ขอเชิญร่วมทำบุญสงเคราะห์พระภิกษุสงฆ์อาพาธ

ในห้อง 'ตลาด พระเครื่องเพื่อการกุศล' ตั้งกระทู้โดย พันวฤทธิ์, 29 พฤศจิกายน 2007.

  1. pon98

    pon98 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    632
    ค่าพลัง:
    +3,886
    [​IMG]

    พี่ปุ๊รองประธานทุนนิธิฯกำลังแจกพระพิมพ์ซุ้มไทรย้อย สมเด็จเจ้าคุณกรมท่า สมเด็จปัญจสิริ สมเด็จคะแนนผงยา ให้กับผู้มาร่วมทำบุญกันแบบฟรีๆเพื่อเป็นกำลังใจ และ พุทธานุสติ

    <CENTER>[​IMG]</CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER> </CENTER>
    มาชมภาพโต๊ะหมู่บูชาสวยภายในห้องจัดเลี้ยงของโรงพยาบาลสงฆ์​
    <CENTER>[​IMG]</CENTER><CENTER> </CENTER><CENTER> </CENTER>
    ภาพสวยๆของสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ร.๕ ติดอยู่ที่ห้องสงฆ์อาพาธครับ


     
  2. pon98

    pon98 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    632
    ค่าพลัง:
    +3,886
    ต่อไปเป็นตัวอย่างภาพสวยๆของคู่ DUO ที่มาทำบุญกับทุนนิธิฯเป็นประจำครับ

    <CENTER>[​IMG]</CENTER><CENTER> </CENTER>
    ภาพแรกคู่บุญก่อตั้งทุนนิธิฯ ประธานกับรองประธานครับ
    <CENTER>[​IMG]</CENTER><CENTER> </CENTER>

    คู่บุญแม่ลูกคนสวยใจบุญมาเป็นประจำแถมคราวนี้ยังโชคดีได้พระสมเด็จกลักไม้ขีดไปบูชา
    <CENTER>[​IMG]</CENTER><CENTER> </CENTER>
    คู่บุญนี้ก็ช่วยงานทุนนิธิฯมาตั้งแต่แรก
    <CENTER>[​IMG]</CENTER><CENTER> </CENTER>
    ตัวอย่างคู่บุญสุดท้ายแล้วครับ เพื่อนผมเอง

    โมทนากับทุกๆท่านครับ
     
  3. narongwate

    narongwate เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    885
    ค่าพลัง:
    +3,840
    เรื่องของเงินสิบบาท

    ถ้าเรามีเงินอยู่ 10 บาท ซื้อของ 3 บาท จะได้รับเงินทอนเท่าไร?

    ครูคนหนึ่งตั้งคำถามกับเด็กว่า 'ถ้ามีเงินอยู่ 10 บาท ซื้อของ 3 บาท จะได้รับเงินทอนเท่าไร' เด็ก
    ส่วนใหญ่ตอบว่า '7 บาท'
    แต่มีเด็ก 2คนที่ตอบไม่เหมือนกับคนอื่น คนหนึ่งตอบว่า '2 บาท' อีกคนหนึ่งตอบว่า 'ไม่ต้องทอน'

    ครูถามเด็กคนแรกว่าทำไมถึงได้เงินทอน 2 บาท คำตอบที่ได้ก็คือภาพในใจของเขาสำหรับเงิน 10
    บาท คือ เหรียญห้า 2 เหรียญ เมื่อซื้อของราคา 3 บาท เขาก็ให้เหรียญห้า 1 เหรียญ ดังนั้น จึง
    ได้เงินทอน 2 บาท

    ถามเด็กคนที่สองว่าทำไมไม่เหลือเงินทอนเลย
    คำตอบก็คือเด็กคนนี้คิดว่าในกระเป๋ามีเหรียญบาท 10 เหรียญ เมื่อซื้อของราคา 3 บาท เขาก็ส่ง
    เหรียญบาทให้ 3 เหรียญ เพราะฉะนั้น คนขายจึงไม่ต้องทอนเงินให้เขา

    โชคดีที่เป็นการถาม-ตอบในห้องเรียน ลองนึกดูสิครับว่าถ้าโจทย์นี้เป็นข้อสอบที่มีคำตอบเป็น
    ก-ข-ค-ง เด็ก 2 คนนี้ก็คงไม่ได้คะแนนจากคำตอบที่ผิดเพี้ยนจากคนส่วนใหญ่
    การสร้างโจทย์ที่ 'เสมือนจริง' จินตนาการของ 'ครู' อาจถูกจำกัดเพียงแค่ 'ตัวเลข' แต่สำหรับ
    เด็ก จินตนาการของเขาไร้กรอบ 10 บาท จึงสามารถเปลี่ยนเป็นเหรียญสิบ เหรียญห้า หรือเหรียญ
    บาท

    เมืองไทยมีเหรียญ 2 บาท เราจึงได้คำตอบเพิ่มอีก 1 คำตอบ คือ ได้เงินทอน 1 บาท

    โลกในห้องเรียนกับโลกของความเป็นจริงนั้นแตกต่างกัน โลกในห้องเรียน ทุกคำถามส่วนใหญ่มีเพียง
    1 คำตอบ แต่โลกของความเป็นจริง ทุกคำถามอาจมีคำตอบที่ถูกต้องได้เกิน 1 คำตอบ

    'อย่ารีบตัดสินความผิดถูกของคนๆ นั้น เพียงแค่ คำตอบ ของเรา'
    'อย่าหยุดความคิดสร้างสรรของคนๆ นั้น ด้วยกรอบความคิดของเรา'

    เป็นข้อคิดดี ๆ นำมาฝากกันครับ
    ที่มา FW.Mail

    โมทนาบุญกับทุก ๆ ท่านไปได้ไปร่วมทำบุญด้วยกันครับ
    สาธุ สาธุ สาธุ
     
  4. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,789
    ค่าพลัง:
    +16,101
    พระพุทธประวัติ ตอนที่ ๕๘ | ทรงโปรดอุปกาชีวก
    <!-- Main -->พระพุทธประวัติ ตอนที่ ๕๘ : ทรงโปรดอุปกาชีวก

    เสด็จพระพุทธดำเนินไปโปรดเบญจวัคคีย์
    พบอุปกาชีวกในระหว่างทาง

    เมื่อทรงรับอาราธนาของท้าวสหัมบดีพรหม ตั้งพระทัยจะประดิษฐานพระพุทธศาสนาแสดงพระธรรมสั่งสอนชาวโลกสืบไปด้วยดี ครั้นแล้วพระพุทธเจ้าทรงพิจารณาถึงบุคคลที่พระองค์จะเสด็จไปโปรด เมื่อคำนึงว่าจะแสดงธรรมแก่ใครก่อน ทรงมองเห็นภาพของดาบสทั้งสอง ที่พระองค์เคยเสด็จไปทรงศึกษาอยู่ด้วย คืออาฬารดาบส และอุทกดาบส แต่ทั้งสองท่านนั้นก็สิ้นชีพเสียแล้ว และไปบังเกิดใน อรูปพรหม ซึ่งไม่สามารถแสดงธรรมให้ได้ ทรงเห็นเบญจวัคคีย์ว่ายังมีชีวิตอยู่ จึงทรงตั้งพระทัยเสด็จไปโปรดเบญจวัคคีย์เป็นอันดับแรก

    เบญจวัคคีย์ หรือปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 พำนักอยู่ที่ป่าอิสิปตนมิคทายวัน (หรือที่ทุกวันนี้เรียกว่า สารนาถ ซึ่งอยู่ในเขตแดนเมืองพาราณสี) พระพุทธองค์จึงดำเนินไปด้วยพระบาทตลอด 18 โยชน์ (288 กิโลเมตร) โดยไม่ประสงค์ใช้อิทธิฤทธิ์ ระหว่างทาง เมื่อเสด็จถึงแม่น้ำคยา อันเป็นที่สุดเขตตำบล ของสถานที่ตรัสรู้ พระพุทธเจ้าได้ทรงพบอาชีวกผู้หนึ่งนามว่า "อุปกะ" เดินสวนทางมา (อาชีวก คือนักบวชนอกศาสนาพุทธนิกายหนึ่งในสมัยนั้น)

    [​IMG]

    ตอนที่เดินยังไม่เข้าใกล้ และได้เห็นพระพุทธเจ้านั้น อาชีวกผู้นี้ได้เห็นพระรัศมีที่แผ่ซ่านออกจากพระวรกายพระพุทธเจ้ามากระทบเข้าที่หน้าตนก่อน พระรัศมีนั้น เรียกว่า "ฉัพพรรณรังสี" คือ พระรัศมี ๖ ประการที่ซ่านออกจากพระวรกายของพระพุทธเจ้า ได้แก่
    ๑. นีละ สีเขียวเหมือนดอกอัญชัน
    ๒. ปีตะ สีเหลืองเหมือนหรดาลทอง
    ๓. โลหิตะ สีแดงเหมือนแสงตะวันอ่อน
    ๔. โอทาตะ สีขาวเหมือนแผ่นเงิน
    ๕. มัญเชฐะ สีแสดเหมือนดอกหงอนไก่
    ๖. ประภัสสระ สีเลื่อมพรายเหมือนแก้วผลึก

    (มาถึงสมัยหลัง มีการสร้างพระพุทธรูปขึ้น ได้สร้างสัญลักษณ์แทนฉัพพรรณรังสีนี้ขึ้น เรียกกันว่า "ประภามณฑล" คือ พระรัศมีที่พุ่งขึ้นจากเบื้องพระเศียรที่เป็นรูปกลมรีขึ้นข้างบนนั่นเอง)

    พอพระพุทธเจ้าเสด็จเข้ามาใกล้ อาชีวกจึงได้เห็นที่มาของพระรัศมี พอเห็นก็เกิดความสนใจจึงเข้าไปทูลถามพระพุทธเจ้าว่า ใครเป็นพระศาสดาของท่าน พอพระพุทธเจ้าตรัสว่า พระองค์ไม่มีศาสดาผู้เป็นครูสอน พระพุทธองค์เป็นสยัมภู คือ ผู้ตรัสรู้ธรรมด้วยพระองค์เอง อาชีวกได้ฟังแล้วแสดงอาการสองอย่าง คือ สั่นศีรษะ และแลบลิ้น แล้วเดินหลีกพระพุทธเจ้าไป

    <!-- End main-->

     
  5. narongwate

    narongwate เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    885
    ค่าพลัง:
    +3,840
    [​IMG]หลังกลับจากทำบุญที่โรงพยาบาลสงฆ์แล้วก็ได้นั่งสนทนาที่บ้านพี่ใหญ่ต่อกันอีกสักพัก
    ในการสนทนามีอยู่ช่วงหนึ่งพี่ใหญ่ได้เล่าให้ฟังเกี่ยวกับหลวงปู่ปาน วัดบางเหี้ย
    บอกว่าปู่เล่าให้พ่อฟังพ่อเล่าให้ลูกฟัง และสุดท้ายก็มาเล่าให้น้อง ๆ ฟัง

    เกี่ยวกับเรื่องฤทธิ์ ในสมัยก่อนปู่ของพี่ใหญ่จะไปแถว ๆ ชลบุรีขากลับก็จะนำน้ำ
    ปลามาฝากให้หลวงปู่ปานเป็นประจำ บางครั้งปู่ของพี่ใหญ่ก็จะเห็นท่านนำผ้ามา
    ผูกแล้วก็โยนออกไปกลายทันใดนั้นผ้าที่ผูกไว้ก็ได้เป็นกระต่าย


    ในวันนี้ก็เลยลองหาประวัติและข้อวัตรของหลวงปู่ปานมานำเสนอครับ

    ธรรมะของหลวงพ่อ:
    เป็นคำกลอนภาษาขอม ซึ่งท่านเขียนไว้ แปลมาเป็นภาษาไทยโดย ท่านพระครูสาธิตธรรมนารถ วัดราชนิยม จ.ชลบุรี ดังนี้

