ขอค้าน หลวงพ่อเกษม อาจิณสีโล

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย ขันธ์, 27 กุมภาพันธ์ 2008.

สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้
  1. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    นั่นสิ

    แต่อย่างไรให้คุณ ขุนพล เขาชี้ดูก่อน ท่านอาจจะเล่าเร็วไป เพราะในเรื่อง
    การวิปัสสนาญาณนั้น ตัวแรกที่ต้องทำให้ได้คือ นามรูปปริจเฉทญาณ คือ
    ต้องแยกแยะออกว่านี่คือ อารมณ์ใด นั่นคือ อารมณ์ใด จะต้องแยกออกให้
    เป็นขณะจิต แต่คุณขุนผลพูดเหมือนสังขยารวมกันทีเดียว จริงเราก็พอเข้า
    ใจอยู่เล็กน้อย ตอนถอยออกจากฌาณ แต่ไม่เคยถอยออกมาแล้วเห็นมัน
    ได้อย่างปริเฉท จะเห็นแบบประดังประเดมาทีเดียวจนคืนสติกับสู่โลกได้

    ก็รบกวนท่านชี้หน่อย ว่ารู้ได้อย่างไรนั่นคือวิจิกิจฉา(สงสัย) หรือว่าอารมณ์
    ใด

    เอารูป ที่เป็นนามรูป(อารมณ์)นะครับ ไม่ใช่ รูปธาตุ เพราะรูปธาตุนี้ไม่มี
    ข้อเทียบ หรือ พิจารณาในขันท์ 5

    และการที่เพ่งเส้นผม และทะลุลงมาที่หนังศรีษะ แล้วลงไปที่กะโหลก จนโครง
    กระดูก เรื่อยไปจนสลายเป็นผง อันนี้หลวงปูดูลย์ท่านชี้ว่า แค่อาการของจิต
    เห็นไปก็เท่านั้น ไม่สามารถดับอวิชชาได้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 กุมภาพันธ์ 2008
  2. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    วิปัสสนาล้วน และ สมถะ บวก วิปัสสนา ไม่เห็นต่างกันหรอกครับ เพราะว่า พระอริยทุกท่าน กล่าวให้ลงมาที่จิต
    ในสภาวะ สมาธิฌาณ นั้น จิตแนบเกินไป ดังนั้นจึงไม่มีอะไรต้องคิด หรือ ต้องปรุง
    ทีนี้ เมื่อ เป็นอุปจารสมาธินั้น ตา หูจมูกลิ้นกายใจ ไปกระทบสิ่งใด นั้น ใจย่อมปรุง ย่อมมีความรู้สึกชอบ ไม่ชอบ คือ มีการกระเพื่อมเกิดขึ้น
    การที่เรามองเห็นการกระเพื่อมนี้แหละ คือ การมีสติมอง นาม เช่นว่าจิตมีสมาธิ เป็นเอกคตาอยู่ แล้วเริ่มรู้สึก อะไรเข้ามาก็ตาม เราหันมามองที่จิตนี้อย่างเดียว ว่า อะไรเกิดขึ้น และอะไรดับไป ในขณะนั้น จิตจะเห็น ความรู้สึก ตัวนั้นทันที เห็นให้บ่อย
     
  3. วิมุตติ

    วิมุตติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    2,355
    ค่าพลัง:
    +2,169
    พิจารณาทีหลัง ก็ตามกิเลสไม่ทันหน่ะสิ เสร็จมัน...

    ในมุตโตทัย โดยท่านพระอาจารย์มั่น กล่าวว่า พระอรหันต์ที่ไปแบ่งแยกเป็น เจโตวิมุติ และ ปัญญาวิมุตติ ไม่ถูกต้องนัก เพราะการสำเร็จอรหันต์ได้ มรรคต้องบริบูรณ์ เหมือนกันหมด

    จะกล่าวว่า พระอรหันต์สุขวิปัสโก ไม่รู้เรื่องฌาณ คงไม่ได้ เพราะถ้าสมาธิไม่ถึงฌาณ ถอนกิเลสไม่หมดหรอก กำลังจิตมันไม่พอ ส่วนเรื่องฤทธิ์ ท่านไม่เอาแล้วต่างหาก ถ้าต้องการ มีหรือ ที่จิตของพระอรหันต์ จะฝึกอภิญญาหกไม่ได้

    อย่าไปแยกเลยว่า แบบนี้พระอรหันต์แห้ง แบบนี้พระอรหันต์ขีณาสพ มาดูการเกิดดับของขันธ์ห้ากันดีกว่า เอาให้มันเป็นปัจจุบันที่สุด ปัญญาที่เห็นไตรลักษณ์จะได้เกิด แล้วทำลายอุปทานลงได้ ไม่ต้องมาเสียเวลาอีกหลายสิบปี...

    ปล ผมเพิ่งปฏิบัติแบบลุ่มๆดอนๆมาได้แค่ 2 ปีเอง คงไม่ว่ากะไรหากขอร่วมสนทนาด้วย กระทู้นี้ ได้ปัญญามาก สาธุ...
     
