ข้อคิดเห็นเรื่องจิต

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย kengkenny, 4 พฤษภาคม 2010.

  1. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี

    แสดง ณ วัดหินหมากเป้ง อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย
    วันที่ ๑๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๓
    จากหนังสือ เทสกานุสรณ์ หน้า ๑๕๙



    ตั้งใจ กำหนดจิตให้ดี เราปฏิบัติภาวนาต้องอาศัยสติเป็นของสำคัญ ระลึกถึงจิตอยู่เสมอๆ กำหนดไว้ที่จิต ครั้นเห็นจิตของตนแล้ว กำหนดจิตของตนไว้จึงจะรู้เรื่องในการเทศน์ จิตเท่านั้นแหละที่เราจะต้องรักษา นอกจากจิตแล้วไม่มีอะไรหรอก อวัยวะทั้งหมดทุกชิ้นส่วนของร่างกายนี้ มีจิตเป็นใหญ่ จิตนี้แหละพาวิ่งพาว่อนพาท่องเที่ยวไปมา พาให้เดือดร้อนเป็นทุกข์ ก็เพราะจิตนั่นแหละ ถ้าเรารักษาสำรวมจิต เห็นว่าเป็นทุกข์เดือดร้อนวุ่นวายแล้วก็หยุดเสีย มันก็ได้ความสุขเท่านั้นเอง

    ที่เราไม่รู้จักเรื่องจิต เราไม่มีสติรักษา มันจึงส่งส่ายหาเรื่องทุกข์ต่างๆ จนกระทั่งมันทุกข์แล้วจึงค่อยรู้เรื่อง มันสุขแล้วจึงค่อยรู้เรื่องของจิต ในเวลาที่มันส่งส่ายอยู่นั้นไม่รู้เรื่องของมันเลย จึงว่าจิตอันเดียวเท่านั้นที่ต้องรักษา การภาวนาทั้งหมดก็มารวมที่จิตนี้แห่งเดียว รักษาอันเดียวเท่านั้นแหละ ให้รักษาจริงๆจังๆ ใน เวลานี้เราจะนั่งสมาธิหรือฟังเทศน์ เราจะสำรวมจิตให้อยู่ในขอบข่ายของสติ สติเป็นคนคุม เมื่ออยู่ในขอบข่ายของสติแล้วก็หมดเรื่องกัน

    สติ คือ ผู้ระลึกถึงจิตอยู่เสมอๆ นั่นเรียกว่าสติความระลึกได้ จิต คือ ผู้คิด ผู้นึก ผู้ส่งส่าย, อาการเป็นอย่างนั้นเรียกว่าสติ ถ้าไม่มีจิตมันก็ไม่มีสติ ถ้าไม่มีสติมันก็ไม่มีจิต แท้ที่จริงก็อันเดียวกันนั่นแหละ แต่มันเป็นอาการ(ของจิต)คนละอย่างกัน(เจตสิก ๕๒) หน้าที่คนละอันกัน

    สติเหมือนกับพี่เลี้อง จิตเหมือนกับลูกอ่อน ควบคุมรักษากันอยู่ตลอดเวลา ลูกอ่อนที่มันซุกซน พี่เลี้องต้องระวังอย่างเข้มแข็ง ถ้าไม่อย่างนั้นก็จะหลุดพลัดโผไปตกถูกของแข็ง หรือตกไปในที่ลุ่มทำให้เจ็บได้ ถึงอย่างไรก็ต้องรักษาสติตัวเดียวเท่านั้นแหละ พี่เลี้องต้องรักษาอยู่ตลอดเวลา กว่าจะพ้นอันตรายได้ มันใช้เวลาหน่อย เลี้ยงเด็กมันก็หลายปีกว่าจะเติบโตขึ้นมาได้ ถึงเติบโตขึ้นมาแล้วก็ต้องระมัดระวังสิ่งอื่น เช่นมันซุกซน วิ่งเล่นอะไรต่างๆ ต้องระมัดระวัง แต่จำเป็นเพราะมันยังเป็นเด็กอยู่ ระวังจนใหญ่โตเป็นหนุ่มเป็นสาวขึ้น ก็ยังต้องระวังอยู่ตลอดเวลา เมื่อทำชั่วประพฤติผิด สติตัวนี้ใช้อยู่ตลอดเวลา ใช้ตั้งแต่เด็กจนกระทั่งเติบโต ใช้ตั้งแต่สติผู้คิดผู้นึกทีแรกโน่น ตลอดจนมันส่งส่ายไปสารพัดทุกเรื่องทุกอย่าง สติต้องรักษาอยู่ตลอดเวลา ส่วนเด็กนั้นเรียกว่าเป็นของมีตนมีตัว มันของยากหน่อย แต่เมื่อเราคุมอยู่แล้ว จิตกลายเป็นของมีตัว ปรากฎเห็นชัดเลย จิตอยู่หรือจิตไม่อยู่ จิตวิ่งว่อนเที่ยวไปในที่ต่างๆ เห็นชัดเลยทีเดียว เป็นตัวเป็นตนแท้ทีเดียว

    ครั้น เรารักษาจิตได้แล้ว ควบคุมจิตได้แล้ว สติตัวนั้นตั้งมั่นแล้วมันจะรวมเข้ามาเป็นใจ คือตรงกลางๆนั่นแหละ ไม่มีสถานที่หรอก กลางตรงไหน ก็อันนั้นเป็นใจ ตรงนั้นแหละ ไม่ใช่อยู่นอกอยู่ใน ข้างบนข้างล่าง ใจเป็นกลางๆ อยู่ตรงไหนก็นั่นแหละ ตัวใจตรงนั้นแหละ หัดสติควบ คุมจิตให้เข้าถึงกลางอยู่เสมอๆ มันค่อยมีพลังสามารถที่จะคิดค้นในสิ่งต่างๆ สามารถที่จะระงับดับทุกข์ทั้งปวง มันเดือดร้อน จะได้ทิ้งได้ เดี๋ยวนี้เราไม่เข้าถึงตรงกลาง จึงละทุกข์ไม่ได้ สิ่งที่ทุกข์ ก็เดือดร้อนวุ่นวาย สิ่งที่เป็นสุข ก็เพลิดเพลินลุ่มหลง ไม่เป็นกลางลงไปได้สักที

    ถ้า ถึงตรงกลางแล้วนั้น มันเป็นทุกข์ก็รู้จักทุกข์ ก็ปล่อยวางทุกข์ได้ มันสุขสบายก็ไม่หลงเพลิดเพลินมัวเมา มันก็เป็นกลางอยู่อย่างนั้น มันไม่สุขไม่เดือดร้อนวุ่นวาย ไม่เป็นทุกข์ สติตัวหนึ่ง จิตตัวหนึ่ง สติควบคุมจิต เมื่อควบคุมได้แล้วมันเข้ามาเป็นใจตัวเดียว ตัวใจเป็นของสำคัญที่สุด จิตมันออกจากใจ ถ้าไม่มีใจมันก็ไม่มีจิต จิตอันใดใจอันนั้น ใจอันใดจิตอันนั้น ท่านก็เทศนาอยู่ แต่จิตก็หมายความถึงอันเดียวกันนั่นแหละ

