หลวงปู่แหวนมาโปรดในนิมิตร(ฝัน)

ในห้อง 'หลวงปู่แหวน' ตั้งกระทู้โดย psombat, 18 มีนาคม 2010.

  1. IT Man

    IT Man ชีวิตที่เหลือ เพื่อพุทธองค์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    4,243
    ค่าพลัง:
    +8,388
    ขอบคุณครับท่าน Powernext...
     
  2. สาวกธรรม1

    สาวกธรรม1 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    341
    ค่าพลัง:
    +173
    ขออนุโทธนาบุญด้วยครับท่าน IT MAN
     
  3. IT Man

    IT Man ชีวิตที่เหลือ เพื่อพุทธองค์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    4,243
    ค่าพลัง:
    +8,388
    <TABLE class=tborder border=0 cellSpacing=1 cellPadding=6 width="100%"><TBODY><TR><TD class=thead>ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 7 คน ( เป็นสมาชิก 3 คน และ บุคคลทั่วไป 4 คน ) </TD><TD class=thead width="14%"><CENTER">[ แนะนำเรื่องเด่น ] </TD></TR><TR><TD class=alt1 width="100%" colSpan=2>IT Man, สาวกธรรม1+, somlatri </TD></TR></TBODY></TABLE>

    สวัสดีครับ เมื่อสักครู่พึ่งออกจากสมาธิ ระหว่างนั้นก็อัญเชิญพระพญาเหล็กไว้ในอุ้งมือ ปรากฏว่าร้อนมากๆ สงสัยมือผมร้อนเองหรือเปล่าไม่รู้ครับ

    ขอบคุณครับคุณอ๊อดสำหรับข้อมูล ทำให้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น
     
  4. IT Man

    IT Man ชีวิตที่เหลือ เพื่อพุทธองค์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    4,243
    ค่าพลัง:
    +8,388
    ของสวยๆต้องขอนำมาแปะไว้เป็นมงคลกับบอร์ดครับ ถือว่าเป็นธรรมทาน...ให้ผู้มีบุญท่านแสวงหากัน ได้หลายต่อครับ หุหุ
     
  5. IT Man

    IT Man ชีวิตที่เหลือ เพื่อพุทธองค์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    4,243
    ค่าพลัง:
    +8,388
    สงสัยของผมเป็นน้ำผึ้งป่าเก๊...แต่ได้มาจากป่าเมืองแม่ฮ่องสอนทีเดียวเจียว หรือไม่ก็มดที่บ้านจมูกดี เพราะทุกสายมุ่งสู่ห้องพระเลย จำเป็นที่ผมต้องอัญเชิญท่านมาล้างและถ่ายรูปมาให้ดูกันครับ
     
  6. IT Man

    IT Man ชีวิตที่เหลือ เพื่อพุทธองค์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    4,243
    ค่าพลัง:
    +8,388
    เป็นพระพิมพ์ที่หลวงปู่เจ้าประคุณสมเด็จโตท่านทรงขออาราธนาสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามสมณโคดม ทรงพระอธิษฐานจิตให้ (TOP4) ถ้าหลวงปู่หวลพิจารณาว่าผ่าน ก็คงตามนั้นครับ หุหุ

    เรื่องพระพญาเหล็กพิมพ์มหากัจจายนะ หลวงปู่ใจแข็งดีมาก โมทนาสาธุ โปรดเก็บไว้ที่ประเทศไทยของเราเถิดครับ

    อ่อ...ผมได้กราบขอขมาและนวดที่แข้งขวาหลวงปู่...เนื้อแน่นมาก...ความรู้สึกเหมือนที่ผมเคยฝันเจอหลวงปู่ขาวแล้วนวดท่าน...แล้วนึกในใจว่า "ขาหลวงปู่คือแข็งแท้น๊อ.." ...

