สติ คืออะไร

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ขันธ์, 13 มิถุนายน 2009.

  1. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    คุณ Amoxy เขามีเหตุผลของเขา ที่คนธรรมดา่ อ่านไม่รู้เรื่อง
     
  2. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    อ่อคงแบบว่าประเภทคนละชั้นฟ้าละสิครับ ออ ท่านขันธ์เอ้ย ผมไม่ได้อ่านของท่านหรอกเพราะมันยาวยืดยาดไม่สามารถเพราะผมไม่อาจเทียบท่านได้ ท่านนั้นสูงส่งเสียผิดมนุษย์มนาเข้าไปแล้ว ท่านยังไม่รู้ตัวเลย ยังจะเที่ยวพาคนนั้นคนนี้ก่อเวรไปเรื่อยอีก ที่ผมถามนั้นเพราะเผื่อว่า คุณอะมอกเขาจะมีแง่คิดที่ดีๆมานำเสนอ มันไม่ใช่แบบเอาแต่ความประมาทอยู่ท่าเดียวแล้วบอกว่า มีสติ มีสติ ดูตัวเองดีๆ ว่าสติมันมีตรงไหน และตรงไหนในตนเองทั้งอดีตที่ผ่านมานั้นเรียกว่ามีสติ จริงๆก็ไม่รู้สึกว่าคุยแล้วจะได้อะไรหรอก เพราะมันก็ไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้เช่นกัน ความที่คิดว่าตนนั้นเลิศเลอกว่าใคร คืออะไรนั้น คนไหนไม่รู้ ผมรู้ของผมคนเดียวก้อได้ หรือตัวเองจะไม่รู้ก้อได้ เพราะยังไงๆคงมีคนสนับสนุนเยอะ ดีเหมือนกัน จะได้ไม่เหงาผมขอเป็นคนเหงาเป็นหมาหัวเน่าอย่างที่คุณเข้าใจและมอบให้ผมรู้สึกดีกว่า เป็นอย่างที่คุณเป็นเพราะมันสูงเสียจน...
     
  3. vergo shaka

    vergo shaka เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    539
    ค่าพลัง:
    +835
    สติอัตโนมัติ กับ สติจงใจให้เป็น สงสัยครับ มันเป็นเช่นไร
    ได้ยินบ่อยมาก.....สติแปลว่าการระลึกได้ แต่การจงใจหมายถึงตั้งมั้นให้เป็นไป..
    มันแตกต่างกันมากไหม หรือ การให้เกิด มหาสติ ต้อง ทำแบบกำหนดรู้หรือจงใจก่อน
     
  4. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    เป็นคำถามที่ดี

    ตอบว่า เวลาที่เราขับรถ แรกๆ ไม่ชำนาญ ก็ต้องพยายามประคับประคอง เตือนตนว่า ต้องทำแบบนั้นต้องระึลึกแบบนี้ แต่เมื่อทำไปจนชำนาญแล้ว เกิดอะไรขึ้นกับตน ก็จะสามารถ จำแนกได้โดยอัตโนมัติ
     
  5. vergo shaka

    vergo shaka เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    539
    ค่าพลัง:
    +835
    อ่า....เห็น ภาพเลย ครับ อ.ขันธ์ ...แบบว่าฝึกฝนควบคุมสิ่งที่ทำให้ระลึกได้เองโดย
    อัตโนมัติ แรกๆอาจฝืนๆแต่หลังๆมันจะกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตเรา โดยการทำซ้ำๆอย่างตั้งใจ
    ขอบคุณๆ....ครับ
     
  6. เรือทุกข์

    เรือทุกข์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    87
    ค่าพลัง:
    +405
    สติคือ การเอาพยัญชนะ ส.เสือ ต.เต่า และสระอิ มารวมกันจึงกลายเป็น "สติ"
    คำว่าสติ คือคำที่สมมติขึ้นมา ภาษาอังกฤษเขาก็ใช้คำว่า consciousness แต่ละประเทศก็เรียกแตกต่างกันไป ผมจึงกล่าวว่าเป็นคำสมมติ
    ถึงภาษาจะต่างกันแต่"ความหมายเดียวกัน"คือ " ความระลึกได้"
    หลายๆ ท่านคงเคยได้เห็นแล้วว่าบุคคล ที่ขาด สติ ความระลึกได้ นั้น เป็นเช่นไร
    ดังที่มีใ้ห้เห็นเป็นประจำ

