มีระดับสมาธิแค่ไหน ถึงเพียงพอต่อการบรรลุธรรม สิ้นอาสวะ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย siratsapon, 25 ธันวาคม 2009.

  1. siratsapon

    siratsapon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    368
    ค่าพลัง:
    +641
    พระสูตรต่อไปนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสไว้ ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะ หรือการสำเร็จมรรค-ผล-นิพพาน ว่าจำเป็นต้องมีสมาธิระดับใดเป็นบาทฐานบ้าง ดังต่อไปนี้



    *****************



    ฌานสูตร

    [๒๔๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
    เพราะอาศัยปฐมฌานบ้าง ทุติยฌานบ้าง ตติยฌานบ้าง จตุตถฌานบ้าง อากาส
    นัญจายตนฌานบ้าง ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะ
    ทั้งหลาย เพราะอาศัยเนวสัญญานาสัญญายตนฌานบ้าง ฯ

    ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะ
    ทั้งหลาย เพราะอาศัยปฐมฌานบ้าง ดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุ
    ทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน เธอย่อม
    พิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันมี
    อยู่ในขณะแห่งปฐมฌานนั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค
    เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร ไม่มีสุข เป็นอาพาธ เป็นของผู้อื่น เป็นของชำรุด
    ว่างเปล่า เป็นอนัตตา เธอย่อมยังจิตให้ตั้งอยู่ด้วยธรรมเหล่านั้น ครั้นแล้ว เธอ
    ย่อมโน้มจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า นั่นสงบ นั่นประณีต คือ ธรรมเป็นที่สงบแห่ง
    สังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความคลายกำหนัด
    ความดับ นิพพาน เธอตั้งอยู่ในปฐมฌานนั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะ
    ทั้งหลาย ถ้ายังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เธอย่อมเป็นอุปปาติกะ
    จักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะโอรัมภาคิย-
    *สังโยชน์ ๕ สิ้นไป

    ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้นๆ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    เปรียบเหมือนนายขมังธนู หรือลูกมือของนายขมังธนู เพียรยิงรูปหุ่นที่ทำด้วย
    หญ้าหรือกองก้อนดิน ต่อมาเขาเป็นผู้ยิงได้ไกล ยิงไม่พลาด และทำลายร่างใหญ่ๆ
    ได้แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล สงัดจากกาม ฯลฯ
    บรรลุปฐมฌาน เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา สัญญา
    สังขาร วิญญาณ อันมีอยู่ในขณะแห่งปฐมฌานนั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็น
    ทุกข์ ... ว่างเปล่าเป็นอนัตตา เธอย่อมยังจิตให้ตั้งอยู่ด้วยธรรมเหล่านั้น ครั้น
    แล้วย่อมน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า นั่นสงบ นั่นประณีต คือ ธรรมเป็นที่สงบ
    แห่งสังขารทั้งปวง ... นิพพาน เธอตั้งอยู่ในปฐมฌานนั้น ย่อมถึงความสิ้นไป
    แห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้ายังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เธอย่อมเป็น
    อุปปาติกะ จักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะ
    โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป

    ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้นๆ ข้อที่
    เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายเพราะ
    อาศัยปฐมฌานบ้าง ดังนี้นั้น เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ฯ

    ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะ
    ทั้งหลาย เพราะอาศัยทุติยฌานบ้าง ฯลฯ เพราะอาศัยตติยฌานบ้าง ฯลฯ เพราะ
    อาศัยจตุตถฌานบ้าง ดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ
    ในธรรมวินัยนี้ บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับ
    โสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ เธอย่อมพิจารณา
    เห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันมีอยู่ในขณะ
    แห่งจตุตถฌานนั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ... ว่างเปล่า เป็น
    อนัตตา เธอย่อมยังจิตให้ตั้งอยู่ด้วยธรรมเหล่านั้น ครั้นแล้ว ย่อมน้อมจิตไปเพื่อ
    อมตธาตุว่า นั่นสงบ นั่นประณีต คือ ธรรมเป็นที่สงบแห่งสังขารทั้งปวง ...
    นิพพาน เธอตั้งอยู่ในจตุตถฌานนั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้า
    ยังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เธอย่อมเป็นอุปปาติกะ จักปรินิพพาน
    ในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕
    สิ้นไป ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้นๆ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบ
    เหมือนนายขมังธนู หรือลูกมือของนายขมังธนู เพียรยิงธนูไปยังรูปหุ่นที่ทำด้วย
    หญ้าหรือกองดิน ต่อมาเขาเป็นผู้ยิงได้ไกล ยิงไม่พลาด และทำลายร่างใหญ่ๆ
    ได้ แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล บรรลุจตุตถฌาน
    ฯลฯ เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา ฯลฯ มีอันไม่กลับ
    มาจากโลกนั้นเป็นธรรมดา ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความ
    สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะอาศัยจตุตถฌานบ้าง ดังนี้นั้น เราอาศัยข้อนี้
    กล่าวแล้ว ฯ

    ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะ
    ทั้งหลาย เพราะอาศัยอากาสานัญจายตนฌานบ้าง ดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง
    เพราะดับปฏิฆสัญญา และเพราะไม่ใส่ใจถึงนานัตตสัญญา บรรลุอากาสานัญจายตน-
    *ฌาน โดยคำนึงเป็นอารมณ์ว่า อากาศไม่มีที่สุด เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรม
    ทั้งหลาย คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันมีอยู่ในขณะแห่งอากาสา-
    *นัญจาตนฌานนั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ... ว่างเปล่า เป็นอนัตตา
    เธอย่อมยังจิตให้ตั้งอยู่ด้วยธรรมเหล่านั้น ครั้นแล้ว ย่อมน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุ
    ว่า นั่นสงบ นั่นประณีต คือ ธรรมเป็นที่สงบแห่งสังขารทั้งปวง ... นิพพาน

    เธอตั้งอยู่ในอากาสานัญจาตนฌานนั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้า
    ยังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เธอย่อมเป็นอุปปาติกะ จักปรินิพพานใน
    ภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป
    ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้นๆ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนนาย
    ขมังธนู หรือลูกมือของนายขมังธนู เพียรยิงธนูไปยังรูปหุ่นที่ทำด้วยหญ้าหรือ
    กองดิน ต่อมาเขาเป็นผู้ยิงได้ไกล ยิงไม่พลาด และทำลายร่างใหญ่ๆ ได้ แม้
    ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล เพราะล่วงรูปสัญญาโดย
    ประการทั้งปวง เพราะดับปฏิฆสัญญา เพราะไม่ใส่ใจถึงนานัตตสัญญา บรรลุ
    อากาสานัญจาตนฌาน ... เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย ฯลฯ มีอันไม่กลับ
    จากโลกนั้นเป็นธรรมดา ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่เรากล่าวว่า เรากล่าวความ
    สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะอาศัยอากาสานัญจายตนฌานบ้าง ดังนี้นั้น เรา
    อาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ฯ

    ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะ
    ทั้งหลาย เพราะอาศัยวิญญาณัญจายตนฌานบ้าง ฯลฯ อากิญจัญญายตนฌานบ้าง
    ดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะ
    ล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน โดย
    คำนึงเป็นอารมณ์ว่า อะไรๆ หน่อยหนึ่งไม่มี เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย
    คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันมีอยู่ในขณะแห่งอากิญจัญญายตนฌานนั้น
    โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ... ว่างเปล่า เป็นอนัตตา เธอย่อมยังจิตให้
    ตั้งอยู่ด้วยธรรมเหล่านั้น ครั้นแล้ว ย่อมน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า นั่นสงบ นั่น
    ประณีต คือ ธรรมเป็นที่สงบแห่งสังขารทั้งปวง ... นิพพาน เธอตั้งอยู่ใน
    อากิญจัญญายตนะนั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้ายังไม่ถึงความ
    สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เธอย่อมเป็นอุปปาติกะ จักปรินิพพานในภพนั้น มีอัน
    ไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป ด้วยความ
    ยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้นๆ

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนนายขมังธนู
    หรือลูกมือของนายขมังธนู เพียรยิงธนูไปยังรูปหุ่นที่ทำด้วยหญ้าหรือกองดิน ต่อมา
    เขาเป็นผู้ยิงได้ไกล ยิงไม่พลาด และทำลายร่างใหญ่ๆ ได้ แม้ฉันใด ดูกร
    ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดย
    ประการทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน โดยคำนึงเป็นอารมณ์ว่า อะไรๆ
    หน่อยหนึ่งไม่มี เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ เวทนา สัญญา
    สังขาร วิญญาณ อันมีอยู่ในขณะแห่งอากิญจัญญายตนฌานนั้น โดยความเป็น
    ของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ... ว่างเปล่า เป็นอนัตตา เธอย่อมยังจิตให้ตั้งอยู่ในธรรม
    เหล่านั้น ครั้นแล้ว ย่อมน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า นั่นสงบ นั่นประณีต คือ
    ธรรมเป็นที่สงบสังขารทั้งปวง ... นิพพาน เธอตั้งอยู่ในอากิญจัญญายตนฌาน
    นั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้ายังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะ
    ทั้งหลาย เธอย่อมเป็นอุปปาติกะ จักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่พึงกลับจากโลก
    นั้นเป็นธรรมดา เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป ด้วยความยินดีเพลิดเพลิน
    ในธรรมนั้นๆ ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่ง
    อาสวะทั้งหลาย เพราะอาศัยอากิญจัญญายตนฌานบ้าง ดังนี้นั้น เราอาศัยข้อนี้
    กล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังนี้แล สัญญาสมาบัติมีเท่าใด สัญญา-
    *ปฏิเวธก็มีเท่านั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย อายตนะ ๒ เหล่านี้ คือ เนวสัญญานา-
    *สัญญายตนสมาบัติ ๑ สัญญาเวทยิตนิโรธ ๑ ต่างอาศัยกัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย
    เรากล่าวว่า อายตนะ ๒ ประการนี้ อันภิกษุผู้เข้าฌานผู้ฉลาดในการเข้าสมาบัติ
    และฉลาดในการออกจากสมาบัติ เข้าแล้วออกแล้ว พึงกล่าวได้โดยชอบ ฯ