    งานนี้เห็นคุณอ๊อดถวายน้ำมันนวดหลวงปู่ด้วย โมทนาสาธุอีกรอบครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 10 เมษายน 2011
  7. IT Man

    IT Man ชีวิตที่เหลือ เพื่อพุทธองค์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    4,243
    ค่าพลัง:
    +8,388
    ท่านแหน่งใส่ขาสั้น แต่ผ่านศึกพระพุทธบาทสี่รอยมาแล้ว คิดว่าคงทนได้ครับ 55+

    เป็นครั้งแรกในชีวิตที่ได้คลานใต้ฐานพระประธานวัดบางนมโค ระว่างคลานบังเอิญมีพระท่านบริกรรมพระคาถาหน้าพระประธานด้วย ปีติ ยินดี อิ่มจิตทั้งวัน ทั้งๆที่เมื่อคืนนอนเพียง 4 ชั่วโมงเอง ก็ลุยได้ทั้งวันวันนี้แล้วครับ..
     
  8. IT Man

    IT Man ชีวิตที่เหลือ เพื่อพุทธองค์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    4,243
    ค่าพลัง:
    +8,388
    ด้วยความยินดียิ่งครับทุกๆท่าน
     
  9. IT Man

    IT Man ชีวิตที่เหลือ เพื่อพุทธองค์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    4,243
    ค่าพลัง:
    +8,388
    ดีใจด้วยครับ ฝากกราบหลวงปู่พระอิเกสาโร ณ.พระอุโบสถวัดสระมณฆลแทนด้วยนะคร๊าบ

    แต่ผมมีรูปหล่อวังหน้าของหลวงปู่พระอิเกสาโรที่บ้าน ไว้จะกราบที่ตักทางนี้เผื่อครับ หุหุ
     
  10. IT Man

    IT Man ชีวิตที่เหลือ เพื่อพุทธองค์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    4,243
    ค่าพลัง:
    +8,388
    เรื่องการเผยแพร่พระดีๆ(มากๆ) ที่คนมองข้ามนี้เป็นเรื่องสำคัญเลยครับ ปัจจุบันคน 99% ส่วนใหญ่ที่นิยมพระเครื่อง,สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทางพระพุทธศาสนามักจะเดินตามเซียนพระชี้นำ,ตามตำรา (อันที่จริงพวกเราก็เคยเดินตามทางนี้) ก็เลยเป็นแบบที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้ ซึ่งคงต้องช่วยๆกันนะครับ

    การ show หน้าตานั้นก็ดีมีประโยชน์ครับ เพราะผมจำคุณอ๊อดได้ทันที ณ ครั้งแรกที่เจอที่ศาลาน้อยข้างวัด หุหุ
     
  11. IT Man

    IT Man ชีวิตที่เหลือ เพื่อพุทธองค์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    4,243
    ค่าพลัง:
    +8,388
    โทษที่ครับ เผอิญ g-mail ไม่ใช่ mail หลัก ก็เลยไม่ค่อยเข้าครับ หุหุ ไว้จะดูให้ครับ :)
     
  12. IT Man

    IT Man ชีวิตที่เหลือ เพื่อพุทธองค์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    4,243
    ค่าพลัง:
    +8,388
    ภาพ a,b ใช่ 99% ยินดีด้วยครับ :cool:
     
  13. IT Man

    IT Man ชีวิตที่เหลือ เพื่อพุทธองค์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    4,243
    ค่าพลัง:
    +8,388
    ดูเหมือนท่านรอให้บารมีคุณอ๊อดเต็มก่อนมั๊งครับ ค่อยเปิดเผยพระองค์ ทั้งนี้คงเป็นตามวาระครับคุณอ๊อด...งานนี้คุ้มเกินคุ้มที่พวกเราตัดสินใจมอบสื่อนำพิเศษ หุหุ ต้อง...โมทนาสาธุครับ
     
  14. IT Man

    IT Man ชีวิตที่เหลือ เพื่อพุทธองค์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    4,243
    ค่าพลัง:
    +8,388
    เหล็กไหล

