หลวงปู่แหวนมาโปรดในนิมิตร(ฝัน)

ในห้อง 'หลวงปู่แหวน' ตั้งกระทู้โดย psombat, 18 มีนาคม 2010.

  1. IT Man

    IT Man ชีวิตที่เหลือ เพื่อพุทธองค์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    4,243
    ค่าพลัง:
    +8,388
    พระพุทธรูป และ จีวรพระสงฆ์ ได้แบบจาก กรีก-โรมัน
    [​IMG]

    [​IMG]
    พระพุทธรูป หมายถึงรูปพระพุทธเจ้า มีทั้งรูปปั้น รูปหล่อ รูปแกะสลัก รูปวาด เป็นปางต่างๆ หรือลีลาต่างๆ ตามพุทธประวัติและชาดก แต่ในสมัยพระพุทธเจ้ามีพระชนม์ตั้งแต่ตรัสรู้จนปรินิพพาน ยังไม่มีพระพุทธรูป

    [COLOR=#00000]กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ [/COLOR]:
    แม้ยุคพระเจ้าอโศกมหาราช ครองราชย์ พ.ศ.218 สวรรคตเมื่อ พ.ศ.255 ที่ทรงเป็นธรรมิกราชและจักรพรรดิราช องค์เอกอัครศาสนูปถัมภกผู้ยิ่งใหญ่ ก็ยังไม่มีพระพุทธรูป มีแต่รูปสัญลักษณ์เกี่ยวกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เช่น ต้นโพธิ์ตรัสรู้ เป็นต้น
    พระพุทธรูปที่ทำเป็นรูปร่างเหมือนมนุษย์ มีขึ้นครั้งแรกราวหลัง พ.ศ.500 หรือมีขึ้นหลังพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานไปแล้วมากกว่า 500 ปี
    ที่สำคัญคือพระพุทธรูปองค์แรกที่มีในโลก ไม่ใช่ฝีมือคนพื้นเมืองชาวชมพูทวีป หรือชาวอินเดียโบราณ แต่เป็นฝีมือชาวกรีกที่แผ่ขยายเข้ามาตั้งหลักแหล่งถิ่นฐานในชมพูทวีป ตั้งแต่ยุคกษัตริย์อเล็กซานเดอร์ ระหว่าง พ.ศ.213-220 แล้วสืบมาอีกนานจนถึงหลัง พ.ศ.500 ฉะนั้น เครื่องนุ่งห่มของพระพุทธรูป เช่น จีวร สบง จึงเป็นอย่างกรีกยุคนั้น แล้วถือเป็นแบบอย่างของพระสงฆ์สืบจนปัจจุบัน
    บางตำราอ้างว่ามีตำราพระแก่นจันทน์ บอกเรื่องพระพุทธองค์ทรงมีพระพุทธนุญาตทำพระพุทธรูป แสดงว่าพระพุทธรูปมีมาแต่ครั้งพระองค์ยังทรงมีพระชนม์ เรื่องนี้สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงมีพระอธิบายไว้ในหนังสือ 'ตำนานพระพุทธเจดีย์' ว่าที่จริงตำนานพระแก่นจันทน์แต่งขึ้นหลัง พ.ศ.700 เมื่อมีพระพุทธรูปฝีมือช่างกรีกนานแล้ว

