พระพุทธศาสนาสอนเรื่องจิตกับอารมณ์เท่านั้น

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ธรรมภูต, 7 มีนาคม 2011.

  1. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    รูป จิต เจตสิก นิพพพานเป็นไฉน???

    รูป

    มหาภูตรูป ๔ เป็นปัจจัยแห่งรูป (พระพุทธพจน์) นั่นคือ รูป เกิดจากมหาภูตรูป ๔ แบ่งเป็น ๒ พวกใหญ่ๆ คือ

    ๑.รูปที่เกิดจากมหาภูตรูป ๔ ที่ไม่มีจิตครอง เรียกว่า อนุปาทินกสังขาร เช่น ก้อนหิน ดิน ทราย ต้นไม้ ใบหญ้า ฯลฯ

    ๒.รูปที่เกิดจากมหาภูตรูป ๔ ที่มีจิตเข้าไปยึดครอง เรียกว่า อุปาทินกสังขาร ได้แก่ มนุษย์และสัตว์(ผู้ข้องในอารมณ์)ทั้งหลาย ฯลฯ

    รูปทั้งหลายดังกล่าวเหล่านี้ ล้วนเป็นอารมณ์ของจิต แต่จะเป็นอารมณ์ที่จิตของตนได้นั้น ก็ต่อเมื่อจิตของตนได้เข้าไปยึดมั่นถือมั่นในสิ่งเหล่านั้นนั่นเอง ด้วยมีอวิชชา ตัณหา อุปาทานครอบงำจิตดวงนั้นอยู่ก่อนหน้า

    ถ้าจิตของตนหมดความยึดมั่นถือมั่นได้แล้ว รูปนั้นๆย่อมไม่ใช่อารมณ์ของจิตดวงนั้น(ของตน) อีกต่อไป อารมณ์(รูป)ก็ยังเป็นอารมณ์(รูป) แต่ไม่ใช่อารมณ์ของจิตดวงนั้น(ของตน) ที่ไม่ได้เข้าไป(หมด)ยึดมั่นถือมั่นในอารมณ์เหล่านั้น เพราะอวิชชา ตัณหา อุปาทานดับไปจากจิตของตน

    เมื่อจิตเข้าไปยึดมั่นถือมั่นในรูป(อารมณ์)เหล่านั้น ทำให้เกิดอาการของจิตที่เนื่องด้วยอารมณ์ที่เรียกว่าอุปาทานขันธ์ตามมา ถ้าจิตไม่เข้าไปยึดถือ ก็ไม่เกิดอุปาทานขันธ์ตามมา (คือจิตที่สามารถปล่อยวางอารมณ์ คือความยึดมั่นถือมั่นในอุปาทานขันธ์ได้)

    อารมณ์(รูป) ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส กายสัมผัส ธัมมารมณ์ จัดแบ่งเป็น ๒ ชั้นคือ
    รูป เสียง กลิ่น รส กายสัมผัส จัดเป็นอารมณ์ชั้นนอก
    ธัมมารมณ์ที่เกิดขึ้นในใจ จัดเป็นอารมณ์ชั้นใน

    จิตอาศัยอยู่ในรูปร่างกายมนุษย์ หรือที่เรียกว่า รูปขันธ์ รูปขันธ์มีทวาร ๕ ตา หู จมูก ลิ้น กาย สำหรับให้จิตใช้รับอารมณ์ชั้นนอก รูป เสียง กลิ่น รส กายสัมผัส (ตา+รูป หู+เสียง จมูก+กลิ่น ลิ้น+รส กาย+กายสัมผัส) ทำให้เกิดอาการของจิตที่เนื่องด้วยอารมณ์ตามมา คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ

    และเกิดอารมณ์ชั้นใน (ธัมมารมณ์) จากอดีตอารมณ์ คือ สัญญา ความจำได้หมายรู้ ซึ่งก็ทำให้เกิดอาการของจิตที่เนื่องด้วยอารมณ์ คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เช่นกัน ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันเกิดขึ้นที่จิตตลอดเวลาทีละอารมณ์ ตลอดชีวิต

    เราเรียกอารมณ์เหล่านั้นว่าอุปาทานขันธ์ ล้วนเป็นทุกข์ ดังมีพระบาลีกล่าวไว้ดังนี้ “ปจฺจุปาทานกฺขนฺธา ทุกขา แปลว่า การยึดมั่นถือมั่นอุปาทานขันธ์ ๕ ล้วนเป็นทุกข์”

    "อุปาทานขันธ์ห้าเป็นไฉน? อุปาทานขันธ์คือรูป อุปาทานขันธ์คือเวทนา อุปาทานขันธ์คือสัญญา อุปาทานขันธ์คือสังขาร อุปทานาขันธ์คือวิญญาณ" (พระสูตร)

    สรุป ขันธ์ ๕ คือ รูปขันธ์ ๑ (รูป) และนามขันธ์ ๔ (เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) หรือก็คือ อารมณ์และอาการของจิตที่เนื่องด้วยอารมณ์ เกิดขึ้นที่จิตและดับไปจากจิต ตลอดเวลาทั้งกลางวันและกลางคืน หรือก็คือ อาการของจิตดวงหนึ่งเกิดขึ้นดวงหนึ่งดับไปนั่นเอง หาใช่จิตเกิดดับไม่

    จิต

    นิยามของจิตจากพระบาลีในจิตฺตวคฺค แห่งพระธรรมบทมีดังนี้
    “ทูรงฺคมํ เอกจรํ อสรีรํ คูหาสยํ เย จิตฺตํ, สญฺญเมสฺสนฺติ โมกฺขนฺติ มารพนฺธนา แปลว่า ผู้ใดสำรวมจิตซึ่งมีดวงเดียว ท่องเที่ยวไปสู่ที่ไกลๆได้ ไม่มีรูปร่าง มีถ้ำเป็นที่อาศัยนี้ไว้ได้แล้ว ผู้นั้นย่อมพ้นจากการพันธนาการของมาร ( คือกิเลส)ได้”