    <!-- /firstHeading --><!-- bodyContent --><!-- tagline -->จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
    <!-- /tagline --><!-- subtitle -->
    <!-- /subtitle --><!-- jumpto -->ไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา
    <!-- /jumpto --><!-- bodytext -->เหล็กไหล เป็นธาตุศักดิ์สิทธิ์ชนิดหนื่งในความเชื่อในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ในมาเลเซียมีชื่อเรียกว่า บือซีรีเละ) มีมากมายหลายชนิดแต่ที่เชื่อกันแพร่หลายที่สุดนั้นจะฝังตัวอยู่ในถ้ำมีลักษณะสีดำคล้ายนิล ลนไฟให้ยืดได้ เชื่อกันว่าในการไปเอาเหล็กไหลนั้นจะต้องใช้น้ำผึ้งชะโลมก้อนเหล็กไหลแล้วใช้ไฟลนเหล็กไหลถึงจะยืดออกมากินน้ำผึ้งไปพร้อมกับเล่นไฟด้วย แล้วก็ลนไฟไปกระทั่งทั้งเหล็กไหลยืดออกมาเรื่อยๆจนกระทั่งบางเท่าเส้นด้ายถึงจะตัดขาด (ทั้งนี้ในการไปตัดเหล็กไหลนั้นกล่าวกันว่าคนธรรมดานั้นไม่สามารถตัดเหล็กไหลเองได้เนื่องจากมีเทพเจ้า เจ้าป่า เจ้าเขา พญานาคหรือยักษ์รักษาอยู่และพร้อมจะเข้าทำร้ายผู้เข้าไปเอาได้ถ้าผู้นั้นไม่ใช่คนดีมีบุญหรือมีวิชาอาคมแกร่งกล้าพอ และตัวเหล็กไหลนั้นก็มีฤทธิ์ขัดขืนคนที่เข้าไปเอาได้ด้วยเช่นกล่าวว่าเคยมีคนเข้าไปตัดเหล็กไหลแล้วเอามือไปจับเหล็กไหลแล้วมีอาการคล้ายถูกฟ้าผ่าหรือถูกไฟฟ้าแรงสูงดูดเป็นต้น) เหล็กไหลที่ได้นี้กล่าวกันว่ามีความศักดิ์สิทธิ์มากมักฝังไว้ตามตัวผู้ที่ครอบครองกล่าวกันว่าจะไม่มีอะไรที่ทำร้ายผู้ที่ครอบครองตัวเหล็กไหลได้ทั้งมีด ปืน หรือแม้กระทั่งระเบิด ดินปืนทุกชนิดไม่สามารถจุดติดได้ในอาณาเขตที่มีเหล็กไหลอยู่
    ในความเชื่อนี้กล่าวอีกว่าเหล็กไหลยังแบ่งเป็นสามระดับ คือ
    • ระดับแรก ตัวเหล็กไหลเอง แวววาว เป็นส่วนที่ลนไฟให้ยืดได้ เป็นส่วนที่มีอิทฤทธิ์มากที่สุด
    • ระดับสอง รังเหล็กไหล มีลักษณะแวววาวรองจากตัวเหล็กไหล ไม่สามารถลนไฟให้ยืดได้ เป็นส่วนที่ห่อหุ้มตัวเหล็กไหลไว้เป็นฐานรองเหล็กไหลแข็งแน่นติดกับผนังถ้ำ
    • ระดับสาม ขี้เหล็กไหล มีลักษณะคล้ายน้ำตาเทียน ดำด้าน แข็งแต่ทุบให้แตกได้ง่าย เกิดจากการที่เหล็กไหลเคลื่อนผ่านทางนั้นแล้วเกิดขี้เหล็กไหลขึ้นมากล่าวว่าแทบไม่มีฤทธิ์ใดๆ
    [แก้] ชนิดของเหล็กไหล

    เหล็กไหลโดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 3 ชนิด มีดังนี้คือ
    [แก้] อ้างอิง

    • พจนานุกรมไทยฉบับราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช ๒๕๒๕
    • สารคดีส่องโลก เหล็กไหลปี พ.ศ. 2537
    • ประสบการณ์ตรงของนายแพทย์วิชิต ตริชอบ บันทึกโดยคุณฉัตรชัย วิเศษสุวรรณ(พนมเทียน)
    • เหล็กไหลธาตุกายสิทธิ์ (๑).ส เจิรญการพิมพ์, เวชยันต์,พิมพ์ครั้งที่ 1,2553.
     