  4. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    โพสนี้มาอับเดตขั้นรายการ

    เนื่องจาก โพสไป สลับอ่านหน้าเว็บวัดสามแยกไป

    ก็พบว่า อย่างน้อย ก็ไม่ชี้ นิพพาน เป็นเมือง เป็นพระ เป็นแก้ว
    และพบว่า ไม่เชื่อว่า พระพุทธเจ้าจะเสด็จมาในนิมิตได้ แต่ให้
    ทัศนะมาว่า อาจเป็นกายทิพย์ของภูมิใดภูมิหนึ่ง มาเล่นตลกโดย
    อาจเป็นทั้งเจตนาดี หรือ ไม่ดี

    ก็เป็นอันว่า ในส่วนของ นิพพาน ปรมัตถ์ นั้นไม่มีข้อขัดแย้ง
    ถือพระไตรปิฏกเป็นสรณะ

    ส่วนข้อปฏิบัติการสอนนั้น คุณขุนพล หรือ คุณขจร คงทราบ
    แต่หวังงว่าไม่ใช่สมาธิหมุน เพราะผมคิดว่าผ่านมาแล้ว ไม่เห็นมีอะไร
    มันก็แค่ นิมิตลม+ปิติ ธรรมดาๆ ( เท่าที่wได้เคยอ่านของหลวงพ่อเกษมเทียบ
    ไว้เมื่อปีก่อน )

    ส่วนเครื่องอยู่นั้น เทวดานุสติ

    ก็ว่ากันไป
     
  5. ขุนพล พลมณี

    ขุนพล พลมณี บุคคลทั่วไป

    ค่าพลัง:
    +0
    ++

    ช้าๆนะครับ แต่ข้อธรรมละเอียดจะไม่เน้น

    เวลาเราเข้าฌานไม่ว่าขั้นไหนตั้งแต่ 2 ไป จะต้องตัด ขันธ์ออก เหลือ จิต พอตัดจิต ก็ได้ฌานนั่นหมายถึงต้องมี ธรรมข้อตรงข้ามกับนิวรน์สนับสนุนด้วย
    เราก็จะได้กระดาษขาวๆ มาแผ่นหนึ่ง เมื่อเราออกมาสู่อุปจาร มีสติรับรู้เต็ม
    ของที่มาเขียนบนกระดาษขาวนั่นแหละคือวิจิกิจฉา เสียงที่ได้ยินในใจ รูปที่นึกได้ นั่นแหละคือวิจิกิจฉา เราก็ถือกระดาษขาวนั้นใว้คอยสังเกตุไม่ให้มีใครมาเขียนอะไรลงไป

    การเกิด-ดับของรูปนาม อยู่ตรงนี้เอง ตรงอุปจารสมาธิ แต่ ของผมเข้าฌานก่อน เอาความบริสุทธิ์จากฌานมาเปรียบเทียบ จึงรู้ว่าธรรมใดปรากฎตรงนี้มี
    การใช้อารมณ์แบบใหนในการระงับ เมื่อระงับแล้วจึงถอดถอน

    คนที่เชี่ยวชาญวิปัสนาก็เข้าอุปจารสมาธิเพื่อพิจารณาเกิด-ดับเหมือนกัน ตรงนี้ที่ต่างกันกับการเข้าฌานก่อน คือความบริสุทธิ์ของจิต การแยกว่านี้เป็นอารมณ์
    เวทนา สัญญา มาจากการใช้จิตปรุงแต่งแยกแยะ แล้วจะรู้ได้ยังไงว่าแยกแยะแล้วเป็น กระดาษขาวๆ หรือสีเทาๆมอๆ

    คนที่เชี่ยวชาญวิปัสนาจะดูจิต ว่าคิดยังไงปรุงแต่งยังไง
    คนที่เชี่ยวชาญฌานจะดูอารมณ์ ว่าเป็นอารมณ์ที่กำหนดใว้อารมณ์เดียวหรือไม่
     
  6. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    ข้อนี้ ขอเชิญ ผู้รู้ อธิบายด้วย ผมจะกลับแล้วเอาไว้มาคุยกันใหม่
    ข้อที่ผู้รู้ ท่านอื่น ควรชี้แจงคือ วิจิกิจฉา ไม่ใช่สิ่งที่ คุณ ขุนพล กล่าวมา
    และ การเกิดดับของรูป นาม นั้น คุณ ขุนพล ยังไม่แจ้ง ยังติดกับ สัญญา
    ไม่เห็นการเกิด ดับ ของสัญญา
    เรื่องอารมณ์ นั้น เห็นได้ง่าย เพราะมัน ใหญ่ แต่ไม่อาจจะถอนอุปาทาน ใน สักกายทิฎฐิได้
    วิปัสสนาญาณ กำหนด การเกิดดับ ของ รูปนาม ยังไม่ชัดและ ไม่ไวพอ

    ผมชี้ให้เท่านี้ ที่เหลือ คือ ขอให้ ท่านขุนพล ลองเปิดรับฟัง ท่านอื่นๆ อย่างเต็มที่ก่อน แล้วจะเห็นมากกว่านี้
     