    ทั้งนี้แสดงว่า จิตของแต่ละคนมีดวงเดียว ไม่มีรูปร่างให้แลเห็นด้วยตา นอกจากจะแสดง“ความรู้” ออกมาให้"รู้สึก" โดยผ่านช่องทางซึ่งจิตใช้อาศัยสำหรับติดต่อกับอารมณ์ต่างๆเท่านั้น จิตมีสภาพว่องไวปราดเปรียวเปลี่ยนแปลง กลอกกลิ้นฯลฯในการออกไปรับรู้อารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วก็เปลี่ยนไปรับรู้อารมณ์อย่างอื่นอีกต่อไปตามลำดับอย่างรวดเร็ว(เปลี่ยนแปลง)มาก ตลอดเวลาที่ตื่นนอนอยู่.

    หากพิจารณากันอย่างจริงจังแล้ว จะเห็นได้ว่า หลักธรรมในพระพุทธศาสนา ที่พระพุทธองค์ทรงสอนนั้น ไม่มีอะไรที่นอกเหนือไปจาก "จิต" กับ "อารมณ์" สองอย่างนี้เท่านั้น

    โดยปรมัติแล้วมีเพียง จิต กับ รูปซึ่งเป็นอารมณ์ของจิต อันทำให้เกิดอาการของจิตที่เนื่องด้วยอารมณ์ตามมา เท่านั้น

    เจตสิกธรรมและพระนิพพานนั้น เป็นสิ่งที่เนื่องด้วยจิตทั้งสิ้น เมื่อไม่มีจิตเป็นหลักก็จะไม่มีทั้งเจตสิกและพระนิพพานเกิดขึ้นตามมาได้เลย

    เจตสิกนั้นเป็นเครื่องประกอบ(ปรุงแต่ง)จิต ต้องอาศัยจิตเกิด เป็นสิ่งมีขึ้นมาในภายหลัง เมื่อจิตหลุดพ้นจากเครื่องเศร้าหมอง(ปรุงแต่ง)ทั้งหลาย จิตย่อมบรรลุพระนิพพานนั่นเอง ดังพระพุทธอุทานดังนี้“วิสงฺขารคตํ จิตตํ ตณฺหานํ ขยมชฺคา แปลว่า จิตของเราสิ้นการปรุงแต่งบรรลุพระนิพพานเพราะสิ้นตัณหาแล้ว” (พระพุทธอุทาน)


    จิต คือ ผู้รู้อารมณ์ คือ ธาตุรู้ คือ วิญญาณธาตุ (ไม่ใช่วิญญาณขันธ์)
    อารมณ์ คือ สิ่งที่ถูกจิตรู้ เกิดจากธาตุ ๔ (ดิน น้ำ ลม ไฟ)

    จิตในพระพุทธพจน์แบ่งไว้ดังนี้ โลกียจิต๑ โลกุตตรจิต๑
    โลกียจิตนั้น เป็นจิตที่ติดข้องในโลกคืออารมณ์(รูป) เพราะมีอวิชชา ตัณหา อุปาทานครอบงำจิต ล้วนเป็นจิตที่ยังยึดมั่นถือมั่นสิ่งต่างๆบรรดามีในโลก(อารมณ์)มาเป็นของๆตน ย่อมเวียนตายเวียนเกิดอยู่ในสังสารวัฏฏ์ตลอดกาลนาน เพราะไม่รู้อริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริง จึงยังไม่หลุดพ้นไปได้ แบ่งออกเป็นชั้นๆ เช่น พรหม เทวดา คน สัตว์ทั้งหลาย ฯลฯ

    ส่วนโลกุตตรจิตนั้น เป็นจิตของพระอริยเจ้าชั้นต่างๆ แบ่งเป็นมรรค ๔ ผล ๔ เป็นการแบ่งตามภูมิธรรมของโลกุตตรจิตในแต่ละชั้น ตามกำลังการปล่อยวางอารมณ์ต่างๆ ออกไปจากจิตได้ หรือจิตที่รู้เห็นอริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริงนั่นเอง

    เป็นจิตที่สามารถปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่นในตัณหามานะและทิฏฐิในอุปาทานขันธ์ทั้งหลาย หลุดพ้นจากอวิชชา ตัณหา อุปาทานได้เป็นชั้นๆตามกำลังของจิตในแต่ละชั้น

    ส่วนโลกุตตรจิตชั้นพระอรหันต์นั้น เป็นชั้นจิตที่ปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่นในอุปาทานขันธ์ ๕ ทั้งหลายได้อย่างหมดจดหมดสิ้นหรือที่เรียกว่าสิ้นอวิชชา ตัณหา อุปาทานแล้ว บรรลุพระนิพพาน ดังมีพระพุทธพจน์รับรองไว้ ตามที่ได้ยกมาข้างต้นว่า “จิตของเราสิ้นการปรุงแต่ง(วิสังขาร) บรรลุพระนิพพานเพราะสิ้นตัณหาแล้ว”

    “ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในกาลใดแล ภิกษุละอวิชชาได้แล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว ใน กาลนั้น ภิกษุนั้นก็ไม่ทำกรรมเป็นบุญ ไม่ทำกรรมเป็นบาป ไม่ทำกรรมเป็นอเนญชา เพราะสำรอกอวิชชาเสีย เพราะมีวิชชาเกิดขึ้น เมื่อไม่ทำเมื่อไม่คิด ก็ไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก เมื่อไม่ถือมั่นก็ไม่สะดุ้งกลัว เมื่อไม่สะดุ้งกลัว “ก็ปรินิพพานเฉพาะตน” ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้วกิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี” (พระพุทธพจน์)