  15. IT Man

    IT Man ชีวิตที่เหลือ เพื่อพุทธองค์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    4,243
    ค่าพลัง:
    +8,388
    ดีแล้ว...ยังไงหากพบเจอโปรดช่วยอัญเชิญขึ้นมาด้วยนะครับ
    โมทนาสาธุครับ
     
  16. IT Man

    IT Man ชีวิตที่เหลือ เพื่อพุทธองค์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    4,243
    ค่าพลัง:
    +8,388
    55 ผมค้นและแปะในเรื่องที่ผมกำลังสนใจและเป็นฐานระดับต่อๆไปตามนั้นเลยแหละครับ
    ทว่า...ผมเคยศึกษาหนักในช่วงที่พบว่า...เม็ดกริ่งของพระกริ่งปวเรศเป็นเหล็กไหล และมีหลายระดับด้วยซี

    อ่านบ่อยๆ...ศึกษาบ่อยๆ...มีโจทย์มาขบคิดบ่อยๆ ทำให้แน่นดีเนอะ :)
     
  17. IT Man

    IT Man ชีวิตที่เหลือ เพื่อพุทธองค์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    4,243
    ค่าพลัง:
    +8,388
    <TABLE class=tborder border=0 cellSpacing=1 cellPadding=6 width="100%"><TBODY><TR><TD class=thead>ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 8 คน ( เป็นสมาชิก 4 คน และ บุคคลทั่วไป 4 คน ) </TD><TD class=thead width="14%"><CENTER">[ แนะนำเรื่องเด่น ] </TD></TR><TR><TD class=alt1 width="100%" colSpan=2>IT Man, somlatri, Powernext, san02 </TD></TR></TBODY></TABLE>

    ผมขอหลับก่อนนะครับ พรุ่งนี้งานน่าจะเยอะ
    ราตรีสวีสดิ์คร๊าบ
     
  18. สมาชิกธรรม

    สมาชิกธรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2011
    โพสต์:
    751
    ค่าพลัง:
    +1,308
    ผมขอสอบถามหน่อยครับ
    1.พระกริ่งปวเรศต้องถวายนำผึ้งหรือปล่าวครับ
    2.สมเด็จองค์บุทององค์นี้ใช่ฝังเหล็กไหลรึปล่าวครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 เมษายน 2011
  19. IT Man

    IT Man ชีวิตที่เหลือ เพื่อพุทธองค์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    4,243
    ค่าพลัง:
    +8,388
    ยินดีครับ :)

    ผมอาจจะผิดก็ได้นะครับ รบกวนท่านผู้รู้ท่านอื่นๆเสริมหรือทักท้วง

    1.พระกริ่งปวเรศต้องถวายนำผึ้งหรือปล่าวครับ
    - ตามที่ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจาก web ของท่าน dr. ท่านว่า...เหล็กไหลกลุ่มนี้...ท่านไม่เสพน้ำผึ้งแล้วครับ
    - ท่านน่าจะเสพกระแสบุญ ขอร่วมสร้างบุญบารมีกับผู้ครอบครององค์ท่าน
    - ท่านเป็นส่วนหนึ่งขององค์พระ ซึ่งองค์พระเป็นประธาน ดังนั้นจึงอยากขอให้เน้นการถวายองค์พระเป็นหลัก เช่น สวดมนต์ ทำสมาธิภาวนา อธิษฐานบุญที่ได้กระทำดีแล้วแด่...
    1. ท่านผู้ทรงให้สร้าง
    2. คณะองค์พระผู้ทรงพระอธิษฐานจิต,อธิษฐานจิต
    3. คณะช่างผู้สร้างพระ หล่อพระกริ่ง
    4. พรหม-เทวดาผู้สถิตในองค์พระ (กินความรวมถึงเทวดาผู้ดูแลเหล็กไหล(พญาเหล็ก))

    2.สมเด็จองค์บุทององค์นี้ใช่ฝังเหล็กไหลรึปล่าวครับ
    - น่าจะเป็นของวังหลวงสร้างในยุคหลัง (วังหน้ายุค ร.4-5 สิ้นสุดเมื่อ 2428)
    - เคยได้อ่าน ได้ยินมาว่าเป็นเหล็กไหล
    - ผมไม่เคยพบเห็นหรือสัมผัสองค์จริง จึงน่าจะเป็นท่านผู้ครอบครองจะสัมผัสได้เองครับ
    - พระพิมพ์ที่ผมได้ครอบครอง 95% เป็นของวังหน้ากับของท่านเจ้าคุณกรมท่าท่านให้สร้างหน่ะครับ (เฉพาะประมาณ 2408-2411-2428 ซึ่งสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯท่านก็ทรงเป็นวังหน้า ยุค.ร.4 ทรงเป็นพระมหากษัตริย์คู่กับสมเด็จพระจอมเกล้าฯ)
    - แต่ผมจะเน้นของหลวงปู่กรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ ซึ่งทางประวัติศาตร์ท่านสิ้น 2428 แต่ความเป็นจริงแล้ว...
    - ปัจจุบันท่านทรงเป็นหนึ่งในครูฝึก-พระศิษย์ของหลวงปู่ใหญ่บรมครูพระเทพโลกอุดร
    - ข้อนี้รบกวนท่านผู้รู้ท่านอื่นเสริมได้เต็มที่ครับผม