    องค์แรกฝีมือช่างยุคอเล็กซานเดอร์
    สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงมีพระนิพนธ์ย้ำว่า พระพุทธรูปเป็นของพวกกรีก ซึ่งเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาเริ่มคิดประดิษฐ์ขึ้นในคันธารราฐ ครั้งพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชสามารถแผ่อาณาเขตตั้งแต่ยุโรปตลอดมาจนในอินเดียข้างฝ่ายเหนือเมื่อ พ.ศ.217 นั้น ตั้งพวกกรีกที่เป็นแม่ทัพนายกองครองบ้านเมืองรักษาพระราชอาณาเขตตลอดมา เป็นมูลเหตุที่จะมีพวกกรีกมาอยู่ในแผ่นดินอินเดียตอนชายแดนข้างด้านตะวันตกเฉียงเหนือ ซึ่งเรียกว่าอาณาเขตคันธารราฐ
    ต่อมาคันธารราฐก็ตกมาเป็นเมืองขึ้นมคธราฐของพระเจ้าอโศก เพราะฉะนั้นเมื่อพระเจ้าอโศกอุปถัมภ์พระพุทธศาสนาจึงให้ไปประดิษฐานพระพุทธศาสนาในคันธารราฐ เมื่อชาวกรีกเลื่อมใสก็สร้างพระพุทธรูปตามคติกรีกขึ้นมา
    เป็นที่รู้แล้วยอมรับทั่วกันทั้งโลก ว่าพระพุทธรูปแบบแรกในโลกทำโดยฝีมือช่างกรีกเป็นต้นแบบให้ทำพระพุทธรูปต่อมาอีกนานจวบจนถึงทุกวันนี้ ลักษณะสำคัญอย่างหนึ่งคือจีวร หรือผ้าเหลืองก็เป็นอย่างเดียวกับผ้าห่มของพวกกรีกด้วย เรื่องนี้ศาสตราจารย์หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล ทรงมีพระอธิบายว่า พระพุทธรูปแบบคันธารราฐเจริญขึ้นในแคว้นคันธาระ ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศอินเดีย หรือที่เป็นประเทศปากีสถานในปัจจุบัน เชื่อกันว่าเป็นศิลปะแบบแรกที่กล้าสร้างพระพุทธรูปขึ้นเป็นรูปมนุษย์
    ดินแดนทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศอินเดีย เคยเป็นที่ซึ่งชนชาติกรีกเข้าครอบครองมาตั้งแต่ครั้งพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช ทรงยกทัพเข้าไปรุกรานดินแดนแถบลุ่มแม่น้ำสินธุในราว พ.ศ.217-218 และต่อมาชาวโรมันก็ตามเข้าไปค้าขายบ้าง ด้วยเหตุนั้นทั้งพระพุทธรูปและรูปบุคคลต่างๆ ในศิลปะคันธารราฐ จึงมีหน้าตาเป็นฝรั่งทั้งสิ้น
    พระพุทธรูปเป็นรูปมนุษย์ที่ช่างชาวกรีก-โรมันทำขึ้นนั้น พระพุทธองค์ได้ปรินิพพานไปแล้วร่วม 600 กว่าปี แต่ช่างก็ยังสามารถทำให้บุคคลโดยทั่วไปยอมรับว่าประติมากรรมที่ตนคิดขึ้นนั้นเป็นพระพุทธรูปได้ ในการนี้ช่างได้อาศัยสิ่งต่างๆ 3 อย่าง คือ
    หนึ่ง ความงามหรือสุนทรียภาพตามแบบฝรั่งช่างกรีก-โรมัน เป็นต้นว่าพระพักตร์ก็งามตามแบบฝรั่ง มีพระนาสิกโด่ง พระโอษฐ์เล็ก พระขนงวาดเป็นวงโค้งมาบรรจบกันเหนือดั้งพระนาสิก ประภามณฑลเป็นรูปวงกลมเกลี้ยงอยู่เบื้องหลังพระเศียรเช่นเดียวกับเทวรูปอพอลโลของกรีก จีวรที่ครองก็เป็นผ้าหนา ส่วนใหญ่ห่มคลุมทั้งสองบ่า ริ้วเป็นริ้วใหญ่ตามธรรมชาติ คล้ายการห่มผ้าของพวกโรมัน
    สอง ทำตามคัมภีร์มหาบุรุษลักษณะซึ่งบ่งไว้นานแล้วว่ามหาบุรุษจะต้องมีลักษณะเช่นนั้นเช่นนี้ เช่น ใบหูยาน อันอาจเกิดจากการที่ชาวอินเดียแต่โบราณนิยมใส่ตุ้มหูหนัก เมื่อใส่นานๆ เข้าก็ถ่วงใบหูให้ยานลงมา ใบหูยานจึงกลายเป็นลักษณะอย่างหนึ่งของมหาบุรุษไป และมีอูรณาหรืออุณาโลมอยู่ที่กลางหน้าผากหว่างขนคิ้ว หรือลายธรรมจักรบนฝ่ามือ ฯลฯ
    สาม มีพระเกศายาว และพระเกศานี้รวบเป็นมวยไว้เหนือพระเศียรมีเส้นอาภรณ์เล็กๆ คาดอยู่ที่เชิงมวยนั้น
    ในศิลปะคันธารราฐพระเกศานี้ก็ทำเป็นเส้นเหมือนเส้นผมคนธรรมดา บางครั้งก็วาดเป็นมุมแหลมอยู่กลางพระนลาฏ ชั่วแต่มีประภามณฑลเป็นวงกลมอยู่เบื้องหลังพระเศียรเท่านั้น ต่อเมื่อพระพุทธรูปได้แพร่เข้าไปในหมู่ชาวอินเดียแล้ว ชาวอินเดียจึงคิดแก้ไขให้พระเกศาขมวดเป็นทักษิณาวรรต คือเวียนขวาตามแบบคัมภีร์มหาบุรุษลักษณะ และเมื่อทำพระเกศาเวียนขวาไว้เหนือมวยบนพระเศียรด้วย ลักษณะของมวยผมจึงหายไป และดูคล้ายกับว่าพระเศียรของพระพุทธเจ้าตรงกลางโป่งขึ้นไปข้างบนผิดปกติ ลักษณะเช่นนี้อินเดียเขาเรียกว่าอุษณีษะ แต่ไทยเราเรียกว่าเกตุมาลา หรือเมาลี