    ขออนุโมทนาในกุศลจิตทุกๆ ท่านนะครับ

    ____________
    ล้างจาน จงล้างจาน
     
  7. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    หลายๆ คน คิดว่า สติ จะเกิดขึ้นเอง

    สตินี้ จะเกิดขึ้นเองไม่ได้ ระลึกเองไม่ได้ หากเราไม่สะสม

    และ การจะสะสมสติ นี้ ก็คือ การนำใจเข้าไปรู้ ไปกำหนดรู้ใน สิ่งต่างๆ ดงัพระศาสดากล่าวเอาไว้ดังนี้

    [๒๗๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายอยู่อย่างไรเล่า ภิกษุใน
    ธรรมวินัยนี้ ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติ
    ไว้เฉพาะหน้า
    เธอมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า เมื่อ หายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจ
    ออกยาว เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า เรา หายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า เรา
    หายใจออกสั้น เมื่อหายใจเข้า สั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้าสั้น ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้ตลอด กองลมหายใจทั้งปวงหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้ตลอด

    อ่านดูเอาเองว่า พระศาสดากล่าวเอาไว้ว่าอย่างไร
     
  8. อวตาร.

    อวตาร. เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    411
    ค่าพลัง:
    +633
    วรรคที่ ๗
    ปัญหาที่ ๑ ถามอาการแห่งสติ
    http://tamroiphrabuddhabat.com/xmb/viewthread.php?tid=127#ninth


    อยากทราบว่า สติ คือ ส่วนไหนในขันธ์๕ ระหว่าง รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 ตุลาคม 2010
  9. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    สติคือ ส่วนไหน ใน ขันธ์ 5


    ไม่เห็นในขันธ์ 5
     
  10. อวตาร.

    อวตาร. เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    411
    ค่าพลัง:
    +633
    พิจารณาให้เห็นใน ขันธ์๕ แล้วจะเจอ อทิสมานกาย
     
  11. vergo shaka

    vergo shaka เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    539
    ค่าพลัง:
    +835
    ................. อทิสมานกาย คือ อะไร อ่าน ตำราแล้วไม่มีแปล เลยไม่รู้ครับ

     
  12. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    ผมก็ไม่รู้ครับ ว่า อทิสสมานกาย คืออะไร เพราะผมไม่เคยใช้คำนี้
     
  13. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    สติเป็นสภาวะธรรม เป็นนามธรรม เป็นวิชชาที่ต้องอาศัยหลายปัจจัย เช่น ความเห็นชอบ ดำริชอบ ความเพียรชอบ ฯลฯ

    สติเป็นวิชชา สามารถอบรม สามารถพัฒนาได้ สติสามารถทำให้เกิดได้ โดยอาศัยการภาวนา โดยเกื้อกูลกับสมาธิ เป็นต้น

    สติ เป็นวิชชา สามารถทำลายความหลงได้ เมื่อไม่มีหลง โลภก็ไม่เกิด เมื่อไม่มีหลง โกรธก็ไม่เกิด


    ธรรมแนะนำครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 15 ตุลาคม 2010
  14. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,240
    กระทู้เรื่องเด่น:
    54
    ค่าพลัง:
    +4,023
    สติ

    สตินี้ คือว่า ระลึกรู้
    เจตนา ระลึกรู้ กุศล
    ระลึกรู้ ความดับ สิ้นตน
    นั้นจน ระลึกรู้ ตัวธรรม


    สัมปะชัญญะ

    สัมปะชัญญะ นั้นรู้ตัวทั่ว เกลือกกลั้วสิ่งใด ทั้งหมายทั้งมั่น
    ทำเหตุนั้นนี้ เพื่อผลใดกัน ผลนั้นตามมา จากกรรมชั่วดี


    สติ-สัมปะชัญญะ

    รู้โทษรู้ละชั่ว ..........หม่นหมอง สติมี
    รู้รักษาตนครอง .......ความดี สติเลิศ
    รู้ผ่องใสจรด ...........วางกาย สติมหา
    รู้เครื่องดำเนินนี้ .......ตราบสู่ นิพพาน




    * สติและสัมปะชัญญะตามความเข้าใจ ยกมาให้พิจารณาจากทิฐิและความเห็นความจำที่อาจไม่ถูกต้องตรง เพื่อพิจารณาให้ถูกตรงยิ่งขึ้นไป ...
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 15 ตุลาคม 2010
  15. สปาต้า