    แต่ ทำไมท่านจึงเรียกว่าใจ ทำไมจึงเรียกว่าจิต อธิบายให้ฟังว่าใจคือตรงกลางไม่มีส่งส่าย ไม่มีคิดไปหาบาปอกุศล ไม่คิดถึงบุญ หรืออะไรทั้งหมด ใจที่ตรงกลางๆนั่นแหละ ไม่มีอะไรหรอก ไม่คิด ไม่นึก ไม่ปรุง ไม่แต่ง แล้วก็ไม่เกิดปัญญา ตรงนั้นไว้เสียก่อน ให้มันอยู่ตรงกลางเสียก่อน ปัญญาเกิดหรือไม่เกิดก็ช่างมัน ที่จะถึงตรงกลางได้มันใช้ปัญญาไม่ใช่น้อย คิดค้นต่างๆทุกอย่างทุกเรื่อง คิดค้นมาพอแรงแล้ว ตัวปัญญาใช้มามากแล้ว คราวนี้เมื่อใช้มันหมดทางไม่มีที่ไปแล้ว มันจึงเข้ามาเป็นกลาง ตัวกลางๆนั้น แต่คนไม่เข้าใจว่ามีปัญญา แท้ที่จริงปัญญาใช้มามากแล้ว เข้าถึงตรงกลางแล้วก็เฉยอยู่นั้น

    เรา อยากจะรู้จักตรงกลางคืออะไร หัดอย่างนี้ก็ได้ ทดสอบทดลองดู กลั้นลมหายใจสักพักหนึ่ง ไม่มีอะไรหรอก มีเฉยๆ รู้เฉยๆ ไม่คิดไม่นึก แต่รู้สึกว่ามันไม่คิดไม่นึก ไม่ส่งส่ายไปมาหน้าหลัง ไม่คิดถึงเป็นบาปเป็นบุญอะไรทั้งหมด ผู้รู้สึกว่าเฉยๆนั่นแหละ ตัวนั้นแหละตัวกลางตัวใจ (webmaster- ภาวะนี้เกิดจากมีสติ ในการกลั้นลมหายใจอันทำงานอยู่ตลอดเวลาและจำเป็นอย่างยิ่งในการดำรงชีวิตให้ คงอยู่ จิตจึงต้องมีสติที่ตั้งมั่นแน่วแน่ในการระงับลมนั้น จึงไม่ส่งส่ายไปปรุง ไปแต่ง ตั้งมั่นอยู่ในการระงับลมนั้นเป็นเอก) แต่มันได้ชั่วขณะเดียวในเมื่อเรากลั้นลมหายใจ พอจับตัวมันได้ว่า ตัวใจมันตัวนี้ คราวนี้มันส่งออกไป ถ้า มันส่งส่ายเป็นจิต คิดนึก สติควบคุมดูแลรักษา ต้องชำระสะสางสิ่งที่เป็นบาป ละอกุศล ปล่อยวางลงไป สิ่งที่เป็นบุญเป็นกุศลอันนั้นก็ทิ้งวาง ปล่อยวางลงไป ไม่เอา บุญก็ไม่เอา บาปก็ไม่เอา มันถึงเข้าถึงกลางได้ เอาบุญก็ไม่เข้าถึงกลาง เอาบาปก็ไม่เข้าถึงกลาง เมื่อละทั้งสองอย่างแล้วจึงเป็นกลางได้ นั่นแหละใช้ปัญญาอุบายมากมาย จนกระทั่งมาเป็นใจ

    ธรรมดา จิตกับใจนี้มันเกี่ยวเนื่องกันอยู่ เข้ามาเป็นใจพักหนึ่งแล้วมันก็อยู่ไม่นาน มันก็ออกไปอีก วิ่งว่อนไปตามเรื่องของมัน แต่เราตั้งสติกำหนดรู้ใจรู้จิตของมัน เรื่องมันวิ่งว่อนไปด้วยประการต่างๆ มันซุกซน รู้เรื่องของมัน คำว่ารู้นั้น หมายความว่า ละทิ้งในสิ่งที่มันไม่ดี เมื่อละไปหมดแล้ว มันก็กลับมาช่องกลางนั้นอีก การหัดสมาธิภาวนา ถ้าหัดอย่างนี้ได้บ่อยๆเสมอๆ ไม่เตลิดเปิดเปิงหลงไปตามจิต ไม่มีสถานี ไม่หยุด ไม่หย่อน อันนั้นใช้ไม่ได้ พิจารณาจนหมดเรื่องแล้ว ถ้ามันถูก มันกลับมาอีกหรอก มาเป็นใจ ถ้าไม่ถูกก็เลยเตลิดเปิดเปิงไปใหญ่โตมโหฬาร

    ถึงอย่างไรก็ขอให้ทำให้เข้าใจถึงใจอยู่เสมอๆ ความสงบที่เข้าถึงใจที่เป็นหนึ่งนั้นเป็นการดีมาก ถึงไม่ได้ปัญญาก็เอาเถอะ เอาเพียงเท่านี้ก็เอาเสียก่อน เอาที่ความสงบนั่นแหละ ให้มั่นคงถาวรแล้วมันถึงเกิดเองหรอก อย่ากลัวเลย กลัวว่าจิตจะไม่คิดไม่นึก ไม่ปรุงไม่แต่ง มันคิดมันนึกมันปรุงมันแต่ง ก็รู้เท่ารู้เรื่องมันอยู่ถ้าหากมันเข้าถึงใจแล้ว นี่การภาวนาต้องหัดอย่างนี้ หัดพิจารณาอานาปานสติก็ดี มรณานุสติก็ดี พุทโธ อะไรต่างๆหมด ก็เพื่อให้เข้าถึงใจ เพื่อให้คุมสติได้ ถ้าหากว่าคุมใจไม่ได้ คุมใจไม่อยู่ อะไรก็เอาเถิด ไม่เป็นผลประโยชน์อะไรเลย

    ตัว ของเราทั้งหมดมีจิตอันเดียวเป็นของสำคัญอยู่ในตัวของเรา คนมากมายหมดทั้งโลกนี้ก็จิตตัวเดียว จิตคนละดวงๆเท่านั้นแหละ มันวุ่นวายอยู่นี่แหละ แต่ละคนๆ รักษาจิตของเราไว้ได้แล้ว มันจะวุ่นอะไร มันก็สงบหมดเท่านั้น ต่างคนต่างรักษาใจของตน ต่างคนมีสติรักษาใจเท่านั้นก็เป็นพอ ที่ มันยุ่งมันวุ่นก็เพราะเหตุที่ไม่รู้ใจของตน รักษาใจของตนไว้ไม่ได้ มีโลภโมโทสันสารพัดทุกอย่าง วุ่นวี่วุ่นวายเกิดแต่ใจนี่ทั้งนั้น แล้วใจมันได้อะไรล่ะ โลภมันได้อะไรไปใส่ใจ โลภมันไปกองอยู่ที่ใจมันได้อะไร โทสะเอาไปไว้ที่ไหนล่ะ ไปไว้ที่ใจมีไหมล่ะ โมหะ ความหลงไปไว้ที่ใจมีไหม ใจไม่เห็นมียุ้งมีฉางใส่ ใจไม่เห็นมีตนมีตัว มัน ได้อะไร มีแต่ความว่างเปล่า ไม่มีอะไรเลย ผู้ที่ว่าได้ว่าดีนั้น มันดีตรงไหน โลภโมโทสันได้มาแล้วว่าดีนั้น โกรธ โลภ หลง คนนั้นคนนี้ เห็นตนว่าวิเศษวิโส ว่าตนดี มันดีอะไร วิเศษอะไร มีแต่ความเดือดร้อนวุ่นวาย