    จากพระสูตรก็ชี้ชัดให้เห็นแล้วว่า เมื่อละอวิชชาได้ย่อมต้องละตัณหา ละอุปาทานได้ด้วยเช่นกัน การสำรอกอวิชชา(เจตสิก)ออกไปจากจิตได้ จิตย่อมอิสระและสิ้นการปรุงแต่ง บรรลุพระนิพพานเพราะสิ้นตัณหาแล้ว เช่นกันในขณะนั้น

    พระนิพพานไม่ใช่จิต แต่เป็นคุณลักษณะของจิตที่พ้นวิเศษแล้ว จึงเนื่องด้วยจิตเช่นกัน เมื่อเป็นเช่นนี้ ทำให้เราต้องมาพิจารณาคำว่า ”เจตสิก” คืออะไร?



    เจตสิก
    1. ลักษณะของเจตสิกคือ มีการอาศัยจิตเกิดขึ้น
    2. กิจการงานของเจตสิกคือ เกิดร่วมกับจิต
    3. ผลงานของเจตสิกคือ รับอารมณ์อย่างเดียวกับจิต
    4. เหตุที่ทำให้เจตสิกเกิดขึ้นได้ คือ การเกิดขึ้นของจิต

    จากนิยามของเจตสิก ทำให้เรารู้ว่า เจตสิกเป็นสิ่งที่มาปรุงแต่งจิต เกิดขึ้นมาในภายหลังจิต เมื่อไม่มีจิต เจตสิกก็เกิดไม่ได้เช่นกัน แสดงว่า เจตสิกนั้นเป็นสิ่งแปลกปลอมที่ต้องอาศัยจิตเกิด ทำงานร่วมกับจิต รับอารมณ์เช่นเดียวกับจิต เกิดขึ้นได้เพราะมีจิต เป็นสิ่งแปลกปลอมที่ทำให้จิตเสียคุณภาพไป

    ส่วนโลกุตตรจิตชั้นพระอรหันต์นั้น เป็นจิตที่เปี่ยมไปด้วยคุณภาพ เป็นจิตที่ได้รับความบริสุทธิ์หลุดพ้นด้วยดีแล้วจากเครื่องเศร้าหมองหรือสิ่งแปลกปลอมทั้งหลาย ย่อมบรรลุพระนิพพานเพราะสิ้นตัณหา เมื่อเป็นแบบนี้แล้วยังจะให้โลกุตตรจิตชั้นพระอรหันต์มีเจตสิกเป็นเครื่องประกอบอีกจิตหรือ?

    เมื่อพิจารณาให้ดีแล้ว “เจตสิกธรรม” น่าจะเป็นตัวอวิชชาที่มาเกิดขึ้นที่จิตในภายหลัง เพราะคุณสมบัติของอวิชชา ซึ่งตรงกับนิยามของคำว่าเจตสิกที่ยกมา อวิชชาต้องอาศัยจิตเกิดขึ้น ตั้งอยู่เองลอยๆไม่ได้ จิตที่มีอวิชชาครอบงำย่อมมีการงานและรับรู้อารมณ์ร่วมกับจิต ถ้าไม่มีจิตย่อมต้องไม่มีอวิชชาเช่นกัน

    เมื่อจิตบริสุทธิ์หลุดพ้นด้วยดีแล้วจากอวิชชา ตัณหา อุปาทานแล้ว ย่อมกลายเป็นธรรมธาตุหรือที่เรียกว่าอมตะธาตุ อมตะธรรม ที่ได้รับความบริสุทธิ์ ไม่มีอะไรมาเจือปนได้อีกต่อไปแล้ว ย่อมไม่เวียนว่ายตายเกิดหรือดับตายหายสูญไปไหน เพียงแต่คงสภาพบริสุทธิ์ที่สูญสิ้นไปจาก แม้กามสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะเท่านั้นเอง ดังพระพุทธพจน์ที่มีมาดังนี้

    “เรานั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไป เพื่ออาสวักขยญาณฯลฯ

    เมื่อเรานั้น รู้เห็นอย่างนั้น จิตย่อมหลุดพ้น แม้จากกามสวะ แม้จากภวาสวะ แม้จากอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณว่า พ้นแล้ว ภิกษุนั้นย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้วพรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้วกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.” (พระพุทธพจน์)


    เมื่อพูดถึงความบริสุทธิ์ เราทุกคนย่อมรู้กันดีอยู่แล้วว่า สิ่งนั้นๆต้องเป็นเอกเทศได้รับความบริสุทธิ์หมดจด ไม่มีสิ่งแปลกปลอมอื่นแม้แต่เพียงเล็กน้อย เข้ามาเจือปนให้เสียคุณภาพของความบริสุทธิ์ไป เราจึงเรียกได้ว่า “บริสุทธิ์” ถ้ายังมีสิ่งอื่นแปลกปลอมเข้ามาเจือปนแม้เพียงเล็กน้อย เราก็ไม่อาจเรียกสิ่งนั้นๆ ว่า “บริสุทธิ์”

    พระบาลีในพระพุทธพจน์ก็ชี้ชัดไว้ว่า “เรานั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส” เมื่อจิตที่เป็นธาตุรู้ ทรงไว้ซึ่งความรู้เป็นสมาธิได้รับความบริสุทธิ์ ย่อมเป็นการชี้ชัดว่า จิตที่เป็นธาตุรู้นั้น รู้สักแต่ว่ารู้ บริสุทธิ์ไม่มีสิ่งอื่นเจือปนคือไม่มีอารมณ์กิเลสและอุปกิเลสทั้งหลายเข้ามาเจือปนให้จิตเสียคุณภาพไป คือรู้สักแต่ว่ารู้ จิตเป็นวิสังขาร สิ้นการปรุงแต่ง ไม่ผสมปนเปกับอารมณ์กิเลสหรืออุปกิเลสแม้เพียงเล็กน้อย