    จบสูตรที่ ๕


    เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ บรรทัดที่ ๙๐๔๑ - ๙๑๔๕. หน้าที่ ๓๙๐ - ๓๙๔.
    http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=23&A=9041&Z=9145&pagebreak=0

    ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=240




    *********************


    จากพระสูตรเมื่อได้อ่านแล้วจะทราบว่า ภิกษุหรือผู้ปฏิบัติจะสิ้นอาสวะได้นั้นจะต้องอาศัยสมาธิระดับปฐมฌานเป็นอย่างน้อย ไปถึงระดับเนวสัญญานาสัญญายตนะ แต่ทั้งนี้ไม่ได้หมายถึงว่าผู้ปฏิบัติจะต้องไปทำสมาธิแบบสมถะ หรือที่เรียกว่าแนวทาง "วิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า" เท่านั้น สมาธิอันเป็นฌานนี้อาจเกิดมาจากแนวทางอื่นๆ เช่น การเจริญวิปัสสนานำหน้าสมถะ, การเจริญวิปัสสนาควบคู่ไปกับสมถะ เป็นต้น ก็ได้ <!--MsgFile=0-->
     
  2. Bull_psi

    Bull_psi เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +1,445
    แปลว่าฌานระดับ1-8 ฌานไหนก็ได้ แต่พิจารณาเห็นจริงเกิดปัญญาญาณว่า
    รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ไม่เที่ยง ล้วน อนิจจัง ทุกข์ อนัตตา
    ก็บรรลุธรรมแล้ว

    ถ้าได้ฌานสมาบัติ (บรรลุฌาน8)ใช้กำลังฌานนี้ประหารกิเลส
    จะเป็นพระอรหันต์ระดับปฎิสัมภิทา (หลวงปู่มั่น)
    คือรู้ธรรมจำแนกสั่งสอนสัตว์ตามเหมาะสม เกื้อกูลคนรุ่นหลังได้มาก
     
  3. บดินทร์จ้า

    บดินทร์จ้า เจโตวิมุตติ-ปัญญาวิมุตติ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    493
    ค่าพลัง:
    +749
    ถูกแล้วครับท่านทั้ง 2 สมาธิระดับไหนก็ใช้ได้ครับ หากรู้จักตัววิปัสสนาญานที่ถูกต้องครับ และ ไม่ยึดติดว่าของเรา ตัวเรา พูดง่ายๆคือสักกายทิฎฐิ
     
  4. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้
    บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข
    เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆได้
    มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่

    เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
    อันมีอยู่ในขณะแห่งจตุตถฌานนั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ... ว่างเปล่า เป็น
    อนัตตา

    เธอย่อมยังจิตให้ตั้งอยู่ด้วยธรรมเหล่านั้น
    ครั้นแล้ว ย่อมน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า นั่นสงบ นั่นประณีต คือ
    ธรรมเป็นที่สงบแห่งสังขารทั้งปวง ...นิพพาน
    ^
    ^
    ^
    ท่านครับ แค่สัมมาสมาธิฌานที่๔ ก็ชyดเจนอยู่แล้วว่า
    เป็นทั้งสมถะและวิปัสสนาอยู่ในตัวเอง อยู่แล้วใช่มั้ย???

    อย่าพยายามแยกสมถะและวิปัสสนาออกจากกันเลย
    เพราะทั้งสองนั้น เป็นของที่แยกออกจากกันไม่ได้ จึงใช้คำว่า"และ"
    ถึงทั้งสองนั้น จะต่างหน้าที่กัน แต่ต้องทำงานร่วมกันไปตลอดเวลา จึงบรรลุได้

    ส่วนฌานสมาบัติ๘นั้น แบ่งเป็นรูปฌานและอรูปฌาน
    ซึ่งเป็นฌานที่พระพุทธองค์ทรงเคยปฏิบัติมาก่อนที่จะตรัสรู้

    เมื่อพระพุทธองค์ทรงตรัสรู้แล้วก็ได้ทรงปฏิเสธฌานเหล่านั้นไป
    เป็นเพียงทำให้กิเลสเบาบางได้เท่านั้น แต่ไม่อาจทำให้พ้นทุกข์ได้