    สปาต้า Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    242
    ค่าพลัง:
    +46
    หลวงพ่อฤาษีลิงดำ ท่านกล่าวไว้ในมหาสติปัฏฐานสี่

    คำว่าสติเป็นภาษาบาลี บรรดาญาติโยมพุทธบริษัทฟังก็จะรู้สึกอึดอัด ถ้าเราจะใช้คำว่ารู้ๆ แค่นี้ จะสบายกว่า ตัวรู้นี่ก็ได้แก่ตัวสติ
     
  16. ขะหนาน

    ขะหนาน สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 เมษายน 2013
    โพสต์:
    1
    ค่าพลัง:
    +0
    ขออนุญาตท่านผู้รู้ในการเสนอเรื่องที่ผมได้อ่านจากหนังสือ"ตามรอยพระพุทธองค์"เขียนโดยนายสินธพ ทรวงแก้ว อยู่ที่ตำบลในเมือง อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน โดยเขียนถึงการเจริญสติว่า ต้องเริ่มจากปัญญา สมาธิและศีลเป็นขั้นตอนสุดท้าย ซึ่งกลับทางกับแนวปฏิบัติที่บรรดาผู้รู้และปรมาจารย์ทั้งหลายได้ถือปฏิบัิติกันมาอย่างเคร่งครัด โดยเริ่มจากศีลต้องบริสุทธิ์ แล้วฝึกฝนจิตให้เป็นสมาธิจนถึงขั้นเกิดปัญญารู้แจ้งในธรรมทั้งปวง ซึ่งผู้เขียนได้ให้เหตุผลว่าคนธรรมดาต้องให้มีข้อมูลในใจก่อนว่าทุกสิ่งไม่เที่ยง ซึ่งผมพิจารณาเหตุผลดังกล่าวแล้วเห็นว่าแนวทางดังว่านี้เป็นเรื่องของศรัทธาหรือเชื่อก่อนโดยไม่ต้องพิจารณาไตร่ตรองตามแนวทางของพุทธ โดยผ่านการฝึกฝนจากศีลและสมาธิ จึงขอรบกวนท่านผู้รู้พิจารณาด้วยครับ
     
  17. บุคคลทั่วไป 3 คน

    บุคคลทั่วไป 3 คน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,938
    ค่าพลัง:
    +1,253
    เรื่องผลงานเขียน ของ บุคคลที่สมมติว่าเป็น อ.สินธพ อันนั้น ไม่ทราบ ไม่เคยอ่าน

    แต่ ในกรณี สัทธา " ฟังธรรม " ของ พระพุทธองค์ แล้ว รับไว้มั่นคงไม่แปรผัน น้อมไว้ระลึก
    เพื่อเจริญสติ เห็นไปตามความเป็นจริงนั้น มีอยู่

    ๖. สัญญาสูตร
    ว่าด้วยสัทธานุสารีและธัมมานุสารีบุคคล

    [๔๗๔] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปสัญญา ไม่เที่ยง มีความแปรปรวนเป็น
    อย่างอื่นเป็นธรรมดา สัททสัญญา ฯลฯ คันธสัญญา ฯลฯ รสสัญญา ฯลฯ โผฏฐัพพสัญญา
    ธรรมสัญญา ไม่เที่ยง มีอันแปรปรวนเป็นอย่างอื่นเป็นธรรมดา.

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดเชื่อมั่นไม่หวั่นไหวซึ่งธรรมเหล่านี้อย่างนี้ เรากล่าวผู้นี้ว่า สัทธานุสารี ฯลฯ
    เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 เมษายน 2013
  18. บุคคลทั่วไป 3 คน

    บุคคลทั่วไป 3 คน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,938
    ค่าพลัง:
    +1,253
    ถ้าจะให้ อธิบาย

    ก็ คนเราที่เป็น ปุถุชน เวลาร่ำเรียน สิ่งที่ชื่อว่า ปัญญาความรู้ ด้วยเพราะ
    พระพุทธองค์เลือกใช้คำว่า "ปัญญา" ไม่ได้ใช้คำว่า " ญาณ " หรือ "วิชชา"
    คำว่า ปัญญา คำนี้เลยไปพ้องเอากับ การยึดมั่นถือมั่นเรื่องคำว่าปัญญาแบบโลก