    สรุปแล้วพระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ที่อุบัติขึ้นมาในโลกนี้ ล้วนทรงสั่งสอนแต่เรื่อง “จิตกับอารมณ์” เท่านั้น เป็นปรมัติ สูงสุดแล้วในพระพุทธศาสนา ไม่มีอะไรอื่นนอกไปจาก ”จิตกับอารมณ์” นี้อีกเลย

    และัทรงสอนให้ชำระจิตให้บริสุทธิ์ โดยการปฏิบัติสัมมาสมาธิ ตามหลักอริยมรรค ๘ เพื่อให้จิตสงบตั้งมั่นหลุดพ้นจากการครอบงำปรุงแต่งของอารมณ์ เพื่อถึงที่สุดทุกข์ หรือพระนิพพานนั่นเอง

    ขออนุโมทนากับผู้ปฏิบัติทุกๆท่าน
    ขอให้เจริญในธรรมปฏิบัติยิ่งๆขึ้น

    ธรรมภูต

     
  2. ธรรมะสวนัง

    ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,255
    พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงชักชวนให้ชาวพุทธลงมือปฏิบัติสมาธิตาม ดังมีพระดำรัสว่า

    "สมาธึ ภิกฺขเว ภาเวถ, สมาหิโต ยถาภูตํ ปชานาติ
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จงยังสมาธิให้เกิดขึ้นเถิด
    ผู้ที่มีจิตตั้งมั่นแล้ว ย่อมรู้เห็นตามความเป็นจริง ดังนี้"

    ทั้งนี้แสดงให้เห็นว่า จิตที่เป็นสมาธิสามารถสลัดความยึดถืออารมณ์ ความยินดียินร้าย ซึ่งทำให้เกิดความเศร้าหมองออกไปได้อย่างสิ้นเชิง และเปิดสภาพอันประภัสสผ่องใสของตนเอง ให้ปรากฏขึ้นตามเดิมด้วย

    ดังนั้น ผู้ที่สามารถทำจิตให้เป็นสมาธิจนชำนาญคล่องแคล่ว จิตย่อมหลุดพ้นตั้งมั่นอยู่ได้ด้วยตนเอง คือ ไม่ต้องพึ่งพาอารมณ์หรือสิ่งใดๆจากภายนอกเลย และย่อมรู้เห็นตามความเป็นจริง (เห็นอริยสัจ ๔ ) ดังนี้คือ:

    ๑.เห็นจิตที่ส่งออกไปยึดอารมณ์ภายนอกด้วยความยินดียินร้าย เป็น เหตุให้เกิดทุกข์ (สมุทัย)
    ๒.เห็นจิตซัดส่ายเนื่องด้วยอารมณ์นั้นๆ เป็น ทุกข์
    ๓.เห็นว่าการปฏิบัติสัมมาสมาธิ สามารถปล่อยวางอาการต่างๆได้ เป็น มรรค
    ๔.เห็นผลจากการปล่อยวาง ทำให้จิตสิ้นการปรุงแต่ง เป็น นิโรธ

    ถ้าผู้ปฏิบัติสามารถประคองจิตไว้ให้ตั้งมั่นอยู่อย่างต่อเนื่องไม่ขาดสาย ณ ฐานที่ตั้งสติที่ได้อุปโลกน์ไว้ด้วยแล้ว จิตก็ย่อมหลุดพ้นจากการปรุงแต่งใดๆอย่างสิ้นเชิงและเป็นการถาวรตลอดไป

    ผู้ปฏิบัติผู้นั้นก็ย่อมเข้าถึงสภาพแท้จริงของพระพุทธศาสนา และจิตย่อมบริสุทธิ์ปราศจากกิเลสเครื่องเศร้าหมองทั้งหลายด้วย

    ธรรมประทีป ๙ ธรรมะภาคปฏิบัติ อ.ไชยทรง จันทรอารีย์ หน้า ๑๐๗-๑๐๘

    [​IMG]
     
  3. โชแปง

    โชแปง Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    851
    ค่าพลัง:
    +63
    ตกลงนิพพานเป็นไฉน!!




    พราหม์ ฮินดู ก็สอนจิต พัฒนาจิตสู่ความบริสุทธิ์

    วิทยาศาสตร์สมัยใหม่ ก็สอนเรื่อง EQ IQ นั่นก็อารมณ์ ซึ่งใครๆก็รู้

    ถ้ามีอะไรมากกว่าจิต และ อารมณ์ ช่วยอธิบายหน่อย
     
  4. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    นี่เป็นความประมาทของผู้พูด ศาสนาใดๆ ก็สอนให้คน ทำจิตให้บริสุทธิ์ ให้กำจัดกิเลสทั้งสิ้น

    เพียงแต่ วิธีการ ที่ไปถึง ต่างหากที่แตกต่างกัน

    วิธีการ ที่ศาสนาพุทธ สอนไม่มีปิดบัง นั้น คือ ศีล สมาธิ ปัญญา

    องค์ปัญญา พระศาสดา ท่านก็สอน ให้เจริญ มหาสติ จ่อลงสู่ ระดับ จิต ระดับ ธรรม

    คนสุดโต่งก็ไป ฉีก ไปทำลาย พระศาสนา ให้เหลือแต่ อนัตตา

    โดยอ้างว่า อนัตตา นั้นคือ คำสอนที่แท้จริง นี่พวกคนโง่ นะ

    วิธีการกำจัดกิเลส ทำจิตให้บริสุทธิ์ นั้น มีองค์ธรรม ทั้งหมด ตามที่พระศาสดากล่าวมานั่นแหละ