  7. ขุนพล พลมณี

    ขุนพล พลมณี บุคคลทั่วไป

    ค่าพลัง:
    +0
    ++

    คุณขันธ์ยังมองแคบเกินไป ตีความไม่ละเอียด ถ้าจะละเอียดต้องว่ากันยาว

    ที่ผมอธิอบายคือ ธรรมที่อาศัยซึ่งกันและกันเกิดขึ้นต่อเนื่องกัน มีการทำได้ 2 อย่างคือ อนุโลมและปฎิโลม ปฏิโลมคือจับผลสาวไปหาเหตุ อนุโลมคือจับเหตุ
    สาวไปหาผลหรือปัจจัย ผมนั้นเข้าฌานหาผลก่อนจึงสาวมาหาเหตุ นี่เรียกว่า หลัก อริยะสัจ 2 หรือเรียกหลัก ปฏิจจสมุปบาท

    ปุถุชนนั้นเมื่อกิเลสมาผสมกับฐาตุรู้ ทำให้รู้ผิดจากความเป็นจริง จึงเกิดเป็นอวิชา จิตทั้งหลายเศร้าหมองเพราะกิเลสจรมา อวิชาเป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร
    เกิดวิญญาน เกิดรูป นาม ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปทาน ภพ ชาติ ชรา มรณะ
    โสหะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัสสะ อุปายาสะ เป็นธรรมต่อเนื่องกัน จะให้ผมบอกยังไง ว่าออกจากฌานผล แล้ว มาอุปจารสมาธิ เกิดธรรมเหล่าใด เพื่อตัดกิเลสตัวไหน มันไม่ได้เกิดขึ้นเป็นมาตรฐานว่าจะต้องเกิดธรรมแบบนี้ๆ ขึ้นก่อน

    ผมถึงบอกว่าจะละเอียดนั้นต้องรู้เอง ผมบอกได้แต่สภาวะ อารมณ์เพราะนอกนั้นมันมาพร้อมกัน รู้ว่ามันเกิด-ดับ ทีละครั้ง แต่ถ้าไม่เข้าฌาน ละเอียดก็ไม่เห็น
    จุดเกิดดับเหมือนกัน แต่เราพิจารณาในนั้นไม่ได้ ถ้าพิจารณาได้แสดงว่า ยังไม่ถึงฌาน

    แถมอีกนิดว่า อรหันต์ที่เรียนฌาน นั้นไม่ละ ละไม่ได้เป็นแล้วเป็นเลยเหมือนขี่จักรยาน มีฤทธิ์แล้วละไม่ได้ แต่ไม่ใช้นั้นได้
     
  8. Chayutt

    Chayutt รูปเดิมไม่เคยเปลี่ยนเลยครับ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    6,408
    ค่าพลัง:
    +50,772
    เคยมีใครพูดเหรอครับว่าโอนบุญให้กันแล้วบารมีจะเต็ม บารมีเขาหรือของเรา?
    ไม่ว่าจะของใครก็ตามแต่..ถ้ามันเต็มง่ายๆอย่างนั้น ผมก็ไม่ต้องไปทำอย่างอื่นแล้วหละครับ

    นั่งโอนบุญมันอยู่นี่แหละ แป็บๆเดี๋ยวก็เต็ม 30 ทัศน์แล้ว ยังงั้นหรือเปล่า?
    งั้นเดี๋ยวก็จะได้เป็นพระพุทธเจ้าแล้วหนะสิครับ เพราะผมปราถนาพุทธภูมิ
     
  9. apichan

    apichan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    825
    ค่าพลัง:
    +4,424
    เรียกว่า สมาธิอบรมปัญญา เหมือนที่พ่อแม่ครูอาจารย์หลวงตามหาบัวเทศน์สอนหรือเปล่าครับ
     
  10. ขุนพล พลมณี

    ขุนพล พลมณี บุคคลทั่วไป

    ค่าพลัง:
    +0
    ++

    ใช่แล้ว ครับ สายพระป่า อาจารย์มั่น อาจารย์ ฝั้น อาจารย์เสาร์และอื่นๆล้วน
    แล้วแต่ ทำตามหลักอริยสัจ 2 นี้ เล็งตรงตัวรู้ ปราศจากอวิชาก่อน แล้วไล่
    ลงมาหาเหตุ เพราะท่านเน้นการฝึกสมาธิ ก่อน ไม่เน้นเรียนบาลี นักธรรมก่อน
    เรียกว่า สมถะ+วิปัสนา แต่ท่านไม่สอนคนทั่วไปละเอียดแบบสอนลูกศิษย์
    สายตรง เพราะกลัวคนไม่เข้าใจ
    คนเราก็แบบนี้ พอออกจากปากผู้หลักผู้ใหญ่ก็หาว่าดีหมด แต่ออกจากปากคนธรรมดาก็หาว่า เป็นอย่างอื่นไป

    ถ้าไม่เข้าใจไปเปิดดู หลักที่ผมว่าได้ ในพระไตรปิฏก ไม่ใช่กิจของผมที่จะเอามาแจกแจงละเอียดครับ ครูบาอาจารย์ก็คงคิดแบบเดียวกัน จึงไม่พูดมาก แต่
    บอกคร่าวๆ ให้ไปอ่านเอาถ้าไม่เชื่อ ถ้าเชื่อก็ลงมือปฎิบัติเลยครับ.
     
