิ์ ได้แนะการปฏิบัติไว้อย่างละเอียด แต่ก็ได้สรุปสายเดินของจิต ในสติปัฏฐานภาวนาว่า เมื่อได้ยิน เห็น ก็เจริญภาวนาสติ "รู้" สักแต่ "รู้"

    "ธรรมทั้งหลายไม่พึงถือมั่น เป็นยอดพุทธสติ นั่นคือ รู้สักแต่รู้ (hearing, hearing only–no doing–end, the world" หรือธรรมเป็นธรรม (Dhamma be Dhamma) นะ โส เหตวัง วิวาโท ปรากฏ (สุดสมมติภาษา ไม่มีถามตอบ) นะ ตะลัง กา สลัง โลกุตตรสันตัง เป็นสันติสุขเหนือโลก เท่านี้ล่ะโยม ทั้งหมด"

    อะไรคือ 1?
    ครั้งหนึ่ง หลวงปู่ บุญฤทธิ์ เคยเทศนาให้ชาวต่างชาติฟังว่า

    "ท่านทั้งหลายเป็นชาวตะวันตก ชาวตะวันตกสมัยใหม่ไม่สนใจแม้แต่ Christ สนใจแต่ Science แต่ที่เป็นวิทยาศาสตร์จริงๆ คือ Pure Science เป็นเรื่องการคำนวณล้วนๆ สูตร EMC(ยกกำลัง 2) ของ ไอสไตน์ เรื่อง พลังงาน = วัตถุเป็นเยี่ยมยอดทางวัตถุทั่วจักรวาลเรื่องการคำนวณชั้นสูงของไอสไตน์ คือ พลังงานเท่ากับวัตถุ คูณด้วยความเร็วแสงพลังสอง

    สูตรของจักรวาล ก็ได้มาด้วย mathematics การคำนวณต้องอาศัยตัวเลข number ตัวเลขมาก 1 (หนึ่ง) Basic 1 - what is one (1). all professors in the world don, t know - I think I am here, I feel I am here that gives the concept number 1. But e conception I, is delusion, because " my " "I" เป็นความคิด หลงในขันธ์ห้า เพราะฉะนั้น คิดว่า I ในกายใจ ชีวิตเป็นความหลง เพราะฉะนั้นเลข 1 (หนึ่ง) เป็น I ก็คือ Delustion

    วิทยาศาสตร์ทั้งหมด คือ หลง

    What is time, I am sitting here with consciousness without

    I am here=delusion

    Concept of time is delution.

    สรุปปัญหาใหญ่ทางวิทยาศาสตร์ ปรัชญา อภิปรัชญา Space time เป็น Delustion

    No 1 เชื่อเลข คิดว่า หนึ่งเราในขันธ์ห้า อนิจจัง อนัตตา เป็นโมหะ มิจฉาทิฐิ Delustion

    No 2 สัญญาทั้งหมด อดีต ปัจจุบัน อนาคต คือ เวลา Time มาจากนึกว่า เราอยู่ที่นี่ I am here คือ หลง

    ในสมัยพุทธกาล มีนางพราหมณีผู้เชี่ยวชาญคำภีร์พระเวท (ซึ่งในพระสูตรว่ามีกว่า 60 ลัทธิ) นางพราหมณีผู้นี้เก่งทางโต้วาที นางจะหักกิ่งไม้อันหนึ่งไปปักบนกองทราย ถ้าใครมาโต้วาทีก็ให้มาถอนกิ่งไม้นี้ออก เวลานั้นไม่มีใครกล้าสู้ จนวันหนึ่งพระอรหันต์มาบิณฑบาต คือ นางคนนั้นเอากิ่งไม้ไปปักใกล้ๆที่ท่านพัก

    เช้านั้นท่านออกบิณฑบาต เห็นเด็กๆมาห้อมล้อมที่กองทราย ท่านเห็นแล้วก็ปัดกิ่งไม้นั้นทิ้งไป ท่านไปบิณฑบาตแล้วก็กลับวัด นางพราหมณีวิ่งตามไป พระอรหันต์ท่านก็อนุญาตให้ถามคำถาม นางถามอะไรท่านตอบได้หมดทุกข้อ

    ท่านก็บอกว่า ทีนี้ท่านจะขอถามบ้าง " อะไรคือ 1(หนึ่ง) "

    นางตอบไม่ได้ท่านก็เลยบอกว่า " ถ้าอยากจะเรียน อยากจะทราบคำตอบต้องบวช"

    หลวงปู่บุญฤทธิ์ เป็นพระมหาสมณะเพราะที่มีกาลพรรษาสูง และเป็นหน่อแนวของพระกรรมฐาน ซึ่งเป็นที่เคารพสักการะของพระวงศ์ พระกรรมฐานและประชาชนทั่วไป เมื่อสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินแปรพระราชฐานไปประทับที่พระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ ก็กราบอาราธนาหลวงปู่บุญฤทธิ์ ไปจำพรรษาที่กุฏิหลังเขาพระตำหนักด้วย

    ท่านได้อธิษฐานจิตวัตถุมงคลไว้ในหลายโอกาส ส่วนมากเป็นการรับนิมนต์ เมื่อมีการจัดสร้างวัตถุมงคลในสายพระกรรมฐาน เช่น การจัดสร้างวัตถุมงคลของวัดบรมนิวาสเนื่องในโอกาสครบ 100 ปี เจ้าคุณอุบาลี (จันทร์ สิริจันโท) วัตถุมงคลที่เป็นรูปองค์ท่านเองนั้นมีศิษย์สร้างเป็นล็อกเกตบ้าง และเหรียญบ้าง แต่ก็มีไม่มากรุ่นนัก

    ทหารที่ลงไปปฏิบัติราชการในภาคใต้ช่วงที่ท่านไปจำพรรษาอยู่ที่นั่น จะได้รับแจกเกศาของท่านไว้เป็นที่สักการบูชา

    *************************************************

    ภาพจาก วัดสวนป่าบุญฤทธิ์, วัดป่าเชิงเลน : วัดป่ากลางกรุง


    ขอบคุณที่มา
    https://www.posttoday.com/dhamma/57...ZkOSjNkVlfU8CZld6guEBuj1xXylm8gZBkSzThRmHgNf4
     
  3. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    47,213
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,046

แชร์หน้านี้

Loading...