    ;aa24
     
  5. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    สัมมาสมาธิ เป็นไฉน

    สัมมาสมาธิ เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้
    สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน
    มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่

    เธอบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น
    เพราะวิตกวิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่

    เธอมีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน
    ที่พระอริยทั้งหลาย สรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข

    เธอบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัส
    โทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ อันนี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ

    จากมหาสติปัฏฐานสูตร


    ;aa24
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 ธันวาคม 2009
  6. Bull_psi

    Bull_psi เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +1,445
    ปัญญากล้าที่อุปจารสมาธิ สมาธิกล้าที่อัปปนาสมาธิ

    พุทธพจน์กล่าวมาเป็น
    ฌานสำหรับบรรลุธรรม

    สัมมาสมาธิ คือฌาน4 ก็จริง

    มรรคมีองค์8 ถ้ามาประชุมพร้อมเกิดมรรคสมังคี ก็เกิดปัญญาญาณ ก็มีพระอริยะยืนยัน

    เกี่ยวกับวาสนา บารมีที่สั่งสมมาแตกต่างกันรึป่าวนะครับ
     
  7. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,647
    โมทนาสาธุธรรมครับ....

    จากพระสูตรเมื่อได้อ่านแล้วจะทราบว่า ภิกษุหรือผู้ปฏิบัติจะสิ้นอาสวะได้นั้นจะต้องอาศัยสมาธิระดับปฐมฌานเป็นอย่างน้อย ไปถึงระดับเนวสัญญานาสัญญายตนะ แต่ทั้งนี้ไม่ได้หมายถึงว่าผู้ปฏิบัติจะต้องไปทำสมาธิแบบสมถะ หรือที่เรียกว่าแนวทาง "วิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า" เท่านั้น สมาธิอันเป็นฌานนี้อาจเกิดมาจากแนวทางอื่นๆ เช่น การเจริญวิปัสสนานำหน้าสมถะ, การเจริญวิปัสสนาควบคู่ไปกับสมถะ เป็นต้น ก็ได้

    รอบคอบไว้ก่อน....สาธุ....<!-- google_ad_section_end -->
     
  8. siratsapon

    siratsapon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    368
    ค่าพลัง:
    +641
    แม้ได้รูปฌาน แต่หากมรรคยังไม่เกิดยังไม่จัดว่าเป็น "สัมมาสมาธิ"

    <CENTER>ยุคนัทธวรรค ยุคนัทธกถา</CENTER><CENTER></CENTER><CENTER>
    </CENTER>[๕๓๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้

    สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ ณ โฆสิตาราม ใกล้พระนครโกสัมพี
    ณ ที่นั้นแล ท่านพระอานนท์เรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย
    ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระอานนท์แล้ว ท่านพระอานนท์ได้กล่าวว่า ดูกรอาวุโส
    ทั้งหลาย ก็ภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง พยากรณ์อรหัตในสำนักเรา ด้วย
    มรรค ๔ ทั้งหมดหรือด้วยมรรคเหล่านั้นมรรคใดมรรคหนึ่ง มรรค ๔ เป็นไฉน ฯ

    ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุในศาสนานี้ ย่อมเจริญวิปัสสนาอันมีสมถะ
    เป็นเบื้องต้น เมื่อภิกษุนั้นเจริญวิปัสสนาอันมีสมถะเป็นเบื้องต้นอยู่ มรรคย่อม
    เกิด ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญ
    ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป ฯ

    อีกประการหนึ่ง ภิกษุเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น เมื่อภิกษุ
    นั้นเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้นอยู่ มรรคย่อมเกิดขึ้น ภิกษุนั้นเสพ เจริญ
    ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่
    ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป ฯ

    อีกประการหนึ่ง ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไป เมื่อภิกษุนั้น
    เจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไป มรรคย่อมเกิด ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำ
    ให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อภิกษุนั้นเสพ เจริญทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อม
    ละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมสิ้นไป ฯ

    อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีใจนึกถึงโอภาสอันเป็นธรรมถูกอุทธัจจะกั้นไว้
    สมัยนั้น จิตย่อมตั้งมั่นสงบอยู่ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่นอยู่
    มรรคย่อมเกิดแก่ภิกษุนั้น ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อ
    ภิกษุนั้นเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัย
    ย่อมสิ้นไป ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ก็ภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดรูปหนึ่ง พยากรณ์
    อรหัตในสำนักเรา ด้วยมรรค ๔ นี้ทั้งหมด หรือด้วยมรรคเหล่านั้นมรรคใดมรรค
    หนึ่ง ฯ

    ที่มา : http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=31&A=7564&Z=7861&pagebreak=0

    อรรถกถา :-
    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=534
     
  9. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    ให้รู้จักตักตวงประโยชน์จากสมาธิให้มากที่สุด แต่ก็ไม่ควรยึดสมาธิเป็นตัวตน
     