  11. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    คุณขุนพล

    ระหว่างทางกลับบ้านก็นึกขึ้นได้ ว่าถามไปถามมานี้ จะพากันถามรสมะนาว
    กันเสียปล่าวๆ จะพลอยให้ขัดแย้งกันอีกประเด็น แต่ที่คุณชี้เรื่องผ้าขาวผม
    ก็ทราบมาแบบนั้น แล้วก็คำนึงถึงได้ นมัสสิการได้ อันนี้ก็ยกไว้ก่อนละกัน

    มาตรงกายคตา กายคตานี้ในพระสูตรก็รับรองว่า อานาปานสติ นี้ก็เป็นกายคตา
    แต่ไม่ว่าเป็นอะไรก็ตาม จะมีคำอยู่คำหนึ่งในพระสูตร นั้นคือ ธรรมเอกผุด ขึ้น

    คุณพอบรรยาย ธรรมเอก ของคุณก่อนได้ไหมว่า คือ สภาวะธรรมใด ผมไม่
    อยากแสดงก่อน เพราะกำลังเฝ้าดู เดี๋ยวจะวิปัสสนูกิเลสกินเสียก่อน เลยอยาก
    เทียบกับสาย สมถะ เสียก่อน

    รบกวนด้วยครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 กุมภาพันธ์ 2008
  12. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    สาธุ คุณ Chayutt ที่คุณปราถนาพุทธภูมิ

    ทราบมาว่าคุณ Chayutt ได้รับการติดอุปกรณ์ หรือ อะไรทำนองนี้ไม่
    อาจทราบชัด ข้อนี้เกี่ยวข้องการแสวงหาปัญญาด้วยตัวเองหรือเปล่า

    หรือว่าเป็นเรื่องจำเป็น เพราะกาลสมัยบังคับ
     
  13. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    <TABLE class=tborder id=post1000597 cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR vAlign=top><TD class=alt2 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 0px solid; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 0px solid" width=175>บัวบานbouban<SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_1000597", true); </SCRIPT>
    สมาชิก

    [​IMG]

    เข้ามาครั้งสุดท้ายเมื่อ: 26-02-2008 10:45 AM
    วันที่สมัคร: Dec 2007
    ข้อความ: 22 <!-- Start Post Thank You Hack -->
    ได้ให้อนุโมทนา 8 ครั้ง
    ได้รับอนุโมทนา 141 ครั้ง ใน 19 โพส <!-- End Post Thank You Hack -->
    พลังการให้คะแนน: 0 [​IMG][​IMG][​IMG]


    </TD><TD class=alt1 id=td_post_1000597 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid"><!-- icon and title -->[​IMG] การรวมจิตในการทำสมาธิ
    <HR style="COLOR: #ffffff" SIZE=1><!-- / icon and title --><!-- message -->ผมขออารธนาคำสอนของหลวงปู่ชา สำหรับผู้ที่สนใจในการทำสมาธินะครับ
    บัดนี้เราจะทำสมาธิ ก็ตั้งใจให้เอาความรู้สึกกำหนดอยู่กับลมหายใจ ถ้าหากว่าเราหายใจสั้นเกินไป หรือยาวเกินไป ก็ไม่พอดี ไม่ได้สัดได้ส่วนกัน ไม่เกิดความสงบเหมือนกันกับเราเย็บจักร ผู้เย็บจักรมีมือมีเท้า เราต้องถีบจักรเปล่าดูก่อน ให้รู้จักให้คล่องกับเท้าของเราเสียก่อนจึงเอาผ้ามาเย็บ

    การกำหนดลมหายใจก็เหมือนกัน หายใจเฉยๆ กำหนดรู้ไว้ จะพอดีขนาดไหน ยาวขนาดไหน สั้นขนาดไหน จะให้ค่อยขนาดไหน แรงขนาดไหน จะยาวก็ไม่เอากับมัน จะสั้นก็ไม่เอากับมัน จะค่อยก็ไม่เอากับมัน เอาตามความพอดี เอายาวพอดี เอาสั้นพอดี เอาค่อยพอดี เอาแรงพอดี นั่นชื่อว่าความพอดี เราไม่ได้ขัดไม่ได้ข้องแล้วก็ปล่อย หายใจดูก่อนไม่ต้องทำอะไร