    จีวรสงฆ์ได้จากผ้าห่มกรีก-โรมัน
    ไตรจีวรที่พระภิกษุสงฆ์ใช้นั้นประกอบด้วยผ้า 3 ผืน คือ สบง หรืออันตรวาสก สำหรับนุ่งอยู่ชั้นล่าง พันรอบตั้งแต่บั้นเอวลงไปจนถึงข้อเท้า บางครั้งก็มีรัดประคดหรือเข็มขัดคาด จีวร หรืออุตราสงค์ คือผ้าสำหรับห่มท่อนบน อาจครองได้ทั้งห่มคลุมหรือห่มเฉียง และครองได้ด้วยวิธีต่างๆ กัน สังฆาฏิ เป็นผ้าอีกผืนหนึ่งสำหรับห่มทับเหนือจีวร แต่ผ้าสังฆาฏินี้บางครั้งก็ใช้ บางครั้งก็ไม่ใช้
    ทั้งผ้าจีวรหรือผ้าสังฆาฏินี้เป็นผ้าผืนสี่เหลี่ยมใหญ่ พันรอบองค์พระพุทธรูปไปตามด้านความยาว ชายด้านหนึ่งซึ่งเป็นชายแรกที่ใช้ในการห่มจะวางอยู่บนด้านซ้ายของพระอุระ ต่อจากนั้นผืนผ้านี้ก็ห่มข้ามพระอังสาซ้ายลงไปยังพระขนอง คลุมพระขนองแล้วย้อนกลับมาคลุมพระอังสาขวาเพื่อวกมาคลุมพระอุระด้านซ้ายอีกต่อหนึ่ง หลังจากนั้นชายผ้าชายหนึ่ง คือมุมบนของผ้าและส่วนที่เหลือของผ้าก็จะห่มไปยังด้านหลังพระขนองอีก คือเลยผ่านพระอังสาซ้ายลงไป แต่คราวนี้นำย้อนกลับมาพันไว้รอบพระกรซ้าย และมักจะพันไว้รอบข้อพระหัตถ์ซ้ายด้วย คือที่เราเรียกว่า ลูกบวบ นั่นเอง
    ไตรจีวร เป็นเครื่องนุ่งห่มของพระสงฆ์ที่ปรากฏในพระวินัยมาแต่ครั้งพุทธกาล มีข้ออนุญาตและข้อห้ามเกี่ยวกับจีวรในลักษณะต่างๆ เช่น เดิมพระพุทธองค์ทรงอนุญาตให้ใช้แต่จีวรที่เก็บเศษผ้าห่อศพมาเย็บปะติดปะต่อกันเรียกว่า 'บังสุกุลจีวร' ต่อมาจึงทรงอนุญาตให้ใช้จีวรที่ผู้มีศรัทธาถวายให้ เรียกว่า 'คฤหบดีจีวร'
    ในพระไตรปิฎกกล่าวถึงการใช้ผ้าของพระสงฆ์ว่า เมื่อพระพุทธองค์เสด็จไปยังทักขิณาคิรี เป็นเขตภูเขาภาคใต้ของอินเดีย ทอดพระเนตรเห็นนาชาวมคธมีขอบคันและกระทงนา จึงตรัสให้พระอานนท์ลองตัดจีวรเป็นรูปนั้นดู เมื่อทำเสร็จทรงสรรเสริญว่าฉลาด ต่อมาทรงอนุญาตให้ใช้จีวร 3 ผืน (ไตรจีวร) ประกอบด้วยสบงหรือผ้านุ่ง จีวรหรือผ้าห่ม สังฆาฏิหรือผ้าซ้อนนอกหรือผ้าพาด
    สีที่ใช้ย้อมจีวรทรงอนุญาตให้ทำจากรากไม้ ลำต้นไม้ เปลือกไม้ ใบไม้ ดอกไม้ และผลไม้ ทรงห้ามใช้สีไม่สมควร คือสีเขียวล้วน สีเหลืองล้วน สีแดงล้วน สีเลื่อมล้วน สีดำล้วน สีแดงเข้ม สีแดงกลาย
    และเนื่องจากทรงห้ามสีเหลืองล้วน พระภิกษุบางรูปจึงนิยมย้อมกรัก คือสีจากแก่นขนุนทับอีกครั้งเพื่อให้เป็นสีน้ำฝาด