    แต่ คนโง่ ยังสังเกตุไม่ทัน ยังมีมหาสติไม่มากพอ ก็ไปจมปลักแต่อนัตตา
     
  5. โชแปง

    โชแปง Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    851
    ค่าพลัง:
    +63

    วืดตลอด เข้าใจกันคนละเรื่องเลย

    เชื่ออาแปะเขาเถอะลุง ไปกินยาตามหมอนัด :cool:
     
  6. มังคละมุนี

    มังคละมุนี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    246
    ค่าพลัง:
    +608
    ฝากถึงคุณภูตให้พิจารณา

    ผมมีธรรมะ จาก พระไตรปิฎก มาฝากคุณธรรมภูต ด้วยใจที่เคารพโดยเฉพาะ ข้อ ๘๗

    ด้วยความเคารพ คุณธรรมภูต จาก มังคละมุนี


    [​IMG]
    [​IMG]
    ข้อความน่ารู้จากพระไตรปิฎก
    [​IMG] [​IMG][​IMG][​IMG] [​IMG]
    ๘๔. ศีลวิบัติ ทิฏฐิวิบัติ
    ในธรรมเหล่านั้น ศีลวิบัติเป็นไฉน ? ความก้าวล่วง(วิติกกมะ) ทางกาย ความก้าวล่วงทางวาจา ความก้าวล่วงทั้งทางกาย และทางวาจา. นี้เรียกว่าศีลวิบัติ. แม้ความเป็นผู้ทุศีล ทุกอย่าง ก็ชื่อว่า ศีลวิบัติ
    ในธรรมเหล่านั้น ทิฏฐิวิบัติเป็นไฉน ? ความเห็นอย่างนี้ว่า ทานไม่มี, การบริจาคไม่มี, การบูชาไม่มี, ผลวิบากของกรรมที่ทำดี ทำชั่ว ไม่มี, โลกนี้ไม่มี, โลกหน้าไม่มี, มารดาไม่มี, สัตว์โอปปาติกะ ไม่มี, สมณพราหมณ์ที่ประพฤติชอบปฏิบัติชอบ ซึ่งรู้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วประกาศให้ทราบถึงโลกนี้ โลกหน้า ไม่มี. นี้เรียกว่าทิฏฐิวิบัติ. แม้มิจฉาทิฏฐิ(ความเห็นผิด) ทุกอย่าง ก็ชื่อว่าทิฏฐิวิบัติ.
    ๘๕. ศีลสัมปทา ทิฏฐิสัมปทา
    ในธรรมเหล่านั้น ศีลสัมปทาเป็นไฉน ? ความไม่ก้าวล่วงทางกาย ความไม่ก้าวล่วงทางวาจา ความไม่ก้าวล่วงทั้งกายและวาจา. นี้เรียกว่าศีลสัมปทา. แม้ความสำรวมในศีลทุกอย่าง ก็ชื่อว่าศีลสัมปทา.
    ในธรรมเหล่านั้น ทิฏฐิสัมปทาเป็นไฉน ? ปัญญาอย่างนี้ว่า ทานมี, การบริจาคมี, การบูชามี, ผลวิบากของกรรมที่ทำดี ทำชั่วมี, โลกนี้มี, มารดามี, บิดามี, สัตว์โอปปาติกะมี, สมณพราหมณ์ที่ประพฤติชอบ ปฏิบัติชอบ ซึ่งรู้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง แล้วประกาศให้ทราบถึงโลกนี้ โลกหน้า มี. นี้เรียกว่าทิฏฐิสัมปทา แม้สัมมาทิฏฐิทุกอย่าง ก็เรียกว่าทิฏฐิสัมปทา.

    อภิธัมมปิฎก สังคณี ๓๔/๓๓๖​
    ๘๖. ธรรมที่มีอารมณ์และไม่มีอารมณ์
    ธรรมที่มีอารมณ์เป็นไฉน? กุศลในภูมิ ๔ , วิบากในภูมิ, กิริยาอัพยากฤต ในภูมิ ๓. ธรรมเหล่านี้มีอารมณ์.
    ธรรมที่ไม่มีอารมณ์เป็นไฉน ? รูป นิพพาน. ธรรมเหล่านี้ ไม่มีอารมณ์.

    ๓๔/๓๓๖​
    ๘๗. ธรรมที่เป็นจิตและไม่ใช่จิต
    ธรรมที่เป็นจิตเป็นไฉน? จักขุวิญญาณ (ความรู้แจ้งอารมณ์ทางตา) โสตวิญญาณ(ความรู้แจ้งอารมณ์ทางหู) ฆานวิญญาณ(ความรู้แจ้งอารมณ์ทางจมูก) ชิวหาวิญญาณ(ความรู้แจ้งอารมณ์ทางลิ้น) กายวิญญาณ (ความรู้แจ้งอารมณ์ทางกาย) มโนวิญญาณ (ความรู้แจ้งอารมณ์ทางใจ). ธรรมเหล่านี้ เป็นจิต.
    ธรรมที่ไม่ใช่จิตเป็นไฉน? เวทนาขันธ์ (กองเวทนา) สัญญาขันธ์ (กองสัญญา) สังขารขันธ์ (กองสังขาร) รูป และ นิพพาน ธรรมเหล่านี้ ไม่ใช่จิต.