    อย่าง ว่า เราได้ของเขามาอย่างนี้ เราโลภอยากได้ของเขา ได้มามันมีอะไรในที่นั้น ได้มาอยู่มากิน ได้มาบริโภคใช้สอย ใช้อะไรก็ตัวนี้ละใช้ มันใหญ่มันโตมันอ้วนมันพีขึ้นไหมล่ะตัวนี้ มันก็ไม่เห็นมีอะไร มีแต่แก่เฒ่าชำรุดทรุดโทรมไปทุกวัน อย่างว่า โทสะ มานะ ทิฏฐิเกิดขึ้นมา ถือตนถือตัว ถือเราถือเขา มานะทิฏฐิเกิดขึ้นมาไม่ยอม กระด้างถือตัว มันได้อะไรกัน ไม่เห็นมีอะไร ตัวมันพองขึ้นโตขึ้นไหม ตัวนั้นมันดีวิเศษขึ้นกว่าเก่าหรือ มันเป็นคนสดคนสวยขึ้นกว่าแต่เก่าหรือ หรือว่าเป็นอะไรไม่เห็นสดสวยอะไร มีแต่หน้าบึ้งหน้าเบี้ยวหน้ายักษ์หน้ามาร อยู่ดีๆจะไม่ดีกว่าหรือ โมหะความลุ่มหลงก็เช่นกัน มันจะเกิดความโลภ ความหลง ก็โมหะมาก่อน มีโมหะแล้วเกิด โลภ โกรธ หลงขึ้นมา ให้ พิจารณาเห็นอย่างนี้แล้ว มันหมดเรื่องกัน จะไปเกิดโมหะ โทสะ มานะทิฏฐิไม่มีเลย เป็นของว่างเปล่าหมดทุกสิ่งทุกอย่าง เราอยู่เฉยๆจะไม่ดีกว่าหรือ ทำให้เข้าถึงใจตัวกลางตัวนั้น จะเบิกบาน สุขภาพก็ดี แล้วก็ไม่มีเวรภัย ไปไหนก็ไม่คับแคบ ไม่รกโลกของเขา คนโท สะ มานะทิฏฐิจะไปไหนมันรกหมด ไม่ยอมตนยอมตัวไปอยู่ที่ไหนมันคับบ้านคับเมืองหมด ให้พิจารณาอย่างนี้แหละ ครั้นถ้าพิจารณาอย่างนี้ถูกทางแล้ว มันจะรวมเข้าเป็นใจ เอาละ พิจารณาเท่านั้นละ

    [SIZE=-1]
    เคล็ดวิชาดูจิต (หลวงพ่อชา สุภัทโท)

    เคล็ดวิชาดูจิต
    โดย หลวงพ่อชา สุภัทโท



    การศึกษาธรรมะในทางพระพุทธศาสนานั้น เราศึกษาไปเพื่อหาทางพ้นทุกข์ เพื่อความสงบสุขเป็นจุดสำคัญ จะศึกษาเรื่องรูป เรื่องนาม เรื่องจิต เรื่องเจตสิกก็ตาม ก็เพื่อความหลุดพ้นจากทุกข์เท่านั้น จึงจะถูกทาง มิใช่อย่างอื่น

    สิ่งเหล่านี้ถ้าเราเข้าใจเสียว่า มันจะเป็นจิตก็ช่างมันเถอะ เมื่อมันนิ่งอยู่อย่างนี้ก็คือเป็นปกติของมัน ถ้าว่ามันเคลื่อนปุ๊บก็เป็นสังขารแล้ว มันจะเกิดยินดีก็เป็นสังขาร มันจะเกิดยินร้ายก็เป็นสังขาร มันอยากจะไปโน่นไปนี่ก็เป็นสังขาร ถ้าเราไม่รู้เท่าสังขาร ก็วิ่งตามมันไป เป็นไปตามมัน

    เมื่อจิตเคลื่อนเมื่อใด ก็เป็นสมมติสังขารเมื่อนั้น ท่านจึงให้พิจารณาสังขาร คือ จิตมันเคลื่อนไหวนั่นเอง เมื่อมันเคลื่อนออกไปก็เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

    เมื่อผู้รู้ รู้ตามความเป็นจริงของจิต หรือเจตสิกเหล่านี้ จิตก็ไม่ใช่เรา สิ่งเหล่านี้มีแต่ของทิ้งทั้งหมด ไม่ควรเข้าไปยึด ไปหมายมั่นทั้งนั้น

    เหมือนกับตะเกียงเป็นตัวผู้รู้ แสงสว่างของตะเกียง มันจะเป็นอย่างไรก็ช่างมัน มันเกิดจากผู้รู้อันนี้ ถ้าจิตนี้ไม่มี ผู้รู้ก็ไม่มีเช่นกัน มันคืออาการของพวกนี้

    ฉะนั้น สิ่งเหล่านี้รวมแล้วเป็นนามหมด ท่านว่าจิตนี้ก็ชื่อว่าจิต มิใช่สัตว์ มิใช่บุคคล มิใช่ตัว มิใช่ตน มิใช่เรา มิใช่เขา ธรรมนี้ก็สักว่าธรรม มิใช่ตัวตนเราเขา ไม่เป็นอะไร ท่านให้เอาที่ไหน เวทนาก็ดี สัญญาก็ดี สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ล้วนแต่เป็นขันธ์ห้า ท่านให้วาง

    สิ่งทั้งหลายที่จิตคิดไปทุกสิ่งทุกอย่างเหล่านี้ ล้วนเป็นสังขารทั้งหมด เมื่อรู้แล้วท่านให้วาง เมื่อรู้แล้วท่านให้ละ ให้รู้สิ่งเหล่านี้ตามความเป็นจริง ถ้าไม่รู้ตามความเป็นจริงก็ทุกข์ ก็ไม่วางสิ่งเหล่านี้ได้ เมื่อรู้ตามความเป็นจริงแล้ว สิ่งเหล่านี้ก็เป็นของหลอกลวง สมกับที่พระศาสดาตรัสว่า จิตนี้ไม่มีอะไร ไม่เกิดตามใคร ไม่ตายกับใคร จิตเป็นเสรี รุ่งโรจน์โชติการ ไม่มีเรื่องราวต่างๆ เข้าไปอยู่ในที่นั้น ที่จะมีเรื่องราวก็เพราะมันหลงสังขารนี่เอง หลงอัตตานี่เอง

    พระศาสนดาจึงให้มองดูจิตของเรา เบื้องแรกมันมีอะไร ไม่มีอะไรจริงๆ สิ่งเหล่านี้มิได้เกิดด้วย มิได้ตายด้วย ถูกอารมณ์ดีมากระทบก็มิได้ดีด้วย ถูกอารมณ์ร้ายมากระทบก็มิได้ร้ายไปด้วย เพราะรู้ตัวของตัวอย่างชัดเจน

    รู้ว่าสภาวะเหล่านั้นไม่เป็นแก่นสาร ท่านเห็นเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