    อิมัสมิง กาเย ...
    เกสา ว่า ผม อย่าได้ชื่นชม ว่าผมโสภา
    เก้าล้านแสนเส้น ล้วนเป็นอนิจจา อย่าได้สงกา ว่าเป็นแก่นสาร
    โลมา คือ ขน งอกทั่วตัวตน ว่าขนสาธารณ์
    เก้าโกฏิแสนเส้น มิเป็นแก่นสาร เวลาถึงกาล สาบสูญบรรลัย
    นะขา คือ เล็บ ยาวนักมักเจ็บ ว่าเล็บทั้งหลาย
    เปื่อยเน่าผุพอง เป็นหนองภายใน คนพาลเอาไว้ ย่อมเป็นกังวล
    ทันตา คือ ฟัน สามสิบสองอัน ข้างล่างข้างบน
    งอกขึ้นภายหลัง น่าชังเหลือทน หลุดถอนคลอนหล่น ทนทุกขเวทนา
    ตะโจ คือ หนัง ห่อหุ้มกายัง เท่าผลพุทรา
    หุ้มห่อรอบตัว ทั่วทั้งกายา เมื่อม้วยมรณา แร้งกาจิกกิน
    มังสา คือ เนื้อ อย่าได้เอื้อเฟื้อ เนื้อเก้าสิบชิ้น
    เน่านองกองเกื้อ อยู่เหนือแผ่นดิน แร้งกาจิกกิน เมื่อสิ้นอาสัญ
    นะหารู คือ เอ็น เมื่อเรายังเป็น เอ็นชักไหวหวั่น
    เอ็นใหญ่เก้าร้อย เอ็นน้อยเก้าพัน รัดรึงตรึงกัน ผูกพันกายา
    อัฐิ คือ กระดูก เอ็นนั้นพันผูก กระดูกนานา
    ได้สามร้อยถ้วนล้วนเป็นอนิจจา อย่าได้สงกา ว่าเป็นแก่นสาร
    อัฐิมิญชัง กระดูกนั้นยัง มีเยื่อยืดยาน
    อยู่ในกระดูก หล่อเลี้ยงสังขาร เวลาถึงกาล สาบสูญบรรลัย
    วักกัง คือ ม้าม อยู่แอบแนบข้าง ริมเนื้อหัวใจ
    ผู้มีปัญญา จดจำเอาไว้ เร่งคิดให้ได้ ถึงพระอนิจจา
    หะทะยัง คือ หัวใจ พระท่านขานไข ว่าใจนานา
    ใจขึ้งใจโกรธ ใจโทษโทสา ใจมารแกล้วกล้า ฆ่าสัตว์ทั้งหลาย
    ใจมักเสียดส่อ ใจลวงใจล่อ ให้เขาหลงใหล
    ใจมืดใจมัว หลงตัวจนตาย ใจดำนี้ไซร้ เหมือนสัตว์เดรัจฉาน
    ใจร้ายใจพาล จะจมอยู่นาน ในจตุราบาย
    ใจมักทำบุญ ให้คิดถึงคุณศีลทานทั้งหลาย
    ให้แล้วให้เล่า ข้าวน้ำมากมาย ให้เร่งขวนขวาย มุ่งหมายทำบุญ
    ไหว้พระสวดมนต์ กุศลผลคุณ ใจมักเจือจุน ด้วยใจศรัทธา
    ใจนั้นสุภาพ ละอายแก่บาป ใจไม่หยาบช้า
    ซื่อสัตย์มั่นคงจำนงเจรจา หาโทษโทสา ไม่มีแก่ตน
    ใจดังดวงแก้ว ประเสริฐเลิศแล้ว ส่องโลกโลกา
    กุศลผลบุญ ทำไว้นานา เราท่านเกิดมา ไม่เป็นแก่นสาร
    ใจถือขันติ เมตตาปรานี ฝูงสัตว์ทุกวัน
    เหนี่ยวเอามรรคผล ให้พ้นกันดาร แม้นสิ้นอาสัญ ย่อมพ้นอบาย
    ไปสู่พระนิพพานแล ....


    ในการปฏิบัติของหลวงพ่อปานนั้น ท่านได้กล่าวถึง ทาง ๗ สาย คือ

    สายที่ ๑ ทางไปนรก คือ บุคคลผู้มีใจเร่าร้อนไปด้วยกิเลสอยู่ตลอดเวลา
    สายที่ ๒ ทางไปเปรตอสุรกาย คือ บุคคลผู้มีโลภะ และประกอบด้วยมิจฉาทิฐิ
    สายที่ ๓ ทางไปเดรัจฉาน คือ บุคคลมีโมหะเป็นอกุศลจิต
    สายที่ ๔ ทางมามนุษย์ คือ บุคคลผู้มี เบญจศีล
    สายที่ ๕ ทางไปเทวดา คือ บุคคลผู้มีเทวธรรม คือ หิริ โอตตัปปะ
    สายที่ ๖ ทางไปพรหม คือ บุคคลผู้ได้ฌาน
    สายที่ ๗ ทางไปพระนิพพาน คือ บุคคลผู้สิ้นอาสวะกิเลสทั้งมวล

    และท่านได้กล่าวถึงพระนิพพาน ไว้ว่า

     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • dfs.jpg
      dfs.jpg
      ขนาดไฟล์:
      44.2 KB
      เปิดดู:
      61
    • Pic-26076-1.jpg
      Pic-26076-1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      74.5 KB
      เปิดดู:
      67
    • ansPic-213869-1.jpg
      ansPic-213869-1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      109.1 KB
      เปิดดู:
      63
    • Pic-26709-1.jpg
      Pic-26709-1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      107.1 KB
      เปิดดู:
      63
  6. นายสติ

    นายสติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    916
    ค่าพลัง:
    +4,291
    กราบขอบพระคุณและโมทนาบุญกับทุกๆท่านทั้งที่มาร่วมงานด้วยตัวเองหรือไม่ได้มาทำบุญกับทางทุนนิธิสงเคราะห์สงฆ์อาพาธ อ.ประถม อาจสาคร เมื่อวานที่ผ่านมา(28 ก.ย. 2551) ขอผลบุญทั้งหลายที่เกิดจากการนี้ จงส่งผลบุญมายังท่านและครอบครัว จงมีแต่ความสุขและความเจริญ ได้พบพานแต่สิ่งที่ดีตลอดไป ตราบเท่าจนถึงท่านถึงฝั่งพระนิพพานด้วยเทอญ
    นิพานะ ปัจจะโยโหตุ....

    โมทนา สาธุ โมทนา สาธุ โมทนา สาธุ

    ผมขอแจ้งยอดเงินบริจาคที่มีผู้บริจาคเมื่อวันอาทิตย์ที่ 28 ก.ย. 2551

    เป็นยอดเงินรวมทั้งสิ้น 46,860 บาท

    ส่วนรายนามของท่านบริจาคผมจะขอทยอยแจ้งให้ทราบต่อไปนะครับเนื่องจากมีผู้บริจาคค่อนข้างมาก

    โมทนา สาธุ โมทนา สาธุ โมทนา สาธุ
     
  7. aries2947

    aries2947 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    2,031
    ค่าพลัง:
    +11,622
    ผมขอโมทนาสาธุในทุกๆบุญด้วยครับ
    น้องเอ
     
  8. pon98

    pon98 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    632
    ค่าพลัง:
    +3,886
    ขอแจ้งรายนามผู้บริจาคทำบุญทุนนิธิฯประจำเดือนกันยายนในส่วนที่ผมได้รับมาจำนวน 13700 บาท และโอนเข้าบัญชีทุนนิธิแล้วเมื่อวันที่28กันยายน โดยมีรายนามดังนี้ครับ

    คุณวิศัลย์ ณ ระนอง 1000 บาท
    คุณอนันต์ ตั้งธาราวิวัฒน์
    คุณสุนารี ตั้งธาราวิวัฒน์ 1000 บาท
    คุณสงวนชัย อัครวิทยาภูมิ 1000 บาท
    คุณพิชญ์ธนัน อนันธรสิริและคณะ 7100 บาท
    คุณชมพู ดิษฐประเสริฐ 200 บาท
    คุณนาลดา อมรพัชระ 300 บาท
    ด.ช วิภูช์ ตั้งธาราวิวัฒน์ 100 บาท
    คุณพลภัทร ตั้งธาราวิวัฒน์ 1000 บาท
    คุณปิยะวัฒน์ วรัทเศรษฐ์ 1000 บาท
    คุณรัดเกล้า ศิริมาตร และครอบครัว 500 บาท
    คุณวิทยา 500 บาท

    โมทนา สาธุกับทุกๆท่านครับ
     
  9. sandland

    sandland เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    378
    ค่าพลัง:
    +225
    โมทนาสาธุกับทุกท่านด้วยค่ะ ขอร่วมบุญด้วยคน โอนเงินแล้วจะแจ้งนะค่ะ
     
  10. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,789
    ค่าพลัง:
    +16,101
    ลมหายใจที่ปลายจมูกพระอาจารย์เปลี่ยน แม่แตง เชียงใหม่ <!--emo&:16:--><!--endemo--><!--emo&:09:--><!--endemo--><!--emo&:09:--><!--endemo--><!--emo&:09:--><!--endemo-->

    --------------------------------------------------------------------------------
    [​IMG] [​IMG]
    ภาพเก่าครับ
    ลมหายใจที่ปลายจมูก

    หลักสมาธิวิปัสสนา
    พระอาจารย์เปลี่ยน ปัญญาปทีโป


    ----------------------------------------------


    เมื่อมีคนป่วยใกล้ตาย มักมีคำพูดกันเล่นๆ ว่า "ให้หายใจเข้าไว้แล้วจะไม่ตาย"

    คำนี้เล่นๆ แต่ว่าเป็นจริงนะ เพราะถ้ายังหายใจอยู่ คนมันก็ไม่ตายอย่างแน่นอน แต่ถ้าไม่หายใจ มันก็ตายเท่านั้นเอง

    แสดง ให้เห็นว่า คนเราสำคัญที่ลมหายใจ ลมหายใจบางคนเป็นเงินเป็นทอง ลมหายใจบางคนเป็นหนี้เป็นสิน ควรกำหนดทางใจให้ดีๆ พระอาจารย์เปลี่ยน ปัญญาปทีโป เจ้าสำนักวัดอรัญญวิเวก (บ้านปง) อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ ท่านสอนให้ใช้สติกำหนดลมหายใจเข้าออกไว้ที่ปลายจมูกด้วยการบริกรรมพุทโธ

    เมื่อ เรานั่งดีแล้ว ให้กำหนดลมหายใจเข้าออกอยู่ที่ปลายจมูกกำหนดไว้ในใจ บริกรรมว่า หายใจเข้าพุท หายใจออกโธ และให้ตั้งสติปัญญาประคับประคองจิตใจของตนเอง ให้มาคิดหรือให้มากำหนดรู้อยู่ที่ลม ที่ถูกต้องสัมผัสที่ปลายจมูกของตนเองอยู่ก็ให้รู้ นี้เรียกว่าการเจริญอานาปานุสติกัมมัฏฐานเป็นข้อบริกรรมภาวนา

    เมื่อ เรารู้จักว่าจิตของเราอยู่กับลมหายใจเข้าออกที่ปลายจมูกพร้อมกับข้อบริกรรม พุทโธสัมพันธ์ เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันอยู่ก็ให้รู้ (แต่ห้ามไม่ให้ส่งจิตของตนเองเดินตามลมลงไปที่หัวใจหรือลมลงไปที่ท้องน้อย เป็นอันขาด) เพราะการทำสมาธิชนิดนี้หรือแบบนี้ เป็นการทำทางลัด เป็นทางที่ทำให้จิตสงบ เป็นสมาธิได้ง่ายที่สุดจึงให้กำหนดเอาแต่ลมหายใจเข้าออกที่ปลายจมูก กับพุทธโธอย่างเดียว เท่านั้นเป็นข้อเจริญ

    เมื่อจิตใจของเราไม่อยู่ กับลมที่ปลายจมูกก็ให้รู้จักว่าไม่อยู่ เราก็พยายามใช้สติปัญญาติดตาม ดึงจิตใจของตนเองที่ฟุ้งซ่านไปติดอยู่กับสิ่งอื่นนั้น ตามสัญญาอารมณ์ภายนอกที่เป็นกิเลสมารนั้น ให้จิตใจของตนเองมาติดอยู่กับข้อธรรมกัมมัฏฐาน คือ ลมหายใจเข้าออกที่ปลายจมูกของตนอย่างเดิม เมื่อเรารู้ว่า จิตของเราอยู่กับลมที่ปลายจมูก และข้อธรรมกัมมัฏฐาน สัมพันธ์เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันแล้ว