    ๓๔/๓๖๗​
    ๘๘. ธรรมที่เป็นเจตสิกและไม่ใช่เจตสิก
    ธรรมที่เป็นเจตสิกเป็นไฉน? เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ . ธรรมเหล่านี้ เป็นเจตสิก.
    ธรรมที่ไม่ใช่เจตสิกเป็นไฉน ? จิต, รูป, นิพพาน. ธรรมเหล่านี้ ไม่ใช่เจตสิก.
    ๘๙. ธรรมที่ประกอบและไม่ประกอบกับจิต
    ธรรมที่ประกอบจิต (จิตตสัมปยุต) เป็นไฉน? เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์. ธรรมเหล่านี้ประกอบกับจิต.
    ธรรมที่ไม่ประกอบกับจิต (จิตตวิปปยุต) เป็นไฉน? รูป นิพพาน. ธรรมเหล่านี้ ไม่ประกอบกับจิต. จึงไม่ควรกล่าว ทั้งว่าประกอบกับจิต ทั้งว่าไม่ประกอบกับจิต.

    ๓๔/๓๖๗​
    ๙๐. ธรรมที่ระคนและไม่ระคนกับจิต
    ธรรมที่ระคนกับจิต (จิตตสังสัฏฐะ) เป็นไฉน? เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์. ธรรมเหล่านี้ ระคนกับจิต.
    ธรรมที่ไม่ระคนกับจิต (จตตวิสังสัฏฐะ) เป็นไฉน? รูป นิพพาน. ธรรมเหล่านี้ ไม่ระคนกับจิต. จึงไม่ควรกล่าว ทั้งว่าระคนกับจิต ทั้งว่าไม่ระคนกับจิต.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กุมภาพันธ์ 2017
  7. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕
    มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์

    ผู้ถึงพร้อมด้วยสิกขาสาชีพ

    [๖๓๙] ภิกษุนั้นประกอบด้วยศีลขันธ์ อันเป็นของพระอริยะ
    ด้วยอินทรีย์สังวรอันเป็นของพระอริยะ
    และด้วยสติสัมปชัญญะอันเป็นของพระอริยะเช่นนี้

    ย่อมเสพเสนาสนะอันสงัดคือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า
    ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง
    เธอกลับจากบิณฑบาต ในเวลาภายหลังภัต
    นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า

    เธอละความโลภ คืออภิชฌา
    มีใจปราศจากความโลภอยู่ *ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอภิชฌา

    ละความประทุษร้าย คือพยาบาท ไม่คิดพยาบาท
    มีความกรุณาหวังประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์ทั้งปวงอยู่
    *ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความประทุษร้ายคือพยาบาท

    ละถีนมิทธะ ปราศจากถีนมิทธะ มีความกำหนดหมายอยู่ที่แสงสว่าง
    มีสติสัมปชัญญะอยู่ *ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากถีนมิทธะ

    ละอุทธัจจกุกกุจจะเป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบ ณ ภายในอยู่
    *ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอุทธัจจกุกกุจจะ

    ละวิจิกิจฉาข้ามวิจิกิจฉา ไม่มีความสงสัยในกุศลธรรมทั้งหลายอยู่
    *ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากวิจิกิจฉา.

    พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๓ - พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๕
    ^
    ^
    พระพุทธพจน์ ของพระพุทธองค์ย่อมชัดเจนโดยอรรถโดยธรรมในตัว
    โดยเฉพาะในมหาประเทศ๔ พระพุทธองค์ก็ทรงตรัสไว้ชัดเจนว่า
    เมื่อมีใครมากล่าวว่า นั่นเป็นคำสอนของเราตถาคต ถึงจะเป็นภิกษุที่ทรงธรรมเพียงใดๆก็ตาม
    ต้องนำมาเทียบเคียงกับพระสูตรและพระวินัยว่าลงกันได้มั้ย?
    ถ้าลงกันไม่ได้ ให้ปัดทิ้งเสีย ว่านั่นไม่ใช่คำสอนของเราตถาคตฯลฯ


    ภิกษุย่อมมีปฏิปทาในการเสพเสนาสนะอันสงบสงัดจากสิ่งรบกวน
    เพื่อเอาเวลามาอบรมกาย อบรมจิต โดยนั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า
    จิตย่อมมีกำลังสติปํญญาที่เพียรสร้างขึ้นมาที่จิต จิตสามารถละนิวรณ์ทั้งหลายทั้งมวลได้
    ถ้าจิตเกิดดับรวดเร็วมากอย่างที่ตำราว่าไว้ เราจะอบรมจิตที่เกิดดับดวงไหน?

    ถ้านิวรณ์ธรรมเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมาพร้อมกับจิตแล้ว
    จิตจะละนิวรณ์ธรรมเหล่านั้นออกไปให้จิตบริสุทธิ์ได้ด้วยหรือ?
    เพราะจิตมีสภาพธรรมเป็นเพียงธาตุรู้ เมื่อรู้ผิดจากความเป็นจริง
    จึงไปยึดฯเอานิวรณ์ธรรมทั้งหลายมาเป็นของๆตน

    จึงต้องลงมือปฏิบัติอริยมรรคมีองค์๘ เพื่อชำระให้จิตบริสุทธิ์หมดจดจากเครื่องเศร้าหมองได้

    เจริญในธรรมทุกๆท่าน
     
  8. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    เทวธาวิตักกสูตร....2

    เรานั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจาก
    อุปกิเลส อ่อน ควร แก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ จึงโน้มน้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ
    ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
    เหล่านี้อาสวะ นี้อาสวสมุทัย นี้อาสวนิโรธ นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา

    เมื่อเรานั้นรู้เห็นอย่างนี้ จิตจึงหลุดพ้นแล้ว แม้จากกามาสวะ แม้จากภวาสวะ แม้จากอวิชชาสวะ
    เมื่อจิตหลุดพ้นแล้วก็มีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว
    กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดังนี้


    ดูกรภิกษุทั้งหลาย วิชชาที่สามนี้แล เราบรรลุแล้วในปัจฉิมยามแห่งราตรี
    เรากำจัดอวิชชาเสียแล้ว วิชชาจึงบังเกิดขึ้น กำจัดความมืดเสียแล้ว ความสว่างจึงบังเกิดขึ้น
    ก็เพราะเราไม่ประมาท มีความเพียรเครื่องเผากิเลส ส่งตนไปอยู่ฉะนั้น.