    ต่อมาเกิดปัญหาการแต่งกายไม่รัดกุมในที่สาธารณะ จึงทรงอนุญาตให้ใช้ผ้าคาดเอว หรือ 'รัดประคด' เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งอย่าง และจากเดิมที่ทรงอนุญาตให้พระภิกษุมีเฉพาะไตรจีวรสำหรับนุ่งห่มเวลาเดินทาง จนเมื่อพระภิกษุมีปัญหาเรื่องการเดินทางในฤดูฝนจึงทรงอนุญาตให้ใช้ผ้าอาบน้ำฝนที่พุทธศาสนิกชนถวายได้อีกอย่างหนึ่ง
    พระสงฆ์ครองจีวร 2 แบบ คือ ครองห่มคลุมกับครองห่มเฉียง ศาสตราจารย์หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล ทรงสรุปว่าการห่มจีวรแบบที่น่าจะมีใช้จริงในสมัยหลังพุทธกาล คือการห่มจีวรตามแบบพระพุทธรูปศิลปะแบบคันธารราฐ ซึ่งก็คือการห่มผ้าแบบชาวกรีก-โรมันหลังจากนั้นการห่มจีวรแบบนี้ได้ส่งอิทธิพลมายังศิลปะรุ่นหลังจนถึงสมัยหลังคุปตะ แต่ลักษณะการห่มจีวรและลักษณะของจีวรได้พัฒนาจากความเหมือนจริงในศิลปะแบบคันธารราฐไปสู่ลักษณะที่เป็นแบบอุดมคติมากขึ้น จนถึงศิลปะอินเดียแบบคุปตะการห่มจีวรจึงมีลักษณะเป็นแบบอุดมคติอย่างสมบูรณ์
    จีวรและการห่มจีวรเก่าสุดที่พบในประเทศไทย คือประติมากรรมดินเผารูปภิกษุสาวก 3 รูป พบที่สุวรรณภูมิ เมืองอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ปัจจุบันเก็บรักษาอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ประติมากรรมดินเผารูปนี้ มีขนาดกว้าง 20 เซนติเมตร สูง 16 เซนติเมตร เป็นประติมากรรมรูปพระภิกษุ 3 รูป ครองจีวร ถือบาตร ทำลักษณะอาการบิณฑบาต
    ลักษณะห่มจีวรเรียกครองจีวรห่มคลุม ชายจีวรเป็นริ้ว ซึ่งเป็นลักษณะการห่มจีวรแบบอินเดีย ในศิลปะอมราวดี มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 7-9 หรือราวหลัง พ.ศ.600 อันแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ทางพระพุทธศาสนาระหว่างเมืองโบราณอู่ทองกับอินเดียสมัยอมราวดี
    ทั้งยังแสดงให้เห็นว่าพระสงฆ์ในเมืองอู่ทองเวลานั้นน่าจะห่มจีวรในลักษณะเดียวกันนี้ คือ จีวรผ้าฝรั่งอย่างกรีก-โรมัน แล้วสืบเนื่องถึงปัจจุบัน
    ......................................
    หมายเหตุ : บทความเผยแพร่โดย โครงการสถาบันสุวรรณภูมิ
     