    ถ้าหากว่าจิตสบายแล้ว จิตพอดีแล้ว ก็ยกลมหายใจเข้าออกเป็นอารมณ์ หายใจเข้าต้นลมอยู่ปลายจมูก กลางลมอยู่หทัย คือหัวใจ ปลายลมอยู่สะดือ อันนี้เป็นแหล่งการเดินลมเมื่อหายใจออก ต้นลมจะอยู่สะดือ กลางลมจะอยู่หทัย ปลายลมจะอยู่จมูก นี่มันสลับกันอย่างนี้ กำหนดรู้เมื่อลมผ่านจมูก ผ่านหทัย ผ่านสะดือ พอสูดแล้วก็จะเวียนกลับมาอีกเป็นสามจุดนี้ ให้ความรู้ของเราอยู่ในความเวียนเข้าออกทั้งสามจุดนี้ พยายามติดตามลมหายใจเช่นนี้เรื่อยไป เพื่อรักษาความรู้นั้นและทำสติสัมปชัญญะของเราให้กล้าขึ้นเมื่อหาดว่าเรากำหนดจิตของเราให้รู้จัดต้นลม กลางลม ปลายลมดีแล้วพอสมควร เราก็วาง เราจะหายใจเข้าออกเฉยๆ เอาความรู้สึกของเราไว้ปลายจมูก หรือริมฝีปากบนที่ลมผ่านออกผ่านเข้า เอาแต่ความรู้สึกเท่านั้นไว้ที่นั่น ไม่ต้องตามลมออกไป ไม่ต้องตามลมเข้ามา เอาความรู้สึกหรือผู้รู้นั่นแหละไว้เฉพาะหน้าเราที่ปลายจมูก ให้รู้จักลมผ่านออก ผ่านเข้า ไม่ต้องคิดอะไรมากมาย เพียงแต่ให้มีความรู้สึกเท่านั้นแหละ ให้มีความรู้สึกติดต่อกัน ลมออกก็ให้รู้ ลมเข้าก็ให้รู้ ให้รู้อยู่แต่ที่นั่นแหละ รู้แล้วมันจะเป็นอะไรก็ไม่ต้องคิด เอาเพียงเท่านั้นเสียก่อน ในเวลานี้หน้าที่การงานของเรามีแค่นั้น ไม่ได้มีมาก กำหนดลมเข้าออกอยู่อย่างนั้นแหละ ต่อไปจิตก็สงบ ลมก็จะละเอียดเข้าไป น้อยเข้าไป กายก็จะเบาเข้าไป จิตก็จะสงบไป ความเบากายเบาใจนั้น ก็จะเกิดขึ้นมา จะเป็นกายควรแก่การงาน และจะเป็นจิตควรแก่การงานต่อไป นี่คือการทำสมาธิ ไม่ต้องทำอะไรมาก ให้กำหนดเท่านั้น ต่อไปนี้ให้ตั้งใจทำ กำหนดไป…..

    จิตเราละเอียดเข้าไป การทำสมาธินั้นจะไปไหนก็ช่างมัน ให้เรารู้ทันเอาไว้ ให้เรารู้จักมัน มันก็มีทั้งอารมณ์ มีทั้งความสงบคลุกคลีกันไป มันมีวิตก วิตกคือการจะยกจิตของตน นึกถึงอันใดอันหนึ่งขึ้นมา ถ้าสติของเราน้อย ก็จะวิตกน้อย แล้วก็มีวิจารณ์ คือการตรวจดูตามเรื่องที่เราวิตกนั้น แต่ข้อสำคัญนั้น ต้องพยายามรู้ให้ทันอยู่เสมอ แล้วก็พิจารณาให้ลึกลงไปอีก ให้เห็นว่ามีทั้งสมาธิ และมีทั้งความรู้รวมอยู่ในนั้น
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    อันนี้ขอยกมาอีกที เป็นบทที่ยืนยันว่า ใช้อานาปานสติ+วิปัสสนา
    หรือที่เรียกว่า สมถะ+วิปัสสนา หรือ สมาธิอบรมปัญญา ซึ่งเมื่อ
    พิจารณาแล้ว จะไม่มีการเข้าฌาณแน่นอน เพราะพระท่านเน้นไว้
    ให้รู้ตัวเสมอ มีสัมปชัญญะเสมอ บางท่านอาจคิดว่านี้คือ วิปัสสนา
    ล้วนๆ แต่ไม่น่าจะใช่ เพราะพระสูตรรับรองว่าเป็น หนึ่งในกายคตา
     
  14. ขุนพล พลมณี

    ขุนพล พลมณี บุคคลทั่วไป

    ค่าพลัง:
    +0
    ยังครับคุณเอกวีร์ ที่เขียนมาตามหลวงปู่ชาบอกนี้ เป็นเพียงอุปจารสมาธิ
    ยังไม่เข้าถึงฌาน 2 เพราะยังประกอบด้วยสติระลึกรู้ เป็นการทำอุปจารเพื่อ
    พิจารณาวิปัสนา ถ้าพูดถึงสมถะนำนั้น ต้อง ถึงฌาน 4 ไม่ว่าจะเป็นฌาน 4
    ของปุถุชน ของโสดาบัน เรื่อยมา จะต้องเข้าถึงภวังค์จิต จึงจะเรียกว่าสมถะ

    แล้วค่อยไปจุดที่หลวงพ่อชาบอก คืออุปจาระ เพื่อพิจารณาธรรม

    ส่วนธรรมเอก ผมกำลังหงายท้อง เพราะไม่เคยเรียน แต่จะลองตอบตามการ จิตตัวรู้กระดาษขาวต่อไปครับ ลองดู.
     