    �����ûԮ�������� �� - ����ص�ѹ��Ԯ�������� �
    ^
    ^
    พระพุทธพจน์ของพระพุทธองค์ ย่อมชัดเจนไม่คลุมเครือให้ต้องตีความใดๆเลย
    อย่าพยายามทำลายหรือลดความน่าเชื่อถือของพระพุทธองค์ให้ลดน้อยลง
    ทุกวันนี้กลับมองข้ามหัวใจพระพุทธศาสนา ที่พระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ทรงสอนไว้
    พระพุทธศาสนาสอนเรื่อง ชำระจิตให้บริสุทธิ์
    คำสั่งสอนของพระพุทธองค์ซึ่งเป็นพระบรมศาสดาของ
    ชาวพุทธทั้งหลายนั้น สามารถแบ่งออกได้เป็น ๓ ประการ
    ดังนี้ คือ
    ๑.สพฺพปาปสฺส อกรณํ คือ การไม่ทำบาปให้เกิดขึ้น
    ด้วยประการทั้งปวง อันได้แก่ คำสั่งสอนเกี่ยวกับศีล วินัย
    ข้อห้ามต่างๆ ซึ่งจะป้องกันพุทธบริษัทผู้ปฏิบัติตาม ไม่ให้
    ตกไปสู่ที่ชั่ว หรือได้รับความเดือดร้อนนานาประการจาก
    การอยู่ร่วมกันในสังคม.
    ๒.กุสลสฺสูปสมฺปทา คือ การทำกุศลให้ถึงพร้อม ได้
    แก่ คำสั่งสอนที่เกี่ยวกับการทำความดี ซึ่งจะทำให้เกิดความ
    สงบสุขขึ้นในสังคม.
    ๓.สจิตฺตปริโยทปนํ คือ การชำระจิตให้บริสุทธิ์ผ่อง
    แผ้วปราศจากกิเลสต่างๆที่จะทำให้จิตเศร้าหมอง.
    คำสั่งสอนของพระพุทธองค์ทั้ง ๓ ข้อนี้ ทรงแบ่งออก
    เป็นขั้นๆดังนี้ คือ ใน ๒ ข้อแรก ทรงสอนเรื่องเกี่ยวกับการ
    รักษากายกับวาจา และทรงสอนเรื่อง การชำระจิตให้บริ
    สุทธิ์ ในข้อสุดท้าย เพื่อให้พุทธบริษัทปฏิบัติตาม.
    แต่เนื่องจากทั้งกายและวาจานั้นอยู่ใต้การบังคับบัญชา
    ของจิต ดังนั้นเรื่องใหญ่ใจความก็ไปตกที่ข้อสุดท้ายทั้งหมด
    เพราะว่า ถ้าทำจิตให้บริสุทธิ์ผ่องแผ้วเสียอย่างเดียวเท่านั้น
    ก็ย่อมจะทำให้กายและวาจา ซึ่งอยู่ใต้การบังคับบัญชาของ
    จิตดีตามไปด้วยในตัว.

    อนึ่ง เป็นที่น่าสังเกตว่า หลักธรรมเรื่อง การชำระจิต
    ให้บริสุทธิ์นี้ มีอยู่เฉพาะในคำสั่งสอนของพระพุทธศาสนา
    นี้เท่านั้น ถึงแม้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ได้ตรัสรู้ไปแล้วใน
    อดีตหรือที่จะมาตรัสรู้ในอนาคตทั้งหลายอีกกี่พระองค์ก็ตาม
    ล้วนแล้วแต่มีคำสั่งสอนให้ชำระจิตให้บริสุทธิ์ทั้งสิ้น.
    ดังพระบาลีว่า “อธิจิตฺเต จ อาโยโค เอตํ พุทฺธานสาสนํ แปลว่า
    การทำให้จิตมีธรรมอันยิ่ง เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย”.
     
  9. มังคละมุนี

    มังคละมุนี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    246
    ค่าพลัง:
    +608
    ไม่ขัดกัน

    เท่าที่ผมอ่านเปรียบเทียบเฉพาะความตามพระไตรปิฎก
    ที่คุณธรรมภูต ยกมาแสดง
    กับที่มังคละมุนี ยกมาแสดง
    ก็ไม่เห็นมีความใดที่ขัดแย้งกันเลย

    ผมจึงสงสัยว่าทำไม คุณธรรมภูต จึงมักจะแย้งกับ เพื่อนๆสหธรรมมิก ว่า
    วิญญาณขันธ์ ไม่ใช่ จิต
     
  10. มังคละมุนี

    มังคละมุนี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    246
    ค่าพลัง:
    +608
    กว้างมาก

    พระพุทธศาสนาสอนเรื่องจิตกับอารมณ์เท่านั้น

    เป็นหัวข้อกระทู้ที่ คุณธรรมภูต ตั้งขึ้น

    ผมขอเสริมนิดเดียวคือว่า เท่าที่ผมศึกษาพุทธศาสนามา จากหนังสือ ครูอาจารย์ และ กับตัวเอง พบว่า

    พระพุทธศาสนาสอนเรื่อง ทุกข์ กับ ความดับไปแห่งทุกข์ เท่านั้น

    ขยายความคือการสอน อริยสัจจ์๔
    ๑.ทุกข์
    ๒.เหตุเกิดแห่งทุกข์
    ๓.ความดับทุกข์
    ๔.ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์