    ตัวผู้รู้นี้ รู้ตามความเป็นจริง ผู้รู้มิได้ดีใจไปด้วย มิได้เสียใจไปด้วย อาการที่ดีใจไปด้วยนั่นแหละเกิด อาการที่เสียใจไปด้วยนั่นแหละตาย ถ้ามันตายก็เกิด ถ้ามันเกิดก็ตาย ตัวที่เกิดที่ตายนี่แหละ เป็นวัฏฏะ เวียนว่ายตายเกิดอยู่ไม่หยุด

    เมื่อจิตผู้ปฏิบัติเป็นอยู่อย่างนั้น ไม่ต้องสงสัย ภพมีไหน ชาติมีไหม ไม่ต้องถามใคร พิจารณาอาการสังขารเหล่านี้แล้วจึงได้ปล่อยวางสังขาร วางขันธ์เหล่านี้ เป็นเพียงผู้รับทราบไว้เฉยๆ มันจะดีขึ้นมา ท่านก็ไม่ดีกับมัน เป็นคนดูอยู่เฉยๆ ถ้ามันร้ายขึ้นมา ท่านก็ไม่ร้ายกับมัน เพราะมันขาดจากปัจจัยแล้ว

    เมื่อรู้ตามความเป็นจริง ปัจจัยที่จะส่งเสริมให้เกิดไม่มี

    เมื่อถูกอารมณ์ที่ไม่ชอบใจมากระทบ มันก็เกิดเป็นอาการขึ้นกับใจเรา เราติดมันไหม เราวางมันได้ไหม อาการที่ไม่ชอบใจนั้นเกิดขึ้นมา เรารู้แล้ว ผู้รู้เอาความไม่ชอบไว้ในใจหรือเปล่า หรือว่าเห็นแล้ววาง ถ้าเห็นสิ่งที่ไม่ชอบใจแล้วยังเอาไว้ในใจของเรา ให้เรียนใหม่ เพราะยังผิดอยู่ ยังไม่ยิ่ง ถ้ามันยิ่งแล้วมันวาง ให้ดูอย่างนี้

    [/SIZE]


    ขอเสนอข้อคิดเห็นครับ

    ข้อแรก ไม่ควรเอาจิตที่เป็นเรื่องของการเวียนว่ายตายเกิดมาอิงกับจิตที่ต้องพิจารณา เพราะมันคนละอย่างกัน ผมไม่กล่าวถึงว่าอภิธรรมเป็นเช่นไร พระสูตรเป็นเช่นไร เอาเท่าที่ผมทราบได้ เพราะจิตที่ต้องเวียนว่ายตายเกิดนั้นเป็นผลของ กุศลและอกุศลกรรมทั้งหลายแต่การที่เรากล่าวถึงจิตในการพิจารณาหรือวิปัสสนานั้นควรจะเป็นเรื่องของจิตชนิดใดที่เป็นเหตุแห่งกุศลและอกุศลนั้น ซึ่งนั่นก็คือจิตสังขาร และในความเป็นจริง จิตชนิดนี้เป็นตัวแปลทำให้เกิดภพชาติ ทำให้เกิดการเวียนว่ายตายเกิด และส่งผลไปเป็นภพชาติทั้งในขณะนั้นและเมื่อขันธ์ทั้งหลายดับลงด้วยเช่นกัน
    ข้อสอง จิตที่ต้องพิจารณาหากเห็นว่าเป็นจิตผ่องแผ้วเป็นจิตเดิมนั้น ก็แย่ไม่ต่างกับเห็นจิตไม่ใช่ของตน เพราะเป็นการสลัดและหลอกตนเองอยู่หากว่าด้วยจิตที่ต้องพิจารณา เพราะในความเป็นจริงหากจิตเดิมผ่องแผ้วมาก่อนแล้วเราจะมาหามาดูมันเพื่ออะไร เช่นเดียวกับหากจิตไม่เป็นเราแล้วเราจะไปสนใจมันทำไม ดังนั้นสิ่งที่ควรพิจารณาคือ จิตในแต่ละขณะนั้นมันคืออะไร เป็นปัจจุบันจิต เป็นสิ่งที่อาศัยสติเป็นเครื่องระลึกรู้ เช่น จิตโกรธ โลภ หลง หรือตรงกันข้ามเป็นยังไง มันมีมูลเหตุจากอะไร และจิตชนิดนี้ก็เป็นจิต หรือเป็นเหตุแห่งอกุศลกรรม และกุศลกรรม ผมว่าเรามองเลยไปจากจุดที่ควรมอง ดังนั้นไม่ว่าจะเห็นว่าจิตเดิมผ่องแผ้วหรือเห็นว่าจิตไม่ใช่เราเป็นธงตั้งเอาไว้แล้ว ก็ไม่ใช่ทางที่ถูกต้องครับ

    แต่ทั้งสองเรื่องนั้นถูกต้องตามพระพุทธพจน์และตามครูบาอาจารย์ท่านสอนสั่งไว้ เพียงแต่จุดเริ่มต้นจะเห็นนั้น มันจะเห็นเป็นลำดับๆไป ท่านจึงให้ความสำคัญในขันธ์ทั้งหลาย อันมี รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ซึ่งมาจากอินทรีย์หรืออายตนะทั้ง๖ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ดังนั้นจิตที่กล่าวหรือจิตที่ต้องพิจารณาคือจิตตรงนี้ จิตอันเกิดแก่ขันธ์ทั้งหลาย อันเป็นเหตุให้เกิดขันธ์ เพราะหากไปพิจารณาหรือคิดเอาว่าไม่ใช่เราก็ดีมันผ่องแผ้วแล้วก็ดี เชื่อว่ายังไงๆ ก็เห็นไม่ตรงกันอย่างแน่นอนครับ แต่หากว่าพิจารณาจิตที่เกิดทางอายตนะหรืออินทรีย์ พร้อมทั้งหาเหตุหาผลว่ามันเป็นอะไรมันคืออะไร ตามความเป็นจริงด้วยสติที่เพียรมา ก็น่าจะเห็นว่านั่นจิตที่ว่านั่น มันไม่เที่ยงแท้แน่นอน มันเป็นไปเพราะความยึดมั่นถือมั่น กิเลสตัณหา และจิตที่มีสติก็จะเพียรสร้างปัญญาหาทางพิจารณาตัดเหตุที่ทำให้เป็นเช่นนั้น ผมเข้าใจว่าจิตที่ควรพิจารณาเป็นจิตชนิดนี้ครับ ไม่ใช่จิตเดิมแท้ หรือ จิตไม่เป็นเรา ใดๆทั้งสิ้น มันยากอยู่หากเราอ่านตำราแล้วหลงประเด็นเวลามันล่วงเลยผ่านมานานแล้วแต่คำกล่าวต่างๆของพระอริยะสงฆ์องค์อรหันต์ทั้งหลายตั้งแต่ครั้งพุทธกาลก็ไม่ได้ขัดกับคำสอนของพระศาสดาแต่อย่างใดเลย หากเราไม่พิจารณาปฏิบัติเอาแต่นั่งคิดอยู่ว่า ต้องเป็นแบบนั้นต้องเป็นแบบนี้เท่านั้น ในความเป็นจริงมันก็เป็นไปไม่ได้ เพราะหลักก็คือหลักแต่ทางที่จะปฏิบัตินั้นเป็นไปตามกำลังสติปัญญาของแต่ละคนที่เพียรฝึกกันมาครับ
    อนุโมทนาครับ
     