    ต่อไปให้เราหายใจให้สบาย ให้ปลอดโปร่ง แล้วอย่าไปสะกดจิตของตนเองมาก ถ้าบุคคลใดบังคับ และสะกดจิตของตนเองเกิดไปแล้ว เมื่อบุคคลกำลังภาวนาอยู่ จะมีอาการปวดศีรษะบ้าง บางรายจะปวดประสาทมาก บางรายจะมีอาการตัวร้อน เหงื่อแตกอึดอัดแล้ว ก็ออกจากนั่งสมาธิทันทีทนไม่ไหว เป็นอย่างนี้แล บุคคลบางคนนั่งทำสมาธิจึงไม่สงบ อีกอย่างหนึ่งการนั่งทำสมาธินี้ เราอย่าไปอยากเห็นสิ่งนั้นสิ่งนี้ หรือบังคับจิตใจของตนเองให้สงบเร็วที่สุดอย่างนี้

    บุคคลที่อยากเห็น ก็ยิ่งจะไม่เห็นอะไรเลย บุคคลอยากสงบเกินไปก็ยิ่งไม่สงบ นี่เป็นเหตุให้จำเอาไว้ เมื่อเรารู้ว่าจิตของเราอยู่กับลมที่ปลายจมูกของตนแล้ว ให้เราตั้งสติสังเกตดูลมที่เดินเข้าเดินออกอยู่ที่ปลายจมูกนั้น ว่าลมเข้าแรงหรือออกแรงก็ให้รู้ ลมเข้าสั้นหรือออกสั้นก็ให้รู้ ลมเข้ายาวหรือออกยาวก็ให้รู้จักในกองลม และก็ให้สังเกตดูจิตของตนเองว่า จิตของเรานิ่งอยู่กับลมแน่นอน

    เมื่อรู้ว่าจิตของตนอยู่จริงแล้ว ต่อไปเราก็ให้หายใจเบาๆ ลงอีกกว่าเดิม ตอนนี้เราก็ประคองจิตใจของตนเองไว้กับลมหายใจเข้าออก กับข้อบริกรรมพุทโธตามเดิมเหมือนแต่ก่อน แต่ตอนนี้บางบุคคลนั้นนั่งนานแล้ว ก็จะรู้สึกมีเวทนาความเจ็บปวดตามร่างกายส่วนใดส่วนหนึ่ง บางบุคคลจะเจ็บแข็งขาหรือเจ็บหลัง หรือเจ็บปวดบั้นเอวเกิดขึ้น

    จิตก็ จะวิ่งออกไปตามที่เจ็บปวดนั้น จิตก็จะไม่นิ่งอยู่กับข้อธรรมกัมมัฏฐาน คือลมหายใจเข้าออกที่ปลายจมูกอันเราตั้งไว้นั้น แต่อย่างไรก็ตาม เราก็พยายามใช้สติปัญญาดึงเอาจิต ของตนเองให้วางจากเวทนา ความเจ็บปวดนั้น ไม่ให้จิตของเราไปยึดไปถืออยู่กับเวทนานั้น ก็ให้พยายามปล่อยวางจนได้ แต่วิธีปล่อยวางเวทนาทั้งหลายนั้น คือว่าเราไม่เอาจิตของตนไปคิดอยู่กับความเจ็บปวดนั้นเอง ให้จิตของเราไปคิดอยู่กับข้อธรรมกัมมัฏฐาน คือ ลมหายใจเข้าออกตามเดิม

    แต่ ถ้ายิ่งพยายามปล่อยวางก็ยิ่งมีความเจ็บปวดมากขึ้นจนทนไม่ไหวอย่างนี้ ให้เราตั้งใจว่าเราจะทำจริง หาความสงบจริง เราไม่ต้องกลัวความตาย ทำให้กล้าหาญเด็ดเดี่ยว ไม่ท้อแท้อ่อนแอกับเวทนาทั้งหลายเหล่านี้ ว่าถ้ามันเจ็บขา หรือบั้นเอวอย่างนี้ ก็ให้ตั้งมั่นคงว่าเอาเถอะ ขามันจะขาดก็ให้มันขาดออก หรือบั้นเอวมันปวดมาก บั้นเอวมันอยากขาดออกไป ก็ให้มันขาดจากกันลองดู

    เรากล้าหาญ เอาจริงอย่างนี้ไม่ต้องกลัวตาย แม้ร่างกายจะแตกหักทำลายขาดออกจากกันหมด ก็ให้มันเป็น ลองดูมันจะเป็นไหม ถ้าเรามีความตั้งใจ ทำจริงอย่างนี้ได้ จิตใจของเราจึงจะปล่อยวางเวทนาความเจ็บปวดนั้นได้ เราต้องทำจริงอย่างนี้ เอาจริงอย่างนี้ จิตใจของตนจึงจะสงบเป็นสมาธิได้

    เมื่อจิตของตนเองมา อยู่กับลมหายใจเข้าออกที่ปลายจมูกตามเดิมแล้ว ก็ให้เราสังเกตดูลม ว่าลมนี้เบากว่าเดิม ละเอียดกว่าเดิมก็ให้รู้ ลมหายใจเข้าสั้นออกสั้นและเบาก็ให้รู้ ลมหายใจเข้ายาว ออกยาว และเข้าก็ให้รู้ตลอด ให้เราพยายามประคองเรือคุมจิตของตนอยู่แน่นอน ตอนนี้ให้เราเอาแต่ลมหายใจอย่างเดียวให้วางพุทโธเสีย ก็ให้เราหายใจให้เบาๆ ละเอียดสุขุมลงกว่าเดิมอีก และก็ให้ประคองจิตใจของตนให้อยู่กับลมนั้นตามเดิมอีก

    ตอนนี้เมื่อลม เดินละเอียดสุขุมมาก เบามาก เราก็จะปรากฏว่าร่างกายของตนก็เบามาก เราก็จะปรากฏเห็นชัดว่า เวทนาที่เกิดขึ้นกับร่างกาย แต่ก่อนนั้นก็รู้สึกว่าเบาลงไปมาก ไม่เจ็บมากเหมือนแต่ก่อนเลย เพราะเหตุไรเวทนาจึงเบาลงไปมาก ไม่เจ็บมากเหมือนแต่ก่อนเลย เพราะเหตุไรเวทนาจึงเบาลงมากให้เราเห็นชัด ก็เพราะเหตุเราหายใจให้เบาละเอียดสุขุมนั่นเองเป็นเหตุ

    แต่ตอนนี้ บางบุคคลนั้น ก็จะมีปีติเกิดขึ้นอย่างใดอย่างหนึ่งเล็กน้อย จะเป็นปีติขนลุกขนพองก็ตาม จะเป็นแบบน้ำตาไหลก็ตาม จะเป็นแบบเหมือนมีลมถูกต้องกายเบาๆ ก็ตาม จะเป็นแบบแปลบปลาบในหัวใจก็ตาม จะเป็นแบบตัวเบาเหมือนตัวจะลอยขึ้นไปบนอากาศก็ตาม ที่กล่าวมานี้เป็นเพียงปิติเท่านั้น เมื่อปีติหายไปแล้ว ก็จะมีความสุขเกิดขึ้นแทนเล็กน้อยต่อไป

    นี้แล เราจะเห็นว่าของเหล่านี้ เกิดจากการทำความสงบที่เราไม่เคยได้รู้ได้เห็นมาก่อน จึงทำให้บุคคลเกิดปีติและความสุขได้แต่เราก็มาพิจารณาดูจิตของตนเองดีกว่า จิตของเราอยู่กับลมเบาละเอียดกับความสุขนั้นไหม ถ้าเรารู้ว่าจิตของเราอยู่กับลมสัมพันธ์ อยู่กับลมแน่นอนแล้วและอยู่ประมาณ ๑๕ - ๒๕ นาที แล้วก็ถอยออกจากสมาธิ

    ถ้าบุคคลใด เจริญภาวนามาถึงที่นี่ ก็เรียกว่าจิตสงบแต่เพียงแค่ขนิกสมาธิเท่านั้น เรียกว่าสมาธิเพียงเฉียดๆ นิดๆ หน่อยๆ เท่านั้นเอง

    ต่อ ไป เมื่อบุคคลได้เจริญภาวนามาถึงที่นี้แล้ว ก็อย่าได้หยุดอยู่เพียงเท่านี้ ให้พยายามทำความเพียรต่อไปอีก คือเมื่อเรารู้ว่าจิตของเราอยู่กับลมหายใจเข้าออกที่เบาและละเอียดสุขุมแล้ว ลมหายใจสั้นเบาละเอียดสุขุมมากก็ให้รู้ ว่าลมหายใจเข้ายาวออกยาวและละเอียดมากกว่า

    เหมือนจะไม่มีลมอยู่ที่ ปลายจมูกเลยก็ให้รู้ แต่ลมยังมีอยู่ เพราะลมเดินละเอียดสุขุมมากไปตามร่างกาย เราจะรู้ปรากฏทันทีว่าร่างกายของตนเองก็เบามากขึ้นทุกที เวทนาที่มีความเจ็บปวดในร่างกาย ก็เหมือนจะหายไปหมด จะทำให้เราได้รู้รส สัมผัสของความสงบเกิดขึ้น และตื่นเต้นมีปีติแรงมาก แล้วแต่จะเกิดปีติชนิดใดก็ตาม

    เมื่อปีตินั้นหายไป ก็จะมีความสุขเกิดขึ้นทันที แล้วจิตของเราก็จะอยู่กับความสุขนั้น เมื่อเรามาสังเกตดูจิตของตนเองอยู่กับลมละเอียดสุขุมที่ปลายจมูก และทรงความสุขอยู่ตามเดิมแน่นอน

    ต่อไป ให้เราหายใจให้สบาย ปลอดโปร่ง หายใจเบาๆ ละเอียดสุขุมที่สุด เบาที่สุดจนเหมือนไม่มีลมปรากฏอยู่ที่ปลายจมูกของเราเลยแม้แต่นิดเดียว เมื่อเราพิจารณาและสังเกตดูอยู่ว่า แหมกายของตนเบามาก ไม่มีเวทนาและลมก็มองไม่ปรากฏเลย ตอนนี้ให้เราปล่อยวางเสีย เมื่อเราปล่อยวางลมแล้ว ลมก็จะไม่ปรากฏ แม้เรามองไม่เห็นลมปรากฏอยู่ที่ปลายจมูกของเรา

    ตอนนี้ ขอเตือนนักปฏิบัติทั้งหลายให้เข้าใจ เอาไว้ให้จงดี อย่าพากันกลัวตาย ว่าลมหายใจของตนหมดสิ้นแล้ว เราจะตายหรืออย่างไร อย่าไปเกิดความสงสัยขึ้นมาอย่างนี้ ก็ให้เราตั้งใจเอาไว้ว่า เราไม่ต้องกลัวความตาย ถ้าเราไม่กลัวความตายแล้ว จิตของเราก็จะนิ่งอยู่เป็นสมาธินั้นเอง

    แต่บางบุคคล เมื่อเจริญภาวนามาถึงที่นี้แล้ว มองหาลมหายใจเข้าออกของตนไม่เห็น ก็เลยมาเกิดสัญญาว่าเราจะตายแล้ว ก็มีความอึดอัดในหัวใจเดือดร้อน หรือเหงื่อแตกออกมาเต็มร่างกายก็มี เพราะกลัวตนเองตายเป็นเหตุ เมื่อได้เป็นเช่นนี้ขึ้นมาแล้ว จิตของบุคคลนั้นก็ถอนออกมาจากสมาธิ วิ่งออกไปตามสัญญาอารมณ์ภายนอกอีก แล้วก็จะได้เริ่มต้นทำสมาธิใหม่