  15. เอกวีร์

    เอกวีร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มกราคม 2008
    โพสต์:
    3,972
    ค่าพลัง:
    +3,241
    ดีครับ แบ่งมะนาวกันชิม ลูกเดียวกันมันต้องบรรยายได้ตรงกันบ้างละนะ

    แต่ใครไม่เคยปฏิบัตินี้ น้ำบ่อน้อยฉีดนี้ อย่าเผลอคิดว่าได้รสเปี้ยวนะครับ
    ขอให้ฟังผ่านๆเท่านั้น

    เชิญคุณ ขุนพล ครับ
     
  16. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    เรื่อง ญาณ อะไรนั้นไม่เห็นรู้เรื่องเลย
    จึงไม่รู้จะอธิบายถูกหรือไม่
    วิปัสนาแนวสติปัฏฐานสี่ ผม ปฎิบัติมาอย่างนี้ครับ
    คือ ไม่ต้องไปนั้งสมาธิ เพราะไม่ค่อยมีเวลา
    จึงเลือกที่จะกำหนด รู้ดูลมปัจจุบันทุกขณะ
    ทำอย่างนี้จนชินเป็นนิสัย
    นั่งก็รู้ เดินก็รู้ จิตละเอียดขึ้น เท้าไหนก้าวก่อน ก็รู้ นิ้วเท้าสัมผัสถูกอะไร ก็รู้
    จิตละเอียดขึ้นอีก กายมันเริ่มหาย เห็นแต่อารมณ์ ง่วงก็รู้ สดชื่น ก็รู้ ปวดขา ก็รู้
    เกิดตรงไหน เอาจิตไปตามดูตรงนั้น พอทำไปเรื่อยๆ
    สภาวะธรรมมันเกิดขึ้นมาเอง เห็นแสงบ้าง หน้าร้อนบ้าง ตัวโคลงหมุนบ้าง
    ก็เข้าใจว่ามันไม่ใช่คุณวิเศษใด เป็นเพียงสภาวะธรรม
    เมื่อเข้าอย่างนี้จึงไม่ไปติดในสภาวะ จิตมันก็ไปต่อของมันได้
    เมื่อจิตมันละเอียดขึ้นเรื่อยๆจนลมหายใจก็หายไป เราก็รู้ คือรู้อย่างเดียวไม่ต้องไปยึดมัน
    ตามรู้ตามเห็นด้วยปัญญา ไม่ต้องไปนึกคิด แค่ดูอย่างเดียว ปัญญาเกิดตรงนั้นมันเกิดเอง นั่น.

    สภาจิตที่คงสภาวะรู้อยู่ตลอดเวลา ยืน กิน นั่ง นอน ก็สามารถเห็นธรรมได้ เห็นกิเลสได้ สังเกตรู้ได้ เมื่อมันเห็นซ้ำๆ ก็ชัดเจนขึ้น สุดท้ายก็ละได้ ด้วยปัญญา
    จิตมันก็อยู่กับปัจจุบัน สงบและเย็น ตลอดเวลา

    ส่วนเรื่องความลังเลสงสัยนั้น ผมมีเยอะมาก
    ก็อาศัยศึกษาบ้าง สนทนา ถามผู้รู้บ้าง ก็พอเป็นแนวทางเฉยๆ
    จนวันนึง สังเกตเห็นสภาวะธรรม ตัวรู้ผุด
    คือ เข้าใจว่าจิตเป็นสามธิ จิตขณะว่างจากเรื่องต่างๆ ว่างจากกิเลส ว่างจากสภาวะแค่ชั่วขณะ ความรู้ก็ผุดขึ้นมา เกิดเร็วมาก
    อุปมาเหมือน แสงสว่างวาบในที่มืด พอมันส่วางขึ้นมาเราก็เห็นหมดทุกอย่าง
    รู้อะไรเป็นอะไร แม้แค่แวบเดียว ผู้รู้กล่าวไว้ว่า เป็นปัญญาญาณ
    แค่นึก ยังไม่ต้องไปคิด ก็เห็นและเข้าใจแล้ว มันรู้ของมันเองครับ
    ตั้งแต่นั้นก็คลายสงสัย ไม่ค่อยอยากรู้ อยากถามอะไร แต่จะเอาตัวรู้ไปต่อยอดต่อไป

    ตั้งแต่ตัวรู้ผุด เรารู้เลยว่า เราหลงโง่อยู่ตั้งนาน ตาบอดตั้งนาน

    ที่กล่าวมา ไม่รู้ว่าเกี่ยวกับการละวิกิจฉารึเปล่า..
     