  2. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    ขอเสนอข้อคิดเห็นครับ

    ข้อ 1 มันก็ตัวเดียวกันเรื่องเดียวกันครับ
    ข้อ 2 จิตเดิมมันก็ผ่องใสนะครับ แต่มันก็พร้อมที่จะถูกลากไปกับอะไรก็ได้ เพราะความหลงเป็นปัจจัย มันเป็นเรื่องที่จะต้องละให้ได้ ถึงจะเจอกับความดับทุกข์ครับ

    พระท่านกล่าวชอบแล้ว ขึ้นอยู่กับผู้อ่านว่าจะไปตีความกับภูมิตนตรงไหน ขึ้นอยู่กับผู้อ่านจะเข้าใจได้แค่ไหน บางทีผู้อ่านพูดเพราะไม่รู้ แล้วก็นึกว่ารู้แล้วมาพูด มันก็ยุ่งครับ ^-^
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 พฤษภาคม 2010
  3. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    อนุโมทนาครับ
    ข้อที่สองผมเข้าใจครับ ว่าจิตเดิมนั้นผ่องใส แต่ก็ต้องต่อท้ายด้วยว่า เพราะกิเลสจรมาจึงทำให้เศร้าหมอง แสดงว่า จิตนั้นไม่ได้ใช่คำว่าจิตเดิม แต่หากแปลให้เข้าใจก็น่าจะเป็น แท้ที่จริงจิตนั้นผ่องใส แต่เพราะมีกิเลสจรมาจึงเศร้าหมองไป เพราะหากบอกว่าจิตเดิมอยู่ คำว่าเดิมนั้นหมายถึงเนิ่นนานมาแล้ว หากบอกว่าเดิมมันผ่องแผ้วแล้วเราจะพากันมาเกิดอีกทำไม จริงไหมข้อนี้ ผมจึงไม่พยายามพิจารณา เพราะว่าปัญญามันว่าอย่างนั้นครับ และอีกอย่างผมเชื่อเสมอว่า ที่คิดว่าตนรู้นั้นอาจไม่เป็นจริงก็ได้ หากยังอาศัยคำกล่าวซ้ำๆอย่างขาดปัญญาอยู่ จึงตั้งข้อคิดเห็นไว้
    ข้อแรก จิตที่เป็นผลของหรือผลจากกุศลและอกุศล กรรมนำพาให้เกิดนั้นมันก็สามารถมองได้ว่า เป็นตัวเดียวกันแต่ที่ไม่มองเพราะไม่เป็นปัจจุบัน มันไม่ใช่สิ่งที่ควรมอง สิ่งที่ควรมองคือปัจจุบันเหตุของผลของจิตนั้น
    หรือคุณจินนี่จะแบ่งธรรมมาเป็นทานอธิบายให้กระจ่างได้ไหมครับว่า มันเหมือนกันด้วยสิ่งใดครับ และเหตุใดคุณจินนี่จึงคิดว่าเหมือนกันครับ
    ปล. ดวงหนึ่งเกิดดวงหนึ่งดับไปในความหมายที่คุณจินนี่เข้าใจคืออะไรครับตามความเห็นในข้อแรกครับ
    อนุโมทนาอีกครั้งครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 พฤษภาคม 2010
  4. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 พฤษภาคม 2010
  5. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    ไม่ได้สงสัยอะไรทั้งสิ้นครับ ก็พากันทำไปแล้วกันครับ ผมไม่ใช่พวกบรรลุธรรมหรืออุปโหลกตนเองว่าเป็นใครเหนือกว่าผู้ใด เป็นปุถุชนคนเขลาธรรมดา เสนอความคิดเห็นตามความเข้าใจ ก็สุดแล้วแต่จะเห็นว่า อะไรเป็นอะไรแล้วกันครับ เพราะว่าตนเองยังไม่รู้ว่าสิ่งไหนเป็นสิ่งที่ควรจะเป็นที่มีที่เกิดแก่ตนเองแล้วจะไปว่าคนอื่นถูกผิดนั้น ผมว่าคนนั้นเขลาเสียยิ่งกว่าครับ นี่คือสิ่งที่ผมเป็นอยู่ ณ ปัจจุบัน ขอความกรุณาอย่าคิดว่าผมอยากได้คำตอบเลยครับ ผมเพียงอยากทราบความคิดเห็นที่เห็นยกมากล่าว เพื่อจะดูว่าเป็นความคิดเห็นของตนเองหรือของตำราเท่านั้น ไม่มีอะไรมันว่างๆ ตามที่เข้าใจนั่นแหละดีแล้วครับ
    อนุโมทนาในความหวังดีครับ
     
  6. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    ถ้าไม่สงสัยแล้วจะแสดงความเห็นเช่นนี้เหรอครับ โอกาสหน้าถ้าจะยกคำกล่าวของพระผู้ปฎิบัติดีปฎิบัติชอบมา ก็มิควรแสดงความเห็นต่อท้าย มันจะเป็นการปรามาส ไม่ยอมรับธรรม โดยไม่รู้ตัว

    เรื่องความเห็นทั้งสองข้อ ถ้าสิ้นสงสัย ก็จะไม่กล่าวดังที่ท่านกล่าว เพราะมันเหมือนกับล้างปฎิจจสมุปบาทไป พระธรรมคำสอน จะย่นย่อ จะแยกขยาย ก็ไม่มีขัดกันเอง ซึ่งแสดงออกถึงปัญญาของพระศาสดา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 พฤษภาคม 2010
  7. ลูกบัวผัน

    ลูกบัวผัน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    187
    ค่าพลัง:
    +295
    เห็นด้วยนะ การยกอะไรมา ที่เกี่ยวข้องของพระสงฆ์(ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ)

    ก็ควรยกมาเฉยๆ หรือพระสูตรอะไรก็ตามก็ปล่อยให้ต้นฉบับเป็นไปแบบนั้น

    มันเป็นการบิดเบือนความจริง

    นี้คือสาเหตุ ที่ทำให้มีหลายลัทธิ และแตกออกไปหลายสาขา

    ทั้งที่ ต้นสาย ก็คือแหล่งเดียวกัน
     
  8. albertalos

    albertalos เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2006
    โพสต์:
    2,462
    ค่าพลัง:
    +1,137
    สติ รู้ตัว
    สัมปชันญะ ละลึกได้
    เพียงรู้และละลึกตาม ก้จะพบความจริง
    อย่าปติเสทสิ่งที่ไม่เคยพบและอย่ายอมรับว่าสิ่งที่พบแล้วเป็นจริง