    เมื่อ ทำสมาธิใหม่ก็เข้าไปได้ถึงที่เดิมก็มาเกิดความกลัวว่าตนเองจะตายอีกอย่าง เดิม แล้วจิตของตนก็ถอนออกจากสมาธิอีก ถ้าบุคคลใดทำการเจริญภาวนาอยู่อย่างนี้ บุคคลนั้นจะเจริญภาวนาเนิ่นช้า จิตใจของบุคคลนั้นก็ไม่อาจสามารถจะสงบเป็นสมาธิลึกซึ้ง หนักแน่นลงไปได้เลย แม้บุคคลนั้นจะพยายามเท่าไรก็ไปถึงแต่ที่เดิมเท่านั้นเอง ฉะนั้น จึงขอให้นักปฏิบัติจงพากันเข้าใจเอาไว้

    แต่ถ้าบุคคลใด เจริญภาวนามาถึงตอนนี้แล้วเป็นคนกล้าหาญองอาจสามารถไม่กลัวตายแล้ว บุคคลนั้นก็จะเจริญภาวนาต่อไปได้และทำจิตของตนให้สงบ เป็นสมาธิหนักแน่นมั่นคงได้ ต่อไปจิตของตนก็จะมีความเพ่งอยู่กับความสุข และความเบานั้นสัมพันธ์เป็นอันหนึ่งอันเดียว เราก็ให้รู้ว่าจิตของเราอยู่ เมื่อจิตอยู่นิ่งตอนนี้จะเกิดปีติแรงมากขึ้นอีก แม้จะเป็นปิตีแบบไหนก็ตามเมื่อปีติหายไปความสุขก็เกิดขึ้นตามที่หลัง ว่าเป็นสุขมาก สุขุมมาก

    จะทำให้บุคคล ผู้เจริญภาวนาได้ประสบพบเห็นด้วยตนเองว่า การเจริญภาวนาหา ความสงบนี้ ก็เป็นของที่มีความสุขอันยิ่งจริงหนอ ก็หากเป็นของเกิดขึ้นมาเอง เป็นเอง

    เมื่อ เราทำจิตใจของตนให้สงบแล้ว มันก็เกิดขึ้นมาเองเท่านั้นเมื่อจิตของตนนิ่งอยู่กับความสุขและความเบา ก็ขอให้ใช้สติปัญญาประคับประคองจิตใจของตนให้สงบนิ่งอยู่กับอารมณ์นั้น เมื่อรู้ชัดว่า จิตของตนอยู่แน่นอนแล้วไม่ออกไปไหน จิตก็ยิ่งจะสงบเป็นสมาธิหนักแน่นมั่นคงเข้าทุกที

    เมื่อจิตของตนหนัก แน่นอยู่อย่างนี้ ตอนนี้ก็จะเกิดนิมิตสีแสงสว่างเกิดขึ้น บางบุคคลก็เห็นแสงสว่างแบบหลอดไฟฟ้านีออน หลอดไฟฟ้านีออนแบบสั้นๆ บางคนบุคคลก็เห็นแสงสว่างเหมือนแสงไฟฉายผ่านหน้าตนเอง ส่วนบางคนนั้นก็จะเห็นแสงสว่างอยู่ตรงหน้าตนเอง ไม่มีดวง เมื่อเกิดขึ้นแล้ว เดี๋ยวก็หายไป เดี๋ยวก็เกิดขึ้นมาอีกใหม่ ก็เพราะเหตุใดจึงเกิดแล้วก็ดับอย่างนี้ เมื่อเราเห็นใหม่ ก็เพราะว่าจิตของตนยังไม่ตั้งมั่นนั้นเอง จึงเป็นอย่างนี้

    ต่อไป ให้เราจงประคับประคองจิตของตนเองให้ตั้งมั่นอยู่กับความเบาและความสุขที่ ละเอียด จะพิจารณาให้จิตของตนอยู่ตรงหน้าอกของตนก็ได้ ไม่ให้เอาจิตไปเพ่งอยู่ที่อื่น ให้เพ่งอยู่ที่เดียวนั้น

    เมื่อจิตของ เรานิ่งอยู่นั้นนาน ก็จะยิ่งมีแสงสว่างเกิดมากขึ้น และเป็นแสงสว่างแบบดวงอาทิตย์ หรือแบบดวงจันทร์สว่างจ้า แต่บางบุคคลนั้นก็จะเห็นแสงสว่างสีขาวนวล แต่ก็สว่างไสวไปรอบๆ ตัวกว้างประมาณ ๑ กิโลเมตร

    เมื่อเราประคองจิตของตนให้ตั้งอยู่ตรง อยู่ในแสงสว่างนี้ เราก็จะมองเห็นภาพนิมิตต่างๆกัน ไม่เห็นเหมือนกันทั่วไป แต่อย่างไรก็ตาม ก็ชื่อว่าเห็นนิมิตแต่ละบุคคลนั้น บางคนจะเห็นนิมิตเป็นภาพ เห็นตนเองตายแล้ว เปื่อยเน่าขาดผุพัง ลงไปเป็นกระดูกก็มี บางคนนั้นจะเห็นตัวเองนั่งอยู่ตรงข้างหน้าของตน

    บาง คนนั้นจะเห็นภาพพระพุทธรูปสวยงามตั้งอยู่ตรงหน้าของตนเอง บางคนก็จะเห็นครูบาอาจารย์มานั่งอยู่ตรงหน้าเทศนาธรรมสั่งสอนตนเองอยู่ก็มี บางคนนั้นจะเห็นภาพร่างกระดูกเดินมาหาตนเอง บางคนนั้นก็จะเห็นร่างกระดูกลอยอยู่บนอากาศก็มี บางคนนั้นก็จะเห็นเหมือนรถเหมือนเรือมาชนตนเอง บางคนนั้นก็จะเหมือนตนเองอยู่บนอากาศ

    บางคนนั้นก็จะเห็นเหมือนตนเอง ตกลงไปนั่งอยู่ในเหวลึกๆ บางคนนั้นก็จะเห็นคนไปมาหาตนเองผ่านไปผ่านมา เกิดๆ ดับๆ นิมิตนี้เกิดขึ้นดับไป นิมิตใหม่ก็เกิดขึ้นอีกเหมือนๆ กันกับเราดูภาพยนต์ แต่อย่างไรก็ตาม ก็เรียกว่าการเห็นนิมิตกันทั้งนั้น

    ก็ ขอเตือนไว้ว่าเราอย่าไปกลัวในนิมิต จะนิมิตแบบไหนก็ตามเกิดขึ้นก็อย่าไปเกรงกลัวมันเลย ให้ทำจิตใจของตนเองให้กล้าหาญ ไม่ต้องเกรงกลัวมันล่ะ ให้ตั้งใจ ให้มั่งคงอย่างนี้ แม้เราจะเห็นนิมิตสิ่งใดแบบไหนก็ตาม เห็นแจ้งเห็นชัด เห็นจริงก็ตาม ตามที่เราได้เห็นนั้น แต่เราอย่าไปถือตามนิมิตนั้นว่าเป็นจริงอย่างนั้น อย่าไปเล่นนิมิต อย่าไปยึดนิมิต อย่าไปเชื่อนิมิต อย่าไปติดนิมิต

    นิมิตเป็นของไม่ เที่ยงแท้แน่นอน นักปราชญ์ทั้งหลายท่านไม่ให้เล่นนิมิตเลย ไม่ให้เราติดนิมิต ขอเตือนบุคคลที่ปัญญายังอ่อน ห้ามเล่นนิมิตเลย เอาละเมื่อจิตของเรามายับยั้งตั้งอยู่ในที่นี้แล้ว เราก็ควรพยายามประคองของตนให้สงบอยู่กับความเบา และความสุขที่ละเอียดยิ่งเข้าทุกที

    เมื่อจิตของเรายิ่งสงบนานเข้า เท่าไร แสงสว่างก็ยิ่งเกิดขึ้น มองไปได้เห็นไกลมาก เป็นแสงสว่างชนิดที่ไม่ปรากฏเป็นดวงตอนนี้ แต่หากเป็นแสงสว่างสีขาวนวลมองได้รอบตัวและไปไกลมาก ก็ยิ่งเห็นนิมิตแจ้งชัดแน่นอนกว่าเดิม แม้จะเห็นนิมิตแบบไหน ชนิดใดก็ตาม ก็เห็นแจ้ง เห็นชัดมาก ในตอนนี้ แต่ก็จะเกิดปิตีแรงมากขึ้นแต่ตื่นเต้นมาก เพราะไม่เคยรู้เคยเห็นสิ่งเหล่านี้มาก่อน จึงทำให้บุคคลผู้ปฏิบัติได้พบได้เห็นเอง ได้รับความสุขสุขุมละเอียดยิ่งขึ้น

    การ ที่บุคคลเจริญภาวนามาถึงที่นี้ และเราก็ประคับประคองจิตของตนให้อยู่กับความเบา และความสุขละเอียดสุขุมประณีต พร้อมทั้งมีแสงสว่างก็แจ่มแจ้งชัดเจน แล้วก็เห็นภาพนิมิตต่างๆ ที่เป็นเหตุการณ์ต่างๆ นั้นก็ดี ก็เห็นชัดเจนแจ่มแจ้งเหมือนไม่มีอะไรปิดปังไว้เลย แต่อย่างไรก็ตาม แม้ของเหล่านี้ก็เป็นของ หากเกิดขึ้นมาเองเพราะเกิดจากการทำความสงบเท่านั้น ถ้าบุคคลไม่ทำความสงบนั้น แม้จะปรารถนาอยากเห็นเพียงใดก็ไม่เห็นอยู่นั่นเอง

    ถ้า บุคคลทำจิตใจของตนให้สงบแล้ว ของนั้นหากเกิดขึ้นมาเองเท่านั้น เมื่อเรามาเองเท่านั้น เมื่อเราเห็นชัดเจนแจ่มแจ้งอย่างนี้ ที่จิตของตนมาตั้งอยู่ ทรงอยู่ในอารมณ์ที่สุขุมประณีตในความเบามาก สุขมาก ให้เราสังเกตดูจิตของตนเองว่า จิตของเราตั้งนานเท่าไรถ้าเราสังเกตดูว่าจิตของตนนี้ตั้งนาน ๔๕ นาที หรือ ๑ ช.ม นั้น ก็ถือว่าจิตของเราสงบถึงอุปจารสมาธิ เพราะจิตของเรามายึดหน่วงอารมณ์เบาๆ เพราะความสุขุมประณีต และเห็นแสงสว่างแจ่มแจ้งไปไกล แล้วก็เห็นภาพนิมิตชัดเจนแจ่มแจ้ง ก็คือว่าจิตของตนให้เจริญภาวนาสงบมาถึง อุปจารสมาธิเพียงแค่นี้เท่านั้น ต่อไปจะได้ทำความเพียรให้จิตใจของตนให้สงบลึกซึ้งลงไปอีก

    แต่อย่างไร ก็ตาม เมื่อเราเจริญภาวนาได้มาถึงที่นี่แล้ว ถ้าเราเห็นแสงสว่างและเห็นนิมิตแจ้งชัดเจนแล้วเพียงใดก็ตาม หรือจิตของเราได้เสวยอยู่ในอารมณ์เบาและความสุขมากเพียงใดก็ตาม แต่เราก็อย่าไปติดอยู่กับแสงสว่างอันนั้นความเบา ความสุขนั้น ให้เราปล่อยวางสิ่งของเหล่านั้นเสีย วิธีปล่อยนิมิตนั้น คือว่า เมื่อจิตของตนจ้องมองดูภาพนิมิตอยู่ หรือวิ่งตามนิมิตอยู่ ก็ให้เราไม่ต้องสนใจกับภาพนิมิตทั้งหลายเราเห็นอยู่นั้น ถ้าจิตของตนยังอยากจะดูภาพนิมิตอยู่อีก ยังไม่ปล่อยวาง ก็ให้เราพยายามใช้สติปัญญาของตนประคองจิตของตน หรือดึงรั้งเอาจิตของตนมาคิดอยู่กับอารมณ์ที่เบาๆ และความสุขุมที่มีอยู่เดิมนั้นอีก

    แต่ถ้าจิตของตนก็ยังดื้อดึง และยินดีเพ่งมองดูภาพนิมิตนั้นอยู่อีก ไม่ยอมปล่อยวางออกจากนิมิตนั้น ก็ให้เราอุบายใช้สติปัญญายกไตรลักษณ์ขึ้นมาพิจารณาว่า นิมิตนี้ก็เป็นของไม่เที่ยงแท้แน่นอน คงที่อยู่อย่างเดิมสมดั่งปราถนา ก็หากเป็นของที่เสื่อมหายไปได้ แม้บุคคลมีความปรารถนาอยากให้นิมิตนั้นตั้งอยู่ก็ตาม