  10. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    ส่วนประเด็นสมถะหรือวิปัสสนา อย่างทำก่อนดีกว่ากัน ส่วนใหญ่ทำสมถะมาก่อนทั้งนั้น หลายคนรู้จักสมาธิว่า พุทโธ เข้าออก ยุบพอง ทำใจให้ว่าง ๆ นะ อย่าไปคิดอะไรนะ นิ่ง ๆ ให้ได้ ตั้งและทำอย่างนี้มาก่อน สะสมกันมาพอสมควร

    ดีที่สุดคือเจริญวิปัสสนาในสมาธิได้นั่นแหล่ะ
     
  11. วิมุตติ

    วิมุตติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    2,355
    ค่าพลัง:
    +2,169
    สมาธิเบื้องต้น ได้ธรรมชั้นต้น
    สมาธิเบื้องกลาง ได้ธรรมชั้นกลาง
    สมาธิเบื้องสูง สิ้นอาสวะกิเลส สมาธิระดับอัปปนาสมาธิ
    สมาธิอรูปสมาบัติ เกินความจำเป็น

    ดีที่สุดคือ ใช้สมาธิที่มีเจริญวิปัสสนานั่นแหล่ะ

    หลวงปู่มั่น ได้ปฏิสัมภิทานุศาสตร์ ไม่ใช่ปฏิสัมภิทาญาณ (อ้างอิงจากประวัติหลวงปู่มั่น ก่อนบรรลุ ท่านนิมิตเห็นตู้พระไตรปิฎก แต่เปิดตู้ไม่ได้ บ่งชี้ว่า ยังไม่ถึงขั้นปฏิสัมภิทาญาณ แต่ใจผมอยากให้ท่านได้ใจจะขาด ขอกราบแทบเท้าพระอาจารย์ใหญ่มั่นด้วย สาธุ)...
     
  12. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,647
    ปัญญาเกินการปฏิบัติ....

    ไปทำก่อนค่อยรู้....รู้ก่อนแต่ไม่เคยทำ....

    ปัญญามากแต่ไม่ทำมันก็คือสัญญาดีๆนี่เอง....
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 ธันวาคม 2009
  13. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    จิตรู้แจ้งทวนกระแส
    พระญาณสิทธาจารย์ (หลวงปู่สิม พุทธาจาโร)
    ธรรมเทศนา จากหนังสือมรรคปฏิปทา
    งานบำเพ็ญกุศล ครบรอบวันมรณภาพปีที่ 44
    พระสุทธิธรรมรังสีคัมภีรเมธาจารย์ (ท่านพ่อลี ธมมธโร)
    วันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2548

    ส่วนจิตนั้นเมื่อย่นย่อเข้ามามี 2 อาการ อาการหนึ่งคือจิตใจดวงผู้รู้ อยู่ในตัวคนเราทุกคน
    มีจิตใจดวงผู้รู้ครองในสังขารแต่ละบุคคล จิตใจดวงนี้นั้นเรียกว่าเป็นดวงจิตที่รู้อยู่
    มีความรู้สึกอยู่ในตัวในกาย ในจิตในกายนี้
    ไม่ว่าเราจะเอามือไปแตะต้องที่ไหนจนปลายผมก็ตาม ก็มีความรู้สึกเข้าไปถึงจิตใจดวงผู้รู้นี้
    นั่นแหละให้สังเกตเข้าไป สู่ดวงจิตที่รู้อยู่

    ส่วนต่อจากดวงจิตผู้รู้ออกมาภายนอกท่านให้ชื่อว่า สังขารจิต จิตปรุง จิตแต่ง จิตคิด จิตนึก
    คือมันเป็นเงาเป็นกิริยาอาการของจิต มันต่อออกมาอีก มันงอกออกมา มันรั่วไหลออกมา
    อันนี้ท่านให้ละทิ้งคือไม่ให้ตามออกมา มันเข้ามันออกก็ยังมีจิตใจดวงผู้รู้
    รู้ว่าจิตเราคิดออกไป เผลอไปลืมไป ไม่ต้องตามไป ละเสียวางเสีย
    ให้ทวนกระแสมาอยู่กับดวงจิตที่รู้อยู่ จิตผู้รู้คือว่ามันมีอยู่ตลอดเวลา

    กายสบายมันก็รู้ ร่างกายเราสบายวันนี้ เมื่อร่างกายมันไม่สบายมันก็รู้ รู้ว่ากายไม่สบาย
    เมื่อจิตมันสบายก็รู้ จิตไม่สบายก็รู้ จิตร้อนก็รู้ จิตหนาวก็รู้ นี่แหละท่านให้รวมจิตใจเข้ามาอยู่ภายในนี้
    ไม่ต้องตามไปภายนอก ตามไปภายนอกนั้นไม่มีที่หยุด เหมือนเราเดินไป เดินไปทั่วโลกในพื้นแผ่นดินนี้ไม่ได้ตาย
    ตายก่อนก็ไม่ทั่วจิตภาวนานี้ ท่านก็ไม่ให้ตามออกไป