    อนุโมทนาครับ
     
  9. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    ข้อคิดเห็นกับคำว่าสงสัยนั้นตัวคุณเองแยกแยะออกหรือยังครับ การที่ผมยกคำกล่าวของหลวงปู่มาก็หาใช่เพื่อการแสดงความเห็นอันเป็นการปรามาส แต่จะเน้นย้ำว่าหลวงปู่ท่านสอนอย่างนั้น คุณลองอ่านดีๆสิครับ ตัวคุณเอาอะไรคิดว่าทั้งหมดเป็นการล้างปฏิจจสมุปบาท หากคุณคิดว่าผมกล่าวนั้นเพื่อล้างพระธรรมคำสอนพระศาสดา อะไรเหรอที่คุณคิดว่าคุณแน่ หรือ แน่ใจ และที่ผมเสนอความคิดเห็นก็ควรจะบอกความเห็นที่คุณกล่าวด้วยว่า เห็นเช่นไร เพราะผมเสนอเพราะผลแห่งการเห็นของหลวงปู่กับการปฏิบัติตามธรรมและก็พระธรรมและพระวินัยนั้น ก็เป็นไปตามกาลตามวาระนั้น สอดคล้องกับพระธรรมคำสั่งสอนทุกอย่าง ที่สำคัญเลยการที่ผมเสนอความคิดเห็นอันเป็นส่วนตนนั้นผมก็บอกหรือกล่าวว่าความคิดเห็นอันเป็นส่วนตน อันควรจะเป็นเหตุให้บุคคลทั้งหลายควรพิจารณา หาใช่มาบอกหรือกล่าวอย่างเลื่อนลอยว่า คนนั้นหรือคนนี้เป็นคนล้างพระธรรมคำสอนของพระศาสดา ข้อนี้ก็ไม่อยากกล่าวอะไรมากเพราะว่าเหตุใด และส่วนไหนหรืออย่างไรจึงเรียกว่า ไม่ยอมรับธรรมของหลวงปู่หรือครับ มีส่วนไหนบ้างครับในความคิดเห็นของผมนั้นขัดแย้งกับคำสอนของหลวงปู่ทั่งสองอันเป็นพระอริยะสงฆ์สาวกของพระศาสดา
    เพราะอันที่จริงผมไม่ได้สงสัยในธรรมหรือความคิดเห็นใดที่ผมกล่าวเลยเพราะผมกล่าวตรงๆอย่างไม่แอบแฝงเพื่อประการใดทั้งปวง เพราะหากจะกล่าวว่าผมสงสัยอันที่จริง ก็สงสัยในสิ่งที่คุณกล่าวนั่นแหละและที่พูดมาทั้งหมดนั่นแหละครับ ว่าคุณพูดเพื่อจะชี้ว่าผมปรามาสหลวงปู่หรือจะชี้ว่าสิ่งที่ผมกล่าวมานั้นมันผิดหรือจะชี้ว่า มันไม่ใช่สมัครพรรคพวกกันจึงมองไปต่างๆนานา อันนี้ก็พิจารณาเอาเองครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 พฤษภาคม 2010
  10. Bull_psi

    Bull_psi เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +1,445
    จิตเดิมบริสุทธิ์เพราะยังไม่เคยมีกิเลสมาก่อน เมื่อมีบิ๊กแบง มีการสร้างโลก
    มีปัจจัยในการเกิดสิ่งมีชีวิต จึงมีกิเลส มีเหตุให้หลง จึงมีวัฎฐะ
    แตกต่างจากการบริสุทธิ์ในการบรรลุธรรมคือเกิดปัญญาแล้วกิเลสไม่มีผลต่อจิตอีกต่อไป
     
  11. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    ลองฟัง จิตเดิม มีธรรมชาติ ประภัสสร ในวลีหลวงปู่พุธ ฐานิโย

    [MUSIC]http://palungjit.org/attachments/a.951806/[/MUSIC]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  12. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    ภัยและเหตุปัจจัย ที่ทำให้พุทธศาสนาเสื่อม

    จากพรรษาที่ ๑๙ ของพระพุทธเจ้า ขณะทรงประทับจำพรรษา ณ จาลิกบรรพต เมืองจาลิกา</B>

    พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสถึงภัยอนาคตอันเป็นความเสื่อมของพุทธศาสนา ไว้ในอังคุตตรนิกาย ปัญจกนินิบาตข้อ ๘๐ กล่าวถึงภัยในอนาคต ๕ ประการ ซึ่งยังไม่บังเกิดในตอนนั้น แต่ว่าจะบังเกิดในกาลต่อมา เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๐ ปีที่แล้ว และทรงตรัสว่าภัยที่หลายนั้น อันเธอทั้งหลายควรรู้ไว้ ครั้นรู้แล้ว เธอพึงพยายามเพื่อละภัยเหล่านั้นเสีย

    </B>
    ภัยทั้ง ๕ ประการคือ

    ๑. ในอนาคต ภิกษุทั้งหลาย จะเป็นผู้ชอบจีวรในนาม ไม่ชอบจีวรในงาน จะละความเป็นผู้ถือผ้าบังสกุลเป็นวัตร (ในสมัยก่อนถือผ้าบังสกุลเป็นวัตร) จะประชุมกันอยู่ตามทางนิคมในงาน (ที่ชุมนุม ผู้อยู่อาศัย) และราชธานี (อยู่ในเมืองใหญ่) จะถึงกาลแสวงหาที่ไม่สมควร ไม่เหมาะสมต่าง ๆ เพราะเหตุแห่งจีวร

    ๒. ในอนาคต ภิกษุทั้งหลาย จะเป็นผู้ชอบบิณฑบาตที่ดีงาม ไม่ชอบบิณฑบาตที่มีงาน ก็จะละความเป็นผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร คือเดินออกไปบิณฑบาต
    จะประชุมกันอยู่ตามทาง (เมือง) นิคม และราชธานี แสวงหาบิณฑบาตที่มีรสเลิศด้วยกายลิ้น ประจักษ์ถึงการแสวงหาที่ไม่สมควร อันไม่เหมาะสมต่าง ๆ เพราะเหตุแห่งบิณฑบาต (การบิณฑบาต คือการขอโดยดุษณีภาพเป็นลักษณะเด่นเพราะคำว่าภิกษุคือผู้ขอจริง ๆ จึงเป็นผู้ที่ต้องออกบิณฑบาต )

    ๓. ในอนาคต ภิกษุทั้งหลาย จะเป็นผู้ชอบเสนาสนะที่ดีงาม (อยู่ในเมือง) ไม่ชอบเสาสนะที่มีงาน ก็จะละความเป็นผู้ถือกายอยู่ป่า วัด ละเสนาสนะอันสงัด คือ ป่า และป่าชัฏ จะประชุมกันอยู่ตามทางนิคม
    และราชธานี และจะแสวงหาการณ์ไม่สมควร อันไม่เหมาะสมกับกาล เพราะเหตุแห่งเสนาสนะ (รวมถึงเครื่องอัฏฐะบริขาร ทั้งหมดด้วย)

    ๔. ในอนาคต ภิกษุทั้งหลาย จะเป็นผู้อยู่คลุกคลีด้วยภิกษุณี สามเณรี และสามมนุษย์เทพเพื่อหวังได้ว่า เธอเหล่านั้นจะไม่เป็นผู้ยินดีประพฤติพรหมจรรย์ จะต้องอาบัติ เศร้าหมองบางประการ หรือจะก่อคืนสิกขา เวียนมาเพื่อความเป็นคฤหัสถ์ เพราะเหตุแห่งการคลุกคลีนั้น