  17. ขุนพล พลมณี

    ขุนพล พลมณี บุคคลทั่วไป

    ค่าพลัง:
    +0
    ++ชัวร์ ไม่มั่วนิ่ม

    อันว่าธรรมเอก หรือกายคตานั้น ที่ผุดขึ้นตามพระไตรปิฎก ที่ต่างๆนั้น ที่จริงแล้วเป็นธรรมตัวเดียวกัน เพียงแต่เขาแยกออกไปอยู่ในหมวดต่างๆ เพื่อกันตกหล่น สูญหาย
    ถ้าพูดถึงธรรมเอกต้องพูดถึงต้นตอเรื่อง สติปัฏฐาน 4 นั้นคือธรรมสายเอก เป็นไปเพื่อนิพพาน อันเริ่มด้วย อาณาปนสติ โดยมี กาย เวทนา จิต ธรรม เป็นเครื่องระลึก โดยหวังความที่สุดคือ
    ตัดขาดวิจิกิจฉา ด้วยโสดาบันมรรค ตัดขาดกามราคะสังโยชน์ กามราคานุสัย
    ปฏิฆานุสัย ส่วน หยาบ ด้วย สกทาคามีมรรค ส่วนละเอียดด้วย อนาคามีมรรค
    และสุดท้าย ขาดรูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุจธัจจะ อวิชา มานานุสัย อวิชานุสัย ด้วย อรหันต์มรรค
    ตัดขาดยังไงตรงนี้ครับ..ธรรมเอกนะนี่
    1.เมื่อเราห่วงอยู่ห่วงกิน ฟุ้งเฟ้อตามยุคสมัย ท่านจึงให้พิจารณาลมหายใจ ว่าเราต้องตายเป็นต้นเพื่อละกาย เรียก กายานุวิปัสนา
    2.เมื่อพิจารณาแล้วจะมาติดเวทนา หรือติดสุข คือไม่เดือดร้อนกับร่างกาย ไม่อยากได้อยากมี สุขก็รู้ ทุกข์ก็รู้ ไม่สุขไม่ทุกข์ก็รู้ วนเวียนไป เรียก เวทนานุปัสสนา
    3.เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว จะมาติดที่จิต ทำทุกอย่างให้จิตสบาย อยู่คนเดียว ครุ่นคิด
    ในธรรมเป็นต้น (จุดนี้ที่ท่านถามผม) จุดนี้ต้องรู้อาการของจิต ราคะ โทสะ โมหะ ต้องรู้ให้ได้ว่ามีหรือไม่มี จิตย่อหย่อน ท้อแท้ ฟุ้งซ่านซัดส่าย นี่ต้องรู้
    มหัคคตจิต สอุตตรจิต สมาหิตจิต วิมุตตจิต ต้องรู้ รู้นะครับย้ำ รู้เฉยๆ ไม่ให้ละ
    เรียก จิตตานุปัสสนา
    4.จิตมีอาการชั่ว ต่างๆท่านแบ่งใว้เป็นเพราะ ธรรม 3 อย่าง อย่างต่ำเช่น (1)นิวรณ์ กามฉันทะ++อันนี้ชั่วอย่างเดียว (2) ธรรมอย่างกลางคือขันธ์ 5 อายตนะ 6 นี้ไม่ดี ไม่ชั่ว คนดีก็ใช้ขันธ์ไปทางดี คนชั่วก็ใช้ไปทางชั่ว (3) ธรรมฝ่ายดีมาก เช่น โพชฌงค์ตั้งแต่สติ จนถึงอุเบกขาโพฌชงค์ เรียกว่า
    ธัมมานุปัสสนา ให้รู้อย่างเดียว ดูอย่างเดียว

    โดย แยกจิตออกมาจับอยู่ที่ลมหายใจ เพื่อเป็นผู้ดู ผู้สังเกตุการณ์ จึงเรียกว่ากายคตา ใช้กายสังขาร เป็นผู้ดูขันธ์ ดูเวทนา ดูจิต ดูธรรม อย่างเดียว

    ครบ 4 อย่าง เป็นอุบายเพื่อนิพพาน เรียกธรรมสายเอก ก็จะได้ตัวรู้ ได้กระดาษขาวมา พอทำให้ละเอียด ปราณีต ก็จะตัดได้เรียก อริยะ

    อย่างงี้เรียก หาเหตุเพื่อไปหาผล

    แต่ของผม จากผล ไล่ลงไปหาเหตุ ก็มีค่าเท่ากันแต่ง่ายกว่า ไม่สับสน ได้รู้เห็น
    แปลกๆด้วย ช่วยคนด้วยอำนาจฌานได้ด้วย ถ้าจะลงมาเล่นที่วิปัสสนาก็มาได้
    แต่ไม่ลง ก็จะมาทำไมเมื่อมีของดีกว่าในขั้นสูงแล้ว เลยทรงอารมณ์ที่ได้จากการตัดอวิชาออก เหลือแต่ตัวรู้นั้นใว้

    ผมถึงบอกว่าวิปัสสนาผมรู้ แต่ไม่เกาะที่จิต แต่ไปที่อารมณ์เลย ..
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 28 กุมภาพันธ์ 2008
  18. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    แนะนำทริปเด็ด ครับ