  2. IT Man

    IT Man ชีวิตที่เหลือ เพื่อพุทธองค์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    4,243
    ค่าพลัง:
    +8,388
    รูปเพิ่มเติม...สวยจริงๆครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  3. IT Man

    IT Man ชีวิตที่เหลือ เพื่อพุทธองค์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    4,243
    ค่าพลัง:
    +8,388
  4. IT Man

    IT Man ชีวิตที่เหลือ เพื่อพุทธองค์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    4,243
    ค่าพลัง:
    +8,388
    หากมีพระพิมพ์ระดับ TOP4 แล้ว...ปรารถนาพระพิมพ์แบบไหน คงได้สมปรารถนาครับ

    น้ำมนต์พระแก้วมรกตผสมน้ำฝนหน้าพระอุโบสถวัดพระแก้ว ที่มอบให้นั้น
    ผมอัญเชิญพระแก้วมณีโชติข้างต้น ลูกแก้วสีเขียว กับมณีนาคราชสีน้ำเงิน-เม็ดสุดท้ายของ trip
    ลงไปสรงฯ ก่อนแบ่งให้นะครับ คงไม่ว่ากัน หุหุ
     
  5. nontayan

    nontayan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    832
    ค่าพลัง:
    +976
    น่าจะเหมือนกันครับ เลือกชุดใดชุดหนึ่งก็ได้ ผมลองนำองค์ TOP1 TOP4 สมเด็จองค์ปฐม(ปู่ฤาษีลิงดำ) พระแก้วมณีโชติ และมือถือพระบรมสารีริกธาตุ ปรากฏว่า มีความปีติและเข้าสู่สมาธิได้เร็ว ผมคิดว่าท่านจะเหมาะกับการอัญเชิญขึ้นคอในขณะทำสมาธิครับ
     
  6. nontayan

    nontayan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    832
    ค่าพลัง:
    +976
    วันนี้ผมได้รับพระกริ่งปวเรศคู่บุญที่ติดตามมาหาเจ้าของเดิมอีกหนึ่งองค์สวยงามมาก เป็นพิมพ์นิยมที่เขาเล่นกันที่ว่ามีน้อยนั้นแหละครับ (น่าจะลงในหนังสือปริเซียส) ผมยังไม่ได้ตรวจสอบว่าสร้างในวาระปีใด ผมจะส่งรูปให้ทุกท่านดูในอีเมลล์ครับ (ขอสงวนภาพในการออกอากาศ)
     
  7. IT Man

    IT Man ชีวิตที่เหลือ เพื่อพุทธองค์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    4,243
    ค่าพลัง:
    +8,388
    ... มีความปีติและเข้าสู่สมาธิได้เร็ว ....เหมาะกับการอัญเชิญขึ้นคอในขณะทำสมาธิครับ

    อันนี้แหละครับที่อยากให้ลอง สาธุ สาธุ :cool:
     
  8. สาวกธรรม1

    สาวกธรรม1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    341
    ค่าพลัง:
    +173
    มีอยู่แล้วครับ กลุ่มเราไม่มีได้ไง คราวหน้าลองอธิฐานจิตรเอาครับ:cool:
     
  9. Natachai

    Natachai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กันยายน 2009
    โพสต์:
    309
    ค่าพลัง:
    +937
    --- หากหมายถึงพระกริ่งปวเรศ พ.ศ. 2411 ไม่มีหมุดทองคำ โทรมาครับ ถ้าใช่ผมมอบให้ 1 องค์ครับ /081-801-8010/
     
  10. สาวกธรรม1

    สาวกธรรม1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    341
    ค่าพลัง:
    +173
    สาธุ ขออนุโทธนาครับ :cool:
     
  11. สาวกธรรม1

    สาวกธรรม1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    341
    ค่าพลัง:
    +173
    ของผมครับพี่ พระนาคปรกครับ ผมเกิดวันเสาร์ครับ พระประจำวันเกิด แถมสีก็ตรงตามวันครับ สุดยอด
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 พฤษภาคม 2011
  12. Phoobes