    ๕. ในอนาคต ภิกษุทั้งหลาย จะเป็นผู้อยู่คลุกคลีด้วยอารามิกบุรุษ เมื่อมีการอยู่คลุกคลีด้วยอารามิกบุรุษ พึงหวังได้ว่า เธอเหล่านั้นจะเป็นผู้ประกอบแต่การบริโภคของที่สะสมไว้มีประการต่าง ๆ จักทำนิมิตแม้อย่างหยาบในแผ่นดินบ้าง ทีปลายขอบเขียวบ้าง (สร้างวัตถุพุทธพาณิชย์แบบที่เราได้เห็นกัน)

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภัยในอนาคตทั้ง ๕ ประการที่ยังไม่บังเกิดในบัดนี้ แต่จักบังเกิดในกาลต่อไป ภัยนั้นอันเธอทั้งหลายพึงรู้ไว้เฉพาะ ครั้นแล้วพึงละภัยเหล่านั้น อันเป็นความเสื่อมของภัยพระพุทธศาสนาในอนาคตกาล

    เป็นสิ่งที่พระพุทธองค์องค์ทรงตรัสไว้ ก่อนพุทธกาล ๒๕๐๐ ปี ที่สามารถจะดูจริยาของภิกษุได้ แต่พระพุทธศาสนายังคงอยู่ถึง ๕๐๐๐ ปี ฉะนั้นสิ่งที่เห็นในปัจจุบันยังเป็นส่วนน้อย

    </B>อย่างไรก็ตามยังทรงเคยตรัสถึงเหตุที่ทำให้พุทธศาสนาเสื่อม คือ ในสมัยหนึ่ง ขณะที่พระพุทธองค์ทรงประทับอยู่ในเวฬุวันวิหาร พระกิมพิละเข้าไปกราบทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยทำให้พระสัทธรรม ดำรงอยู่ไม่นาน หลังจากที่พระพุทธองค์ทรงปรินิพพานแล้ว พระพุทธองค์ตรัสว่า ดูก่อนกิมพิละ เมื่อตถาคตปรินิพพานแล้วหากพวกภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ที่

    ๑. ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในพระศาสดา
    ๒. ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในพระธรรม
    ๓. ไม่ความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในพระสงฆ์
    ๔. ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงในสิกขาบท
    ๕. ไม่มีความเครารพ ไม่มีความยำเกรงซึ่งกันและกัน

    "ดูก่อนกิมพิละ ปฏิปทานี้ เป็นเหตุเป็นปัจจัย ให้พระสัทธรรม ไม่ดำรงอยู่ไม่นาน" พระกิมพิละก็ทูลถามว่า "และอะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัยที่ทำให้พระสัทธรรม ดำรงอยู่ได้นาน" ซึ่งพระพุทธองค์ก็ตอบว่า ถ้าหากว่าเมื่อพระพุทธองค์ปรินิพพานไปแล้ว หากพวกภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ที่มีความเคารพยำเกรงในพระศาสดา (พระพุทธ) มีความเคารพมีความยำเกรงในพระธรรม (คำสั่งสอน) มีความเคารพมีความยำเกรงในพระสงฆ์ (เคารพนบนอบในพระสงฆ์) มีความเคารพมีความยำเกรงในสิกขา บท (ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ไม่หลอกลวงกัน) และมีความเคารพ มีความยำเกรงซึ่งกันและกัน ปฏิปทานี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้พระสัทธรรม ดำรงอยู่ได้นาน

    ถ้าเมื่อใดก็ตาม เราขาดความอ่อนน้อมถ่อมตน ขาดความอ่อนโยน ขาดปิยวาจา ไม่มีความยำเกรง ไม่มีการเกรงใจกัน จ้วงจาบซึ่งกันและกันจะเป็นความเสื่อมของพระศาสนาเหมือนกัน

    พระพุทธศาสนาจะเสื่อมด้วย ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา หรือพุทธบริษัทสี่ ก็จะมาจากตรงนี้นั่นเอง รวมความแล้วเหตุที่ทำให้พุทธศาสนาเสื่อมเป็นที่พระภิกษุเอง มีจิตใจที่ยังตัดไม่ขาดกับจีวร การบิณฑบาต เสนาสนะ หรือชอบที่จะคลุกคลีหรือเสวนา คฤหัสถ์ทั้งหลาย ก็จะเป็นภัยในอนาคตที่จะทำให้เสื่อมพระศาสนาประการหนึ่ง รวมทั้งภิกษุ ภิกษุณี อุบาสิกาด้วย ที่ขาดความเข้าถึง หรือความเคารพในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และยังไม่มีความเคารพซึ่งกันและกันอีกด้วย
     
  13. ธรรมะสวนัง

    ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,255
    ขอนำเสนออีกพระสูตรเพื่อเทียบเคียง

    สัทธรรมปฏิรูปกสูตร

    [๕๓๒] ดูกรกัสสป ฯลฯ
    สัทธรรมปฏิรูปยังไม่เกิดขึ้นในโลกตราบใด ตราบนั้นพระสัทธรรมก็ยังไม่เลือนหายไป
    และสัทธรรมปฏิรูปเกิดขึ้นในโลกเมื่อใด เมื่อนั้นพระสัทธรรมจึงเลือนหายไป


    ทองเทียมยังไม่เกิดขึ้นในโลกตราบใด ตราบนั้นทองคำธรรมชาติก็ยังไม่หายไป
    และเมื่อทองเทียมเกิดขึ้น ทองคำธรรมชาติจึงหายไป ฉันใด พระสัทธรรมก็ฉันนั้น


    [๕๓๓] ดูกรกัสสป
    ธาตุดินยังพระสัทธรรมให้เลือนหายไปไม่ได้
    ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ก็ยังพระสัทธรรมให้เลือนหายไปไม่ได้

    ที่แท้โมฆบุรุษในโลกนี้ต่างหาก เกิดขึ้นมาก็ทำให้พระสัทธรรมเลือนหายไป
    เปรียบเหมือนเรือจะอัปปาง ก็เพราะต้นหนเท่านั้น


    [๕๓๔] ดูกรกัสสป เหตุฝ่ายต่ำ ๕ ประการเหล่านี้
    ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อความฟั่นเฟือน เพื่อความเลือนหายแห่งพระสัทธรรม

    เหตุฝ่ายต่ำ ๕ ประการเป็นไฉน คือ
    ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้ ไม่เคารพยำเกรงในพระศาสดา ๑
    ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้ ไม่เคารพยำเกรงในพระธรรม ๑
    ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้ ไม่เคารพยำเกรงในพระสงฆ์ ๑
    ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้ ไม่เคารพยำเกรงในสิกขา ๑
    ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้ ไม่เคารพยำเกรงในสมาธิ ๑

    [๕๓๕] ดูกรกัสสป เหตุ ๕ ประการเหล่านี้แล
    ย่อมเป็นไปพร้อมเพื่อความตั้งมั่น ไม่ฟั่นเฟือน ไม่เลือนหายแห่งพระสัทธรรม

    เหตุ ๕ ประการเป็นไฉน คือ
    ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้ มีความเคารพยำเกรงในพระศาสดา ๑
    ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้ มีความเคารพยำเกรงในพระธรรม ๑
    ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้ มีความเคารพยำเกรงในพระสงฆ์ ๑
    ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้ มีความเคารพยำเกรงในสิกขา ๑
    ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ในธรรมวินัยนี้ มีความเคารพยำเกรงในสมาธิ ๑

    (smile)
     