    >>> ศึกษาข้อมูลวังหน้าตามประวัติศาตร์เพิ่มเติมตาม link นี้ <<<
     
  20. IT Man

    IT Man ชีวิตที่เหลือ เพื่อพุทธองค์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    4,243
    ค่าพลัง:
    +8,388
    พระบัณฑูร
    โดย จุลลดา ภักดีภูมินทร์

    ฉบับที่ 2435 ปีที่ 47 ประจำวัน อังคาร ที่ 19 มิถุนายน 2544

    -พระบัณฑูรหมายถึงวังหน้าหรือพระมหาอุปราชหรือกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ใช่หรือไม่-
    ผู้โทรศัพท์ถามเป็นหนุ่มน้อยอายุ ๑๘ กำลังเรียนมหาวิทยาลัย
    ไม่ได้ตอบทันที ให้รออ่านจากบทความ เพราะต้องหาคำตอบให้ชัดเจน ได้ค้นจากหนังสือที่มีอยู่หลายเล่ม จึงได้คำตอบจากเรื่อง ‘พงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์รัชกาลที่ ๕’ พระนิพนธ์สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ซึ่งทรงอธิบายเรื่อง ‘พระบัณฑูร’ ไว้อย่างกระจ่างแจ้ง ดังนี้
    “คำว่า ‘พระบัณฑูร’ นั้น สำหรับเรียกคำสั่งของพระมหาอุปราช เค้ามูลมาแต่คำสั่งของพระเจ้าแผ่นดินกำหนดไว้ในกฎมณเฑียรบาลเป็น ๒ อย่าง เรียกว่า ‘พระราชโองการ’ อย่างหนึ่ง เรียกว่า ‘พระบัณฑูร’ อย่างหนึ่ง ข้อนี้พึงเห็นได้ในคำเริ่มต้นเมื่อตั้งกฎหมาย แต่โบราณใช้ว่า “มีพระราชโองการมานพระบัณฑูร’ ต่อกัน
    ดังนี้ ถ้าว่าตามพิเคราะห์คำต้นศัพท์ ‘โองการ’ หมายความว่า ประกาศิตของพระอิศวร ‘ราชโองการ’ ก็หมายความว่า ‘ประกาศิต’ ของพระวิศวรเมื่อแบ่งภาคลงมาเป็นพระราชาอยู่ในมนุษยโลก ซึ่งเรียกกันว่า ‘สมมติเทวราช’