    ท่านให้ทวนกระแสเข้ามาว่าจิตใจดวงผู้รู้ฟังอยู่ ได้ยินเสียงตรงไหนเราก็รู้ว่าอยู่ไหน
    สติระลึกได้ที่นั่น สมาธิจิตตั้งมั่นก็ตั้งลงไปที่นี่ ปัญญาความรอบรู้ในกองสังขารก็รอบรู้อยู่ที่นี่
    สงบตั้งมั่นอยู่ในตัว ในกาย ในจิต ตรงที่จิตดวงผู้รู้อยู่ที่ไหนก็ที่นั่นแหละ
    จนจิตใจดวงนี้สงบระงับ รู้แจ้งเห็นจริงว่า นอกจากจิตใจดวงผู้รู้ภายใน
    นอกนั้นออกไปไม่เที่ยงแท้แน่นอนเป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
    ขึ้นชื่อว่าสังขารทั้งหลาย มีความไม่เที่ยงอย่างนี้ จิตผู้รู้ให้รู้ รู้แล้วอย่าได้หลงใหลไปกับอารมณ์กิเลส
    ให้รวมจิตใจเข้าไปที่ตรงนี้ มันจะคิดไปไหน ใกล้ไกลไม่ต้องไปตามมันไป
    ตามรู้อยู่กับที่จิตรู้อยู่ จิตรู้ไปไม่เอาละทิ้ง เอาจิตที่รู้อยู่

    คำว่าเอาจิตที่รู้อยู่นั้นคือว่ามันมีอยู่แล้ว ความจริงจิตของคนเราจริง ๆ มันไม่ได้ไปไหน
    คิดไปปรุงไปอันนั้นเป็นเรื่องสังขาร มันปรุงมันแต่งไปเอง เป็นเรื่องสังขาร เป็นเรื่องสัญญาอารมณ์
    เป็นเรื่องกิเลสที่มันดิ้นรนวุ่นวาย กามตัณหามันไป

    เมื่อจิตใจผู้ภาวนาไม่หลงไปตามไป มันก็ดับไปเอง ไม่มีใครส่งเสริมต่อเติมมันก็ดับ
    แต่จิตผู้ใดหลงไป ส่งเสริมต่อเติมให้มันก็ไม่มีที่จบที่สิ้น เป็นกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ไม่มีที่จบที่สิ้น
    ละวางเสีย หยุดเสีย สงบเสียได้ ขณะนี้เวลานี้มันก็มีเท่านี้

    นั่งอยู่ก็พุทโธจิตใจดวงผู้รู้อยู่อย่างนี้ ยืนอยู่ก็พุทโธจิตดวงผู้รู้นี้ เดินไปมาก็จิตดวงนี้
    มานั่งมานอนก็จิตดวงนี้แหละ ก็ไม่ต้องหาที่ไหนแล้ว
    รวมกำลังตั้งมั่นรวมไปในจิตใจดวงผู้รู้อยู่ตลอดเวลา

    อ่านเต็มๆที่นี่

    ;aa24<!-- google_ad_section_end -->
     
  14. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,647
    ทำไมคนชอบแบ่งสมถะและวิปัสสนา...

    ใครจะไปรู้ว่าที่หลายคนทำเป็นสมถะก็ได้.....แบบทำแบบไม่รู้ตัวว่าเป็นสมถะ....

    สมถะ ธรรมเป็นเครื่องสงบระงับจิต, ธรรมยังจิตให้สงบระงับจากนิวรณูปกิเลส, การฝึกจิตให้สงบเป็นสมาธิ (ข้อ ๑
    ในกรรมฐาน ๒ หรือภาวนา ๒)

    วิปัสสนา ความเห็นแจ้ง คือเห็นตรงต่อความเป็นจริงของสภาวธรรม; ปัญญาที่เห็นไตรลักษณ์อันให้ถอนความหลง
    ผิดรู้ผิดในสังขารเสียได้, การฝึกอบรมปัญญาให้เกิดความเห็นแจ้งรู้ชัดภาวะของสิ่งทั้งหลายตามที่มันเป็นของมันเอง
    (ข้อ ๒ ในกัมมัฏฐาน ๒ หรือภาวนา ๒) ดู ภาวนา, ไตรลักษณ์

    พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
    โดย พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต)


    ต่อให้คุณไม่มีสมถะ..ไม่มีความสงบ...จะเอากำลังที่ในไปพิจารณา.....มันมัวแต่ฟุ้งซ่านมันจะเอาอารมณืใหนไปพิจารณาธรรม...หลายสำนักอ้างว่าตัวเองเป็นสำนักวิปัสสนา....แล้วบอกว่าไม่มีสมถะเลย....สำนักนั้นน่าคิดว่า...ศึกษากันมาดีแล้วหรือยัง....เอาไปเอามาเริ่มค้านพระพุทธเจ้า....