    ย่อมไม่ได้ตาม ใจหวังของตน นิมิตนี้ก็ยังเลอะเลือนหายไปได้ จึงทำให้ทุกข์เมื่อนิมิตได้เป็นเช่นนี้แล้ว นิมิตนี้ก็เป็นอนัตตา ไม่ใช่ตนตัวของใคร ของบุคคลใดเลย แต่เราก็ไปหลงยึดมั่นถือมั่นในนิมิต แต่นิมิตนั้นเมื่อได้หายไปแล้ว ก็ไม่เห็นว่ามีคนมีตัวอยู่ที่ไหน ก็มองไม่เห็นเลยเช่นนี้ จึงว่าเป็นอนัตตา ก็ทำไมเล่าเราจึงไปยึดถือนิมิตเล่า เมื่อมาพิจารณาอยู่อย่างนี้ จิตของตนก็จะยอมจำนนต่อสติปัญญา จิตของเราก็จะกลับคืนมาพิจารณาอยู่ที่ความเบาและความสุขสุขุมละเอียดนั้น

    ถ้า เราพิจารณาอีกแบบใหม่ คือว่า ยกตัวอย่างเปรียบเทียบการหาอุบายให้เรา ทำจิตของตนไม่สนใจกับนิมิตอะไรเลย ให้ทำจิตของตนให้ตั้งอยู่กับอารมณ์ที่มีความรู้ว่าเบา และความสุข ไม่ให้จิตของตนไปสนใจกับนิมิต เหมือนบุคคลคนหนึ่งไปยืนอยู่ที่ทางสี่แยก ที่มีรถหรือหมู่คนเดินผ่านสัญจรไปมาไม่ขาดสาย แล้วให้เราทำจิตของตนนิ่งอยู่กับอารมณ์เบา และความสุขนั้น ไม่สนใจกับนิมิตเลย

    เปรียบเหมือนบุคคลหนึ่งนั้น ที่เขายืนอยู่ทางสี่แยก แต่เขาบุคคลนั้น เขาก็ไม่ได้สนใจอยากจะไต่ถามหมู่ฝูงคนที่เดินผ่านไปมาที่ผ่านสายตาของบุคคล นั้น เขาก็ยืนดูเฉยอยู่ ไม่สนใจเลยว่าใครไปอะไรมาอะไร เขาปล่อยวางเฉย

    เมื่อ เราปล่อยวางนิมิตได้อย่างนี้แล้ว เราก็พยายามสังเกตดูจิตของตนเองว่าตั้งอยู่กับอะไรให้รู้ เมื่อเรารู้ว่าจิตของตนนั้นตั้งอยู่กับอารมณ์เบา และความสุขละเอียดแล้ว เราก็พยายามประคองจิตของตนให้นิ่งอยู่ เมื่อจิตของตนนิ่งอยู่ก็ให้รู้ แล้วจิตก็จะปล่อยวางทั้งนิมิตและเสียงภายนอก จิตของตนก็จะสงบลึกซึ้งละเอียดลงทุกที อีกพักหนึ่ง ตอนนี้เมื่อจิตหยุดอยู่ในอารมณ์ที่สุขุมละเอียดกว่าเดิม แต่ก็ให้สังเกตดูจิตของตนให้รู้ด้วยว่า

    จิตของตนได้เสวยอารมณ์สุขุมละเอียดกว่าแต่ก่อนแน่นอน ตอนนี้จะเกิดปีติแรงมากขึ้น และความสุขก็ยิ่งมากขึ้นตามมา

    ต่อ ไปเมื่อจิตของตนสงบอยู่ ก็รู้สึกว่าเสียงภายนอกเบาลงแล้วจะเกิดได้ยินเสียงอยู่ภายในความสงบ การที่ได้ยินเสียงภายในนั้น คือว่าเสียงที่คนอื่นพูดเรื่องของเราอย่างใดอย่างหนึ่งที่เขาพูดอยู่ไกลๆ ก็ได้ยิน ในเรื่องที่เขาพูดนั้นจะเป็นเรื่องอะไรก็ตาม เราจะได้ยินแน่นอนในตอนนี้

    เมื่อจิตของเราสงบอยู่ แต่บางบุคคลนั้น จะได้ยินเป็นเสียงเหมือนครูบาอาจารย์เทศนาสั่งสอนธรรม หรือบอกภาษิตธรรมเป็นบาลีหลายอย่าง หลายข้อ แต่เราก็ทำได้แม่นยำไม่หลง บางบุคคลนั้นจะปราฏมีความรู้ความจำในสิ่งต่างๆ เกิดขึ้น เช่นเราดูหนังสือธรรมต่างๆ หรือท่องสวดมนต์บทใดบทหนึ่งได้ไว้แต่ก่อนแล้วนั้น เป็นบาลีธรรมก็จะมีความจำได้ดี และแปลได้ทุกอย่าง

    เหมือนเกิดปัญญา แตกฉานในธรรม ว่องไวคล่องแคล่ว เหมือนรู้แจ้งในธรรมแน่นอนแล้ว ก็เกิดทิฏฐิมีความผิดว่า ตนรู้แจ้งในธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า ว่าไม่มีคนอื่นใดรู้ธรรมเหมือนตนเองเลย เมื่อคนเห็นนี้เกิดขึ้นแล้ว จิตก็ถอนออกจากสมาธิอยู่ปกติตามเดิม บัดนี้เมื่อคนอื่นมาหาก็อยากเทศน์ธรรมให้เขาฟังว่า ตนนี้รู้แล้วก็เทศนาไปไม่หยุดยั้ง จนคนอื่นมาหาก็อยากเทศน์ธรรมให้เขาฟังรำคาญเบื่อหูแล้วก็ลุกหนีจาก

    ถ้า บุคคลใดเจริญภาวนามาถึงตอนนี้ไม่หลงแล้ว ต่อไปนั้นก็ให้ประคับประคองจิตของตนเองให้นิ่งอยู่กับอารมณ์เบาๆ และสุขุมละเอียดนั้นแล้ว ให้วางเสียทั้งภายในและภายนอก คือไม่สนใจกับเสียงอะไรทั้งหมด แม้จะเป็นเสียงดีเพราะเสนาะหูก็ดี หรือเสียงไม่ดีก็ตาม ก็ปล่อยวางให้หมดสิ้น เมื่อจิตของเราปล่อยวางเสียทั้งหมดไปแล้ว

    ตอนนี้จิตของเราก็สงบลึกลง ไป และดับเสียงทั้งภายในและเสียงภายนอกทั้งหมด จิตก็วางเป็นอุเบกขา จิตของเราก็นิ่งอยู่ในอารมณ์ที่ว่างเปล่า และมีความสุขสุขุมละเอียดยิ่งมาก ในตอนนี้ดูเหมือนหนึ่งว่าร่างกายของตนว่างเปล่า เหมือนอากาศ หรือว่าเหมือนไม่มีร่างกาย เวทนา ความเจ็บปวดในร่างกายหายหมดสิ้น

    ก็ เหลือแต่จิตที่ตั้งอยู่กับความว่างเปล่าและความสุขอันประณีตอยู่เฉพาะหน้าตน เองเท่านั้น ถ้าจะเปรียบเทียบอย่างหนึ่งนั้น ก็เหมือนแยกจิตออกจากกายนั้นเอง แต่ก็จริง กายกับจิตนั้น ก็แยกออกจากกันได้ เพราะเป็นคนละอย่าง

    เหตุไฉนจึงพูดอย่างนั้น ว่ากายกับจิตแยกออกจากกันได้ ตัวอย่างว่าตัวเราเองนั่งอยู่ในสถานที่หนึ่ง แล้วเราก็คิดไปอีกสถานที่อื่นแล้วเราก็จะรู้ว่าจิตของตนก็จะไม่อยู่กับตัว เราเลย เรารู้ได้ทันทีหรืออีกอย่างหนึ่งเมื่อเราตายลงไปแล้วจิตวิญญาณก็จะออก จากร่างกาย ไปเกิดภพใหม่อีกได้ที่อย่างหนึ่งนี้แล เราจะเห็นได้ว่ากายกับจิตนี้แยกออกจากกันได้แน่นอน

    เมื่อเราเจริญ ภาวนามาถึงตอนนี้ จิตของตนตั้งอยู่ในความว่างเปล่า และความสุขอันประณีตเยือกเย็นสมทบ จิตสงบได้นานมาก บุคคลนี้จะนั่งเป็นวันเป็นคืนตามความต้องการได้ตามสบาย ไม่รู้ความเหนื่อยอ่อนเพลีย ไม่รู้ร้อน รู้หนาว ไม่อยากกินข้าว กินน้ำ ไม่หิวอะไร ไม่อยากคิดอะไร ไม่อยากได้อะไรเสียเลยทั้งหมด มีแต่ความสุขและอิ่มอยู่ตลอดเวลา

    ถ้าออกจากสมาธิแล้วก็ยังมีความ สุขอยู่ แล้วก็อยากหลบเข้าไปอยู่ที่เดิม เพราะเห็นเป็นที่ว่างเปล่าและมีความสุขมาก ปราศจากการคลุกคลีและเสียงต่างๆ ว่างจากความเจ็บปวดเวทนาในร่างกาย เป็นสถานที่หลบเวทนาความเจ็บปวดของร่างกายได้ดีมาก

    เมื่อมีความเจ็บ ปวดในร่างกายเกิดขึ้น ก็หลบหนีเข้าไปอยู่ที่นั้น ก็สบาย ไม่มีความเจ็บปวดร่างกาย ฉะนั้น เมื่อจิตของเรามาตั้งอยู่สงบอยู่ในสถานที่อันว่างเปล่า และมีความสุขสุขุม ประณีตดับจากเสียงทั้งหมดแล้วก็ตั้งอยู่อย่างนี้แล้ว จะสมมุติว่าอะไร ว่าจิตสงบถึงภวังค์จิตหรือว่า ภพจิตอันหนึ่งหรือจะสมมุติว่าอยู่ในองค์ฌาน หรืออัปปนาสมาธิแล้วแต่จะสมมุติเอา แต่จะสมมุติว่าภพจิตอันหนึ่งก็ว่าได้ เพราะมีความเพ่งอยู่ในความสุขยินดีอยู่ในความสุขก็เกิดอยู่ในภพอีกนั่นเอง ถ้าจะสมมุติอยู่ในองค์ฌานนั้นก็เหมือนกันเพราะมีความเพ่งอยู่ในความว่างและ ความสุข แล้วแต่จะสมมุติขึ้น ก็จะเป็นสมมุติอันนั้น

    แต่ในสถานที่นี้ เมื่อจิตของเราทรงอยู่นี้ตั้งอยู่นี้ และมาติดอยู่นี้ จิตของเราก็จะไม่เจริญขึ้น เพราะไม่อยากอะไร ไม่ค้นคิดอะไร อยากอยู่เฉยๆ แล้วก็ไม่เกิดปัญญาขึ้น มาติดอยู่ ก็ไม่มีปัญญาเกิดขึ้นเลย.

    -------------------------------------------------

    คัดลอกจาก: หลักสมาธิวิปัสสนา
    วิธีปฏิบัติธรรม สำหรับชาวพุทธ
     
  11. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,789
    ค่าพลัง:
    +16,101

    <CENTER>[​IMG]</CENTER>
    หลวงปู่มั่นปริวิตกถึงชะตาประเทศไทย <!--emo&:09:--><!--endemo-->
    --------------------------------------------------------------------------------

    เหตุการณ์เมื่อสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง หลวงปู่เจริญสมณธรรมบนดอยตามปกติ วันนั้น พอจวนสว่าง ท่านได้ปริวิตกขึ้นว่า...