    ดังนั้น ปุถุชนคนหนา ย่อมมองเห็นว่า การสดับธรรมะก่อน เรียกว่า มีปัญญา รับ
    ปัญญาเข้ามาก่อน

    ทีนี้ จะต้องรับไปมั่นคงไม่แปรผัน .... อันนี้ ก็หมายถึง เอาไปปฏิบัติธรรม ลงมือ
    ปฏฺิบัติเข้ามา ไม่ใช่แค่ ได้สดับผ่านหูซ้ายทะลุหูขวาก็จะไปประกาศได้ ไม่มีใคร
    จะไปทำแบบนั้นอยู่แล้ว เพราะ วิธีการรับฟังแบบนี้ ลูกเล็ก เด็กแดง ก็รับเข้าหู
    ซ้ายทะลุหูขวาได้

    ความแตกต่างจึงอยู่ที่ น้อมมาปฏิบัติ

    เมื่อนำมาปฏิบัติ ก็แน่นอนว่า จะต้องเกิด สมาธิ อย่างใดอย่างหนึ่ง

    เมื่อเกิด สมาธิ จิตก็จะรู้ว่าอะไรทุกข์ อะไรร้อน อะไรเป็นไปเพื่อรักษา
    อะไรที่ว่า รักษาได้แล้ว

    พอมาเห็นว่า อะไรที่รักษาได้แล้ว จึงเริ่มเห็น ผล ที่เกิดกับ จิต แล้วก็เรียก
    สิ่งนั้นว่า ศีล ความปรกติของชีวิต กาย ใจ

    เลยทำให้ ปุถุชน ที่ยังยึด ปัญญาคือการสดับธรรม ประกาศลำดับ ธรรมเป็น
    ปัญญา สมาธิ แล้ว ก็ตามด้วย ศีล

    แต่ถ้า เราไปนั่งใกล้ คอยสังเกตดีๆ ไม่เอาสิ่งที่เขาพูดให้ฟัง แต่ เราดูจาก
    จรณะ เราจะเห็นว่า เขาจะต้องเริ่มกิจ ของชีวิต จากการกระทำ การสมาทาน
    ตื่นขึ้นมาต้อง ระลึกก่อน ศีล จึงมาก่อน หลังจากนั้น ก็อนุรักษ์ สัมมัปทาน เกิด
    เป็น สมาธิ พอจะกล่าวเล่าขานถึงสิ่งใดก็ต้องตั้งจิตตั้งใจ แล้วค่อยกล่าว ปัญญา
    จะออกมาทีหลัง

    ..... ซึ่ง ภาษา การสื่อสาร มันมี วัจจนะภาษา กับ อวัจนาภาษา

    วัจจนะภาษา จัดเป็น ภาษาปริยัติ

    ส่วน อวัจจนภาษา การดูพฤติกรรม การแสดงออก การเข้าใกล้ คลุกคลี
    เพื่อทราบ จึงเป็น ภาษาปฏิบัติ

    สรุปคือ พิจารณาไปตามวิธีการสื่อสาร ยามใดกล่าว วัจจนะภาษา ภาษาปริยัติ
    ก็ไม่ว่ากัน คนเป็น ภาวนาเป็น ย่อมมอง หรือ เล็งเห็น หรือ พิสูจน์ กันที่ อวัจนะภาษา
    หรือ ภาษาปฏิบัติ เป็นสำคัญ

    แล้ว ถ้าเล็งเห็นว่า ภาษาปริยัติ ของบุคคลทั่วไป มีรสชาติ สู้ ปริยัติของพระพุทธเจ้า
    ไม่ได้ ก็หันมาอ่าน พระไตรปิฏก ไปเลย ไม่ยากหลอก

    แถม ห่างไกล เวรกรรม ด้วย
     
  19. มะหน่อ

    มะหน่อ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    1,652
    ค่าพลัง:
    +1,210
    กาย
    เวทนา
    จิต

    สติ
    สมาธิ
    ปัญญา

    พอมีปัญญาก็ดับปัญญาเสีย
     
  20. สับสน!

    สับสน! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2010
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +3,984
    ..สาธุ.ท่านขันธ์ ชัดเจนเสมอ ชัีดเจนจริงๆ..คิดถึงมาก ขออนุโมทนาครับ ท่านขันธ์ครับ ขอให้สุขภาพแข็งแรง ครับ สาธุ:cool:
     

แชร์หน้านี้

Loading...