    (ส่วน) คำ ‘บัณฑูร’ นั้น เป็นภาษาเขมร หมายความว่า ‘สั่ง’ เดิมคงจะใช้แต่ว่า “มีพระราชโองการบัณฑูร” คำว่า ‘มาน’ (เป็นคำภาษาเขมรแปลว่า ‘มี’ นั่นเอง) เห็นจะเพิ่มเป็นสัมผัสให้เพราะขึ้นในภายหลัง แต่อธิบายในกฎมณเฑียรบาลแยก ‘พระราชโองการ’ กับ ‘พระบัณฑูร’ ออกต่างหากจากกัน กฎมณเฑียรบาลกล่าวว่า “ถ้าขัดขืนพระราชโองการต้องโทษถึงประหารชีวิต ถ้าขัดพระบัณฑูรโทษปรับไหมจตุรคุณ” ดังนี้
    อย่างไรก็ดีที่ให้เรียกคำสั่งของพระมหาอุปราชว่า ‘พระบัณฑูร’ นั้น พึงเข้าใจได้ว่า ให้มีอำนาจในสถานหนึ่งเสมอพระราชอำนาจของพระเจ้าแผ่นดิน แต่ อำนาจพระบัณฑูรนี้ พระราชทานเจ้านายพระองค์อื่นนอกจากพระมหาอุปราชก็มี เรียกว่า ‘พระบัณฑูรน้อย’
    เคยมีตัวอย่างทั้งในกรุงศรีอยุธยา และกรุงรัตนโกสินทร์นี้ (เมื่อรัชกาลที่ ๑) พระบัณฑูรน้อยจะมีตำแหน่งหน้าที่อย่างไรไม่ปรากฏ แต่เมื่อพระมหาอุปราช (พระบัณฑูรใหญ่) ได้รับรัชทายาท ก็ทรงตั้งพระบัณฑูรน้อย เป็นพระมหาอุปราชทุกคราว”
    เรื่องพระบัณฑูรใหญ่และพระบัณฑูรน้อย กรุงศรีอยุธยาและกรุงรัตนโกสินทร์ ค่อยเล่าต่อภายหลัง เพราะมีเรื่องราวยืดยาวนัก โดยเฉพาะในปลายกรุงศรีอยุธยา ผู้ที่เคยเรียนประวัติศาสตร์ คงจะพอทราบเรื่องเจ้าฟ้าเพชร-เจ้าฟ้าพรกันอยู่บ้างแล้ว
    ในพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์รัชกาลที่ ๕ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงฯ ทรงอธิบายถึง ‘หน้าที่’ ของพระมหาอุปราช หรือกรมพระราชวังบวรสถานมงคล หรือบางทีก็เรียกกันว่า ‘พระบัณฑูร’ ตามศัพท์ภาษาเขมร ดังพระนิพนธ์ที่อ้างมาแล้ว หรือ ‘วังหน้า’ ซึ่งน่าจะยกมาเล่าให้ทราบกัน
    ว่าทรงมีหน้าที่ดังนี้
    “พระมหาอุปราชทรงมีหน้าที่ในการศึกษา ตรงกับคำที่เรียกว่า ‘ฝ่ายหน้า’ เป็นสำคัญกว่าอย่างอื่น
    พึงเห็นอธิบายได้แม้ในกรุงรัตนโกสินทร์นี้ ในรัชกาลที่ ๑ พระมหาอุปราชก็ต้องทำศึก ทั้งที่โดยเสด็จฯ และเสด็จไปโดยลำพังพระองค์มาจนตลอดพระชนมายุ
    ถึงรัชกาลที่ ๒ พม่ามาตีหัวเมืองปักษ์ใต้ฝ่ายตะวันตก
    ถึงรัชกาลที่ ๓ เกิดกบฎเวียงจันทน์
    พระมหาอุปราชก็เสด็จไปบัญชาการศึกทั้ง ๒ คราว
    แต่ถึงรัชกาลที่ ๔ เมื่อจะยกกองทัพไปตีเมืองเชียงตุง พระมหาอุปราชทรงศักดิ์อย่างเป็นพระเจ้าแผ่นดิน (พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ) จึงโปรดให้กรมหลวงวงศาธิราชสนิท (พระองค์เจ้านวม พระราชโอรสในรัชกาลที่ ๒ ต้นราชสกุล ‘สนิทวงศ์ ณ อยุธยา’) เสด็จไปบัญชาการศึกต่างพระมหาอุปราช เป็นตัวอย่างมาดังนี้ นอกจากทำศึกพระมหาอุปราชยังมีหน้าที่ตลอดไปถึงการป้องกันพระราชอาณาเขต ข้อนี้ก็มีมาจนถึงกรุงรัตนโกสินทร์นี้ เช่น ในการสร้างป้อมปราการที่เมืองพระประแดง และเมืองสมุทรปราการ พระมหาอุปราชก็ทรงบัญชาการทั้งในรัชกาลที่ ๒ รัชกาลที่ ๓ ถึงรัชกาลที่ ๔ ที่โปรดให้พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ทรงจัดทหารบกทหารเรือขึ้นทางฝ่ายวังหน้า ก็เนื่องมาแต่หน้าที่ของพระมหาอุปราชในการป้องกันพระราชอาณาเขตนั่นเอง