    " ชะตาประเทศไทยจะเป็นอย่างไรหนอ" ปรากฎว่าประเทศไทยคล้ายภูเขาสูง บนยอดมีธงไทย ๓ สี ปลิวสะบัดอยู่ และมีพระแก้วมรกตประดิษฐานอยู่เหนือธงไทย ภูดินเขาลูกนั้นมีธงชาติต่างปักล้อมรอบเป็นแถว

    ท่านพิจารณาได้ความ ว่า ประเทศไทยไม่เป็นอะไรมาก นอกจากผู้มีกรรมเท่านั้น และต่อไปนานาประเทศจะยอมรับนับถือ เพราะประเทศไทยพระพุทธเจ้าสอนไม่ให้เบียดเบียน รังเกข่มแหงเพื่อนมนุษย์และสัตว์ และประเทศไทยก็ไม่เคยข่มแหงประเทศใด นอกจากป้องกันตัวเองเท่านั้น ชาติต่างๆ จึงยอมรับนับถือเป็นกัลยาณมิตรได้"

    .....

    ที่มา : จากหนังสือบูรพาจารย์ หน้า 600
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 กันยายน 2008
  12. nathaphat

    nathaphat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    182
    ค่าพลัง:
    +750
    เมื่อวาน 29/09/51 ตอนประมาณ 17.40 โอนเงินร่วมทำบุญ 400 บาทครับ
    ขออนุโมทนาบุญ กับทุกๆท่านด้วยครับ

    ขอบคุณครับ
     
  13. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,789
    ค่าพลัง:
    +16,101
    มีเรื่องเล่าให้ฟังนิดนึง เมื่อวันก่อนๆ ที่จะไปทำบุญที่ รพ.สงฆ์ มีเวลาว่างก็เลยไปที่สนามหลวง จะไปที่ธรรมศาสตร์แต่ก็หนีไม่พ้นที่จะต้องเดินออกมาที่ท่าพระจันทร์เดินเกร่ไปเกร่มา มาถึงร้านแม้ค้าพระหน้าหวานคนหนึ่งมาสะดุดตาทั้งแม่ค้าทั้งพระของหลวงปู่ใหญ่กรุเก่ากองอยู่เต็มกระจาด เลยจับขึ้นมาพิจารณาดูเนื้ออ๊ะเข้าตำรา ดูพิมพ์อ๊ะใช่นี่หว่า เลยเอามา 5 องค์ แถมพระสมเด็จติดพระธาตุและก้อนทองคำเล็กๆ เนื้อสีเขียวมีกลิ่นหอมมาอีก 1 องค์ ร้อยนึงพอดี เดินมาอีกหน่อย เอ้า..เจ้าสัวของสมเด็จฯ ท่าน มาๆ เอามาอีก 5 องค์ พร้อมพระโนเนมอีก 4 แถมมีพระกริ่งมาพ่วงด้วยอีกองค์ รวมเบ็ดเสร็จ 200 บาท พอเดินกลับไปร้านเดิม แม่ค้าหน้าหวานบอกพี่มาเลยพระธาตุกระปุกนี้หนูลดให้พี่ครึ่งหนึ่ง เนี่ยพระธาตุของพระโมคัลลา ทีเดียวน๊ะ แถมหยิบหนังสือมาให้ดูรูป พิจารณาดู อู้..แค่โถบรรจุก็สวยคุ้มแล้ว ปลอมก็คุ้มค่าว๊ะ เราก็เก็บเอาไว้

    พอวันงานกิจกรรมที่ รพ.สงฆ์งานเลิก เลยมานั่งทานข้าวที่โรงอาหารเลยควักพระทั้งหมดออกมาให้พี่ใหญ่พิจารณา ซึ่งผลการพิจารณาคือ

    1. พระพิมพ์เจ้าสัว ทันท่านสมเด็จฯ เสกทั้งหมด
    2. พระของหลวงปู่ใหญ่ 5 พิมพ์ 5 องค์ หลวงปู่อธิษฐานจิตให้ทั้งหมด
    3. พระโนเนมที่เนื้อดีทั้งหมด ทันท่านสมเด็จฯ เสกให้เองทั้งหมด
    4. พระกริ่งที่ได้มาราคาเบบี๋ เอ้า..กลายเป็นท่านปวเรศฯ เสกเองอีก
    5. พระพิมพ์สมเด็จที่มีพระธาตุพร้อมทองคำก้อนน้อย สุดยอด เอาไว้บูชาได้
    6. สุดท้ายพระธาตุที่แม้ค้าตาหวานคะยั้นคะยอ ลดราคาให้ครึ่งหนึ่ง พี่ใหญ่บอกว่าใครบอกเอ็งว่าพระธาตุพระโมคัลลาว๊ะ ทั้งหมดเป็นพระบรมธาตุ หรือ พระบรมสารีริกฐาตุวุ้ย เพียงแต่ท่านมีสัณฐานออกสีน้ำตาลเข้ม คล้ายเม็ดถั่วเขียว ไม่ใช่ขนาดเท่าเม็ดงา หรือข้าวสารหักอย่างที่คุ้นตากันเท่านั้นเอง ขนาด package หรือโถที่บรรจุท่านมีลวดลายสวยงามติดด้วยอัญญมณีหลากสี แถมมีรูปหล่อท่าน รูปพระพิมพ์สมเด็จ แค่นี้ก็เหลือรับทานแล้วล่ะ กลับกลายเป็นว่าดีไปทั้งหมดราคาท่านไม่สามารถประมาณเป็นตัวเงินได้

    สุดท้ายเลยยกหูโทรศัพท์ "ป้า เดี๋ยวเอาเจ้าสัว 100 องค์ กับพระกริ่งอีก 100 องค์น๊ะเดี๋ยววันหลังจะไปเอา" ยังคิดต่อว่า เนี่ยถ้าได้มาแล้ว เดี๋ยวคงไม่แคล้วแจกให้ฟรีกันอีกนั่นล่ะ รอไว้ก็แล้วกันแจกเมื่อไรก็มาเอาไปกัน

    มีเรื่องบอกก่อนจบอีกนิดนึง วันนี้น้องทางไกลโทร.มาแจ้งว่า ได้พระขรรค์และกริชมาอีก 16 ด้าม เอาไว้งานคราวหน้านำมาให้บูชาเฉพาะที่งานเพื่อบริจาคเข้าทุนนิธิฯ อีกครับ เพราะคราวนี้ ได้คุยกับ รพ.แม่สอด จ.ตาก ไว้เรียบร้อยแล้ว รพ.นี้น่าสงสารมาก มีทั้งพระไทย และพระพม่า บางครั้งรักษาเสร็จต้องเรี่ยไรถวายปัจจัยท่านกลับประเทศพม่าด้วย เพราะท่านมาแต่ตัวจริงๆ ครับ น่าสงสารมาก แต่คงต้องให้กรรมการฯ ท่านอื่นเห็นชอบด้วย กำลังให้ทาง จนท.เมล์รูปมาให้อยู่ ถ้าได้มาจะนำมาโพสท์ให้ดูกันครับ จบแค่นี้ก่อน เดี๋ยวค่อยมาต่อใหม่

    พันวฤทธิ์
    30/9/51

    [​IMG]



     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 กันยายน 2008
  14. chaipat

    chaipat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2007
    โพสต์:
    1,282
    ค่าพลัง:
    +11,099

    ผมไม่เกี่ยวอะไรกับคณะกรรมการท่านครับ

    แต่ขอให้ช่วยครับ เพราะท่านเป็นพระสงฆ์

    นับถือพุทธศาสนาครับ และถ้าเงินของทุนนิธิมีพอที่จะทำครับ

    พี่ๆ ท่านใจดีครับ

    ผมก็จะร่วมช่วยด้วยเท่าที่สามารถครับ

    สาธุ ๆ ครับ
     
  15. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,789
    ค่าพลัง:
    +16,101
    เพิ่มเติมเกี่ยวกับ รพ.แม่สอดอีกนิดนึง รพ.นี้อยู่ห่างจากชายแดนประมาณ 6 กม. รับรักษาทั้งชาวไทยและพม่า บางทีก็มีพระออกจากป่ามารักษา ซึ่งขณะนี้ที่ รพ.มีพระอยู่รูปหนึ่ง เป็นพระที่นอนรักษาตัวอยู่ในห้องผู้ป่วยหนักที่แยกพิเศษออกมา โดยท่านติดเชื้อวัณโรคอย่างแรงอยู่ 1 ราย พยาบาลประจำหอสงฆ์เล่าให้ฟังว่า เวทนาท่านมากเพราะท่านจะไอมาก ร่างกายผอมแห้ง ไม่มีญาติมาเยี่ยม(เข้าใจว่ากลัวติดเชื้อ) นอนอยู่เดียวดาย ก็เลยบอกพยาบาลไปว่า ช่วงนี้ท่านต้องใช้ยาอะไร หรือต้องการความช่วยเหลืออย่างใดเป็นพิเศษหรือไม่ ถ้าต้องการก็ให้บอกมา เดี๋ยวทุนนิธิฯ จะพยายามช่วยเหลือท่านให้มากที่สุด หรือถ้าจะมากกว่านั้น ผมก็เข้าใจว่าในฐานะที่พวกเรามีเจตนารมย์เดียวกันแล้วก็จะต้องขออนุมัติต่อผู้ที่ทำบุญในกระทู้นี้ บริจาคปัจจัยช่วยเหลือท่านนอกเหนือจากกิจกรรมที่เราทำกันทุกเดือนอยู่แล้วดีกว่าเน๊อะ เอ้าใครเห็นด้วยช่วยออกเสี้ยงหน่อยเน้อ...

    [​IMG]

    มีคนบอกว่าดอกมะลินี่ เป็นสัญญลักษณ์ที่แทนอะไร
    ได้หลายอย่าง ทั้งความรัก ทั้งความบริสุทธิ ดอกมะลิ
    อีกเช่นกัน ผมว่าน่าจะแทนน้ำใจ และความตั้งใจของพวก
    เราที่จะทำบุญให้พระสงฆ์ที่อาพาธทุกรูปเช่นกัน
    ผมขอมอบดอกมะลินี้ ให้พวกเราทุกคนน๊ะ

    นับถือน้ำใจนักเลงบุญก๊วนนี้จริงๆ

    พันวฤทธิ์
    30/9/51
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 กันยายน 2008
  16. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,789
    ค่าพลัง:
    +16,101
    จากหนังสือแก่นพุทธศาสน์
    พุทธทาสภิกขุมาลงนะคะ (หน้า60-62)
    ว่าด้วยเรื่องทาน ศีล สมาธิ และปัญญา


    ทาน

    การให้ทาน การบริจาคนี้
    ก็หมายความว่าให้ออกไป ให้หมดความยึดมั่นถือมั่นว่าตัวกู หรือ ของกู

    ส่วนการทำบุญที่คิดว่าจะได้ผลตอบแทนกลับมาหลายเท่า
    เช่น ทำบุญหน่อยหนึ่งก็ขอให้ได้วิมานหลังหนึ่ง อย่างนี้มันเป็นการค้ากำไรเกินควรไม่ใช่การให้ทาน

    การให้ทานต้องเป็นการบริจาค
    สลัดสิ่งที่ยึดมั่นถือมั่น ว่าเรา ว่าของเรานั่นแหละออกไป
    เพราะฉะนั้น
    ในขณะที่ผู้ใดมีจิตว่างจากความรู้สึกว่าตัวเรา-ว่าของเรา ในขณะนั้นเรียกว่าบุคคลนั้นได้บริจาคทานถึงที่สุด


    เพราะว่าแม้แต่ตัวเขาเองก็ยังไม่มี
    แล้วจะเอาอะไรมาเหลืออยู่
    ส่วนของเราก็พลอยหมดไป
    ตามความที่ไม่มีตัวเรา

    เพราะเมื่อหมดความรู้สึกว่ามีตัวเรา
    สิ่งที่เป็นของเราก็สลายตัวลงไปเอง

    เพระฉะนั้นในขณะใดผู้ใดมีจิตใจว่างจากตัวตน ผู้นั้นได้ชื่อว่าได้บำเพ็ญทานอย่างยิ่ง
    แม้แต่ตัวเราก็บริจาคไปจนหมดสิ้น และพ่วงความรู้สึกว่าของเราเข้าไปด้วยจนหมดสิ้น ดังนั้นในขณะที่มีจิตว่างอันแท้จริงนั้น
    จึงได้ชื่อว่ามีการบำเพ็ญทานถึงที่สุด