    พวกวิธีการใดก็ตาม....ที่ทำให้เกิดสมาธิ...แม้แต่เล็กน้อง...เช่น...ขนิกสมาธิขึ้นไป...ตัดรวมเลย....สมถะทั้งหมด....พวกตามรู้ตามดูนะ....แล้วสงบเป็นช่วงๆเป็นขณะนั้นนะ...พระท่านเรียก ขนิกสมาธิ.....อันนั้นนะ สมถะ......

    วิปัสสนาคือความเห็นตรงตามสถาวธรรม...เช่น กฏพระไตรลักษณ์เป็นต้น.....อันนั้นเป็นวิถีวิปัสสนา....เป็นสภาวพิจารณา....ไม่ได้ลอยมาเอง....

    หลายคนพูดแบบรู้....ไอ่จริงๆ....ไม่รู้......ไม่ยอมรับ....เอาตัวเองเป็นวิปัสสนา....ลูกเดียว....

    หลักฐานมีไปศึกษากันเอา.....ความจริงหาได้ในพระไตรปิฏก.....ผู้ใดสอนค้านพระไตรปิฏก....ชื่อว่าค้านพระพุทธเจ้า.....ผู้นั้นหาใช่สาวกขององค์ศาสดาไม่.....
     
  15. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,647
    ไอ่เรื่องสมถะและวิปัสสนาเป็นปัญหาโลกแตกสำหรับนักปฏิบัติ....

    จริงๆแล้วเป็นทิฏฐิกิเลสทั้งนั้น.....แบบ....ฉันดีกว่าเธอ....อะไรประมาณนั้น.....

    หรือไม่ก็ยุทธศาสตร์การตลาดในวงการการปฏิบัติ....ไอ่นั่นไม่ถูก....ของฉันถูก....ของฉันเท่านั้นตรง....ไอ่นั่นไม่ต้องไปทำ....หินทับหญ้าบ้าง.....สารพัด.....เหมือนแย่งกันขายของ....

    หลวงปู่ชา บอกว่า เป็น เรื่องไร้สาระ.....จริงตามท่านว่า.....

    โมทนาสาธุธรรมกับเจ้าของกระทู้ครับ.....
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 ธันวาคม 2009
  16. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    ฮาๆๆๆ เหมือนแย่งกันขายของที่มาจากโรงงานเดียวกันเลย มีโปรโมชั่นด้วย เป็นนั่นเป็นนี่แถมให้ ก็โอเคนะครับสำหรับทัศนคติอาจารย์ภานุเดช เพราะผมก็เชื่อว่า ต้องมีอยู่คู่กันจึงจะสำริดผลได้ ไอ้ครั้นจะเอาอะไรมาลอยๆเลยนั้นยากเกินจินตนาการ นอกจากจะจินตนาการให้เกินจริงเท่านั้นที่เป็นไปได้ เพราะเชื่อว่าการวิปัสสนาคือการอาศัยผลของจิตที่ตั้งมั่นด้วยสติ แล้วจิตที่ตั้งมั่นคืออะไรถ้าไม่ใช่ สมาธิ เหมือนคนไม่มีแรงไม่มีกำลังแล้วจะไปยกของหนักๆ ออกให้พ้นทางแล้วจะเอาแรงมาจากไหน กิเลส ก็เหมือนกันคิดว่ามันหนักหรือไม่หนักละ ถ้าคิดว่าหนักก็แปลว่าไม่ได้จินตนาการให้เกินจริง ถ้าคิดว่าเบาง่ายๆเอง แสดงว่าผู้นั้นกำลังประมาทแล้ว เพราะจินตนาการไปเกินจริงแบบสุดกู่ สรุปเป็นของสำคัญแบบสุดๆเลย มีมากน้อยไม่สำคัญแต่ขอให้มีสมาธิ ที่ใช้เพื่อการภาวนา
     
  17. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,240
    กระทู้เรื่องเด่น:
    54
    ค่าพลัง:
    +4,023
    ศีลก็เพื่อไม่ให้เกิดอาการที่จิตกวัดแกว่งไปตามอารมณ์ มีอารมณ์ภายนอกและวิบากกระทบเป็นปรกติ
    สมาธิก็คือจิตตั้งมั่นไ ม่ยึดอารมณ์ต่างๆไม่กระเพื่อมหวั่นไหว ผ่องใส
    ปัญญาก็ทำให้จิตตั้งมั่นผ่องใสไม่กระเพื่อมหวั่นไหวเ ป็นปรกติ
    ศีลสมาธิปัญญา จึงเป็นไวพจน์ซึ่งกันและกันเป็นเหตุของกันและกัน

    ศีล สมาธิ ปัญญา ถ้าประสานกันป็นมรรคสมังคี

    ป็นสมุจเฉจ เป็นฌาณโลกุตระ เป็นฌาณที่ไม่ต้องรักษา เป็นฐานของใจ ตามระดับขั้นของปัญญา ตามความละเอียดของจิต