    เมื่อว่าโดยย่อ หน้าที่ของพระมหาอุปราชเป็นฝ่ายทหาร เนื่องด้วยการทำศึกสงครามมาแต่โบราณ แต่ในเวลาว่างศึกสงคราม พระมหาอุปราชหามีหน้าที่ในการปกครองพระราชอาณาเขตอย่างใดไม่ คำซึ่งกล่าวกันมาแต่ก่อนว่า “พระมหาอุปราชเสวยราชย์กึ่งพระนคร” นั้น มีมูลมาแต่การแบ่งเขตรักษาท้องที่ในบริเวณพระนคร อันเป็นแบบมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา ที่ในกรุงเทพฯ นี้ปันเขต (ว่าตามแผนที่ในปัจจุบันนี้) ตามแนวถนนท่าพระจันทร์ ตั้งแต่ท่าน้ำไปจนถึงประตูสำราญราษฎร์ (ถนนบำรุงเมือง)
    ท้องที่ข้างใต้เป็นอำเภอวังหลวง กรมนครบาลวังหลวงรักษา
    ท้องที่ข้างเหนือเป็นอำเภอวังหน้า กรมนครบาลวังหน้ารักษา
    แต่ปันเขตเพียงถึงคูพระนคร (คือคลองรอบกรุง หรือคลองบางลำพู-โอ่งอ่าง) เท่านั้น ท้องที่ภายนอกออกไปเป็นอำเภอวังหลวงทั้งนั้น”
    สมเด็จฯกรมพระยาดำรงฯ ท่านทรงเล่าถึงพระอัธยาศัย และพระประพฤติของ ‘วังหน้า’ ๕ พระองค์ ในกรุงรัตนโกสินทร์ เอาไว้ว่า
    “ในรัชกาลที่ ๑ เมื่อสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท เป็นพระมหาอุปราช พระอัธยาศัยอยู่ข้างมีทิฐิมานะ เกิดบาดหมางกับพระบาทสมเด็จฯ พระพุทธยอดฟ้าฯ หลายครั้ง แทบถึงจะรบกันก็มี จนที่สุดเมื่อสวรรคต พวกวังหน้าที่เป็นคนใกล้ชิดก็กำเริบ ถึงต้องปราบปรามกัน ซึ่งบางทีเหตุที่มีมาแต่ในรัชกาลที่ ๑ นั้น จะเป็นตัวอย่างให้พระมหาอุปราชพระองค์อื่นๆ ระวังพระองค์ต่อมา เมื่อพระบาทสมเด็จฯพระพุทธเลิศหล้าฯ ได้เป็นพระมหาอุปราชในตอนปลายรัชกาลที่ ๑ ก็ไม่ปรากฏว่าประพฤติพระองค์ให้ผิดกับเมื่อยังเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอแต่อย่างใด
    ถึงรัชกาลที่ ๒ พระมหาอุปราช สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์ ทรงชอบชิดสนิทเสน่หากับสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราชมาแต่เดิม ปรากฏว่าพระบาทสมเด็จฯพระพุทธเลิศหล้าฯ มีรับสั่งให้ทรงช่วยว่าราชการ ก็เสด็จลงมาประทับที่โรงละครหลังวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ตรวจตราข้อราชการต่างๆ ก่อนเสด็จเข้าเฝ้าในท้องพระโรงเป็นนิจ จนตลอดพระชนมายุ
    ถึงรัชกาลที่ ๓ เมื่อทรงสถาปนากรมหมื่นศักดิพลเสพขึ้นเป็นพระมหาอุปราช ปรากฏว่าถ่อมพระองค์มาก เป็นต้นว่าประทับอยู่เพียงที่มุข ไม่เสด็จประทับบนพระพิมายวังหน้า พระราชยานก็ไม่ทรง ทรงเสลี่ยงอย่างอย่างเป็นต่างกรม เรือพระที่นั่งก็ทรงเรือกราบกันยาหลังคากระแรงอย่างพระองค์เจ้า ไม่คาดสีเหมือนเรือเจ้าฟ้า และไม่เข้าเกี่ยวข้องในราชการบ้านเมืองเหมือนอย่างพระมหาอุปราชในรัชกาลที่ ๒
    ถึงรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จฯพระจอมเกล้าฯ ทรงสถาปนาพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ซึ่งอยู่ในที่พระมหาอุปราช ให้มีพระยศเหมือนอย่างพระเจ้าแผ่นดิน...ฯลฯ...ถึงกระนั้นพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ก็ถ่อมพระองค์ไม่โปรดให้ในการแสดงยศศักดิ์ เป็นต้นว่า ไม่เสด็จออกให้ขุนนางเฝ้าในท้องพระโรง นอกจากเวลามีงานพิธี โดยปกติเสด็จออกให้เฝ้าที่โรงรถ การที่เสด็จไปไหนด้วยมีกระบวนแห่ ก็เสด็จเฉพาะแต่ในงานพิธี หรือเสด็จลงมาเฝ้าตามตำแหน่ง ถ้าโดยปกติเสด็จไปตามวังเจ้านายที่ชอบชิดก็ทรงม้ามีคนตามเสด็จคนหนึ่งหรือสองคน และยังโปรดทรงดำเนินเที่ยวเตร่ตามละแวกบ้านเหมือนเมื่อยังเป็นกรมอยู่ในรัชกาลที่ ๓ โดยปกติโปรดทรงฝึกซ้อมหัดทหาร หรือมิฉะนั้นก็นัดคนไปขี่ม้า ถึงกลางวันเล่นคลี กลางคืนเล่นซ่อนหา แต่ส่วนการบ้านการเมืองนั้น ไม่ทรงเอาเป็นพระราชธุระทีเดียว แม้เมื่อฝรั่งต่างชาติเข้ามาขอทำหนังสือสัญญาพระราชไมตรี ก็ไม่ทรงเกี่ยวข้องในการปรึกษาหารือ
    ถึงรัชกาลที่ ๕ เมื่อทรงสถาปนากรมหมื่นบวรวิชัญชาญเป็นมหาอุปราช เป็นเวลาว่างการทัพศึก แต่ผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน (คือสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์-จุลลดาฯ) ประสงค์จะรักษาหน้าที่ของพระมหาอุปราชตามประเพณีเดิมไว้ จึงจัดให้เสด็จไปตรวจตราป้อมที่เมืองสมุทรปราการและเมืองจันทบุรี และต่อมาให้ทรงบัญชาการซ่อมแซมป้อมเสือซ่อนเล็บที่เมืองสมุทรปราการด้วย
    แต่ส่วนพระองค์กรมพระราชวังบวรวิชัยชาญนั้น โดยปกติก็ถ่อมพระองค์ ทรงพยายามที่จะประพฤติตามเยี่ยงอย่างพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ เป็นต้นว่าเสด็จลงมาเฝ้าในเวลาออกขุนนาง และในงานพระราชพิธีเสมอเป็นนิจ แต่ไม่เข้าเกี่ยวข้องกับราชการบ้านเมือง เวลาเสด็จประทับอยู่ในพระราชวังบวรก็ไม่โปรดเสด็จออกขุนนางในท้องพระโรง คงออกขุนนางที่โรงรถเหมือนพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ แต่เลิกการเล่นกีฬา และไม่เสด็จไปเที่ยวเยี่ยมเยือนเจ้านาย แม้การฝึกหัดทหารก็เพียงจะรักษาแบบแผนให้คงอยู่”
    ในรัชกาลที่ ๑ พระเจ้าแผ่นดินและพระมหาอุปราชวังหน้า ทรงร่วมพระครรโภทรเดียวกัน ในรัชกาลที่ ๒ ก็เช่นกัน พระมหาอุปราชทรงเป็นสมเด็จเจ้าฟ้าร่วมพระครรโภทรเดียวกันกับพระเจ้าแผ่นดิน
    รัชกาลที่ ๓ พระมหาอุปราช ทรงศักดิ์เป็นพระปิตุลา (อา) ของพระเจ้าแผ่นดิน พระอิสริยยศ เดิมเป็นพระองค์เจ้า
    รัชกาลที่ ๔ พระมหาอุปราช ทรงพระอิสริยยศพิเศษ เป็นพระเจ้าแผ่นดินที่ ๒ ทรงเป็นสมเด็จเจ้าฟ้าร่วมพระครรโภทร เดียวกันกับพระเจ้าแผ่นดินเช่นเดียวกับรัชกาลที่ ๑ และ ๒
    รัชกาลที่ ๕ พระมหาอุปราช พระยศเดิมเป็นพระองค์เจ้าพระราชโอรส พระองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ จึงเสมือนทรงรับรัชทายาทของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ผิดกับพระมหาอุปราชแต่ก่อนๆ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 เมษายน 2011

แชร์หน้านี้

Loading...