    ศีล

    คนที่มีจิตว่างไม่ยึดมั่นถือมั่น ตัวตน-ของตนนั้น
    เรียกว่าเป็นคนที่มีศีลที่แท้จริง และเต็มเปี่ยมถึงที่สุดด้วยศีล

    นอกนั้นเป็นศีลล้มลุกคลุกคลาน
    คือศีลที่ตั้งเจตนาว่าเราจะเว้นอย่างนั้น เราจะเว้นอย่างนี้
    แล้วก็เว้นไม่ได้ ลุ่มๆ ดอนๆ อยู่นั่นเอง
    เพราะว่าไม่รู้จักปล่อยวางตัวตนเสียก่อน
    ไม่รู้จักปล่อยวางของของตนเสียก่อน
    คือไม่มีความว่างจากตัวตนเสียก่อน
    ศีลก็มีขึ้นไม่ได้

    แม้จะมีก็ลุ่มๆ ดอนๆ ไม่เป็นอริยกันตศีล คือไม่เป็นศีลชนิดเป็นที่พอใจของพระอริยะเจ้าได้ เป็นโลกียะศีล ที่ลุ่มๆดอนๆ อยู่เรื่อยไม่เป็นโลกุตตรศีลขึ้นมาได้ ถ้าเมื่อใดมีจิตว่างแม้ชั่วขณะหนึ่งวันหนึ่ง หรือคืนหนึ่งก็ตาม มันก็มีศีลที่แท้จริงตลอดเวลาเหล่านั้น


    สมาธิ

    ทีนี้ถ้าพูดถึง สมาธิ จิตว่างนั้น
    เป็นสมาธิอย่างยิ่ง เป็นจิตที่ตั้งมั่นอย่างยิ่ง

    สมาธิที่พยายามปลุกปล้ำล้มๆ ลุกๆ มันก็ยังไม่ใช่สมาธิ และยิ่งสมาธิที่มีความมุ่งหมายเป็นอย่างอื่น นอกไปจากเพื่อความไม่ยึดมั่นถือมั่นในเบญจขันธ์
    แล้วล้วนแต่เป็นมิจฉาสมาธิทั้งนั้น

    ท่านต้องทราบไว้ว่ามันมีทั้ง มิจฉาสมาธิ และสัมมาสมาธิ
    เพราะฉะนั้นคำว่า "สมาธิ" ในที่นี้เราหมายถึง สัมมาสมาธิ ถ้าเป็นสมาธิอย่างอื่นก็เป็นมิจฉาสมาธิไปหมด

    จิตที่ว่างจากความยึดมั่นถือมั่นว่าเราว่าของเราเท่านั้น ที่จะมั่นคงเป็นสมาธิได้อย่างแท้จริงและสมบูรณ์ เพราะฉะนั้นผู้ที่มีจิตว่างจึงเป็นผู้ที่มีสมาธิอย่างถูกต้อง


    ปัญญา

    ทีนี้เลื่อนขึ้นมาถึงปัญญา

    ยิ่งบ่งชัดว่ารู้ความว่างหรือเข้าถึงความว่างหรือเป็นตัวความว่างนั้นเองก็ตาม
    นั้นเป็นตัวปัญญาอย่างยิ่ง เพราะว่า ขณะที่มีจิตว่างนั้น เป็นความเฉลียวฉลาดอย่างยิ่ง

    ขณะที่เป็นความโง่อย่างยิ่งก็คือ ขณะที่โมหะหรืออวิชชาเข้ามาครอบงำอยู่
    แล้วทำให้ยึดมั่นถือมั่นนั่นนี่ ว่าเป็นตัวตนหรือของตน

    ลองคิดดูก็จะเห็นได้ง่ายๆ ชัดแจ้งด้วยคนเองว่า
    พอสิ่งเหล่านี้ออกไปแล้ว มันจะโง่ได้อย่างไร
    เพราะว่าความโง่มันเพิ่งเข้ามาต่อเมื่อมีอวิชชา
    ไปหลงยึดมั่นว่าเป็นตัวเราว่าของเรา

    ขณะใดที่จิตว่างจากความโง่อย่างนี้
    ก็เข้าถึงความว่างจากตัวเราว่างจากของเรา
    มันก็ต้องเป็นความรู้หรือเป็นปัญญาเต็มที่

    เพราะฉะนั้นผู้ที่ฉลาดเขาจึงพูดว่า ความว่างกับปัญญาหรือสติปัญญานี้เป็นสิ่งเดียวกัน
    ไม่ใช่เป็นของสองสิ่งที่เหมือนกัน แต่ว่าเป็นสิ่งๆเดียวกันเลย


    ข้อนี้ย่อมหมายความว่าปัญญาที่แท้จริงหรือถึงที่สุดของปัญญานั้น
    ก็คือความว่างนั่นเองคือว่างจากโมหะที่หลงยึดมั่นถือมั่นนั่นเอง หมายความว่าพอเอาโมหะอันนี้ออกไปเสีย จิตก็ถึงสภพาเดิมของจิตที่เป็นจิตเดิมแท้ คือปัญญา หรือสติปัญญา


    http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=18112&start=0&postdays=0&postorder=asc&highlight=
     
  17. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,789
    ค่าพลัง:
    +16,101
    [​IMG]


    วิธีได้บุญอย่างง่ายๆ<HR><TABLE cellSpacing=20 width="85%" border=0><TBODY><TR><TD class=postbody vAlign=top>
    สำหรับพระเทศน์ขององค์สมเด็จ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พวกเราก็ฟัง มานับไม่ถ้วนการเจริญสมาธิ เราก็ทำแล้ว ฉะนั้นความดีใดที่องค์สมเด็จพระประทีปแก้วทรงตรัสว่าเป็นบุญกิริยา เอาเฉพาะสามอย่างที่จัดเป็นจุดใหญ่ คือ


    ทานมัย บุญสำเร็จด้วยการบริจาคทาน เราทำ แล้วก็ทำแล้วหลายวาระ อย่าการถวายสังฆทานทุกวันหลายๆ ท่านอาจจะไม่ได้เป็นเจ้าของในการถวายสังฆทาน แต่ท่านทำบุญร่วม คนละเล็กคนละน้อยคนละมาก ตามกำลังศรัทธาก็ชื่อว่าเป็นเจ้าของทานเหมือนกัน นี่ประการหนึ่ง บางท่านไม่ได้บริจาคทรัพย์ร่วมด้วย แต่ยินดีในการถวายสังฆทาน อย่างนี้เรียกว่า ปัตตานุโมทนามัย ในบุญกิริยาวัตถุ เป็นอันว่าบุญสำเร็จด้วยการโมทนา คือการแสดงความยินดีด้วย

    คนที่อาศัยปัตตานุโมทนา ตลอดกาลตั้งแต่ระยะเริ่มแรกจนเข้าถึงพระนิพพาน นั้นคือ พระนางมัทรี หรือ พระนางพิมพา พระนาง นี่ไม่เคยทำบุญเลย นับตั้งแต่เป็นคู่บารมีขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจนกระทั่งพระนางได้ บรรลุอรหัตผล

    สมเด็จพระทศพลได้ตรัสกับ พระโมคคัลลาน์และ พระสารีบุตร ตอนที่ไปเยี่ยม พระนางพิมพา ตอนที่เสด็จไปสู่กรุงกบิลพัสดุ์ สมเด็จพระทรงสวัสดิ์ได้ทรงตรัสกับ พระสารีบุตร ว่า สารีปุตตะ ดูกร สารีบุตร พระโมคคัลลานะ ว่าดูกร โมคคัลลาน์ ทั้งสองท่าน เวลาที่ท่านจะเข้าเยี่ยมนางพิมพา เธอก็ถือว่า เวลานี้พระลูกเจ้าเสด็จมาแล้ว แต่ทว่าไม่มาหาเราถึงที่พัก เราก็ไม่ไปหาท่านเหมือนกัน

    เมื่อองค์สมเด็จพระภควันต์ทรงทราบวาระ น้ำจิตของพระนางพิมพา เมื่อเทศน์โปรดพระพุทธบิดาและหมู่พระประยูรญาติแล้ว สมเด็จพระประทีปแก้วจึงเสด็จไปเยื่ยม พระนางพิมพา ก็รู้อยู่ว่าเข้าไปในถึงตำหนักของ พระนางพิมพา พระนางพิมพา จะอาศัยความรักเดิมเข้ามากอดขาของพระองค์ พระองค์จึงได้บอก พระโมคคัลลาน์ กับพระสารีบุตร ก่อนจะเข้าไปว่า ถ้าเราเขาไป พระนางพิมพา จะเข้ามากอดขาเรา เธอจงอย่าห้ามนะ เพราะเราไม่มีอะไรแล้ว ความรู้สึกในกามารมณ์ไม่สำหรับเรา

    ทว่า ถ้าเธอห้าม พระนางพิมพา ล่ะก็ พระนางพิมพาจะอกแตกตาย เธอ จะไม่มีโอกาสได้ผลของความดี ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะว่า พระนางพิมพา ไม่เคยบำเพ็ญบารมีด้วยตนเองเลย มีอย่างเดียว โมทนากับเราเท่านั้น นับตั้งแต่เริ่มแรกบำเพ็ญบารมีเป็นต้นมา

    ใช้เวลาถึง 4 อสงไขยกับแสนกัป เป็นคู่บารมีกันมาไม่เคยคลาดกัน แต่ ว่าคนที่ทำบุญจริงๆ คือ องค์สมเด็จพระบรมโลกนาถ เมื่อทำไปแล้วเธอ เธอก็บอกยินดีด้วย โมทนา แม้ครั้งหลังที่มีความสำคัญสุด คือ ยกลูกทั้งสองให้เป็นทาสของชูชก เธอมีความเสียใจสลบไป เมื่อฟื้นขึ้นมา ขึ้นมาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็น พระเวสสันดร จึงได้บอกเธอว่า เราให้ลูกกับ ชูชก ไป ทั้งนี้เพราะปรารถนาพระโพธิญาณ ของเธอจงโมทนาด้วย เธอก็ยินดี โมทนาด้วย

    นี่เป็นอันว่า พระนางพิมพา นี่ไม่เคยทำบุญเอง ได้แต่ใช้แต่ ปัตตานุโมทนามัย อย่างเดียว นี่เทศน์แบบนี้ไม่ถูกหรอก จน ดีไม่ดีคนทุกคน ไม่มีใครทำบุญอ๊ะ ถ้าใครทำบุญ ฉันก็โมทนาด้วยด้วยจ๊ะ ไอ้เทศน์แบบนี้ เทศน์อด ไม่น่าจะเทศน์ใช่ไหม เอ่อ เดี๋ยวตัดใหม่ดีกว่านะ เทศน์ใหม่ซิ เทศน์ใหม่ก็เทศน์ไม่ได้เขาบันทึกเสียงไว้ เจ๊งอีกแล้ว

    เป็นอันว่า เมื่อเข้าไป พระพุทธเจ้าเข้าไปแล้ว พระนางพิมพา เข้ามากอดขาจริงๆ สมเด็จพระผู้พระภาคเจ้าจึงแสดงพรธรรมเทศนาโปรด จนกระทั่งเธอคลายความเสียใจ หลังจากนั้น พระนางพิมพา ก็ขอบวชในพุทธศาสนาเป็นภิษุณี แล้วก็ได้เป็นอรหัตผล

    นี่เป็นอันว่า ปัตตานุโมทนามัย บรรดาท่านพุทธศาสนิกชนก็ทำมาเยี่ยง พระนางพิมพา แค่ปัตตานุโมทนามัย ก็เป็นพระอรหัตน์ได้ อึ แต่ไม่ค่อยดีนะ พระจะอด หรือไม่อด มีเจ้าภาพอยู่นะ อย่างไร ๆ ข้าวถ้วยหนึ่งโว้ย อิ่ม ทีนี้ท่านทั้งหลายทำความดีนะ ถ้าจะเทียบ มัฏฐกุณฑลีเทพบุตร มันเทียบกันไม่ได้ ท่านมีความความดีเท่านั้น ท่านเป็นพระโสดาบันได้