    เวลานั่งสมาธิ ผมนิยมนั่งขณะง่วงนอน จิตจะไปจับอารมณ์ที่เราจำได้
    อาจหมายถึงญาณนะ 1 2 3 4 5 อะไรก้แล้วแต่ จิตมันจำได้ก้เข้าเร็ว
    ทีนี้ตอนนั่งขณะง่วงนอนนี่ จะเห็นสภาวะชัดที่สุด นั่งหัวทิ่ม จิตมันสัปหงก
    ก้รู้ รู้ตลอด แต่ใจมันจะง่วนถ้าเดียว เราก็ตามรู้ไป ไม่ต้องฝืน
    ซักพักหายง่วงเลย สว่างไปหมด เห็นทุกอย่าง อารมณ์ เกิด ดับ
    เห็นอย่างเดียว มันก็เข้าใจของมันเองนะ
     
  19. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    ท่าน ฐาณัฎฐ์ เก่งแล้ว ถูกต้อง

    แต่ ท่าน ขุนพล ยังไม่ถูกต้องอีกมาก ยังไม่แจ้ง แต่ถ้าอยากรู้ว่า ตนเองไม่แจ้งอย่างไร ไม่ต้องบอกผม แต่ให้กลับไปดูว่า
    1 ยังหวั่นๆ ในโลกธรรม หรือไม่
    2 เวลาเกิดทุกข์ ขึ้นมา มองเห็นทางดับ ในทันทีหรือยัง
    3 ขึ้นๆลงๆ สามวันดี สีวันไข้ ในจิตตน เรียกว่า ไม่เสถียร
    4 เบิกบานหรือไม่

    ส่วนเรื่อง สมถะ หรือ วิปัสสนา หรือ เรื่อง วิปัสสนาในฌาณ อะไรเหล่านี้ ผมขี้เกียจอธิบายต่อ เพราะจิตท่านไม่เปิดนี่ จะไปอธิบายต่ออย่างไร

    ก็ ถ้าอยากจะ รู้เรื่องธรรมเอก ที่ผุดขึ้น ซึ่งธรรมเอกนั้นแหละ ที่บางท่านเรียกว่า บรรลุธรรม มันจะเด่นชัดทันที ไม่สงสัย รู้แจ้งในธรรมทั้งปวง รู้ว่าพระพุทธองค์ กล่าวเรื่องอะไร จนคิดว่า เราไม่ต้องรู้ธรรมอะไรแล้ว ธรรมมาอยู่ที่ใจนี้แล้ว

    นั่นแหละเรียกว่า ธรรมเอก ที่ผุดขึ้น ก็ถ้ายังไม่มีตรงนี้ ก็ถาม ท่านเอกวีร์ หรือ ท่านฐานัฏฐ์ ดู เรียกว่า โคตรภูญาณ


    หากใคร มีความเพียร เิดินต่อ จะกลับไปแจ้งใน อุทัพยญาณ หรือ เห็นสรรพสิ่งมีแต่เกิดกับดับอีกรอบ พิจารณาไปเรื่อยๆ จะเห็น แต่การดับไปอย่างเดียว จะมีญาณรู้เห็นขึ้นมาทันที ว่า นี่ปัญญาเราเห็นอะไรมากขึ้นอีก จนสุดท้าย เห็น ตัณหาและ อุปาทาน เกิดตัวรู้ว่า นี่คือ ทาง ที่จะดับทุกข์ จึงเรียกว่า โสดาปัตติมรรคญาณ เป็นโสดาบุคคล หรือ พระอริยะชั้นต้น พระโสดานี้ เกิดญาณขึ้นแล้ว
    เมื่อ เดินมรรคเมื่อไร ก็ได้ผล คือ สงบใจ แต่ไม่มีผลญาณ คือ รู้ในผล เพราะยังไม่อบรม ปัญญาให้แจ้ง จนทบทวนกลับไปกลับมา จนเกิดผลญาณ คือ รู้แจ้งในผล เห็นพระนิพพาน อีกครั้ง นั่นแหละ เป็น โสดาปัตติผล


    ก็ พูดให้ฟังเท่านี้ครับ แล้วทบทวนดู ทุกท่าน ที่ได้ธรรมเอกผุดขึ้นมา ย่อมรู้เห็นเช่นเดียวกัน
     
  20. ขุนพล พลมณี

    ขุนพล พลมณี บุคคลทั่วไป

    ค่าพลัง:
    +0
    ++

    ไม่ถูกแล้ว ตรงนี้เรียกว่า ปิติของผู้สำเร็จอริยะ จะมีลักษณะขนลุกขนพอง ไปจนถึง ฟ้าแลบฟ้าร้อง แผ่นดินสั่นสะเทือน ก็จะรู้เองว่าเรานั้นสำเร็จขั้นไหน อย่ามั่วว่าเรียกธรรมเอก ไปเอามาจากไหน?
     
สถานะของกระทู้:
กระทู้ถูกปิด ไม่สามารถโพสต์ตอบกลับได้

แชร์หน้านี้

Loading...