  14. ธรรมะสวนัง

    ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,255
    ภัยในอนาคต ๕ ประการ มี ๔ พระสูตร ที่ยกมาเป็น อนาคตสูตรที่ ๔
    ขอเสนอเพิ่มเติม อนาคตสูตรที่ ๓

    สรุป อนาคตสูตรที่ ๓

    ภัยในอนาคต ๕ ประการนี้ ยังไม่บังเกิดในปัจจุบัน แต่จักบังเกิดในกาลต่อไป

    ในอนาคต ภิกษุทั้งหลายจักไม่อบรมกาย ไม่อบรมศีล ไม่อบรมจิต ไม่อบรมปัญญา

    เมื่อไม่อบรมกาย ไม่อบรมศีล ไม่อบรมจิต ไม่อบรมปัญญา

    ๑.จักให้อุปสมบทกุลบุตรเหล่าอื่น
    จักไม่สามารถแนะนำแม้กุลบุตรเหล่านั้นในอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา

    ๒.จักให้นิสัยแก่กุลบุตรเหล่าอื่น
    จักไม่สามารถแนะนำแม้กุลบุตรเหล่านั้นในอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา

    ๓. เมื่อแสดงอภิธรรมกถา เวทัลลกถา หยั่งลงสู่ธรรมที่ผิดก็จักไม่รู้สึก

    ๔.พระสูตรต่างๆ ที่ตถาคตได้ภาษิตไว้ เป็นสูตรลึกซึ้ง
    มีอรรถลึกซึ้งเป็นโลกุตระ ประกอบด้วยสุญญตาธรรม
    เมื่อพระสูตรเหล่านั้นอันบุคคลแสดงอยู่
    ก็จักไม่ฟังด้วยดี จักไม่เงี่ยโสตลงสดับ
    จักไม่ตั้งจิตเพื่อรู้ จักไม่ใฝ่ใจในธรรมเหล่านั้นว่าควรศึกษาเล่าเรียน


    ๕.ภิกษุผู้เถระก็จักเป็นผู้มักมาก มีความประพฤติย่อหย่อน เป็นหัวหน้าในความล่วงละเมิด
    ทอดธุระในความสงัด
    จักไม่ปรารภความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง
    เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่ได้บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งธรรมที่ยังไม่ได้ทำให้แจ้ง


    เพราะเหตุดังนี้แล
    การลบล้างวินัยย่อมมีเพราะการลบล้างธรรม การลบล้างธรรมย่อมมีเพราะการลบล้างวินัย

    ภัยในอนาคต ๕ ประการเหล่านี้นั้น
    เธอทั้งหลายพึงรู้ไว้เฉพาะ ครั้นแล้ว พึงพยายามเพื่อละภัยเหล่านั้น
    โดยการอบรมกาย อบรมศีล อบรมจิต อบรมปัญญา

    (smile)
     
  15. ธรรมะสวนัง

    ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,255
    เธอทั้งหลายพึงรู้ไว้เฉพาะ ครั้นแล้ว พึงพยายามเพื่อละภัยเหล่านั้น
    โดยการอบรมกาย อบรมศีล อบรมจิต อบรมปัญญา


    นั่นคือต้องศึกษาอธิศีล อธิจิต อธิปัญญา
    หรือก็คือ
    ต้องปฏิบัติอริยมรรคมีองค์ ๘ ศีล สมาธิ ปัญญา นั่นเอง
    สำคัญที่สุดคือ
    ต้องปฏิบัติสมาธิกรรมฐานภาวนา

    อบรมจิตโดยการศึกษาอธิจิต โดยปฏิบัติสัมมาสมาธิ
    ดังมีพระสูตรแสดงไว้ดังนี้

    อธิจิตตสิกขาเป็นไฉน?

    ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม

    บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่
    บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิต ณ ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น
    ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกและวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่
    เพราะปีติสิ้นไป จึงมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌาน
    ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข
    บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆได้
    มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่

    สัมมาสมาธิเป็นไฉน?
    ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม
    บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่
    บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิต ณ ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น
    ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกและวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่
    เพราะปีติสิ้นไป จึงมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌาน
    ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข
    บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆได้
    มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่

    ^
    อธิจิตตสิกขา ก็คือ การปฏิบัติสัมมาสมาธิ นั่นเอง

    (smile)
     
  16. Bull_psi

    Bull_psi เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +1,445
    วันก่อนดูช่อง9 มีการทดลองเกี่ยวกับต้นไม้
    1.มีต้นไม้ประเภทนักล่า ใช้ดมกลิ่น(ทดลองโดยต้นนึงใช้โหลแก้วครอบ อีกต้นไม้ครอบ
    เจ้าต้นนักล่าพุ่งกิ่งเหมือนตำลึงไปทางต้นที่ไม่ครอบทันที)เพื่อหาต้นอื่นเข้าไปอิงเจาะน้ำเลี้ยงกิน

    2.ต้นไม้ประเภทนึงปล่อยน้ำหวานเพื่อล่อให้มดมาทำรังเพื่อคุ้มครองต้นไม้จากหนอน
    คือ สังเกตุว่าทันทีที่มีการกินใบของหนอน ต้นไม้ส่งสัญญาณไฟฟ้าไปทั้งต้น
    จากนั้นจุดที่ปล่อยน้ำหวานก็ปล่อยออกมา และมดก็ออกมาคุ้มครองต้นไม้
    นอกจากนั้น สัญญาณนี้ถูกส่งต่อไปยังต้นไม้ต้นข้างๆด้วยทั้งที่ยังไม่โดนหนอนกิน

    3.พบว่าต้นไม้ที่ถูกตัดใบส่งสัญญาณ ออกมาเป็นคลื่นไฟฟ้าเปลี่ยนแปลง
    (ตรงนี้จำไม่ค่อยได้ว่าเค้าเอาอะไรมาสรุปว่ามันเศร้าจึงขอข้ามไป)

    4.มีการทดลองเปิดเพลงให้ต้นไม้ฟัง ต้นไม้ต้นที่ได้ฟังเพลงก็เติบโตได้ดีกว่าต้นที่ไม่ได้ฟัง
    ทดลองในห้องสภาวะเดียวกัน

    ต้นไม้เป็นสิ่งมีชีวิตและก็มีอายตนะ แฮะ 5 5 5
    จึงขอเรียนถามว่า "จิตของต้นไม้เป็นอย่างไรคร้าบ"
     
  17. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    นาย kengkenny ยังไม่ได้อยู่ในฐานะ ที่จะวิพากษ์เรื่องแบบนี้

    ควรไป ฝึกสมาธิให้ดี แล้วพูดในเรื่องง่ายๆ ก่อน

    แต่ รู้สึกว่า เรื่องง่ายๆ เช่น สมาธิ สติ แบบง่ายๆ ก็คงจะมองไม่เห็น จึงกระโดดไปพูดในเรื่อง เกินฐานะตน
     
  18. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=9703
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 พฤษภาคม 2010
  19. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    http://www.dharma-gateway.com/monk/preach/pk_kasem/pk-kasem_11.htm
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 พฤษภาคม 2010
  20. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    http://palungjit.org/threads/ชีวิตนี้ไม่มีตัวตน-พระครูเกษมธรรมทัต-สุรศักดิ์-เขมรสี.224435/
     

แชร์หน้านี้

Loading...