    แต่พวกเราทำความดีขนาดนี้จะเป็นอะไรกัน สมมติว่าเวลานี้ บรรดา ท่านท่านหลายปฏิบัติธรรมกันทุกอย่างแต่ว่าบังเอิญอย่างยิ่งที่ใจมันดื้อ ที่ไม่มีโอกาสจะได้บรรลุมรรคผล แต่ว่าจิตใจของท่านพุทธศานิกชน รักอะไรบ้างล่ะ ที่รักจริงๆในด้านความดีที่เราจะเห็นกันได้ในเวลาด้านนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระนิพพาน รักการเจริญ สมถกรรมฐาน วิปัสสนากรรมฐาน ถ้ารักกองใดกองหนึ่ง เป็นที่ชอบอย่างยิ่งหรือบางท่านก็รักการถวายทาน เมื่อพระมาทีไรก็ถวายสังฆทานกันทุกคราว หรือเกือบทุกครั้ง ไอ้การถวายสังฆทานนี่เป็นเจ้าเองก็ดี ร่วมจัตุปัจจัยด้วยของเล็กน้อยก็ดี ก็ชื่อว่าเป็นผู้ถวายสังฆทาน

    ถ้าตายจากคนถ้าใจไม่ละความดี ที่บอกเมื่อกี้ให้นึกถึงความตายไว้ทุกวันคิดว่าเราจะตายเรื่อยๆ ตื่นขึ้นมา ถ้าเราตายแล้วจะไปไหน ตั้งใจว่าด้วยอำนาจทาน ทานัง สัคคโส ทานัง ทานเป็นปัจจัยให้เกิดบนสวรรค์ทานที่เราให้ถ้าเราตายวันนี้เราไปสวรรค์ได้ ด้วยสีล สีเลนะ สุคติง ยันติ ศีลเป็นเครื่องปัจจัยให้เกิดในสวรรค์ สีเลนะ โภคสัมปทา ศีลเป็นปัจจัยให้มีโภคสมบัติมากถ้าเป็นเทวดาก็มีทิพย์สมบัติมาก ถ้าเกิดมาก็เป็นร่ำรวย สีเลนะ นิพพุติง ยันติ ศีลเป็นปัจจัยให้เข้าถึงนิพพานโดยง่าย



    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ขอขอบคุณ
    http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=17984&sid=742f2795f9dec8de4b30655fe809c394
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  18. โอลีฟ

    โอลีฟ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    42
    ค่าพลัง:
    +257
    ครอบครัวของพี่สาว โอนเงิน ร่วมทำบุญ รพ.สงฆ์ เข้าบัญชีทุนนิธิฯ
    จำนวน 1,000 บาท เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2551 ค่ะ

    รายชื่อจะแจ้งพี่โสระทาง PM นะคะ

    อนุโมทนากับผู้ที่ร่วมด้วยกันนะคะ
     
  19. narongwate

    narongwate เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    885
    ค่าพลัง:
    +3,840
    [​IMG][​IMG]
    หลวงปู่แหวนผจญสัตว์ประหลาด ผีกองกอย

    มีเหตุการณ์น่าขนพองสยองเกล้าครั้งหนึ่ง เขียนในนิตยสารโลกทิพย์ดังนี้

    ในเช้าวันหนึ่ง หลวงปู่้แหวน กับหลวงปู่ตื้อ ได้อาศัยบิณฑบาตที่หมู่บ้านชาวป่า มี ๔-๕ หลังคาเรือน ชาวบ้านพากันมาใส่บาตรด้วยความดีใจ เพราะนานๆ จะมีพระธุดงค์มาโปรดสักที

    ชาวบ้านถามว่า พระคุณเจ้าทั้งสองจะไปไหน หลวงปู่บอกว่า จะมุ่งไปทางเทือกเขาที่มองเห็น แล้วจะลองไปทางสุวรรณเขต( อยู่ตรงข้ามกับมุกดาหาร)

    ชาวบ้านแสดงอาการตกใจ พร้อมทั้งทัดทานว่าอย่าไปทางโน้นเลย เพราะกำลังมียักษ์ปีศาจ ดุร้ายสิงอยู่ คอยทำร้ายคนและสัตว์ที่ผ่่านไปทางนั้น

    หลวงปู่กล่าวขอบใจในความหวังดี และบอกว่า ท่่านทั้งสองได้มอบกายถวายชีวิตให้ พระศาสนาแล้ว ขออย่าได้ห่วงตัวท่านเลย แล้วท่านก็ออกเดินทางไปในทิศทางดังกล่าว

    หลวงปู่ออกเดินทางโดยข้ามลำน้ำสองแห่ง แต่เป็นที่น่าสังเกตุว่า ป่าแถบนั้นเงียบกริบ ไม่ได้ ยินเสียงสัตว์ต่างๆเลย แม้แต่นกก้ไม่มี ผิดประหลาดมาก

    พอใกล้ค่ำ หลวงปู่ทั้งสอง ก็มาถึงยอดเขาสูง ที่มีลักษณะประหลาดมาก คือยอดเป็นสีดำ คล้าย ถูกไฟเผา รูปลักษณะดูตะปุ่มตะป่ำ คล้ายตัวคนบ้าง หัวตะโหนกช้างบ้าง แปลกไปจากเขาลูกอื่นๆ

    หลวงปู่ทั้งสอง เลือกปักกลดค้างคืนข้างลำะารที่มีน้ำใสไหลผ่าน อยู่ที่เชิงเขาลูกนั้น ปักกลดห่าง กันประมาณ ๑๐ เมตร เมื่อสรงน้ำพอสดชื่นแล้ว ต่างองค์ก็นั่งสงบภายในกลดของตน ทั้งสององค์ ตระหนักในความประหลาดของสถานที่นั้น ไม่ได้พูดอะไรกันเพียงแต่นั่งสงบอยู่ภายในกลด

    ประมาณ ๕ ทุ่ม หลวงปู่แหวน ก็ออกจากกลดเตรียมจะเดินจงกรม หลวงปู่ตื้อออกมาตามและ พูดว่า " ผมรู้สึกว่าที่นี่วิเวกผิดสังเกตนะ"
    หลวงปู่แหวนตอบ " ผมก็รู้สึกอย่างนั้นเหมือนกัน"

    พูดกันแค่นี้ต่างองค์ต่างก็เดินจงกรมในทางของตน
    ต่อจากนั้น ไม่นาน ก็มีเสียงกรีดแหลมเยือกเย็น ดังลงมาจากยอดเขารูปประหลาดนั้น เสียง นั้นแหลมลึกบีบเค้นประสาท จนรู้สึกเสียวลงไปถึงรากฟันทีเดียว

    หลวงปู่ตื้อถามพอได้ยินว่า " ท่านแหวนได้ยินแล้วใช่ไหม"
    หลวงปู่แหวน ตอบด้วยเสียงเรียบๆว่า " ผมกำลังฟังอยู่"

    เสียงกรีดร้องนั้นใกล้เข้ามาทุกที ฟังแล้วน่าขนพองสยองเกล้า ทั้งสององค์คงเดินจงกรม อยู่เงียบๆ ตามปกติเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น
    ป่านั้นเงียบสงัดจริงๆ เสียงนกเสียงแมลงไม่มี ครั้นแล้วเกิดพายุปั่นป่วนมาอย่างกระทันหัน ชนิดไม่มีเค้ามาก่อนเลย ต้นไม้โยกไหวรุนแรง ราวกับจะถอนรากออกมา อากาศพลันหนาวเย็น วิปริตขึ้นมาทันที

    พลันปรากฎร่างประหลาดขึ้นร่างหนึ่ง ตัวดำมะเมื่อม สูงราว ๗ ศอก มีขนยาวรุงรังคล้ายลิง ยักษ์ แต่หน้าคล้ายวัวควาย ตาโปน มือสองข้างยาวลากพื้นดิน มันก้าวเข้ามาอยู่ห่างจากหลวงปู่ ทั้งสองประมาณ ๑๐ เมตรเห็นจะได้

    สัตว์ประหลาดนั้นส่งเสียงร้องโหยหวนขึ้น พลันพายุนั้นก็สงบลง แสดงว่า มันมีอำนาจเหนือ ธรรมชาติ
    สัตว์นั้นส่งกลิ่นเหม็นรุนแรงร้ายกาจเหมือนกลิ่นศพที่กำลังขึ้นอืด มันกระทืบเท้าสนั่น จนแผ่น ดินสะเทือน

    หลวงปู่แหวนเล่าในภายหลังว่า ท่านไม่รู้สึกกลัว แต่ขนลุกซู่ซ่าไปหมด เพราะไม่เีคยเห็น สัตว์ประหลาดอย่างนั้นมาก่อน ยังไม่รู้ว่า เป็นปีศาจ หรือสัตว์อะไรแน่ ท่านได้กำหนดสติไม่ให้ ใจคอวอกแวก ทอดสายตา ไปยังสัตว์ประหลาดนั้น กำหนดจิตแผ่เมตตาไปยังร่างนั้น

    สัตว์ร่างยักษ์นั้นหยุดร้อง หยุดส่งกลิ่นเหม็น แสดงว่ารับกระเแสเมตตาได้ มันค่อยๆทรุดร่าง ลงนั่งยองๆเอามือยันพื้นไว้ ทำท่าแสดงความน้อบน้อมต่อท่าน

    หลวงปู่ตื้อ พูดพอได้ยินว่า " ท่านแหวนทำดีมาก" พร้อมทั้งเดินมาสมทบ แล้วพูดว่า " เขา แบกหามบาปหาบทุกข์อันมหันต์ เขามาหาเรา เพื่อให้ช่วยปลดทุกข์ให้เขานะ เขาสร้างกรรมไว้ มาก เมื่อตายจากมนุษย์ แล้วต้องมาเป็นปีศาจอสุรกาย ทนทุกข์ทรมานอยู่ที่นี่

    หลวงปู่แหวนได้กำหนดจิตถามดู ก็ได้ความว่า สมัยเป็นมนุษย์ เขามีการกระทำที่มากล้น ด้วยตัณหา และความโลภ คือละเมิดศีลข้อ ๒ และข้อ ๓ อยู่เสมอ จึงต้องมาเป็นปีศาจอสุรกาย รับ ทุกข์อยุ่ที่นี่มากว่า ร้อยปีแล้ว

    ปีศาจอสุรกายนั้นดูท่่าทางอ่อนลงมาก มันร้องไห้คร่ำครวญน่าสงสาร ขอความเมตตา จาก พระคุณเจ้าทั้งสอง ให้เขาได้พ้นทุกข์ทรมานนั้นด้วยเถิด

    หลวงปู่แหวน ได้พิจารณาเห็นว่า เขาสร้างกรรมซับซ้อนเหลือเกิน ใครจะช่วยเขาได้ พลัน หลวงปู่ตื้อ ตอบมาในสมาธิว่า " กรรมเป็นเรื่องสลับซับซ้อนลึกซึ้งอยู่ก็จริง บางทีพระผู้มีศีลบริสุทธิ์ และมีบารมีเช่นท่านแหวน ก็อาจจะช่วยให้เขาพ้นทุกข์ได้ ลองอ่านพระคาถา หรือเทศนาธรรม ให้เขาฟังดูสิ "

    หลวงปู่แหวนได้กำหนดจิตว่าพระคาถา แล้วเทศนาให้เขาสำนึกบาปบุญคุณโทษ เขาค่อยๆ คลายความกังวลลง ก้มลงกราบด้วยความซาบซึ้ง

    " พระคุณเจ้า ข้าพเจ้าได้กำหนดจิตพิจารณาตามกระแสธรรม ของท่านแล้ว เกิดแสงสว่าง กับข้าพเจ้าอย่างมหัศจรรย์ และข้าพเจ้าได้เห็นสภาวธรรม คือ ชาติ ชรา มรณะ อันเป็นทุกข์ เป็น ธรรมดาของสรรพสัตว์ทั้งหลายแล้ว พระคุณเ้จ้า "

    สีหน้าเขาดูสดชื่น ก้มลงกราบหลวงปู่ทั้งสององค์ แล้วร่างนั้นก็หายไป

    ----------------------------------------------------------------------

    ขอขอบคุณ
    http://www.pranippan.com
     
  20. BD

    BD เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    58
    ค่าพลัง:
    +419

    สาธุ กระผมเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...