    เป้าหมายก็คือ ความสงบ จากขันธ์เป็นสมุจเฉจประหาร
    ไขันธ์5มีอยู่แต่ไม่กระทบ ไม่ยึดถือ
    ไม่มีขันธ์5อีกต่อไป ขันธ์5ไม่มีในเรา เราไม่มีในขันธ์5



    เคยได้ยินได้ฟังมาก็เอามาเล่าให้พิจารณากัน อาจจะไม่มีแหล่งอ้างอิง ใครติตรงไหน ก็ยินดีแก้ไขให้ :)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 25 ธันวาคม 2009
  18. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,647
    นั้นนะ...คือจริงๆ...จะว่าไม่รู้ก็ไม่ใช่....มันรู้แต่มันไม่ยอมรับ....พอจะรับก็จะเสียฟอร์ม......ปัญหานี้...มันสำคัญนะ.....มันเกี่ยวข้องกับพระศาสนา...

    พระพุทธเจ้าว่าอย่างไร....ไม่เคยไปเปิด....ไอ่บางครั้งเปิด.....ไปเจอ.....ทำเป็นไม่รู้......ยอมรับไม่ได้.....ขึ้นหลังเสือแล้วนิลงอย่างไรล่ะ....ใช่ไม....

    ก็เลยพากันชูโรง....เป็นหมู่คณะ.....แล้วไอ่พวกคณะศิษย์ก็นะ....ถ้าเปิดพระไตรไปดูกันสักหน่อยคงจะดี.....อันนี้เขาว่าไงก็ว่างั้น.....คือมันจะได้รู้อันนี้หมูอันนี้แมว....อันนี้ไม่ไปศึกษากันเพิ่มเลย...พอเขามาว่าให้ฉัน....ไม่ถูกใจ...ก็ด่า.....ก็ถ้ามันถูกใครเขาจะไปว่า....ว่านี่มันมี ๒ อย่าง....คือ คำจริง กับ คำไม่จริง.....อันนี้ ไม่รับสักอย่าง.....รับแต่ว่า....มันว่าเรานี่หว่า.....ตลกพวกนะพวกนี้.....

    ถ้าจะยกย่องก็ยกย่อง ท่านพระอาจารย์คึกฤทธิ์ โสตฺถิพโล ศิษย์หลวงปู่ชา วัดนาป่าพง องค์นี้ดี...คือท่านเห็นว่าปัจจุบันมันเป็นอย่างไร..ท่านเอาในพระไตรอย่างเดียว....อันนี้ดี.....แต่อย่างว่าไม่ค่อยมีใครชอบฟัง....มันเป็นวิชาการมากไป....มันไม่ซึ้ง.....

    พูดอาจตรงหน่อยนะ....ไม่อ้อมหละ....เสียเวลา....
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 ธันวาคม 2009
  19. เสขะ บุคคล

    เสขะ บุคคล เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,240
    กระทู้เรื่องเด่น:
    54
    ค่าพลัง:
    +4,023
  20. zeedhama

    zeedhama Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    32
    ค่าพลัง:
    +48
    เอาของหลวงพ่อฤาษีฯ มาฝากคุณภาณุเดชค่ะ

    ก่อนพิจารณาวิปัสสนา

    ทุกครั้งที่จะเจริญวิปัสสนา ท่านให้เข้าฌานตามกำลังสมาธิที่ได้เสียก่อน เข้าฌานให้ถึงที่สุดของสมาธิ ถ้าเป็นฌานที่ ๔ ได้ยิ่งดี ถ้าได้สมาธิ ๆ ไม่ถึงฌาน ๔ ก็ให้เข้าฌานจนเต็มกำลังสมาธิที่ได้

    เมื่ออยู่ในฌานจนจิตสงัดดีแล้ว ค่อยๆคลายสมาธิมาหยุดอยู่ที่อุปจารฌาน แล้วพิจารณาวิปัสสนาญาณทีละขั้น อย่าละโมบโลภมาก ทำทีละขั้น ๆ นั้นจะเกิดเป็นอารมณ์ประจำใจไม่หวั่นไหวเป็นเอกัคคตารมณ์ เป็นอารมณ์ที่ไม่กำเริบแล้ว จึงค่อยเลื่อนไปฌานต่อไปเป็นลำดับ

    ทุกฌานปฏิบัติอย่างเดียวกัน ทำอย่างนี้จะได้รับผลแน่นอน ผลที่ได้ต้องมีการทดสอบจากอารมณ์จริงเสมอ อย่านึกคิดเอาเองว่าได้เมื่อยังไม่ผ่านการกระทบจริงต้องผ่านการกระทบจริง ก่อน ไม่กำเริบแล้วเป็นอันใช้ได้​
     

แชร์หน้านี้

Loading...