    Phoobes เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    361
    ค่าพลัง:
    +1,181
    ผมปิติยินดีกับทุกท่านที่ประสบกับสิ่งอัศจรรย์อย่างที่หลายคนปรารถนาจะได้สัมผัส ซึ่งน้อยคนนักจะมีโอกาสเช่นนั้น และคงด้วยบุญบารมีของทุกท่านจึงได้รับของกายสิทธิ์สูงค่า ส่วนตัวผมมีศรัทธามาเนิ่นนานแต่ยังไม่มีโอกาส เพียงตั้งจิตไว้ว่าวันหนึ่งมีบุญวาสนาคงจะได้มาบูชาบ้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นของเฉพาะตนเช่นที่ทุกท่านได้รับมาคงจะปลื้มปิติอย่างที่สุด สิ่งที่มีค่าอีกอย่างที่ได้คือกัลยาณมิตร การที่ได้มาทำบุญร่วมกัน มีศรัทธาในวิถีทางเดียวกัน ผมเชื่อว่าไม่ใช่เหตุบังเอิญ อาจจะเคยร่วมวิถีบุญกันมาแต่อดีตชาติ และเราคงมีโอกาสได้ร่วมสร้างบุญกุศลกันต่อไปในกาลข้างหน้าอีก ก็ขออนุโมทนาบุญกับทุกท่านครับ สาธุ สาธุ สาธุ
     
  13. Phoobes

    Phoobes เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    361
    ค่าพลัง:
    +1,181
    ได้เข้าไปอ่านในบล็อคของพี่อ๊อดแล้วครับ ถ่ายทอดรายละเอียดได้เห็นภาพเลยครับแถมมีภาพประกอบอีก แม้ผู้ไม่มีโอกาสได้ไปก็มีโอกาสได้รับรู้และเกิดความศรัทธา ชื่นชมครับ การจัดเรียงแก้วมณีฯที่ถักสวยงามลงตัวมากครับ:cool:
     
  14. สาวกธรรม1

    สาวกธรรม1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    341
    ค่าพลัง:
    +173
    มีโอกาสคงได้ไปแสวงบุญด้วยกันนะครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 พฤษภาคม 2011
  15. สมาชิกธรรม

    สมาชิกธรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2011
    โพสต์:
    751
    ค่าพลัง:
    +1,308
    โมทนาสาธุครับ.....ขอขอบคุณท่าน Dr. Natachai แทนคุณอ๊อดด้วยครับน้ำใจของท่านประเสริฐและสูงยิ่งนัก...นับถือครับ.

    ผมเปรยกับคุณอ๊อดที่บรบือเรื่องพระกริ่งปวเรศ ...ว่าให้ใจเย็นๆเดี๋ยวก็ได้แล้วเป็นไงหล่ะครับคุณอ๊อดสมหวังแล้วนะครับ.....ยินดีด้วยครับ(เร็วเกินคาด)
     
  16. อัศวเมธ

    อัศวเมธ สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    10
    ค่าพลัง:
    +2
    สวัสดีครับ สมาชิกใหม่เข้ามาเยี่ยมชมครับ
     
  17. อัศวเมธ

    อัศวเมธ สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    10
    ค่าพลัง:
    +2
    เรียนท่าน Dr. Natachai และ ท่านผู้อาวุโสทั้งหลาย มีท่านใดพอที่จะไขข้อข้องใจในพิมพ์ทรงของ พระกริ่งปวเรศ พิมพ์สมบูรณ์พูลสุข ปี 2411 กับ 2434 ได้บ้างว่ามีความเหมือนกันหรือแตกต่างกันอย่างไร ครับ .... ขอขอบพระคุณล่วงหน้าครับ
     
  18. อัศวเมธ

    อัศวเมธ สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    10
    ค่าพลัง:
    +2
    เรียนท่าน Dr. Natachai
    [​IMG]

    พระกริ่งปวเรศ พิมพ์นี้สร้างปี พ.ศ.ใดครับ
     
  19. สาวกธรรม1

    สาวกธรรม1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    341
    ค่าพลัง:
    +173
    สวัสดีครับญาติธรรม เช้าตรู่วันศุกร์ ผมจะทำการลงเสาเอก สร้างบ้านใหม่ครับ ยังไงช่วยอธิฐานจิตรมาให้เป็นสิริมงคลกันด้วยนะครับ ขอบพระคุณมากครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 20 พฤษภาคม 2011
  20. สาวกธรรม1

    สาวกธรรม1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    341
    ค่าพลัง:
    +173
    สวัสดีครับ ยินดีต้อนรับครับผม:cool:
     

แชร์หน้านี้

Loading...