    ส่วนที่คุณธรรมภูตยกขึ้นเป็นหัวข้อนั้นคือ จิต กับ อารมณ์ มันกว้างมากๆ ไม่ได้ระบุเป้าหมาย โดยเฉพาะ ในหัวข้อกล่าวในลักษณะฟันธง แต่คำที่มาประกอบกลับมีความหมายกว้างมาก

    จึงวิพากษ์มา
    ด้วยความเคารพครับ ขอบคุณครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 มกราคม 2012
  11. kengkenny2

    kengkenny2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    592
    ค่าพลัง:
    +289
    รู้ได้อย่างไรว่ามีจิต ถ้าไม่เอาตามตำรานะ เมื่อรู้สึกเกิดความรู้สึกขึ้น กายหรือจิตที่เป็นผู้ทราบ แล้วทำไมถึงไม่ยอมรับว่าหากไม่มีกายคือขันธ์ทั้ง ๕ ก็ไม่อาจรู้ได้ว่ามีจิต อันนี้พูดในสิ่งที่เกิดขึ้นจริงและจับต้องได้นะ ไม่ได้ไปยกภูตผีเทวดามาปราศรัยด้วยนะครับ เพราะผมถือว่าจิตเป็นฝ่ายนาม ของทุกสิ่ง เป็นบัญญัตืเพื่อการยอมรับการมีตัวตนเป็นอยู่คือ หากรู้เห็นเพียงลอยๆ เป็นแต่เพียงว่าแรกเริ่มเดิมทีมันบริสุทธิ์มันก็จะยิ่งฉงนไปใหญ่ว่าถ้ามมันบริสุทธิ์แล้วทำไมมันยังต้องทุกข์ทรมารอยู่เล่า และหากกิเลสจรมาทำให้ใจมันแปดเปื้อนมัวหมอง ก็แล้วถ้างั้นกิเลสจรมานั้นมาได้อย่างไรเอาสิ่งใดเป็นตัวรับรู้ เข้ามาลอยๆ หรือเข้าทางขันธ์ทั้ง ๕
    สาธุคั๊บ
     
  12. มังคละมุนี

    มังคละมุนี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    246
    ค่าพลัง:
    +608
    โต๊ะ มี จิตหรือ ไม่
    คน มี จิตหรือ ไม่

    ลองเอาฆ้อน ทุบ โต๊ะ แล้ว
    ลองเอาฆ้อน ทุบ คน

    แล้วจะพบความแตกต่าง
    ที่ ไม่มีจิต กับ
    ที่ มีจิต
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 มกราคม 2012
  13. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    มีคนแซวมาว่า ฆ้อนเป็นธาตุ คนก็เป็นธาตุ

    เมื่อธาตุ กระทบธาตุ ย่อมเกิดธาตุ

    อุปมามือซ้าย กระทบมือขวา ย่อมเกิดเสียง

    ธาตุที่เกิดใหม่ภายหลัง จริงๆแล้ว มี หรือ ไม่มี ถ้าขณะนั้นไม่มีจิตเข้าไปรู้ ^^
     
  14. มังคละมุนี

    มังคละมุนี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    246
    ค่าพลัง:
    +608
    เมื่อธาตุ กระทบธาตุ ย่อมเกิดธาตุ

    อันนี้ไม่แน่ ดูอย่างธาตุ๖ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ อากาศธาตุ(ธาตุว่าง) วิญญาณธาตุ

    อากาศธาตุ กระทบ ธาตุอื่นๆ ก็ไม่เห็นจะเกิด ธาตุใหม่

    ไม่ว่าจิตจะรับรู้หรือไม่ก็ตาม
     
  15. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    เป็นปัญหาเชาว์น่ะ

    เพราะจะรู้ได้ต้องอาศัยอายตนะเป็นนายทวาร

    เสียงกระทบโสตปสาท โสตวิญญาย่อมปรากฏ ทำกิจได้ยิน ขณะนั้นได้ยินมีอยู่

    ที่คิดว่าเสียงมี ทั้งที่เสียงยังไม่ปรากฏ เช่นนึกถึงเสียงตบมือ ขณะนั้น คือสัญญา



    เรื่องอากาศธาตุเกินปัญญาแล้ว ^^
     
  16. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    .............นี่แหละพี่ อวิชชาปัจจัย สังขาร,,,,,,,อวิชาคืออะไร คือการไม่รู้อริยสัจสี่.........ไม่รู้ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค......ทุกข์คือปัจจุปาทานักขันธิ์ สมุทัย คือตัณหานันทิราคะ............โดยความเป็นจริง สมุทัยควรละ เพื่อการไม่ก้าวลง ใน ภพ(กามภพ รูปภพ อรูปภพ) ชาติ(การก่อแห่งขันธิ์ว่าเป็นเรา).......ทีนี้พี่หลง อาจจะหา มรรค เจอ นะครับ:cool:(เพราะท้ายประโยคพี่หลง ตอบถูกแล้ว ว่าถ้า ขณะนั้นไม่มีจิตวิญญาน เข้าไปรู้:cool: ตัณหานี่เองที่ควรละ
     
  17. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    แหม่....

    จะพูดไงดีหนอ ^^
     
  18. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    ไม่ต้องพูด พี่ ทำไว้ในใจก็พอ .........ฮุย ฮา!!!:cool:
     
  19. ฐาณัฏฐ์

    ฐาณัฏฐ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2008
    โพสต์:
    6,197
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,075
    ดูดีๆแล้วกัน มันมีสภาวะของมันอยู่
     
  20. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    ..............ผมรู้น่าพี่หลง...........การมีนันทิราคะ นั้นแหละ...แต่พี่หลงคิดว่าเราต้องไปรู้อย่างอื่นหรือเปล่า? ,มรรคนั้นแหละ สัมมาทิฎฐิ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ และ องค์มรรคอีก หลายองค์....ถ้าพอดี ก็ ดีพอ:cool:
     

แชร์หน้านี้

Loading...